Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

🦉ยืนหนึ่งเรื่องภาษาและการติว🤓ขอนแก่น ศูนย์กลางการเรียนรู้ของอีสาน👨‍🏫

จังหวัด จำนวนธุรกิจ รายได้รวม กำไร ขอนแก่น 25 193 24 นครราชสีมา 14 72 3 อุดรธานี 10 17 2 อุบลราชธานี 14 29 4 สุรินทร์ 3 10 1 สถาบันกวดวิชา ธุรกิจที่คอยให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมมากกว่าการเรียนที่โรงเรียน เปรียบเสมือนโรงเรียนขนาดย่อมที่รวบรวมกลุ่มนักเรียนที่มีจุดประสงค์เดียวกันมาอยู่ ณ ที่เดียวกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ พัฒนาทักษะ และเตรียมความพร้อมในการสอบแข่งขันหรือการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเข้มข้นและเฉพาะทางมากกว่าห้องเรียนปกติ การแข่งขันด้านการศึกษามีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแย่งชิงเข้าโรงเรียนชื่อดังไปจนถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ ในภาคอีสานเองก็มีทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยกระจายอยู่หลายแห่ง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีโรงเรียนยอดนิยมที่มีอัตราการแข่งขันสูง รวมถึงมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในพื้นที่ ยิ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจกลุ่มนี้ จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีจำนวนการจดทะเบียนสถาบันกวดวิชามากที่สุดในอีสาน และยังมีรายได้จากธุรกิจกลุ่มนี้สูงเป็นอันดับ 1 ปัจจัยสำคัญมาจากการที่ขอนแก่นมีโรงเรียนประจำจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงถึง 3 แห่ง รวมถึงโรงเรียนสาธิตซึ่งเป็นโรงเรียนในกำกับของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ จังหวัดขอนแก่นยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันในการสอบเข้าค่อนข้างสูง และยังมีสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และอีกหลายแห่งภายในจังหวัด เมื่อรวมกับจำนวนประชากรในพื้นที่ จึงส่งผลให้ธุรกิจสถาบันกวดวิชามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จังหวัดนครราชสีมามีจำนวนรองลงมา ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่และประชากรจำนวนมากติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยมีโรงเรียนประจำจังหวัดขนาดใหญ่ถึง 5 แห่ง และมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชมงคล และอื่นๆ ซึ่งมีความโดดเด่นด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงทำให้การแข่งขันด้านการศึกษาในจังหวัดนี้สูงเช่นเดียวกับขอนแก่น ส่งผลให้ธุรกิจกวดวิชาในพื้นที่มีความเคลื่อนไหวคึกคักไม่แพ้กัน หนึ่งในตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนถึงศักยภาพของนักเรียนในแต่ละจังหวัดได้อย่างชัดเจนคือ ผลคะแนนสอบ O-NET แม้ว่าบทบาทและความสำคัญของการสอบ O-NET จะลดลงจากอดีต แต่การสอบดังกล่าวก็ยังคงมีความจำเป็นและเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับพื้นที่ เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ย O-NET รายจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีจำนวนสถาบันกวดวิชามาก มักมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คะแนนเฉลี่ยในจังหวัดเหล่านี้ยังคง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศ ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างระหว่างส่วนกลางกับภูมิภาค แม้จะมีความพยายามจากภาคเอกชนในการส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสถาบันกวดวิชาก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจสถาบันกวดวิชา หลายแห่งจำเป็นต้องปิดสาขาชั่วคราวและปรับตัวเข้าสู่ระบบออนไลน์อย่างเร่งด่วน ผู้ประกอบการที่ไม่เคยวางระบบการเรียนการสอนออนไลน์มาก่อนเผชิญกับแรงเสียดทานอย่างหนัก ส่งผลให้บางรายต้องยุติกิจการ แม้จะไม่มีตัวเลขมูลค่าตลาดที่ชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็พบว่า มีสถาบันกวดวิชาจำนวนมากทยอยล้มหายตายจาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย กลับกลายเป็นช่วงที่ความท้าทายทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากเกิด การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมเน้นการสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันนักเรียนสามารถยื่น Portfolio เพื่อขอรับการพิจารณาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยตรงได้ ระบบการเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลัก ได้แก่ รอบ Portfolio รอบโควตา รอบ Admission กลาง และรอบรับตรงอิสระ (Direct Admission) ผลกระทบต่อธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาชัดเจนในรูปแบบของรอบ Portfolio ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 4–5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 30% หันมาเลือกใช้วิธีการยื่นผลงาน แทนการสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียว ซึ่งสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้เรียน และแรงจูงใจในการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยที่แตกต่างไปจากอดีต ส่วนหนึ่งมาจากการที่นักเรียนสามารถใช้จุดแข็งเฉพาะตัวหรือประสบการณ์ที่โดดเด่นเป็นใบเบิกทางสู่รั้วมหาวิทยาลัยได้ […]

🦉ยืนหนึ่งเรื่องภาษาและการติว🤓ขอนแก่น ศูนย์กลางการเรียนรู้ของอีสาน👨‍🏫 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง แบงค์พาณิชย์อีสานยังเข้มงวด! ปล่อยกู้หดวูบต่อเนื่อง กระทบเป็นลูกโซ่หลายธุรกิจ

แบงค์พาณิชย์อีสานยังเข้มงวด! ปล่อยกู้หดวูบต่อเนื่อง   ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานปริมาณการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/2568 โดยพบว่า ภาพรวมทั่วประเทศยังคงชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีมูลค่าสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2,823,141 ล้านบาท ลดลง 0.9% จากไตรมาสก่อน และลดลงกว่า 4.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหากมองย้อนปริมาณสินเชื่อและอัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน(%YoY) ของภาคอีสาน มีตัวเลขดังนี้ ไตรมาส 1/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.94 ล้านล้านบาท หดตัว 0.8% ไตรมาส 2/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.91 ล้านล้านบาท หดตัว 1.4% ไตรมาส 3/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.87 ล้านล้านบาท หดตัว 2.4% ไตรมาส 4/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.84 ล้านล้านบาท หดตัว 3.4%   จะเห็นได้ว่าปริมาณสินเชื่อยังคงหดตัวลงต่อเนื่องในทุกไตรมาส โดยสาเหตุสำคัญคือ ความเสี่ยงด้านเครดิตของธุรกิจ SME ที่ยังอยู่ในระดับสูงและสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในไตรมาส 1/2568 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ   ด้านภาพรวมการให้สินเชื่อไตรมาส1/2568 ของทั้งประเทศ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน  สินเชื่ออุปโภคบริโภค ภาพรวมหดตัว 2.2% แต่ละหมวดเปลี่ยนแปลงดังนี้ สินเชื่อส่วนบุคคล ขยายตัว 0.3% สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัว 0.2% สินเชื่อบัตรเครดิต หดตัว 1.9% สินเชื่อรถยนต์ หดตัว 10.2% สินเชื่อธุรกิจ ภาพรวมหดตัว 0.8% สินเชื่อวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท หดตัว 5.5% สินเชื่อวงเงินมากกว่า500 ล้านบาท ขยายตัว 1.5% ผลจากการที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “การหดตัวของสินเชื่อ” (Credit Crunch) จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจในวงกว้าง ดังนี้: ผลกระทบโดยรวม: เศรษฐกิจชะลอตัว: เมื่อสินเชื่อหายากขึ้น ภาคธุรกิจจะลงทุนน้อยลง ผู้บริโภคจะลดการใช้จ่าย ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง หรืออาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย สภาพคล่องตึงตัว: ธุรกิจและครัวเรือนจะมีเงินทุนหมุนเวียนน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาในการชำระหนี้ การบริหารจัดการกระแสเงินสด และการขยายธุรกิจ การลงทุนลดลง: ธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น ทำให้ไม่สามารถลงทุนในโครงการใหม่ๆ หรือขยายกิจการได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสร้างงานและการเติบโตในระยะยาว การบริโภคหดตัว: ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน รถยนต์ หรือสินค้าอื่นๆ ได้ยากขึ้น ทำให้การบริโภคโดยรวมลดลง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น: เมื่อธุรกิจไม่สามารถขยายตัวหรือแม้แต่รักษาระดับการดำเนินงานได้ ก็อาจต้องลดขนาดองค์กรหรือเลิกจ้างพนักงาน ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น หนี้เสีย

พามาเบิ่ง แบงค์พาณิชย์อีสานยังเข้มงวด! ปล่อยกู้หดวูบต่อเนื่อง กระทบเป็นลูกโซ่หลายธุรกิจ อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 20 อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดในอีสานเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน❓💳💰

(1) 🏦💳ปี 2568 ถือเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว และหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจก็คือ “เงินฝาก” ในระบบธนาคาร อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเผยให้เห็นข้อมูลน่าสนใจของ 20 อันดับอำเภอทั่วภาคอีสาน ที่มีปริมาณเงินฝากสูงสุดในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของแต่ละพื้นที่ 5 อันดับอำเภอที่มีเงินฝากมากที่สุดในภาคอีสาน – อำเภอเมืองนครราชสีมา 115,956 ล้านบาท – อำเภอเมืองขอนแก่น 94,464 ล้านบาท – อำเภอเมืองอุดรธานี 93,782 ล้านบาท – อำเภอเมืองอุบลราชธานี 53,708 ล้านบาท – อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 28,834 ล้านบาท 💸จะเห็นได้ว่า “อำเภอเมืองนครราชสีมา” ครองอันดับ 1 ด้วยยอดเงินฝากสูงถึง 115,956 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครรสีมาในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจและคมนาคมที่เป็นประตูสู่ภาคอีสาน เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างภูมิภาค มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ภาคบริการ ภาคการค้าปลีกสมัยใหม่ ไปจนถึงการเป็นเมืองการศึกษาที่ดึงดูดทั้งแรงงานและผู้ประกอบการจำนวนมาก นอกจากนี้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมถึงการลงทุนจากภาคเอกชนในโครงการอสังหาริมทรัพย์และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ล้วนเป็นแม่เหล็กดึงดูดเม็ดเงินให้ไหลเวียนและสะสมอยู่ในระบบเศรษฐกิจของเมืองนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดส่วนใหญ่จะกระจุกตัวในอำเภอเมืองแต่ละจังหวัด จะมีอำเภอปากช่องที่เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มาก มีธุรกิจเกี่ยวกับการค้าและบริการที่มากซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าสังเกตุคือ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา, อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอชุมแพ, จังหวัดขอนแก่นที่ติดอันดับ ซึ่ง 3 อำเภอนี้ถือว่าอำเภอที่มีศักยภาพที่สูงและยังมีการลงทุนของธุรกิจการค้าและบริการทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมภายในอำเภอที่มาก อีกทั้งยังเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่อีกด้วย (2) อีกหนึ่งอำเภอที่น่าจับตาคือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ที่ขยับอันดับจาก 7 ขึ้นมาอยู่ที่ 5 ในปี 2568 โดยมียอดเงินฝากเพิ่มขึ้นถึง 10,738 ล้านบาท จาก 18,096 ล้านบาท เป็น 28,834 ล้านบาท การปรับตัวที่ดีขึ้นของร้อยเอ็ดนี้มาจากหลายปัจจัย ทั้งจากความแข็งแกร่งของภาคเกษตรกรรมที่เป็นฐานรากสำคัญของเศรษฐกิจจังหวัด ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายและมีราคาดีขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เพิ่มกำลังซื้อและสภาพคล่องทางการเงินให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในจังหวัด การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงการยกระดับบริการสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกในตัวเมือง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินและสร้างความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยและการออมของประชาชนมากขึ้นนั่นเอง (3) ในอีกด้านหนึ่ง อำเภอที่ต้องเฝ้าระวังคือกลุ่มที่มีอันดับลดลง คือ อำเภอเมืองหนองคาย ที่ร่วงจากอันดับ 5 มาอยู่ที่ 12 แม้เงินฝากจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การเติบโตที่เชื่องช้าเมื่อเทียบกับอำเภออื่น สะท้อนว่าหนองคายอาจกำลังเผชิญกับความท้าทายในการดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ หรือการค้าชายแดนอาจไม่ได้เติบโตโดดเด่นเท่าที่เคยเป็นมา เมื่อถูกเปรียบเทียบกับอำเภอชายแดนอื่นๆ (4) และอีก 1 อำเภอที่หลุดจาก 20 อันดับ คือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ในปี 2568 มีเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 10,364 ล้านบาท แม้เงินฝากจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับอำเภอเมืองหนองบัวลำภูที่มีเงินฝากในปี 2559 แต่อำเภอบ้านไผ่กลับมีเงินฝากสะสมที่น้อยกว่าในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าอำเภออื่นๆ ที่ไม่เคยติดอันดับมาก่อน ได้ก้าวขึ้นมาแทนที่

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 20 อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดในอีสานเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน❓💳💰 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง วิกฤตสาธารณสุขไทย เปิดลิสต์ 10 โรงพยาบาล  “เงินบำรุงติดลบ” หนักสุดในประเทศ

วิกฤตการเงินโรงพยาบาลรัฐ ความท้าทายของระบบสุขภาพไทย กับความหวังที่ต้องเร่งฟื้นฟู จากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. จำนวน 901 แห่ง มีเงินบำรุงสุทธิหลังหักภาระผูกพันคงเหลืออยู่ที่ 51,375 ล้านบาท แม้ในภาพรวมจะยังมีเงินสะสมอยู่ แต่ในรายละเอียดกลับพบความแตกต่างชัดเจนระหว่างโรงพยาบาลที่มีฐานะการเงินมั่นคงกับกลุ่มที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก โดยมีโรงพยาบาลถึง 183 แห่ง ที่มีเงินบำรุงติดลบรวมกันถึง -4,380.9 ล้านบาท ขณะที่อีก 718 แห่งมีเงินบำรุงเป็นบวกรวม 55,755.9 ล้านบาท ความรุนแรงของสถานการณ์ยังสะท้อนผ่านการจัดระดับวิกฤตทางการเงิน ซึ่งในปีงบประมาณ 2568 โรงพยาบาลที่อยู่ในระดับวิกฤตขั้นสูงสุด หรือ “ระดับ 7 (สีแดง)” มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 2 แห่งในปีก่อนหน้า เป็น 5 แห่งในปีนี้ ขณะที่ระดับ 6 (สีส้ม) ซึ่งเป็นระดับที่ยังพอแก้ไขได้กลับไม่มีเลยในปี 2568 จากที่เคยมีอยู่ 3 แห่งในปี 2567 ซึ่งอาจหมายถึงว่า สถานการณ์บางแห่งแย่ลงจนขยับขึ้นเป็นระดับสีแดง หรืออาจได้รับการเยียวยาจนหลุดพ้นระดับวิกฤตนี้แล้ว สาเหตุของวิกฤตนี้ไม่ได้มาเพียงเพราะการบริหารจัดการภายในเท่านั้น แต่ยังสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐ โดยรายได้หลักของโรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ในประเทศไทย มาจากการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งเป็นหัวใจของการเข้าถึงการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม รายได้ที่โรงพยาบาลได้รับจากการเบิกจ่ายกลับยังต่ำกว่าต้นทุนจริงของการให้บริการอยู่มาก อีกทั้งยังมีรายได้บางส่วนที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้เต็มจำนวน ทำให้เกิดการสะสมของปัญหาทางการเงินที่กัดกร่อนศักยภาพของโรงพยาบาลโดยรวม สิ่งที่น่าจับตามองคือ แม้สถานการณ์ทางการเงินจะวิกฤต แต่ความต้องการของประชาชนกลับไม่ลดลง ตรงกันข้าม ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564-2567) จำนวนผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นถึง 13.84% หรือเฉลี่ยปีละ 4.42% ส่วนตัวชี้วัดด้านความซับซ้อนของโรคที่โรงพยาบาลรักษา (SumAdjRW) ก็เพิ่มขึ้นจาก 7.8 ล้าน เป็น 9.7 ล้าน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 24.53% สะท้อนถึงภาระงานที่เพิ่มขึ้นควบคู่กับการรักษาที่ซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ การให้บริการผู้ป่วยนอกก็เพิ่มขึ้นกว่า 5.58% ภายในเพียงหนึ่งปี จาก 149 ล้านรายเป็นกว่า 158 ล้านรายในปี 2567   4 ปัจจัยทำไมโรงพยาบาลรัฐถึงติดลบ? โรงพยาบาลรัฐในประเทศไทยประสบปัญหาหนี้สะสมและขาดทุนจากหลายสาเหตุที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน โดยหลักๆ มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย รวมถึงโครงสร้างระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญมีดังนี้: 1. รายรับไม่เพียงพอต่อต้นทุนที่แท้จริง: งบเหมาจ่ายรายหัว (บัตรทอง/หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ต่ำกว่าต้นทุน: ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีการจัดสรรงบประมาณแบบเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาล ซึ่งมักจะต่ำกว่าต้นทุนจริงในการให้บริการ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลที่ซับซ้อนหรือโรคเรื้อรัง ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนจากการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ การหักเงินเดือนบุคลากรจากงบเหมาจ่าย: เดิมมีการหักเงินเดือนบุคลากรจากงบเหมาจ่ายรายหัวที่จัดสรรให้โรงพยาบาล ซึ่งทำให้โรงพยาบาลมีเงินเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลดลง โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีบุคลากรจำนวนมาก การเคลมค่าบริการต่ำกว่าความเป็นจริง: บางครั้งการเคลมค่าบริการจากหน่วยงานที่รับผิดชอบการจ่ายเงิน (เช่น สปสช.) ไม่ครอบคลุมต้นทุนทั้งหมด หรือมีการจ่ายล่าช้า

พาเปิดเบิ่ง วิกฤตสาธารณสุขไทย เปิดลิสต์ 10 โรงพยาบาล  “เงินบำรุงติดลบ” หนักสุดในประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 2 ผ้าไหม GI ผ้าไหมดี เมืองโคราช ที่สร้างมูลค่าปีละหลายพันล้าน

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI (Geographical Indication) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจาก แหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจงซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนแบรนด์ของท้องถิ่นที่บอกคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า โดยจังหวัดนครราชสีมา มีผ้าไหมที่ถูกขึ้นทะเบียน เป็นสินค้า GI ได้แก่ ผ้าไหมปักธงชัย ผ้าไหมคึมมะอุบัวลาย โดยมีความหมายและการนิยามดังต่อไปนี้ 1. ผ้าไหมปักธงชัย       2. ผ้าไหมคึมมะอุบัวลาย   #เทคนิคและวัสดุการทอที่พัฒนา: มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ รวมถึงการทำลายมัดหมี่แบบโบราณ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น เส้นใยสับปะรดและกาบกล้วยตากแห้งในการมัดลาย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เชือกพลาสติกแทน เนื่องจากปัญหาสีซึมถ้ามัดไม่แน่น เทคนิคการทอได้มีการพัฒนาจากกี่แบบดั้งเดิมไปเป็นกี่กระตุกที่มีรางกระสวย ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทออย่างเห็นได้ชัด ลายหางกระรอกเป็นลายดั้งเดิมของโคราชหรือของพื้นที่นี้ และถือเป็นผ้าประจำจังหวัดนครราชสีมา . ยอดขายผ้าและเครื่องแต่งกายในรูปแบบออฟไลน์ของจังหวัดนครราชสีมา 3 ปีย้อนหลัง ปักธงชัย อำเภอที่มีมีอิทธิพลต่อยอดขายรวมของจังหวัดมากที่สุด (คิดเป็นกว่า 90% ของยอดขาย) . จากการศึกษาแหล่งข้อมูลที่ให้มา การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI – Geographical Indication) ส่งผลกระทบในทางบวกต่อผ้าไหมและชุมชน ในหลายด้าน ดังนี้: • การสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ กระทรวงพาณิชย์ได้ผลักดันให้ผ้าไหมปักธงชัยเป็นสินค้า GI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น การขึ้นทะเบียน GI เป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของไทย การขึ้นทะเบียนนี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่อำเภอปักธงชัยกว่า 40 ล้านบาทต่อปี การสร้างมูลค่าของสินค้าที่เป็นมาตรฐานชุมชนและภูมิปัญญาของท้องถิ่นนี้มีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก • การเป็นที่รู้จักและยอมรับ การขึ้นทะเบียน GI มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผ้าไหมปักธงชัยซึ่งเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครราชสีมาเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง GI ทำหน้าที่เสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า โดยคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นเป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่เฉพาะเจาะจงนั้น • การสร้างงานและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การขึ้นทะเบียน GI นำมาสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน จากการนำจุดแข็งและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่นมาสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน การสร้าง GI ช่วยดูแลผู้ประกอบการ ผู้ผลิต พี่น้องเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตผ้าไหมปักธงชัย เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง กรมทรัพย์สินทางปัญญามีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ รวมถึงให้ความคุ้มครองและปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ • การขยายช่องทางการจำหน่าย มีการเดินหน้าสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้า GI ทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ โดยสรุปแล้ว การขึ้นทะเบียน GI สำหรับผ้าไหมปักธงชัย ได้ช่วยยกสถานะของผลิตภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้ชุมชน สร้างการยอมรับในตลาด และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น . . #ISANInsightAndOutlook #ISANEcon #เศรษฐกิจอีสาน #ธุรกิจอีสาน #สินค้าGI #ผ้าไหมGI #ผ้าไหมคึมมะอุ #ผ้าไหมปักธงชัย #ผ้าไหมแท้

พามาเบิ่ง 2 ผ้าไหม GI ผ้าไหมดี เมืองโคราช ที่สร้างมูลค่าปีละหลายพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง วิกฤติแม่น้ำกก-น้ำโขง จากเหมืองทุนจีนทะลัก พบสารปนเปื้อนสาเหตุปลาติดเชื้อ

ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ความคืบหน้ากรณีพบสารปนเปื้อนทั้งสารหนูและสารตะกั่วในแม่น้ำกก สาเหตุมากจากการทำเหมืองทองคำของกลุ่มทุนจีนในพื้นที่ต้นแม่น้ำ เขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตผู้คนในลุ่มแม่น้ำกก ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค วิถีชีวิตประมง และเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาสายน้ำแห่งนี้   ล่าสุดภาพที่สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตเผยแพร่ ยิ่งตอกย้ำความน่ากังวล เมื่อพบปลาในแม่น้ำกกและแม่น้ำโขงเริ่มมีการติดเชื้อ โดยปลาที่จับได้มีตุ่มสีแดงตามครีบ ปาก และหนวด มีอาการคล้ายปลาป่วย ซึ่งสร้างความกังวลอย่างยิ่งให้กับชาวบ้านที่ดำรงชีพด้วยการหาปลา เพราะเกรงจะมีอันตรายต่อผู้บริโภค   มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ได้เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าบริเวณต้นแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย นอกเหนือจากเหมืองทองคำที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังอาจมีการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ธทางตอนใต้ของเมืองสาด รัฐฉาน พม่า ซึ่งห่างจากชายแดนไทยอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เพียง 25 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของบ่อน้ำเพื่อการทำแร่ที่ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมหลายชั้น ซึ่งคล้ายโครงการขุดแร่แรร์เอิร์ธในรัฐคะฉิ่นซึ่งดำเนินการโดยบริษัทจีน และยิ่งเพิ่มความกังวลใจอย่างหนักถึงสารพิษตกค้างจากเหมืองแร่แรร์เอิร์ธในเมืองสาดแห่งนี้ ที่อาจเป็นอีกหนึ่งต้นกำเนิดของสารพิษที่ไหลลงสู่แม่น้ำกก ทำให้สถานการณ์น้ำในแม่น้ำกกเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม และคุกคามสุขภาพของประชาชนกว่าล้านคนที่อาศัยอยู่บริเวณท้ายน้ำทั้งสองฝั่งชายแดน   ซึ่งการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ธในรัฐคะฉิ่นนั้นเป็นวิธีการทำเหมืองและละลายแร่ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยต้องเทสารเคมีผ่านทอไปในเนินเขาเพื่อละลายแร่แรร์เอิร์ธ จากนั้นจะมีการสูบสารเคมีดังกล่าวเพื่อส่งผ่านท่อไปยังบ่อน้ำ และมีการเติมสารเคมีเพิ่มเติมเพื่อสกัดแร่แรร์เอิร์ธ   ดังนั้น เหมืองแร่แรร์เอิร์ธ ในเมืองยอน เขตเมืองสาด อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของต้นกำเนิดของสารพิษที่ถูกปล่อยลงในแม่น้ำกกไหลเข้าสู่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย และบรรจบลงสู่แม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ที่อำเภอเชียงแสน เหมืองแร่แรร์เอิร์ธจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาภายในประเทศเพื่อนบ้าน หรือจำกัดอยู่แค่ภาคเหนือของไทยอีกต่อไป แต่อาจจะกลายเป็นภัยคุกคามข้ามพรมแดนที่น่ากังวลสำหรับภาคอีสาน    แม่น้ำโขงเปรียบเสมือนหัวใจของภาคอีสาน หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนนับล้านที่พึ่งพาสายน้ำแห่งนี้ในการดำรงชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การประมง หรือการท่องเที่ยว เมื่อสารพิษอย่างสารหนูและตะกั่วจากแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขง ย่อมหมายถึงการคุกคามโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน ชาวบ้านริมโขงที่ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์น้ำ ย่อมมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษสะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังและโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงในระยะยาว   ปลาและสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชุมชนริมน้ำ เมื่อสัตว์น้ำติดเชื้อหรือปนเปื้อนสารพิษ ย่อมส่งผลกระทบ การประมงพื้นบ้านที่เคยเป็นวิถีชีวิตและแหล่งรายได้หลัก จะเผชิญกับภาวะวิกฤตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การปนเปื้อนสารพิษจะทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์น้ำนานาชนิด ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถประเมินค่าได้นั่นเอง   ผลกระทบยังลามไปถึงภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ แม่น้ำโขงเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งการล่องเรือ การเยี่ยมชมวิถีชีวิตริมน้ำ หรือการทำกิจกรรมทางน้ำ เมื่อแม่น้ำถูกปนเปื้อน ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือจะลดลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และบริการท่องเที่ยวที่พึ่งพิงแม่น้ำโขงจะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย และที่น่ากังวลไม่แพ้กันคือภาคการเกษตรและประมง สารพิษที่สะสมในน้ำก็อาจจะส่งผลกระทบต่อน้ำสำหรับการเกษตร ทำให้ผลผลิตลดลง หรือปนเปื้อนสารพิษจนไม่สามารถบริโภคได้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ริมโขงก็จะต้องหยุดชะงัก      อ้างอิงจาก: – ประชาไท – Naewna – ไทยพีบีเอส (Thai PBS) – Lanner – PPTVHD36 – ข่าวสดออนไลน์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์

พาสำรวจเบิ่ง วิกฤติแม่น้ำกก-น้ำโขง จากเหมืองทุนจีนทะลัก พบสารปนเปื้อนสาเหตุปลาติดเชื้อ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เจ้าตลาดมอเตอร์ไซค์อีสาน ใครคือเบอร์หนึ่งมอเตอร์ไซค์ในแต่ละจังหวัด

ฮู้บ่ว่า? บริษัทในเครือ เกียรติสุรนนท์ เป็นเครือบริษัทในกลุ่มธุรกิจขายมอเตอร์ไซค์ที่มีรายได้สูงที่สุดในภาคอีสาน โดยมีบริษัทรวมกันที่สิ้น 5 บริษัท 47 สาขา ใน 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และยโสธร มีรายได้รวมในปี 2566 ที่ผ่านมารวมกันกว่า 4,668 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 175 ล้านบาท จังหวัด ชื่อบริษัท รายได้รวม %YoY กำไรสุทธิ %YoY จำนวนสาขา อุบลราชธานี บริษัท เกียรติสุรนนท์อุบลราชธานี จำกัด 1930 9.6% 88 357.4% 30 หนองบัวลำภู ห้างหุ้นส่วนจำกัด ณัฐพงษ์มอเตอร์ (1989) 1539 3.5% 19 45.9% 45 อุดรธานี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ณัฐมอเตอร์เซลล์ 1175 5.3% 2 42.9% 34 มุกดาหาร บริษัท พรประเสริฐมอเตอร์ จำกัด 1053 -9.9% 11 -62.3% 66 สกลนคร บริษัท อึ้งกุ่ยเฮงสกลนคร จำกัด 1034 20.3% 13 32.4% 54 บุรีรัมย์ บริษัท บุรีรัมย์ยนตรการ จำกัด 888 15.2% 8 15.2% 18 ศรีสะเกษ บริษัท ศรีสะเกษกิจเจริญไทย จำกัด 870 -2.1% 19 -19.0% 22 ร้อยเอ็ด บริษัท ชัยรักษ์มอเตอร์ จำกัด 779 8.6% 20 59.7% 92 มหาสารคาม บริษัท ที.โอ.เอช.มอเตอร์ จำกัด 628 5.9% 4 -5.2% 23 ขอนแก่น บริษัท ซี.เค.เจริญยนต์ จำกัด 604 -2.4% 9 132.5% 13 กาฬสินธุ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุพัฒน์มอเตอร์ 586 18.2% 7 156.0% 32 หนองคาย บริษัท

พามาเบิ่ง เจ้าตลาดมอเตอร์ไซค์อีสาน ใครคือเบอร์หนึ่งมอเตอร์ไซค์ในแต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อีสาน…วิกฤตหนี้ เงินกู้มากกว่าเงินฝาก 10 จังหวัดน่าห่วง

(1) ข้อมูลสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 ถึงมีนาคม 2568 พบว่า ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศมีเงินฝากรวมทั้งสิ้น 17,479,803 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อ (เงินกู้) อยู่ที่ 17,997,436 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากอยู่ที่ 103% สะท้อนภาพชัดเจนว่า ประเทศไทยมีภาระหนี้สินสูงกว่าเงินฝาก หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “หนี้ท่วมเงินฝาก”   อีกทั้งยังพบว่า ในประเทศไทยมีจังหวัดที่ “หนี้ท่วมเงินฝาก” อยู่ทั้งหมด 13 จังหวัด แต่ที่น่าตกใจคือมีจังหวัดในภาคอีสานปาไปกว่า 10 จังหวัด ได้แก่  – ร้อยเอ็ด 140% – อุบลราชธานี 115% – บึงกาฬ 113% – สกลนคร 110% – อำนาจเจริญ 109% – ยโสธร 109% – ขอนแก่น 105% – ศรีสะเกษ 104% – กาฬสินธุ์ 103% – สุรินทร์ 100%   ภาคอีสานมีเงินฝากรวมทั้งสิ้น 962,035 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อ (เงินกู้) อยู่ที่ 936,284 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากอยู่ที่ 97% แม้ยอดเงินกู้จะยังไม่สูงเกินเงินฝาก แต่ตัวเลขที่ใกล้เคียงกันนี้ถือเป็นสัญญาณที่น่าจับตาและอาจสร้างความกังวลในระยะยาว     (2) อีสาน…ดินแดน “หนี้ท่วมฝาก” วิกฤตเงียบที่รอวันปะทุ ภาคอีสานกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ จาก 13 จังหวัดทั่วประเทศไทยที่สัดส่วนเงินกู้สูงกว่าเงินฝากอย่างน่าตกใจ กลับมีจังหวัดในอีสานด้วยจำนวนถึง 10 จังหวัดที่กำลังเจอสถานการณ์ “หนี้ท่วมฝาก” โดยมี “ร้อยเอ็ด” ที่มีสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากที่พุ่งสูงถึง 140% สูงสุดในประเทศ นี่อาจไม่ใช่เพียงตัวเลขที่น่าตกใจ แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงโครงสร้างเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและภูมิภาค    การที่ “ร้อยเอ็ด” กลายเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากสูงที่สุดในประเทศนั้น อาจจะเป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน ฐานเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีความผันผวนสูงตามฤดูกาลและราคาผลผลิต ทำให้รายได้ของครัวเรือนไม่แน่นอน และอาจต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบหรือสถาบันการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องในชีวิตประจำวัน แม้จะมีสถาบันการเงินให้บริการ แต่เงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับกลุ่มเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยอาจไม่เอื้ออำนวย ทำให้ต้องกู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาระหนี้สินที่หนักอึ้งตามมา หรือแม้กระทั่งการบริโภคสินค้าที่อาจเกินกำลังทรัพย์ หรือการเข้าถึงสินค้าและบริการที่ง่ายขึ้นผ่านสินเชื่อต่างๆ อาจกระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้โดยไม่ทันได้วางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ การขาดความรู้และทักษะในการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลที่จำกัด อาจทำให้ประชากรตกเป็นเหยื่อของวงจรหนี้สินได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจบางประเภทที่เน้นการบริโภคผ่านสินเชื่อ อาจส่งผลให้ประชาชนก่อหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้สร้างรายได้ที่ยั่งยืนนั่นเอง   (3) “หนี้ท่วมฝาก” ที่เกิดขึ้นในภาคอีสาน ไม่ใช่เพียงปัญหาเฉพาะบุคคล แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่พร้อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เมื่อครัวเรือนมีภาระหนี้สินสูง ย่อมมีเงินเหลือสำหรับการบริโภคสินค้าและบริการลดลง ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ที่สูงขึ้น ย่อมเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของสถาบันการเงิน

พามาเบิ่ง อีสาน…วิกฤตหนี้ เงินกู้มากกว่าเงินฝาก 10 จังหวัดน่าห่วง อ่านเพิ่มเติม »

[สรุปตามประเด็นปัญหาของขอนแก่น] ในเวที ดีเบต #KhonKaenNext⏩2025 “เลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2568”

𝘿𝙚𝙗𝙖𝙩𝙚 [สรุปตามประเด็นปัญหาของขอนแก่น] ในเวที ดีเบต #KhonKaenNext⏩2025 “เลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2568” . โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน รับชม รับฟัง ทีมงานเพียงอำนวยความสะดวกเพียงเท่านั้น ผู้สมัครแต่ละท่านได้นำเสนอมุมมองและนโยบายที่หลากหลายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชน โดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ เช่น: . 💡𝟭. 𝗜𝗻𝗳𝗿𝗮𝘀𝘁𝗿𝘂𝗰𝘁𝘂𝗿𝗲 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมพื้นฐาน #เบอร์1 ทนายวสันต์ ชูชัย เน้นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่ เช่น ปัญหาสวนสาธารณะ น้ำท่วม การจราจร ทางเท้าต่างๆ เพื่อให้เมืองมีความเป็นระเบียบวินัย สะอาด สะดวก และปลอดภัยสำหรับประชาชน. นโยบายเบื้องต้นจะให้ความสำคัญกับปัญหาพื้นฐาน โครงสร้างสังคม โครงสร้างการพัฒนาคนทุกด้าน ด้านสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ ถนน การจราจร สวนสาธารณะ และการศึกษา. คุณภาพชีวิตที่ดีต้องมาจากพื้นฐานที่ดี. #เบอร์2 คุณนันทวัน ไกรศรีวันทนะ เห็นว่าบ้านเมืองควรพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้. นโยบายระยะสั้นที่เห็นได้ง่ายคือการปรับปรุงสวนสาธารณะ ซึ่งเมืองขอนแก่นมีศักยภาพและกายภาพดี แต่ขาดการดูแล บึงแก่นนครถูกทิ้งร้างมานาน. สิ่งแวดล้อมเป็นลมหายใจของเรา จึงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตประชาชน. การจัดการขยะต้องเริ่มจากจิตสำนึกของประชาชนให้คัดแยกขยะในครัวเรือน. ปัญหาภัยพิบัติ (ส่วนมากคือน้ำท่วมซ้ำซาก) อยากขุดลอกท่อระบายน้ำทั่วเขตเทศบาล. #เบอร์3 คุณวรินทร์ เอกบุรินทร์ แก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ จราจร ซ่อมแซมถนน. อยากเห็นชาวขอนแก่นเติบโตในเมืองด้วยชีวิตที่ดี. ชีวิตประจำวันที่ดีเริ่มต้นที่ความราบรื่นปลอดภัย. ตื่นเช้ามาไม่เห็นขยะหน้าบ้าน ไปโรงเรียนบนถนนเรียบ ไม่มีรถติด ลูกหลานไปเรียนมีคุณภาพชีวิตดี มีห้องน้ำ ห้องพยาบาล สนามเด็กเล่นที่ดีในโรงเรียน. เดินไปทำงานบนทางเท้าที่ดี ไม่มีสิ่งกีดขวาง. กลับบ้านอย่างปลอดภัยบนถนนที่มีแสงสว่าง ทาสีตีเส้นดี มี CCTV. วันหยุดพาครอบครัวไปสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นที่ดี ปลอดภัย. #เบอร์4 คุณเบญจมาพร ศรีบุตร เห็นปัญหาและโอกาสของเมือง. การทำโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้พร้อมรองรับโอกาสเป็นสิ่งสำคัญ. ถ้าเมืองยังมีห้องน้ำไม่สะอาด ขนส่งไม่สะดวก พื้นที่ไม่ปลอดภัย โอกาสต่างๆ อาจไม่เข้ามา. การทำทางเดินเท้าให้มีคุณภาพ การทลายจุดเสี่ยงเพื่อให้เดินทางปลอดภัย จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก. พื้นที่สาธารณะเป็นเสาหลักที่ 2 คือพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับทุกคน. ทำเพื่อให้คนมาเรียนรู้ ใช้ชีวิต ทำกิจกรรมนอกอาคารได้. นโยบายห้องสมุดเพื่อทุกคน สนามเด็กเล่นน่าเล่น พื้นที่สีเขียว. ห้องสมุดเมืองจะเปลี่ยนเป็น Working Space เป็นลานกิจกรรมให้คนทุกเพศทุกวัยใช้ร่วมกัน. นโยบายห้องน้ำสะอาดมากเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนใช้ชีวิตนอกบ้าน. #เบอร์5 คุณประสิทธิ์ ทองแท่งไทย คุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเป้าหมายหลัก. เมืองที่น่าอยู่คือเมืองที่ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ไม่ใช่แค่เน้นเทคโนโลยี แต่เน้นอำนวยความสะดวก. เรื่องของถนนและทางเท้ามีความสำคัญ. ถนนทำเท่าไหร่ก็ไม่พอเพราะรถมาก ต้องทำอย่างไรให้คนใช้รถน้อยลง. เพิ่มพื้นที่ทางเท้าและปรับปรุงทางเท้าให้ราบเรียบ เหมาะแก่การเดิน. **ที่สำคัญ ทางเท้าต้องมีร่มเงา** (ต้นไม้หรือชายคาอาคาร) เพื่อให้เดินได้สบาย ยกตัวอย่างสิงคโปร์. ไฟส่องสว่างสำคัญต่อความปลอดภัย ต้องอาศัยความร่วมมือภาครัฐและประชาชนช่วยกันเพิ่มแสงสว่างตามทางเดิน.

[สรุปตามประเด็นปัญหาของขอนแก่น] ในเวที ดีเบต #KhonKaenNext⏩2025 “เลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2568” อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อผืนป่าอีสาน…จะเหลือป่าให้ลูกหลานเท่าไหร่? พาสำรวจเบิ่ง “สัดส่วนป่าไม้ในอีสาน” มีมากแค่ไหน

ประเทศไทยของงเรามีพื้นป่าอยู่ทั้งหมด 102 ล้านไร่ หรือมีสัดส่วนพื้นที่ป่ากว่า 31.5% ของพื้นที่หมดในประเทศ แล้วเคยรู้หรือไม่ว่าพื้นที่ป่าในภาคอีสานมีมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีพื้นที่ป่า 15.6 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.9% ของขนาดพื้นที่ทั้งหมดในภาคอีสาน ซึ่งลดลงจากปี 2516 เท่ากับ 16.1 ล้านไร่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) จากพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเกิดจากปัญหาไฟป่าที่มีความรุนแรงขึ้น (Forest Fire)   อีกหนึ่งสาเหตุหลักเป็นผลมาจากสมการที่ไม่สมดุลระหว่างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจในระยะสั้นกับการรักษาสมดุลทางนิเวศในระยะยาว การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ความต้องการที่ดินเพื่อการพัฒนา และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มงวดเพียงพอ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ผืนป่าในภาคอีสานค่อยๆ เลือนหายไปนั่นเอง โดยการขยายตัวทางการเกษตรยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่า และทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ การเกษตรเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะการเลี้ยงปศุสัตว์) และเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพในท้องถิ่น   5 จังหวัดที่มีสัดส่วนพื้นที่ป่ามากที่สุด – มุกดาหาร คิดเป็น 32.8% หรือ 8.5 แสนไร่ – เลย คิดเป็น 32.2% หรือ 21.1 แสนไร่ – ชัยภูมิ คิดเป็น 31.5%  หรือ 25.0 แสนไร่ – อุบลราชธานี คิดเป็น 17.6% หรือ 17.2 แสนไร่ – สกลนคร คิดเป็น 16.9% หรือ 10.1 แสนไร่   จังหวัดมุกดาหาร เลย และชัยภูมิ ถือเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนของป่าธรรมชาติหลงเหลืออยู่มากที่สุดในภาคอีสาน สาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรมหรือการตั้งถิ่นฐานถาวร ทำให้พื้นที่เหล่านี้ไม่ถูกแผ้วถางหรือพัฒนาเหมือนพื้นที่ราบลุ่มอื่นๆ   ในจังหวัดมุกดาหาร แม้จะเป็นจังหวัดชายแดน แต่กลับมีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินเขาและป่าเบญจพรรณที่ทอดยาว โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ซึ่งยังคงความสมบูรณ์ของป่าไม้เอาไว้อย่างดี ส่วนจังหวัดเลยมีแนวเทือกเขาหลายสายทอดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นเทือกเขาภูหลวง และภูเรือ และภูพาน ซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและยังคงความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้มาก ขณะที่จังหวัดชัยภูมิก็มีเทือกเขาพังเหยและภูแลนคาเป็นเสมือนแนวกันชนทางธรรมชาติ ที่ช่วยรักษาพื้นที่ป่าทั้งในเชิงระบบนิเวศและเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   นอกจากนี้ พื้นที่ในจังหวัดเหล่านี้ยังได้รับการประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ อย่างเช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือป่าไม้ถาวร ทำให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจได้โดยง่าย การเข้าถึงที่ค่อนข้างลำบากในบางพื้นที่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยชะลอการบุกรุกพื้นที่ป่า ดังนั้น การที่มุกดาหาร เลย และชัยภูมิ ยังมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่มาก จึงไม่ใช่เพียงผลจากธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากรและการวางนโยบายอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแบบอย่างสำคัญของการรักษาสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในภาคอีสานนั่นเอง   ในอีกด้านหนึ่งจังหวัดที่มีสัดส่วนป่าไม้ที่ต่ำที่สุด คือ จังหวัดมหาสารคาม มีสัดส่วนป่าเพียง 3.8% และร้อยเอ็ด 4.5% ซึ่งเป็นพื้นที่ราบส่วนใหญ่และมีการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างเข้มข้น สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีต่อผืนป่า ไม่ว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนจากภาคเกษตร การขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

เมื่อผืนป่าอีสาน…จะเหลือป่าให้ลูกหลานเท่าไหร่? พาสำรวจเบิ่ง “สัดส่วนป่าไม้ในอีสาน” มีมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top