พามาเบิ่ง 6 อันดับธุรกิจเหมืองหินที่ใช้ในการก่อสร้าง
เป็นบริษัทรายรายใหญ่ในภาคอีสาน อ้างอิงจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจเหมืองหิน #เหมืองหิน #ก่อสร้าง
เป็นบริษัทรายรายใหญ่ในภาคอีสาน อ้างอิงจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจเหมืองหิน #เหมืองหิน #ก่อสร้าง
สินค้าหยัง ? ส่งออกปัง ! มูลค่าส่งออกสินค้าชายแดนอีสาน-สปป.ลาว อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook อ้างอิงจาก: กรมการค้าต่างประเทศ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สินค้านำเข้า #สินค้าส่งออก #สปปลาว #ลาว
นักท่องเที่ยวต่างชาติหลายปานใด๋ ? ในภาคอีสาน ปี 2565 นักท่องเที่ยวต่างชาติในอีสานมีแนวโน้มขยายตัว แต่ยังไม่เข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 ถึงแม้แนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติในอีสานจะปรับดีขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น อีสานยังมีรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติในสัดส่วนที่ต่ำมาก ปัจจัยบวก การฟื้นตัวของความต้องการท่องเที่ยวในประเทศ ที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ การยกเลิก Zero-Covid ในจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าสู่อีสาน ผ่านรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน ปัจจัยเสี่ยง ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่อาจจะกระทบกับกำลังซื้อในภาคการท่องเที่ยว ต้นทุนการเดินทางที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเชื้อเพลิง อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook อ้างอิงจาก: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นักท่องเที่ยว #รายได้นักท่องเที่ยว #เที่ยวอีสาน #นักท่องเที่ยวต่างชาติ
เป็นจั่งใด๋แหน่?? อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ขายเครื่องประดับ #ร้านขายของ #ทอง
ปี 2565 คนเดินทางหลายปานใด๋ ? สถิติขนส่งทางอากาศในภาคอีสาน อ้างอิงจาก: กรมท่าอากาศยาน #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ขนส่งทางอากาศ #กรมท่าอากาศยาน
พามาเบิ่ง 3 พันธุ์ข้าว ที่นิยมปลูกหลายที่สุด จังหวัด อุบลราชธานี จังหวัดที่มีผลผลิตข้าวมากที่สุด มีเนื้อที่เพาะปลูก 4.08 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 1.43 ล้านตัน แบ่งเป็นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105: 873,492 ตัน รองลงมาเป็นพันธุ์ กข6: 292,611 ตัน และพันธุ์ กข15: 170,631 ตัน มีการจัดตั้งโครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ด้านการผลิต 1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุมเช่าที่นา 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสิรมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) 3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว 4) การพัฒนาชาวนา 5) การวิจัยและพัฒนา 6) การประกันภัยพืชผล 7)การส่งเสริมสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีด้านการตลาด 1) การพัฒนาตลาดสินค้าช้าว 2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด 3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ 4) การส่งเสริมภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์ข้าว อีกด้วย อ้างอิงจาก: วารสารเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสรมการเกษตร กรมศุลกากร #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ข้าวนาปี #ข้าวนาปรัง #พันธุ์ข้าว #ขาวดอกมะลิ105 #กข6 #กข15
5 จังหวัด ที่มีผลผลิตข้าวหลายที่สุดในอีสาน นาปี คำว่า “นาปี” นั้นหมายถึง ข้าวที่ปลูกตามฤดูกาล นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน มักจะต้องใช้เวลาในการเตรียมดิน การหว่าน การทิ้งระยะในการเพาะปลูกหลายวัน ให้ผลผลิตเพียงปีละ 1 ครั้ง มักออกผลในช่วงเดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวและมีผลผลิตมากที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ 40.4 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 912 กิโลกรัม ด้านการส่งออก ปี 2564 ไทยส่งออกข้าว 6.1 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 107,758 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ปี 2563 ที่ส่งออก 5.7 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 115,914 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 7.04 ปี 2565 (ม.ค. – ต.ค.) ไทยส่งออกข้าว 6.2 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 109,207 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ส่งออก 4.6 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 82,463 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 33.03 และร้อยละ 32.43 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ปี 2564 ไทยนำเข้าข้าว 25,217 ตันข้าวสาร มูลค่า 382 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่นำเข้า 45,244 ตันข้าวสาร มูลค่า 580 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 44.26 และร้อยละ 34.14 ตามลำดับ ปี 2565 (ม.ค. – ต.ค.) ไทยนำเข้าข้าว 5,549 ตันข้าวสาร มูลค่า 176 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่นำเข้า 17,088 ตันข้าวสาร มูลค่า 259 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 67.53 และร้อยละ 32.05 ตามลำดับ อ้างอิงจาก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสรมการเกษตร กรมศุลกากร #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ …
เปลี่ยนไปส่ำใด๋แหน่ อ้างอิงจาก: CredenData #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจที่มีรายได้บริษัทรวมมากที่สุด #อันดับธุรกิจที่มีรายได้บริษัทรวมมากที่สุด #ธุรกิจฟาร์มหมู #ฟาร์มหมู #ฟาร์มสุกร
วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูเส้นทางของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนแต่ละรายนี้ เป็นมาอย่างไร? เริ่มต้นที่ “โรงพยาบาลขอนแก่น ราม” โรงพยาบาลขอนแก่น ราม เป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำระดับตติยภูมิ ที่ให้บริการทางการแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา เป็น 1 ใน 24 แห่งของเครือโรงพยาบาลรามคำแหง มีขนาด 300 เตียงสร้างขึ้นจากการร่วมทุนของกลุ่มแพทย์ พ่อค้า คหบดีของจังหวัดขอนแก่น กลุ่มแพทย์โรงพยาบาลรามคำแหง และเชียงใหม่ ราม มากกว่า 300 ราย การก่อกำเนิดโรงพยาบาลก็เพื่อเป็นทางเลือกของผู้ป่วยที่มีกำลังซื้อ ที่ต้องการความรวดเร็ว และความสะดวกสบาย โดยผู้บริหารมีเป้าประสงค์ให้โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางการแพทย์ภาคเอกชนที่ดีที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านลุ่มแม่น้ำโขง ในระยะแรกโรงพยาบาลประกอบด้วยอาคาร 11 ชั้น มี 159 เตียงตั้งอยู่บนที่ดี 9 ไร่ 2 งาน บนถนนศรีจันทร์ ห่างจากประตูเมือง 200 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 20,000 ตารางเมตร ให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย นำระบบคอมพิวเตอร์มาให้บริการทั้งองค์กรเพื่อให้การรายงานผลถูกต้องรวดเร็ว กิจการของโรงพยาบาลเจริญเติบโต ได้รับการตอบรับจากประชาชนชาวขอนแก่น และจากทุกสารทิศของประเทศไทย รวมถึงผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านลุ่มแม่น้ำโขง โรงพยาบาลจึงซื้อที่ดินเพิ่มอีก 20 ไร่ เพื่อเป็นที่จอดรถให้ผู้มารับบริการได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น ในปี 2550 โรงพยาบาลได้ก่อสร้างอาคาร 12 ชั้น เพื่อขยายงาน OPD และผู้ป่วยใน ทำให้โรงพยาบาลมีจำนวนเตียง 301 เตียง ซึ่งนับว่าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ใช้สอยมากว่า 45,000 ตารางเมตร ห้องตรวจรักษามากกว่า 80 ห้อง และขยายห้องผ่าตัดเพิ่มอีก 6 ห้อง (รวมของอาคารเก่าอีก 5 ห้อง) เปิดศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ขยายแผนกไตเทียม จากเดิม 19 เตียง เป็น 42 เตียง และปรับปรุงแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้กว้างขวางขึ้น เพื่อรองรับปริมาณผู้ป่วยที่หนาแน่นขึ้น นอกจากนั้น โรงพยาบาลได้นำ MRI เข้ามาให้บริการในปี 2553 รวมทั้งเฟมโตเลสิคในปี 2557 การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทำให้โรงพยาบาลขอนแก่นราม ต้องปรับปรุงงานบริการให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด ด้านการส่งเสริมสุขภาพทางร่างกายแก่พนักงานและลูกค้าของโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลได้จัดตั้งและดำเนินการก่อสร้าง ศูนย์กีฬาขอนแก่นรามขึ้น ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2558 ปัจจุบันได้เปิดบริการให้แก่บุคคลภายในและบุคคลภายนอก เป็นสถานที่ออกกำลังกายประกอบด้วยสนามกีฬาในร่ม เพื่อให้มีสุขภาพดีแข็งแรง เป็นกำลังที่เข้มแข็งแก่ชุมชนต่อไป ในขณะที่โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี เป็นหนึ่งในเครือโรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งมีเครือข่ายมากกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ “โรงพยาบาลอุบลรักษ์ธนบุรี ตั้งอยู่เลข ที่ 46/4 ถ.บูรพาใน …
ชวนเบิ่ง 2 โรงพยาบาลเอกชนแห่งใหญ่ ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »
จุดเริ่มต้นของ “เซฟวัน” “เซฟวัน” เกิดขึ้นมาจากผู้บริหารของห้างฯ คลังพลาซ่า ที่ได้ร่วมทุนกันระหว่างห้างท้องถิ่นของจังหวัดต่าง ๆ เช่น พิษณุโลก หนองคาย กับ CRC (Central Retail Corporation) บริษัทในเครือห้างเซ็นทรัล และได้เปิดซูปเปอร์เซ็นเตอร์แห่งแรกในโคราชเมื่อปี 2537 ดำเนินกิจการเรื่อยมาจนกระทั้งเกิดปัญหาเอกภาพในการบริหาร และความเข้มข้นของคู่แข่งที่มาเปิดกิจการแข่งขัน ต่อมาเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 จึงปิดตังลง ก่อนห้างเซฟวันปิดตัวลง วิกฤตดังกล่าวได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ธุรกิจขาดสภาพคล่อง เป็นผลให้พนักงานตกงานจำนวนมาก นครราชสีมาก็หลีกหนีไม่พ้นเช่นกัน คุณรัตนไชย ได้เล็งเห็นโครงการเปิดท้ายขายของที่ลานจอดบริเวณห้างฯ นอริสซิตี้ ในยุคนั้นมีผู้คนจำนวนมากสนใจ จนพื้นที่รองรับไม่พอ จึงตัดสินใจมองหาทำเล เพื่อทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่ “เปิดท้ายขายของ” นึกว่าคงทำชั่วคราวไปก่อน และเรื่องจริงเบื้องหลังอีกข้อก็คือ อยากหาพื้นที่ให้ภรรยาของคุณรัตนไชย นำสิ่งของภายในบ้านมาเปิดท้ายขายของ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดในขณะนั้น โดยเริ่มจากพาคาราวานไปเปิดท้ายขายของที่บริเวณหน้าโรงแรม RCN PLAZA หน้าหัวรถไฟ (ปัจจุบันเพิ่งถูกรื้ออาคารออกไป) ก่อนจะยกเลิกและหันมาเลือกทำเลบริเวณชุมชนเคหะที่มีหมู่บ้านจำนวนมากบริเวณตลาดเซฟวัน ช่วงแรกเปิดเป็นตลาดนัดขายของบางวันเฉพาะ พฤหัส-อาทิตย์ จ่ายค่าเช่าเฉพาะวันขาย ต่อมาเกิดปัญหาบางอย่างจึงตัดสินใจเช่าเหมาเป็นรายเดือน และกลายสภาพมาเป็นตลาดนัดกลางคืน จุดเด่น “เซฟวัน” เซฟวันเป็นตลาดกลางคืน มีกลุ่มลูกค้า 70-80% เป็นคนเดิม ๆ ที่อยู่ในละแวกเซฟวันหรือในเมือง จังหวัดนครราชสีมา จากอดีตจะเห็นว่าตลาดเซฟวันเป็นตลาดเปิดท้ายขายของ แต่ปัจจุบัน คุณรัตนไชย พยายามหาบริการต่าง ๆ มาเติมเต็ม ไม่ว่าจะเป็นธนาคารสาขาพิเศษเปิดถึง 2 ทุ่ม และเปิดทุกวัน เพิ่มร้านสะดวกซื้อ ไปรษณีย์ไทยปิด 3 ทุ่ม, โซนสัตว์เลี้ยง เป็นต้น อ้างอิงจาก: – KORATWAY – อีสานร้อยแปด – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ตลาดเซฟวัน #เซฟวัน #โคราช #นครราชสีมา