Infographic

แพทย์แต่ละจังหวัดในภาคอีสานรับภาระมากน้อยแค่ไหน?

ตามรายงานทรัพยากรสาธารณสุข ที่มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศในปี 2563 พบว่า ไทยมีจำนวนแพทย์ทั้งสิ้น 36,472 ราย ในขณะที่ประชากรไทยมีจำนวน 66 ล้านคนทำให้ไทยมีสัดส่วนประชากร 1,794 คน ต่อแพทย์ 1 คน . โดยหากดูเฉพาะในภาคอีสาน จะพบว่าจังหวัดที่แพทย์มีภาระต้องแบกรับมากที่สุดนั้น คือ บึงกาฬ (ประชากร 6,303 คน ต่อแพทย์ 1 คน) ซึ่งเมื่อนำไปเทียบกับจังหวัดที่แพทย์มีภาระต้องแบกรับน้อยที่สุดอย่าง ขอนแก่น (ประชากร 1,204 คน ต่อแพทย์ 1 คน) จะพบว่าห่างกันถึง 5 เท่าตัว

คนไทยพึงพอใจในชีวิตมากแค่ไหนในปีที่ผ่านมา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงเวลาการระบาดของ COVID-19 นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลก นำมาซึ่งความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อความสุข ทัศนคติ และความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองอย่างมาก . ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยนั้น สำนักงานสถิติได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความอยู่ดีมีสุข ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคม 2562 คนไทยให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิตเฉลี่ย 7.05 คะแนน ในขณะช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่เรียกไดว่ารุนแรงขึ้น (เดือนพฤษภาคม 2563) คนไทยให้คะแนนความสุขเฉลี่ยลดลงไปอยู่ที่ 5.02 . สำหรับความพึงพอใจในช่วงปีที่ผ่านมา (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563) คนไทยมีความพึงพอใจในชีวิตเฉลี่ย 6.70 คะแนน เนื่องจากยังมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 อยู่ โดยความพึงพอใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ในระดับ 6 – 7 และยังพบว่า ชีวิตครอบครัวเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความพึงพอใจมากที่สุด . ทั้งนี้ หากพูดถึงอนาคตผู้คน พวกเขาได้มีการวางแผนเรื่องการเงินมากที่สุด (6.30 คะแนน) รองลงมาคือ สุขภาพกายและสุขภาพจิต (6.26 คะแนน) และการทำงาน/อาชีพ (6.11 คะแนน) ตามลำดับ

EU ขึ้นทะเบียนให้ “ตั๊กแตน” เป็นอาหารปลอดภัย

เมื่อ 12 พ.ย. คณะกรรมการความปลอดภัยทางอาหารแห่งสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศรับรอง ‘ตั๊กแตนอพยพ’ (Locusta Migratoria) เป็นอาหารใหม่ (Novel Food) ที่ปลอดภัยในการบริโภค . โดยตั๊กแตนถือเป็นแมลงชนิดที่ 2 รองจาก ‘หนอนนกอบแห้ง’ (Dried Yellow Mealworms) ที่ได้รับการรับรองเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยจากอียูไปเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ‘จิ้งหรีดทองแดงลายหรือจิ้งหรีดขาว’ เป็นชนิดถัดไป . ทั้งนี้ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ “ผู้เพาะเลี้ยงแมลง” ในการเจาะตลาดที่กว้างขึ้น

การฆ่าตัวตายของคนอีสานที่มากขึ้นกำลังบอกอะไรเกี่ยวกับภาวะสุขภาพจิตของคนในสังคม?

กรมสุขภาพจิต เผย “ข้อมูลการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2563” พบว่า ภาคอีสานมี “อัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคน” สูงขึ้นจากปี 2562 เกือบทุกจังหวัด (มีเพียง 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเลย นครพนม และมุกดาหาร ที่ลดลง) . อีกทั้งส่วนใหญ่ยังมีอัตราฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่ 7.37 คน/ประชากร 1 แสนคน ในปี 2563 (มีเพียง 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอํานาจเจริญ นครพนม มหาสารคาม ยโสธร สุรินทร์ หนองคาย และมุกดาหาร ที่ต่ำกว่า) . ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 โดยพบว่าคนไทยมีสภาวะความเครียดและซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ที่ต่อเนื่องยาวนาน พวกเขาจึงเริ่มเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์จนทำให้หมดพลัง คาดว่าปี 2564 จะมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงกว่าปีที่แล้ว

ศึก Food Delivery สู่การขยายพื้นที่ให้บริการในภาคภาคอีสาน

ปัจจุบันการแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจ Food delivery เจ้าดังอย่าง Grab, LINE MAN x Wongnai และ Food Panda เรียกได้ว่า สามารถสร้างเครือข่ายพื้นที่ให้บริการส่งอาหารได้ครอบคลุมเกือบครบหรือครบทั้ง 77 จังหวัดแล้ว ส่วน Robinhood แพลตฟอร์ม Food Delivery น้องใหม่สัญชาติไทย ก็ไม่น้อยหน้า ล่าสุดมีแผนที่จะขยายพื้นที่ให้บริการไปต่างจังหวัด โดยเป้าหมายแรกจะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของภาคอีสาน อย่าง “นครราชสีมา” และ “ขอนแก่น” . แน่นอนว่าไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะแต่ละเจ้ายังคงงัดไม้เด็ดมาประชันกันอย่างไม่มีใครออมมือ ทั้งในด้านโปรโมชันส่วนลดกับผู้ใช้บริการและร้านอาหารจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่, การเพิ่มรูปแบบการให้บริการในห่วงโซ่อุปทานอาหาร และการขยายบริการไปในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากส่งอาหาร เช่น การซื้อสินค้า การขนส่งสินค้า การเงิน และการท่องเที่ยว . การประเมินของ EIC คาดว่า มูลค่าตลาด Food delivery ของไทยในปี 2021 จะเติบโต 62%YOY จนมีมูลค่า 1.05 แสนล้านบาท เป็นการขยายตัวต่อเนื่องแม้ในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2020 ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดเกือบ 3 เท่าตัว จากการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดโปรโมชันส่วนลดของแพลตฟอร์มเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ และอีกส่วนมาจากมาตรการล็อกดาวน์และห้ามรับประทานอาหารภายในร้านในช่วงที่ผ่านมา . ทั้งนี้ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า รูปแบบการแข่งขันจะเป็น Super App มากยิ่งขึ้น ทั้งจากแพลตฟอร์ม Food delivery ที่ขยายบริการไปด้านอื่น ๆ และจากแพลตฟอร์มที่เน้นบริการด้านอื่น จะหันมาให้บริการ Food delivery มากขึ้นหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย . โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1. การขยายตัวของฐานผู้ใช้บริการใหม่จากความต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการที่ยังมีต่อเนื่อง 2. การเพิ่มขึ้นของการใช้บริการของฐานลูกค้าเดิมจากพฤติกรรมที่เคยชิน และ 3. การขยายตลาดการให้บริการไปในธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานร้านอาหาร . อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจ Food delivery สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน คือแพลตฟอร์ม Food delivery ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาฐานผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์ร้านอาหาร และไรเดอร์, การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และการจัดการด้านกฎระเบียบและด้านสิ่งแวดล้อม . ส่วนแนวทางที่พาร์ทเนอร์ร้านอาหารควรนำไปปรับใช้เพื่อช่วยดึงดูดลูกค้า ได้แก่ การมีสินค้าที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ, การสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ และการมีช่องทางการจำหน่ายหลากหลายเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคอย่างครอบคลุมมากขึ้น . สุดท้าย ภาครัฐอาจเข้ามาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารและไรเดอร์ให้สามารถเข้าสู่แพลตฟอร์ม Food delivery ได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับแพลตฟอร์มในการสนับสนุนหรือช่วยลดต้นทุนต่าง ๆ ทั้งในด้านกฎระเบียบและแนวทางในการเข้าร่วม, ด้านอัตราค่าบริการและผลตอบแทน, สวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม และด้านการจัดทำบัญชีและภาษี ตลอดจนการกำกับดูแลการแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์ม Food delivery เอง เพื่อการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม …

ศึก Food Delivery สู่การขยายพื้นที่ให้บริการในภาคภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง”

หากพูดถึงของกินของฝากของเมืองโคราช หลายคนคงจะนึกถึงสองแบรนด์เก่าแก่อย่าง “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” แต่รู้ไหมว่า แม้สินค้าของทั้งคู่จะสามารถครองใจผู้บริโภคทั้งเก่าและใหม่มาได้ตลาดหลายปีที่ผ่านมา แต่พวกเขาก็ไม่หยุดพัฒนา โดยเฉพาะความท้าทายครั้งใหญ่หลังภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนส่งผลให้ธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวจำนวนมากได้รับผลกระทบตามไปด้วย . ครั้งนี้เราชาว ISAN Insight & Outlook จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าช่วงที่ผ่านมา “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” มีวิธีรับมืออย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงนี้ . . เริ่มที่ “เจ้าสัว” ในปี 2563 หันมาปรับกลยุทธ์รองรับ จากเดิมที่เน้นเพิ่มสาขา เปลี่ยนมาเป็นบุกโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำต่าง ๆ ทำให้ยอดขายรวมของปีที่แล้วโตขึ้น 15% ยังไม่รวมไปถึงการลงทุนกับเครื่องจักรภายในโรงงานและระบบหลังบ้านเพื่อให้ทันยุคดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา จนสามารถสร้างรายได้รวมเกือบพันล้านบาทเป็นครั้งแรก . ประกอบกับการที่ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ เเละคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น แม้จะเป็นอาหารทานเล่นหรือของขบเคี้ยวอย่าง “เนื้อสัตว์แปรรูป” ซึ่งในไทยมีผู้เล่นไม่กี่ราย . ปี 2564 จึงทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ปรับภาพลักษณ์ ไม่เป็นเเค่ร้านขายของฝากที่รอให้คนมาซื้อ เเต่พยายามเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ด้วยการบุกตลาดสแน็ก, Ready to eat และ Ready to cook meal อย่างเต็มตัว อีกทั้งใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นครั้งเเรกในรอบ 63 ปี . ปัจจุบัน เจ้าสัวมีจำนวน 100 กว่าสาขาทั่วประเทศ เเบ่งเป็นร้านค้าของตัวเอง (Stand Alone) ประมาณ 15 สาขา และแฟรนไชส์ประมาณ 90 สาขา กระจายอยู่ในปั๊มนำ้มัน ปตท. ส่วนการส่งออกไปต่างประเทศจะเน้นที่ตลาดเอเชียเป็นหลัก เช่น ฮ่องกง จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ฯลฯ . . ต่อกันด้วย “ปึงหงี่เชียง” ที่ก็มีสินค้ากลุ่มของทานเล่นเช่นเดียวกับเจ้าสัว ปี 2564 นี้ ได้รับรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากโครงการ “ต้นกล้า ทู โกล” ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถยืดอายุอาหารให้นานขึ้นได้ . ยกตัวอย่าง “กุนเชียง” จากเดิมที่มีระยะเวลาขายอยู่ 3 เดือน เมื่อพัฒนาเป็น “กุนเชียงพร้อมทาน” ก็ช่วยยืดอายุสินค้าไปได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งเหมาะกับการขยายช่องทางการตลาดไปสู่ห้างฯ หรือโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ ในอนาคต รวมไปถึงการส่งออกต่างประเทศที่มากขึ้น . ปัจจุบัน ปึงหงี่เชียง มีแฟรนไชส์ที่อยู่ตามปั๊มน้ำมัน ปตท. 130 สาขาทั่วประเทศ …

แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง” อ่านเพิ่มเติม »

5 สนามบินยอดฮิตในภาคอีสาน ที่มีคนใช้มากที่สุด

การระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 มาตั้งแต่ปลายปี 2562 นั้น ส่งผลให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นกฎบังคับของการขึ้นเครื่องบินหรือนโยบายต่าง ๆ จากทางภาครัฐ ที่ออกมาเพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาการระบาด . ในส่วนของภาคอีสาน 5 สนามบินในสังกัดกรมท่าอากาศยานยอดฮิต ที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในปี 2563 ประกอบด้วย . อันดับที่ 1 ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี (VTUD) ศูนย์กลางการบินของภาคอีสานเชื่อมต่อกับ สสป.ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ทำให้ สะดวกต่อการเดินทาง ทั้งยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคอีกด้วย เนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง จังหวัดหนองคาย . เที่ยวบินขาเข้า 6,236 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 701,054 คน เที่ยวบินขาออก 6,236 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 701,881 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 12,472 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,402,935 คน . อันดับที่ 2 ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น (VTUK) เดิมทีเป็นสนามบินเล็ก ๆ กลางเมือง ปัจจุบันถูกเลือกให้เป็นฮับการบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งในตอนนี้สนามบินขอนแก่นกำลังเร่งขยายท่าอากาศยาน เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ . เที่ยวบินขาเข้า 4,866 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 559,630 คน เที่ยวบินขาออก 4,866 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 564,214 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 9,732 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,123,844 คน . อันดับที่ 3 ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี (VTUU) ศูนย์กลางทางการบินพาณิชย์ของภาคอีสานตอนล่าง โดยรับรองผู้โดยสารจากหลายจังหวัด เช่น ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ทั้งยังรับรองผู้โดยสารจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร หลังจากไม่ได้ปรับปรุงมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี . เที่ยวบินขาเข้า 4,353 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 533,016 คน เที่ยวบินขาออก 4,351 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 530,295 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 8,704 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,063,311 คน . อันดับที่ 4 ท่าอากาศยานสกลนคร (VTUI) . เดิมเป็นท่าอากาศยานของกองทัพบก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ได้มีการประสานกรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) และบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ให้เปิดบริการด้านการบินพาณิชย์ …

5 สนามบินยอดฮิตในภาคอีสาน ที่มีคนใช้มากที่สุด อ่านเพิ่มเติม »

10 อันดับจังหวัดที่ปลูกต้นยางพารามากที่สุดในอีสาน

ยางพารา พืชเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ในปี 2563 ไทยสามารถผลิตน้ำยางได้ 4.2 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกกว่า 1.1 แสนล้านบาท มีเนื้อที่เพาะปลูกรวมประมาณ 22.6 ล้านไร่ ครอบคลุมกว่า 67 จังหวัดทั่วประเทศ โดยภูมิภาคที่ปลูกมากที่สุดคือ ภาคใต้ (พื้นที่เพาะปลูกกว่า 13.6 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 60% ของทั้งประเทศ) รองลงมาเป็นภาคอีสาน (พื้นที่เพาะปลูกกว่า 5.2 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 23% ของทั้งประเทศ) ซึ่งหากดูเป็นรายจังหวัด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย . 1. บึงกาฬ มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 844,607 ไร่ 2. เลย มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 716,865 ไร่ 3. อุดรธานี มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 531,068 ไร่ 4. อุบลราชธานี มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 453,758 ไร่ 5. สกลนคร มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 337,018 ไร่ 6. นครพนม มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 313,040 ไร่ 7. ศรีสะเกษ มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 312,759 ไร่ 8. หนองคาย มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 271,323 ไร่ 9. บุรีรัมย์ มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 227,180 ไร่ 10. มุกดาหาร มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 210,383 ไร่ . สถานการณ์ราคายางเดือนสิงหาคม 2564 เป็นอย่างไร? . ราคายางภาพรวมในเดือนสิงหาคม 2564 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา โดยราคาประมูลยางแผ่นดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 52.02 บาท/กิโลกรัม ราคายางแผ่นรมควันอยู่ที่ 55.52 บาท/กิโลกรัม ราคายางท้องถิ่นเฉลี่ยอยู่ที่ 50.18 บาท/กิโลกรัม ราคาน้ำยางสดอยู่ที่ 49.71 บาท/กิโลกรัม ราคายางก้อนถ้วย 100% อยู่ที่ 47.15 บาท/กิโลกรัม . อย่างไรก็ตาม ตลาดยางพาราถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันด้านต้นทุนสูง เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นในภาคอีสานอย่างข้าวและอ้อย ถึงการทำสวนยางนั้นจะใช้แรงงานน้อยกว่า สามารถกรีดยางได้นานถึง 9-10 เดือน/ปี แต่ต้นทุนการผลิตต่อไร่ยังคงสูงกว่าภาคใต้ ที่มีจำนวนการผลิตต่อไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 240 กิโลกรัม ในขณะที่อีสานมีจำนวนการผลิตต่อไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 223 กิโลกรัม . . …

10 อันดับจังหวัดที่ปลูกต้นยางพารามากที่สุดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top