Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พามาเบิ่ง จำนวนโรงเรียนที่สังกัดอยู่ใน อบจ ของแต่ละจังหวัดในภูมิภาค

การกระจายงบประมาณด้านการศึกษา อบจ. ในภาคอีสาน: โอกาสหรือความเหลื่อมล้ำ? จังหวัด งบประมาณ อบจ. ภาคการศึกษา (บาท) จำนวนของโรงเรียน(แห่ง) นครราชสีมา 1,646,793,700 29 ศรีสะเกษ 872,546,100 39 ชัยภูมิ 582,302,200 31 ขอนแก่น 572,160,400 20 อุบลราชธานี 436,819,800 11 มหาสารคาม 404,461,500 20 กาฬสินธุ์ 398,174,900 12 อุดรธานี 176,783,200 3 สกลนคร 134,448,300 7 ร้อยเอ็ด 79,505,700 4 เลย 69,957,300 3 ยโสธร 39,112,800 1 บุรีรัมย์ 16,558,200 1 นครพนม 16,230,200 1 หนองบัวลำภู 12,932,000 4 หนองคาย 6,229,700 1 สุรินทร์ 788,600 1 บึงกาฬ 326,600 1 มุกดาหาร 0 1 อำนาจเจริญ 0 0 รวม 5,466,131,200 190 งบประมาณด้านการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในภาคอีสานซึ่งมีโรงเรียนจำนวนมากที่อยู่ภายใต้การดูแลของ อบจ. ข้อมูลล่าสุดที่เปิดเผยในปี 2568 แสดงให้เห็นถึงการกระจายงบประมาณที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละจังหวัด ซึ่งสะท้อนถึงปัจจัยหลายประการทั้งด้านขนาดของโรงเรียน จำนวนโรงเรียน และนโยบายการจัดสรรงบประมาณของแต่ละ อบจ.   นครราชสีมา: ผู้นำด้านงบประมาณการศึกษา   จากข้อมูลพบว่า จังหวัดนครราชสีมาได้รับงบประมาณ อบจ. ด้านการศึกษาสูงสุดที่ 1,646.79 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีจำนวนโรงเรียนในสังกัด 39 แห่ง นี่อาจสะท้อนถึงขนาดของจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และมีจำนวนนักเรียนมาก ทำให้ต้องการงบประมาณสูงเพื่อรองรับการพัฒนาโรงเรียนและคุณภาพการเรียนการสอน   ศรีสะเกษ และขอนแก่น: อันดับรองที่มีบทบาทสำคัญ   รองลงมาคือ ศรีสะเกษ ที่ได้รับงบประมาณ 872.54 ล้านบาท และ ขอนแก่น ที่ได้รับ 572.16 ล้านบาท โดยขอนแก่นมีจำนวนโรงเรียนในสังกัด 20 แห่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากับมหาสารคาม แต่ได้รับงบประมาณสูงกว่าเกือบเท่าตัว การกระจายงบประมาณในสองจังหวัดนี้อาจมาจากความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา รวมถึงแผนการยกระดับคุณภาพโรงเรียนในเขต อบจ.   […]

พามาเบิ่ง จำนวนโรงเรียนที่สังกัดอยู่ใน อบจ ของแต่ละจังหวัดในภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรลาว🇱🇦

ภาพรวมประชากรลาว ขนาดประชากร: ประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2566) อัตราการเติบโต: ประมาณ 1.5% ต่อปี การกระจายตัว: ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบริเวณนครหลวงเวียงจันทน์ ความหนาแน่น: ประมาณ 32 คนต่อตารางกิโลเมตร โครงสร้างอายุ วัยเด็ก (0-14 ปี): ประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด วัยแรงงาน (15-64 ปี): ประมาณ 65% ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป): ประมาณ 5% ของประชากรทั้งหมด กลุ่มชาติพันธุ์ ลาวลุ่ม: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ คิดเป็นประมาณ 68% ของประชากร ลาวเทิง: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง คิดเป็นประมาณ 22% ของประชากร ลาวสูง: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าลาวเทิง เช่น ชาวม้งและเย้า คิดเป็นประมาณ 9% ของประชากร กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ: มีอีกประมาณ 40 กว่ากลุ่มชาติพันธุ์ คิดเป็นส่วนที่เหลือของประชากร ศาสนา ศาสนาพุทธ: เป็นศาสนาหลักของประเทศ คิดเป็นประมาณ 66.8% ของประชากร ศาสนาผี: ยังคงมีการนับถือในหลายพื้นที่ คิดเป็นประมาณ 30.7% ของประชากร ศาสนาคริสต์และอิสลาม: มีผู้นับถือจำนวนน้อย คิดเป็นประมาณ 2.5% ของประชากร ภาษา ภาษาลาว: เป็นภาษาทางการและใช้ในการสื่อสารทั่วไป ภาษาอื่นๆ: มีการใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ลักษณะเฉพาะของโครงสร้างประชากรลาว สังคมเยาว์วัย: ลาวมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม: ลาวมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และจุดแข็งของประเทศ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร: ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เช่น การลดลงของอัตราการเกิดและการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ   พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นสูง เวียงจันทน์ (Vientiane): เมืองหลวงของลาวและศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา เป็นที่ตั้งของรัฐบาล สถาบันการศึกษา และธุรกิจสำคัญ สะหวันนะเขต (Savannakhét): เมืองเศรษฐกิจสำคัญทางภาคกลาง ติดกับประเทศไทย และมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ ปากเซ (Paksé): ศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ เป็นจุดเชื่อมโยงกับไทยและกัมพูชา ภาพที่ 1 : ภูมิประเทศสามมิติ (3D topography) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ ລາວ) หากดูจากแผนที่ความหนาแน่นของประชากรลาว จะเห็นได้ว่าประชากร กระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่

พามาเบิ่ง🧐ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรลาว🇱🇦 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง GDP ย้อนหลัง 35 ปี ของอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS

. จะเห็นได้ว่า GDP ของไทยและเวียดนามค่อนข้างดีดตัวสูงกว่าประเทศอื่นในGMS เป็นอย่างมากอันเนื่องมาจากมีความโดดเด่นด้านขนาดเศรษฐกิจ ความหลากหลายของภาคเศรษฐกิจ และศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและตลาดภายในประเทศที่แข็งแกร่ง ทำให้ GDP ของทั้งสองประเทศสูงกว่าเพื่อนบ้านใน GMS อย่างชัดเจน   วิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทำให้GDPหดตัวลง -การระบาดของcovid-19 ปี 2019 เนื่องจากเกิดวิกฤตเชื้อไวรัส โควิด-19 แพร่ระบาดทำให้ภาคเศรษฐกิจต่างๆในประเทศเกิดการหดตัวลงไม่ว่าจะเป็น ภาคการท่องเที่ยว,การค้าระหว่างประเทศ ทำให้GDP ของแต่ละประเทศเกิดการหดตัวลงเพราะต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของโลก   –วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 ส่งผลต่อ GMS โดยเฉพาะในประเทศที่พึ่งพาการส่งออก (ไทย กัมพูชา และเวียดนาม) ในขณะที่ประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศและจีน (ลาวและเมียนมา) ได้รับผลกระทบน้อยกว่า ความพยายามของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของ GMS หลังวิกฤต   –วิกฤตต้มยํากุ้ง ปี 1997 ส่งผลต่อประเทศใน GMS ในระดับที่แตกต่างกัน ประเทศที่เปิดเศรษฐกิจและพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศอย่างไทยและกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนัก ในขณะที่ประเทศที่เศรษฐกิจปิดตัว เช่น เมียนมา และลาว ได้รับผลกระทบทางอ้อมเท่านั้น วิกฤตครั้งนี้เป็นบทเรียนสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาค GMS ที่มา เว็ปไซต์ :maccrotrends,trading economics พามาเบิ่งหนี้สาธารณะแต่ละประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง GMS

พามาเบิ่ง GDP ย้อนหลัง 35 ปี ของอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน

ฮู้บ่ว่าปี 67 โรงงานเหล็กของไทย ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง  อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เหล็กเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และบรรจุภัณฑ์ สถานการณ์ปัจจุบัน การผลิต: ประเทศไทยมีกำลังการผลิตเหล็กดิบประมาณ 7.5 ล้านตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็นเหล็กทรงยาวที่ใช้ในการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตจริงยังต่ำกว่ากำลังการผลิต เนื่องจากมีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะจากประเทศจีน การบริโภค: ความต้องการใช้เหล็กในประเทศอยู่ที่ประมาณ 18 ล้านตันต่อปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการ การนำเข้า: ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เหล็กนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ซึ่งมีราคาถูกกว่าเหล็กที่ผลิตในประเทศ ผู้ประกอบการ: อุตสาหกรรมเหล็กในไทยประกอบด้วยผู้ประกอบการหลายราย ทั้งรายใหญ่และรายย่อย ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ในขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่เป็นบริษัทของไทย ความท้าทาย: อุตสาหกรรมเหล็กในไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การแข่งขันกับเหล็กนำเข้า ราคาเหล็กผันผวน และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 3 ปัจจัย ตลาดเหล็กในไทยหดตัว ความต้องการใช้เหล็กที่หดตัวลง ตามภาวะอุตสาหกรรมปลายน้ำ โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์ที่ลดกำลังการผลิตลง รวมถึงภาคก่อสร้างที่ได้รับผลจากตลาดอสังหาริมทรัยพ์ในประเทศชะลอตัวลง เช่นกัน เหล็กนำเข้ามีสัดส่วนเพิ่มแตะระดับเกือบ 70% ของการบริโภคเหล็กในไทย ราคาเหล็กขาลงจากปัญหาในภาคอสังหาฯ จีน ที่หดตัวต่อเนื่องหลายปีติด ทำให้ตลาดจีนมีที่ Oversupplied หรือกำลังการผลิตภายในจีนล้นกับตลาดความต้องการในประเทศ และทะลักส่งออกและเกิดการถล่มราคาในไทย แนวโน้มในอนาคต คาดว่าการแข่งขันในตลาดเหล็กไทยจะยังคงรุนแรงต่อไปในอนาคต ผู้ประกอบการเหล็กไทยจะต้องปรับตัวและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความอยู่รอดในระยะยาว ส่วนในแต่ละปี มีการประเมินจาก Krungthai COMPASS ว่าปี 2567 ไทยจะมีปริมาณการใช้เหล็กโดยรวม 15.7 ล้านตัน ลดลง -3.8% รวมไปถึง 3 ปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตาเฝ้าระวัง ได้แก่ สัดส่วนการใช้เหล็กต่อรถยนต์ 1 คัน มีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ในอนาคต จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่มากขึ้นแทน รถยนต์สันดาป ICE โครงการ Mega Project ภาครัฐใหม่ๆ จะสนับสนุนใช้เหล็กทรงยาว และยังเป็นความต้องการภายในประเทศต่อไปได้ ประเด็น ESG ที่กดดันผู้ประกอบการทั้งด้านต้นทุน และการแข่งขัน เพื่อทำให้การผลิตเหล็ก ลดการก่อมลพิษและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น เรียกได้ว่าไทยต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายหลายด้านทั้ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน ด้านที่ 1 การทะลักของเหล็กจีน จีนย้ายฐานการผลิตเหล็ก กดดันผู้ผลิตเหล็กไทย อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังอยู่ในอาการที่น่าห่วง จากต้องต่อสู้กับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากเหล็กนำเข้าที่โหมกระหนํ่าเข้ามาตีตลาดอย่างไม่ขาดสาย มีทั้งเหล็กคุณภาพดีและเหล็กไม่ได้มาตรฐานปะปนมาขายในราคาตํ่า อุตสาหกรรมเหล็กไทยต้องเผชิญกับความท้ายทายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแข่งขันกับเหล็กจีนที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด และกดดันให้ราคาเหล็กอยู่ในเทรนด์ขาลง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีผู้ประกอบการจะมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากปัญหา Stock Loss ได้   ด้านที่ 2 การตั้งโรงงานจีนแข่งขันกับผู้ผลิตไทย ปี 2567 โรงงานผลิตเหล็กที่มีการลงทุนจากจีนคิดเป็น 16%

พามาเบิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง คะแนน O-NET ปี 66 เด็กอีสานเก่งภาษาอังกฤษมากแค่ไหน

ทำไมต้องสอบ O-NET? การสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียน โดย O-NET เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับประเทศ เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานการศึกษาในภาพรวม และผลการสอบ O-NET จะถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบางสถาบันอุดมศึกษา อาจใช้ผลการสอบ O-NET เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียน ผลการสอบ O-NET นี้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ดังนั้น การสอบ O-NET จึงมีความสำคัญต่อนักเรียน ครู โรงเรียน และระบบการศึกษาโดยรวม   ในปี 2566 คะแนน O-NET ภาษาอังกฤษเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 26.19 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าจังหวัดในภาคอีสานมีทั้งจังหวัดที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จังหวัดที่มีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย คือ มุกดาหาร, สุรินทร์, อำนาจเจริญ, และนครพนม ​   จังหวัดที่มีคะแนนสูงสุดในภาคอีสาน อย่างมุกดาหาร และสุรินทร์ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางการศึกษาของจังหวัดเหล่านี้ อาจมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพการเรียนการสอนในด้านภาษาอังกฤษ, การบริหารจัดการศึกษา หรือโรงเรียนหรือครูในจังหวัดที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ มีเทคนิคการสอนที่เน้นการสื่อสารและปฏิบัติจริงซึ่งสอดคล้องกับการวัดผลของ O-NET   จังหวัดส่วนใหญ่ในภาคอีสานมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจและหาแนวทางแก้ไข อาจมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ อย่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หรือปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างทั่วถึง   อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้อาจจะมีการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ให้มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กในภาคอีสานให้ก้าวหน้าต่อไป     อ้างอิงจาก: – สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #คะแนนONET #ONET #คะแนนสอบ

พาย้อนเบิ่ง คะแนน O-NET ปี 66 เด็กอีสานเก่งภาษาอังกฤษมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง ห้างสรรพสินค้า อาณาจักร กลุ่มเซ็นทรัล ใน GMS

(1) 76 ปี หลังจากคุณเตียงและคุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เปิดร้านหนังสือเล็กๆ แห่งแรกในเมืองไทย ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัล ก้าวสู่ผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรีระดับโลกอย่างเต็มตัว    โดยกลุ่มเซ็นทรัลได้กว้านซื้อกิจการห้างหรูอายุกว่า 1 ศตวรรษเข้าพอร์ต ก้าวสู่ผู้นำห้างสรรพสินค้าลักชัวรีระดับโลกเต็มตัว ด้วยเครือข่ายมากที่สุดใน 7 ประเทศ รวม 40 สาขา ให้บริการนักช้อป นักท่องเที่ยว โกยยอดขายมากกว่า 2.6 แสนล้าน   ชื่อของ “เซ็นทรัล” กิจการภายใต้ตระกูลจิราธิวัฒน์ ไทคูณแห่งเมืองไทย ก่อร่างสร้างอาณาจักรธุรกิจมายาวนานกว่า 7 ทศวรรษในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเจ้าของห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า “เซ็นทรัล” ที่มีเครือข่ายสาขาให้บริการอยู่ทั่วประเทศ     กลุ่มเซ็นทรัล ขับเคลื่อนธุรกิจผงาดผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกและบริการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ดำเนินธุรกิจหลากหลายแขนง นอกจากเรือธง อย่าง “ห้างเซ็นทรัล” ยังครอบคลุมธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีหัวหอก คือ “ศูนย์การค้าเซ็นทรัล” ธุรกิจบริหารและการตลาดสินค้าแฟชั่น ธุรกิจโรงแรมและ รีสอร์ท ธุรกิจร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจดิจิทัลไลฟ์สไตล์     อาณาจักรเซ็นทรัลในภาคอีสาน (2) “กลุ่มเซ็นทรัล” ได้มาเริ่มลงทุนในภาคอีสานในกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าครั้งแรกเมื่อเดือน เมษายน 2552 ครั้งนั้นเป็นการเข้ามาซื้อกิจการของกลุ่มเจริญศรีและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เซ็นทรัลอุดรธานี” นับเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลยทีเดียว ต่อมาเริ่มขยายกิจการและเปิดเพิ่มอีก 3 แห่งคือ เซ็นทรัลขอนแก่น เดือนธันวาคม 2552 เซ็นทรัลอุบลราชธานี เดือนเมษายน 2556 และเซ็นทรัลนครราชสีมา ในเดือนพฤศจิกายน 2560    นับเป็นการเข้ามาเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของ 4 จังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ ในแต่ละที่มีการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกอาคารที่แตกต่างกัน โดยการดึงความโดดเด่นของแต่ละจังหวัดออกมา เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์กอีกด้วย    💚Robinson Lifestyle นอกจากเซ็นทรัลแล้ว ยังมี “โรบินสันไลฟ์สไตล์” การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ตลอดจนการเกิดขึ้นของผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ และแลนด์สเคปของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นแรงผลักสำคัญให้ศูนย์การค้าต้องปรับกลยุทธ์และรูปแบบในการนำเสนอให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าแบบครบวงจร   ภายใต้การทำตลาดศูนย์การค้าขนาดเล็ก และขนาดกลางของกลุ่มเซ็นทรัลนั้น จะบริหารโดยเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือซีอาร์ซี ที่มี 2 แบรนด์หลักคือท็อปส์ พลาซ่า ที่เปิดในจังหวัดขนาดเล็ก ที่มีกำลังซื้อไม่มากพอสำหรับศูนย์การค้าขนาดกลาง-ใหญ่ ส่วนศูนย์การค้าขนาดกลางจะมีแบรนด์โรบินสันไลฟ์สไตล์ ที่ถูกส่งเข้ามาปักหมุดในจังหวัดขนาดกลาง และอำเภอขนาดใหญ่ โดย “โรบินสันไลฟ์สไตล์” มีการปักหมุดในภาคอีสานบ้านเรา ที่จังหวัดชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, สกลนคร, มุกดาหาร และร้อยเอ็ด    กลุ่มเซ็นทรัลมีแผนการลงทุนในจังหวัดนครพนมและหนองคายเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยวในภูมิภาค อย่างจังหวัดนครพนม ด้วยงบลงทุน 2,000 ล้านบาท โดยจังหวัดนครพนมเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองหน้าด่านการค้าและการท่องเที่ยว เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน อีกทั้งยังมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 รองรับการเดินทาง

พาเลาะเบิ่ง ห้างสรรพสินค้า อาณาจักร กลุ่มเซ็นทรัล ใน GMS อ่านเพิ่มเติม »

พามาสรุป อีสาน(ใช้)น้ำหลาย ผลิตเบียร์ได้เกือบ 500,000 ขวด

Top 5 จังหวัดที่มีปริมาณการใช้น้ำ / จำนวนผู้ใช้น้ำ สูงสุด (ปี 2567) 2567 จังหวัด ปริมาณการใช้น้ำ (ลบ.ม.) / จำนวนผู้ใช้น้ำ (คน) บึงกาฬ 21 อุบลราชธานี 21 มุกดาหาร 21              อุดรธานี 22 มหาสารคาม 22 1 วันอีสานใช้น้ำเยอะแค่ไหนในปี 2567 ปี 2567อีสานใช้น้ำไป 26,883,016 ลบ.ม. คิดเป็นวันละ 73,652 ลบ.ม. หรือเทียบเท่า นาข้าว (ไร่)                           61 ล้างรถยนต์ (คัน)               184,130 เบียร์ (ขวด)               497,649 อาบน้ำ (ครั้ง)               818,357 คิดเป็นเงิน 2,135,911 บาท เทียบเท่า มาม่า (ซอง)         266,989 ปริมาณการใช้น้ำ ของอีสาน ในช่วง 3 ปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี ปริมาณการใช้น้ำ (ลบ.ม.) 2565 25,100,529 2566 25,781,107 2567 26,883,016 หมายเหตุ: ลบ.ม. = ลูกบาศก์เมตร ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2567   พามาสรุป อีสาน(ใช้)น้ำหลาย ผลิตเบียร์ได้เกือบ 500,000 ขวดเปิดสถิติการใช้น้ำในอีสานปี 2567 และผลกระทบต่ออนาคต  . น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำของภาคอีสานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

พามาสรุป อีสาน(ใช้)น้ำหลาย ผลิตเบียร์ได้เกือบ 500,000 ขวด อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🚆🧑‍🤝‍🧑การใช้บริการรถไฟในภาคอีสานบ้านเฮา!

โดยมาจากข้อมูลที่เรารวบรวมมาของแต่ละชั้นโดยสารนั่นเอง ตัวเลขปี 2566 จำนวนผู้โดยสารทั่วราชอาณาจักร 27,793,349 คน จำนวนผู้โดยสารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,638,326 คน หรือคิดเป็น 16.69% จำนวนรายได้ทั่วราชอนาจักร 1,314,315,394 บาท จำนวนรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 180,468,940 บาท หรือคิดเป็น 13.48% โดยแบ่งผู้โดยสารในภาคอีสานทั้ง 3 ชั้นได้ดังนี้ ชั้น 1 รวม 14,496 รายได้รวม 5,713,800 ไปอย่างเดียว 13,417 ไป-กลับ 1,079 ชั้น 2 รวม 532,960 รายได้รวม 83,336,352 ไปอย่างเดียว 499,173 ไป-กลับ 33,787 ชั้น 3 รวม 4,090,870 รายได้รวม 91,418,788 ไปอย่างเดียว 3,415,406 ไป-กลับ 158,458 รายเดือน 517,006 หมายเหตุ: ข้อมูลที่นำมาแสดงมาจากปี 2566 และรายได้ที่นำมาแสดงมาจากรายได้โดยสารจากทั้ง 3 ชั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับรายได้อื่นๆ ทั้งสิ้น . รถไฟเป็นหนึ่งในตัวเลือกการเดินที่คนเลือกใช้ทั้งระยะใกล้และไกล รวมถึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องมาจากความมีเสน่ห์ สะดวก ปลอดภัย ค่าโดยสารที่ราคาสามารถจับต้องได้ และเปิดโอกาสให้ผู้โดยสารได้สัมผัสบรรยากาศระหว่างทาง ในปัจจุบันมีวิธีการเที่ยวผ่านทางรถไฟเยอะขึ้น นั้นจึงเป็นเสน่ห์หลักๆของการใช้บริการรถไฟ . จากการหาข้อมูลทำให้รู้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการใช้บริการรถไฟเป็นอันดับที่ 2 จาก 4 ภูมิภาคหลักของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของระบบขนส่งทางรางในพื้นที่นี้ และหวังว่าในอนาคตประเทศไทยจะทำรางรถไฟเพิ่ม เพื่อจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต โดยการให้บริการที่มีคุณภาพและเส้นทางที่เชื่อมต่อได้ง่ายจะเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารอย่างมาก ลำดับการเปิดใช้รถไฟในภาคอีสาน หลังจากสร้างทางรถไฟสายอีสาน เศรษฐกิจ สังคมอีสานเปลี่ยนไปอย่างมาก ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นทางรถไฟสายแรกของรัฐบาลไทย ความคาดหวังของรัฐบาลที่จะเห็นประโยชน์อันเกิดจากการสร้างทางรถไฟสายนี้ จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างทางรถไฟสายแรกนี้สรุปได้ 2 ประการ คือ 1. เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งผู้คนและสินค้า 2. เพื่อประโยชน์ในการปกครองและรักษาพระราชอาณาเขต (ขณะฝรั่งเศสได้ยึดครองเขมร, เวียดนาม แล้วก็พุ่งมาที่ลาวจนไทยต้องเสียสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2431 และเริ่มเข้าสู่ดินแดนลาวส่วนที่เหลือ) สถานีรถไฟในปัจจุบัน   การลงทุนในระบบรางรถไฟมีข้อดีต่อเศรษฐกิจ ในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้: 1. ลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า: รถไฟสามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมากต่อครั้ง ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภค ลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวม: ระบบรางที่มีประสิทธิภาพช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ทำให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. กระตุ้นการลงทุนและการจ้างงาน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน: โครงการก่อสร้างและพัฒนาระบบรางรถไฟต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม การจ้างงาน: การก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบรางรถไฟ รวมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง จะสร้างงานจำนวนมากในหลากหลายสาขาอาชีพ 3. ส่งเสริมการท่องเที่ยว การเดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว: รถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟที่เชื่อมต่อเมืองต่างๆ ช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

พามาเบิ่ง🚆🧑‍🤝‍🧑การใช้บริการรถไฟในภาคอีสานบ้านเฮา! อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน (NeEC)

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeEC ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และนครราชสีมา จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ (NeEC-Bioeconomy) ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต ในระยะแรกมุ่งเน้นการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมชีวภาพ และ 2) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้หลากหลายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพและอุตาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้เทคโนโลยีมัยใหม่ และพัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ นอกจากนี้ การพัฒนา NeEC จะช่วยกระจายความเจริญสู่พื้นที่สร้างอัตลักษณ์ให้พื้นที่ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้   ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด NeEC ปี 2565 มีมูลค่า 719,693 ล้านบาท มีสัดส่วนถึง 41% ของ GRP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็น 4.1% ของ GDP อัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม NeEC มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4 จากปีก่อนหน้า (ปี 2564) และมีรายได้ต่อหัวของกลุ่มจังหวัด NeEC 115,424 บาท    สำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม NeEC ประกอบด้วย ภาคการเกษตร ที่มีมูลค่า 104,607 ล้านบาท (คิดเป็น 15% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ถึงแม้ภาคเกษตรจะมีสัดส่วนน้อยกว่านอกภาคเกษตร แต่ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมแปรรูป การส่งเสริมการเกษตรสมัยใหม่และการแปรรูปสินค้าเกษตร จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นอกภาคการเกษตรมูลค่า 615,085 ล้านบาท (คิดเป็น 85% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ได้แก่ – ภาคการบริการ เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งมีมูลค่า 294,730 ล้านบาท (คิดเป็น 41% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคบริการเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจบริการในพื้นที่ เช่น การท่องเที่ยว การค้าปลีก-ส่ง และบริการด้านสุขภาพ การเติบโตของภาคบริการอาจสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจจากภาคเกษตรสู่ภาคบริการ – ภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่า 226,959 ล้านบาท (คิดเป็น 32% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานชีวภาพ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ – ภาคการค้า มีมูลค่า 93,396 ล้านบาท (คิดเป็น 13% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคการค้ามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดน จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคการค้าในพื้นที่ การค้าชายแดนมีศักยภาพในการเติบโตสูง เนื่องจาก NeEC ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และศุลกากร จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมการเติบโตของการค้าชายแดน

พามาเบิ่ง ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน (NeEC) อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 🗑 “กากของเสีย” จากอุตสาหกรรมบ้านเฮา

พามาเบิ่ง “กากของเสีย” จากอุตสาหกรรมบ้านเฮา จังหวัด ปริมาณของเสียทั้งหมด (ตัน) เลย                                           672,256 นครราชสีมา                                           594,088 ชัยภูมิ                                           374,469 อำนาจเจริญ                                           309,192 กาฬสินธุ์                                           295,333 ขอนแก่น                

พามาเบิ่ง 🗑 “กากของเสีย” จากอุตสาหกรรมบ้านเฮา อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top