Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

ชวนเบิ่ง🧐เปรียบเทียบศักยภาพของเศรษฐกิจสายมู อีสาน vs เหนือ

จากข้อมูล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปี 2564 จะพบว่า จำนวนวัดในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 42,626 แห่ง ซึ่งหากแยกตามพื้นที่ทั่วประเทศ พื้นที่ที่มีวัดตั้งอยู่มากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21,319 แห่ง และ ภาคเหนือ 9,730 แห่ง แม้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีวัดมากกว่าภาคเหนือ แต่กลับมีวัดซึ่งถูกจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว(ตาม Thailand Tourism Directory) เพียง 390 แห่ง ซึ่งน้อยกว่า วัดซึ่งถูกจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของภาคเหนือ ที่ 445 แห่ง โดยลักษณะเด่นของแหล่งท่องเที่ยวสายมูของภาคอีสาน จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน และ พญานาคที่มีจำนวนมากกว่า ภาคเหนือ โดยเฉพาะอีสานตอนบนที่ติดกับลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของพญานาคในพื้นที่, ส่วนภาคเหนือนั้น เนื่องจากมีภูมิประเทศเป็นภูเขา และลักษณะทางภูมิศาสตร์เหล่านี้จึงทำให้แหล่งท่องเที่ยวสายมูของภาคเหนือ จะเกี่ยวเนื่องกับถ้ำศักดิ์สิทธิ์และวัดถ้ำ เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงมีศาลเจ้าจำนวนมากกว่าในภาคอีสาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่แตกต่าง และพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค ส่วนการใช้จ่ายในครัวเรือนด้านกิจกรรมทางศาสนา และ เงินที่ใช้ในการทำบุญ ช่วยเหลืออื่นๆ นั้นจะแปรผันตรงตามกลุ่มอาชีพที่มีรายได้สูง หมายความว่า ยิ่งอาชีพที่มีรายได้สูงมากเท่าไหร่ ก็จะมีแนวโน้มในการใช้จ่ายเงินกับกิจกรรมทางศาสนามากขึ้นเท่านั้น โดยเรียงตามอาชีพ ตั้งแต่ ผู้จัดการ นักวิชาการ และ ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ คนงานเกษตร ป่าไม้ และประมง คนงาน ด้านการขนส่ง และงานพื้นฐาน เสมียน พนักงานขาย ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตก่อสร้างและเหมืองแร่ และจุดสังเกต ที่น่าสนใจคือ ค่าใช้จ่ายครัวเรือน/เดือน ในด้านกิจกรรมทางศาสนาจาก 5 กลุ่มอาชีพข้างต้น จะพบว่าคนอีสานจะมีค่าใช้จ่ายกับกิจกรรมทางศาสนา/เดือน มากกว่า คนภาคเหนือ เกือบทุกกลุ่มอาชีพ (ยกเว้น เสมียน และพนักงานขาย ภาคเหนือ ที่ใช้เงินทางกิจกรรมทางศาสนา เดือนละ ฿259 ที่มากกว่าภาคอีสานที่ ฿244 ) จากข้อมูลข้างต้น ก็จะพอเห็นแนวโน้มว่าคนอีสาน มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนในด้านความเชื่อมากกว่า คนในภาคเหนือ ซึ่งอาจมีจากหลายปัจจัย ทั้ง ปัจจัยด้านรายได้/ครัวเรือน, ความยินดีที่จะจ่ายเพื่อความเชื่อ ความสบายใจ ที่แตกต่างกัน #อภิธานศัพท์ พระอารามหลวง หรือ วัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง วัดราษฎร์ หมายถึง วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และ สำนักสงฆ์ ซึ่งไม่ได้นับเข้าเป็นพระอารามหลวง ได้แก่ วัดที่ประชาชนทั่วไปสร้าง หรือ ปฏิสังขรณ์ หรือได้รับอนุญาตให้สร้างวัด และประกาศตั้งวัด โดยถูกต้องตามกฏหมายจากทางราชการ และช่วยกันทำนุบำรุงสืบต่อกันมาตามลำดับ .ติดตาม ISAN Insight & […]

ชวนเบิ่ง🧐เปรียบเทียบศักยภาพของเศรษฐกิจสายมู อีสาน vs เหนือ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐ศูนย์กลางเศรษฐกิจอีสาน-เหนือ ใครเด่นด้านไหน❓

อีสาน อินไซต์ พาเบิ่งเทียบเศรษฐกิจของสองยักษ์ใหญ่ประจำภูมิภาค ‘นครราชสีมา’ หรือ ‘โคราช’ แชมป์แห่งภาคอีสาน และ ‘เชียงใหม่’ หัวใจเศรษฐกิจภาคเหนือ มาดูกันว่าจังหวัดไหนโดดเด่นในด้านใด สะท้อนพลังทางเศรษฐกิจและบทบาทสำคัญของแต่ละพื้นที่ในการขับเคลื่อนภูมิภาค   ด้านข้อมูลพื้นฐาน โคราช มีพื้นที่จังหวัด 20,493 ตร.กม. ในขณะที่ เชียงใหม่ มีพื้นที่ 22,436 ตร.กม โดยทั้ง 2 นั้นเป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 1 ของประเทศตามลำดับ และย่อมส่งผลให้มีจำนวนประชากรที่มากเช่นกัน ซึ่งข้อมูลในเดือนมกราคม 2568 ของกรมการปกครอง ระบุว่าโคราชและเชียงใหม่มีประชากร 2,619,034 คน และ 1,798,882 คน ตามลำดับ   ด้านเศรษฐกิจ ขนาดเศรษฐกิจ(GPP) ในปี 2566 ของทั้ง 2 จังหวัด มีมูลค่าดังนี้: โคราช : 343,510 ล้านบาท เชียงใหม่: 277,477 ล้านบาท   หากมาพิจารณาเศรษฐกิจแต่ละด้านของแต่ละจังหวัด เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพแต่ละจังหวัด ภาคการเกษตร โคราช: มูลค่า 48,933 ล้านบาท พืชเศรษฐกิจเด่นๆ เช่น ข้าวนาปี มันสำปะหลัง (มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในไทย) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เชียงใหม่: มูลค่า 49,198 ล้านบาท พืชที่ปลูกมากจะเป็น ข้าว และลำไย ซึ่งเชียงใหม่มีความโดดเด่นในการปลูกผลไม้นานาชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน สตรอว์เบอร์รี่ และอื่นๆ รวมไปถึงกาแฟ   ภาคการท่องเที่ยว หากพูดถึงการท่องเที่ยวแล้วนั้น เชียงใหม่ ถือว่าเป็น Top Destination ของประเทศไทย เป็นจุดขายสำคัญของจะงหวัด เนื่องจากมีแหล่งท่องที่ยวมากมาย ดึงดูดทั้งคนไทย หรือชาวต่างชาติ โดยตลอดทั้งปี 2567 นั้น เชียงใหม่มีผู้เยี่ยมเยือนรวม 11.5 ล้านคน ได้รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนกว่า 103.8 ล้านบาท โดยภาพรวมภาคการท่องเที่ยวของเชียงใหม่มีมูลค่า 22,065 ล้านบาท ด้านโคราช ก็เป็นจังหวัดที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นทั้งหน้าด่านจากกรุงเทพฯ สู่อีสาน และมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยโคราชมีมูลค่าภาคการท่องเที่ยว 5,466 ล้านบาท แม้จะน้อยกว่าเชียงใหม่ประมาณ 4 เท่า แต่โคราช ก็ยังเป็นเมืองที่มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนมากที่สุดในภาคอีสาน กว่า 8.7 ล้านคน ก่อให้เกิดรายได้ 21.9 ล้านบาท    ภาคการค้า

พามาเบิ่ง🧐ศูนย์กลางเศรษฐกิจอีสาน-เหนือ ใครเด่นด้านไหน❓ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง มูลค่าการลงทุนของเอกชนในอีสานปี 2567

จังหวัด มูลค่าทุนจัดตั้ง (ล้านบาท) ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการจดทะเบียน 2566 2567 นครราชสีมา 2,913 2,583 -11.3% ขอนแก่น 2,314 2,221 -4.0% อุดรธานี 1,311 2,046 56.1% อุบลราชธานี 1,203 1,331 10.6% บุรีรัมย์ 1,243 1,144 -8.0% สุรินทร์ 580 857 47.6% ร้อยเอ็ด 853 774 -9.3% มหาสารคาม 1,081 768 -29.0% กาฬสินธุ์ 524 593 13.1% ชัยภูมิ 743 562 -24.3% มุกดาหาร 243 555 128.4% สกลนคร 641 537 -16.2% ศรีสะเกษ 489 507 3.6% หนองคาย 336 324 -3.5% เลย 316 296 -6.3% นครพนม 324 294 -9.3% ยโสธร 370 290 -21.7% หนองบัวลำภู 210 226 7.8% อำนาจเจริญ 195 180 -7.7% บึงกาฬ 251 132 -47.3% กรุงเทพและปริมณฑล 409,986 156,697 -61.8% ภาคกลาง 64,395 58,020 -9.9% ภาคใต้ 32,821 27,464 -16.3% ภาคอีสาน 16,141 16,220 0.5% ภาคเหนือ 17,530 15,771 -10.0% ภาคอีสาน ธุรกิจที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด: การผลิตพลังงาน 384 ล้านบาท (+130.7%) ธุรกิจที่มีการปรับตัวลดลงมากที่สุด: การผลิต 1,853 ล้านบาท (-31.3%) ธุรกิจที่มีมูลค่ามากที่สุด: การก่อสร้าง 9,275 ล้านบาท (+5.9) การลงทุนของภาคเอกชนนอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าและสร้างการขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจแล้วนั้น อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ตามมาคือการจ้างงานของคนในพื้นที่ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมให้พื้นที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน การมีงานทำในพื้นที่ไม่เพียงแต่ลดการย้ายถิ่นแรงงานออกจากพื้นที่เท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระดับฐานพื้นที่อีกด้วย ในปี

พามาเบิ่ง มูลค่าการลงทุนของเอกชนในอีสานปี 2567 อ่านเพิ่มเติม »

อีสานบ่ได้มีแค่ข้าวเหนียว พาเปิดเบิ่ง อาณาจักรทุเรียน ทองคำเปลือกหนามแห่งแดนอีสาน

จากกระแสราคาทุเรียนต่ำกว่า 100 บาท/กก. ดิ่ง 90-95 บาท/กก. เหตุจีนเจอ “ทุเรียนอ่อน” เพียบ ผู้นำเข้าจีนชะลอซื้อ บางแผงหยุดรับซื้อเคลียร์ 1-2 วัน และล่าสุดจับ “ทุเรียนเวียดนาม” ขนส่งทางเรือ เตรียมส่งห้องเย็นแช่แข็ง หวัง “สวมสิทธิ” เป็นทุเรียนไทย หวั่นเจอ “สารแคดเมียม” ขณะที่จีนเพิ่งผ่อนปรนตรวจเข้มสารย้อมสี BY2 ของทุเรียนไทยเหลือ 30%   อีสานอินไซต์เลยจะพามาเบิ่งทุเรียนแดนอีสาน 🌳ในปี 2566 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน อยู่ที่ 1,023,6741 ไร่ และมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนอยู่ 162,293 ครัวเรือน แล้วรู้หรือไหมว่าภาคอีสานมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตทุเรียนมากแค่ไหน? โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนกว่า 42,145 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.1% ของพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนทั้งหมดในประเทศ และมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนอยู่ 7,416 ครัวเรือน หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.6% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนทั้งหมดในประเทศ ตั้งแต่ปี 2554-2566 หรือในช่วง 12 ปี ที่ผ่านมา ไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เกษตรกรสามารถผลิตทุเรียนเพิ่มจาก 5 แสนตัน เป็น 1.4 ล้านตัน หรือได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 180% โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขยายผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 1,500% เนื่องจากทุเรียนมีการส่งออกมากขึ้นและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกษตรกรแต่ละจังหวัดหันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น ในปี 2566 ไทยมีมูลค่าส่งออกทุเรียน 1.4 แสนล้านบาท ในตลาดจีนทุเรียนถือเป็นผลไม้ที่มีราคาสูงและได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง ในปีนี้หลายประเทศต้องเผชิญกับสภาวะอากาศแห้งแล้ง รวมทั้งประเทศไทย จึงทำให้ปริมาณการผลิตลดลงสวนทางกับความต้องการตลาดผู้บริโภค จึงทำให้เกิดปัญหาการลักลอบนำเข้าทุเรียนเพื่อสวมสิทธิและสอดใส้เป็นทุเรียนไทยเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดจีน หากมาดูทุเรียนเป็นรายจังหวัดในอีสานก็จะพบว่าจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในภาคอีสาน ก็คือ จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเพียง 2 จังหวัดมีพื้นที่รวมกันมากกว่า 22,085 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 52.4% เลยทีเดียว 💛โดยทั้ง 2 จังหวัดมี “ทุเรียน GI” หรือทุเรียนขึ้นทะเบียนว่าเป็นสินค้าขึ้นชื่อในแต่ละพื้นที่ ที่เรียกได้ว่ามีรสชาติเด่น เป็นเอกลักษณ์ และหาได้เฉพาะถิ่นเท่านั้น 💛ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ขึ้นทะเบียน GI เมื่อวันที่ 27 มิ.ย 2561 เป็นทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี ปลูกในพื้นที่ อ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษณ์ และ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ดินบริเวณนี้เป็นดินที่เกิดจากภูเขาไฟโบราณผุพังมาจากหินบะซอลต์ มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง ส่งผลให้ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษมีคุณสมบัติพิเศษคือ เนื้อทุเรียนละเอียด แห้ง เนียนนุ่ม รสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง สีเนื้อเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล 💛ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ ขึ้นทะเบียน GI เมื่อวันที่

อีสานบ่ได้มีแค่ข้าวเหนียว พาเปิดเบิ่ง อาณาจักรทุเรียน ทองคำเปลือกหนามแห่งแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

🦉ยืนหนึ่งเรื่องภาษาและการติว🤓ขอนแก่น ศูนย์กลางการเรียนรู้ของอีสาน👨‍🏫

จังหวัด จำนวนธุรกิจ รายได้รวม กำไร ขอนแก่น 25 193 24 นครราชสีมา 14 72 3 อุดรธานี 10 17 2 อุบลราชธานี 14 29 4 สุรินทร์ 3 10 1 สถาบันกวดวิชา ธุรกิจที่คอยให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมมากกว่าการเรียนที่โรงเรียน เปรียบเสมือนโรงเรียนขนาดย่อมที่รวบรวมกลุ่มนักเรียนที่มีจุดประสงค์เดียวกันมาอยู่ ณ ที่เดียวกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ พัฒนาทักษะ และเตรียมความพร้อมในการสอบแข่งขันหรือการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเข้มข้นและเฉพาะทางมากกว่าห้องเรียนปกติ การแข่งขันด้านการศึกษามีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแย่งชิงเข้าโรงเรียนชื่อดังไปจนถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ ในภาคอีสานเองก็มีทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยกระจายอยู่หลายแห่ง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีโรงเรียนยอดนิยมที่มีอัตราการแข่งขันสูง รวมถึงมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในพื้นที่ ยิ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจกลุ่มนี้ จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีจำนวนการจดทะเบียนสถาบันกวดวิชามากที่สุดในอีสาน และยังมีรายได้จากธุรกิจกลุ่มนี้สูงเป็นอันดับ 1 ปัจจัยสำคัญมาจากการที่ขอนแก่นมีโรงเรียนประจำจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงถึง 3 แห่ง รวมถึงโรงเรียนสาธิตซึ่งเป็นโรงเรียนในกำกับของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ จังหวัดขอนแก่นยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันในการสอบเข้าค่อนข้างสูง และยังมีสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และอีกหลายแห่งภายในจังหวัด เมื่อรวมกับจำนวนประชากรในพื้นที่ จึงส่งผลให้ธุรกิจสถาบันกวดวิชามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จังหวัดนครราชสีมามีจำนวนรองลงมา ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่และประชากรจำนวนมากติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยมีโรงเรียนประจำจังหวัดขนาดใหญ่ถึง 5 แห่ง และมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชมงคล และอื่นๆ ซึ่งมีความโดดเด่นด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงทำให้การแข่งขันด้านการศึกษาในจังหวัดนี้สูงเช่นเดียวกับขอนแก่น ส่งผลให้ธุรกิจกวดวิชาในพื้นที่มีความเคลื่อนไหวคึกคักไม่แพ้กัน หนึ่งในตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนถึงศักยภาพของนักเรียนในแต่ละจังหวัดได้อย่างชัดเจนคือ ผลคะแนนสอบ O-NET แม้ว่าบทบาทและความสำคัญของการสอบ O-NET จะลดลงจากอดีต แต่การสอบดังกล่าวก็ยังคงมีความจำเป็นและเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับพื้นที่ เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ย O-NET รายจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีจำนวนสถาบันกวดวิชามาก มักมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คะแนนเฉลี่ยในจังหวัดเหล่านี้ยังคง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศ ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างระหว่างส่วนกลางกับภูมิภาค แม้จะมีความพยายามจากภาคเอกชนในการส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสถาบันกวดวิชาก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจสถาบันกวดวิชา หลายแห่งจำเป็นต้องปิดสาขาชั่วคราวและปรับตัวเข้าสู่ระบบออนไลน์อย่างเร่งด่วน ผู้ประกอบการที่ไม่เคยวางระบบการเรียนการสอนออนไลน์มาก่อนเผชิญกับแรงเสียดทานอย่างหนัก ส่งผลให้บางรายต้องยุติกิจการ แม้จะไม่มีตัวเลขมูลค่าตลาดที่ชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็พบว่า มีสถาบันกวดวิชาจำนวนมากทยอยล้มหายตายจาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย กลับกลายเป็นช่วงที่ความท้าทายทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากเกิด การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมเน้นการสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันนักเรียนสามารถยื่น Portfolio เพื่อขอรับการพิจารณาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยตรงได้ ระบบการเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลัก ได้แก่ รอบ Portfolio รอบโควตา รอบ Admission กลาง และรอบรับตรงอิสระ (Direct Admission) ผลกระทบต่อธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาชัดเจนในรูปแบบของรอบ Portfolio ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 4–5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 30% หันมาเลือกใช้วิธีการยื่นผลงาน แทนการสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียว ซึ่งสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้เรียน และแรงจูงใจในการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยที่แตกต่างไปจากอดีต ส่วนหนึ่งมาจากการที่นักเรียนสามารถใช้จุดแข็งเฉพาะตัวหรือประสบการณ์ที่โดดเด่นเป็นใบเบิกทางสู่รั้วมหาวิทยาลัยได้

🦉ยืนหนึ่งเรื่องภาษาและการติว🤓ขอนแก่น ศูนย์กลางการเรียนรู้ของอีสาน👨‍🏫 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง แบงค์พาณิชย์อีสานยังเข้มงวด! ปล่อยกู้หดวูบต่อเนื่อง กระทบเป็นลูกโซ่หลายธุรกิจ

แบงค์พาณิชย์อีสานยังเข้มงวด! ปล่อยกู้หดวูบต่อเนื่อง   ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานปริมาณการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/2568 โดยพบว่า ภาพรวมทั่วประเทศยังคงชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีมูลค่าสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2,823,141 ล้านบาท ลดลง 0.9% จากไตรมาสก่อน และลดลงกว่า 4.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหากมองย้อนปริมาณสินเชื่อและอัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน(%YoY) ของภาคอีสาน มีตัวเลขดังนี้ ไตรมาส 1/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.94 ล้านล้านบาท หดตัว 0.8% ไตรมาส 2/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.91 ล้านล้านบาท หดตัว 1.4% ไตรมาส 3/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.87 ล้านล้านบาท หดตัว 2.4% ไตรมาส 4/2567: ปล่อยสินเชื่อ 2.84 ล้านล้านบาท หดตัว 3.4%   จะเห็นได้ว่าปริมาณสินเชื่อยังคงหดตัวลงต่อเนื่องในทุกไตรมาส โดยสาเหตุสำคัญคือ ความเสี่ยงด้านเครดิตของธุรกิจ SME ที่ยังอยู่ในระดับสูงและสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในไตรมาส 1/2568 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ   ด้านภาพรวมการให้สินเชื่อไตรมาส1/2568 ของทั้งประเทศ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน  สินเชื่ออุปโภคบริโภค ภาพรวมหดตัว 2.2% แต่ละหมวดเปลี่ยนแปลงดังนี้ สินเชื่อส่วนบุคคล ขยายตัว 0.3% สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัว 0.2% สินเชื่อบัตรเครดิต หดตัว 1.9% สินเชื่อรถยนต์ หดตัว 10.2% สินเชื่อธุรกิจ ภาพรวมหดตัว 0.8% สินเชื่อวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท หดตัว 5.5% สินเชื่อวงเงินมากกว่า500 ล้านบาท ขยายตัว 1.5% ผลจากการที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “การหดตัวของสินเชื่อ” (Credit Crunch) จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจในวงกว้าง ดังนี้: ผลกระทบโดยรวม: เศรษฐกิจชะลอตัว: เมื่อสินเชื่อหายากขึ้น ภาคธุรกิจจะลงทุนน้อยลง ผู้บริโภคจะลดการใช้จ่าย ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง หรืออาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย สภาพคล่องตึงตัว: ธุรกิจและครัวเรือนจะมีเงินทุนหมุนเวียนน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาในการชำระหนี้ การบริหารจัดการกระแสเงินสด และการขยายธุรกิจ การลงทุนลดลง: ธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น ทำให้ไม่สามารถลงทุนในโครงการใหม่ๆ หรือขยายกิจการได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสร้างงานและการเติบโตในระยะยาว การบริโภคหดตัว: ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน รถยนต์ หรือสินค้าอื่นๆ ได้ยากขึ้น ทำให้การบริโภคโดยรวมลดลง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น: เมื่อธุรกิจไม่สามารถขยายตัวหรือแม้แต่รักษาระดับการดำเนินงานได้ ก็อาจต้องลดขนาดองค์กรหรือเลิกจ้างพนักงาน ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น หนี้เสีย

พามาเบิ่ง แบงค์พาณิชย์อีสานยังเข้มงวด! ปล่อยกู้หดวูบต่อเนื่อง กระทบเป็นลูกโซ่หลายธุรกิจ อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 20 อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดในอีสานเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน❓💳💰

(1) 🏦💳ปี 2568 ถือเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว และหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจก็คือ “เงินฝาก” ในระบบธนาคาร อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเผยให้เห็นข้อมูลน่าสนใจของ 20 อันดับอำเภอทั่วภาคอีสาน ที่มีปริมาณเงินฝากสูงสุดในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของแต่ละพื้นที่ 5 อันดับอำเภอที่มีเงินฝากมากที่สุดในภาคอีสาน – อำเภอเมืองนครราชสีมา 115,956 ล้านบาท – อำเภอเมืองขอนแก่น 94,464 ล้านบาท – อำเภอเมืองอุดรธานี 93,782 ล้านบาท – อำเภอเมืองอุบลราชธานี 53,708 ล้านบาท – อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 28,834 ล้านบาท 💸จะเห็นได้ว่า “อำเภอเมืองนครราชสีมา” ครองอันดับ 1 ด้วยยอดเงินฝากสูงถึง 115,956 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครรสีมาในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจและคมนาคมที่เป็นประตูสู่ภาคอีสาน เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างภูมิภาค มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ภาคบริการ ภาคการค้าปลีกสมัยใหม่ ไปจนถึงการเป็นเมืองการศึกษาที่ดึงดูดทั้งแรงงานและผู้ประกอบการจำนวนมาก นอกจากนี้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมถึงการลงทุนจากภาคเอกชนในโครงการอสังหาริมทรัพย์และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ล้วนเป็นแม่เหล็กดึงดูดเม็ดเงินให้ไหลเวียนและสะสมอยู่ในระบบเศรษฐกิจของเมืองนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดส่วนใหญ่จะกระจุกตัวในอำเภอเมืองแต่ละจังหวัด จะมีอำเภอปากช่องที่เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มาก มีธุรกิจเกี่ยวกับการค้าและบริการที่มากซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าสังเกตุคือ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา, อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอชุมแพ, จังหวัดขอนแก่นที่ติดอันดับ ซึ่ง 3 อำเภอนี้ถือว่าอำเภอที่มีศักยภาพที่สูงและยังมีการลงทุนของธุรกิจการค้าและบริการทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมภายในอำเภอที่มาก อีกทั้งยังเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่อีกด้วย (2) อีกหนึ่งอำเภอที่น่าจับตาคือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ที่ขยับอันดับจาก 7 ขึ้นมาอยู่ที่ 5 ในปี 2568 โดยมียอดเงินฝากเพิ่มขึ้นถึง 10,738 ล้านบาท จาก 18,096 ล้านบาท เป็น 28,834 ล้านบาท การปรับตัวที่ดีขึ้นของร้อยเอ็ดนี้มาจากหลายปัจจัย ทั้งจากความแข็งแกร่งของภาคเกษตรกรรมที่เป็นฐานรากสำคัญของเศรษฐกิจจังหวัด ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายและมีราคาดีขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เพิ่มกำลังซื้อและสภาพคล่องทางการเงินให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในจังหวัด การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงการยกระดับบริการสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกในตัวเมือง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินและสร้างความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยและการออมของประชาชนมากขึ้นนั่นเอง (3) ในอีกด้านหนึ่ง อำเภอที่ต้องเฝ้าระวังคือกลุ่มที่มีอันดับลดลง คือ อำเภอเมืองหนองคาย ที่ร่วงจากอันดับ 5 มาอยู่ที่ 12 แม้เงินฝากจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การเติบโตที่เชื่องช้าเมื่อเทียบกับอำเภออื่น สะท้อนว่าหนองคายอาจกำลังเผชิญกับความท้าทายในการดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ หรือการค้าชายแดนอาจไม่ได้เติบโตโดดเด่นเท่าที่เคยเป็นมา เมื่อถูกเปรียบเทียบกับอำเภอชายแดนอื่นๆ (4) และอีก 1 อำเภอที่หลุดจาก 20 อันดับ คือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ในปี 2568 มีเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 10,364 ล้านบาท แม้เงินฝากจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับอำเภอเมืองหนองบัวลำภูที่มีเงินฝากในปี 2559 แต่อำเภอบ้านไผ่กลับมีเงินฝากสะสมที่น้อยกว่าในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าอำเภออื่นๆ ที่ไม่เคยติดอันดับมาก่อน ได้ก้าวขึ้นมาแทนที่

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 20 อำเภอที่มีเงินฝากมากสุดในอีสานเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน❓💳💰 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง วิกฤตสาธารณสุขไทย เปิดลิสต์ 10 โรงพยาบาล  “เงินบำรุงติดลบ” หนักสุดในประเทศ

วิกฤตการเงินโรงพยาบาลรัฐ ความท้าทายของระบบสุขภาพไทย กับความหวังที่ต้องเร่งฟื้นฟู จากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 พบว่า โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. จำนวน 901 แห่ง มีเงินบำรุงสุทธิหลังหักภาระผูกพันคงเหลืออยู่ที่ 51,375 ล้านบาท แม้ในภาพรวมจะยังมีเงินสะสมอยู่ แต่ในรายละเอียดกลับพบความแตกต่างชัดเจนระหว่างโรงพยาบาลที่มีฐานะการเงินมั่นคงกับกลุ่มที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก โดยมีโรงพยาบาลถึง 183 แห่ง ที่มีเงินบำรุงติดลบรวมกันถึง -4,380.9 ล้านบาท ขณะที่อีก 718 แห่งมีเงินบำรุงเป็นบวกรวม 55,755.9 ล้านบาท ความรุนแรงของสถานการณ์ยังสะท้อนผ่านการจัดระดับวิกฤตทางการเงิน ซึ่งในปีงบประมาณ 2568 โรงพยาบาลที่อยู่ในระดับวิกฤตขั้นสูงสุด หรือ “ระดับ 7 (สีแดง)” มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 2 แห่งในปีก่อนหน้า เป็น 5 แห่งในปีนี้ ขณะที่ระดับ 6 (สีส้ม) ซึ่งเป็นระดับที่ยังพอแก้ไขได้กลับไม่มีเลยในปี 2568 จากที่เคยมีอยู่ 3 แห่งในปี 2567 ซึ่งอาจหมายถึงว่า สถานการณ์บางแห่งแย่ลงจนขยับขึ้นเป็นระดับสีแดง หรืออาจได้รับการเยียวยาจนหลุดพ้นระดับวิกฤตนี้แล้ว สาเหตุของวิกฤตนี้ไม่ได้มาเพียงเพราะการบริหารจัดการภายในเท่านั้น แต่ยังสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐ โดยรายได้หลักของโรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ในประเทศไทย มาจากการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งเป็นหัวใจของการเข้าถึงการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม รายได้ที่โรงพยาบาลได้รับจากการเบิกจ่ายกลับยังต่ำกว่าต้นทุนจริงของการให้บริการอยู่มาก อีกทั้งยังมีรายได้บางส่วนที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้เต็มจำนวน ทำให้เกิดการสะสมของปัญหาทางการเงินที่กัดกร่อนศักยภาพของโรงพยาบาลโดยรวม สิ่งที่น่าจับตามองคือ แม้สถานการณ์ทางการเงินจะวิกฤต แต่ความต้องการของประชาชนกลับไม่ลดลง ตรงกันข้าม ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564-2567) จำนวนผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นถึง 13.84% หรือเฉลี่ยปีละ 4.42% ส่วนตัวชี้วัดด้านความซับซ้อนของโรคที่โรงพยาบาลรักษา (SumAdjRW) ก็เพิ่มขึ้นจาก 7.8 ล้าน เป็น 9.7 ล้าน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 24.53% สะท้อนถึงภาระงานที่เพิ่มขึ้นควบคู่กับการรักษาที่ซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ การให้บริการผู้ป่วยนอกก็เพิ่มขึ้นกว่า 5.58% ภายในเพียงหนึ่งปี จาก 149 ล้านรายเป็นกว่า 158 ล้านรายในปี 2567   4 ปัจจัยทำไมโรงพยาบาลรัฐถึงติดลบ? โรงพยาบาลรัฐในประเทศไทยประสบปัญหาหนี้สะสมและขาดทุนจากหลายสาเหตุที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน โดยหลักๆ มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย รวมถึงโครงสร้างระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญมีดังนี้: 1. รายรับไม่เพียงพอต่อต้นทุนที่แท้จริง: งบเหมาจ่ายรายหัว (บัตรทอง/หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ต่ำกว่าต้นทุน: ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีการจัดสรรงบประมาณแบบเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาล ซึ่งมักจะต่ำกว่าต้นทุนจริงในการให้บริการ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลที่ซับซ้อนหรือโรคเรื้อรัง ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนจากการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ การหักเงินเดือนบุคลากรจากงบเหมาจ่าย: เดิมมีการหักเงินเดือนบุคลากรจากงบเหมาจ่ายรายหัวที่จัดสรรให้โรงพยาบาล ซึ่งทำให้โรงพยาบาลมีเงินเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลดลง โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีบุคลากรจำนวนมาก การเคลมค่าบริการต่ำกว่าความเป็นจริง: บางครั้งการเคลมค่าบริการจากหน่วยงานที่รับผิดชอบการจ่ายเงิน (เช่น สปสช.) ไม่ครอบคลุมต้นทุนทั้งหมด หรือมีการจ่ายล่าช้า

พาเปิดเบิ่ง วิกฤตสาธารณสุขไทย เปิดลิสต์ 10 โรงพยาบาล  “เงินบำรุงติดลบ” หนักสุดในประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 2 ผ้าไหม GI ผ้าไหมดี เมืองโคราช ที่สร้างมูลค่าปีละหลายพันล้าน

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI (Geographical Indication) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจาก แหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจงซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนแบรนด์ของท้องถิ่นที่บอกคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า โดยจังหวัดนครราชสีมา มีผ้าไหมที่ถูกขึ้นทะเบียน เป็นสินค้า GI ได้แก่ ผ้าไหมปักธงชัย ผ้าไหมคึมมะอุบัวลาย โดยมีความหมายและการนิยามดังต่อไปนี้ 1. ผ้าไหมปักธงชัย       2. ผ้าไหมคึมมะอุบัวลาย   #เทคนิคและวัสดุการทอที่พัฒนา: มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ รวมถึงการทำลายมัดหมี่แบบโบราณ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น เส้นใยสับปะรดและกาบกล้วยตากแห้งในการมัดลาย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เชือกพลาสติกแทน เนื่องจากปัญหาสีซึมถ้ามัดไม่แน่น เทคนิคการทอได้มีการพัฒนาจากกี่แบบดั้งเดิมไปเป็นกี่กระตุกที่มีรางกระสวย ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทออย่างเห็นได้ชัด ลายหางกระรอกเป็นลายดั้งเดิมของโคราชหรือของพื้นที่นี้ และถือเป็นผ้าประจำจังหวัดนครราชสีมา . ยอดขายผ้าและเครื่องแต่งกายในรูปแบบออฟไลน์ของจังหวัดนครราชสีมา 3 ปีย้อนหลัง ปักธงชัย อำเภอที่มีมีอิทธิพลต่อยอดขายรวมของจังหวัดมากที่สุด (คิดเป็นกว่า 90% ของยอดขาย) . จากการศึกษาแหล่งข้อมูลที่ให้มา การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI – Geographical Indication) ส่งผลกระทบในทางบวกต่อผ้าไหมและชุมชน ในหลายด้าน ดังนี้: • การสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ กระทรวงพาณิชย์ได้ผลักดันให้ผ้าไหมปักธงชัยเป็นสินค้า GI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น การขึ้นทะเบียน GI เป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของไทย การขึ้นทะเบียนนี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่อำเภอปักธงชัยกว่า 40 ล้านบาทต่อปี การสร้างมูลค่าของสินค้าที่เป็นมาตรฐานชุมชนและภูมิปัญญาของท้องถิ่นนี้มีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก • การเป็นที่รู้จักและยอมรับ การขึ้นทะเบียน GI มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผ้าไหมปักธงชัยซึ่งเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครราชสีมาเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง GI ทำหน้าที่เสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า โดยคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นเป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่เฉพาะเจาะจงนั้น • การสร้างงานและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การขึ้นทะเบียน GI นำมาสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน จากการนำจุดแข็งและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่นมาสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน การสร้าง GI ช่วยดูแลผู้ประกอบการ ผู้ผลิต พี่น้องเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตผ้าไหมปักธงชัย เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง กรมทรัพย์สินทางปัญญามีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ รวมถึงให้ความคุ้มครองและปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ • การขยายช่องทางการจำหน่าย มีการเดินหน้าสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้า GI ทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ โดยสรุปแล้ว การขึ้นทะเบียน GI สำหรับผ้าไหมปักธงชัย ได้ช่วยยกสถานะของผลิตภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้ชุมชน สร้างการยอมรับในตลาด และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น . . #ISANInsightAndOutlook #ISANEcon #เศรษฐกิจอีสาน #ธุรกิจอีสาน #สินค้าGI #ผ้าไหมGI #ผ้าไหมคึมมะอุ #ผ้าไหมปักธงชัย #ผ้าไหมแท้

พามาเบิ่ง 2 ผ้าไหม GI ผ้าไหมดี เมืองโคราช ที่สร้างมูลค่าปีละหลายพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง วิกฤติแม่น้ำกก-น้ำโขง จากเหมืองทุนจีนทะลัก พบสารปนเปื้อนสาเหตุปลาติดเชื้อ

ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ความคืบหน้ากรณีพบสารปนเปื้อนทั้งสารหนูและสารตะกั่วในแม่น้ำกก สาเหตุมากจากการทำเหมืองทองคำของกลุ่มทุนจีนในพื้นที่ต้นแม่น้ำ เขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตผู้คนในลุ่มแม่น้ำกก ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค วิถีชีวิตประมง และเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาสายน้ำแห่งนี้   ล่าสุดภาพที่สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตเผยแพร่ ยิ่งตอกย้ำความน่ากังวล เมื่อพบปลาในแม่น้ำกกและแม่น้ำโขงเริ่มมีการติดเชื้อ โดยปลาที่จับได้มีตุ่มสีแดงตามครีบ ปาก และหนวด มีอาการคล้ายปลาป่วย ซึ่งสร้างความกังวลอย่างยิ่งให้กับชาวบ้านที่ดำรงชีพด้วยการหาปลา เพราะเกรงจะมีอันตรายต่อผู้บริโภค   มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ได้เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าบริเวณต้นแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย นอกเหนือจากเหมืองทองคำที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังอาจมีการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ธทางตอนใต้ของเมืองสาด รัฐฉาน พม่า ซึ่งห่างจากชายแดนไทยอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เพียง 25 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของบ่อน้ำเพื่อการทำแร่ที่ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมหลายชั้น ซึ่งคล้ายโครงการขุดแร่แรร์เอิร์ธในรัฐคะฉิ่นซึ่งดำเนินการโดยบริษัทจีน และยิ่งเพิ่มความกังวลใจอย่างหนักถึงสารพิษตกค้างจากเหมืองแร่แรร์เอิร์ธในเมืองสาดแห่งนี้ ที่อาจเป็นอีกหนึ่งต้นกำเนิดของสารพิษที่ไหลลงสู่แม่น้ำกก ทำให้สถานการณ์น้ำในแม่น้ำกกเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม และคุกคามสุขภาพของประชาชนกว่าล้านคนที่อาศัยอยู่บริเวณท้ายน้ำทั้งสองฝั่งชายแดน   ซึ่งการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ธในรัฐคะฉิ่นนั้นเป็นวิธีการทำเหมืองและละลายแร่ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยต้องเทสารเคมีผ่านทอไปในเนินเขาเพื่อละลายแร่แรร์เอิร์ธ จากนั้นจะมีการสูบสารเคมีดังกล่าวเพื่อส่งผ่านท่อไปยังบ่อน้ำ และมีการเติมสารเคมีเพิ่มเติมเพื่อสกัดแร่แรร์เอิร์ธ   ดังนั้น เหมืองแร่แรร์เอิร์ธ ในเมืองยอน เขตเมืองสาด อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของต้นกำเนิดของสารพิษที่ถูกปล่อยลงในแม่น้ำกกไหลเข้าสู่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย และบรรจบลงสู่แม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ที่อำเภอเชียงแสน เหมืองแร่แรร์เอิร์ธจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาภายในประเทศเพื่อนบ้าน หรือจำกัดอยู่แค่ภาคเหนือของไทยอีกต่อไป แต่อาจจะกลายเป็นภัยคุกคามข้ามพรมแดนที่น่ากังวลสำหรับภาคอีสาน    แม่น้ำโขงเปรียบเสมือนหัวใจของภาคอีสาน หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนนับล้านที่พึ่งพาสายน้ำแห่งนี้ในการดำรงชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การประมง หรือการท่องเที่ยว เมื่อสารพิษอย่างสารหนูและตะกั่วจากแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขง ย่อมหมายถึงการคุกคามโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน ชาวบ้านริมโขงที่ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์น้ำ ย่อมมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษสะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังและโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงในระยะยาว   ปลาและสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชุมชนริมน้ำ เมื่อสัตว์น้ำติดเชื้อหรือปนเปื้อนสารพิษ ย่อมส่งผลกระทบ การประมงพื้นบ้านที่เคยเป็นวิถีชีวิตและแหล่งรายได้หลัก จะเผชิญกับภาวะวิกฤตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การปนเปื้อนสารพิษจะทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์น้ำนานาชนิด ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถประเมินค่าได้นั่นเอง   ผลกระทบยังลามไปถึงภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ แม่น้ำโขงเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งการล่องเรือ การเยี่ยมชมวิถีชีวิตริมน้ำ หรือการทำกิจกรรมทางน้ำ เมื่อแม่น้ำถูกปนเปื้อน ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือจะลดลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และบริการท่องเที่ยวที่พึ่งพิงแม่น้ำโขงจะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย และที่น่ากังวลไม่แพ้กันคือภาคการเกษตรและประมง สารพิษที่สะสมในน้ำก็อาจจะส่งผลกระทบต่อน้ำสำหรับการเกษตร ทำให้ผลผลิตลดลง หรือปนเปื้อนสารพิษจนไม่สามารถบริโภคได้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ริมโขงก็จะต้องหยุดชะงัก      อ้างอิงจาก: – ประชาไท – Naewna – ไทยพีบีเอส (Thai PBS) – Lanner – PPTVHD36 – ข่าวสดออนไลน์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์

พาสำรวจเบิ่ง วิกฤติแม่น้ำกก-น้ำโขง จากเหมืองทุนจีนทะลัก พบสารปนเปื้อนสาเหตุปลาติดเชื้อ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top