ในสถานการณ์ปกติที่ไร้โรคระบาด “ธุรกิจร้านอาหาร” ถูกประเมินมูลค่าสูงกว่า 4 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยบวก ไม่เพียงเพราะประเทศไทยเป็น “สวรรค์” ของการกิน มีร้านอาหารริมทาง(Street Food)ไปจนถึงร้านหรูหราบริการชั้นเลิศ(Fine Dining) ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกระดับชั้นตามฐานะและกำลังซื้อ ปี 2566 ไม่เพียงผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 แต่ยังเป็นปีที่ธุรกิจร้านอาหารฟื้นตัวกลับมาคึกคัก เพราะไม่ใช่แค่ขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ปลดปล่อยไลฟ์สไตล์ต่างๆ แต่ยังมีการบริโภคเพิ่มจากนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไลน์แมน วงใน (LINE MAN Wongnai) กล่าวว่า ประเทศไทยใครๆก็สามารถเป็น “เจ้าของร้านอาหารได้ง่าย” แต่การเติบโตต้องเผชิญความท้าทายไม่น้อย เพราะจากการเก็บข้อมูลของร้านอาหารต้องพบ “ความจริงที่น่าเศร้าเล็กน้อย” เมื่อมีผู้ประกอบการเข้ามาสมัครเข้ามาเปิดร้านบนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี ระยะเวลาประมาณ 12 เดือน จะมีการปิดกิจการไป 50% เนื่องจาก “ไม่มียอดขาย” และเมื่อเปิดให้บริการผ่านไป 3 ปี จะมีราว 65% ต้องปิดตัวลง เหล่านี้สะท้อนถึง การแข่งขัน โอกาสรอดของร้านที่เปิดใหม่ในประเทศไทยด้วย สำหรับภาพรวมธุรกิจร้านอาหารไทยครึ่งปีแรก มีร้านเปิดใหม่เพิ่มถึง 13.6% หรือกว่า 1 แสนร้าน มีจำนวน 680,190 ร้าน จากช่วงเดียวกันปีก่อนมี 598,693 ร้าน ขณะที่ประเภทของร้านอาหารที่ให้บริการมากสุด สัดส่วนเป็นดังนี้ – อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว 17.7% – คาเฟ่ ร้านกาแฟ 11% – อาหารไทย 10.9% – ก๋วยเตี๋ยว 7.1% – อาหารอีสาน 6.4% – ขนมหวาน 6.2% – บุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง สุกี้ 6.1% – เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ 4.2% – อื่นๆ 30% เมื่อโควิดคลี่คลาย ประชาชนออกมาทานข้าวนอกบ้านมากขึ้น ทิศทางโต Dine-in ร้อนแรง ส่วน “เดลิเวอรี” แผ่วลงพอตัว แต่ไลน์แมน วงใน ยังคงรักษาโมเมนตัมขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังสั่งเมนูอร่อย จนทำให้ “ขายดี” บนเดลิเวอรี นำโด่ง เมนูอาหารขายดีบนเดลิเวอรี 1. ก๋วยเตี๋ยวยืนหนึ่งขายดีตลอดกาล 2. ข้าวมันไก่ 3. ส้มตำปูปลาร้า เติบโต 40.4% สะท้อนคนไทยชอบความแซ่บนัว 4. ข้าวผัด (หมู กุ้ง ปู) 5. …
พาจอบเบิ่ง เทรนด์ “ธุรกิจร้านอาหาร” ปี 2566 อ่านเพิ่มเติม »