สรุปเรื่องน่าฮู้ เกี่ยวกับ “จังหวัดบึงกาฬ”

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคอีสานตอนบนสุดของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ ในปี 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดแถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีขนาดพื้นที่ 4,315 ตร.กม. และมีประชากร 421,684 คน

ในปี 2564 จังหวัดบึงกาฬมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 28,670 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 80,159 บาท

โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME

– ภาคการเกษตร คิดเป็น 36% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงกระบือนมและกระบือเนื้อ อยู่ที่ 50 ราย

– ภาคการบริการ คิดเป็น 32% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร อยู่ที่ 1,175 ราย

– ภาคการผลิต คิดเป็น 20% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การสีข้าว อยู่ที่ 601 ราย

– ภาคการค้า คิดเป็น 12% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ ร้านขายของชำ อยู่ที่ 2,416 ราย

การค้าชายแดนกับลาว

มูลค่าการส่งออกสินค้าไปลาว อยู่ที่ 2,688 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด คือ น้ำมันดีเซล รองลงมา คือ น้ำมันสำเร็จรูป และปุ๋ย ตามลำดับ

มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากลาว อยู่ที่ 64,232 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ ผักและของปรุงแต่งจากผัก รองลงมา คือ ธัญพืช และเชื้อเพลิง ตามลำดับ

ตัวอย่างบริษัทใหญ่

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หนุ่มปากคาด รายได้รวมปี 2565 = 599 ล้านบาท

บริษัท อีซูซุบึงกาฬ จำกัด รายได้รวมปี 2565 = 582 ล้านบาท

บริษัท โตโยต้าบึงกาฬ จำกัด รายได้รวมปี 2565 = 482 ล้านบาท

ตัวอย่างโครงการใหญ่

1. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)

รัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาวใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือเนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร ยกระดับให้ จ.บึงกาฬ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาค เพิ่มศักยภา พในการขนส่ง เดินทางสะดวกและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ดึงดูดการค้าการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว

2. สนามบินบึงกาฬ

มีพื้นที่ประมาณ 4,400 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างทางหลวงชนบทหมายเลข บก.3013 และทางหลวงเชื่อมโยง จังหวัดอุดรธานี-บึงกาฬ (ในอนาคต) มีระยะทางห่างจากตัวเมืองบึงกาฬ และสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (อยู่ระหว่างก่อสร้าง) ห่างจากที่ตั้งท่าอากาศยานบึงกาฬ ประมาณ 12 กิโลเมตร

อ้างอิงจาก:

– สำนักงานสถิติแห่งชาติ

– สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

– กระทรวงพาณิชย์

– กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่
LINE Official : https://lin.ee/yIS5bdP

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top