Infographic

พาส่องเบิ่ง  6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2566 (ม.ค. – เม.ย.)

พาส่องเบิ่ง  6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2566 (ม.ค. – เม.ย.)   ในเดือน มกราคม – เมษายน 2566 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 74,160 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า   อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก   อ้างอิงจาาก: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว #หนองคาย #มุกดาหาร #อุบลราชธานี#เลย #นครพนม #บึงกาฬ

พฤติกรรมผู้ชมของธุรกิจหมอลำ และ การออกแบบบริการสำหรับผู้ชมหมอลำ (Service Design)

มื้อนี่ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0   พฤติกรรมผู้ชมของธุรกิจหมอลำ และ การออกแบบบริการสำหรับผู้ชมหมอลำ (Service Design)   สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง  คณะเศรษฐศาสตร์  รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม   วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  นางสาวรพีพรรณ แคนลาด  ผู้ช่วยนักวิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์ มงคลคำ  ผู้ช่วยนักวิจัย  นายอัษฎาวุฒิ ศรีทน   ผู้ช่วยนักวิจัย  นายศุภชัย เสถียรหมั่น   ผู้ช่วยนักวิจัย   📌 สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=362&fbclid=IwAR11ktt2ff5LKbh1UlB5-3LY79Eq-DNH2otxXAeE55_CdTuFB_MYVP7j9AA     ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/   Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #หมอลำ #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ #มข #คณะเศรษฐศาสตร์   

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?    มื้อนี่ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0   สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง  คณะเศรษฐศาสตร์  รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม   วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  นางสาวรพีพรรณ แคนลาด  ผู้ช่วยนักวิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์ มงคลคำ  ผู้ช่วยนักวิจัย  นายอัษฎาวุฒิ ศรีทน   ผู้ช่วยนักวิจัย  นายศุภชัย เสถียรหมั่น   ผู้ช่วยนักวิจัย   การแสดงหมอลำเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านดั้งเดิมของอีสานและเป็นการแสดงวัฒนธรรมทางดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ฤดูกาลแสดงในรอบหนึ่งปีจะเริ่มต้นหลังจากเทศกาลออกพรรษา และทำการแสดงต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 เดือน (ตุลาคม – พฤษภาคม) ก่อนที่จะปิดฤดูกาลหรือพักวงเป็นเวลา 4 เดือนในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – กันยายน)  หากพิจารณาธุรกิจหมอลำตามการลงทุนและการจ้างงาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ราคาจ้างงาน 240,000-300,000 บาท ขนาดกลางราคาค่าจ้าง 200,000-240,000 บาท และขนาดเล็กราคาค่าจ้าง 150,000-200,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ต้องเดินทางไปจัดการแสดง การแสดงหมอลำเป็นธุรกิจบันเทิงที่ทำให้เกิดการจ้างแรงงานในหลายรูปแบบ อาทิ นักแสดงหมอลำ นักดนตรี แดนเซอร์ พนักงานประกอบเวที คนขับรถ เป็นต้น ในภาพรวมของธุรกิจหมอลำมีการจ้างงานไม่น้อยกว่า 2,000 คนต่อปี แสดงให้เห็นว่าความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจหมอลำส่งผลต่อการพัฒนาหรือกระตุ้นเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปด้วย  ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาอุตสาหกรรมหมอลำมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? มีผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ COVID-19 นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผลกระทบทางด้านอุตสาหกรรมหมอลำบันเทิง เมื่อสถานการณ์ปกติ ผลผลิตรวมมูลค่า 6,615.2 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีผลผลิตรวมน้อยลงอย่างมากซึ่งเหลือเพียง 1,153.4 ล้านบาท และทางด้านงผลกระทบต่อการจ้างงาน เมื่อสถานการณ์ปกติ การจ้างแรงงานเฉพาะในส่วนของการจัดแสดงหมอลำประมาณ 4,811 คน เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีการจ้างงานที่น้อยลงเหลือเพียงประมาณ 1,399 คน เท่านั้น   📌 สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=362&fbclid=IwAR11ktt2ff5LKbh1UlB5-3LY79Eq-DNH2otxXAeE55_CdTuFB_MYVP7j9AA    ติดตาม ISAN Insight & …

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “นาราไอซ์” อาณาจักรโรงน้ำแข็งภาคอีสาน เงินทุน 150 ล้าน ชูจุดขายน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยม

อากาศร้อนแบบนี้ ISAN Insight & Outlook พามาทำความฮู้จักกับเจ้าของโรงน้ำแข็งเย็นๆ เพื่อดับร้อนกันกับ “นาราไอซ์” อาณาจักรโรงน้ำแข็งจากภาคอีสาน นำเสนอรูปแบบน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมฉีกรูปแบบน้ำแข็งหลอด ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และหน้าตาโรงน้ำแข็งที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งที่ลบภาพโรงน้ำแข็งที่หลายคนเคยเห็นกันด้วยเงินลงทุน 150 ล้านบาท ของคุณพัชราภรณ์ อ่อนวิมล วัยเพียง 20 ปี (ช่วงเริ่มทำโรงน้ำแข็ง) คุณพัชราภรณ์ อ่อนวิมลเป็นทายาทเจ้าของโรงน้ำแข็งชื่อดังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเธอมีโรงน้ำแข็งภายใต้แบรนด์นาราไอซ์ ถึง 3 แห่ง มีรถส่งนำแข็งมากกว่า 80 คัน และส่งน้ำแข็ง 485 ตันต่อวัน เส้นทางความเป็นมาของ “นาราไอซ์” เป็นอย่างไร? คุณพัชราภรณ์ ได้มารับช่วงต่อการดูแลกิจการโรงน้ำแข็งร่วมกับครอบครัวตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเพียง 20 ปี ก่อนที่จะแยกตัวเองออกมาสร้างอาณาจักรเป็นเจ้าของโรงน้ำแข็งภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ในวัย 24 ปี ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาโรงน้ำแข็งนาราไอซ์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสาน 3 แห่ง ได้แก่ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ฯลฯ ย้อนกลับไปในช่วงที่พ่อแม่ของคุณพัชราภรณ์ ผู้บุกเบิกสร้างโรงน้ำแข็งในขณะนั้น ไม่มีแม้แต่ชื่อ แต่ชาวบ้านก็จะเรียกกันว่า “โรงน้ำแข็งกุดชุม” จ.ยโสธร บ้านเกิดของคุณพัชราภรณ์ ซึ่งในสมัยพ่อกับแม่ทำโรงน้ำแข็งยังเป็นกิจการเล็กส่งขายในพื้นที่ใกล้เคียง และกิจการเริ่มขยายใหญ่ขึ้นหลังจากที่พี่สาวกับพี่เขยได้เข้ามาพัฒนากิจการโรงน้ำแข็งต่อ มีการสร้างโรงน้ำแข็ง อีกหลายแห่งในพื้นที่ภาคอีสาน โดย คุณพัชราภรณ์ เริ่มเข้ามาทำโรงน้ำแข็ง จากการช่วยเหลือจากพี่สาวก่อน ตอนนั้นอยู่ในวัย 20 ปี ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ก่อนจะเปิดโรงน้ำแข็งนาราไอซ์ของตัวเอง คุณพัชราภรณ์ไม่ได้ชอบการทำธุรกิจโรงน้ำแข็งเลย แต่การจะลงทุนทำอะไร ถ้าหากไปเริ่มต้นทำธุรกิจประเภทอื่นใหม่ก็เหมือนนับหนึ่งกันไหม ซึ่งไม่เหมาะกับการลงทุนในยุคนี้ เพราะมีการแข่งขันและความเสี่ยงสูง อีกทั้ง โรงน้ำแข็งมีการแข่งขันสูง แต่คุณพัชราภรณ์มีประสบการณ์ เคยทำมันมาก่อนสามารถจะต่อยอดได้ โดยรู้ปัญหา รู้ว่าจะต้องแก้อย่างไร เพราะในวงการโรงน้ำแข็ง ถ้าในพื้นที่เดียวกันก็จะรู้จักกัน และรู้มารยาท ถ้ามาที่หลังจะต้องทำอย่างไร “ตัวเองโชคดีที่มีพี่เขยและพี่สาวที่ทำมาก่อน พอเราแยกมาทำ แบ่งพื้นที่ดูแลไม่ได้ทับเส้นทางกัน ซึ่งการส่งน้ำแข็ง เริ่มจากต้องเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของร้านที่เราจะเอาน้ำแข็งไปส่ง และหลังจากนั้นก็นำถังน้ำแข็งที่เป็นแบรนด์ของเราไปวาง เขาจะไม่เอาน้ำแข็งของตัวเองไปใส่ถังของคนอื่น ร้านไหนขายน้ำแข็งที่สะอาดลูกค้าก็จะซื้อร้านนั่น ซึ่งความสะอาดดูจากความใสของก้อนน้ำแข็ง เรามั่นใจว่าน้ำแข็งของเราใสกว่าน้ำแข็งรายอื่น ๆ อย่างแน่นอน เพราะผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน น้ำที่นำมาใช้ทำน้ำแข็งผ่านเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพและน้ำต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด” คุณพัชราภรณ์ กล่าว นอกจากนี้ นาราไอซ์ยังเป็นน้ำแข็งหลอดรายเดียวในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ทำน้ำแข็งออกมาในรูปก้อนทรงสี่เหลี่ยมและการที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมทำให้น้ำแข็งมีมุมช่วยให้น้ำแข็งดูก้อนใหญ่ และละลายช้าลงกว่าน้ำแข็งหลอดทรงกลม ลูกค้าให้การตอบรับกับน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมเป็นอย่างดี และการผลิตน้ำแข็งของเราจะทำแบบวันต่อวัน เพราะน้ำแข็งที่ผลิตไว้ค้างคืนจะเกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ เวลานำไปตักขายก็จะลำบาก ลูกค้าซื้อไปเค้าก็กินลำบากเช่นกัน อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – MGR Online #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นาราไอซ์ #โรงน้ำแข็ง #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

เนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) มื้อนี้ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่งอาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นมในภาคอีสาน ว่ามีบริษัทใด๋ อยู่จังหวัดใด๋ และผลประกอบการเป็นจั่งใด๋แหน่ อันดับที่ 1 บริษัท พญาเย็น แดรี่ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา รายได้รวม 590 ล้านบาท กำไรรวม -1.1 ล้านบาท อันดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนวัฒน์วอลล์ จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 120 ล้านบาท กำไรรวม 1.5 ล้านบาท อันดับที่ 3 บริษัท คิดบวก ดิสทริบิวเตอร์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 114 ล้านบาท กำไรรวม 1.2 ล้านบาท อันดับที่ 4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจนวิกัย จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 79 ล้านบาท กำไรรวม 4.6 ล้านบาท อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เคซี ไชยบุญเรือง จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 67 ล้านบาท กำไรรวม 355,505 บาท อันดับที่ 6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีรัมย์ดัชมิลล์ จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 63 ล้านบาท กำไรรวม 207,516 บาท อันดับที่ 7 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดัชมิลล์ มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 59 ล้านบาท กำไรรวม 453,522 บาท ในการทำธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม ต้องมีการวางแผนธุรกิจ เพื่อกำหนดเป้าหมายธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้ง ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตนมและกระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจ และยังควรศึกษาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบที่เหมาะสมและราคาที่เหมาะสม รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์และการจัดส่งสินค้าให้มีความเหมาะสม หมายเหตุ: เป็นมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม (รหัสประเภทธุรกิจ 46314) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th …

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง โรงน้ำแข็งแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงน้ำแข็ง อยู่ที่ 4,575 ล้านบาท คิดเป็น 47.7% ของรายได้รวมจากโรงน้ำแข็งทั้งหมดในประเทศ และมีจำนวนโรงน้ำแข็ง 427 แห่ง คิดเป็น 32.4% 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงน้ำแข็งมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีรายได้รวม 663 ล้านบาท อันดับที่ 2 สุรินทร์ มีรายได้รวม 451 ล้านบาท อันดับที่ 3 ร้อยเอ็ด มีรายได้รวม 421 ล้านบาท อันดับที่ 4 ขอนแก่น มีรายได้รวม 401 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีรายได้รวม 383 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในภาคอีสาน ซึ่งโรงน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของการผลิตและจัดเก็บสินค้าให้สดชื่น สถานที่ตั้งที่เหมาะสมและความต้องการในการใช้น้ำแข็งในอุตสาหกรรมนี้ส่งผลให้มีโรงน้ำแข็งมากในพื้นที่นี้ อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #โรงน้ำแข็ง #ธุรกิจ #น้ำแข็ง #ธุรกิจอีสาน #Business

พามาเบิ่ง 6 โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังที่มีกำไรมากที่สุดในภาคอีสาน

อันดับที่ 1 บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 3,287 ล้านบาท กำไรรวม 319 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 2 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 7,102 ล้านบาท กำไรรวม 194 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 3 บริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช(2012) จำกัด รายได้รวม 1,020 ล้านบาท กำไรรวม 144 ล้านบาท จังหวัด สกลนคร อันดับที่ 4 บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด รายได้รวม 4,286 ล้านบาท กำไรรวม 135 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 5 บริษัท แป้งมันร้อยเอ็ด จำกัด รายได้รวม 1,765 ล้านบาท กำไรรวม 95 ล้านบาท จังหวัด ร้อยเอ็ด อันดับที่ 6 บริษัท วีพี สตาร์ซ (2000) จำกัด รายได้รวม 2,006 ล้านบาท กำไรรวม 84 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีกำไรมากที่สุดจะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมามากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสินค้า บริษัทส่วนใหญ่จึงทำธุรกิจในจังหวัดนี้ อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟและทางด่วนที่สำคัญเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีกลางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและบุคคล โดยการขนส่งที่สะดวกสบายจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าของบริษัท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัทมีกำไรมากที่สุด #ธุรกิจ #Business#ธุรกิจอีสาน

มาฮู้จัก  “แก่งสามพันโบก” แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน  สุด Unseen หนึ่งเดียวในไทย

มาฮู้จัก  “แก่งสามพันโบก” แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน  สุด Unseen หนึ่งเดียวในไทย   #แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน สุด Unseen หนึ่งเดียวในไทย ที่ “#สามพันโบก” จ.อุบลราชธานี ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เชิญชวนประชาชนเดินทางท่องเที่ยวเช็คอิน โดยใช้การเดินทางผ่านถนนทางหลวงชนบทสาย อบ.4090 จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศให้เป็นที่รู้จักสู่ระดับสากล เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม     “สามพันโบก” แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน แหล่งท่องเที่ยว Unseen เป็นความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น อยู่ที่ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ริมแม่น้ำโขงที่ถูกสายน้ำกัดเซาะเป็นแอ่งกว่า 3,000 โบก โบก หมายถึง แอ่ง หรือบ่อน้ำลึก นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่แนะนำให้ไปถ่ายรูปเช็คอินแล้ว ยังมีความพิเศษตรงที่จะมีมัคคุเทศน์ท้องถิ่นพานำเยี่ยมชมจุดต่าง ๆ พร้อมแนะนำการถ่ายภาพสะท้อนผืนน้ำในโบกที่รับรองว่าทุกท่านที่ได้มาจะกลับไปพร้อมความประทับใจอย่างแน่นอน   ทั้งสระมรกต โบกวัดใจ หินมิกกี้เมาส์ หินหัวสุนัข โบกส่องจันทร์ และอีกมากมาย ซึ่งสามพันโบกจะปรากฏในช่วงน้ำลดเท่านั้น หรือช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน ของทุกปี โดยช่วงเวลาที่เหมาะจะมาเที่ยวคือช่วงเช้า หรือช่วงบ่ายถึงช่วงเย็น  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมล่องเรือกลางแม่น้ำโขงที่จะได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน และเห็นฝั่งประเทศลาวที่อยู่ตรงข้าม โดยจะมีจุดท่องเที่ยวใกล้เคียงอย่าง หาดหงส์ ผาหินศิลาเลข ลานหินปะการัง ลานหินสี ผาวัดใจ และหินแจกันเทวดาอีกด้วย   อ้างอิงจาก: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สามพันโบก #แกรนด์แคนยอน #เที่ยวอีสาน #Unseen #อุบลราชธานี 

เหตุเกิดจาก มิ้นท์ช็อกฟีเวอร์ อีสาน ปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย

เหตุเกิดจาก มิ้นท์ช็อกฟีเวอร์  ฮู้บ่ว่า ? ช็อกโกแลตมาจากโกโก้  อีสาน ปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทยเลยเด้อ   มินต์ช็อก ภาษาอังกฤษมาจากคำว่า Mint Chocolate เป็นรสชาติที่ค้นพบในยุคศตวรรษที่ 16 มีผู้บันทึกไว้ว่าเป็นรสชาติที่เกิดจากชาวยุโรปใส่มินต์ไปกับช็อกโกแลต หลังจากค้นพบรสชาตินี้จากอเมริกาใต้ รสชาติของมินต์ช็อก จะเป็นกลิ่นช็อกโกแลตผสมสมุนไพร บางคนเทียบคล้ายกับรสชาติยาสีฟัน ซึ่งช็อกโกแลตนั้นทำมาจากโกโก้นั่นเอง เป็นวัตถุดิบสำคัญในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และขนม แต่หลายคนคงยังไม่รู้ว่าทุกภูมิภาคของไทยรวมถึงภาคอีสานก็สามารถปลูกต้นโกโก้ได้ ซึ่งเป็นเพราะเหตุใด และมีโอกาสพัฒนาต่อยอดหรือไม่ วันนี้อีสานอินไซต์จะเล่าให้ฟัง   ทำไมภาคอีสานถึงปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย ก่อนหน้านั้นภาคอีสานมีเกษตรกรปลูกโกโก้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีความรู้ ปลูกมาแล้วผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ต้องเผชิญกับราคาต่อกิโลกรัมที่ไม่สูง และมีตลาดรับซื้อน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งก็มักมีปัญหาหลอกขายกล้าพันธุ์และไม่มารับซื้อตามสัญญา ประกอบกับสภาพภูมิอากาศของภาคที่ไม่ได้ร้อนชื้นหรือมีฝนตกชุก ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าอีสานไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้ ทั้งที่ปลูกได้ แต่หากอยากให้มีผลผลิตตลอดทั้งปีอาจต้องลงทุนระบบน้ำเพิ่ม ส่วนการที่ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกโกโก้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคใต้ เนื่องจากภายหลังความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงมีแนวคิดขยายพื้นที่เพาะปลูกในอีสาน โดยส่งเสริมให้ปลูกแทนสวนยางพาราที่มีอายุมากกว่า 25 ปีและให้น้ำยางน้อย หรือปลูกแซมพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเป็นรายได้เสริม   โอกาสในการเติบโตของโกโก้ไทย หากมองความได้เปรียบเชิงพื้นที่ที่สามารถเพาะปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศ บวกกับปัจจัยสนับสนุนอย่างเทรนด์รักสุขภาพ เนื่องจากโกโก้สามารถช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยให้อารมณ์ดี เพิ่มประสิทธิภาพความจำ และป้องกัน/รักษาโรคซึมเศร้าได้ รวมถึงเทรนด์ความยั่งยืนแบบ Zero Waste เพราะทุกส่วนของโกโก้สามารถนำมาแปรรูปได้ ก็ถือเป็นโอกาสเติบโตของโกโก้ไทยในอนาคต   ทั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ เกษตรกรที่สนใจควรศึกษาข้อมูลโกโก้ให้รอบด้านก่อนเริ่มเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปรับปรุงดิน และการจัดการน้ำ รวมถึงการเข้าใจ Contract Farming และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญา โดยเฉพาะคุณภาพผลผลิตที่โรงงานรับซื้อ และความเสียหายหากมีการยกเลิกสัญญา ส่วนภาคเอกชน ควรหาทางเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ผ่านการสร้างเอกลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการยกระดับคุณภาพสินค้าสู่มาตรฐานสากลเพื่อการขยายฐานลูกค้า และภาครัฐ ควรเป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรกับบริษัทที่รับซื้อ/โรงงานในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และอาจต้องอำนวยความสะดวกด้านระบบฐานข้อมูลให้ครบวงจร ตั้งแต่ทะเบียนสายพันธุ์ เนื้อที่ จำนวนเกษตรกร บริษัทที่รับซื้อ/โรงงาน ตลอดจนการนำเข้าและส่งออก เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรและเอกชนใช้วางแผนด้านการผลิต การตลาด และการลงทุน   อ้างอิงจาก กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานในการประชุมหารือพืชทางเลือกที่มีอนาคต (Future crops)   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โกโก้ #โกโก้ไทย #มิ้นท์ช็อก 

พาส่องเบิ่ง “ACG” โกยรายได้ไตรมาสแรก 486 ล้านบาท ลุยเปิดฟาสต์ฟิต AUTOCLIK 30 สาขา

จากดีลเลอร์รายใหญ่ของฮอนด้า ออโตโมบิล ประเทศไทยในเขตภาคอีสาน ขยับไปเป็นเสือข้ามห้วยปักธงที่จังหวัดภูเก็ต “ฮอนด้า มะลิวัลย์” ในเครือ บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมุ่งสรรพกำลังไปที่ศูนย์ดูแลรักษาสำหรับรถที่หมดระยะประกัน ฟาสต์ฟิต ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจยานยนต์มากว่า 30 ปี คุณภานุมาศ รังคกูลนุวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ACG ยังมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ จึงเป็นจุดกำเนิดของ ออโตคลิกบายเอซีจี “เราทำศูนย์บริการรถยนต์แบบเร่งด่วน หรือ ฟาสต์ฟิตมากว่า 2 ปี ภายใต้แบรนด์ ออโตคลิก (AUTOCLIK) ปัจจุบันมี 12 สาขาทั่วประเทศ ส่วนปีนี้เตรียมเปิดเพิ่มอีก 8 สาขา และตั้งเป้าในปี 2567 จะขยายครบ 30 แห่ง” คุณภานุมาศ กล่าวและว่า การขยายสาขาของ AUTOCLIK บริษัทจะดำเนินการลงทุนเองทั้งหมด และไม่เปิดรับแฟรนไชส์ เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการควบคุมคุณภาพงานบริการ รวมถึงบุคลากร ซึ่งการเปิดเพิ่มแต่ละสาขาอยู่บนพื้นฐานการลงทุนที่สมเหตุสมผล บนทำเลที่มีศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเช่าที่ดิน AUTOCLIK เป็นศูนย์บริการรถยนต์ทุกยี่ห้อประเภทเร่งด่วน ให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ ระบบเบรก โช้คอัพ ช่วงล่าง และระบบแอร์รถยนต์ ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ซึ่งการที่บริษัทมีแผนขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ยังช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์ (คู่ค้าที่จัดส่งอะไหล่ให้) ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี “ACG มีบริษัทย่อยที่มีประสบการณ์ยาวนานจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์ ทำให้เราสามารถใช้ประสบการณ์มาต่อยอดธุรกิจประเภท ฟาสต์ฟิตได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องการควบคุมต้นทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างผลกำไรในระยะยาว” สำหรับจุดเด่นของ AUTOCLIK คือ การให้บริการในรูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่การเปิดใบสั่งซ่อมจนถึงส่งมอบรถ โดยไม่ใช้กระดาษ (Paperless) และเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยที่มีการจัดทำ e-Tax invoice และ e-Receipt (ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้า AUTOCLIK เปิดดำเนินการสาขาแรกในเดือนมีนาคม 2564 ปัจจุบันมี 12 สาขา กรุงเทพฯ 4 แห่ง ภูเก็ต 2 แห่ง เชียงใหม่ 2 แห่ง นนทบุรี 2 แห่ง สมุทรสาคร 1 แห่ง ปทุมธานี 1 แห่ง ล่าสุด ACG โชว์งบไตรมาส 1/2566 มีกำไร …

พาส่องเบิ่ง “ACG” โกยรายได้ไตรมาสแรก 486 ล้านบาท ลุยเปิดฟาสต์ฟิต AUTOCLIK 30 สาขา อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top