Infographic

มาฮู้จัก “โคราชจีโอพาร์ค” (Korat Geopark) ที่ UNESCO รับรองเป็นอุทยานธรณีโลก

มาฮู้จัก “โคราชจีโอพาร์ค” (Korat Geopark) ที่ UNESCO รับรองเป็นอุทยานธรณีโลก   ยูเนสโกรับรอง #โคราชจีโอพาร์ค (Khorat Geopark ถูกรับรองเป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) แห่งที่ 2 ของไทย พ่วงด้วยการรับรองให้ จ.นครราชสีมา เป็นเมืองแห่ง 3 มงกุฎ เมืองที่ 4 ของโลก #จีโอพาร์ค (Geopark) หรืออุทยานธรณีคือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่นและวัฒนธรรมที่สำคัญและสัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งในด้านการอนุรักษ์การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจากล่างสู่บน (Bottom-up) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) รับรองให้ โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark) จังหวัดนครราชสีมา เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ถือเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้ไทยสร้างอีกประวัติศาสตร์ จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองแห่ง 3 มงกุฎ หรือ ทริปเปิลคราวน์ (Triple Crown) ถือเป็นเมืองที่ 4 ของโลก ต่อจากอิตาลี เกาหลีใต้ และจีน ที่มีดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก ในจังหวัดเดียวกัน ประกอบด้วย มรดกโลก (กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่), มนุษย์และชีวมณฑล (พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช) และ จีโอพาร์คโลก (โคราชจีโอพาร์ค) ทั้งนี้ โคราชจีโอพาร์ค มีความแตกต่างจากจีโอพาร์คโลก ที่มีอยู่ 177 แห่งทั่วโลก คือ เป็นดินแดนแห่งเควสตาและ ฟอสซิล (Cuesta & Fossil Land) ที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และวิถีชีวิตผู้คนกว่า 4,000 ปี ในพื้นที่ภูมิศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำลำตะคองตอนกลางถึงตอนล่าง โดยพัฒนาต่อยอดและขยายจากสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ดำเนินโครงการในระยะแรก นับตั้งแต่ปี 2537   อ้างอิงจาก: บทความ โคราชจีโอพาร์ค สู่จีโอพาร์คโลกยูเนสโก  ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : …

มาฮู้จัก “โคราชจีโอพาร์ค” (Korat Geopark) ที่ UNESCO รับรองเป็นอุทยานธรณีโลก อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “PQS” หุ้นน้องใหม่ โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง แห่งภาคอีสาน

บริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด (มหาชน) PQS ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2548 นำโดยคุณสมยศ ชาญจึงถาวร และทีมงานที่มีประสบการณ์ ในด้านการผลิตแป้งมันสำปะหลังมายาวนานกว่า 18 ปี ซึ่งบริษัทมีโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ตั้งอยู่เลขที่ 185 หมู่ 14 ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร บนทำเลที่ตั้งที่อุดมไปด้วยวัตถุดิบมันสำปะหลังคุณภาพจากเกษตรกรในพื้นที่ ส่งผลให้วัตถุดิบมีความสดใหม่อยู่เสมอและทำให้คุณสมบัติแป้งมันสำปะหลังของบริษัทถูกจัดว่าเป็นคุณภาพพิเศษ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถผลิตตามคุณภาพเฉพาะที่ลูกค้าต้องการ (Made to order) โดยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และตอบสนองต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริษัท พรีเมียร์ไบโอเอนเนอร์จี จำกัด (PBE) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นบริษัทในเครือ โดยมีผลิตภัณฑ์คือแป้งมันสำปะหลัง และกระแสไฟฟ้าจากการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง (ก๊าซมีเทน) ซึ่งเกิดจากการหมักของน้ำ ที่ผ่านกระบวนการผลิตแป้ง และการหมักกากมันสำปะหลังแบบไร้อากาศ โดยสอดคล้องกับแนวทางการกำจัดของเสีย (Zero waste) และนำผลพลอยได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ทั้งยังเป็นการส่งผลดีในการลดมลภาวะที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #PQS #โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business #พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช #IPO #หุ้นน้องใหม่ #หุ้นใหม่

ปังหลาย ! “ผ้าขาวม้า” มุ่งสู่การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม

ปังหลาย ! “ผ้าขาวม้า” มุ่งสู่การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม การเดินทางของ “ผ้าขาวม้า” ผ่านกาลเวลาวัฒนธรรมหลายยุคสมัย กลายเป็น SoftPower ของไทย มุ่งสู่การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมในอนาคต ครม.เห็นชอบเสนอผ้าขาวม้าขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) หวังกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่นำไปสู่การสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก ถ้าพูดถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างหนึ่ง “ผ้าขาวม้า” ก็คือความภาคภูมิใจที่อยู่คู่ประเทศไทยมานานหลายยุคสมัย แต่ละท้องถิ่นในประเทศต้องมีไว้ใช้ จนกลายเป็นผ้าสามัญประจำบ้าน แต่รู้ไหมว่า ผ้าขาวม้า ได้ผ่านกาลเวลาวัฒนธรรมหลายยุคสมัย ผ่านความคิด จิตวิญญาณ กลายเป็นเอกลักษณ์แสดงความเป็นไทย เป็น SoftPower ของไทยเลยทีเดียว คนไทยรู้จักใช้ผ้าขาวม้ามาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ราวยุคสมัยเชียงแสน ได้รับอิทธิพลจากชาวไทยใหญ่ที่ใช้ผ้าขาวม้า โพกศีรษะ ต่อมาผู้ชายไทยใช้ผ้าเคียนเอว (ผูกเอว) และยังประยุกต์ใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น ใช้ห่อเก็บสัมภาระเดินทาง ห่ออาวุธ นุ่งเวลาอาบน้ำ เช็ดตัว ปูนอน ยุคแรกคนไทยจะเรียกผ้าสารพัดประโยชน์ผืนนี้ว่า “ผ้าเคียนเอว” ก่อนจะเปลี่ยนเป็นผ้าขาวม้าในภายหลัง ที่จริงแล้ว “ผ้าขาวม้า” ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับ “ผ้าขาว” และ “ม้า” แต่มาจากเปอร์เซียคำว่า “กามาร์บันด์” (Kamar Band) ซึ่งหมายถึง เอว หรือ ท่อนล่างของร่างกาย “บันด์” หมายถึง การพัน รัด หรือ คาด เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงหมายถึง เข็มขัด ผ้าพัน หรือ คาดสะเอว มีงานวิจัยเสนอว่า ผ้าขาวม้าเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “กามา” (Kamar) ซึ่งเป็นภาษาอิหร่านที่ใช้กันอยู่ในประเทศสเปน เพราะประวัติศาสตร์ ทั้ง 2 ประเทศติดต่อกันมาช้านาน ต่อมาประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางภาษามาด้วย   เหตุผลชู “ผ้าขาวม้า”  ด้วยผ้าที่มีลวดลายตารางสี่เหลี่ยมเป็นเอกลักษณ์ พบการใช้ประโยชน์อยู่ทุกภาคและชุมชน รวมถึงชาติพันธุ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มไทลื้อ ไทยวน ไทยลาว ภูไท ส่วย กูย  มีลวดลายหรือสีแตกต่างกันตามเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เข้าถึงง่ายและผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยหลายด้าน นอกจากนี้การเสนอขึ้นทะเบียนผ้าขาวม้า จะส่งเสริมการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมฯ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่นำไปสู่การสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก และแสดงถึงความสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ    อ้างอิงจาก: ฐานเศรษฐกิจ thaipbs workpointtoday บทความวิชาการ วัฒนธรรมสร้างสรรค์มนต์เสน่ห์แห่งผืนผ้าลายตาราง นามว่า “ผ้าขาวม้าสารพัดนึก”   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผ้าขาวม้า #ยูเนสโก #เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม #UNESCO #มรดกทางวัฒนธรรม

ชวนเบิ่ง โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงมันสำปะหลัง อยู่ที่ 52,165 ล้านบาท และมีจำนวนโรงมันสำปะหลัง 59 แห่ง เรียกได้ว่า “ทั้งรายได้รวมและจำนวนโรงมันสำปะหลังเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทยเลยทีเดียว” เนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ทำให้โรงมันสำปะหลังเป็นที่นิยมในการทำธุรกิจในภาคอีสาน นอกจากนี้ภาคอีสานยังมีผลผลิตจากมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ 19,863,491 ตัน 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงมันสำปะหลังมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีรายได้รวม 32,814 ล้านบาท อันดับที่ 2 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 3,595 ล้านบาท อันดับที่ 3 ชัยภูมิ มีรายได้รวม 3,349 ล้านบาท อันดับที่ 4 กาฬสินธุ์ มีรายได้รวม 2,529 ล้านบาท อันดับที่ 5 ศรีสะเกษ มีรายได้รวม 2,038 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศ อยู่ที่ 5,507,286 ตัน ทำให้หลายบริษัทเลือกตั้งโรงงานที่จังหวัดนี้ เนื่องจากการตั้งโรงมันสำปะหลังอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกจะทำให้ประหยัดต้นทุนและมีความสะดวกในการขนส่ง อีกทั้ง นครราชสีมายังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสำปะหลังในภาคอีสาน มีสถานีรถไฟสำหรับการขนส่งสินค้าและเชื่อมต่อทางถนนสำคัญที่เชื่อมต่อจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน ทำให้สินค้าจากมันสำปะหลังสามารถส่งออกไปยังตลาดภายในประเทศและต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#โรงมันสำปะหลัง #ธุรกิจ #มันสำปะหลัง #ธุรกิจอีสาน#Business

ชวนเบิ่ง บริษัทในภาคอีสาน กำไร 100 ล้าน ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น

อันดับที่ 1 บริษัท มาดูโร จำกัด ธุรกิจ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ รายได้รวม 1,598 ล้านบาท กำไรรวม 837 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 2 บริษัท สหเรือง จำกัด ธุรกิจ โรงงานน้ำตาล รายได้รวม 2,157 ล้านบาท กำไรรวม 386 ล้านบาท จังหวัด มุกดาหาร อันดับที่ 3 บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจ โรงมันสำปะหลัง รายได้รวม 3,287 ล้านบาท กำไรรวม 319 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 4 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจ โรงมันสำปะหลัง รายได้รวม 7,102 ล้านบาท กำไรรวม 194 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 5 บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด ธุรกิจ ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ ISUZU รายได้รวม 8,507 ล้านบาท กำไรรวม 193 ล้านบาท จังหวัด ขอนแก่น อันดับที่ 6 บริษัท ยิ่งยง มินิมาร์ท จำกัด ธุรกิจ ร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท รายได้รวม 4,850 ล้านบาท กำไรรวม 185 ล้านบาท จังหวัด อุบลราชธานี จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่าบริษัทในภาคอีสาน กำไร 100 ล้าน ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น จะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมามากที่สุด ซึ่งกำไรรวมกันอยู่ที่ 1,350 ล้านบาท เนื่องจากนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสินค้า บริษัทส่วนใหญ่จึงทำธุรกิจในจังหวัดนี้ อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟและทางด่วนที่สำคัญเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีกลางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและบุคคล โดยการขนส่งที่สะดวกสบายจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าของบริษัท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัที่ทมีกำไรมากที่สุด #ธุรกิจ #Business#ธุรกิจอีสาน

“ประเพณีบุญบั้งไฟ”  ชวนเลาะ 6 จังหวัด แดนอีสาน

“ประเพณีบุญบั้งไฟ”  ชวนเลาะ 6 จังหวัด แดนอีสาน   “ประเพณีบุญบั้งไฟ” เป็นประเพณีของภาคอีสานของไทย มีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานกล่าวถึงการจัดงานบุญบั้งไฟ เพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทั้งยังมีความเชื่อว่า หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ในงานประเพณีบุญบั้งไฟ มีกิจกรรมหลายอย่าง ตั้งแต่การจัดขบวนแห่บั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟ และการละเล่นต่างๆ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เช่น การทอดแหหาปลา การสักสุ่ม ขบวนเซิ้งแต่งกายสวยงามแบบโบราณ เซิ้งเป็นกาพย์ให้คติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาอันงดงาม    บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลานานเป็นเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟทำเป็นรูปต่าง ๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากและลิ้นพ่นน้ำได้ ตัวบั้งไฟจะนำไปตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะ นำมาเดินแห่ตามประเพณี โดยมีหลายชนิด ทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นใช้ดินประสิวหนัก 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสนใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหน จึงหาช่างมาทำโดยช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมากต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวนผสมดินประสิวกับถ่านไม้ หากทำไม่ถูกบั้งไฟจะแตกและไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่ทำเป็นเสาบั้งไฟนั้นต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะนำส่วนโคนต้นเพราะมีความหนาและเหนียว นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ ซึ่งจะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกโยนลงในโคลน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาอีกด้วย   สำหรับ “ประเพณีบุญบั้งไฟ” ประจำปี 2566 มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ถึง 6 จังหวัดในภาคอีสาน โดยเพจข่าวสารท่องเที่ยว ททท. ได้โพสต์เชิญชวนเที่ยวงานประเพณีบุญบั้งไฟ ให้ได้ปักหมุดเดินทางท่องเที่ยว โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร จัดขึ้นที่สวนสาธารณะพญาแถน 17 – 21 พฤษภาคม 2566  รายละเอียดกิจกรรม 19 พ.ค. 66 โชว์บั้งไฟโบราณ บั้งไฟเอ้สวยงาม การประกวดบั้งไฟโก้ การประกวดกาพย์เซิ้งบั้งไฟ การประกวดเทพพระบุตร-เทพธิดาบั้งไฟโก้ การประกวดคณะกองเชียร์บั้งไฟ ประจำปี 2566  20 พ.ค. 66 ชมพิธีเปิดงานและขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม จาก 9 คุ้มวัด และ 9 อำเภอ 21 พ.ค. 66 การแข่งขันการจุดบั้งไฟประเภทต่าง ๆ อาทิ บั้งไฟแฟนซีและบั้งไฟขึ้นสูง   ประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า จัดขึ้นที่เทศบาลตำบลกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์ 20 – 21 พฤษภาคม 2566  ชมการจุดตะไลแสน ตะไล …

“ประเพณีบุญบั้งไฟ”  ชวนเลาะ 6 จังหวัด แดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เดือนเมษายน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 53.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 0.1 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน? ภาคการค้าทั้งการค้าส่งและค้าปลีกปรับตัวดีขึ้น โดยได้กำลังชื้อที่เพิ่มขึ้นจากแรงงานที่กลับภูมิลำเนาในช่วงสงกรานต์ ขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมได้รับผลกระทบทางลบจากปัญหาทางสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดพายุฝนใน หลายพื้นที่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ SMEs ภาคธุรกิจ เป็นอย่างไร? ภาคการค้าและการบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ขยายตัวจากกำลังซื้อและการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสงกรานต์ ภาคการผลิต 52.9 ลดลง -0.7 จากเดือนมีนาคม ภาคการผลิตชะลอตัวลง จากแรงงานกลับภูมิลำเนาในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าลดลง โดยเฉพาะกับกลุ่มเสื้อผ้า รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ ภาคการค้า 54.0 เพิ่มขึ้น 1.4 จากเดือนมีนาคม ภาคการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการค้าส่งและค้าปลีก โดยส่วนมากจะได้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะกับร้านที่ตั้งในเขตอำเภอเมือง ซึ่งกลุ่มสินค้าที่มียอดขายมากขึ้นจะเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ ภาคการบริการ 58.4 เพิ่มขึ้น 0.7 จากเดือนมีนาคม ภาคการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่กระตุ้นความต้องการท่องเที่ยวในเดือนเมษายนให้สูงขึ้น ภาคการเกษตร 51.6 ลดลง -2.8 จากเดือนมีนาคม ภาคการเกษตรชะลอตัวลง จากปัจจัยสภาพอากาศเป็นสําคัญที่ในหลายพื้นที่เผชิญกับพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งกระทบปริมาณในการผลิตสินค้าเกษตร แต่ผู้ประกอบการเริ่มลดความกังวลด้านต้นทุนลง จากราคาปุ๋ยที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ: ดัชนี SMEs มีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าฐานเท่ากับ 50 – ดัชนี > 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ดีขึ้น” จากเดือนก่อนหน้า – ดัชนี = 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ทรงตัว” จากเดือนก่อนหน้า – ดัชนี < 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า อ้างอิงจาก: – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#SMEs #ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการSMEs#ธุรกิจ #ดัชนีความเชื่อมั่น #ธุรกิจอีสาน

ชวนเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคอีสาน ในเดือนเมษายน

ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนเมษายน 2566 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 98.9 ปรับตัวลดลง จากระดับ 103.9 ในเดือนมีนาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 104.5 ในเดือนมีนาคม ปัจจัยลบ – ภาคการผลิตชะลอตัวลง เนื่องจากวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้วันทำงานน้อย – ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมัน – อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในทิศทางขาขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของ SMEs เพิ่มขึ้น ปัจจัยบวก – การบริโภคและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ – กำลังซื้อในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของรายได้ภาคเกษตร อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ส่งผลด้านลบ ต่อค่าดัชนีฯ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มีคำสั่งซื้อลดลง จากตลาดสหรัฐสหภาพยุโรปและลาตินอเมริกา เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น มียอดขายในประเทศลดลง ตามอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอ) อุตสาหกรรมน้ำตาล (ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง ขณะที่หลายโรงงานทยอยปิดหีบอ้อยทำให้ปริมาณการผลิตลดลง) อุตสาหกรรมเซรามิก (ผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิก และสุขภัณฑ์ มียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่ปริมาณการผลิตลดลงเนื่องจากวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์) อ้างอิงจาก: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม #ดัชนีความเชื่อมั่น #ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม#อุตสาหกรรม

รายได้รัฐบาลไทย ได้จากภาษีอะไรบ้าง? (ข้อมูล ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค. ปีงบฯ 66)

รายได้รัฐบาลไทย ได้จากภาษีอะไรบ้าง? (ข้อมูล ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค. ปีงบฯ 66)   อ้างอิงจาก : กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมธนารักษ์ กรมบัญชีกลาง  และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #กรมสรรพากร #กรมสรรพสามิต #กรมศุลกากร 

งบประมาณแผ่นดิน ในอีสาน หลายปานใด๋ในแต่ละจังหวัด ?

งบประมาณแผ่นดิน ในอีสาน หลายปานใด๋ในแต่ละจังหวัด ?   อัพเดทงบประมาณของปี 2566 จะเห็นได้ว่าจังหวัดที่ได้งบประมาณสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา 25,644 ล้านบาท, ขอนแก่น 18,667 ล้านบาท, อุบลราชธานี 14,750 ล้านบาท แต่เมื่อมาลองดูจังหวัดที่มีจำนวนงบประมาณต่อประชากร 1 คนนั้น จะเห็นได้ว่า จังหวัดที่ได้สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ หนองคาย บึงกาฬ และมุกดาหาร    อ้างอิงจาก:  สำนักงบประมาณ Agenda   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #งบประมาณแผ่นดิน #งบประมาณอีสาน #งบประมาณ #นครราชสีมา #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #หนองคาย #บึงกาฬ #มุกดาหาร 

Scroll to Top