ในปี 2564 จังหวัดนครพนมมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 47,748 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 87,122 บาท
โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME
– ภาคการบริการ คิดเป็น 49% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร อยู่ที่ 2,315 ราย
– ภาคการเกษตร คิดเป็น 30% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ อยู่ที่ 262 ราย
– ภาคการค้า คิดเป็น 12% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ ร้านขายของชำ อยู่ที่ 5,138 ราย
– ภาคการผลิต คิดเป็น 9% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฟางและวัสดุถักสาน อยู่ที่ 2,957 ราย
การค้าชายแดนกับลาว
มูลค่าการส่งออกสินค้าไปลาว อยู่ที่ 6,705 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด คือ เครื่องสำอาง เครื่องหอมและสบู่ รองลงมา คือ สินค้าแร่และเชื้อเพลิง และน้ำมันสำเร็จรูป ตามลำดับ
มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากลาว อยู่ที่ 64,302 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ เชื้อเพลิง รองลงมา คือ ปุ๋ย และปูนซีเมนต์ ตามลำดับ
ตัวอย่างบริษัทใหญ่
1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มิ่งเจียว รายได้รวมปี 2565 = 1,582 ล้านบาท
2. บริษัท วี.อาร์.อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต จำกัด รายได้รวมปี 2565 = 1,155 ล้านบาท
3. บริษัท มิตรศิลป์ไบค์สโตร์ จำกัด รายได้รวมปี 2565 = 817 ล้านบาท
ตัวอย่างโครงการใหญ่
1. โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม
เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) บนเส้นทางสาย R12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม-จีนตอนใต้) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 โดยจัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ: มีให้เอกชนลงนามร่วมลงทุน วงเงิน 1,307 ล้านบาท
อ้างอิงจาก:
– สำนักงานสถิติแห่งชาติ
– สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
– กระทรวงพาณิชย์
– กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ