Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พามาเบิ่ง ครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) 5 อันดับมูลค่าส่งออก ชายแดน อีสาน-ลาว และชายแดน อีสาน-จีน

พามาเบิ่ง ครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) 5 อันดับมูลค่าส่งออก ชายแดน อีสาน-ลาว และชายแดน อีสาน-จีน   มูลค่าส่งออกชายแดนอีสานและสปป.ลาวสะสมมาครึ่งปีแรกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยน้ำมันดีเซลเป็นสินค้า ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดและมีการขยายตัวต่อเนื่อง จากการที่ไทยรับการชำระการซื้อน้ำมันดีเซลผ่านสกุลเงินบาท ซึ่งอ่อนค่าน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกีบเป็นดอลลาห์    อีกทั้งการส่งออกผ่านแดนไทยกับจีนกว่า 40% มาจากด่านในอีสาน โดยสินค้าที่ขยายตัวชัดเจนเป็นกลุ่มผลไม้ได้แก่ ทุเรียน ตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจีนตอนใต้ ผ่านการขนส่งเส้นทาง R9   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/08/Aug-2566.pdf    อ้างอิงจาก: กรมการค้าต่างประเทศ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook Line : https://lin.ee/yIS5bdP    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #มูลค่าส่งออก #อีสานลาว #อีสานจีน

เปิดรายชื่อ 1 จังหวัด 1 เมนู อาหารประจำถิ่นอีสาน ที่ใด๋ ? มีอิหยังแซ่บ ? เช็กเลยเด้อ !

เปิดรายชื่อ 1 จังหวัด 1 เมนู อาหารประจำถิ่นอีสาน ที่ใด๋ ? มีอิหยังแซ่บ ? เช็กเลยเด้อ !   กรมส่งเสริมวัฒนธรรม  เผยผลพิจารณาคัดเลือกกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญจากหลายด้าน อาทิ ด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านวิจัภูมิปัญญาและการพัฒนาชุมชน ด้านอาหารและโภชนาการ  ISAN Insight สิพามาเบิ่งอาหารประจำถิ่นแต่ละจังหวัดในอีสานกันค่า    ด้านการสร้างโมเดลธุรกิจและการเติบโตการตลาดดิจิทัล ด้านเชฟชุมชนอาหารไทยและอาหารพื้นเมือง ได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกเมนูอาหารที่นายกเหล่ากาชาดจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัดและสำนักงานวัฒนธรรมทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร นำเสนอมาจังหวัดละ 3 เมนู รวม 231 รายการ เพื่อให้กรรมการได้พิจารณาคัดเลือกให้เป็นเมนูตัวแทนจังหวัด รวม 77 เมนู   เมนูอาหารที่ผ่านการคัดเลือกนี้ เป็นเมนูที่เปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาด้านอาหาร มีสรรพคุณในทางยาสมุนไพร มีส่วนผสมหรือเครื่องปรุงที่ถูกหลักโภชนาการ ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นมรดกที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงใกล้จะสูญหาย ด้วยขั้นตอนกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยากซับซ้อน อาจจะไม่เหมาะสำหรับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน จึงเป็นเมนูอาหารที่ทรงคุณค่าต่อการอนุรักษ์สืบสาน และส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดให้ได้รับความนิยมต่อไป   ทั้งนี้ หลังจากได้ 77 เมนูอาหารถิ่นที่ผ่านการคัดสรรแล้ว กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดพิมพ์หนังสือ “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชู อาหารถิ่น” เผยแพร่ต่อสาธารณะ และจัดทำโล่รางวัลเพื่อมอบให้แก่จังหวัด และ จัดทำเกียรติบัตร มอบให้แก่ผู้เสนอรายการ จากทุกจังหวัดที่เข้าร่วมกิจกรรม    นอกจากนี้จะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 20 – 22 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร โดยจะมีการจัดงานประกาศยกย่อง “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” สร้างการรับรู้ให้สังคมไทย ในวันที่ 21 กันยายน 2566 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยต่อไป   อ้างอิงจาก: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, tnnthailand   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : …

เปิดรายชื่อ 1 จังหวัด 1 เมนู อาหารประจำถิ่นอีสาน ที่ใด๋ ? มีอิหยังแซ่บ ? เช็กเลยเด้อ ! อ่านเพิ่มเติม »

5 อันดับ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มาเยือนอีสาน (ม.ค.-มิ.ย. 2566)

5 อันดับ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มาเยือนอีสาน (ม.ค.-มิ.ย. 2566)   ผู้เยี่ยมเยือนต่างชาติในอีสานครึ่งปีแรกขยายตัวดี โดยขยายตัวกว่าปีก่อนและก่อน COVID-19 ชัดเจนโดยนักท่องเที่ยวหลักยังมาจากสปป.ลาวตามด้วยจีน ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากผลดีของรถไฟจีน-ลาว   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/08/Aug-2566.pdf    อ้างอิงจาก: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook Line : https://lin.ee/yIS5bdP    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เที่ยวอีสาน #นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ครึ่งปีแรก 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ ?

ครึ่งปีแรก 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ ?   อ้างอิงจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook Line : https://lin.ee/yIS5bdP    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินฝากอีสาน #เงินฝาก  

พาส่องเบิ่ง ตัวอย่าง Influencer คนดังในภาคอีสาน เขาเฮ็ดธุรกิจหยังกันแหน่?

คุณภาวิณี เกษมสันต์ ณ อยุธยา (จ๋อมแจ๋ม) – คนขอนแก่น From Scratch Bakeshop & Café ประเภทธุรกิจ : ร้านกาแฟ จุดเริ่มต้น – เริ่มทำขนมตั้งแต่อายุ 12 ขวบ อีกทั้งยังมีความฝันอยากมีร้านเบเกอร์รี่เป็นของตัวเอง อยากมีเตาอบของตัวเองจึงทำขนมขายเพื่อหาเงินซื้อเตาอบ จุดเด่นคือในร้านมีขนมมากมายให้เลือก โดยมีทั้งแบบขนมหวานและของคาว คุณพรพรรณ เรืองปัญญาธรรม (เมอา) – คนมหาสารคาม 11AM cafe and space ประเภทธุรกิจ : ร้านกาแฟ จุดเริ่มต้น – คุณเมอาร์เป็นสายคาเฟ่ รักในการกินอยู่แล้ว จึงเกิดความคิดอยากมีพื้นที่ทำธุรกิจส่วนตัว และสานฝันให้กับตัวเอง จึงเกิดเป็นร้านคาเฟ่แห่งนี้ขึ้นมา คือ 11AM cafe and space นั่นเอง คุณพฤทธิ์ ราชนาวี (แตงโม) – คนขอนแก่น ร้านแตงโม แซ่บเวอร์ ประเภทธุรกิจ : ร้านอาหารอีสาน จุดเริ่มต้น – เริ่มจากพี่ของคุณแตงโมเป็นคนทำอาหารเก่งและอร่อย จึงลองชวนกันคิดสูตรและพัฒนาสูตรปลาร้าเอง จากนั้นจึงชวนกันเปิดร้านยำและส้มตำเล็กๆ ในย่าน ม.ขอนแก่น โดยจุดเด่นของร้าน คือ ไก่ย่างเขาสวนกวาง คุณภาวิดา ชิตเดชะ (ไอซ์พาดี้) – คนนครราชสีมา เจ้าของบริษัท ไอซ์พาดี้ จำกัด : Happy Sunday, Hello Icecream Production ประเภทธุรกิจ : ธุรกิจโปรดักชันออนไลน์ด้านคอนเทนต์วิดีโอ และแบรนด์เครื่องสำอาง จุดเริ่มต้น – จากความชื่นชอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านความงาม บวกกับประสบการณ์ด้านความงามมากกว่า 10 ปี ทำให้เห็นเทรนด์การเติบโตของตลาดความงามอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ความงามเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้ตัดสินใจสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงาม “HAPPY SUNDAY” อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – Food Fast Fin – Brand Buffet ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #Influencer …

พาส่องเบิ่ง ตัวอย่าง Influencer คนดังในภาคอีสาน เขาเฮ็ดธุรกิจหยังกันแหน่? อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก ตัวอย่าง ธุรกิจร้านชานมไข่มุก ชื่อดังในภาคอีสาน

MONGNI CAFE (หม่องนี่ คาเฟ่) ก่อตั้งที่ขอนแก่น ชื่อร้านมาจากคำว่า “หม่องนี่” ที่เป็นภาษาอีสานแปลว่า “ที่นี่” หรือ “ตรงนี้” นั่นเอง ร้านชานมขนาดเล็ก โดยชื่อออกเสียงเข้ากับสไตล์คาเฟ่ดูเป็นญี่ปุ่น แต่ที่แท้เป็นภาษาอีสาน บ่งบอกที่มา และก่อตั้งขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น อีกทั้งยังก่อตั้งโดยชาวอีสานอีกด้วย ก่อนจะขยายเครือข่ายทั่วประเทศราวๆ 60 แห่งแล้ว รวมทั้งที่ ภูเก็ต เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ รายได้รวม ปี 2564 = 4,379,775 บาท HALF Happiness (ฮาล์ฟ แฮปปี้เนส) ก่อตั้งที่ขอนแก่น เป็นร้านชาไข่มุกเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองขอนแก่น สัญลักษณ์หารในทางคณิตศาสตร์ ถูกนำมาเป็นโลโก้ร้านเก๋ๆ ที่สอดคล้องกับชื่อ HALF HAPPINESS ที่แปลว่าความสุขครึ่งหนึ่งนั่นเอง รายได้รวม ปี 2565 = 496,986 บาท NOBI CHA (โนบิชา) ผู้ก่อตั้งเป็นคนนครพนม ก่อตั้งโดย ดร.ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ชอบการดื่มและลิ้มลองรสชาติของชาจากหลายๆประเทศ ไม่ว่าการเดินทางในแต่ละครั้งจะเป็นการเดินทางไปศึกษาต่อหรือท่องเที่ยว ก็มักจะหาร้านชาที่อร่อยและรสชาติถูกปาก อีกทั้งยังการบันทึกของสมุดแห่งการเดินทางทุกครั้ง และด้วยในปัจจุบันคนไทยเริ่มหันมาดูแลสุขภาพ จึงได้ศึกษาและพัฒนาสูตรของชาในสไตล์ NOBI CHA อย่างจริงจัง รายได้รวม ปี 2564 = 218 ล้านบาท MAOCHA (หม่าวชา) ก่อตั้งที่อุบลราชธานี “MAOCHA ชาแห่งความโชคดี” เกิดจากแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ที่มีโอกาสได้ร่วมเดินสายทำบุญด้วยการทำชาต่างๆ จนมีแนวคิดอยากให้คนทั่วไปได้สัมผัสกับรสชาติสุดพิเศษ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “หม่าวชา” ที่มาพร้อมกับประสบการณ์และความชำนาญในการทำชามามากกว่า 6 ปี รายได้รวม ปี 2565 = 1,560,549 บาท อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – MARKETTHINK – MARKETEER ONLINE – True ID – TaokaeCafe ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #MONGNI #HALFHappiness #NOBICHA #หม่องนี่คาเฟ่ #ฮาล์ฟแฮปปี้เนส #โนบิชา …

พามาฮู้จัก ตัวอย่าง ธุรกิจร้านชานมไข่มุก ชื่อดังในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

สิพามาเจาะลึก ศูนย์รวมผ้าไหม จ.ขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท และ ผ้าลายแคนแก่นคูน

สิพามาเจาะลึก ศูนย์รวมผ้าไหม จ.ขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท และ ผ้าลายแคนแก่นคูน   ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท ประวัติ   “ชนบท” เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน มีการตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2326 โดยกวนเมืองแสน สมุหกลาโหมแห่งเมืองสุวรรณภูมิ พาสมัครพรรคพวกอพยพหนีออกจากเมือง สุวรรณภูมิ แคว้นจำปาสัก ในประเทศลาว มาตั้งเมืองที่บ้านหนองกองแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองกองแก้วขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า “ชลบถพิบูลย์” ซึ่งแปลว่าทางน้ำหรือเมืองที่มีน้ำล้อมรอบ และตั้งท้าวคำพาวเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระจันตะประเทศ จากนั้นได้มีการจัดเขตการปกครองและเมืองชนบทได้ถูกยุบรวมหลายครั้ง จากอำเภอเป็นตำบล ขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2509 ทางราชการจึงได้ตั้งเมืองชนบทขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ “ชนบท” จนถึงปัจจุบัน   ชาวชนบทมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทุกครัวเรือนจะมีที่ดินทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ นอกจากอาชีพทำนาแล้ว ก็มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย เพื่อนำเส้นไหมและฝ้ายมาทอเป็นผืนผ้า ดังคำกล่าวที่ว่า “ยามว่างจากนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน” ในอดีตที่ผ่านมา การทอผ้าถือเป็นหน้าที่สำคัญของผู้หญิงชาวอีสาน เพราะจะต้องทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ผู้หญิงอีสานต้องเรียนรู้และฝึกหัดการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ดังคำผญาที่สอนสตรีชาวอีสานว่า “ทอหูกบ่เป็นแจ ทอแพรบ่เป็นฝาต้อน เลี้ยงม่อนบ่ฮู้โตลุกโตนอน อย่าฟ้าววอนเอาผัว” การทอผ้าเพื่อใช้ในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงอีสานจะต้องเรียนรู้และฝึกหัด โดยเริ่มจากผู้เป็นแม่ได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิควิธีการทอผ้าให้ลูกหลาน สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย ผ้าไหมที่ทอได้ นิยมสวมใส่ไปทำบุญที่วัด หรือในงานพิธีและงานมงคลต่างๆ รวมทั้งเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน   อำเภอชนบท เริ่มมีการทอผ้ามาตั้งแต่เมื่อไร ไม่สามารถสืบประวัติได้ แต่มีหลักฐานสำคัญคือ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง หรือผ้าปูม อายุ กว่า 220 ปี ที่เจ้าเมืองชนบทคนแรกได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โดยทายาทของเจ้าเมืองเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งต่อมา คนชนบทได้นำมาเป็นต้นแบบในการทอผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง ที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผ้าไหมชนบทในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่าการทอผ้าของอำเภอชนบทน่าจะมีมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี หรืออาจจะมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองชนบท คือ ประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว   ผ้าที่ทอด้วยมือที่มีชื่อเสียงที่สุดของอำเภอชนบท ได้แก่ “ผ้าไหมมัดหมี่” โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการคัดเลือกเส้นไหม การออกแบบลายหมี่ การให้สี การทอเป็นผืนผ้า ซึ่งเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ผ้าไหมชนบทมีจุดเด่นคือ มีความสวยงาม ลวดลายละเอียดแตกต่างจากที่อื่น   เอกลักษณ์ของผ้าไหมชนบท คือ “ลาย”และ “เทคนิคการทอผ้า” ลายเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาและถือว่าเป็นลายต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น คือ ลายหมี่กง ลายขันหมากเบ็ง ลายขอพระเทพหรือลายเชิงเทียน โดยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นการทอผ้าแบบ 3 ตะกอ ทำให้เนื้อผ้าแน่น สม่ำเสมอ มีลักษณะสีและลวดลายของผ้าด้านหนึ่งสีทึบกว่าอีกด้าน …

สิพามาเจาะลึก ศูนย์รวมผ้าไหม จ.ขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท และ ผ้าลายแคนแก่นคูน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ในแต่ละจังหวัดภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่?

พามาเบิ่ง จำนวนแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ในแต่ละจังหวัดภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่?   กลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT คืออะไร? อาเซียน คือ การรวมตัวกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย่อมาจาก Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและร่วมมือกันในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ทั้งยังช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้จากสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ช่วยสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจได้อีกด้วย โดยอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศได้แก่ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย   CLMVT คือ กลุ่มอาเซียนในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ที่มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกัน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย   ข้อมูลทั่วไป คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทํางานในประเทศไทย ตามพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางาน ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว (ฉบับ 2) พ.ศ.2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวของ ดังนี้ คนต่างด้าวตลอดชีพ ได้แก่ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทํางานตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 คนต่างด้าวมาตรา 59 (ประเภททั่วไป) ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยูในราชอาณาจักร หรือได้รับ อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้า มาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎกระทรวง คนต่างด้าวมาตรา 59 (ประเภทนําเข้าตาม MoU) ได้แก่ คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่เข้ามาทํางานตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลประเทศคู่ภาคี คนต่างด้าวมาตรา 62 (ประเภทส่งเสริมการลงทุน) ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520) หรือกฎหมายอื่น ได้แก่ พระราชบัญญัตินิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เช่น นักลงทุน ช่างฝีมือ ผู้ชํานาญการ คนต่างด้าวมาตรา 63/1 (ประเภทชนกลุ่มน้อย) ได้แก่ คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตาม กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และกระทรวงมหาดไทยได้ออกเอกสารเพื่อรอพิสูจน์สถานะยื่นขอใบอนุญาตทํางาน คนต่างด้าวมาตรา 64 …

พามาเบิ่ง จำนวนแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ในแต่ละจังหวัดภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่? อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 8 อันดับ บริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน เปลี่ยนไปส่ำใด๋ในช่วง 3 ปี

ปี 2562 อันดับที่ 1 สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 28,577 ล้านบาท อันดับที่ 2 ดูโฮม จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 17,980 ล้านบาท อันดับที่ 3 นำกิจการ จำกัด มีรายได้รวม 13,305 ล้านบาท อันดับที่ 4 นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 13,107 ล้านบาท อันดับที่ 5 ฟูไน (ไทยแลนด์) จำกัด มีรายได้รวม 11,490 ล้านบาท อันดับที่ 6 นำรุ่งโรจน์ จำกัด มีรายได้รวม 10,519 ล้านบาท อันดับที่ 7 โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด มีรายได้รวม 9,825 ล้านบาท อันดับที่ 8 ห้างทองทองสวย จำกัด มีรายได้รวม 9,293 ล้านบาท ปี 2565 อันดับที่ 1 สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 35,443 ล้านบาท อันดับที่ 2 ดูโฮม จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 31,560 ล้านบาท อันดับที่ 3 นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 25,208 ล้านบาท อันดับที่ 4 ห้างทองทองสวย จำกัด มีรายได้รวม 21,564 ล้านบาท อันดับที่ 5 นำกิจการ จำกัด มีรายได้รวม 13,865 ล้านบาท อันดับที่ 6 นำรุ่งโรจน์ จำกัด มีรายได้รวม 10,785 ล้านบาท อันดับที่ 7 ฟูไน (ไทยแลนด์) จำกัด มีรายได้รวม 9,976 ล้านบาท อันดับที่ 8 เอ็มทีพี บูลเลี่ยน จำกัด มีรายได้รวม 9,035 ล้านบาท อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม …

ชวนเบิ่ง 8 อันดับ บริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน เปลี่ยนไปส่ำใด๋ในช่วง 3 ปี อ่านเพิ่มเติม »

ย้อนเเบิ่ง GPP 2021 แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ย้อนเเบิ่ง GPP 2021 แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่   ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) หมายถึง มูลค่าการผลิตสินค้าและ บริการขั้นสุดท้ายของจังหวัด ซึ่งมีค่าเท่ากับมูลค่าเพิ่ม (value added) จากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในขอบเขตของจังหวัด   ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (Per capita GPP) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของจังหวัดเฉลี่ยต่อคน ข้อมูลนี้ใช้เปรียบเทียบกันระหว่างจังหวัด เพื่อดูระดับความแตกตางของความสามารถในการสร้าง รายได้ (Generated of factor income) จังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงแสดงถึงความสามารถ หรือศักยภาพในการสร้างรายได้ที่สูงกว่าจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยตํ่า   ในปี 2564 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอีสาน หรือที่เรียกว่า GRP (Gross Regional Product) มีมูลค่าเท่ากับ 1,671,902 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าในส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 10.2% ของมูลค่า GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านล้านบาท   ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสาน เท่ากับ 86,233 บาทต่อปี หรือ 7,186 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาภูมิภาคทั้ง 6 ภาคของประเทศไทย และเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย ที่เท่ากับ 224,962 บาท จะเห็นว่า รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสาน น้อยกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทยเกือบ 3 เท่า หรือ 38.3% ของรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย   5 จังหวัดที่มี GPP สูงสุด นครราชสีมา        มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 315,583 ล้านบาท  ขอนแก่น มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 213,039 ล้านบาท  อุบลราชธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 135,617 ล้านบาท  อุดรธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 113,797 ล้านบาท บุรีรัมย์                 มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 96,936 ล้านบาท   จะเห็นว่า จังหวัดที่กล่าวมา มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันกว่า 874,972  ล้านบาท แสดงให้เห็นว่า ความมั่งคั่งของคนในภาคอีสานมีความกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัด ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานจากจังหวัดในภาคอีสานจำนวนมากไปทำงานใน 5 จังหวัดที่มั่งคั่งดังกล่าว และบางส่วนอาจย้ายเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อหาโอกาสในชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของภาคอีสานไม่ได้ถูกขับเคลื่อนให้กระจายไปแต่ละพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร …

ย้อนเเบิ่ง GPP 2021 แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top