Infographic

เกิดอะไรขึ้น อีสานถึงมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด

ผลสำรวจแรงงานนอกระบบ ปี 2564 จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งประเทศ 37.7 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 19.6 ล้านคน (52%) . หากเปรียบเทียบแรงงานนอกระบบจากจำนวนผู้มีงานทำในภูมิภาค จะพบว่า ภาคอีสาน มีแรงงานนอกระบบมากที่สุด (75.2%) รองลงมาเป็นภาคเหนือ (68.5%) ภาคใต้ (52.3%) ภาคกลาง (37.7%) และกรุงเทพมหานคร (21.9%) . เมื่อมาดูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แรงงานนอกระบบของประเทศส่วนใหญ่ทํางานอยู่ในภาคเกษตร (58%) รองลงมา เป็นภาคการบริการและการค้า (32.2%) และภาคการผลิต (9.8%) . ทั้งนี้ แบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ปี 2563 พบว่า อีสานมีแรงงานในภาคเกษตร 6.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 53% ของผู้มีงานทำในภูมิภาค ดังนั้น สัดส่วนแรงงานเกษตรที่มากจึงสะท้อนแรงงานนอกระบบที่มากไปด้วย . โดยสิ่งหนึ่งที่แรงงานนอกระบบจะต้องเผชิญ คือ ถ้าไม่ได้สมัครเข้าประกันสังคม ก็จะไม่มีสวัสดิการคุ้มครองครอบคลุมในหลายกรณีเหมือนกับแรงงานในระบบ ซึ่งที่ผ่านมา แรงงานเกษตรในอีสานได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยเพียง 34 บาท/ชั่วโมง น้อยกว่าสาขาอื่น ๆ เป็นเท่าตัว การจะให้มาจ่ายเงินเพื่อซื้อสวัสดิการเหมือนแรงงานในระบบจึงเป็นเรื่องยาก . ยิ่งปัญหาของแรงงานนอกระบบ ปี 2564 ที่ส่วนใหญ่มีปัญหาจากการทำงาน (31.8%) โดยสิ่งที่พวกเขาต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุด คือ เรื่องของค่าตอบแทน จึงอาจกล่าวได้ว่า “จริง ๆ แล้วไม่ใช่ว่าแรงงานนอกระบบโดยเฉพาะในภาคเกษตร ไม่อยากจ่ายเงินเพื่อซื้อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่พวกเขาไม่มีให้จ่ายต่างหาก” เงินที่ได้เมื่อหักค่ากินค่าอยู่ก็แทบไม่เหลือ ไหนจะความไม่แน่นอนของรายได้ รวมไปถึงปัญหาหนี้สิน ที่ทำให้ไม่สามารถจ่ายได้ต่อเนื่อง . ซึ่งถ้าถามเหตุผลที่ยังทำเกษตรอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าสู่วัยสูงอายุของแรงงาน และจำนวนมากก็มีการศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า ทำให้การปรับเปลี่ยนอาชีพทำได้ยาก . ดังนั้น ภาครัฐอาจต้องหาวิธีให้แรงงานในภาคเกษตรได้พัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่ทำอยู่ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าแบบที่ไม่ยากหรือเป็นภาระพวกเขาเกินไป โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นตัวชี้วัด ควบคู่ไปกับการดึงคนรุ่นใหม่ที่สนใจและอยากพัฒนาการเกษตรของภูมิภาคและประเทศมาเป็นกำลังเสริมให้มากขึ้น ก่อนที่แรงงานเกษตร ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยจะหายไปหมด . . ที่มา: รายงาน การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564 จัดทำโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และแบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จัดทำโดยสำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

เรื่องของ “วัวเนื้อ” กับข้อได้เปรียบจากการเลี้ยงเพื่อการส่งออกของอีสาน

 จำนวนโคเนื้อ . ในปี 2564 ประเทศไทยมีโคเนื้อกว่า 7.58 ล้านตัว โดยภูมิภาคที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด คือ ภาคอีสาน 3.97 ล้านตัว (52.32%) รองลงมาเป็น ภาคกลาง 1.31 ล้านตัว (17.26%) ภาคเหนือ 1.21 ล้านตัว (15.97%) และภาคใต้ 1.10 ล้านตัว (14.45%) ส่วนจังหวัดที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุดในประเทศ ได้แก่ สุรินทร์ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ .  สถานการณ์การนำเข้า-ส่งออกโคเนื้อ . ก่อนอื่นต้องรู้ว่า การนำเข้า-ส่งออก สินค้าที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อ จะแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้ . 1. โคเนื้อมีชีวิต ประกอบด้วย โคมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ และโคมีชีวิตอื่น ๆ . 2. เนื้อโคและส่วนอื่นที่กินได้ ประกอบด้วย เนื้อโคสดแช่เย็น เนื้อโคสดแช่แข็ง และเครื่องในโคเนื้อและส่วนอื่นที่บริโภคได้ . 3. ผลิตภัณฑ์เนื้อโค เช่น เนื้อโคแปรรูป .  สำหรับการนำเข้า ปี 2564 ไทยนำเข้าเนื้อโคและผลิตภัณฑ์มากที่สุด (93.82%) เป็นจำนวน 48,678 ตัน มูลค่า 5,628.40 ล้านบาท โดยประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น .  ส่วนการส่งออก ปี 2564 ไทยส่งออกโคเนื้อมีชีวิตมากที่สุด (99.43%) เป็นจำนวน 198,134 ตัว มูลค่า 3,527.24 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโคเนื้อมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ จำนวน 40,178 ตัว มูลค่า 621.95 ล้านบาท โดยประเทศที่ไทยส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สปป. ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย . ทั้งนี้ การส่งออกโคเนื้อมีชีวิตไป สปป. ลาว จะเป็นการส่งออกไปจีนผ่าน สปป.ลาว เป็นหลัก เนื่องจากต้องถูกกักเพื่อตรวจสอบโรค โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย และลัมปีสกิน ที่กำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไม่มีตัวเลขการส่งออกไปจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของไทย . โดยจีนกำหนดคุณสมบัติโคที่จะรับซื้อว่า จะต้องเป็นลูกผสมอเมริกันบราห์มัน หรือลูกผสมยุโรปทุกสายพันธุ์ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 350 – 400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100 บาท ส่งออกวันละ …

เรื่องของ “วัวเนื้อ” กับข้อได้เปรียบจากการเลี้ยงเพื่อการส่งออกของอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ไม้เศรษฐกิจที่น่าสนใจแต่ละภาค มีอิหยังแหน่?

ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ คือไม้ยืนต้นทุกชนิดที่ปลูกหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติรวมถึงไผ่ ซึ่งอยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ ในการสร้างมูลค่าให้กับผู้ปลูก ทั้งขายโดยตรงและแปรรูป นอกจากนี้ยังสามารถนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ด้วย . การส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้ยืนต้นนั้น มีความจำเป็นที่ต้องสร้างแรงจูงใจและต้องการกลไกทางการเงินเข้ามาช่วยสนับสนุน รวมทั้งการปลดล็อกข้อจำกัดด้านกฎหมายให้การปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสามารถตัด จำหน่าย ทำไม้ได้อย่างสะดวก การให้องค์ความรู้ทางวิชาการในเรื่องการปลูก การเลือกพันธุ์ไม้ และพื้นที่ปลูกก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ . ภาคเหนือ ไม้เศรษฐกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ สัก ประดู่ป่า พะยูง แดง และยางนา . ภาคอีสาน ไม้เศรษฐกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ ประดู่ป่า พะยูง ยางนา และสัก . ภาคใต้ ไม้เศรษฐกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ ไม้วงศ์ยาง จำปาป่า หลุมพอ สะเดาเทียม และกันเกรา . ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ไม้เศรษฐกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ ยางนา ประดู่ป่า พะยอม สักและกฤษณา . และไม้เศรษฐกิจที่สามารถปลูกได้ทุกภาค ได้แก่ ตะเคียนทอง ไผ่ ยูคาลิปตัส และกระถินเทพา . . การแยกประเภทไม้ตามประเภทการเจริญเติบโต โดยวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางและรอบตัดฟัน สามารถแยกได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ดังนี้ . กลุ่มที่ 1 ไม้โตไว เป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบของเส้นผ่านศูนย์กลางโตไวเฉลี่ย 1.5 – 2 เซนติเมตร/ปี หลังจากนั้นอัตราการหยุดเจริญเติบโตจะหยุดอย่างรวดเร็ว รอบตัดฟันไม้ยู่จึงที่ 5 – 15 ปี เช่น สะเดาเทียม กระถินเทพา กระถินณรงค์ ยูคาลิปตัส เลี่ยน สะเดา ขี้เหล็ก โกงกาง สนทะเล สนประดิพัทธ์ รวมถึงไผ่ ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ไม้ประเภทนี้เนื้องานจึงเหมาะกับการใช้สร้างบ้านเรือน หรืองานก่อสร้างต่าง ๆ เครื่องเรือนท้องถิ่น หรือในอุตสาหกรรมเยื่อไม้ ชิ้นไม้สับ ราคาเฉลี่ยที่ 80 – 360 บาท/ต้น ขึ้นอยู่กับอายุของไม้ . กลุ่มที่ 2 ไม้โตปานกลาง เป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบของเส้นผ่านศูนย์กลางโตไวเฉลี่ย 0.8 – 1.5 เซนติเมตร/ปี ซึ่งโตช้ากว่ากลุ่มที่ 1 แต่มีระยะการเจริญเติบโตนาน รอบตัดฟันไม้อยู่ที่ 15-20 ปี เช่น สัก ประดู่ ยางนา แดง สะตอ เป็นต้น …

ไม้เศรษฐกิจที่น่าสนใจแต่ละภาค มีอิหยังแหน่? อ่านเพิ่มเติม »

สถานการณ์ ‘เงินเฟ้อ’ ภาคอีสานเป็นยังไง เมื่อของไทย เดือน ก.พ. 65 สูงสุดในรอบ 13 ปี

อัตราเงินเฟ้อของภาคอีสาน เดือน กุมภาพันธ์ 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 4.55% (YoY) เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนมกราคมที่สูงขึ้น 2.89% (YoY) . สาเหตุหลักยังคงมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และค่ากระแสไฟฟ้าผันแปร (Ft) จากฐานในปีที่ผ่านมาต่ำ (มีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค) รวมไปถึงราคาเนื้อสุกร ที่สูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด . สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2565 ยังคงอยู่ในระดับสูงตามราคาพลังงานที่ยังสูง (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า) เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งถือเป็นต้นทุนการผลิตที่ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม สินค้าที่เริ่มปรับตัวลดลง เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสุกร ผักสด (พริกสด ขิง) และผลไม้ (ส้มเขียวหวาน มะม่วง) . . ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

4 Megatrends กำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะแรงงาน

กระแส Megatrends ในโลกยุคใหม่ ที่จะมากำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของแรงงาน ซึ่งภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1. การปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ จากการสำรวจผู้ประกอบการท่ัวโลกโดย World Economic Forum (WEF) พบว่า เทคโนโลยีที่กิจการคาดว่าจะนำมาปรับใช้มากที่สุด (เกิน 80%) ในปี 2568 คือ Cloud Computing, Big Data และ Internet of things และจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ทำให้องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากข้ึน จึงคาดว่า ในอนาคตจะเกิดการเร่งตัวของการใช้เทคโนโลยี Encryption and cybersecurity 2. Green Economy หนุนการโตของ Green Jobs หากทั่วโลกหันมาใช้ ‘พลังงานทางเลือก’ ที่สามารถผลิตและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแพร่หลาย จะผลักดันให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มอาชีพ เช่น Green Marketers, Innovation Manager และ Solar / Wind Energy Technician มากขึ้น ในทางกลับกัน ตำแหน่งงานในภาคธุรกิจที่ไม่สอดรับกับหลักการ Green Economy จะเป็นที่ต้องการลดลง 3. ESG กับการพัฒนาทุนมนุษย์ กระแสความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, and Governance : ESG) จะผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital) สำหรับมาตรวัด (Metrics) ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เช่น การเข้าถึงการพัฒนาอย่างเท่าเทียม มีเครื่องมือรองรับสำหรับพนักงานที่มีศักยภาพสูง สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และการเปิดรับคำติชมจากพนักงาน 4. Multistage Life อายุยืนขึ้น ยิ่งต้องรู้หลายทักษะ ค่าเฉลี่ยอายุขัยประชากรโลกที่เพิ่มข้ึนจาก 72.8 ปี (ในปี 2563) เป็น 77 ปี (ในปี 2593) ทำให้เส้นแบ่งการเรียน-ทำงาน-เกษียณไม่ชัดเจน ยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดอาชีพ และทักษะใหม่ ๆ รวมไปถึงการที่หลายประเทศเริ่มมีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในกำลังแรงงานจึงควรพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง โอกาสของธุรกิจ Corporate Training ● Customise โปรแกรมฝึกอบรมตามความต้องการของลูกค้า: โดยเน้นหลักสูตรที่ใช่ ในรูปแบบที่ชอบ เจาะกลุ่มทักษะที่สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ● เสริมพลังการให้บริการด้วย Partnership: โดยผนึกกำลังความเชี่ยวชาญกับพันธมิตรกลุ่มต่าง ๆ เพื่อยกระดับการฝึกอบรมให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด ● ต่อยอดธุรกิจกระจายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: …

4 Megatrends กำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะแรงงาน อ่านเพิ่มเติม »

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก ปีงบฯ 64 (ต.ค. 63 – ก.ย. 64) ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จํานวน 70,056 ครั้ง มีผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ 59,909 ราย เมื่อจำแนกเป็นรายภาคพบว่า เป็นส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) 15,615 ราย (26.06%) และส่วนภูมิภาค 44,294 ราย (73.94%) ซึ่งในส่วนภูมิภาคพบว่า ภาคอีสานมีผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุมากที่สุด คือ 19,469 ราย เมื่อดูเฉพาะข้อมูลผู้เสียชีวิต จังหวัดนครราชสีมามีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 305 ราย โดย 1 ใน 3 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดโดยรถจักรยานยนต์ ซึ่งน่าสนใจว่า Top 3 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตที่เกิดโดยรถจักรยานยนต์อยู่ในภาคอีสานทั้งหมด ได้แก่ นครราชสีมา มหาสารคาม และร้อยเอ็ด ตามลำดับ เมื่อลองมาดูตัวเลขรถจักรยานยนต์ที่ออกใหม่ (ป้ายแดง) ในภาคอีสาน ปีงบฯ 64 พบว่า สูงถึง 405,666 คัน หรือคิดเป็น 25.75% ของทั้งประเทศ จากจำนวนผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกับจำนวนรถออกใหม่ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ หน่วยงานประจำท้องที่อาจต้องมีการรณรงค์ในเรื่องของกฎจราจรควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้หากมีการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น มหาวิทยาลัย ในการศึกษาถึงรูปแบบการรณรงค์ที่จะได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ก็จะยิ่งช่วยให้เกิดความคุ้มค่าของงบประมาณด้วย ที่มา: กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก

รู้จัก “นักเดินท่องเมือง” ไหม ?

Youtube Creator ที่นิยามตัวเองว่าเป็นนักเดินท่องเมือง (City Walker) จะเป็นในลักษณะของการติดกล้องเดินสำรวจสถานที่ต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อซึมซับบรรยากาศ ซึ่งมักจะไม่มีการพูดบรรยายหรือถ่ายให้เห็นใบหน้า Walker จึงทำให้คนดูรู้สึกไม่ถูกรบกวนหรือบดบังทัศนียภาพ อีกทั้ง วีดีโอของพวกเขาที่มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงลำธาร หยาดฝน นกร้อง บางครั้งก็ถูกนำไปใช้ในการบำบัด (Binaural Sounds) เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย หลับสบาย หรือมีสมาธิ สำหรับประเทศไทย มีช่อง REAL THAILAND 4K ที่จะพาไปเดินในย่านเศรษฐกิจ ชมกรุงเก่า และสตรีทฟู้ดของกรุงเทพฯ รวมไปถึงบางพื้นที่ในเชียงใหม่ และเมืองพัทยา โดยปัจจุบันแม้จะมีอายุเพียง 1 ปี 2 เดือน แต่ก็เคยทำยอดวิวรวมได้สูงถึง 1.93 แสนครั้ง/วัน หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 4,926 – 1.72 หมื่นบาท ส่วนในภาคอีสาน น่าสนใจว่า Youtube Creator ที่เป็น Walker พาเดินในพื้นที่อีสานยังไม่ค่อยมี โดยส่วนมากจะเป็นช่องของชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทย ซึ่งรูปแบบวีดีโอจะเน้นไปที่วิถีชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จึงอาจถือเป็นโอกาสที่น่าลองสำหรับ Walker สายอีสาน ที่มีอุปกรณ์พร้อม ขาดแค่แรงผลักดันในการลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ ๆ ยิ่งหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนช่วยโปรโมต ก็อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศต่อจากนี้ เรียกได้ว่า “ถ้าทำสำเร็จ ก็วินวินทุกฝ่าย” ที่มา: วิเคราะห์ข้อมูล Youtube Channel จาก NoxInfluencer

สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของอีสานผ่านรถไฟจีน-ลาว

เส้นทาง “รถไฟจีน-ลาว” ช่วยให้การขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-จีน ผ่านภาคอีสานทางบกมีบทบาทสำคัญมากขึ้น แม้เบื้องต้นไทยต้องเผชิญกับความท้าทายของ “สินค้านำเข้าจากจีนที่จะมีมากกว่าสินค้าส่งออกจากไทย” ซึ่งสินค้าจากจีนจะเข้ามาไทยผ่านทางรางเพิ่มขึ้น จากที่ไม่เคยขนส่งผ่านทางรางมาก่อน . แต่ในทางกลับกันไทยก็มีโอกาสขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลยูนนาน (ปลายทางฝั่งจีน) รวมทั้งมณฑลใกล้เคียง จากเดิมที่สินค้าไทยส่วนใหญ่จะนิยมขนส่งไปทางจีนตะวันออกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางถนน รวมถึงมณฑลกวางตุ้ง และอื่น ๆ ทางเรือ . สำหรับภาคอีสาน สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกจะเป็นกลุ่มผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงเกษตรแปรรูป เนื่องจากมีความต้องการนำเข้าจากจีนมาก และอีสานก็มีจุดแข็งด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรและปศุสัตว์ที่สำคัญของประเทศ โดยภาคอีสานจะมีกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกมากที่สุด ดังนี้ . 1. อาหารแปรรูป ได้แก่ ผลไม้แปรรูป เช่น สัปปะรดแปรรูป ซึ่งได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และอาหารแปรรูปพร้อมทาน (Ready to Eat) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ฮาลาล เนื่องจากคนจีนด้านตะวันตกเป็นชาวมุสลิมกว่า 22 ล้านคน จึงเป็นโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ด้านนี้มากขึ้น . 2. ปศุสัตว์แปรรูป เช่น เนื้อไก่แปรรูป และเนื้อโคขุน ซึ่งมีอัตราการเติบโตของตลาดเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลังในจีนสูงถึงกว่าร้อยละ 2,000 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันอีสานยังไม่ได้ส่งออกเนื้อโคประเภทนี้มากนัก จึงเหมาะกับการพัฒนามาตรฐานการผลิตเพื่อคว้าโอกาสจากความต้องการนำเข้าของจีนที่มากขึ้น . 3. สินค้าของที่ระลึก โดยพัฒนาต่อยอดกับสินค้า OTOP ที่มีอยู่เดิมให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ของใช้ทำจากยางพารา สินค้าความงาม ประเภทสปา ครีมขัดผิวที่ทำจากสมุนไพร เนื่องจากชาวจีนนิยมใช้สินค้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติมากขึ้น . 4. ผลไม้สด ได้แก่ ทุเรียนภูเขาไฟ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง แต่ปัจจุบันอีสานมีปริมาณผลไม้น้อย ซึ่งเป็นโอกาสให้เกษตรกรที่เดิมทีปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ที่มีความผันผวนด้านราคา ศึกษาการปลูกผลไม้เพื่อการส่งออกมากขึ้น . อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนจนกระทบความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ภาครัฐไทยควรมีกฎระเบียบหรือมาตรฐานในการควบคุมสินค้าที่เข้ามา โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากจีนที่ไทยก็ผลิตเช่นกัน รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือด้านการค้า และการลงทุนในการผลิตสินค้าร่วมกับ สปป. ลาว เพราะจะเป็นข้อต่อสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การค้าผ่านเส้นทางนี้เติบโตไปด้วยกัน . . อ้างอิง: บทความ คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว Regional Letter ฉบับที่ 1/2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย และ https://www.bbc.com/thai/60248500

ฮู้จักอีสาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจครั้งสำคัญของภูมิภาค

ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง หากคุณเป็นคนที่สนใจธุรกิจในภาคอีสานก็อาจต้องทำความรู้จักเศรษฐกิจของภูมิภาคตั้งแต่อดีต ว่ามีพัฒนาการและจุดเปลี่ยนสำคัญ (Journey) อะไร ที่ทำให้เห็นเป็นโครงสร้างอย่างในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางหรือโอกาสในการต่อยอดธุรกิจไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต . . ⏲︎ 2504-2517: ยุคส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ . นโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกและการเข้ามาของเทคโนโลยีการเกษตร ทำให้พื้นที่ป่าในภาคอีสานลดลงเหลือเพียง 30% ของพื้นที่ทั้งภาค โดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อการค้ามากขึ้น . ช่วงระหว่างปี 2514-2517 มีการปฏิวัติพืชไร่ครั้งใหญ่ ภาครัฐได้ส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง และอ้อย ทำให้ตั้งแต่ปี 2514 เกิดโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง และโรงงานน้ำตาล กระจายตามแหล่งเพาะปลูกสำคัญ อีกทั้งเริ่มมีการศึกษาทุ่งกุลาร้องไห้บริเวณอีสานตอนใต้ ซึ่งเป็นทุ่งโล่ง แห้งแล้ง และดินเค็ม เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีสำหรับการส่งออก . . ⏲︎ 2518-2538: การค้า บริการ และอุตสาหกรรมเติบโตดี . ตั้งแต่ปี 2518-2538 เศรษฐกิจอีสานเติบโตดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการค้า . ปี 2531 ได้รับประโยชน์จากนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ทำให้เกิดการค้าขายกับประเทศในกลุ่มอินโดจีน (ค้าชายแดน) มากขึ้น . แต่ปี 2538 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยพึ่งพาภาคเกษตรในสัดส่วนสูงถึงประมาณ 50% เหลือเพียง 20% ของเศรษฐกิจอีสาน โดยภาคการค้าและภาคบริการเริ่มมีบทบาทสำคัญ ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมก็เริ่มขยายตัว จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่ให้สิทธิประโยชน์กับเขตอุตสาหกรรมในภูมิภาคมากขึ้น โดยมีจำนวนโรงงานเพิ่มขึ้นกว่า 23 เท่าจากปี 2518 . นอกจากนี้ การตั้งเขตอุตสาหกรรมสุรนารีที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกในอีสาน ทำให้โครงสร้างการผลิตเปลี่ยน จากโรงงานเกษตรขั้นพื้นฐานอย่างโรงสีข้าว โรงงานแป้งมัน และโรงงานปอ เป็นโรงงานแปรรูปเกษตรที่มีเครื่องจักรทันสมัยมากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและอุตสาหกรรมที่รับช่วงการผลิตจากส่วนกลางเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น . . ⏲︎ 2539-2550: สะพานมิตรภาพ 1-2 หนุนการค้ากับลาว ภาคอุตสาหกรรมทันสมัยขึ้น และยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ . การสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จ.หนองคาย ในปี 2537 และแห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร ในปี 2549 ส่งผลให้การค้าชายแดนกับลาวเพิ่มขึ้น และยังพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรให้ทันสมัย โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร และผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น เช่น โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังที่หันมาผลิตมันเส้นที่มีคุณภาพ รวมทั้งแป้ง Modified Starch ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และโรงสีข้าวที่เปลี่ยนมาผลิตข้าวคุณภาพดี เป็นต้น . นอกจากนี้ ยังมีการย้ายฐานการผลิตโรงงานน้ำตาลจากภาคกลางและตะวันออกมายังอีสานมากขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้อีกมาก . ปี 2548 นิคมอุตสาหกรรมนวนครที่ จ.นครราชสีมา เปิดดำเนินการแห่งที่ 2 ซึ่งเน้นผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็น …

ฮู้จักอีสาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจครั้งสำคัญของภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง 6 นวัตกรรมอาหารเปลี่ยนโลก

ไม่ว่าโลกใบนี้เผชิญการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแค่ไหน การวิจัยและค้นคว้าเทคโนโลยีด้านอาหารก็ยังคงเดินหน้าให้เท่าทันเสมอ แถมหลายต่อหลายนวัตกรรมกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริงและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารอยู่ด้วย มาดูกันว่า นวัตกรรมอาหารมาแรงตอนนี้มีอะไรกันบ้าง . 1. Edible Material แพ็กเกจจิ้งกินได้ลดขยะ . ทีมวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คิดค้น WikiCell บรรจุภัณฑ์ 2 ชั้น ที่สามารถรับประทานได้ โดยชั้นในทำหน้าที่ห่อหุ้มและพยุงอาหารหรือของเหลว ด้วยการนำส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ช็อกโกแลต ผลไม้ ถั่ว เมล็ดธัญพืช ฯลฯ มาผสมเข้ากับแคลเซียมและ Chitosan (ไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติจากเปลือกหอย หรือกุ้ง) หรือ Alginate (สารสกัดจากสาหร่าย) เพื่อให้เกิดการจับตัวเป็นเปลือกนิ่ม ๆ . ส่วนบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกจะปกป้องเปลือกชั้นใน โดยมี 2 ชนิดให้เลือกขึ้นอยู่กับการใช้งาน ชนิดแรกผลิตจาก Isomalt หรือสารให้ความหวานชนิดหนึ่ง สามารถรับประทานได้โดยนำไปล้างก่อน คล้ายกับการล้างแอปเปิล ส่วนชนิดที่สองผลิตจากชานอ้อย หรือมันสำปะหลัง ซึ่งกินไม่ได้แต่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และสามารถนำมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์กระดาษแข็งที่ใช้บรรจุอาหารในปัจจุบันได้ เพียงแกะออกแล้วทิ้งคล้ายเปลือกส้ม . 2. Biofilm อวสานพลาสติกหุ้มอาหาร . ธุรกิจค้าปลีกหรือร้านขายของชำต่าง ๆ เป็นต้นตอสำคัญในการยื่นพลาสติกไปสู่มือผู้บริโภคในรูปแบบของหีบห่อบรรจุภัณฑ์ แม้ลูกค้าจะนำถุงผ้ามาชอปปิงแล้ว แต่ก็ต้องหยิบแพ็กเกจจิ้งพลาสติกกลับบ้านไปอยู่ดี . Ekoplaza ซูเปอร์มาร์เก็ตในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงได้ร่วมมือกับกลุ่ม A Plastic Planet ออกแคมเปญรณรงค์เกี่ยวกับสินค้าพลาสติก โดยเริ่มจากการตั้งเชล์ฟวางสินค้าไร้แพ็คเกจจิ้งพลาสติก อย่างสินค้าประเภทอาหารก็จะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุทางชีวภาพที่ทำจากต้นไม้และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Biofilm . 3. Food Structure Design ศิลปะแห่งการออกแบบโครงสร้างอาหาร . การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการออกแบบโครงสร้างอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่ดีและน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น นอกจากจะทำให้อาหารดูดีแล้ว ยังสามารถให้กลิ่น รสชาติ และสารอาหารที่ครบถ้วน . เช่น งานวิจัยไส้กรอกไขมันต่ำของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ที่ทำร่วมกับบริษัทเบทาโกร ได้พัฒนาไส้กรอกที่มีปริมาณไขมันต่ำกว่า 5% (ปกติแล้วไส้กรอกทั่วไปจะมีไขมันอยู่ประมาณ 20-30%) โดยไม่ทำให้รสสัมผัสของไส้กรอกเปลี่ยนแปลง การใช้สารทดแทนไขมันนอกจากช่วยลดไขมันแล้ว ยังช่วยเพิ่มเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วย . นอกจากนี้ยังมีขนมปังแซนด์วิชและครัวซ็องปราศจากกลูเตน โดยใช้ฟลาวข้าวเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งในสูตรต้นแบบที่ได้พัฒนาขึ้นจะมีการเติมส่วนผสม Starch ธรรมชาติ Starch ดัดแปร และไฮโดรคอลลอยด์ เพื่อให้แป้งที่พัฒนาขึ้นมามีสมบัติวิสโคอิลาสติกที่เหมาะสม ทำให้ขนมปังขึ้นฟูขณะหมักและไม่ยุบตัวเมื่ออบ . 4. Mycoprotein โปรตีนสายพันธุ์ใหม่ไร้ไขมัน และคอเลสเตอรอล . ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เราจึงได้เห็นการกินที่เน้นผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ แต่ยังมีวิธีอื่นที่ดีไม่แพ้กัน คือ โปรตีนทางเลือก หรือมัยคอโปรตีน (Mycoprotein) ที่เกิดขึ้นจากการหมักบ่มจุลินทรีย์ประเภทฟังกัส (Fungus) และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่าง …

ชวนมาเบิ่ง 6 นวัตกรรมอาหารเปลี่ยนโลก อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top