Infographic

แนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาปี 2566-2570

พามาเบิ่ง แนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาปี 2566-2570   เศรษฐกิจอีสานในระยะสั้นมีความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ผู้บริโภคต้องการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้บริโภคหยุดหรือลดการใช้จ่ายในช่วงเหตุการณ์ COVID-19 (Pent-up demand) สิ่งนี้จะกระตุ้นให้การท่องเที่ยวอีสานได้   แต่สำหรับระยะยาว จากโครงสร้างเศรษฐกิจของอีสาน ที่ไม่ได้พึ่งพาการท่องเที่ยวมากนัก การยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง จึงเป็นการแก้จุดอ่อนหนึ่งของอีสาน เพื่อสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวให้มากขึ้นรวมถึงยกระดับรายจ่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวของภูมิภาค     #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การท่องเที่ยว 

พามาเบิ่ง ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นหยังคือบ่ส่ำกัน

หลังจากที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวขึ้นไม่มีหยุดไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา “ราคาน้ำมัน” เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกพูดถึงบ่อยมากในช่วงนี้ วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูสาเหตุที่ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดไม่เท่ากันและโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทยทุก 1 ลิตรประกอบด้วยอะไรบ้าง สาเหตุหลักที่ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดไม่เท่ากันนั้น เนื่องจากมีค่าขนส่งน้ำมัน จังหวัดที่มีระยะทางที่ไกลและมีพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ทำให้มีค่าขนส่งที่แพงกว่าจังหวัดอื่น และมาจากภาษีบำรุงท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหุต คือ สถานีบริการน้ำมันแต่ละแห่งมีข้อตกลงที่แตกต่างกันไปกับแต่ละบริษัทเจ้าของยี่ห้อน้ำมันที่ส่งมาให้ขาย ส่งผลเกี่ยวเนื่องกับต้นทุนของน้ำมันสำเร็จรูปที่เปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง ซึ่งหมายความว่าจะมีระยะห่างของเวลานับจากวันที่โรงกลั่นจ่ายค่าน้ำมันดิบ จนถึงวันที่ได้รับเงินจากผู้ที่รับน้ำมันสำเร็จรูปไปขาย ระยะเวลาที่ต่างนี้จึงส่งผลกับการปรับราคาน้ำมัน โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทยในน้ำมันทุก 1 ลิตรนั้น จะประกอบด้วยดังนี้ 1. ต้นทุนเนื้อน้ำมัน ( 40 –60%) คือ ต้นทุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงกลั่น ซึ่งอ้างอิงราคาตามตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย 2. ภาษีต่างๆ ( 30 –40%) ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ และบำรุงท้องถิ่น โดยภาษีที่จัดเก็บ ได้แก่ – ภาษีสรรพสามิต : จัดเก็บโดยกระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต นำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ – ภาษีเทศบาล : จัดเก็บโดยกระทรวงการคลัง ในอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต มาตรา 150 และจัดส่งให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น – ภาษีมูลค่าเพิ่ม : จัดเก็บ 7% ของราคาขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และจัดเก็บอีก 7% ของค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด 3. กองทุนต่างๆ (5 –20%) เช่น – กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง : จัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไม่ให้เกิดความผันผวน – กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน : จัดเก็บตามประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน 4. ค่าการตลาด (10 –18%) คือ ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดการคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ รวมถึงการให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน โครงสร้างราคาน้ำมันของไทยในปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เป็นส่วนประกอบและปัจจัยที่มีผลต่อการปรับขึ้นและลงราคาน้ำมันภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาน้ำมันของไทยแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน และมีความผันผวนตลอดเวลา ซึ่งองค์ประกอบราคาน้ำมันเป็นเหมือนภาระที่ประชาชนต้องแบกรับ ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนดขึ้น แนวโน้มราคาน้ำมันหลังจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงในปีหน้า เนื่องจากคาดว่าจะมีปริมาณน้ำมันดิบเข้าสู่ตลาดมากขึ้น หลังกลุ่มประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก(โอเปก) เตรียมทยอยปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเดือนละ 6 แสนบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้จนถึงสิ้นปี จะมีปริมาณน้ำมันดิบป้อนเข้าสู่ตลาดอีก 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับทิศทางเศรษฐกิจโลกไม่ได้เติบโตมากนัก ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันมีปริมาณน้อย …

พามาเบิ่ง ราคาน้ำมันแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นหยังคือบ่ส่ำกัน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่

ในปี 2564 ครัวเรือนในภาคอีสาน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 16,869 บาท ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็น 78.1% ของรายได้ (รายได้เฉลี่ย 21,587 บาท/เดือน) โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 16,553 บาท ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 1.9% โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มในกลุ่มค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคที่ครัวเรือนไม่ได้ซื้อหรือ จ่ายเงินเอง เนื่องจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คนละครึ่ง เราชนะ รวมถึงมาตรการการลดค่าสาธารณูปโภค ที่เป็นค่าน้ําประปาและค่าไฟฟ้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนในภาคอีสาน สามารถแบ่งได้ดังนี้ ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค 14,935 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ สูงสุดถึง 6,441 บาท รองลงมาเป็นค่าเดินทางและการสื่อสาร 3,372 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้าน และเครื่องใช้ 3,361 บาท ตามลําดับ ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวย ดอกเบี้ย เป็นต้น) มีจํานวน 1,934 บาท อย่างไรก็ตาม แม้ในปีนี้จะมีสัญญาณที่ดีจากการสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แต่สถานการณ์เศรษฐกิจก็ยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น บวกกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ครัวเรือนไทยต้องผจญปัจจัยเสี่ยงทางศรษฐกิจ ซึ่งยิ่งมีความเสี่ยง ก็ยิ่งต้องมีการวางแผนให้รอบคอบในเรื่องค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ดังนั้น การวางแผนใช้จ่ายครัวเรือนไทยปี 2565 จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะทิศทางราคาสินค้าหลายรายการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในโครงสร้างการใช้จ่ายรายเดือนของครัวเรือนไทยยังมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่แอบแฝงอยู่ที่อาจต้องอยู่ในรายการที่ต้องตัดทิ้ง เช่น ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ ค่าอาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง เป็นต้น แม้การตัดค่าใช้จ่ายรายเดือนจะเป็นเรื่องง่ายในทางการคำนวน แต่ในทางปฎิบัติถือว่ายากมากเพราะค่าใช้จ่ายเกือบทุกรายการล้วนแต่มีความจำเป็น ทั้งเพื่อการดำรงชีวิตอยู่และเพื่อการอยู่อย่างรื่นรมณ์ ขณะที่การหารายได้เพิ่มก็เป็นอีกความท้าทายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ การวางแผนเพื่อการดำรงชีพในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน อ้างอิงจาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/รายได้รายจ่ายครัวเรือน/ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.aspx https://www.bangkokbiznews.com/business/977069 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน Dairy Home vs Farm Chokchai

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน   ในปัจจุบันมีแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญอยู่ 4 แห่ง หนึ่งในนั้นคือจังหวัดนครราชสีมา ในภาคอีสานเรานี่เอง การเลี้ยงโคนมแม้มีรายจ่ายค่อนข้างสูง แต่ผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคนม จะสูงกว่าการทำนาทำไร่หลายเท่า จึงเป็นการสร้างรายได้ที่ดีของเกษตรกร ทั้งที่มีอาชีพเลี้ยงโคนมโดยตรง และที่เป็นอาชีพเสริม นับว่ามีส่วนช่วยในการ สร้างงานในชนบทของชาติ   วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดู 2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ามีความเป็นมาอย่างไร?  Dairy Home ฟาร์มออร์แกนิกเจ้าแรกของไทย คำว่า ‘โฮม’ เป็นภาษาอีสาน หมายถึงการมารวมกัน ‘แดรี่ โฮม’ นอกจากจะหมายถึงบ้านของนมแล้วยังหมายถึงที่รวมผลิตภัณฑ์นมไว้ด้วยกันอีกด้วย   ก่อนรับบทบาทเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณพฤฒิเคยเป็นนักวิชาการสอนปรับปรุงพันธุ์โคนม ที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และเคยทำงานอยู่ที่ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านฟาร์มโคนมมายาวนาน 10 กว่าปี กระทั่งปี 2535 เขาลาออกจากงานประจำ เพื่อมาสร้างฝันให้เป็นจริง นั่นคือ อาณาจักรฟาร์มโคนมออร์แกนิก    ในปี 2542 แดรี่โฮม ถือกำเนิดขึ้นด้วยการจำหน่ายนมในขวดแก้ว น้ำนมที่ใช้เป็นนมออร์แกนิก ซื้อจากฟาร์มโคนมที่รู้จักกันให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ แต่ละวันรับนมเพียง 10 ลิตร จากนั้นขยับเพิ่มเป็น 100 ลิตร หลังกระแสการตอบรับดี ส่งเสริมเกษตรกรหน้าใหม่ให้เลี้ยงวัวออร์แกนิก   นอกจากนี้ ทางโรงงานยังเป็น Zero Waste ไม่ปล่อยของเสีย ดูแลสิ่งแวดล้อมครบวงจร โดยแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ให้พนักงานขายเป็นรายได้เสริม ขยะอาหารนำไปเลี้ยงสัตว์ มีโรงงานไบโอดีเซลขนาดเล็ก เพื่อนำน้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหาร นำไปผลิตน้ำมันดีเซลเติมรถปิกอัพสำหรับส่งนม   หนึ่งสิ่งที่ทำให้แบรนด์ Dairy Home แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาด ก็คือ การนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาสินค้า ซึ่งสินค้าที่ขึ้นชื่อคือ นม Bed Time ที่ช่วยให้หลับสบาย เป็นหนึ่งในสินค้าที่ใช้งานวิจัยเข้ามาพัฒนาสูตรด้วย     ฟาร์มโชคชัย ดินแดนแห่งคาวบอยเมืองไทย ก่อตั้งในปี 2500 โดยคุณโชคชัย บูลกุล ตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คุณโชคชัย เป็นผู้ที่ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบคาวบอยมาตั้งแต่เด็กและใฝ่ฝันจะเห็นฝูงโคตัวใหญ่ พร้อมกับเห็นฝูงม้าที่มีคาวบอยขี่   อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกนั้นคุณโชคชัยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จัดหาเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่กองทัพอากาศอเมริกัน ในปี 2512 บริษัทได้บุกเบิกกิจการฟาร์มโคเนื้อจนถึงปี 2519 ฟาร์มโชคชัยประสบปัญหาการผลิต ทำให้ผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจโคนม จนได้สร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมขึ้น ในปี 2535 เจอวิกฤตอีกครั้งทำให้มีหนี้สินกว่า 500 ล้านบาท จึงต้องขายธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นมเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินในปี 2537 โดยคงไว้แต่เพียงธุรกิจหลักคือ ฟาร์มโคนม   หลังจากนั้นคุณโชค …

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน Dairy Home vs Farm Chokchai อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เงินเฟ้อเดือนมิถุนายนของภาคอีสานเป็นจังใด๋แหน่ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 7.25% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน มิถุนายน 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวสูงขึ้นของเงินเฟ้อถึง 7.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (มิ.ย. 64) รณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 107.58 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 (106.62) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.90% (MoM) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้น 1.40% (MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.66% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตรา ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้นร้อยละ 8.56 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 7.84 7.72 และ 7.27 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 7.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และเนื้อสุกร ส้าหรับสินค้าส้าคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักสด อาทิ ขิง เงาะ ถั่วฝักยาว เป็นต้น แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ยังมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคา พลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูง จากอุปทานโลกที่ตึงตัว สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน และมาตรการคว่้าบาตรที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ และต้นทุนการน้าเข้าของไทยสูงขึ้น นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น จากการผ่อน คลายมาตรการป้องกันโควิด-19 การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัว อย่างไรก็ตาม มาตรการดูแลค่าครองชีพของกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ด้าเนินการอย่างต่อเนื่อง และด้าเนินการในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ทั้งการก้ากับดูแล การตรึงราคาสินค้าที่จ้าเป็นและราคาพลังงาน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากโควิด-19 ที่จ้านวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มกลับมา สูงขึ้นจากสายพันธุ์ใหม่ อาจจะเป็นปัจจัยทอนที่ท้าให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป อ้างอิงจาก: https://www.price.moc.go.th/…/fileu…/file_cpi/Cpi_tg.pdf http://www.indexpr.moc.go.th/…/TableIndexG_region.asp… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เงินเฟ้อ

พามาเบิ่ง  สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด

พามาเบิ่ง  สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด   สำหรับเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรมาระยะหนึ่งอาจเริ่มหาช่องทางการผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการขอรับรองมาตรฐานมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้สินค้านั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับการความต้องการ ตามข้อกำหนดในมาตรฐานเดียวกัน . มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) เป็นแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานรับรองแหล่งผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากไม่ใช้สารเคมีแล้ว เมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี หรือมาจากกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี และมีระยะปรับเปลี่ยนจากการปลูกแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สารเคมีในแปลงปลูกสลายตัวไปในระดับที่ปลอดภัย จึงจะได้รับการรับรอง   มาตรฐานการเกษตรของสินค้าเกษตรในอีสานยังมีจำนวนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มาตรฐาน GAP อยู่น้อยเมื่อเทียบกับทั้งประเทศ โดยอันดับ 1 ภาคเหนือ (37.1%) อันดับที่ 2 ภาคกลาง (26.2%) อันดับที่ 3 ภาคอีสาน (17.3%) และอันดับที่ 4 ภาคใต้ 16.4% ซึ่งหากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังจะเป็นจุดแข็งรายพื้นที่ ที่สามารถยกระดับภาคเกษตรของพื้นที่ได้   อ้างอิงจาก:  สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ https://actorganic-cert.or.th/th/manual-th/organicstandard-th/ https://www.baanlaesuan.com/233023/garden-farm/farm-guru/gapthai #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สินค้าเกษตร

ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16 อาชีพ กันยายน 2565

กันยายน 2565 ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16 อาชีพ 400-650 บาทต่อวัน   วันที่ 13 มิถุนายน 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมตามกระทรวงแรงงานเสนอ โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ ทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2565   ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อ “พ้นกำหนด 90 วัน” นับตั้งแต่วันออกประกาศ (วันที่ 9 กันยายน 2565) และเมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป โดยการปรับขึ้นค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 16 อาชีพ     อ้างอิงจาก:  https://www.prachachat.net/csr-hr/news-953264  https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2022/06/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%8911.pdf    #ISANInsightAndOutlook #ค่าจ้างขั้นต่ำ #แรงงาน #อีสาน

พามาเบิ่ง จังหวัดใด๋ มีจำนวนผู้ว่างงานหลายกว่าหมู่

ตัวเลขการว่างงาน ถือเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจได้อย่างหนึ่ง ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ชัดเจนการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น เมื่อตัวเลขการว่างงานลดลง ทำให้สามารถคาดการณ์ถึงตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การใช้จ่ายของแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ประเทศไทยกำลังจะผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบกับเศรษฐกิจมายาวนานกว่า 2 ปี สถานการณ์การจ้างงานในไทยในขณะนี้หากดูในเบื้องต้นจะพบว่ามีแนวโน้มที่ “ดีขึ้น” กว่าช่วงที่เผชิญกับโควิด-19 อย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 การเปิดเมืองรับการท่องเที่ยว โดยสถานการณ์การว่างงานภาคอีสาน ในไตรมาส 1/2565 (มกราคา – มีนาคม) มีผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 115,978 คน ลดลงจากปีก่อนหน้า 37,572 คน (ลดลง 24.5%) ซึ่งว่างงานเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ จังหวัดที่มีการว่างงานเยอะที่สุด อันดับที่ 1 บุรีรัมย์ 20,514 คน อันดับที่ 2 นครราชสีมา 13,463 คน อันดับที่ 3 ขอนแก่น 12,208 คน อันดับที่ 4 กาฬสินธุ์ 12,085 คน อันดับที่ 5 สุรินทร์ 10,630 คน จะเห็นได้ว่า จังหวัดบุรีรัมย์ มีการว่างงานสูงกว่าทุกจังหวัด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ธุรกิจพยายามประคับประคองธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยใช้วิธีลดจำนวนแรงงานลงเช่นเดียวกับหลายๆจังหวัด และหากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า จนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง จะทำให้กลุ่มคนที่ว่างงานก็จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาตําแหน่งงานว่าง จําแนกตามประเภทอาชีพ พบว่า อาชีพพื้นฐาน มีตําแหน่งงานว่างมากที่สุด จํานวน 207 อัตรา (45.80%) รองลงมา คือ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด จํานวน 76 อัตรา (16.81%) ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ จํานวน 52 อัตรา (11.50%) คนส่วนใหญ่มีความรู้และความสามารถไม่ถึงเกณฑ์กับตำแหน่งงานที่ว่าง จึงทำให้จำนวนการว่างงานสูงกว่าทุกจังหวัดในภาคอีสาน ดังนั้น ควรมีการเพิ่มโอกาสให้คนในพื้นที่ได้มีการศึกษาหาความรู้และเพิ่มทักษะ เกี่ยวกับด้านนี้เพื่อให้มีงานทำและสามารถทำให้จำนวนการว่างงานลดลง อ้างอิงจาก: https://www.doe.go.th/…/faab7ed29afe1e9746cf039d43dbe0d… https://www.bangkokbiznews.com/business/1006626 http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/02.aspx https://buriram.mol.go.th/news/รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดบุรีรัมย์-ไตรมาส-1-ปี-2565-มกราคม-มีนาคม-2565 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การว่างงาน#บุรีรัมย์

พามาเบิ่ง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน ของภาคอีสาน

พามาเบิ่ง  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน ของภาคอีสาน ภาคอีสานมี ค่าเฉลี่ยของค่าแรงอยู่ที่อันดับที่ 4 ของประเทศ อัตราค่าจ้างของกรุงเทพฯถ้าเทียบกับต่างจังหวัดแล้ว อัตราค่าจ้าง และสวัสดิการของงานต่างๆสูงกว่าค่อนข้างมาก จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนต่างจังหวัดหลายคนจึงเลือกเข้าทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อรายได้และสวัสดิการอื่นๆที่เพิ่มขึ้น แต่ถึงแม้รายได้จะสูง ค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ก็สูงไม่ต่างกัน     อ้างอิงจาก: https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2020/01/Prakadwage10-6Jan2020.pdf  https://www.amarintv.com/spotlight/economy/detail/23019    #ISANInsightAndOutlook #ค่าจ้างขั้นต่ำ #แรงงาน #อีสาน

โรงงานน้ำตาลแห่งใหญ่ในภาคอีสาน ที่อยู่ในตลาดหุ้น

ประเทศไทยผลิตน้ำตาลทรายได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล ปัจจุบันโรงงานน้ำตาลมีทั้งหมด 58 โรงงาน ซึ่งกระจายอยู่ตามแหล่งเพราะปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะในภาคอีสาน มีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยมากที่สุด ทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ได้ย้ายฐานการผลิตจากภาคกลางมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการผลิต วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูเส้นทางของโรงงานน้ำตาลแห่งใหญ่ที่ก่อตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอยู่ในตลาดหุ้น ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) (“BRR”) เดิมชื่อ บริษัท โรงงานน้ำตาลสหไทยรุ่งเรือง (2506) จำกัด (ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงานน้ำตาลสหไทยรุ่งเรือง) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2506 ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจโรงงานน้ำตาลทรายแดง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นหนึ่งในบรรดาผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมน้ำตาลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีคุณวิเชียร ตั้งตรงเวชกิจ ผู้ริเริ่มปลูกอ้อยและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวสีรำ และน้ำตาลทรายดิบทั้งในและต่างประเทศ นานกว่า 5 ทศวรรษ รวมถึงการนำผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล เช่น กากอ้อย กากหม้อกรอง และกากน้ำตาล ต่อยอดธุรกิจอย่างครบวงจร ประกอบด้วยธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล ธุรกิจผลิตและจำหน่ายปุ๋ย และธุรกิจบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาอ้อย และธุรกิจให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นธุรกิจสนับสนุน อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์ คือ มุ่งมั่นในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็มุ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ที่มีการทำเกษตรกรรมเป็นหลักให้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ให้เป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ในขณะที่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) คุณชวน ชินธรรมมิตร์ ชักชวน 2 ครอบครัวนักธุรกิจ คือ ครอบครัวโตการัณยเศรษฐ์ และครอบครัวโรจนสเถียร ร่วมกันก่อตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งแรกในปี 2488 คือ “โรงงานน้ำตาลกว้างสุ้นหลี” ตั้งอยู่ที่ถนนพระราม 1 กรุงเทพมหานคร และมีการก่อตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นเป็น 6 โรงงาน แต่เมื่อปี 2517 เมื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นมีการปรับโครงสร้างการบริหาร โดยมี คุณนันทา ชินธรรมมิตร์ เป็นประธาน มีการปรับโครงสร้างธุรกิจโดยคงไว้ซึ่งโรงงานน้ำตาลเดิม 3 แห่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการขยายและจัดตั้งบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด โดยลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลใหม่ขึ้นที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น คณะผู้บริหารกลุ่ม KSL เล็งเห็นศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจน้ำตาล ประกอบกับเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าน้ำตาลในตลาดที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจึงแปรสภาพ “บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด” เป็น “บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)” ซึ่งถือเป็นบริษัทน้ำตาลแห่งแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ …

โรงงานน้ำตาลแห่งใหญ่ในภาคอีสาน ที่อยู่ในตลาดหุ้น อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top