Infographic

สำรวจแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศในปี 2564

จากแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศในปี 2564 (มกราคม – ตุลาคม) จำนวน 29,449 คน เป็นแรงงานในภาคอีสาน 20,942 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศทั้งหมด . โดยจังหวัด (ตามภูมิลำเนา) ของแรงงานที่ไปทำงานมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ชัยภูมิ อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองบัวลำภู . ส่วนประเทศที่มีแรงงานอีสานไปทำงานมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ สวีเดน ไต้หวัน อิสราเอล ฟินแลนด์ และสาธารณรัฐเกาหลี . ทั้งนี้ แรงงานอีสานที่ไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาสูงสุดที่ระดับ ‘มัธยมศึกษา’ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า กลุ่มงานที่แรงงานเลือกไปทำนั้นน่าจะเป็นงานที่ใช้ทักษะปานกลางและต่ำ มากกว่างานที่ใช้ทักษะสูง . อย่างไรก็ตาม ปี 2565 หากภาครัฐยังไม่มีมาตรการเยียวยาลูกจ้างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมพอ เราคาดว่าอนาคตแรงงานอีสานที่เคยไปทำงานในกรุงเทพฯ และเขตเศรษฐกิจหลักของประเทศ จะไหลไปทำงานต่างประเทศกันมากขึ้น . . ที่มา: กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

จากจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสะสมในประเทศกว่า 1,129,877 คน (ไม่รวมกรุงเทพฯ ) เป็นผู้ป่วยในภาคอีสาน 431,677 คน โดยนครราชสีมา อุบลราชธานี และขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยซึมเศร้ามากที่สุดของประเทศเป็นอันดับ 1, 3 และ 4 ตามลำดับ

แพทย์แต่ละจังหวัดในภาคอีสานรับภาระมากน้อยแค่ไหน?

ตามรายงานทรัพยากรสาธารณสุข ที่มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศในปี 2563 พบว่า ไทยมีจำนวนแพทย์ทั้งสิ้น 36,472 ราย ในขณะที่ประชากรไทยมีจำนวน 66 ล้านคนทำให้ไทยมีสัดส่วนประชากร 1,794 คน ต่อแพทย์ 1 คน . โดยหากดูเฉพาะในภาคอีสาน จะพบว่าจังหวัดที่แพทย์มีภาระต้องแบกรับมากที่สุดนั้น คือ บึงกาฬ (ประชากร 6,303 คน ต่อแพทย์ 1 คน) ซึ่งเมื่อนำไปเทียบกับจังหวัดที่แพทย์มีภาระต้องแบกรับน้อยที่สุดอย่าง ขอนแก่น (ประชากร 1,204 คน ต่อแพทย์ 1 คน) จะพบว่าห่างกันถึง 5 เท่าตัว

คนไทยพึงพอใจในชีวิตมากแค่ไหนในปีที่ผ่านมา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงเวลาการระบาดของ COVID-19 นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลก นำมาซึ่งความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อความสุข ทัศนคติ และความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองอย่างมาก . ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยนั้น สำนักงานสถิติได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความอยู่ดีมีสุข ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคม 2562 คนไทยให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิตเฉลี่ย 7.05 คะแนน ในขณะช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่เรียกไดว่ารุนแรงขึ้น (เดือนพฤษภาคม 2563) คนไทยให้คะแนนความสุขเฉลี่ยลดลงไปอยู่ที่ 5.02 . สำหรับความพึงพอใจในช่วงปีที่ผ่านมา (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563) คนไทยมีความพึงพอใจในชีวิตเฉลี่ย 6.70 คะแนน เนื่องจากยังมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 อยู่ โดยความพึงพอใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ในระดับ 6 – 7 และยังพบว่า ชีวิตครอบครัวเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความพึงพอใจมากที่สุด . ทั้งนี้ หากพูดถึงอนาคตผู้คน พวกเขาได้มีการวางแผนเรื่องการเงินมากที่สุด (6.30 คะแนน) รองลงมาคือ สุขภาพกายและสุขภาพจิต (6.26 คะแนน) และการทำงาน/อาชีพ (6.11 คะแนน) ตามลำดับ

EU ขึ้นทะเบียนให้ “ตั๊กแตน” เป็นอาหารปลอดภัย

เมื่อ 12 พ.ย. คณะกรรมการความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศรับรอง ‘ตั๊กแตนอพยพ’ (Locusta Migratoria) เป็นอาหารใหม่ (Novel Food) ที่ปลอดภัยในการบริโภค . โดยตั๊กแตนถือเป็นแมลงชนิดที่ 2 รองจาก ‘หนอนนกอบแห้ง’ (Dried Yellow Mealworms) ที่ได้รับการรับรองเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยจากอียูไปเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ‘จิ้งหรีดทองแดงลายหรือจิ้งหรีดขาว’ เป็นชนิดถัดไป . ทั้งนี้ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ “ผู้เพาะเลี้ยงแมลง” ในการเจาะตลาดที่กว้างขึ้น

การฆ่าตัวตายของคนอีสานที่มากขึ้นกำลังบอกอะไรเกี่ยวกับภาวะสุขภาพจิตของคนในสังคม?

กรมสุขภาพจิต เผย “ข้อมูลการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2563” พบว่า ภาคอีสานมี “อัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคน” สูงขึ้นจากปี 2562 เกือบทุกจังหวัด (มีเพียง 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเลย นครพนม และมุกดาหาร ที่ลดลง) . อีกทั้งส่วนใหญ่ยังมีอัตราฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่ 7.37 คน/ประชากร 1 แสนคน ในปี 2563 (มีเพียง 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอํานาจเจริญ นครพนม มหาสารคาม ยโสธร สุรินทร์ หนองคาย และมุกดาหาร ที่ต่ำกว่า) . ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 โดยพบว่าคนไทยมีสภาวะความเครียดและซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ที่ต่อเนื่องยาวนาน พวกเขาจึงเริ่มเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์จนทำให้หมดพลัง คาดว่าปี 2564 จะมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงกว่าปีที่แล้ว

ศึก Food Delivery สู่การขยายพื้นที่ให้บริการในภาคภาคอีสาน

ปัจจุบันการแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจ Food delivery เจ้าดังอย่าง Grab, LINE MAN x Wongnai และ Food Panda เรียกได้ว่า สามารถสร้างเครือข่ายพื้นที่ให้บริการส่งอาหารได้ครอบคลุมเกือบครบหรือครบทั้ง 77 จังหวัดแล้ว ส่วน Robinhood แพลตฟอร์ม Food Delivery น้องใหม่สัญชาติไทย ก็ไม่น้อยหน้า ล่าสุดมีแผนที่จะขยายพื้นที่ให้บริการไปต่างจังหวัด โดยเป้าหมายแรกจะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของภาคอีสาน อย่าง “นครราชสีมา” และ “ขอนแก่น” . แน่นอนว่าไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะแต่ละเจ้ายังคงงัดไม้เด็ดมาประชันกันอย่างไม่มีใครออมมือ ทั้งในด้านโปรโมชันส่วนลดกับผู้ใช้บริการและร้านอาหารจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่, การเพิ่มรูปแบบการให้บริการในห่วงโซ่อุปทานอาหาร และการขยายบริการไปในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากส่งอาหาร เช่น การซื้อสินค้า การขนส่งสินค้า การเงิน และการท่องเที่ยว . การประเมินของ EIC คาดว่า มูลค่าตลาด Food delivery ของไทยในปี 2021 จะเติบโต 62%YOY จนมีมูลค่า 1.05 แสนล้านบาท เป็นการขยายตัวต่อเนื่องแม้ในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2020 ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดเกือบ 3 เท่าตัว จากการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดโปรโมชันส่วนลดของแพลตฟอร์มเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ และอีกส่วนมาจากมาตรการล็อกดาวน์และห้ามรับประทานอาหารภายในร้านในช่วงที่ผ่านมา . ทั้งนี้ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า รูปแบบการแข่งขันจะเป็น Super App มากยิ่งขึ้น ทั้งจากแพลตฟอร์ม Food delivery ที่ขยายบริการไปด้านอื่น ๆ และจากแพลตฟอร์มที่เน้นบริการด้านอื่น จะหันมาให้บริการ Food delivery มากขึ้นหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย . โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1. การขยายตัวของฐานผู้ใช้บริการใหม่จากความต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการที่ยังมีต่อเนื่อง 2. การเพิ่มขึ้นของการใช้บริการของฐานลูกค้าเดิมจากพฤติกรรมที่เคยชิน และ 3. การขยายตลาดการให้บริการไปในธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานร้านอาหาร . อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจ Food delivery สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน คือแพลตฟอร์ม Food delivery ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาฐานผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์ร้านอาหาร และไรเดอร์, การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และการจัดการด้านกฎระเบียบและด้านสิ่งแวดล้อม . ส่วนแนวทางที่พาร์ทเนอร์ร้านอาหารควรนำไปปรับใช้เพื่อช่วยดึงดูดลูกค้า ได้แก่ การมีสินค้าที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ, การสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ และการมีช่องทางการจำหน่ายหลากหลายเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคอย่างครอบคลุมมากขึ้น . สุดท้าย ภาครัฐอาจเข้ามาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารและไรเดอร์ให้สามารถเข้าสู่แพลตฟอร์ม Food delivery ได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับแพลตฟอร์มในการสนับสนุนหรือช่วยลดต้นทุนต่าง ๆ ทั้งในด้านกฎระเบียบและแนวทางในการเข้าร่วม, ด้านอัตราค่าบริการและผลตอบแทน, สวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม และด้านการจัดทำบัญชีและภาษี ตลอดจนการกำกับดูแลการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม Food delivery เอง เพื่อการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม …

ศึก Food Delivery สู่การขยายพื้นที่ให้บริการในภาคภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง”

หากพูดถึงของกินของฝากของเมืองโคราช หลายคนคงจะนึกถึงสองแบรนด์เก่าแก่อย่าง “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” แต่รู้ไหมว่า แม้สินค้าของทั้งคู่จะสามารถครองใจผู้บริโภคทั้งเก่าและใหม่มาได้ตลาดหลายปีที่ผ่านมา แต่พวกเขาก็ไม่หยุดพัฒนา โดยเฉพาะความท้าทายครั้งใหญ่หลังภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนส่งผลให้ธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวจำนวนมากได้รับผลกระทบตามไปด้วย . ครั้งนี้เราชาว ISAN Insight & Outlook จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าช่วงที่ผ่านมา “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” มีวิธีรับมืออย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงนี้ . . เริ่มที่ “เจ้าสัว” ในปี 2563 หันมาปรับกลยุทธ์รองรับ จากเดิมที่เน้นเพิ่มสาขา เปลี่ยนมาเป็นบุกโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำต่าง ๆ ทำให้ยอดขายรวมของปีที่แล้วโตขึ้น 15% ยังไม่รวมไปถึงการลงทุนกับเครื่องจักรภายในโรงงานและระบบหลังบ้านเพื่อให้ทันยุคดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา จนสามารถสร้างรายได้รวมเกือบพันล้านบาทเป็นครั้งแรก . ประกอบกับการที่ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ เเละคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น แม้จะเป็นอาหารทานเล่นหรือของขบเคี้ยวอย่าง “เนื้อสัตว์แปรรูป” ซึ่งในไทยมีผู้เล่นไม่กี่ราย . ปี 2564 จึงทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ปรับภาพลักษณ์ ไม่เป็นเเค่ร้านขายของฝากที่รอให้คนมาซื้อ เเต่พยายามเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ด้วยการบุกตลาดสแน็ก, Ready to eat และ Ready to cook meal อย่างเต็มตัว อีกทั้งใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นครั้งเเรกในรอบ 63 ปี . ปัจจุบัน เจ้าสัวมีจำนวน 100 กว่าสาขาทั่วประเทศ เเบ่งเป็นร้านค้าของตัวเอง (Stand Alone) ประมาณ 15 สาขา และแฟรนไชส์ประมาณ 90 สาขา กระจายอยู่ในปั๊มนำ้มัน ปตท. ส่วนการส่งออกไปต่างประเทศจะเน้นที่ตลาดเอเชียเป็นหลัก เช่น ฮ่องกง จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ฯลฯ . . ต่อกันด้วย “ปึงหงี่เชียง” ที่ก็มีสินค้ากลุ่มของทานเล่นเช่นเดียวกับเจ้าสัว ปี 2564 นี้ ได้รับรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากโครงการ “ต้นกล้า ทู โกล” ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถยืดอายุอาหารให้นานขึ้นได้ . ยกตัวอย่าง “กุนเชียง” จากเดิมที่มีระยะเวลาขายอยู่ 3 เดือน เมื่อพัฒนาเป็น “กุนเชียงพร้อมทาน” ก็ช่วยยืดอายุสินค้าไปได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งเหมาะกับการขยายช่องทางการตลาดไปสู่ห้างฯ หรือโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ ในอนาคต รวมไปถึงการส่งออกต่างประเทศที่มากขึ้น . ปัจจุบัน ปึงหงี่เชียง มีแฟรนไชส์ที่อยู่ตามปั๊มน้ำมัน ปตท. 130 สาขาทั่วประเทศ …

แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง” อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top