พามาเบิ่ง 7 ประเภทของ “ ป่า ”ในภาคอีสาน
พามาเบิ่ง 7 ประเภทของ “ ป่า ”ในภาคอีสาน เนื่องจาก 21 มีนาคม วันป่าไม้โลก (WORLD FORESTRY DAY) ทาง ISAN Insight สิพามาเบิ่งป่าในภาคอีสาน มีถึง 7 ประเภท ดังนี้ ป่าแดง (Dry Dipterocrap Forest) เป็นป่าที่พบมากที่สุดในเขตภาคอีสาน คือ มากกว่าร้อยละ 50 ของป่าในภาคนี้ป่าแดงอาจเรียกว่า ป่าโคก ป่าแคระหรือป่าเต็งรัง ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตนี้ เนื่องจากดินสามารถระบายน้ำดี และมีการผุพังของศิลาแลงสูง มีกรวดเป็นดินลูกรัง มีความชื้นในดินน้อย ลักษณะป่าจะโปร่ง มีแสงแดดส่งลงมาถึงพื้นดิน ข้างล่างและมีหญ้าคา ไม้ไผ่ ไม้พุ่มหนา พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ยางแดง พลวง เหียง รัง มะค่า แต้ รกฟ้า เต็งตานี ฯลฯ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันของชาวบ้านค่อนข้างสูง ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduoust Forest) พบได้บริเวณเทือกเขาของภาคจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับป่าดิบแล้ง ซึ่งมักพบอยู่ร่วมกันเสมอ ป่าเบญจพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบแบ่งออกเป้นป่าเบญจพรรณชื้นและป่าเบญจพรรณแล้ง ซึ่งจำแนกตามปริมาณน้ำฝนรายปี ถ้าสูงในระดับ 1,270-2,030 มม. ต่อปี จะเป็นป่าเบญจพรรณชื้น ถ้าอยู่ในระดับต่ำกว่า 1,270 มม. ต่อปีจะเป็นป่าเบญจพรรณแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบจะมีลำต้นสูงใหญ่กว่าป่าแดง เช่น สีเสียด ตะเคียน ราชพฤกษ์ รกฟ้า ประดู่ อ้อยช้าง มะเกลือ ยางเสี้ยน ตะแบกใหญ่ ตะแบกเกรียบ เป็นต้น มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของชาวบ้านสูงเช่นเดียวกัน ป่าทุ่ง(Savanna Forest) เป็นป่าเสื่อมโทรมที่เกิดจากการเผา ทำลายป่า และจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอย ป่าชนิดนี้จะมีทุ่งหญ้าสลับกับไม้เตี้ย ๆ กระจายไปทั่ว ดินเป็นลูกรังปนทรายไม่อุดมสมบูรณ์ ทุ่งกุลาร้องไห้ ก็คือป่าทุ่งที่หมดสภาพกลายเป็นทุ่งหญ้าไปแล้วนั่นเอง ป่าดิบชื้น (Tropical Evergreen Forest) มีอยู่ในเขตเทือกเขาทางตะวันตก ตอนกลางและตอนใต้ของเทือกเขาภูพาน ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ มีไผ่ขึ้นแทรกอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ตะเคียน-ทอง สยา มะค่าโมง พยุง ตะแบก เป็นต้น อาจพบว่าอยู่ผสมกับป่าดิบ-แล้ง และมีไม้ผลผลัดใบ ขึ้นแทรกซึ่งเป็นลักษณะป่าดิบชื้น ที่แตกต่างจากป่าดิบชื้นในภาคอื่น ๆ ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าแบบมรสุมชื้นพบได้ในเขตนครพนม …