Infographic

ส่องราคาที่ดินสูงสุด แต่ละจังหวัดในอีสาน รอบใหม่ คาดเริ่มใช้ 1 ม.ค. 2566

กรมธนารักษ์ได้สำรวจราคาและปรับปรุงราคาที่ดิน แต่ละจังหวัด เพื่อจัดทำประเมินราคาที่ดินรอบใหม่ (คาดใช้รอบปี 2566) และอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการประจำจังหวัด โดยราคาภาพรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6-7% ส่วนภาคอีสาน เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 8.7% . การประเมินราคาที่ดิน แต่ละจังหวัด หรือราคาประเมินที่ดิน โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเมินราคาที่ดินของกรมธนารักษ์ ประเมินราคาที่ดินของภาคเอกชน และประเมินราคาที่ดินราคาตลาด ซึ่งจะใช้เลขที่โฉนด เพื่อประเมินราคาที่ดิน แล้วนำมาเทียบเคียงกัน . . จังหวัดที่ราคาประเมินที่ดินสูงสุดในอีสาน ได้แก่ . 1. ขอนแก่น ถนนศรีจันทร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209) มีราคาประเมินที่ 2,500-200,000 บาทต่อตารางวา . 2. อุดรธานี ถนนโพศรี มีราคาประเมินที่ 70,000-180,000 บาทต่อตารางวา . 3. นครราชสีมา ถนนจอมพล มีราคาประเมินที่ 45,000-130,000 บาทต่อตารางวา ถนนชุมพล มีราคาประเมินที่ 130,000 บาทต่อตารางวา ถนนราชดำเนิน มีราคาประเมินที่ 40,000-130,000 บาทต่อตารางวา ถนนอัษฎางค์ มีราคาประเมินที่ 50,000-130,000 บาทต่อตารางวา . สาเหตุที่ ถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ราคาประเมินสูงสุด เนื่องจากเป็นย่านการค้า ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่รอบล้อมด้วยห้างร้าน สถานบันการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิง ฯลฯ ส่งผลให้ราคาอยู่ที่ 200,000 บาทต่อตารางวา หรือราว 80 ล้านบาทต่อไร่ ราคาแพงที่สุดในภาคอีสาน . อย่างไรก็ตาม การประเมินราคาที่ดินดังกล่าว เป็นการประเมินเป็นรายถนนเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้น ผู้ต้องการขอทราบราคาประเมินเฉพาะแปลงจะต้องตรวจสอบที่สำนักงานที่ดิน หรือ ธนารักษ์พื้นที่ หรือ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ . . หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง การลงทุนในที่ดิน ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนลงทุน . ประกาศ ราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 ที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 https://kku.world/ns51l . ทั้งนี้ หากกรมธนารักษ์จัดทำราคาประเมินราคาที่ดินแต่ละจังหวัด ปี 2566 แล้วเสร็จ จะมีการอัปโหลดข้อมูลบนเว็บไซต์ https://kku.world/v99x7 เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น . . อ้างอิงจาก: https://kku.world/pqpu0 https://kku.world/4n93o . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ราคาประเมินที่ดิน

อีสาน ภูมิภาคที่มีสัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) มากเป็นอันดับ 2 ของไทย กับเหตุผลว่าทำไมต้องเร่งแก้

ก่อนอื่นต้องรู้ว่า ‘ความยากจน’ หรือ Poverty สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ความยากจนด้านตัวเงิน (Monetary Poverty) และที่ไม่ใช่ตัวเงิน (Non-monetary poverty) . เครื่องมือวัดความยากจนด้านตัวเงิน คือ เส้นความยากจน (Poverty line) ดังนั้น ผู้ที่มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนจะถูกจัดให้เป็นคนจน . ปี 2563 ภาคอีสาน มีเส้นความยากจน (ด้านรายจ่าย) อยู่ที่ 2,495 บาท/คน/เดือน ทำให้จำนวนคนจนมากถึง 2,128,610 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 11.54% ของคนอีสาน . โดยสัดส่วนคนจนในอีสานนี้ ถ้านำมาเปรียบเทียบกับภาพรวมทั้งประเทศหรือระดับภูมิภาค ถือว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง (ไม่ดี) ยิ่งในระดับภูมิภาคเป็นรองแค่ภาคใต้ (สัดส่วนคนจนทั้งประเทศ 6.84% | ภาคใต้ 11.62% | ภาคเหนือ 6.83% | ภาคกลาง 3.25% | กรุงเทพฯ 0.49%) . จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดในอีสาน ได้แก่ 1. กาฬสินธุ์ 23.79% 2. นครราชสีมา 21.20% 3. นครพนม 20.33% . จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนต่ำสุดในอีสาน ได้แก่ 1. เลย 0.28% 2. ขอนแก่น 0.75% 3. หนองคาย 3.42% . สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโครงสร้างการผลิต ซึ่งแรงงานอีสานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร และเป็นแรงงานนอกระบบ มีรายได้ไม่แน่นอน จึงส่งผลไปถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย โดยจากข้อมูลปี 2564 พบว่า ภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 75.2% อย่างไรก็ตาม ปี 2565 ประเทศไทย รวมถึงภาคอีสานกำลังเผชิญสถานการณ์เงินเฟ้ออย่างหนัก (จากฝั่ง Supply คือ ของแพงขึ้นจากต้นทุนการผลิตเพิ่ม ไม่ใช่ Demand ซื้อเพิ่ม) . เดือนเมษายนที่ผ่านมา ไทยมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 4.65% (YoY) ส่วนภาคอีสาน เงินเฟ้อ 4.14% และคาดว่าเดือน พฤษภาคม นี้จะขยับขึ้นอีก จากปัจจัยราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีการอุดหนุนราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซหุงต้ม ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสินค้าและราคาอาหารมีแนวโน้มขยับขึ้น . การที่ต้องเผชิญสถานการณ์เงินเฟ้อ ไหนจะอัตราดอกเบี้ยที่พร้อมจะขึ้นตามเงินเฟ้อ ในขณะที่ค่าแรงยังเท่าเดิม (ข้อมูลค่าจ้างขั้นต่ำล่าสุด เป็นของปี 63) ทำให้ในระยะยาวเราอาจต้องรับมือกับปัญหาหนี้ครัวเรือน …

อีสาน ภูมิภาคที่มีสัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) มากเป็นอันดับ 2 ของไทย กับเหตุผลว่าทำไมต้องเร่งแก้ อ่านเพิ่มเติม »

อีสาน ภาคที่มีแรงงานไทย ไปทำงานต่างแดน มากที่สุด

จากแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศในปี 2565 (มกราคม – เมษายน) ภาคอีสานยังเป็นภูมิภาคที่มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านการลงทะเบียนที่ถูกต้องมากที่สุด จำนวน 11,176 คน คิดเป็น 63.8% จากทั่วทั้งประเทศ จำนวน 17,512 คน . จังหวัด (ตามภูมิลำเนา) ของแรงงานที่ไปทำงานมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ . 1. อุดรธานี 2,637 คน 2. นครราชสีมา 1,138 คน 3. สกลนคร 799 คน 4. ขอนแก่น 763 คน 5. บุรีรัมย์ 722 คน . โดยไต้หวันเป็นประเทศที่คนอีสานเดินทางไปทำงานมากที่สุด โดยส่วนใหญ่เป็นงานในตำแหน่งผลิตโลหะ สิ่งทอ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์อาหาร และก่อสร้าง . อย่างไรก็ตาม การที่คนไทยรวมถึงคนอีสานนิยมไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น อาจเป็นช่องทางให้มิชฉาชีพหลอกลวงคนหางานได้ ดังนั้นการไปทำงานต่างแดนควรไปแบบถูกต้องตามกฏหมายและมีสัญญาว่าจ้างที่ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมา . การไปทำงานต่างประเทศโดยถูกต้องตามกฏหมายมี 5 วิธี คือ . 1.บริษัทจัดหางานจัดส่ง 2.กรมการจัดหางานจัดส่ง 3.เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง 4.นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงาน 5.นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างไปฝึกงาน . ปัจจุบันมีโครงการจัดส่งโดยรัฐ ที่ส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียค่าบริการ นอกจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าภาษี สนามบิน ค่าสมาชิกกองทุนฯ ค่าที่พักสำหรับเตรียมตัวก่อนเดินทาง ประกอบด้วย . โครงการจ้างตรง : ไต้หวัน โครงการ IM : ประเทศญี่ปุ่น โครงการ EPS : สาธารณรัฐเกาหลี โครงการ TIC : ประเทศอิสราเอล . สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทร. 0 2245 9435-6 หรือโทร #สายด่วนกระทรวงแรงงาน1506 กด 2 กรมการจัดหางาน #กระทรวงแรงงาน . . ที่มา: กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ และบริการประชาชนกระทรวงแรงงาน (e-labour) . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แรงงาน #ทำงานต่างประเทศ

สำรวจดัชนีโอกาสทางธุรกิจที่สูงสุดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน

เว็บไซต์ DBD DataWarehouse+ ซึ่งรวบรวมข้อมูลนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดเผยดัชนีโอกาสหรือคะแนนที่บ่งบอกถึงโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย . โดยค่าดัชนีจะอยู่ในช่วง 0-1 (คะแนนสูง = มีโอกาสทางธุรกิจมาก) พิจารณาจาก กลไกตลาด (ขนาดของตลาด การแข่งขัน สภาวะตลาด) และปัจจัยทางอุตสาหกรรม (จำนวนแรงงาน เงินลงทุน) . 5 อันดับ จังหวัดในภาคอีสานที่มีดัชนีโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยสูงสุด . 1. เลย ค่าดัชนี 0.94 กลุ่มยานยนต์ 2. หนองบัวลำภู ค่าดัชนี 0.88 กลุ่มส่วนประกอบของยานยนต์ 3. มหาสารคาม ค่าดัชนี 0.87 กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรม และเครื่องจักร 4. หนองคาย ค่าดัชนี 0.87 กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 5. มุกดาหาร ค่าดัชนี 0.85 กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรม และเครื่องจักร . น่าสนใจว่า 4 จาก 20 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และอุดรธานี มีโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยประเภท ‘ส่วนประกอบของยานยนต์’ สูงที่สุด เช่นเดียวกับอีก 4 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม มุกดาหาร ชัยภูมิ และสุรินทร์ ที่มีโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยประเภท ‘วัสดุอุตสาหกรรม และเครื่องจักร’ สูงที่สุด . อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนคิดเป็นประมาณ 5.9% ของ GDP โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไม่ได้เติบโตได้ด้วยตัวเอง แต่เติบโตจาก ‘การลงทุนทางตรง-ย้ายฐาน’ จาก ‘ญี่ปุ่น’ เป็นหลัก . เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ ‘ยุคยานยนต์ไฟฟ้า’ หรือ EV ที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แต่ค่ายรถญี่ปุ่นยังปรับตัวช้า โดยมีแผนผลิต EV น้อยกว่าค่ายจีน-อเมริกันมาก จึงส่งผลเสียกับไทยที่เป็นฐานการผลิตด้วย . ยิ่งการที่ไทยมีข้อตกลงทางการค้ากับ ‘จีน’ อาจทำให้มีการนำเข้า EV มากกว่าผลิตเอง เพราะนำเข้า EV ได้โดยไม่มีภาษี อีกทั้งจีนยังมีกำลังผลิตมากกว่า ทำให้ต้นทุนถูกกว่า . ดังนั้น แม้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีค่าดัชนีที่สูงในหลายจังหวัดภาคอีสาน แต่การพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ยังมีแผนผลิต EV น้อย อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต เราจึงควรเร่งศึกษาผลกระทบ และโอกาสในระยะยาว (ควรเป็นการผลิต EV ไหม) รวมถึงทบทวนสัญญาข้อตกลงทางการค้าเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ากลุ่มยานยนต์ให้มากขึ้น เพื่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมในประเทศ และส่งเสริมให้เกิดการลงทุน การวิจัยและพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูงได้ด้วยตัวเอง . . อ้างอิงจาก …

สำรวจดัชนีโอกาสทางธุรกิจที่สูงสุดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง การพัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยงพื้นที่ภาคอีสาน

เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศไทยมีแผนพัฒนาโครงข่ายในการเดินทางและขนส่งสินค้าทางรางให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าการขับเคลื่อนเชิงนโยบายดังกล่าว หรือที่เรียกว่า “โครงการ R-map” โดยเฉพาะในภาคอีสาน มีเส้นทางใดบ้าง กำหนดการก่อสร้างเป็นอย่างไร และใช้งบลงทุนมากน้อยแค่ไหน อีสานอินไซต์จะสรุปให้… . รถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน . 1. ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. มูลค่าโครงการ 24,064 ล้านบาท รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน และยกระดับ จำนวนสถานี : 19 สถานี ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 3 แห่ง เปิดให้บริการแล้ว ในปี 2563 . 2. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 135 กม. มูลค่าโครงการ 29,968.62 ล้านบาท (4 สัญญา + ขยายระยะเวลา) รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน ยกระดับ และอุโมงค์ จำนวนสถานี : 19 สถานี ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 1 แห่ง กำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2565 (บางส่วน) . ทางคู่ระยะที่ 2 . 1. ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. มูลค่าโครงการ 26,663.26 ล้านบาท รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน และทางรถไฟยกระดับ จำนวนสถานี : 15 สถานี ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 3 แห่ง สถานะ : รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมพิจารณาเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินโครงการ โดยคาดว่า จะเริ่มก่อสร้างปี 2566 และเปิดให้บริการในปี 2569 . 2. ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. มูลค่าโครงการ 37,527.10 ล้านบาท รูปแบบโครงสร้าง : ระดับพื้นดิน และทางรถไฟยกระดับ จำนวนสถานี : 35 สถานี ย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า : 4 แห่ง สถานะ : รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ โดยคาดว่า …

ชวนเบิ่ง การพัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมโยงพื้นที่ภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ปีงบฯ 2563 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคอีสานมีรายได้เท่าไร ?

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคอีสาน ประจำปีงบประมาณ 2563 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 178,217 ล้านบาท (-2.7% จากปีงบฯ 2562) . แหล่งรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย . 1. รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง ได้แก่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ อากรรังนกอีแอ่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ ภาษีบำรุงท้องที่ที่จัดเก็บจากยาสูบ น้ำมัน ค่าธรรมเนียมเข้าพักโรงแรม รวม 5,856 ล้านบาท (-27.3%) . 2. รายได้ที่รัฐจัดสรร เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสุราและสรรพาสามิต ภาษีค่าธรรมเนียมรถยนต์ เป็นต้น และภาษีที่รัฐแบ่งให้ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 71,720 ล้านบาท (-7.5%) . 3. เงินอุดหนุน แบ่งเป็น เงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ รวม 100,642 ล้านบาท (3.2%) . จะเห็นได้ว่า อปท. ยังคงต้องพึ่งพาเงินจากรัฐบาลเป็นหลัก คือ เงินอุดหนุน ในการนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการสาธารณะ การสาธารณสุขต่าง ๆ ในขณะที่ รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองนั้น ยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด . จังหวัดที่มีรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองสูงสุดในอีสาน ได้แก่ 1. จังหวัดนครราชสีมา 901 ล้านบาท 2. จังหวัดขอนแก่น 605 ล้านบาท 3. จังหวัดอุบลราชธานี 518 ล้านบาท . จังหวัดที่มีรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองต่ำสุดในอีสาน ได้แก่ 1. จังหวัดมุกดาหาร 84 ล้านบาท 2. จังหวัดอำนาจเจริญ 99 ล้านบาท 3. จังหวัดหนองบัวลำภู 117 ล้านบาท . การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของ อปท. เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่รัฐพยายามปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีการจัดเก็บได้น้อย ไม่เพียงพอสำหรับการบริหารจัดการภายในท้องถิ่นของตนเอง . จึงมีแนวคิดในการจัดหารายได้ให้แก่ อปท.เพิ่มขึ้น โดยการยกเลิกภาษีบำรุงท้องที่ โรงเรือนและที่ดิน แล้วตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ขึ้นมาบังคับใช้แทน โดยหวังว่าภาษีดังกล่าวจะช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง และลดการพึ่งพาจากรัฐบาลกลางให้ได้มากที่สุด . อย่างไรก็ตาม รัฐควรกำหนดตัวชี้วัดของการจัดเก็บรายได้เองของ อปท. เพื่อกระตุ้นให้ท้องถิ่นพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของตนเอง และควรส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถหาแหล่งรายได้ใหม่ ๆ ได้ด้วยตัวเอง . . อ้างอิงจาก: https://kku.world/pp249 …

ปีงบฯ 2563 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคอีสานมีรายได้เท่าไร ? อ่านเพิ่มเติม »

ย้อนดู มูลค่าการค้าชายแดน – ผ่านแดน ภาคอีสาน ปี 63

ปี 2563 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนรวม 175,400 ล้านบาท (+4.1% จากปี 2562) . หากแบ่งตามพื้นที่ตั้งด่านศุลกากร การค้าชายแดนภาคอีสานประมาณ 90% เป็นการค้ากับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้า 157,100 ล้านบาท ส่วนอีก 10% เป็นการค้ากับกัมพูชา มีมูลค่า 18,300 ล้านบาท . โดยเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 106,500 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้ารวม 68,800 ล้านบาท . ทั้งนี้ ภาคอีสานได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด เช่นเดียวกับปี 2563 ยังคงได้เปรียบดุลการค้ารวม 37,700 ล้านบาท (ทั้งกับสปป. ลาว และกัมพูชา) แม้เป็นการได้เปรียบดุลการค้าที่ลดลง 24.3% จากปี 2562 เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 . . สำหรับมูลค่าการค้าผ่านแดนรวม 209,100 ล้านบาท (+25.2% จากปี 2562) ซึ่งเป็นการค้าผ่านแดนกับจีนตอนใต้ และเวียดนาม ที่มีมูลค่าการค้าผ่านแดนเป็นอันดับ 1 ของไทย . โดยเป็นมูลค่าการส่งออกผ่านแดนรวม 96,500 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้าผ่านแดนรวม 112,600 ล้านบาท . น่าสนใจว่า ปี 2563 ภาคอีสานเสียเปรียบดุลการค้าผ่านแดนรวม 16,100 ล้านบาท (เสียเปรียบดุลการค้ากับจีน 44,700 ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้ากับเวียดนาม 28,600 ล้านบาท) . มุกดาหาร จังหวัดในภาคอีสานที่มีมูลค่าการค้าผ่านแดนกับจีนตอนใต้ และเวียดนามสูงที่สุด โดยมีมูลค่าการค้าผ่านแดนรวม 152,600 ล้านบาท ก็ยังเสียเปรียบดุลการค้าผ่านแดนรวม 59,800 ล้านบาท (เสียเปรียบดุลการค้ากับจีน 62,000 ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้ากับเวียดนาม 2,200 ล้านบาท) . . อย่างไรก็ดี โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการค้าชายแดนไทย รวมถึงภาคอีสาน ยกตัวอย่าง สะพานข้ามแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม (ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2554) ที่มีส่วนสำคัญทำให้มูลค่าการขนส่งผ่านด่านศุลกากรนครพนมไปยังเวียดนาม และส่งต่อไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้น . โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 “บึงกาฬ-บอลิคำไซ” ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง หากแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างไทย-เวียดนามที่สั้นที่สุด ระยะทางเพียง 150 กิโลเมตร . และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขอนแก่น – หนองคาย (ระยะที่ 2) ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติโครงการ หากแล้วเสร็จจะสามารถเชื่อมต่อการขนส่งทางรางระหว่างไทย กับทางรถไฟ สปป.ลาว – จีนได้สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในด้านการค้าและการลงทุนใหม่ …

ย้อนดู มูลค่าการค้าชายแดน – ผ่านแดน ภาคอีสาน ปี 63 อ่านเพิ่มเติม »

ฮู้จัก ราชาผลไม้ไทยดินแดนอีสาน ทุเรียนภูเขาไฟ VS ทุเรียนโอโซน

ทุเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” (King of fruits) ด้วยรสชาติที่หวาน มัน และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและคนต่างชาติ (บางส่วน) ในปี 2564 สามารถส่งออกทำรายได้ให้ประเทศกว่า 3,854 ล้านดอลลาร์สหรัฐ . ปัจจุบัน จังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมีชื่อเสียง ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผู้ค้า ในด้านของคุณภาพและความปลอดภัย . ปี 2564 มีเนื้อที่เพาะปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ 8,404 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 3,479 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4,213 ตัน/ปี โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,220 ราย . ด้านต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 18,430 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 5) เกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 204,000 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 185,570 บาท/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 160 – 180 บาท/กิโลกรัม . สำหรับ “ทุเรียนโอโซน” ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ นั้นเน้นการรวมกลุ่มการผลิต และให้เกษตรกรเป็นผู้บริหารจัดการแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิต แปรรูปและการตลาด เพื่อให้ได้สินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูง และคุ้มค่า โดยในปี 2565 นี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขอรับรองมาตรฐาน GAP ในนามเกษตรแปลงใหญ่ . ปี 2564 มีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 1,063 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 655 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,611 ตัน/ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 51 ราย . ด้านต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 27,196 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 6 และ เก็บเกี่ยวได้ระยะยาว) เกษตรกรนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (เดือนเมษายน – พฤษภาคม ของทุกปี) เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,460 กิโลกรัม/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนเฉลี่ย 369,000 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 341,804 …

ฮู้จัก ราชาผลไม้ไทยดินแดนอีสาน ทุเรียนภูเขาไฟ VS ทุเรียนโอโซน อ่านเพิ่มเติม »

ย้อนดู ผลการจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาคอีสาน ปีงบฯ 63

 เงินจากการเรียกเก็บภาษีของรัฐบาลมาจากไหน? . เงินที่ได้จากการเก็บภาษีมาจาก 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่น ๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ กรมธนารักษ์ และส่วนราชการอื่น ๆ โดยหากเทียบสัดส่วนภาษีที่เรียกเก็บได้ในแต่ละปีจะพบว่า เกินครึ่งมาจากกรมสรรพากร .  ภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บ แบ่งเป็น . 1.ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีต้องจ่ายเอง ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม . 2. ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่เก็บจากบุคคลอื่น แต่ผู้เสียภาษีต้องรับภาระในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ .  ผลการจัดเก็บภาษีสรรพากรในภาคอีสาน ปีงบฯ 2563 จำนวน 44,485 ล้านบาท (+0.99% จากปีงบฯ 2562) .  ภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บได้มากที่สุดในอีสาน ได้แก่ . 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 22,720 ล้านบาท (+7.56%) 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 9,193 ล้านบาท (-1.88%) 3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 8,446 ล้านบาท (-11.13%) 4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 2,691 ล้านบาท (+8.14%) 5. อากรแสตมป์ 1,386 ล้านบาท (-7.61%) 6. รายได้อื่น ๆ* 49.31 ล้านบาท (-20.09%) . จะเห็นว่า ปีงบฯ 2563 แม้กรมสรรพากรในภาคอีสานจะจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในหมวดภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะเท่านั้น ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อากรแสตมป์ และรายได้อื่น ๆ เก็บได้ลดลง .  จังหวัดที่จัดเก็บภาษีสรรพากรได้สูงสุดในอีสาน ได้แก่ 1. นครราชสีมา 9,280 ล้านบาท 2. ขอนแก่น 6,888 ล้านบาท 3. อุบลราชธานี 3,871 ล้านบาท .  จังหวัดที่จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ต่ำสุดในอีสาน ได้แก่ 1. อำนาจเจริญ 333 ล้านบาท 2. บึงกาฬ 390 ล้านบาท 3. ยโสธร 644 ล้านบาท . ทั้งนี้ เมื่อเทียบสัดส่วนจังหวัดที่กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้ “เพิ่มขึ้น …

ย้อนดู ผลการจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาคอีสาน ปีงบฯ 63 อ่านเพิ่มเติม »

ศึกห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น ภาคอีสาน รายได้หลักร้อยล้าน

ห้างสรรพสินค้า ถือเป็นธุรกิจแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงที่มีการ Lockdown เมือง ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หันไปนิยมซื้อและทำธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้น . ผลประกอบที่ผ่านมาของห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น ภาคอีสานเป็นอย่างไร? . บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด (อัษฎางค์) จ.นครราชสีมา ก่อตั้งมาแล้ว 46 ปี ปี 2563 รายได้ 137,083,359 บาท กำไร 26,616 บาท ปี 2562 รายได้ 254,409,487 บาท กำไร 272,612 บาท . บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จ.ขอนแก่น ก่อตั้งมาแล้ว 38 ปี ปี 2563 รายได้ 321,356,296 บาท กำไร 3,014,526 บาท ปี 2562 รายได้ 324,610,146 บาท กำไร 3,705,832 บาท . บริษัท แฟรี่พลาซ่า จำกัด จ.ขอนแก่น ก่อตั้งมาแล้ว 35 ปี ปี 2563 รายได้ 205,339,923 บาท กำไร 7,867,117 บาท ปี 2562 รายได้ 258,115,281 บาท กำไร 2,921,381 บาท . บริษัท ร้อยเอ็ดพลาซ่า จำกัด จ.ร้อยเอ็ด ก่อตั้งมาแล้ว 30 ปี ปี 2563 รายได้ 204,216,212 บาท กำไร 577,435 บาท ปี 2562 รายได้ 246,631,118 บาท กำไร 2,005,350 บาท . บริษัท ซุ่นเฮงพลาซ่า จำกัด จ.ศรีสะเกษ ก่อตั้งมาแล้ว 28 ปี ปี 2563 รายได้ 321,885,929 บาท กำไร 729,252 บาท ปี 2562 รายได้ 369,495,531 …

ศึกห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น ภาคอีสาน รายได้หลักร้อยล้าน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top