Infographic

พาจอบเบิ่ง “อาณาจักรฟาร์มสุกร” เจ้าใหญ่แห่งภาคอีสาน

จุดเริ่มต้นของ “อาร์เอ็มซี ฟาร์ม” บริษัท อาร์เอ็มซี ฟาร์ม จำกัด มีผู้ร่วมกันก่อตั้งอยู่ 2 ท่าน คือ คุณมงคล และคุณชูศักดิ์ สองพี่น้องตระกูลรัตนวนิชย์วิโรจน์ โดยเริ่มแรกทำธุรกิจจากการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร ภายใต้ชื่อร้านเจริญกิจเกษตรภัณฑ์ หลังจากนั้นได้เริ่มต้นธุรกิจ ฟาร์มหมู มีพ่อพันธุ์เพียง 4 ตัว และแม่พันธุ์ 60 ตัว ซึ่งฟาร์มได้มีการพัฒนาสายพันธุ์สุกรเอง จนเกิดผลผลิตในปริมาณที่มากพอ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในแถบภาคอีสานได้ ทั้งในด้านคุณภาพ โดยมีสายพันธุ์ที่ดี และคุณภาพซากที่สวย เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ในปัจจุบันทาง ฟาร์มหมู มีสุกรแม่พันธุ์ 5,500 แม่ จากรากฐานที่มั่นคงในการทำธุรกิจสุกรมาแล้ว 37 ปี มีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน โดยการทำงานร่วมกันของคุณชูศักดิ์ และคุณศราวุฒิ จากการซึมซับการเลี้ยงหมู ตั้งแต่เล็กถึงแม้จะไม่ได้จบด้านปศุสัตว์โดยตรง แต่ก็ได้เข้าฟาร์มดูการทำคลอด คลุกแป้งลูกหมู อุ้มลูกหมู ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต RMC Farm เป็นฟาร์มหมูที่อยู่ใกล้กับชุมชนมาก ดังนั้นต้องมีการจัดการที่ดี มีการพัฒนารูปแบบการ เลี้ยงหมูเป็นระบบอีแวป (Evap) มาหลายสิบปี ส่วนหนึ่งมาจากการสร้างใหม่ และบางส่วนมีการดัดแปลงจากโครงสร้างเก่า การจัดการในแต่ละวันจะเริ่มต้นด้วยการให้อาหาร ทำความสะอาด และเดินตรวจสุขภาพ ขณะที่สุกรกำลังกินอาหารเพื่อสังเกตสิ่งผิดปกติจะได้จัดการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ถ้าสุกรป่วยเป็นระยะเวลานานจะทำให้การรักษานั้นยากมากขึ้น ในขณะที่จุดเริ่มต้นของ “ณัฐพงษ์ ฟาร์ม” บริษัทฯ ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2545 ฟาร์มหมูขนาดใหญ่ 4 ฟาร์ม แม่พันธุ 3,000 แม่ ที่เลี้ยงตั้งแต่นำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาผสมพันธุ์ เมื่อคลอดลูกหมูก็จะเลี้ยงจนกระทั่งเป็นหมูขุน โดยลงทุนในรูปแบบการเลี้ยงที่ทันสมัย ระบบปิดทั้งหมด อีกทั้งยังใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ซึ่งเป็นบริษัทตั้งต้น และได้ต่อยอดบริษัทที่ 2 คือ บริษัท พีแอนด์เจ มีท โปรดักส์ จำกัด โรงชำแหละและตัดแต่งเนื้อหมู มาตรฐาน GMP/HACCP กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ลูกค้าโมเดิร์นเทรด จากนั้นจึงมี บริษัท หมูณัฐ จำกัด เป็นบริษัทที่ 3 ที่เป็นร้านเนื้อหมูสะดวกซื้อ ซึ่งเปิดกิจการมาย่างเข้าปีที่ 8 แล้ว กับ 10 สาขาในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน ในการทำธุรกิจฟาร์มสุกรนั้น การทำธุรกิจทุกอย่างที่ทำออกมาต้องมีการเติบโตอย่างยั่งยืน ค่อยเป็นค่อยไป และประกอบธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจรรยาบรรณ มีศีลธรรมอันดีในการประกอบธุรกิจ ซื่อตรงต่อตัวเองและลูกค้า อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ฟาร์มสุกร #ฟาร์มหมู #หมู #ณัฐพงษ์ฟาร์ม …

พาจอบเบิ่ง “อาณาจักรฟาร์มสุกร” เจ้าใหญ่แห่งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “อุบล ไบโอ เอทานอล” อาณาจักรผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลัง รายใหญ่ของประเทศ

บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) (“บริษัท” หรือ “UBE”) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศ โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ เอทานอล และแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งบริษัทจำหน่ายทั้งแป้งมันสำปะหลัง (Tapioca Starch) และฟลาวมันสำปะหลัง (Cassava Flour) แบบทั่วไปและแบบออร์แกนิก บริษัทถือเป็นผู้ผลิตและแปรรูปมันสำปะหลังแบบครบวงจร (Well-integrated Tapioca Player) รายใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จากการใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตทั้งเอทานอล แป้งมันสำปะหลังและแป้งฟลาว ซึ่งมีการนำวัตถุดิบมันสำปะหลังเข้าสู่กระบวนการผลิตมากถึง 1,200,000 ตันต่อปี บริษัทมีการนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต เช่น น้ำใช้จากกระบวนการผลิตและกากมันสำปะหลัง มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในโรงงานผลิตเอทานอลและแป้งมันสำปะหลัง นอกจากนี้ ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งจะนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้หมุนเวียนในโรงงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต และจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทอีกทางหนึ่ง นอกจากการผลิตและจำหน่ายเอทานอล แป้งมันสำปะหลัง และการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่อง บริษัทได้ขยายสู่การพัฒนาสินค้าทางการเกษตรชนิดอื่นที่มีมูลค่าสูง (High Value Product หรือ HVP) หรือมีศักยภาพในการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2563 บริษัทได้ริเริ่มธุรกิจเกษตรอินทรีย์ โดยมีแผนที่จะปลูกกาแฟอินทรีย์ (Organic Coffee) และข้าวอินทรีย์ (Organic Rice) เพื่อจำหน่าย อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรประเภทอื่นๆ เช่น อาหารผสมเสร็จที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์ สำหรับการเลี้ยงโคเนื้อ เป็นต้น อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุบลไบโอเอทานอล #มันสำปะหลัง #เอทานอล #อุบลราชธานี

5 จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อย หลายที่สุดในอีสาน

5 จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อย หลายที่สุดในอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยจำนวน 20 จังหวัด มีพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมด 4,661,795 ไร่ เพิ่มขึ้น จากปีการผลิต 2563/64 จำนวน 67,351 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.47 ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวไปได้อีกไกล เนื่องจาก มีการขอตั้ง และขยายโรงงานน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นจำนวนมากและสืบเนื่องจาก รัฐบาลผลักดัน นโยบายบริหารพื้นที่เกษตรกรรมของพืช (Zoning) โดยเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่อยู่ในพื้นที่ ไม่เหมาะสมไปสู่การปลูกอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้ พื้นที่ปลูกอ้อยของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้การผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวโน้มที่ดีส่งผลให้ราคาอ้อยขยับเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรส่วนหนึ่งหันกลับมาปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ประกอบกับปี 2564 ประเทศไทยมีมรสุมเข้าตั้งแต่ต้นปี ทำให้มีปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ส่งผลให้ผลผลิตต่อตันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ราคาอ้อยจะสูงขึ้นแต่ต้นทุนภาพรวมก็สูงขึ้นด้วย เช่น ค่าน้ำมัน ค่าแรงงานและค่าปุ๋ย อ้างอิงจาก: สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #น้ำตาล #อุดรธานี #ขอนแก่น #นครราชสีมา #ชัยภูมิ #กาฬสินธุ์

เป็นจั้งใด๋ ? สถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทย ปี 2564

เป็นจั้งใด๋ ? สถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทย ปี 2564 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในปี 2564 เกิดขึ้น 24.98 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 1 สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้มีการควบคุมการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันมีมาตรการกำหนดให้ปฏิบัติงาน Work From Home การสั่งอาหารผ่านระบบบริการส่งอาหาร (Food Delivery) ส่งผลให้ปริมาณพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single use plastic) เพิ่มขึ้น เช่น กล่องโฟม กล่องพลาสติกใส่อาหาร ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงร้อน-เย็น ช้อน ส้อม มีดพลาสติก แก้วพลาสติก จากห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และ Platform ของผู้ให้บริการส่งอาหาร การจัดการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยและขยะพลาสติก มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) เช่น โครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน) อ้างอิงจาก: กรมควบคุมมลพิษ https://www.pcd.go.th/pcd_news/20802 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ขยะมูลฝอย

พามาเบิ่ง “กลุ่มบริษัทต้องบุญ” ที่อยู่ในภาคอีสาน ผลประกอบการแต่ละบริษัทเป็นจังใด๋แหน่??

บริษัทต้องบุญปิโตรเลียมจำกัด เดิมจดทะเบียนในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัดปักธงชัย ปิโตรเลียม ดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และบริการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาธุรกิจค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในนามของ หจก.ปักธงชัยปิโตรเลียม มีการขยายตัวและเติบโตในอัตราที่สูงมาก ผู้บริหารจึงมีความเห็นให้แยกธุรกิจค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ใน ชื่อ บริษัท ต้องบุญปิโตรเลียม จำกัด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2540 โดย บริษัทต้องบุญปิโตรเลียม ก็ได้ปรับแกนของธุรกิจหลัก โดยมีจุดมุ่งหมายดำเนินธุรกิจ บริการขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ ภายใต้นโยบายที่มุ่งหวังจะเป็นเลิศด้านการให้บริการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันแก่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม ด้วยพื้นฐานเติบโตมาจากผู้รับบริการ เมื่อเป็นผู้ให้บริการทำให้เรามีจุดเด่นการให้บริการที่ใส่ใจ เข้าใจความต้องการของลูกค้า จึงมุ่งมั่นให้สิ่งที่ดีที่สุด คุณภาพที่ดีที่สุดสู่ผู้รับบริการและลูกค้า ทำให้ บริษัท ต้องบุญปิโตรเลียม จำกัด เติบโตขยายขอบเขตธุรกิจตลอดมา ในปัจจุบัน เป็นบริษัทชั้นนำในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมัน และน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมให้บริการด้านการขนส่งที่เป็นหนึ่ง เนื่องจากกลุ่มบริษัทต้องบุญ ให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้่งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักรไทย ทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ให้บริการทุกพื้นที่ทั่วไทย โดยมีรถบรรทุกน้ำมันให้บริการกว่า 200 คัน รวมถึงบริการขนส่งน้ำมันให้กับแบรนด์น้ำมันเชื้อเพลิงชั้นนำของไทย อีกด้วย ดังนั้น บริษัทฯจึงเป็นผู้นำในธุรกิจ ที่พร้อมก้าวและเติบโตไปกับลูกค้าในธุรกิจจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเชื้อเพลิงและขนส่งน้ำมันเชื้อพลิง ที่ลูกค้าไว้วางใจเพราะบริษัทฯบริการด้วยคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด “เพราะบริษัทฯเป็นหนึ่งด้านการค้าส่ง และบริการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม “ อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทต้องบุญ #ต้องบุญปิโตรเลียม #ต้องบุญแอทเสท #ทีบีแทงค์แอนด์เทรลเลอร์ #ทีเอสเคโลจิสติกส์ #ที9

เจาะลึก แต่ละ Gen เป็นจั้งใด๋ ? เพื่อเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น

เจาะลึก แต่ละ Gen เป็นจั้งใด๋ ? เพื่อเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น   “ผู้บริโภค” หรือ “ลูกค้า” เป็นตัวแปรสำคัญที่เราจะต้องศึกษา ทำความรู้จักและทำความเข้าใจถึงความต้องการของพวกเขา โดย Generations ของผู้บริโภค ได้ถูกจัดแบ่งโดยช่วงเวลาของการเกิด ซึ่งแต่ละ Generation นั้นก็มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า Generation Gap โดยเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นมาจากช่วงเวลาที่เกิด  การรู้จักและเข้าใจความต้องการของคนแต่ละ Generation ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ทำให้ทำการตลาดได้ง่ายมากขึ้น เพราะหากเรามีสินค้าหรือบริการที่ดี แต่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ก็จะไม่เกิดยอดขายตามมา แต่ถ้าเรารู้จักลูกค้าดีพอ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทำให้ง่ายที่จะผลิตสินค้าและบริการที่ดึงดูดใจผู้บริโภค ทำให้ขายได้มากขึ้น เกิดการบอกต่อ และเป็นผู้ภักดีของแบรนด์ในที่สุด   อ้างอิงจาก: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย https://goonlinethailand.com/blog/online-marketing/generations-for-marketing/    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #Generation #ผู้บริโภค #BabyBoomer #GenX #GenY #GenZ #Alpha

เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 

เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ ในเดือนพฤศจิกายน 2565  อ้างอิงจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เงินฝากของคนในอีสาน #เงินฝาก

เรื่องของ “เนื้อโคขุนโพนยางคำ” 🥩🐂 พามาเบิ่งแนวทางในการพัฒนา

เรื่องของ “เนื้อโคขุนโพนยางคำ” 🥩🐂 พามาเบิ่งแนวทางในการพัฒนา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าอัตลักษณ์ ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จึงดำเนินการแนวทางพัฒนาเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับพื้นที่ เนื้อโคขุนโพนยางคำ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสินค้า GI จังหวัดสกลนคร และเป็นสินค้าที่มีศักยภาพด้านการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงรายได้ของจังหวัดสกลนคร โดยโครงการนี้มีวัตุประสงค์ศึกษาแนวทางการพัฒนาเนื้อโคขุนโพนยางคำของเกษตรกรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีการเปรียบเทียบต้นทุนของผลตอบแทนการผลิตเนื้อโคขุนโพนยางคำของเกษตรกรที่มีการใช้ และไม่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (การผลิตอาหารผสมครบส่วนหนืออาหาร TMR: Total Mixed Ration) ซึ่งมีกระบวนการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อีกทั้งยังมีข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในอนาคต คือ ควรศึกษาการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้กับสินค้าอัตลักษณ์ชนิดอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรให้แก่หน่วยงาน ผู้ประกอบการ เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป อีกทั้งวางแผนบริหารจัดการสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรมีอัตลักษณ์พื้นถิ่นมากยิ่งขึ้น อ้างอิงจาก: ส่วนบริหารกองทุนภาคการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2566/OAE793WebOK.pdf #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เนื้อโคขุนโพนยางคำ #อุดรธานี #สกลนคร #โคเนื้อ

ชวนมาเบิ่ง 4 ยักษ์ใหญ่แห่งอาณาจักรรับเหมาก่อสร้าง

ผลประกอบการเป็นจังใด๋แหน่ อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บุรีรัมย์พนาสิทธิ์ #ยิ่งเจริญก่อสร้างบุรีรัมย์ #ไทยวัฒน์วิศวการทาง #โชคชัยการโยธา #ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง #รับเหมาก่อสร้าง

Scroll to Top