Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

สัตว์น้ำจืดอีสาน จังหวัดใด๋มีหลายที่สุด ? 

สัตว์น้ำจืดอีสาน จังหวัดใด๋มีหลายที่สุด ?    ที่มา: กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สัตว์น้ำจืด #สัตว์น้ำจืดอีสาน

พามาเบิ่ง 5 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ในอีสาน

จากกระแสเงือกน้อยเมอร์เมด  มื้อนี่ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่ง 5 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในอีสาน   พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย จ.หนองคาย พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ตั้งอยู่ในตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย เป็นส่วนจัดแสดงสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ตื่นตาไปกับอุโมงค์ใต้น้ำยาวหลายสิบเมตร เหมือนกับการจำลองโลกใต้บาดาลลงไปสู่ชั้นล่าง ซึ่งเป็นโซนแสดงปลาน้ำจืด และปลาโบราณพื้นบ้าน ปลาลุ่มน้ำโขง ที่จัดแสดงไว้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือภายในอุโมงค์ใต้น้ำ ที่นักท่องเที่ยวจะได้ตื่นตาตื่นใจกับฝูงปลานานาชนิด มีทั้งปลาบึก ปลาตะเพียนสีสันสวยงาม และปลาอื่น ๆ อีกมากมาย การแสดงโชว์ดำน้ำ – วันอังคาร-ศุกร์ รอบ 14.00-14.30 น. – วันเสาร์-อาทิตย์ รอบ 11.00-11.30 น. และ 14.00-14.30 น.  วันและเวลาทำการ : ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00-17.00 น. ที่ตั้ง : เลขที่ 112 หมู่ 7 ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย https://goo.gl/maps/AJnFHBcRK1tdxVVZ7  ค่าเข้าชม เด็ก นักเรียน นักศึกษา 30 บาท, ผู้ใหญ่ 50 บาท ยกเว้นค่าเข้าชม ผู้สูงอายุแสดงบัตรประจำตัวประชาชน และเด็กที่มีความสูงน้อยกว่า 90 เซนติเมตร   สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด  จัดแสดงปลาและสัตว์น้ำจืด พร้อมทั้งนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับปลาและสัตว์น้ำจืดชนิดต่างๆ มีส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วย ตู้ปลาขนาดเล็กที่ฝังอยู่ในผนังรอบๆ อาคาร จำนวน 24 ตู้ ช่วงตรงกลางของอาคาร เป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร พร้อมอุโมงค์แก้วผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิดและรอบทิศทาง ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ : ถนนสุนทรเทพ (หน้าวัดบึงพระลานชัย) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทรศัพท์ : 043-511-286 https://goo.gl/maps/iUxed16UvtqWwLAf7  วันและเวลาทำการ : เปิดให้เข้าชม วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 08.30 – 16.30 น. ค่าเข้าชม ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม (แต่มีตู้สำหรับให้บริจาคค่าอาหารสัตว์น้ำแทน)   สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด จ.สกลนคร ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนคร มีพื้นที่ทั้งหมด 157 ไร่ …

พามาเบิ่ง 5 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 2 บริษัทผลิตไฟฟ้าในภาคอีสาน

ความเป็นมาของ “บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด” เป็นอย่างไร? โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น เป็นบริษัทในเครือกลุ่มบริษัทเคเอสแอล (KSL Group) 2546 สร้างบริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าและผลิตไอน้ำโดยใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงหลัก 2550 สร้างโรงงานแห่งใหม่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ตามแนวคิด Bio-Refinery Complex ซึ่งเป็นการจัดระบบการสร้างและการจัดการโรงงานน้ำตาลและผลิตภัณท์ต่อเนื่อง คือ โรงงานเอทานอล, โรงงานไฟฟ้า, และโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ ไว้ในที่เดียวกัน 2554 บริษัทได้ลงทุนเพิ่ม 1 โครงการ คือ โครงการสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าที่จังหวัดเลย 2555 บริษัทได้ลงทุนโครงการขยายกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า และปรับปรุงโรงงานน้ำตาลเพื่อเพิ่มความสามารถในการหีบอ้อย ที่จังหวัดขอนแก่น ในขณะที่ ความเป็นมาของ “บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด” เป็นอย่างไร? บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด เป็นเครือในกลุ่มบริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลทรายที่มีประสบการณ์มากกว่า 45 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2508 โดยคุณถวิล ถวิลเติมทรัพย์ จัดตั้งบริษัท อุตสาหกรรมหนองใหญ่ จำกัด ปี 2539 บริษัทได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด และหลังจากนั้นได้ก่อตั้ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด ปี 2558 บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด เริ่มขายไฟให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามสัญญา ชนิด Firm 22 เมกะวัตต์ ปี 2561 บริษัทได้เปิดโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้า ที่อำเภอสีคิ้ว มูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท ปี 2563 โรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อที่ใช้ใน การซื้อขายหน่วยลงทุน คือ “KBSPIF” เพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลทั่วไป อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ผลิตไฟฟ้าครบุรี #ธุรกิจ #โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น #โรงไฟฟ้า #Business

พาส่องเบิ่ง  6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2566 (ม.ค. – เม.ย.)

พาส่องเบิ่ง  6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2566 (ม.ค. – เม.ย.)   ในเดือน มกราคม – เมษายน 2566 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 74,160 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า   อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก   อ้างอิงจาาก: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว #หนองคาย #มุกดาหาร #อุบลราชธานี#เลย #นครพนม #บึงกาฬ

พฤติกรรมผู้ชมของธุรกิจหมอลำ และ การออกแบบบริการสำหรับผู้ชมหมอลำ (Service Design)

มื้อนี่ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0   พฤติกรรมผู้ชมของธุรกิจหมอลำ และ การออกแบบบริการสำหรับผู้ชมหมอลำ (Service Design)   สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง  คณะเศรษฐศาสตร์  รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม   วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  นางสาวรพีพรรณ แคนลาด  ผู้ช่วยนักวิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์ มงคลคำ  ผู้ช่วยนักวิจัย  นายอัษฎาวุฒิ ศรีทน   ผู้ช่วยนักวิจัย  นายศุภชัย เสถียรหมั่น   ผู้ช่วยนักวิจัย   📌 สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=362&fbclid=IwAR11ktt2ff5LKbh1UlB5-3LY79Eq-DNH2otxXAeE55_CdTuFB_MYVP7j9AA     ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/   Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #หมอลำ #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ #มข #คณะเศรษฐศาสตร์   

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?    มื้อนี่ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0   สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง  คณะเศรษฐศาสตร์  รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม   วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  นางสาวรพีพรรณ แคนลาด  ผู้ช่วยนักวิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์ มงคลคำ  ผู้ช่วยนักวิจัย  นายอัษฎาวุฒิ ศรีทน   ผู้ช่วยนักวิจัย  นายศุภชัย เสถียรหมั่น   ผู้ช่วยนักวิจัย   การแสดงหมอลำเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านดั้งเดิมของอีสานและเป็นการแสดงวัฒนธรรมทางดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ฤดูกาลแสดงในรอบหนึ่งปีจะเริ่มต้นหลังจากเทศกาลออกพรรษา และทำการแสดงต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 เดือน (ตุลาคม – พฤษภาคม) ก่อนที่จะปิดฤดูกาลหรือพักวงเป็นเวลา 4 เดือนในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – กันยายน)  หากพิจารณาธุรกิจหมอลำตามการลงทุนและการจ้างงาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ราคาจ้างงาน 240,000-300,000 บาท ขนาดกลางราคาค่าจ้าง 200,000-240,000 บาท และขนาดเล็กราคาค่าจ้าง 150,000-200,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ต้องเดินทางไปจัดการแสดง การแสดงหมอลำเป็นธุรกิจบันเทิงที่ทำให้เกิดการจ้างแรงงานในหลายรูปแบบ อาทิ นักแสดงหมอลำ นักดนตรี แดนเซอร์ พนักงานประกอบเวที คนขับรถ เป็นต้น ในภาพรวมของธุรกิจหมอลำมีการจ้างงานไม่น้อยกว่า 2,000 คนต่อปี แสดงให้เห็นว่าความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจหมอลำส่งผลต่อการพัฒนาหรือกระตุ้นเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปด้วย  ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาอุตสาหกรรมหมอลำมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? มีผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ COVID-19 นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผลกระทบทางด้านอุตสาหกรรมหมอลำบันเทิง เมื่อสถานการณ์ปกติ ผลผลิตรวมมูลค่า 6,615.2 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีผลผลิตรวมน้อยลงอย่างมากซึ่งเหลือเพียง 1,153.4 ล้านบาท และทางด้านงผลกระทบต่อการจ้างงาน เมื่อสถานการณ์ปกติ การจ้างแรงงานเฉพาะในส่วนของการจัดแสดงหมอลำประมาณ 4,811 คน เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีการจ้างงานที่น้อยลงเหลือเพียงประมาณ 1,399 คน เท่านั้น   📌 สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=362&fbclid=IwAR11ktt2ff5LKbh1UlB5-3LY79Eq-DNH2otxXAeE55_CdTuFB_MYVP7j9AA    ติดตาม ISAN Insight & …

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “นาราไอซ์” อาณาจักรโรงน้ำแข็งภาคอีสาน เงินทุน 150 ล้าน ชูจุดขายน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยม

อากาศร้อนแบบนี้ ISAN Insight & Outlook พามาทำความฮู้จักกับเจ้าของโรงน้ำแข็งเย็นๆ เพื่อดับร้อนกันกับ “นาราไอซ์” อาณาจักรโรงน้ำแข็งจากภาคอีสาน นำเสนอรูปแบบน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมฉีกรูปแบบน้ำแข็งหลอด ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และหน้าตาโรงน้ำแข็งที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งที่ลบภาพโรงน้ำแข็งที่หลายคนเคยเห็นกันด้วยเงินลงทุน 150 ล้านบาท ของคุณพัชราภรณ์ อ่อนวิมล วัยเพียง 20 ปี (ช่วงเริ่มทำโรงน้ำแข็ง) คุณพัชราภรณ์ อ่อนวิมลเป็นทายาทเจ้าของโรงน้ำแข็งชื่อดังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเธอมีโรงน้ำแข็งภายใต้แบรนด์นาราไอซ์ ถึง 3 แห่ง มีรถส่งนำแข็งมากกว่า 80 คัน และส่งน้ำแข็ง 485 ตันต่อวัน เส้นทางความเป็นมาของ “นาราไอซ์” เป็นอย่างไร? คุณพัชราภรณ์ ได้มารับช่วงต่อการดูแลกิจการโรงน้ำแข็งร่วมกับครอบครัวตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเพียง 20 ปี ก่อนที่จะแยกตัวเองออกมาสร้างอาณาจักรเป็นเจ้าของโรงน้ำแข็งภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ในวัย 24 ปี ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาโรงน้ำแข็งนาราไอซ์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสาน 3 แห่ง ได้แก่ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ฯลฯ ย้อนกลับไปในช่วงที่พ่อแม่ของคุณพัชราภรณ์ ผู้บุกเบิกสร้างโรงน้ำแข็งในขณะนั้น ไม่มีแม้แต่ชื่อ แต่ชาวบ้านก็จะเรียกกันว่า “โรงน้ำแข็งกุดชุม” จ.ยโสธร บ้านเกิดของคุณพัชราภรณ์ ซึ่งในสมัยพ่อกับแม่ทำโรงน้ำแข็งยังเป็นกิจการเล็กส่งขายในพื้นที่ใกล้เคียง และกิจการเริ่มขยายใหญ่ขึ้นหลังจากที่พี่สาวกับพี่เขยได้เข้ามาพัฒนากิจการโรงน้ำแข็งต่อ มีการสร้างโรงน้ำแข็ง อีกหลายแห่งในพื้นที่ภาคอีสาน โดย คุณพัชราภรณ์ เริ่มเข้ามาทำโรงน้ำแข็ง จากการช่วยเหลือจากพี่สาวก่อน ตอนนั้นอยู่ในวัย 20 ปี ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ก่อนจะเปิดโรงน้ำแข็งนาราไอซ์ของตัวเอง คุณพัชราภรณ์ไม่ได้ชอบการทำธุรกิจโรงน้ำแข็งเลย แต่การจะลงทุนทำอะไร ถ้าหากไปเริ่มต้นทำธุรกิจประเภทอื่นใหม่ก็เหมือนนับหนึ่งกันไหม ซึ่งไม่เหมาะกับการลงทุนในยุคนี้ เพราะมีการแข่งขันและความเสี่ยงสูง อีกทั้ง โรงน้ำแข็งมีการแข่งขันสูง แต่คุณพัชราภรณ์มีประสบการณ์ เคยทำมันมาก่อนสามารถจะต่อยอดได้ โดยรู้ปัญหา รู้ว่าจะต้องแก้อย่างไร เพราะในวงการโรงน้ำแข็ง ถ้าในพื้นที่เดียวกันก็จะรู้จักกัน และรู้มารยาท ถ้ามาที่หลังจะต้องทำอย่างไร “ตัวเองโชคดีที่มีพี่เขยและพี่สาวที่ทำมาก่อน พอเราแยกมาทำ แบ่งพื้นที่ดูแลไม่ได้ทับเส้นทางกัน ซึ่งการส่งน้ำแข็ง เริ่มจากต้องเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของร้านที่เราจะเอาน้ำแข็งไปส่ง และหลังจากนั้นก็นำถังน้ำแข็งที่เป็นแบรนด์ของเราไปวาง เขาจะไม่เอาน้ำแข็งของตัวเองไปใส่ถังของคนอื่น ร้านไหนขายน้ำแข็งที่สะอาดลูกค้าก็จะซื้อร้านนั่น ซึ่งความสะอาดดูจากความใสของก้อนน้ำแข็ง เรามั่นใจว่าน้ำแข็งของเราใสกว่าน้ำแข็งรายอื่น ๆ อย่างแน่นอน เพราะผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน น้ำที่นำมาใช้ทำน้ำแข็งผ่านเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพและน้ำต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด” คุณพัชราภรณ์ กล่าว นอกจากนี้ นาราไอซ์ยังเป็นน้ำแข็งหลอดรายเดียวในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ทำน้ำแข็งออกมาในรูปก้อนทรงสี่เหลี่ยมและการที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมทำให้น้ำแข็งมีมุมช่วยให้น้ำแข็งดูก้อนใหญ่ และละลายช้าลงกว่าน้ำแข็งหลอดทรงกลม ลูกค้าให้การตอบรับกับน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมเป็นอย่างดี และการผลิตน้ำแข็งของเราจะทำแบบวันต่อวัน เพราะน้ำแข็งที่ผลิตไว้ค้างคืนจะเกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ เวลานำไปตักขายก็จะลำบาก ลูกค้าซื้อไปเค้าก็กินลำบากเช่นกัน อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – MGR Online #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นาราไอซ์ #โรงน้ำแข็ง #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

เนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) มื้อนี้ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่งอาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นมในภาคอีสาน ว่ามีบริษัทใด๋ อยู่จังหวัดใด๋ และผลประกอบการเป็นจั่งใด๋แหน่ อันดับที่ 1 บริษัท พญาเย็น แดรี่ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา รายได้รวม 590 ล้านบาท กำไรรวม -1.1 ล้านบาท อันดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนวัฒน์วอลล์ จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 120 ล้านบาท กำไรรวม 1.5 ล้านบาท อันดับที่ 3 บริษัท คิดบวก ดิสทริบิวเตอร์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 114 ล้านบาท กำไรรวม 1.2 ล้านบาท อันดับที่ 4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจนวิกัย จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 79 ล้านบาท กำไรรวม 4.6 ล้านบาท อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เคซี ไชยบุญเรือง จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 67 ล้านบาท กำไรรวม 355,505 บาท อันดับที่ 6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีรัมย์ดัชมิลล์ จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 63 ล้านบาท กำไรรวม 207,516 บาท อันดับที่ 7 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดัชมิลล์ มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 59 ล้านบาท กำไรรวม 453,522 บาท ในการทำธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม ต้องมีการวางแผนธุรกิจ เพื่อกำหนดเป้าหมายธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้ง ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตนมและกระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจ และยังควรศึกษาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบที่เหมาะสมและราคาที่เหมาะสม รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์และการจัดส่งสินค้าให้มีความเหมาะสม หมายเหตุ: เป็นมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม (รหัสประเภทธุรกิจ 46314) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th …

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง โรงน้ำแข็งแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงน้ำแข็ง อยู่ที่ 4,575 ล้านบาท คิดเป็น 47.7% ของรายได้รวมจากโรงน้ำแข็งทั้งหมดในประเทศ และมีจำนวนโรงน้ำแข็ง 427 แห่ง คิดเป็น 32.4% 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงน้ำแข็งมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีรายได้รวม 663 ล้านบาท อันดับที่ 2 สุรินทร์ มีรายได้รวม 451 ล้านบาท อันดับที่ 3 ร้อยเอ็ด มีรายได้รวม 421 ล้านบาท อันดับที่ 4 ขอนแก่น มีรายได้รวม 401 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีรายได้รวม 383 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในภาคอีสาน ซึ่งโรงน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของการผลิตและจัดเก็บสินค้าให้สดชื่น สถานที่ตั้งที่เหมาะสมและความต้องการในการใช้น้ำแข็งในอุตสาหกรรมนี้ส่งผลให้มีโรงน้ำแข็งมากในพื้นที่นี้ อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #โรงน้ำแข็ง #ธุรกิจ #น้ำแข็ง #ธุรกิจอีสาน #Business

พามาเบิ่ง 6 โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังที่มีกำไรมากที่สุดในภาคอีสาน

อันดับที่ 1 บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 3,287 ล้านบาท กำไรรวม 319 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 2 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 7,102 ล้านบาท กำไรรวม 194 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 3 บริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช(2012) จำกัด รายได้รวม 1,020 ล้านบาท กำไรรวม 144 ล้านบาท จังหวัด สกลนคร อันดับที่ 4 บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด รายได้รวม 4,286 ล้านบาท กำไรรวม 135 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 5 บริษัท แป้งมันร้อยเอ็ด จำกัด รายได้รวม 1,765 ล้านบาท กำไรรวม 95 ล้านบาท จังหวัด ร้อยเอ็ด อันดับที่ 6 บริษัท วีพี สตาร์ซ (2000) จำกัด รายได้รวม 2,006 ล้านบาท กำไรรวม 84 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีกำไรมากที่สุดจะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมามากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสินค้า บริษัทส่วนใหญ่จึงทำธุรกิจในจังหวัดนี้ อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟและทางด่วนที่สำคัญเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีกลางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและบุคคล โดยการขนส่งที่สะดวกสบายจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าของบริษัท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัทมีกำไรมากที่สุด #ธุรกิจ #Business#ธุรกิจอีสาน

Scroll to Top