ในปี 2564 ธุรกิจสุรากลั่นท้องถิ่นขนาดเล็กในภาคอีสานมีจำนวนมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ซึ่งมีจำนวนอยู่ที่ 44 ราย และมีกำไรรวมมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ที่ 2.3 ล้านบาท ในขณะที่อันดับ 1 คือ ภาคเหนือ มีจำนวน 244 ราย และกำไรรวม 7.9 ล้านบาท
ทำไมธุรกิจสุรากลั่นท้องถิ่นของภาคอีสานถึงเป็นรองจากภาคเหนือ?
1. ปัจจัยด้านสัดส่วนนักดื่มของภาคเหนือที่มีมากกว่าภาคอีสาน
2. ปัจจัยด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือที่มีความสมบูรณ์กว่า
3. ปัจจัยด้านความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค
4. ปัจจัยด้านสินค้าและบริการของสุรากลั่นในภาคเหนือที่มีมากกว่าภาคอีสาน
นอกจากนั้นแล้ว สุรากลั่นนั้นยังมีความสัมพันธ์กับจำนวนและรายได้ของนักเที่ยวด้วย เนื่องจากสุรากลั่นเป็นสินค้ากึ่งท่องเที่ยว
จากสัดส่วนการกระจายตัวพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยของภาคอีสานมากกว่าภาคเหนือ แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของภาคอีสานนั้นกลับมีน้อยกว่าภาคเหนือ แต่รายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติของภาคเหนือมีมากกว่าภาคอีสานเป็นเท่าตัว
การจัดเก็บภาษีในธุรกิจสุรากลั่น
การจัดเก็บภาษีในธุรกิจสุรากลั่นมีการจัดเก็บอัตราภาษีเท่ากันในทุกขนาดธุรกิจ คือ อัตราภาษีสุรากลั่นชนิดสุราขาวต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หน่วยละ 155 บาท และอัตราภาษีตามมูลค่า 2 บาท
ทำให้ธุรกิจรายเล็กมีภาระต้นทุนที่มากกว่า ซึ่งถ้าหากภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนสุรากลั่นท้องถิ่นโดยการลดภาษีธุรกิจรายเล็ก จะส่งผลให้จำนวนธุรกิจสุรากลั่นท้องถิ่นมีในตลาดเพิ่มขึ้น และสุรากลั่นท้องถิ่นจะขายได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งจะทำให้มียอดขายและกำไรที่มากขึ้น สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้และจะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เพราะสุรากลั่นท้องถิ่นนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านต่าง ๆ มากมายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
เรามาวิเคราะห์ดูความสัมพันธ์ของธุรกิจสุรากลั่นกับธุรกิจร้านอาหารที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก หรือ ธุรกิจปลายน้ำ?
โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจะมีความสัมพันธ์ต่อกำไรของธุรกิจปลายน้ำอย่างร้านอาหารที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก
กำไรของร้านอาหารที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก
ปี 2564 = -4.7 ล้านบาท
ปี 2565 = -2 ล้านบาท
และ กำไรที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 มีความสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
จำนวนนักท่องเที่ยวในภาคอีสาน
ปี 2564 = 13 ล้านคน
ปี 2565 = 32.6 ล้านคน
สินค้าเกษตรที่นิยมนำไปใช้ผลิตสุรากลั่นในภาคอีสาน ได้แก่ ข้าวเหนียว และ อ้อย ซึ่งเป็นผลผลิตที่นิยมปลูกเป็นอย่างมากในภาคอีสาน
ถ้าหากนำผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าส่งให้แก่โรงกลั่นเพื่อผลิตสุรากลั่นท้องถิ่นจะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมากขนาดไหน?
ปี 2564 มีผลผลิตข้าวเหนียวที่ไม่ได้ส่งให้แก่โรงสี 1.4 ล้านตัน
หากนำผลผลิตนี้ส่งให้แก่อุตสาหกรรมโรงกลั่น จะสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมากถึง 18.5 ล้านบาท
ปี 2564 มีผลผลิตอ้อยที่ไม่ได้ส่งให้แก่โรงงาน 4.1 ล้านตัน
หากนำผลผลิตนี้ส่งให้แก่อุตสาหกรรมโรงกลั่น
1. ส่งอ้อยโดยที่ไม่ได้แปรรูป จะสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมากถึง 4,512 ล้านบาท
2. แปรรูปอ้อยเป็นน้ำอ้อย จะสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมากถึง 122,353 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า ธุรกิจสุรากลั่นท้องถิ่นส่งผลในทางบวกต่อ supply chian ทั้งต้นน้ำอย่างเกษตรกร และปลายน้ำอย่างร้านอาหารที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก
และจากการคาดการณ์จำนวนธุรกิจสุรากลั่นทุกขนาดในภาคอีสาน คาดว่า
ปี 2566 = 84 ราย
ปี 2567 = 95 ราย
ปี 2568 = 107 ราย
อ้างอิงจาด:
– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
– ประชาชนเบียร์
– The complete guide to rum
– Spirit academy
– ระบบฐานข้อมูลวิจัยแอลกอฮอล์ไทย
– กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
– ราชกิจจานุเบกษา
– สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
– สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย