Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พามาเบิ่ง💄💋 Watsons เปิดครบ77 จังหวัดเมื่อปีที่เเล้ว เเล้วในอีสานมีกี่สาขา

พามาเบิ่ง Watsons เปิดครบ77 จังหวัดเมื่อปีที่เเล้ว เเล้วในอีสานมีกี่สาขา   ความสวยงามและสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญจนเป็นเทรนด์ที่คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจมากกว่าในอดีต ธุรกิจด้านความงามและสุขภาพก็เติบโตขึ้นทุกปี หากพูดถึงร้านค้าค้าปลีกด้านสุขภาพและความงามหลายคนคงนึกถึง Watsons เเต่ทราบหรือไม่ว่าร้านค้าปลีกนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากฮ่องกงเเละมีอายุเกือบ 200 ปีมาเเล้ว    ชื่อร้าน Watsons มีที่มาจากโทมัส บอสเวลล์ วัตสัน (Thomas Boswell Watson) ผู้ก่อตั้ง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายยาในฮ่องกง ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2384  ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เอ.เอส. วัตสัน กรุ๊ป ผู้ค้าปลีกด้านสุขภาพและความงามระดับสากลที่ใหญ่ที่สุดในโลก  เข้ามาในประเทศไทยภายใต้เครือเซ็นทรัลจดทะเบียนในชื่อบริษัท เซ็นทรัล วัตสัน จํากัด    เส้นทาง “วัตสัน” ในประเทศไทย พ.ศ. 2539 เปิดสาขาเเรก ที่ตึกมณียา เซ็นเตอร์ พ.ศ. 2548 ครบรอบ 9 ปี พร้อมฉลองครบ 100 สาขา พ.ศ. 2555 เปิดสาขาครบในภาคตะวันตก พ.ศ. 2557 เปิดสาขาครบในภาคตะวันออก พ.ศ. 2558 ฉลองครบรอบ 333 สาขา พ.ศ. 2561 ฉลองครบรอบ 500 สาขา พ.ศ. 2562 เปิดสาขาครบในภาคกลาง พ.ศ. 2564 เปิดสาขาครบในภาคใต้ พ.ศ. 2565 เปิดสาขาครบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2566 เปิดสาขาครบในภาคตะวันออกภาคเหนือเเละครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย   ถือเป็น Watsons ร้านเพื่อสุขภาพและความงามรายเเรกที่เปิดครบ 77 จังหวัดเเละตั้งเป้าจะเปิดเพิ่มปีละ 50 สาขา Watsons ในปัจจุบันปี 2567 ทั่วประเทศมี 742 สาขา ในอีสานมี  130 สาขาเป็นรองจาก กทม โดยนครราชสีมามีจํานวนสาขามากสุดที่ 22 สาขา    โดย Watsons มีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่โดดเด่นคือ โปรโมชัน  “ชิ้นที่สอง 1 บาท”  ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์เรือธงของธุรกิจเเละมีในส่วนแคมเปญโปรโมเชื่อม ชอป-เชื่อม-ลด  ช่องทางการขายในรูปแบบ O+O (Offline Plus Online) เชื่อมโลกช้อปปิงออฟไลน์และออนไลน์ ที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างมาก อีกทั้งยังมีการจําหน่ายผลิตภัณฆ์จากเเบรนด์ของ Watsons เอง    หากมองไปที่ผลประกอบการ จะพบว่ารายได้เเละกําไรของ Watsons เป็นบวกเเละกําลังเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังโควิด 19 […]

พามาเบิ่ง💄💋 Watsons เปิดครบ77 จังหวัดเมื่อปีที่เเล้ว เเล้วในอีสานมีกี่สาขา อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับเส้นทางที่มีการใช้รถมากที่สุดอยู่ไหนบ้างในภาคอีสาน🚗🛣️

อันดับที่ 1 ถนนหมายเลข 2 เส้นนครราชสีมา – ดอนหวาย มีปริมาณการใช้รถ 137,258 คัน อันดับที่ 2 ถนนหมายเลข 204 ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา มีปริมาณการใช้รถ 119,243 คัน อันดับที่ 3 ถนนหมายเลข 2 เส้นมวกเหล็ก – บ่อทอง มีปริมาณการใช้รถ 98,718 คัน อันดับที่ 4 ถนนหมายเลข 2 เส้นดอนหวาย – บ้านวัด มีปริมาณการใช้รถ 97,435 คัน อันดับที่ 5 ถนนหมายเลข 2 เส้นน้ำสวย – สะพานมิตรภาพที่หนองคาย(เขตแดนไทย/ลาว) มีปริมาณการใช้รถ 93,592 คัน อันดับที่ 6 ถนนหมายเลข 291 ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม มีปริมาณการใช้รถ 93,592 คัน อันดับที่ 7 ถนนหมายเลข 2 เส้นโคกกรวด – นครราชสีมา มีปริมาณการใช้รถ 91,551 คัน อันดับที่ 8 ถนนหมายเลข 201 เส้นหนองบัวโคก – บ้านลี่ มีปริมาณการใช้รถ 91,475 คัน อันดับที่ 9 ถนนหมายเลข 12 เส้นร่องแซง – หนองแก มีปริมาณการใช้รถ 84,919 คัน อันดับที่ 10 ถนนหมายเลข 224 เส้นพะโค – หนองสนวน มีปริมาณการใช้รถ 84,261 คัน อันดับที่ 11 ถนนหมายเลข 2050 เส้นอุบลราชธานี – ตระการพืชผล มีปริมาณการใช้รถ 82,993 คัน อันดับที่ 12 ถนนหมายเลข 304 เส้นดอนขวาง – โพธิ์กลาง มีปริมาณการใช้รถ 80,359 คัน อันดับที่ 13 ถนนหมายเลข 23 เส้นหนองจิก – ห้วยแอ่ง มีปริมาณการใช้รถ 74,949 คัน อันดับที่ 14 ถนนหมายเลข 22

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับเส้นทางที่มีการใช้รถมากที่สุดอยู่ไหนบ้างในภาคอีสาน🚗🛣️ อ่านเพิ่มเติม »

ติดลบต่อเนื่อง!! บ้านสร้างใหม่ในอีสาน จังหวัดส่วนใหญ่ยังหดตัว ตลอดปี 67

  หมายเหตุ: บ้าน ในที่นี้นับรวมเฉพาะ บ้าน, บ้านแฝด, บ้านแถว, ทาวน์เฮาส์ และทาวน์โฮม   สถานการณ์การสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสานหดตัวหนักแบบ YoY . จากข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสาน พบว่ามีการลดลงของตัวเลขแบบปีต่อปี (YoY) ในหลายจังหวัดอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม และต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับเดือนพฤศจิกายน ปี 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2566 หลายจังหวัดในภาคอีสานมีสถิติการสร้างบ้านใหม่ที่ลดลงอย่างมาก โดยบางจังหวัดมีการลดลงสูงถึง 31% เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ ขณะที่จังหวัดที่มียอดการสร้างบ้านเพิ่มขึ้น เช่น สุรินทร์ +166% . ภาพรวมของการลดลงในภาคอีสานในหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น -28%, นครราชสีมา -20%, และอุดรธานี -1% การหดตัวของสถิติการสร้างบ้านใหม่สะท้อนถึงการชะลอตัวในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลบ่งชี้ว่าปัจจัยหลายประการอาจส่งผลต่อสถานการณ์ดังกล่าว เช่น   1.กำลังซื้อที่ลดลงของประชาชน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ส่งผลต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน โดยเฉพาะในภาคอีสานที่เน้นเกษตรกรรม และราคาสินค้าเกษตรช่วงนี้ก็ไม่แน่นอน ซ้ำยังมีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงราว 90% ซึ่งบ่งบอกถึงภาคประชาชนนั้นมีปัจจัยอยู่มาก 2.อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวในระดับประเทศส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอีสาน นักลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความระมัดระวังมากขึ้นในการพัฒนาโครงการใหม่ 3.การย้ายถิ่นฐานของคนรุ่นใหม่ จากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เกิดจากหลายปัจจัย เช่น โอกาสในการทำงานที่หลากหลายและรายได้ที่สูงกว่า รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และแนวโน้มของคนรุ่นใหม่นิยมเช่าอยู่มากขึ้น . ข้อมูลที่น่าสนใจของปี 2567 และปีอื่นๆ พบว่าสถิติการสร้าบ้านใหม่มี High Season ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งมีตัวเลขสูงกว่าช่วงเดือนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในเดือนมกราคม จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนการสร้างบ้านใหม่สูงสุดที่ 1,188 หลัง แต่ในเดือนพฤศจิกายนเหลือเพียง 932 หลัง (-21% จากเดือนมกราคม) หรือจังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นที่ 752 หลังในเดือนมกราคม และลดลงเหลือ 638 หลังในเดือนพฤศจิกายน -15%   ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางฤดูกาลที่สภาพอากาศในช่วงต้นปีมักจะเป็นฤดูแล้ง ทำให้การก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการและประชาชนเริ่มต้นแผนการลงทุนหลังจากสิ้นปีที่ผ่านมา รวมถึงโปรโมชั่นทางการเงินจากธนาคารที่มักมีในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจสร้างบ้านใหม่ อย่างไรก็ตามเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าตัวเลขการบ้านใหม่ของภาคอีสาน ลดลงจากหลายที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ด้วยปัจจัยที่ได้กล่าวไปข้างต้น . โดยสรุปการลดลงของสถิติการสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสานเป็นภาพสะท้อนของปัญหาเศรษฐกิจและโครงสร้างในระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการที่เหมาะสมและการสนับสนุนที่ตรงจุด การฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีสานยังคงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในอนาคต สู้ต่อไปพี่น้อง! . ที่มา: กรการปกครอง, ธนาคารแห่งประเทศไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight

ติดลบต่อเนื่อง!! บ้านสร้างใหม่ในอีสาน จังหวัดส่วนใหญ่ยังหดตัว ตลอดปี 67 อ่านเพิ่มเติม »

เตรียมตัวเบิ่ง.. “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ฝนดาวแรกของปี 68 สถานที่ดูดาวในภาคอีสานอยู่ที่ไหนบ้าง

หลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 02:00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2568 จะเกิดปรากฏการณ์    “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco) เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปีนี้คาดมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง และไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์ สามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ แนะนำชมในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน   “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ตั้งตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่เคยมีในแผนที่ดาวในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 (ในปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว) อยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดาวมังกร เชื่อกันว่า ฝนดาวตกนี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยแอนโตนิโอ บรูคาลาสซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อปี 1825 ซึ่งสังเกตเห็นอุกกาบาตที่เปล่งแสงออกมาจากท้องฟ้า   ฝนดาวตกควอดรานติดส์ มีสาเหตุจากเศษอนุภาคจากอุกกาบาต (ที่มาจากหิน) ขณะที่ดาวตกชนิดอื่น ๆ เกิดมาจากดาวหาง (ซึ่งประกอบด้วยน้ำแข็งและฝุ่น)     สถานที่ดูดาว ทั้ง 22 แห่ง ในภาคอีสาน ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย นับเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก เนื่องจากมีความพร้อมในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น มีพื้นที่โล่งที่ไม่มีต้นไม้หรือวัตถุบดบังบริเวณขอบฟ้า มีการบริหารจัดการแสงสว่างที่ดี และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะกับการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ   📍นครราชสีมา – ภูคำหอม รีสอร์ท – สวนไพลินชมดารา – มกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ – อุ่นฟ้าอิงดาวแคมป์ปิ้ง – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ – ไร่เขาน้อยสุวณา – ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้ – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา – โรงแรมเรนทรี เขาใหญ่ – ไร่องุ่นไวน์ อัลซิดินี่ – โรงแรม เดอะเปียโน รีสอร์ท เขาใหญ่   📍ชัยภูมิ – อุทยานแห่งชาติไทรทอง – อุทยานแห่งชาติตาดโตน – อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม – เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว – อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   📍ขอนแก่น – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น – อุทยานแห่งชาติภูเวียง – สวนสัตว์ขอนแก่น   📍อุบลราชธานี –

เตรียมตัวเบิ่ง.. “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ฝนดาวแรกของปี 68 สถานที่ดูดาวในภาคอีสานอยู่ที่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง คนอีสานมัก “ดื่มในงานเทศกาล” มากแค่ไหน

จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 ภาคอีสาน มีสัดส่วนนักดื่มมากถึง 32.3% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากภาคเหนือ และมีสัดส่วนของนักดื่มประจำ อยู่ที่ 38.6% ซึ่งมีสัดส่วนน้อยที่สุดในประเทศ เมื่อไปดูก็พบว่า ภาคอีสานมีนักดื่มที่ดื่มในงานประเพณี/คอนเสิร์ต/งานเลี้ยงมากถึง 70.0% ซึ่งมีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ   ภาคอีสานโดยทั่วไปมีวัฒนธรรมการดื่มที่ผูกพันกับวิถีชีวิตและสังคมมาอย่างยาวนาน การดื่มมักเป็นส่วนหนึ่งของการพบปะสังสรรค์ งานบุญ งานเทศกาล และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้คนในพื้นที่คุ้นเคยและยอมรับการดื่มมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ทำไมคนถึงชอบดื่มในงานสังสรรค์มากกว่าดื่มอยู่บ้าน? “บรรยากาศ” เพราะวงสังสรรค์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในการดื่มกินได้อย่างไม่น่าเชื่อ   จากการสำรวจในปี 2016 เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราสนุกกับการดื่มมากแค่ไหน โดยรวบรวมข้อมูลจากแอปพลิชันชื่อ ‘Mappiness’ ที่ให้คะแนนความสนุกจาก 1-100 คะแนน พบว่าการดื่มเชื่อมโยงกับความสนุก 10.79 คะแนน หมายความว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อความสนุกของคนจริงๆ ซึ่งนอกเหนือจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ปัจจัยแวดล้อมและกิจกรรมอื่นๆ ก็ยังส่งผลเช่นกัน   การที่คนเรา “รู้สึกดี” ท่ามกลางบรรยากาศสังสรรค์ในวงเหล้า ไม่ใช่แค่เรื่องของการเข้าสังคมเพื่อพบปะเพื่อนฝูงเท่านั้น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ทสมัธ (University of Portsmouth) ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ระดับ “ความดัง” ของบรรยากาศทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “หวาน” ขึ้นด้วย โดยเฉพาะเมื่อเปิดดนตรีขับกล่อมเป็นพื้นหลัง นอกจากนี้มันยังส่งผลต่อปริมาณการดื่มและอัตราความเร็วในการดื่มของผู้คนด้วย พูดง่ายๆ คือยิ่งเสียงดัง คนก็ยิ่งดื่มเยอะ แถมยังดื่มเร็วขึ้น   ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าในปี 2008 ของมหาวิทยาลัย เด เบรทาเน ซาด (Université de Bretagne-Sud) ในฝรั่งเศส ซึ่งทดสอบระดับความดังในบาร์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักดื่ม พบว่า เมื่อเปิดเพลงเสียงดังในระดับ 88 เดซิเบล ทำให้ผู้ดื่มจะสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นและสั่งถี่ขึ้นตามความดังของบรรยากาศรอบตัว   มนุษย์เราอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชื่นชอบเครื่องดื่มมึนเมา ซึ่งบรรยากาศสังสรรค์ ผู้คนที่กำลังสรวลเสเฮฮา บวกกับเสียงดนตรีที่เปิดคลอเคล้าภายในงานสังสรรค์ต่างๆ ก็ล้วนเป็น “ตัวกระตุ้นชั้นดี” ที่ทำให้อยากดื่ม แถมยังสนุกกับการดื่มมากขึ้นไปอีก นั่นจึงเป็นคำตอบว่า ทำไมหลายคนถึงโหยหาบรรยากาศการดื่มสุราในงานสังสรรค์มากกว่าการนั่งดื่มที่บ้านนั่นเอง     อ้างอิงจาก:  – BrandThink – ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) – สำนักงานสถิติแห่งชาติ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #นักดื่ม #สุราก้าวหน้า #เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ #นักดื่มหนัก #ดื่มหนัก

พาเลาะเบิ่ง คนอีสานมัก “ดื่มในงานเทศกาล” มากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย?

ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย! สถานการณ์การส่งออกข้าวทั่วโลกในปี 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมเฉลี่ยสูงถึง 9 แสนล้านบาท สำหรับประเทศผู้ส่งออกทั้งหมด เมื่อเทียบกับปี 2019 สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ผู้คนต้องการบริโภคข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ก็มีการแข่งขันเพื่อขยายตลาดส่งออกข้าวให้ครอบคลุมทั่วโลก . โดย ไทย และ เวียดนาม ถือเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 และ 3 ของโลกเป็นรองอินเดีย โดยในปี 2020-2021 จะพบว่าเวียดนามมีการส่งออกแซงไทย . . สาเหตุที่เวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนแรงงาน: เวียดนามมีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าไทย ทำให้สามารถผลิตข้าวในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น เทคโนโลยีการเกษตร: รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในระดับที่สูงกว่าไทย (เฉลี่ยประมาณ 970 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ไทยประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่) ความยืดหยุ่นในการทำการค้า: เวียดนามมีความสามารถในการเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ซึ่งช่วยลดอุปสรรคทางภาษีและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การขยายตลาดใหม่: เวียดนามเน้นการขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังประเทศในแอฟริกา, จีน, และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความต้องการข้าวราคาประหยัดและข้าวที่มีคุณภาพหลากหลาย   ความต่างของการส่งออกข้าวระหว่างไทยกับเวียดนาม เวียดนามส่งออกข้าวเกรดรองในปริมาณมาก ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่าและเป็นที่ต้องการของตลาดประเทศกำลังพัฒนา เช่น แอฟริกาและเอเชียใต้ ในขณะที่ไทยมุ่งเน้นการส่งออกข้าวหอมมะลิและข้าวเกรดพรีเมียมที่มีราคาสูง ทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดข้าวทั่วไปให้กับเวียดนาม   ปี ไทย(ล้านตัน) เวียดนาม(ล้านตัน) 2019 7.6 6.4 2020 5.7 6.2 2021 6.1 6.2 2022 7.7 7.1 2023 8.7 8.1 จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2563-2566 ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้มากกว่าไทย . แม้ไทยจะถูกหลายชาติแซงหน้าด้วยกำลังการผลิตที่สูงกว่า อีกทั้งปัญหาของการส่งออกข้าวไทย สาเหตุสำคัญคือ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง ค่าเงินบาทแข็ง พันธุ์ข้าวไทยไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สร้างผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยมูลค่านับหมื่นล้านบาท . ขณะที่ตลาดสำคัญของข้าวหอมมะลิยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า หลังจากนี้ตลาดจะกลับเข้าสู่ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากอินเดียได้ยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออก ทั้งการยกเลิกภาษีส่งออกและการกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกของอินเดียสามารถส่งออกได้โดยไม่มีข้อจำกัด ประกอบกับอินเดียยังมีอุปทานข้าวปริมาณมากและราคาค่อนข้างต่ำ . อีกทั้งการส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน กลายเป็นนโยบายหลักที่แต่ละชาติให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของข้าวให้เป็นที่นิยมและครองส่วนแบ่งการตลาดให้ได้มากที่สุดแล้ว ยังได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ที่จะลดการสร้างมลภาวะจากเกษตรกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยไทยเล็งไปที่การพัฒนาคุณภาพและส่งออกข้าวเกรดพรีเมียมราคาสูงมากขึ้นนั้นเอง . ที่มา เว็ปไซต์: fftc.org,กระทรวงพาณิชย์,statista

พามาเบิ่ง ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย? อ่านเพิ่มเติม »

ข้อมูลน่าฮู้ 🇹🇭อีสาน กับ 🇨🇳จีน

สิพามาเบิ่ง ข้อมูลน่าฮู้ของอิสาน กับ จีน   . ภาคอีสานของไทย และประเทศจีนแม้ว่าจะเปรียบเทียบกันได้ยากในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร รวมถึงทรัพยากรที่ต่างกันมาก แต่ด้วยประวัติศาสตร์ การย้ายถิ่นฐานของประชากร และการค้าที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนาน จึงทำให้ภาคอีสานส่วนหนึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากจีนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของอีสานยังคงต้องพึ่งพาจีนเป็นหลัก เนื่องจากการเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งนำมาสู่โอกาสมากมายที่นำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ภาคอีสานรวมถึงประเทศไทยจำเป็นต้องมองเห็นความสำคัญ   . ➤ด้านเศรษฐกิจ ภาคอีสาน: เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมมีรายได้จากการปลูกข้าว ข้าวโพด อ้อย และยางพารา มี GRP อยู่ที่ 1.76 ล้านล้านบาท โดยที่มีค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2567 อยู่ที่ 343 บาทต่อวันและมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 95,948 บาทต่อปี นอกจากนี้อิสานยังมีประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักคือ ลาว, จีน และเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของภาคอิสานที่ต้องการจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศในแถบ GMS นี้ โดยในปัจจุบัน การนำเข้าสินค้าฝั่งอีสานมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้นเป็นอันดับที่ 1 แซงหน้าลาวที่เคยเป็นประเทศที่เรานำเข้าสินค้ามากที่สุดในครั้งอดีต ซึงเกิดขึ้นจากรถไฟลาวจีน ที่เป็นทางเชื่อมสำคัญในการลำเลียงสินค้าทั้งจากจีนมาไทย และจากไทยไปยังจีน   จีน : เป็นประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้ามากที่สุดในโลก โดยมีสินค้าสำคัญอย่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงยานยนต์และส่วนประกอบ ที่เป็นสินค้าที่มูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้จีนยังคงมีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ควรเฝ้าระวังหลายด้าน เช่น ผลกระทบจากนโยบายทางการค้า เงินฝืด และราคาที่พุ่งสูงของอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งรายได้เฉลี่ยต่อประชากรที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของ GDP เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ทำให้การกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ชนบทยังทำได้ไม่ทั่วถึงมากนัก    . ➤ด้านภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน: ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 20 จังหวัด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาภูพานและภูหลวงเป็นแนวแบ่งเขตทางทิศตะวันตก แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล  จีน: เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 – 4  ของโลก และมีพรมแดนติดกับประเทศอื่นๆมากถึง 14 ประเทศ ทำให้มีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยมีแม่น้ำสายหลักอยู่ 2 เส้นคือแม่น้ำหวงและแม่น้ำแยงซี ปัญหาด้านภูมิศาสตร์ที่พบคือ ปัญหาการขยายตัวของทะเลทราย    . ➤ด้านประชากร ภาคอีสาน: มีประชากรประมาณ 21.7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยลาว พูดภาษาไทยอีสาน จีน: มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้มีความหลากหลายของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่    . ➤ด้านวัฒนธรรม ภาคอีสาน: ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ขอม

ข้อมูลน่าฮู้ 🇹🇭อีสาน กับ 🇨🇳จีน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง⭐ดาวรุ่ง ดาวร่วง ภาคอีสานปี 2024

ธุรกิจในภาคอีสานปี 2567 มีแนวโน้มทรงตัวแต่เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น จากจำนวนธุรกิจที่ปิดตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราการเกิดใหม่ของธุรกิจยังคงต่ำกว่าปีก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนการจดทะเบียนใหม่หรือการเลิกกิจการมากกว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ เนื่องจากการเริ่มต้นของธุรกิจขนาดเล็กทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ทำให้การเลิกกิจการเกิดขึ้นได้ง่ายเช่นเดียวกัน   ดาวรุ่งในภาคอีสานปี 2024 การผลิตสิ่งทอ การผลิตสินค้าในกลุ่มสิ่งทอประเภทของใช้ภายในครัวเรือนนั้นได้รับปัจจัยบวกจาก งานฝีมือในการทำผ้าไทยที่สะท้อนเอกลักษณ์และคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างโดดเด่น ควบคู่ไปกับการยกระดับงานฝีมือให้ทันยุคสมัย การบริการด้านข้อมูลและเทคโนโลยี การขายสินค้าและเป็นตลาดกลางผ่านอินเทอร์เน็ตและแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียเติบโตขึ้น สะท้อนถึงเทรนด์พฤติกรรมการบริโภคที่คนคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์ ด้านการกีฬา ความบันเทิงและนันทนาการ กระแสการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายที่มาแรงในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนหันมาสนใจในการใส่ใจดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโตขึ้น นอกจากนี้การพักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิงในด้านต่างๆก็ยังได้รับผลดีตามไปด้วย การผลิตสื่อผ่านช่องทางออนไลน์ และโฆษณา ผู้คนหลายช่วงวัยหันมาให้ความสนใจในการดูสื่อบันเทิงผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยูทูบเบอร์และผู้ผลิตคอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ กลายเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง แต่การแข่งขันก็สูงตามเช่นกัน การสร้างสรรค์ศิลปะและความบันเทิง งานเทศกาลที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคอีสาน ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจในกลุ่มการให้บันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต หมอลำ หรือรถแห่ ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้ได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง   ดาวร่วงในภาคอีสานปี 2024 การผลิตเครื่องจักรและเครื่องมือ การผลิตผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด สาเหตุของดาวร่วงในลำดับ 1 – 2 เนื่องจาก สินค้าในกลุ่มธุรกิจนี้ได้รับความท้าทายจากการนำเข้าของสินค้าจีนที่มีต้นทุนและราคาขายถูกกว่า ทำให้การแข่งขันของตลาดภายในประเทศนั้นสูงขึ้น อีกทั้งการส่งออกไปยังต่างประเทศในอนาคต เช่น สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกหลัก ได้รับผลกระทบจาก Trump 2.0 ที่จะทำให้การส่งออกเป็นไปได้ยากขึ้น การผลิตผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างได้รับผลกระทบจากในช่วงต้นปีที่ภาครัฐมีการเบิกจ่ายล่าช้า และเริ่มมีการเร่งเบิกจ่ายในช่วงสิ้นปี  สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มบ้านราคาสูงมีการเติบโตที่ชัดเจน ในขณะที่ตลาดอาคารชุดยังคงเหลือขายอยู่ในระดับสูง สถาบันกวดวิชา พฤติกรรมการเรียนพิเศษของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากทางเลือกที่หลากหลายขึ้น โดยการซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ และวิธีอื่นๆ ซึ่งทั้งสะดวกสบายและยืดหยุ่นกว่าการเดินทางไปเรียนที่สถานที่จริง กิจกรรมด้านคอมพิวเตอร์บางประเภท ตลาดการจัดทำเว็บเพจ หรือโปรแกรมต่างๆในภาคอีสานเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ปัจจุบันผู้คนสามารถทำเองได้ง่ายขึ้น ลดการจ้างทำ และในธุรกิจบางประเภทได้เปลี่ยนจากการทำเว็บเพจเป็นการทำเพจในโซเชียลมีเดียที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าแทน   ดาวที่น่าจับตามอง การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ และก่อให้เกิดการทะลักของสินค้าจีนราคาถูกเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันภายในประเทศที่รุนแรงยิ่งขึ้น คลังสินค้า และกิจกรรมสนับสนุนการขนส่ง ไปรษณีย์และการรับส่งเอกสาร/สิ่งของ สาเหตุที่ต้องระวังในลำดับที่ 2 – 3 เนื่องจาก การแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการขยายตัวของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ครอบคลุมการขนส่งแบบต่อเนื่องทุกประเภท นอกจากนี้ ธุรกิจยังเผชิญกับปัจจัยท้าทาย เช่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนขนส่ง และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพระบบขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกดดันต่อความสามารถในการทำกำไร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมักเผชิญข้อจำกัดในด้านเงินทุน ขอบเขตการให้บริการ ระบบการจัดการเทคโนโลยี และเครือข่ายพันธมิตร ส่งผลให้การแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น   หมายเหตุ: การวิเคราะห์ดาวรุ่ง ดาวร่วงของธุรกิจในภาคอีสาน คิดจากร้อยละการเปลี่ยนแปลงของจำนวนการจดทะเบียนใหม่ จำนวนการเลิกกิจการ และทุนจดทะเบียนโดยเปรียบเทียบภายในปีพ.ศ. 2567 กับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า รวมถึงวิเคราะห์ประกอบกับปัจจัยภายนอกที่สามารถส่งผลต่อธุรกิจในกลุ่มนั้นๆ   อ้างอิงจาก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ไตรมาส 4/2567 โดย ISAN Insight & Outlook, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, ศูนย์วิจัยกรุงศรี

พามาเบิ่ง⭐ดาวรุ่ง ดาวร่วง ภาคอีสานปี 2024 อ่านเพิ่มเติม »

สถิติสายดื่ม ในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง

ฮู้บ่ว่า ประเทศลาวเป็นอันดับหนึ่ง ด้านปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหนึ่งคนจะมีปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ที่ 10.7 ลิตรต่อปี ประเทศ รวม  ผู้ชาย ผู้หญิง บริษัทเจ้าใหญ่ในตลาด ลาว 10.7 17.1 4.6 คาร์ลสเบิร์ก เอ/เอส (ส่วนแบ่งการตลาด 84%) เวียดนาม 8.7 14.1 3.5 ไฮเนเก้น เอ็นวี (ส่วนแบ่งการตลาด 42%) ไทย 8.3 13.4 3.5 ไทยเบฟเวอเรจ (ส่วนแบ่งการตลาด 45%) จีน 7.1 10.9 3 ไชน่ารีซอร์ส โฮลดิ้งส์ (ส่วนแบ่งการตลาด 22%) กัมพูชา 6.6 10.9 2.7 เขมรเบฟเวอเรจ (ส่วนแบ่งการตลาด 40%) เมียนมา 5.1 8.4 2 ไฮเนเก้น เอ็นวี (ส่วนแบ่งการตลาด 39%)    *หน่วยลิตร/ คน/ ปี . การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยผสมผสานอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ทำให้ในปัจจุบันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพื้นที่นั้นๆ ที่ผ่านการพัฒนาและปรับปรุงไปตามยุคสมัย ซึ่งเอกลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ในปัจจุบัน เราได้พบเห็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าในอดีต    แต่การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปย่อมส่งผลเสียมากมาย ไม่ว่าจะด้านปัญหาสุขภาพ อัตราการเกิดอุบัติเหตุที่เพิ่มขึ้น รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนในสังคมที่ลดลง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มาตรการควบคุมที่ชัดเจนและครอบคลุมมากเพียงพอ   . วัฒนธรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีวัฒนธรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีพรมแดนใกล้กัน มีสภาพภูมิศาสตร์และผลผลิตทางการเกษตรที่คล้ายกัน อีกทั้งยังมีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และการค้าร่วมกันมาตั้งแต่อดีต ทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์พื้นเมืองของแต่ละประเทศในแถบนี้มีความคล้ายคลึงกัน โดยส่วนมากมักจะเป็น เครื่องดื่มที่ได้จากการหมักข้าว ซึ่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่และภาษาที่ใช้ แต่ความนิยมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งในปัจจุบันผู้คนในแถบนี้ก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกมากขึ้น ทำให้เริ่มหันมาบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์มากขึ้นแทนที่เครื่องดื่มพื้นเมืองที่ค่อยๆ ลดลงไป   . 🇱🇦ลาว  เป็นประเทศที่มีปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อคนใน 1 ปีมากที่สุดใน GMS โดยนิยมดื่มเบียร์มากที่สุด ตามมาด้วย เหล้าขาวและเหล้าสาโท ที่ได้จากการหมักข้าว และในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของลาวมีเจ้าใหญ่อยู่หนึ่งเจ้า ที่ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 84% ทำให้ลาวเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีแนวโน้มของการผูกขาดในตลาดสูงเป็นอันดับแรกใน GMS ด้วยเช่นกัน   . 🇹🇭ไทย  ประเทศไทยของเราเองก็มีปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อคนต่อปีสูงด้วยเช่นกัน โดยนับเป็นอันดับ 3 ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีเบียร์และเหล้ารัมเป็นอันดับต้นๆในด้านความนิยมจากคนไทย นอกจากนี้ไทยยังนิยมเครื่องดื่มพื้นเมืองอย่าง เหล้าที่ได้จากการหมักข้าวด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในภาคอีสานที่เป็นแหล่งเพาะปลูกหลักของประเทศ และในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยมีเจ้าใหญ่อยู่ด้วยกัน 2 เจ้าคือ ไทยเบฟเวอเรจและ บุญรอดบริวเวอรี่ ที่สองบริษัทนี้มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงถึง 86%  

สถิติสายดื่ม ในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง อ่านเพิ่มเติม »

ไทยหนึ่งในสามประเทศขุมพลังการผลิต Casio ทั่วโลก

1 ใน 8 โรงงานผลิต Casio ทั่วโลกตั้งอยู่ที่โคราช หนึ่งในฐานการผลิตและส่งออกสินค้าที่สำคัญทั้งนาฬิกา เครื่องคิดเลข ย้อนกลับไปในปี 1946 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นาย Tadao Kashio (ทาดาโอะ คาชิโอะ) วิศวกรชาวญี่ปุ่น ได้ก่อตั้งบริษัท คาสิโอ คอมพิวเตอร์ จำกัด โดยเริ่มต้นจากการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์คีบบุหรี่ที่ชื่อว่า Yubiwa Pipe ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคนั้น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับสภาวะความเครียดหลังสงคราม ผู้คนจำนวนมากจึงหันมาสูบบุหรี่เพื่อผ่อนคลาย ต่อมาในปี 1949 ทาดาโอะ คาชิโอะ ร่วมกับน้องชายของเขาได้คิดค้นและพัฒนา เครื่องคิดเลข จนกระทั่งในปี 1957 พวกเขาเปิดตัว Casio 14-A ซึ่งเป็นเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ที่มีฟังก์ชันหน่วยความจำเครื่องแรกของโลก ความสำเร็จนี้ทำให้ชื่อเสียงของ Casio แพร่หลายไปทั่วโลก ในปี 1974 ทาดาโอะ คาชิโอะ เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมนาฬิกาข้อมือ ซึ่งในขณะนั้นกำลังเผชิญกับวิกฤต Quartz Crisis หรือ วิกฤตนาฬิกากลไกแบบใส่ถ่าน ทาดาโอะจึงตัดสินใจบุกตลาดด้วยการเปิดตัว Casiotron นาฬิกาดิจิทัลระบบควอตซ์รุ่นแรกที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี LCI Quartz ของเครื่องคิดเลข จุดเด่นของ Casiotron คือการเป็นนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีราคาย่อมเยา และมาพร้อมฟังก์ชัน ปฏิทินอัตโนมัติแบบดิจิทัล ที่ไม่จำเป็นต้องรีเซ็ตปฏิทินอีกเลย ความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ Casio กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนาฬิกา และปูทางสู่การสร้างสรรค์นาฬิการุ่นใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งานและเทคโนโลยีในอนาคต สินค้าภายใต้แบรนด์ Casio ได้รับการส่งมอบไปยังลูกค้าทั่วโลก โดยมีการขยายเครือข่ายไปยังหลากหลายประเทศ ฐานการผลิตหลักตั้งอยู่ในญี่ปุ่น จีน และไทย พร้อมด้วยการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงกระบวนการประกอบเสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน และสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ Casio ยังมีระบบจัดหาวัสดุและพันธมิตรทางธุรกิจที่ครอบคลุมหลากหลายประเทศ ส่งผลให้เกิดเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานในระดับโลก นอกจากนี้ Casio ยังถือครองสิทธิบัตรทางการค้ามากถึง 1,427 ฉบับใน 192 ประเทศ เพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ Casio ในปี 2566 สินค้าหลักของ Casio ที่วางจำหน่ายทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจนาฬิกา คิดเป็นสัดส่วน 59.7% ของรายได้ทั้งหมด โดยสินค้าหลักคือ นาฬิกาที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยและดีไซน์ที่ทันสมัย ธุรกิจเพื่อการศึกษา คิดเป็นสัดส่วน 22.7% ของรายได้ทั้งหมด สินค้าในกลุ่มนี้เน้นตอบโจทย์ด้านการศึกษา เช่น พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง และเครื่องคิดเลขทางการเงิน ธุรกิจด้านเสียง คิดเป็นสัดส่วน 10.0% ของรายได้ทั้งหมด โดยสินค้าหลัก เช่น คีย์บอร์ดไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ธุรกิจอุปกรณ์ระบบ คิดเป็นสัดส่วน 5.6%

ไทยหนึ่งในสามประเทศขุมพลังการผลิต Casio ทั่วโลก อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top