Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน” แห่งภูธรอีสาน

คุณณิชกานต์ พัฒนพีระเดช📍สาวขอนแก่น เจ้าของ “แฟรี่พลาซ่า” , “ตลาดต้นตาล” และ “ศูนย์ค้าส่ง อู้ฟู่ ขอนแก่น” “ตลาดต้นตาล” แลนด์มาร์คเมืองของแก่น ที่มีทายาทรุ่นสาม เข้ามาร่วมพลิกโฉมจังหวัดขอนแก่นให้มีสีสันทั้งกลางวันและกลางคืน จากครอบครัวที่ทำธุรกิจเปิด “ห้างแฟรี่พลาซ่า” เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 50 ปี จนกลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญของขอนแก่น แต่ต้องเผชิญการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงและธุรกิจห้างไม่ได้อยู่ในช่วงขาขึ้น จึงนำไปสู่การทำไนท์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในจังหวัด   ซึ่งกลยุทธ์ของตลาดต้นตาลจะมุ่งจัดกิจกรรมทางด้านบันเทิงอย่างเข้มข้น เพื่อทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนต้องมาเยือน และร่วมกระตุ้นค้าปลีก จากการดึงผู้ประกอบการท้องถิ่นเข้ามาเปิดร้านค้า ร่วมสร้างการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจของจังหวัด   นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาธุรกิจค้าปลีกกับ “ห้างแฟรี่พลาซ่า” ที่อยู่ในตลาดมากกว่า 50 ปี โดยเป็นห้างบุกเบิกของจังหวัดขอนแก่น ได้มีการวางแผนจัดกิจกรรมการตลาดและอีเว้นท์อย่างเข้มข้นเช่นกัน ร่วมเพิ่มยอดทราฟฟิกของห้างให้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว!      คุณจิรเดช เนตรวงค์📍หนุ่มร้อยเอ็ด เจ้าของ “ร้านตำกระเทย” ที่เริ่มต้นจากศูนย์ ด้วยหนี้สินก้อนโต ทำให้ประสบปัญหาทางด้านการเงินในชีวิต จนต้องหาที่พึ่งพิงสุดท้ายจากครอบครัว ยืมเงินจากบัตรเครดิตของน้องชายมา 400,000 บาท และมาเริ่มต้นใหม่ในการทำธุรกิจร้านอาหาร โดยใช้ปลาร้าสูตรของคุณแม่ที่ทำกินเองที่บ้าน นำมาต่อยอดปรับสูตร ทำให้ได้รสชาติที่คิดว่าคนส่วนใหญ่ชอบทาน แม้ว่าในช่วงแรกที่เริ่มต้นจะขาดทุนกว่า 6 เดือน แต่ก็ไม่ยอมแพ้ ด้วยการขายสร้อยทองชิ้นสุดท้ายของคุณแม่ในการพัฒนาธุรกิจ   จากร้านส้มตำเล็กๆ คุณจิรเดชได้พัฒนาร้านโดยใช้สื่อโซเชียลในการโปรโมทร้านจนเริ่มเป็นที่รู้จัก จนทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยใช้เวลา 10 ปี ในการพาร้านอาหารขยายสาขาไปทั่วอีสาน 11 สาขาทั่วอีสาน เปิดในกรุงเทพฯ 1 สาขา และเปิดในกัมพูชาอีก 1 สาขา สร้างยอดขาย 300 ล้านบาท   ในปัจจุบัน ตำกระเทย สาเกต ได้ขยายธุรกิจจากแดนอีสานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ย่านสีลม และขยายไปต่างประเทศที่กัมพูชา โดยเป็นฝีมือการทำอาหารจากชาว LGBTQ ที่ไม่ได้รับโอกาส แต่ที่ร้านตำกระเทยเป็นผู้ให้โอกาสได้โชว์ฝีมือการทำอาหาร และเมนูที่ขายดี คือ ส้มตำ ที่ใช้น้ำปลาร้าในการปรุงอาหารทำให้รสชาติอร่อยมากยิ่งขึ้น ที่ทำรายได้กว่า 50% ของยอดขาย ซึ่งในปีที่ผ่านมาตำไปแล้วว่า 1 ล้านครก   คุณภูดิศ ประดับโชติ📍หนุ่มบุรีรัมย์ หนุ่มบุรีรัมย์ที่เรียนจบเลือกมาทำงานในกรุงเทพ ฯ ทำงานมาหลายอาชีพ ตั้งแต่เป็นคนจัดตารางวิทยุ พนักงานออฟฟิศ ขายไก่ย่างห้าดาว และเป็นตัวแทนจำหน่ายไอศกรีม จนในที่สุดเลือกที่จะมาทำธุรกิจของตัวเอง ใช้เงินลงทุนเพียงหลักพัน ขายเฉาก๊วยริมถนนในจังหวัดหนองคาย    จนกระทั่งมีคนมาเหมาไปเป็นของว่างงานประชุมตามบริษัทต่าง ๆ ทำให้คุณภูดิศเห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจแฟรนไชส์ หลังจากนั้นคุณภูดิศได้มีไปออกงานแสดงสินค้าประจำปี งานบุญพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ที่ สปป.ลาว ขายทั้งหมด 7 วัน ได้วันละ 2,000 แก้ว ทำให้มีคนสนใจธุรกิจแฟรนไชส์ โดยใช้เวลากว่า 5 […]

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน” แห่งภูธรอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พลิกโฉมนครพนม กับสุดยอดโครงการคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เท่ากับ 50,217,015 บาท นครพนมยังมีบทบาทสำคัญในฐานะประตูเชื่อมต่อไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 สะพานมิตรภาพแห่งนี้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 โดยเชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วนของประเทศลาว ด้วยความยาว 780 เมตร และทัศนียภาพที่สวยงามของแนวเขา สะพานแห่งนี้กลายเป็นเส้นทางสำคัญทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการค้า ระหว่างประเทศไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้ ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทย-ลาวแสดงให้เห็นถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังลาวที่ 6,705 ล้านบาท และการนำเข้าสินค้าจากลาวที่ 64,302 ล้านบาท สะพานแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค โครงการพัฒนาด้านคมนาคมสำคัญในอนาคต เพื่อยกระดับศักยภาพของจังหวัดนครพนม ภาครัฐได้ผลักดันหลากหลายโครงการคมนาคมที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและการขนส่งในพื้นที่ 1. รถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม เส้นทาง: บ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3) ระยะทาง: 355 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ: 66,848 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2571 ศักยภาพ: เชื่อมต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับพื้นที่เศรษฐกิจทางตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) รองรับผู้โดยสารได้ถึง 3.8 ล้านคนต่อปี เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตร ซีเมนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค มากถึง 700,000 ตันต่อปี 2. ศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม พิกัด: ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม มูลค่าโครงการ: 1,300 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2568 ศักยภาพ: เป็นศูนย์รวมการรวบรวม คัดแยก และกระจายสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ สนับสนุนการเชื่อมโยงกับรถไฟทางคู่และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ 3. ถนนสายเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-ศูนย์กลางการค้าส่งชายแดน พิกัด: สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 – ทล.212 อำเภอท่าอุเทน (ระยะทาง 23.1 กิโลเมตร) มูลค่าโครงการ: 949 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2568 ศักยภาพ: เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมระหว่างไทยและลาว สนับสนุนการขนส่งสินค้าด้วยระบบโลจิสติกส์ที่ครบวงจร เพิ่มโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ด้วยศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังจะเกิดขึ้น นครพนมจึงเป็นพื้นที่ที่มีอนาคตสดใสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการคมนาคม นอกจากจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของจังหวัด ยังส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน.   ที่มา: ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางบก, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม, การรถไฟแห่งประเทศไทย, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พลิกโฉมนครพนม กับสุดยอดโครงการคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง คนอีสานยังดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุกันอยู่บ่ เเละคนเเต่ละจังหวัดมักช่องไหนมากสุด

. การสื่อสารถือได้ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ สามารถทำให้สังคมดำรงอยู่ได้และเกิดการผลักดันสังคม ให้พัฒนาไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งสังคมและประเทศจะพัฒนาได้นั้น ประชาชนจะต้องได้รับความรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติความเชื่อ พฤติกรรม และวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เกิดขึ้น การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้แก่ชุมชนและประเทศชาติ . เเม้ในยุคปัจจุบันผู้คนจะใช้โทรศัพย์มือถือมากขึ้น เเต่ประชาชนร้อยละ 80.7 ระบุว่ารับรู้ข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์มากที่สุด มากกว่า สื่อสังคมออนไลน์เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก รองลงมาคือพูดคุยกับคนรอบตัว เเละวิทยุก็ยังเป็นอีกช่องทางสื่อสารที่สําคัญ . ในภาคอีสานจากการสำรวจการรับฟัง/รับชมรายการ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ . พบว่า ร้อยละของประชาชนที่รับชมรายการจากสถานีโทรทัศน์ มากที่สุดอยู่จังหวัดศรีสะเกษ 97.1 % รองลงมาคือบึงกาฬเเละขอนเเก่น โดยสถานีโทรทัศน์ที่รับชมมากที่สุดจะมีอยู่ 2 ช่องคือ ช่อง 7 HD เเละ ช่อง 3 HD . ส่วนวิทยุนั้นร้อยละของประชาชนที่รับฟังรายการจากสถานีวิทยุมากสุดอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด 72.9 % ส่วนน้อยสุดอยู่ที่หนองคาย 16.3 % สถานีวิทยุที่รับฟังมากที่สุด จะเป็นวิทยุชุมชนไม่ก็ สวท.   โดยช่วงเวลาที่คนอีสานรับฟังวิทยุมากสุด คือช่วง  5.00-09.00 น. เเต่รับชมโทรทัศน์มากสุดในช่วง 18.01-21.00 น. . อาชีพข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง ของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รับฟังวิทยุมากสุดเป็นร้อยละ 39.2  ส่วนอาชีพอื่น ๆ เช่น พ่อบ้าน/แม่บ้าน ข้าราชการบำนาญ ชรา ว่างงาน/ไม่มีงานทำรับชมโทรทัศน์มากสุดถึงร้อยละ 90.6 . เเละจากการสํารวจ รายการที่ต้องการฟัง  ร้อยละของประชาชนที่รับฟังรายการจากสถานีวิทยุ จำแนกตามรายการวิทยุที่ต้องการรับฟัง 5 อันดับแรก 1.รายการข่าวสาร 73.7% 2.รายการเพลง 60.9% 3.รายการข่าวสารและบันเทิง 26.7% 4.รายการบันเทิง 18.7% 5.รายการท้องถิ่น 13.1% . รายการโทรทัศน์ที่ต้องการรับชม ร้อยละของประชาชนที่รับชมรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ จำแนกตามรายการโทรทัศน์ที่ต้องการ รับชม 5 อันดับแรก 1.รายการข่าวสาร 68.5% 2.รายการละคร 53.2% 3.รายการข่าวสารและบันเทิง  41.8% 4.รายการบันเทิง 40.3% 5.รายการกีฬา 28.5% . ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ,กรมประชาสัมพันธ์ หมายเหตุ : เป็นร้อยละของกลุ่มตัวอย่างประชาชนผู้ตอบสัมภาษณ์ . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่

พามาเบิ่ง คนอีสานยังดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุกันอยู่บ่ เเละคนเเต่ละจังหวัดมักช่องไหนมากสุด อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง “ป่า” แต่ละจังหวัดในอีสานมีมากแค่ไหน

ภาคอีสานของเรามีขนาดพื้นที่รวมกันทั้งหมดเกือบ 105 ล้านไร่ แล้วเคยรู้หรือไม่ว่าพื้นที่ป่าในภาคอีสานมีมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีพื้นที่ป่าเกือบ 16 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.9% ของขนาดพื้นที่ทั้งหมดในภาคอีสาน ซึ่งลดลงจากปี 2565 เท่ากับ 87,576 ไร่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) จากพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเกิดจากปัญหาไฟป่าที่มีความรุนแรงขึ้น (Forest Fire)   การตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่ายังคงเกิดขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา   การขยายตัวทางการเกษตรยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่า และทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ การเกษตรเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะการเลี้ยงปศุสัตว์) และเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพในท้องถิ่น     5 จังหวัดที่มีสัดส่วนพื้นที่ป่ามากที่สุด อันดับที่ 1 มุกดาหาร คิดเป็น 32.%% หรือ 8.5 แสนไร่ อันดับที่ 2 เลย คิดเป็น 32.2% หรือ 21.1 แสนไร่ อันดับที่ 3 ชัยภูมิ คิดเป็น 31.5%  หรือ 25.0 แสนไร่ อันดับที่ 4 อุบลราชธานี คิดเป็น 17.7% หรือ 17.3 แสนไร่ อันดับที่ 5 สกลนคร คิดเป็น 16.9% หรือ 10.1 แสนไร่   หากดูสัดส่วนของพื้นที่ป่าต่อพื้นที่จังหวัดจะเห็นได้ว่า มุกดาหาร มีสัดส่วนป่ามากสุดในอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นภูเขาสูง ติดต่อมาจากเทือกเขาภูพาน อีกทั้งในจังหวัดยังให้ความสำคัญในการปลูกป่าโดยมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าในทุกๆปี     หมายเหตุ: พื้นที่ป่าไม้ คือ “พื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นไม้ยืนต้น ปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่องขนาดไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ และรวมถึงทุ่งหญ้า และลานหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ปรากฏล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่จำแนกได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยไม่รวมสวนยูคาลิปตัส พื้นที่วนเกษตร สวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์ม”     อ้างอิงจาก:  – กรมสารสนเทศ กรมป่าไม้ – มูลนิธิสืบนาคะเสถียร – Salika.co – กรุงเทพธุรกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์

พาสำรวจเบิ่ง “ป่า” แต่ละจังหวัดในอีสานมีมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง “โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น” ในอีสาน

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา จ.นครราชสีมา โดยมีลักษณะงานก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 6 ชั้น และห้อง LINAC จำนวน 2 ห้อง รวมถึงลานจอดรถ และทางเชื่อมระหว่างอาคาร ประกอบด้วย งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบไฟฟ้า-สื่อสาร งานระบบสุขาภิบาล งานป้องกันอัคคีภัย งานปรับอากาศและระบายอากาศ งานระบบก๊าซทางการแพทย์ งานระบบขนส่งแนวดิ่ง(ลิฟต์) งานตกแต่งภายใน และงานครุภัณฑ์ทางการแพทย์ มูลค่ารวม 900 ล้านบาท  ระยะเวลาก่อสร้าง 990 วัน   ศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการแห่งชาติ จ.นครราชสีมา งบประมาณในการก่อสร้าง 344 ล้านบาท โดยในตอนนี้ศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการหลักอยู่ที่ จ.นครราชสีมา, สุพรรณบุรี และมีบางส่วนที่ จ.ชลบุรีด้วย เป็นการสร้างศูนย์ใหญ่ที่ครบวงจรเลยที่นครราชสีมา เพราะมีความพร้อมที่้ครบครั่น เช่น วีลแชร์เรซซิ่งก็จะมีลู่ที่ได้มาตรฐสากล รวมถึงวิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการโดยเฉพาะ   สะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณในการก่อสร้าง 950 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นบริเวณบ้านดงน้อย ต.ภูสิงห์ อ.สหัสขันธ์ ข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว ไปยังจุดสิ้นสุดสะพานบริเวณบ้านโนนทัน ต.สำราญใต้ อ.สามชัย ความยาวประมาณ 1,325 เมตร และเมื่อโครงการดังกล่าวเสร็จสิ้น จะทำให้การคมนาคมทางรถยนต์เชื่อมระหว่าง อ.สหัสขันธ์ กับ อ.สามชัย และอีกหลายๆ อำเภอใน จ.กาฬสินธุ์ รวมถึงการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนผู้ที่ใช้เส้นทางสายดังกล่าว   ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2169 สายยโสธร – อ.กุดชุม ตอน 1 และก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2169 สายยโสธร – อ.กุดชุม ตอน 2 จ.ยโสธร งบประมาณในการก่อสร้างรวมกว่า 1,134 ล้านบาท โดยมีระยะทางกว่า 28 กม. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชีย AH121 เชื่อมเวียดนาม – สปป.ลาว – ไทย – กัมพูชา มายังเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC ของไทย คาดแล้วเสร็จปี 70   จากสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ที่มีฝนตกหนักในพื้นที่พม่า จีน และ สปป.ลาว ในปริมาณมาก ทำให้น้ำจำนวนมหาศาลไหลเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดริมน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ครั้งนี้อย่างมาก จึงเกิดแผนโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งและซ่อมแซ่มตลิ่งในพื้นที่จังหวัดที่ได้ผบกระทบ ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 790 ล้านบาท ได้แก่  – สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมห้วยบางทราย จ.มุกดาหาร  – สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหนองค้า จ.มุกดาหาร –

พาเลาะเบิ่ง “โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น” ในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 10 สถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานที่ควรไปเยือนสักครั้ง

. อุทยานแห่งชาติผาแต้ม (จังหวัดอุบลราชธานี) . หาดดอกเกด (จังหวัดกาฬสินธุ์) . สามพันโบก (จังหวัดอุบลราชธานี) . หินสามวาฬ (จังหวัดบึงกาฬ) . วัดป่าภูก้อน (จังหวัดอุดรธานี) . ภูทอก (จังหวัดบึงกาฬ) . ปราสาทหินพนมรุ้ง (จังหวัดบุรีรัมย์) . Blue Lagoon ภูผาม่าน (จังหวัดขอนแก่น) . หมู่บ้านช้าง (จังหวัดสุรินทร์) . เมืองเชียงคาน (จังหวัดเลย) . สถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานนั้นช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในหลายด้าน เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียมเข้าชม การจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และยังมีธุรกิจผุดขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น  ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร และการขนส่ง ที่ช่วยให้เกิดการจ้างงานคนในชุมชนต่างๆ ทำให้เกิดการกระจายรายได้ในชุมชน . รายได้จากการท่องเที่ยวภาคอีสานปี พ.ศ 2567 นั้นสูงถึง 75,366 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ากว่า 19.4% เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว รัฐบาลและเอกชนจึงต้องมีการลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ทางเดิน และสาธารณูปโภค สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น และผลกระทบที่ตามมาแน่นอนคือเรื่องการรักษาสิ่งแวดหากไม่การควบคุมที่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดปัญหาขยะมากมายตามสถานที่ท่องเที่ยว  . เราจึงควรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อไม่แออัดเกินไปและเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยว อีกอย่างการส่งเสริมการใช้วัสดุรีไซเคิลยังช่วยลดปัญหาขยะ และยังสามารถส่งเสริมให้คนในชุมชนผลิตบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาห่อสินค้าผลิตภัณฑ์ชองชุมชน แถมเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้อีกด้วย . ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์#สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน#ท่องเที่ยว#เที่ยวอีสาน  

พามาเบิ่ง 10 สถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานที่ควรไปเยือนสักครั้ง อ่านเพิ่มเติม »

Seagate โคราช หนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ของโลก

ชื่อบริษัท: บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่ก่อตั้ง (โรงงานผลิตในไทย): โรงงานเทพารักษ์ พ.ศ. 2531 โรงงานโคราช พ.ศ. 2539 โรงงานโคราช 2 พ.ศ. 2558 ทุนจดทะเบียน: 30,829 ล้านบาท ประเภทธุรกิจ: การผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วง (26209) ส่วนแบ่งการตลาดในประเทศ: 36.36%* สำนักงานใหญ่: ฟรีมอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา HDD ของ Seagate มีรุ่นอะไรบ้าง: IronWolf / Pro Exos SkyHawk BarraCuda Portable Hard Drive   ปี รายได้รวม (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง 2565 180,663 8.34 2566 146,451 -24.79 2567 125,073 -14.59   ปี กำไรสุทธิ (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง 2565 5,318 7.56 2566 4,345 -18.3 2567 3,712 -14.57   ขนาดโรงงานการผลิตของ Seagate ทั่วโลก ประเทศ พื้นที่โดยประมาณ (ตร.ม.)** โคราช 251,000 สิงคโปร์ 140,000 มินนิโซตา 101,000 จีน (อู๋ซี) 65,000 มาเลเซีย (ยะโฮร์) 58,000 ไอร์แลนด์เหนือ 44,000 เทพารักษ์ 42,000 หมายเหตุ:  เป็นการเปรียบเทียบรายได้รวมของบริษัทกับธุรกิจทุกขนาดที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งประเทศ พื้นที่ของโรงงานเป็นการแปลงหน่อยจาก ตร.ฟุต เป็น ตร.ม. ทำให้อาจมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ฮู้บ่ว่า? ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกฮาร์ดดิสก์รายใหญ่อันดับสองของโลก เป็นรองเพียงประเทศจีนเท่านั้น โดยในปี 2566 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,151 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 11,537 ล้านดอลลาร์ สรอ. (-29.35%) เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีน และประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive: HDD) รายใหญ่ของโลก แต่ว่าการส่งออกนั้นไม่ใช่ในนามของแบรนด์สินค้าภายในประเทศตนเอง กล่าวคือประเทศเหล่านี้เป็นฐานการผลิตให้กับแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มาตั้งโรงงานการผลิตภายในประเทศ ดังนั้นหากเรามองดูการครองส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ผู้ขาย HDD ทั่วโลกนั้นจะพบว่าแบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกมากที่สุดอันดับ 3 อันดับแรก

Seagate โคราช หนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ของโลก อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 ปลูกข้าวนาปีมากที่สุดในไทยกว่า 38 ล้านไร่

การปลูกข้าวจะเน้นพึ่งน้ำฝน มีช่วงเวลาเพาะปลูกสำคัญตั้งแต่ช่วงเข้าหน้าฝน (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของทุกปี) และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี (เดือนตุลาคม) เรียกว่า “ข้าวนาปี” มีผลผลิตทั้งข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว ซึ่งมีปริมาณรวมกันกว่า 81% ของผลผลิตข้าวรวมทั้งประเทศในแต่ละรอบปีการเพาะปลูก ส่วนที่เหลือประมาณ 19% เป็น “ข้าวนาปรัง” . ในปีเพาะปลูก 2566/67 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี อยู่ที่ 62 ล้านไร่ และมีผลผลิต 27 ล้านตัน แล้วรู้หรือไหมว่าภาคอีสานมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวนาปีมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่า 38 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 61.5% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตมากกว่า 13 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 49.7% ของผลผลิตปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ ซึ่งทั้งพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวนาปีในอีสานมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ   หากลงไปดูข้อมูลรายจังหวัดจะเห็นได้ว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดในอีสานตอนล่าง อย่างจังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งเพียง 4 จังหวัดนี้ก็มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่า 13.8 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 36% เลยทีเดียว   ทำไมถึงการปลูกข้าวนาปีส่วนใหญ่ถึงปลูกมากในอีสานตอนล่าง?   อีสานตอนล่างที่ลักษณะพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวของอีสานตอนล่างมากกว่าพื้นที่อื่นๆ และยังเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมดอกมะลิ 105 และกับข้าว กข.15 ที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อีกทั้งการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของชาวนาในพื้นที่     แนวโน้มอุตสาหกรรมข้าวจะเป็นอย่างไร?   ในปี 2568-2569 ผลผลิตมีทิศทางขยายตัวจากการเข้าสู่ลานีญาในไตรมาส 3 ของปี 2567 ทำให้ไทยได้อานิสงส์จากปริมาณฝนที่มากขึ้น ประกอบกับแรงจูงใจด้านราคาทำให้เกษตรกรหันกลับมาเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตยังเผชิญต้นทุนที่ทรงตัวสูง   ด้านความต้องการบริโภคข้าวในประเทศปี 2567-2569 มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม และอุตสาหกรรมอาหาร   ด้านการส่งออกอาจเข้าสู่ภาวะหดตัวในปี 2568-2569 จากแนวโน้มการกลับมาส่งออกของอินเดีย ท่ามกลางอุปทานของโลกที่เพิ่มขึ้นจากคู่แข่งที่ได้เปรียบด้านราคา ขณะที่ราคาข้าวของไทยยังมีแนวโน้มทรงตัวสูงในปี 2567 ก่อนจะเริ่มปรับลดลงตามผลผลิตที่ทยอยออกมากขึ้นในช่วงปี 2568-2569     อ้างอิงจาก:  – สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร – วิจัยกรุงศรี – กรมวิชาการเกษตร   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ข้าวนาปี #อุตสาหกรรมข้าว

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 ปลูกข้าวนาปีมากที่สุดในไทยกว่า 38 ล้านไร่ อ่านเพิ่มเติม »

ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์ 

ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์  . . พระพุทธรูปหรือพระปฏิมาเป็นสัญลักษณ์เเทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาด้วยความระลึกถึงพระศาสดา พระพุทธปฏิมาทุกองค์แสดงให้เห็นถึงความ รุ่งเรื่องไพบูลย์ของพุทธศาสนาโดยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนอย่างแน่นแฟ้น ทั้งนำความเป็นสิริมงคลและอานุภาพแห่งพระพุทธปฏิมาปกแผ่คุ้มครองชาวไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา . จำนวน 108 เป็นตัวเลขมงคลในทางพระพุทธศาสนา ตามคัมภีร์ชิ้นาลังการฎีกาของลังการะบุว่าเป็นมงคลที่พราหมณได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตฉะเมื่อประสูติได้ 5 วัน ดังปรากฏการจำหลักลวดลายมงคล 108 ประการที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและมงคลในทางโหราศาสตร์ ซึ่งอ้างกำลังเทวดาอัฐเคราะห์ได้ 108  เช่นกัน  . กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้เลือกสรรพระพุทธปฏิมามาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจากทั่วประเทศจํานวน 108 องค์ ตามเลขมงคลในทางศาสนาพุทธ อันเป็นหลักฐานเเสดงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาที่ประดิษฐานอย่างมุ่นคงในประเทศไทย  . โดยในภาคอีสานมีองค์พระปฏิมาที่ได้รับการเลือกสรรเพียง 3 องค์ดังต่อไปนี้  . 1.หลวงพ่อองค์ตื้อ ที่ตั้ง : วัดศรีชมพูองค์ตื้อ หนองคาย  ขนาด : ​​สูง 4 เมตร หน้าตักกว้าง 3.29 เมตร รูปแบบศิลปะ :  ล้านช้าง อายุ :  ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ความสําคัญ : เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสําริดที่ใหญ่ที่สุดในหนองคาย เป็นที่เคารพของประชาชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง ตำนานที่เกี่ยวข้อง : ตำนานกล่าวถึงการหล่อพระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมพูองค์ตื้อนี้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมีพระราชดำริจะหล่อพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นที่บ้านน้ำโหม่ง และได้ชักชวนชาวบ้านให้มาร่วมบุญ ซึ่งชาวบ้านในท้องที่และต่างถิ่นต่างนำทองเหลือง ทองแดงมาตามจิตศรัทธาได้น้ำหนักรวมกัน 1 ตื้อ มีการแยกกันหล่อเป็นส่วนๆ ในวันสุดท้ายมีการหล่อพระเกศ เริ่มตั้งแต่เช้าแต่ก็ไม่เสร็จเพราะทองยังไม่ละลายดี พอถึงเวลาเพลก็แยกย้ายกันไป ทิ้งเบ้าไว้ในเตา เมื่อกลับมาอีกครั้ง ปรากฏทองถูกเทใส่เบ้าแล้วและมีลักษณะที่งามกว่าที่คาดไว้ เมื่อสอบถามจึงรู้ว่า มีชายชรานุ่งขาวห่มขาวมายกเบ้าจนสำเร็จ   หลวงพ่อพระใส ที่ตั้ง : วัดโพธิ์ชัย  หนองคาย  ขนาด : หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สูง 4 คืบ 1 นิ้ว รูปแบบศิลปะ :  ล้านช้าง อายุ :  ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ความสําคัญ : หลวงพ่อพระใสหรือหลวงพ่อเกวียนหักตามตํานาน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการะของศาสนิกชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง ตำนานที่เกี่ยวข้อง : หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง ตำนานเล่าสืบต่อว่า พระธิดา 3 องค์ ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และตั้งชื่อตามนามของตนไว้ว่า พระเสริม พระสุก

ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์  อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา “ไฟป่า” เผาวอดพื้นที่ป่าอีสานไปมากกว่า 5 แสนไร่🔥

จากเหตุไฟป่าลุกลามรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ลอสแองเจลิส ผลาญพื้นที่ไปแล้ว 125 ตารางกิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และอาจเพิ่มขึ้นอีก อพยพคนแล้ว 180,000 คน และเตือนภัยอีก 200,000 คน ด้านแอคคิวเวเธอร์เพิ่มตัวเลขประมาณการความเสียหายเป็น 4.6-5.1 ล้านล้านบาท   และในไทยเองในขณะนี้มีการเกิดไฟป่าที่ดงพญาเย็น สำหรับเหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้นั้นนับเป็นครั้งที่ 4 แล้วในห้วงหลังปีใหม่มา ได้มีการประเมินพื้นที่เสียหายในเบื้องต้นนั้นมีพื้นที่เสียหายกว่า 200 ไร่ รวมแล้วมีพื้นที่ป่าเสียหายเกือบ 1,000 ไร่ และที่สำคัญคือชีวิตสัตว์ป่าน้อยใหญ่ ที่อยู่ในป่าเขาใหญ่   อีสานอินไซต์เลยถือโอกาสพาย้อนเปิดสถิติไฟป่าย้อนหลัง 20 ปี ในภาคอีสานของเรามีพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ไปมากแค่ไหน?   เหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ล้วนเกิดจากฝีมือของมนุษย์แทบทั้งสิ้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเก็บหาของป่า เป็นปัญหาระดับชาติที่กลับมาวนเวียนทุกปี   ส่วนในภาคอีสานรวมเวลากว่า 20 ปี ดับไฟป่าไปแล้วทั้งสิ้น 28,978 ครั้ง และรวมพื้นที่ถูกไฟไหม้ทั้งสิ้น 522,460 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 836 ตารางกิโลเมตรเลยทีเดียว   5 อันดับจังหวัดที่มีพื้นที่ไฟไหม้ป่ามากที่สุดในอีสาน – ชัยภูมิ 142,334 ไร่ – เลย 67,757 ไร่ – นครราชสีมา 52,777 ไร่ – อุดรธานี 46,646 ไร่ – ขอนแก่น 46,065 ไร่   จะเห็นได้ว่าจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ไฟไหม้ป่ามากที่สุดในอีสาน โดยในช่วงเดือน ก.พ. 2567 ชัยภูมิได้เกิดเหตุไฟไหม้บนเทือกเขาภูแลนคา ซึ่งเป็นแนวเขาที่ทอดยาว ครอบคลุมตั้งแต่ อำเภอภูเขียว แก้งคร้อ เมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ หนองบัวแดง และอำเภอบ้านเขว้า ไฟป่าที่เกิดขึ้นคาดเกิดจากฝีมือชาวบ้านที่เก็บหาของป่าจำพวกผักหวานป่าชาวบ้านต่างจะพากันเผาป่า เพื่อให้ไหม้ต้นผักหวานป่า และจะได้แตกยอดอ่อนขึ้นมาอีก ก่อนจะพากันออกหาเก็บหาผักหวานแล้วไปขายกันทุกปี ซึ่งนับว่าเกิดไฟป่าไหม้รุนแรงหนักสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว   แม้ว่าตัวเลขสัดส่วนพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้จะไม่ได้ดูมากหากเทียบกับพื้นที่ป่าทั้งหมดในภาคอีสาน แต่ป่าถือไเป็นแหล่งกำเนิดของธรรมชาติ พืชพรรณ ป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด จากสถิติ ในปัจจุบันสาเหตุการเกิดไฟไหม้ป่าเกือบทั้งหมดเกิดมาจากฝีมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่การทำเกษตร การเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ หรือการพักแรม เป็นต้น ซึ่งความประมาทของมนุษย์นั้นไม่เพียงแต่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่า ยังเป็นการทำลายบ้านและพรากชีวิตของสัตว์ป่าไปด้วย     อ้างอิงจาก: – Thai PBS – ประชาชาติธุรกิจ – ไทยรัฐออนไลน์ – Thecitizen.plus – มูลนิธิสืบนาคเสถียร – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา “ไฟป่า” เผาวอดพื้นที่ป่าอีสานไปมากกว่า 5 แสนไร่🔥 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top