Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พามาเบิ่ง BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา

พามาเบิ่ง BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา   นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์    นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย บริการอื่นที่จำเป็น เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น    ในด้านภาคอีสาน มีจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ความพร้อมของแรงงาน และพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว . ดังนั้นแล้ว ภาคอีสานจึงมีความสำคัญในฐานะที่มีความหลากหลายของทรัพยากรและเป็นที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในภาคอีสาน และนิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน คือ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี   การพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG Economy Model นี้ จะเห็นได้ว่ามีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานและประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน มีการพัฒนาโดยอาศัยจุดแข็งของภาคอีสานในด้านต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น และดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว  ซึ่งพบว่าภาคอีสานมีความเหมาะสมต่อรูปแบบการพัฒนานี้เป็นอย่างมาก และจะช่วยให้อีสานเป็นภูมิภาคที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย   อ้างอิงจาก:  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BCGModel #นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี #นิคมกรีนอุดร #นิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน

พามาเบิ่ง BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่มีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลายคักกว่าหมู่

ช่วงนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้น วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคอีสานว่าเป็นอย่างไร? ในปี 2564 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง 6,690,015 พันลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 16.8% ของการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดในประเทศ ลดลงจากปีก่อนหน้า -2.3% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมาสู่ระดับรุนแรงในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ภาครัฐจึงมีมาตรการจำกัดการเดินทางและปิดสถานประกอบการบางประเภทในช่วงกลางปี ส่งผลให้การใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง โดย 3 อันดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่นิยมใช้สูงสุด 1. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7 ปริมาณการใช้ 3,015,338 พันลิตร 2. น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ปริมาณการใช้ 1,231,051 พันลิตร 3. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ปริมาณการใช้ 766,548 พันลิตร แนวโน้มการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากนี้ การใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากราคาตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซีย – ยูเครน โดยการใช้น้ำมันคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 12.9% จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดส่งผลให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่การใช้ก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะลดลง -9.5% เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง . ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จึงมีการใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า เพื่อทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยรัฐบาลได้มีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเหลือศูนย์จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ อ้างอิงจาก: – สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน – สำนักงานสถิติแห่งชาติ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง #การใช้น้ำมัน #น้ำมัน #ดีเซล #แก๊สโซฮอล์95

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่มีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลายคักกว่าหมู่ อ่านเพิ่มเติม »

2 ธุรกิจไวน์อีสาน สินค้า GI ที่เป็นเอกลักษณ์

2 ธุรกิจไวน์อีสาน  สินค้า GI ที่เป็นเอกลักษณ์  GI หรือ Geographical indication เป็นเครื่องหมายรับรองสินค้า ว่าพิเศษเป็นเอกลักษณ์จากแหล่งผลิตในท้องถิ่น ที่แหล่งผลิตอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ ปัจจุบันสินค้าที่ผ่านมาตรฐาน GI ไทย มีมากกว่า 170 รายการ แบ่งเป็นข้าว ผัก/ผลไม้ อาหาร ผ้า (ไหม/ฝ้าย) และหัตถกรรม/อุตสาหกรรม อ้างอิงจาก : กรมทรัพย์สินทางปัญญา https://travelintrend.com/marketing/khao-yai-wine.html http://www.ipthailand.go.th/images/2284/GI61100113.pdf http://new.research.doae.go.th/…/%E0%B8%AA%E0%B8… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจอีสาน #สินค้าGI #ไวน์อีสาน #ไวน์เขาใหญ่ #ไวน์ที่ราบสูงภูเรือ #สินค้าGI

2 ธุรกิจไวน์อีสาน สินค้า GI ที่เป็นเอกลักษณ์ อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง เกษตรกรรมในภาคอีสาน

ภาคการเกษตรนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศ แต่กำลังเผชิญกับปัญหาผลิตภาพการผลิตของแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำและเพิ่มขึ้นในอัตราท่ีช้า เมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่น ISAN Insight & Outlook วันนี้จะพามาดูเกษตรกรรมในภาคอีสานว่าเป็นอย่างไร? ภาคอีสานมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 3,503,763 ครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วน 47.6% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งจำนวนครัวเรือนเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เพียง 0.8% และ GRP ภาคเกษตรกรรม อยู่ที่ 311,615 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.6% ของ GRP ทั้งหมดในภาคอีสาน ซึ่งลดลง -0.3% จากปี 2562 โดย 5 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรสูงสุด 1 นครราชสีมา 324,968 ครัวเรือน 2 อุบลราชธานี 324,801 ครัวเรือน 3 ศรีสะเกษ 251,498 ครัวเรือน 4 ขอนแก่น 248,717 ครัวเรือน 5 ร้อยเอ็ด 240,605 ครัวเรือน 5 อันดับผลผลิตสูงสุดทางการเกษตรของภาคอีสาน 1 อ้อย 38.5 ล้านตัน 2 มันสำปะหลัง 19.9 ล้านตัน 3 ข้าวนาปี 12.9 ล้านตัน 4 ยางพารา 1.3 ล้านตัน 5 ข้าวนาปรัง 1.1 ล้านตัน จะเห็นได้ว่า อ้อยเป็นผลผลิตสูงสุดของภาคอีสาน เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกจากปริมาณน้ำฝนท่ีเพิ่มข้ึน ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นด้วยการประกันราคารับซื้ออ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูก นอกจากน้ี มาตรการส่งเสริมของภาครัฐท่ีให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตัดอ้อยสด ทำให้ ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยเพื่อส่งมอบให้แก่โรงงาน รองรับความต้องการบริโภคน้ำตาลท่ีคาดว่าจะฟื้นตัวดีข้ึนหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย อ้างอิงจาก: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx https://www.oae.go.th/…/ebook…/68_yearbookedited2564/… https://www.oae.go.th/…/trendstat2565-Final-Download.pdf https://esd.kps.ku.ac.th/kuk…/docs_general/3_spec_oral.pdf #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เกษตรกรรมในภาคอีสาน #เกษตรกรรม #ภาคเกษตร #ผลผลิต #GRP #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #ศรีสะเกษ #ขอนแก่น #ร้อยเอ็ด

พาส่องเบิ่ง เกษตรกรรมในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนห้องพักแต่ละจังหวัด ในปี 2563

พามาเบิ่ง  จำนวนห้องพักแต่ละจังหวัด ในปี 2563    แนวโน้มและปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมในระยะถัดไป แนวโน้มธุรกิจหลังจากนี้ คาดว่า การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมในปี 2565 มีแนวโน้มเริ่มฟื้นตัวได้มากขึ้นแต่ยังต้องพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวไทยเป็นหลัก   จำนวนผู้เข้าพักและอัตราการเข้าพักมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวไทยมีความมั่นใจในการเดินทางมากขึ้น แต่กำลังซื้อที่ลดลงกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทยเลือกเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง หรือจังหวัดเมืองรองเพื่อลดค่าใช้จ่าย  ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเร่งตัวจาก Pent-up demand ของการท่องเที่ยวแต่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวให้กลับไปเท่าช่วงก่อนโควิด เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มหลัก อย่างจีนยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้ ราคาที่พักโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ธุรกิจโรงแรมใช้กลยุทธ์ด้านราคาในการแข่งขัน มีการจัดโปรโมชั่น และกำหนดราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน อย่างไรก็ดีปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบ คือ ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคบริการ อาจทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางลงมาขาดสภาพคล่อง ส่งผลต่อการอยู่รอดของธุรกิจ ด้านนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อบางส่วนเริ่มเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากกว่าการท่องเที่ยวในประเทศ มีภาวะห้องพักล้นตลาด มีการแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจโรงแรมจากการลดราคาห้องพักของโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว รวมถึงการแข่งขันจากโรงแรมที่เคยปิดบริการชั่วคราวที่เริ่มกลับมาให้บริการมากขึ้น   อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติแห่งชาติ http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/economics/Tourism%20and%20Sports/2020/fullreport.pdf https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2022/01/IN_hotel_inter_12_64_ppt.pdf  https://www.bangkokbiznews.com/business/1019343    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #จำนวนห้องพัก #เข้าพักโรงแรม

พามาเบิ่ง จำนวนห้องพักแต่ละจังหวัด ในปี 2563 อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ ในรอบปี 2564

ในปี 2564 โรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการในภาคอีสานมีจำนวน 86 โรงงาน คิดเป็นสัดส่วน 12.3% ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการทั้งหมดในประเทศไทย และมีมูลค่ารวมกันกว่า 11,158 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.5% ของมูลค่าโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการทั้งหมดในประเทศไทย การแพร่ระบายของ COVID-19 รอบ 2 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักหน่วง โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากไม่สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้ หลายโรงต้องลดกำลังการผลิต บางแห่งต้องใช้วิธีควบรวมยุบย้ายโรงงาน โดยกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่ปิดกิจการไปส่วนใหญ่ คือ ผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบเพื่อส่งต่อให้กับธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และโรงแรมในประเทศ ซึ่งตลาดนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ไม่มีการเดินทางท่องเที่ยว กระทบต่อโรงงานกลุ่มนี้มีสัดส่วน 50-70% ของทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งในรายที่ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องหยุดไป ส่วนที่ปรับตัวได้จะหันไปขายผ่านช่องทางออนไลน์และผลิตเพื่อขายเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ขณะที่โรงงานที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกบางรายได้รับผลกระทบจากเดิมอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมานานแล้วและมาเผชิญกับ COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหาร มีทั้งวิกฤตและโอกาส อย่างกลุ่มอาหารสุขภาพและอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตมากถึง 20% เพราะคนหันมาใส่ใจด้านสุขภาพ การทำงานที่บ้านมีการซื้อวัตถุดิบจากซุปเปอร์มาร์เก็ตไปปรุงเองและอยู่บ้านเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงไปได้ดีและมีราคาสูงด้วย แนวโน้มและปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในระยะถัดไป แนวโน้มธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่าขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนในเกือบทุกภาคธุรกิจ ตามความเช่ือมั่นท่ีปรับดีข้ึนจากมาตรการเปิดเมือง และการ ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น โดยภาคการผลิต ขยายตัวตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ยังมีต่อเนื่อง การจับจ่ายใช้สอยและกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่ทยอยปรับดีขึ้น ท้ังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาสินค้าที่ปรับตัว สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาคธุรกิจท่ีต้องติดตามในระยะต่อไป อ้างอิงจาก: https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/ https://www.oie.go.th/…/Industry%20conditions/Q2-2565.pdf https://www.bot.or.th/…/EconomicCondi…/BLP/BLPTH22Q2.pdf https://www.prachachat.net/economy/news-606851 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ #โรงงานอุตสาหกรรม #เลิกกิจการ #นครราชสีมา #ร้อยเอ็ด #อุบลราชธานี #มุกดาหาร #หนองคาย #เลย #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #กาฬสินธุ์ #ยโสธร

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ ในรอบปี 2564 อ่านเพิ่มเติม »

พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน มีพันธุ์อะไรบ้าง ? 

พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน มีพันธุ์อะไรบ้าง ?    แนวโน้มและโอกาสด้านอุตสาหกรรมข้าว ในปี 2565-2567  มุมมองจากศูนย์วิจัยกรุงศรี ผลผลิตข้าวของไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากแนวโน้มสภาพอากาศ ปริมาณฝน และน้ำในเขื่อนที่คาดว่าจะเอื้ออำนวย ประกอบกับมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐโดยเฉพาะโครงการประกันรายได้ที่น่าจะมีต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่และเพิ่มรอบการเพาะปลูก  อีกทั้งความต้องการบริโภคข้าวในประเทศมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม และอุตสาหกรรมการผลิตอาหารต่อเนื่อง ด้านการส่งออกคาดว่าจะกลับมาขยายตัวตามกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว ประกอบกับราคาข้าวของไทยคาดว่าจะปรับลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น   อ้างอิงจาก: กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.thairicedb.com/rice.php https://www.thairicedb.com/rice.php?cid=1  http://thairiceresearchjournal.ricethailand.go.th/images/PDF/11_1_63/02.pdf  https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=3&chap=1&page=t3-1-infodetail07.html  https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/rice/io/io-rice-2022    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์ข้าวภาคอีสาน #ข้าวอีสาน #มหาสารคาม #ร้อยเอ็ด #ยโสธร  #ศรีสะเกษ #สุรินทร์ #สกลนคร #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #นครราชสีมา #บุรีรัมย์ #ขอนแก่น #หนองคาย

พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน มีพันธุ์อะไรบ้าง ?  อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง 7 จังหวัดในภาคอีสานที่มีมูลค่าการลงทุนสะสม เพื่อสร้างโรงงานหลายกว่าหมู่

ในปี 2564 มูลค่าการลงทุนสะสมในภาคอีสานมีจำนวน 637,134 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2.1% และมีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจำนวน 8,919 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.9% 7 จังหวัดที่มูลค่าการลงทุนสะสมมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีมูลค่า 201,354 ล้านบาท อันดับที่ 2 ขอนแก่น มีมูลค่า 104,376 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุบลราชธานี มีมูลค่า 56,062 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุดรธานี มีมูลค่า 38,157 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีมูลค่า 32,330 ล้านบาท อันดับที่ 6 ชัยภูมิ มีมูลค่า 25,444 ล้านบาท อันดับที่ 7 สุรินทร์ มีมูลค่า 22,462 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า จังหวัดนครราชสีมามีมูลค่าการลงทุนสะสมเพื่อสร้างโรงงานมากที่สุดในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีกำลังซื้อสูง และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งในหลายทำเลก็กำลังมีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการขยายตัวของเมืองไปยังหัวเมืองต่างๆ อีกทั้งยังมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในจังหวัดเองและการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค จึงทำให้นักลงทุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุน โดยปัจจุบันเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นเงินจำนวนมาก แนวโน้มการลงทุนในภาคอีสาน ความกังวลต่อ COVID-19 ที่น้อยลงทำให้การลงทุนในภาคอีสานปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงเน้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมเป็นหลัก และจากปัจจัยกดดันทั้งด้านต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ทำให้แนวโน้มการลงทุนภาคอีสานชะลอตัวลง การลงทุนในภาคอีสานมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีการขยายตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสินค้าในประเทศคู่ค้าที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างยังคงทรงตัว และมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในภาคอีสาน ยังเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเดิม ที่มีศักยภาพเป็นหลัก ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหาร อ้างอิงจาก: https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/ https://baanbaan.co/story/โคราชดียังไง-ทำไมถึงน่าอยู่/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มูลค่าการลงทุนสะสม #โรงงานอุตสาหกรรม #นครราชสีมา #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #อุดรธานี #บุรีรัมย์ #ชัยภูมิ #สุรินทร์ #โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ

พาซอมเบิ่ง 7 จังหวัดในภาคอีสานที่มีมูลค่าการลงทุนสะสม เพื่อสร้างโรงงานหลายกว่าหมู่ อ่านเพิ่มเติม »

Big 4 of ISAN จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน 

Big 4 of ISAN  จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน    แนวโน้มในอนาคต เนื่องจากภาคอีสานเริ่มมีแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจหลากหลายโครงการ ถ้ามีการเตรียมความพร้อมที่ดี​ จะเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ​ และมีเศรษฐกิจที่มั่นคง​ เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติ​ ทรัพยากรมนุษย์​ และยังเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอินโดจีน​ ที่มีการคมนาคมเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์​    อ้างอิงจาก: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ  https://www.jangwat.com/northeast/136/ http://www.ubondopa.com/default.aspx  http://www.2014.udonthani.go.th/pdf/udonthani.pdf https://www2.nakhonratchasima.go.th/content/general  http://www.kkpao.go.th/kkpao/uploads/editor/5551be13a81ff.pdf  https://www.koratdaily.com/blog.php?id=13789 

Big 4 of ISAN จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน  อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

ในเดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 106,622 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12.6% ของการค้าชายแดนทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 69,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า 19.8% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 37,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.3% 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว หนองคาย => มูลค่าการส่งออก 36,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% มุกดาหาร => มูลค่าการส่งออก 17,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% อุบลราชธานี => มูลค่าการส่งออก 8,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.2% เลย => มูลค่าการส่งออก 1,830 ล้านบาท ลดลง -25.3% นครพนม => มูลค่าการส่งออก 3,888 ล้านบาท ลดลง -16.4% บึงกาฬ => มูลค่าการส่งออก 1,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.2% จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว

พาส่องเบิ่ง 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top