Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พามาเบิ่ง🧐โฉนดที่ดินในอําเมืองคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของทั้งจังหวัดในอีสาน⛳️

โฉนดที่ดิน ถือเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหนึ่ง ที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน จะใช้เอกสารดังกล่าว ในการแสดงความเป็นเจ้าของ และใช้ในการประกอบธุรกรรมด้านต่างๆ เช่น ซื้อ ขาย จำนอง เป็นต้น  . ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานจากข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า จังหวัดนครราชสีมาเเละขอนเเก่นเป็นจังหวัดที่มีโฉนดที่ดินมากที่สุดในประเทศเป็นอันดับที่ 2  เเละ  3 เป็นรองเพียงกรุงเทพมหานคร โดยมีปริมาณเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินอยู่ที่1,566,201 เเปลงเเละ 1,166,513  เเปลง ตามลําดับ ส่วนกรุงเทพมหานครมากสุดในประเทศอยู่ที่ 2,182,095 เเปลง จากทั้งหมด 37,272,607 เเปลง  . หากมองไปที่ปริมาณเอกสารสิทธิรายสํานักงาน เเสดงรายอําเภอ การจดทะเบียนสิทธิเเละนิติกรรมที่สํานักงานที่ดินซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ จะพบว่าในภาคอีสานหากคิดเป็นร้อยละของอําเภอเมืองเทียบกับทั้งตัวจังหวัด อําเภอเมืองมุกดาหารมีปริมาณเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินคิดเป็นถึงร้อยละ  40.54 ของทั้งจังหวัด อาจเป็นสิ่งที่เป็นนัยได้ว่าที่ดินที่ประชาชนถือครองใช้ประโยชน์อยู่นั้นกรรมสิทธ์ความเป็นเจ้าของในที่ดินเกือบครึ่งหนึ่งยังอยู่เเค่ตัวอําเภอเมือง รองลงมาคือหนองบัวลําภูเเละหนองคายที่ 38.99 เเละ 36.28  ตามลําดับ หากคิดรวมทั้งภูมิภาคโฉนดที่ดินในอําเภอเมืองคิดเป็นร้อยละ 21.52 จากทังหมด . การเปลี่ยนแปลงในด้านการถือครองและการจัดการโฉนดที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวของเขตเมือง และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การสิ่งเเวดล้อม การสํารวจดูการเปลี่ยนเเปลงเอกสารสิทธิในที่ดิน โดยเฉพาะโฉนดที่ดินจึงมีประโยชน์เเก่ผู้ที่สนใจเเละสามารถนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์วางเเผนด้านต่างๆ . ที่มา : กรมที่ดิน . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ที่ดิน#โฉนด#โฉนดที่ดิน

พามาเบิ่ง🧐โฉนดที่ดินในอําเมืองคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของทั้งจังหวัดในอีสาน⛳️ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง👨‍👩‍👧‍👦กราฟพีระมิด ‘ประชากรอีสาน’ ต้อนรับ Gen BETA👶

เกิดใหม่น้อย! อีสานเตรียมรับมือโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่อาจจะเปลี่ยนไป . ฮู้บ่ว่า❓Gen Alpha ไม่ใช่คำใหม่อีกต่อไป เมื่อเด็กที่เกิดปี 2568 – 2582 จะกลายเป็น Gen Beta ยุคที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ผสมผสานเข้ากับชีวิตโดยสมบูรณ์ ขณะที่เด็กในอีสานเกิดน้อยลงในทุกๆ ปี หน้าตาของโครงสร้างของประชากรจะเปลี่ยนไปอย่างไร และผลกระทบจะมากแค่ไหน . ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง👨‍👩‍👧‍👦กราฟพีระมิด ‘ประชากรอีสาน’ ต้อนรับ Gen BETA👶 ▶️อายุ 0 – 4 ปี ♂️417,495♀️394,812 รวม 812,307 คน ▶️อายุ 5 – 9 ปี ♂️548,243♀️519,923 รวม 1,068,166 คน ▶️อายุ 10 – 14 ปี ♂️655,239♀️620,054 รวม 1,275,293 คน ▶️อายุ 15 -19 ปี ♂️679,876♀️642,546 รวม 1,322,422 คน ▶️อายุ 20 – 24 ปี ♂️671,492♀️661,126 รวม 1,332,618 คน ▶️อายุ 25 – 29 ปี ♂️802,509♀️760,277 รวม 1,562,786 คน ▶️อายุ 30 – 34 ปี ♂️805,263♀️758,027 รวม 1,563,290 คน ▶️อายุ 35 – 39 ปี ♂️746,860♀️711,132 รวม 1,457,992 คน ▶️อายุ 40 – 44 ปี ♂️822,741♀️805,643 รวม 1,628,384 คน ▶️อายุ 45 – 49 ปี ♂️862,275♀️872,900 รวม 1,735,175 คน ▶️อายุ 50 – 54 ปี ♂️884,798♀️933,547 รวม 1,818,345 คน ▶️อายุ 55 – 59

พามาเบิ่ง👨‍👩‍👧‍👦กราฟพีระมิด ‘ประชากรอีสาน’ ต้อนรับ Gen BETA👶 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐 “แรงงานต่างด้าวในอีสาน มีมากแค่ไหน”👨‍🎓

พามาเบิ่ง “แรงงานต่างด้าวในอีสาน มีมากแค่ไหน” ฟิลิปปินส์ ชาติที่มีแรงงานต่างด้าวในไทย อันดับ 5 . จากกระแสข่าวดังในโลกโซเชียล ที่ขึ้น แฮชแท็ก #สุขุมวิท11 และ #กะเทยไทย ที่ขึ้นเทรด X มากกว่า 3 ล้านโพสต์ จากต้นเรื่องเหตุเกิดที่ สุขุมวิท11 จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ กะเทย ไทย-ปินส์ . เมื่อกะเทยฟิลิปปินส์เริ่มมาทำมาหากินในไทยโดยอาศัยช่องว่างที่คนฟิลิปปินส์สามารถท่องเที่ยวในไทยโดยไม่ต้องขอวีซ่าและพำนักได้ 30 วัน และ นักท่องเที่ยวฟิลิปปินส์หลายคนแอบเข้ามาลักลอบทำงานเป็น sex worker ในย่านสุขุมวิท จนเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกับคนไทยดังข่าวที่ปรากฏ . วันนี้อีสานอินไซด์จึงจะมาเปิดข้อมูลสถิติ ว่านอกจากนักท่องเที่ยวฟิลิปปินส์หรือนักท่องเที่ยวต่างชาติอื่นๆที่มาในฐานะวีซ่าของนักท่องเที่ยวแล้ว จำนวนแรงงานต่างด้าวที่มาอย่างถูกกฎหมายที่พำนักอยู่ในไทยสะสมถึงปัจจุบันมีจำนวนอยู่เท่าใด และจำนวนของแรงงานต่างด้าวในแต่ละจังหวัดของอีสานมีจำนวนอยู่มากไหร่ . โดยหากดูจากข้อมูลสถิติแล้วจะพบว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวที่มาอย่างถูกกฎหมายในไทยมีมากถึง 3,415,774 คน โดยกระจายตัวตามแต่ละภูมิภาค ดังนี้ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,784,479 หรือคิดเป็น 52% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคกลางและภาคตะวันออก 799,963 หรือคิดเป็น 23% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคเหนือ 308,604 หรือคิดเป็น 9% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคอีสาน 71,655 หรือคิดเป็น 2% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคใต้ 451,073 หรือคิดเป็น 13% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด โดย 5 สัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่มีมากที่สุดในไทย ได้แก่ เมียนมา, กัมพูชา, ลาว, จีน, และฟิลิปปินส์ . โดยจำนวนแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถือเป็นแรงงานหลักสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ เนื่องด้วยแรงงานมีราคาค่าจ้างที่ถูกกว่าแรงงานไทย ทำให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของผู้ประกอบการ . ทั้งนี้อีสานอินไซด์ตั้งข้อสังเกตจากกรณีข่าวดังกล่าวว่ากฎหมายยังมีช่องว่างก่อให้เกิดการละเมิดและการแย่งงานของคนในพื้นที่รวมไปถึงงานบางประเภทที่ไม่ได้ระบุหรือถูกบัญญัติให้ถูกกฎหมาย อาจจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสและรายได้ทางเศรษฐกิจที่แม้แต่ทางอีสานอินไซด์ก็ไม่สามารถประเมินได้ จึงอยากให้กรณีข่าวนี้ถูกผลักดันและดำเนินการแก้ไข ป้องกัน ด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป . ที่มา สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว (จำนวนแรงงานต่างด้าวที่พำนักอยู่ไทย สะสมถึง ม.ค.2567) . พามาสำรวจ ผ่านมา 10 ปี ชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในอีสานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว . สิทธิของลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับแรงงานไทย โดยมีกฎหมายและมาตรการเฉพาะที่มุ่งดูแลสิทธิและความปลอดภัยของแรงงานต่างด้าว เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานต่างด้าว ต่อไปนี้คือสิทธิที่แรงงานต่างด้าวพึงได้รับ: 1. สิทธิในการได้รับค่าจ้าง แรงงานต่างด้าวมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เช่นเดียวกับแรงงานไทย นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตรงเวลาและครบถ้วน 2. สิทธิในเวลาทำงานและเวลาพัก ชั่วโมงการทำงาน: ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เวลาพัก: ต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หากทำงานเกิน

พามาเบิ่ง🧐 “แรงงานต่างด้าวในอีสาน มีมากแค่ไหน”👨‍🎓 อ่านเพิ่มเติม »

พามาสำรวจ ผ่านมา 10 ปี ชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในอีสานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

การเปลี่ยนแปลงของชนกลุ่มน้อยในภาคอีสาน ความเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงภาคเศรษฐกิจ . ภาคอีสาน กำลังเดินหน้าเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุนและการพัฒนาทางโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการเพิ่มขึ้นของแรงงานชนกลุ่มน้อยที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของภูมิภาค ตัวเลขล่าสุดเผยว่า จำนวนชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากเพียง 10,882 คนในปี พ.ศ. 2558 เป็น 32,608 คนในปี พ.ศ. 2567 เพิ่มขึ้น 3 เท่า เฉพาะอีสานเพิ่มจาก 343 คน ในปี พ.ศ. 2588 มาเป็น 837 คน ในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในระยะเวลาเพียง 10 ปี    ชนกลุ่มน้อยในบริบทนี้ หมายถึงกลุ่มประชากรที่มีลักษณะทางชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และผู้ที่ไม่มีสัญชาติ พวกเขามักทำงานในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น เช่น ภาคเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และบริการ ซึ่งล้วนเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาคอีสาน   เมื่อพิจารณาตัวเลขสถิติ พบว่าในจังหวัดนครราชสีมา จำนวนชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานเพิ่มขึ้นจาก 252 คนในปี พ.ศ. 2558 เป็น 490 คนในปี พ.ศ. 2567 ส่วนจังหวัดขอนแก่นที่เคยมีเพียง 7 คนในปี พ.ศ. 2558 ก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 107 คนในปี พ.ศ. 2567 ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงสร้างเศรษฐกิจของอีสาน ที่ได้รับแรงผลักจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เช่น โครงการรถไฟ การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม และการเติบโตของเมืองขนาดใหญ่ ทำให้แรงงานชนกลุ่มน้อยได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ขับเคลื่อนการขยายตัวนี้    ข้อสังเกตุในการเพิ่มขึ้นของแรงงานชนลุ่มน้อยนอกจากจะสะท้อนถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจของการจ้างงานในภาคอีสานแล้ว อาจตั้งข้อสังเกตุได้ว่าภาคอีสานของอาจกำลังขาดการพัฒนาในอุตสาหกรรมหนัก หรืออุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่หรือไม่ นี่เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่ควรถามกับภูมิภาคของเรา การตั้งคำถามในมุมต่างๆเช่นนี้จะช่วยให้นำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นได้   แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของชนกลุ่มน้อยในตลาดแรงงานไม่ได้ปราศจากความท้าทาย การสร้างระบบที่สามารถตรวจสอบสถานะและคุ้มครองสิทธิแรงงานได้อย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงส่งเสริมให้แรงงานเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย     ในอนาคตภาคอีสานจะยังคงเผชิญกับความต้องการแรงงานที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รัฐบาลกับภาคเอกชนต้องร่วมมือกันวางแผนและดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมความเท่าเทียมและการพัฒนาความสามารถของชนกลุ่มน้อยและแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบจะสามารถทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน   เมื่องานที่ใช้แรงงานคนไทยไม่ทำหรือมีแรงงานไม่เพียงพอ ในสถานการณ์ปัจจุบันไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และอัตราการเกิดต่ำ และอาจขาดแรงงานในอนาคต การที่ประเทศไทยรับแรงงานต่างด้าวและแรงงานชนกลุ่มน้อยเข้ามาทำงานมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้: ผลดี: ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน: ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้อัตราการเกิดลดลงและขาดแคลนแรงงานในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ทักษะต่ำและงานหนัก การรับแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยเข้ามาทำงานจะช่วยเติมเต็มช่องว่างนี้ได้ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ: แรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การเกษตร และการบริการ พวกเขาช่วยให้ภาคธุรกิจเหล่านี้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพิ่มความหลากหลายทางวัฒนธรรม: การมีแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทำให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ ผลเสีย: ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน: การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานของคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีทักษะต่ำ อาจมีการแข่งขันด้านค่าจ้างที่สูงขึ้น หรืออาจถูกแย่งงาน ปัญหาทางสังคม: การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยอาจนำไปสู่ปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาการหลบหนีเข้าเมือง ปัญหาการค้ามนุษย์

พามาสำรวจ ผ่านมา 10 ปี ชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในอีสานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาส่องเบิ่ง ในปีที่ผ่านมา โรงงานในอีสาน มูลค่าเงินทุน 724,668 ล้านบาท กระจายอยู่ไหนบ้าง🏭

🏭ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมสะสมถึงปี 2567 ประเทศไทยมีโรงงานอยู่ 73,710 แห่ง และมีมูลค่าเงินลงทุนรวมมากกว่า 9.6 ล้านล้านบาท แล้วเคยรู้หรือไม่ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมูลค่าเงินลงทุนรวมและจำนวนโรงงานมากแค่ไหน?   โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโรงงานอยู่ทั้งสิ้น 9,067 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วน 12.3% ของจำนวนโรงงานทั้งหมดในประเทศ และมีมูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 724,668 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 7.6% ของมูลค่าเงินลงทุนของโรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.6%   🏆5 อันดับจังหวัดที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด – นครราชสีมา มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 226,708ล้านบาท – ขอนแก่น มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 109,340 ล้านบาท – อุบลราชธานี มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 58,409 ล้านบาท – อุดรธานี มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 52,093 ล้านบาท – ชัยภูมิ มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 36,776 ล้านบาท   โรงงานในภาคอีสานส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ใน Big 4 of ISAN อย่างนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี โดยเพียงแค่ 4 จังหวัดก็มีมูลค่าเงินลงทุนมากกว่า 466,549 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 62% เลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จังหวัดเหล่านี้มีมูลค่าเงินลงทุนมาก เนื่องจากจังหวัดเหล่านี้มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และเป็นพื้นที่น่าจับตามองของเหล่านักลงทุน   โดยเฉพาะนครราชสีมาถือว่าเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรม โดยมี 3 นิคมสำคัญ คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร 2 นครรราชสีมา เขตอุตสาหกรรมสุรนารี และนิคมอุตสาหกรรมสูงเนิน (โครงการ) การเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นในนครราชสีมา ทั้งอำเภอปากช่อง และอำเภอเมืองนครราชสีมา และความเป็นประตูสู่ภาคอีสาน ทำให้นครราชสีมาเป็นที่สนใจของกลุ่มทุนจากกรุงเทพฯ มากขึ้น โดยช่วงหลังปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศไทย ยังมีหลายกลุ่มทุนตัดสินใจขยายการลงทุนต่อเนื่อง   🚗อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีทำเลดี เดินทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก และยังเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ ของภาคอีสาน และยังมีพื้นที่ติดกับจังหวัดสระแก้ว รวมไปถึงปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เขต EEC ที่มีทั้งโรงงานอุตสาหกรรม และท่าเรือแหลมฉบังอีกด้วย ซึ่งในอนาคตจะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะมาเพิ่มศักยภาพให้จังหวัดนครราชสีมาเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกต่อเนื่อง   การมีนิคมอุตสาหกรรมก็จะสามารถดึงดูดบริษัทต่างๆ เข้ามาลงทุนภายในจังหวัด ทำให้เกิดการจ้างงานในหลากหลายตำแหน่ง ทั้งงานสายการผลิต งานด้านเทคนิค งานบริหาร และงานบริการ ส่งผลให้คนในพื้นที่และพื้นที่โดยรอบมีงานทำมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยภายในชุมชนมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเกิดการหมุนเวียน   อย่างไรก็ตาม การมีนิคมอุตสาหกรรมก็มีผลกระทบด้านลบเช่นกัน เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศและน้ำ การจราจรติดขัด และความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น  

🔎พาส่องเบิ่ง ในปีที่ผ่านมา โรงงานในอีสาน มูลค่าเงินทุน 724,668 ล้านบาท กระจายอยู่ไหนบ้าง🏭 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 มีปริมาณอ้อยมากที่สุดในไทยกว่า 46 ล้านตัน

ในปีการผลิต 2566/67 ประเทศไทยมีปริมาณอ้อยรวมกันอยู่ที่ 98.8 ล้านตัน และมีผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 8.91 ตัน/ไร่ แล้วรู้หรือไหมว่าภาคอีสานปริมาณอ้อยมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีปริมาณอ้อยรวมกันมากกว่า 46 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 46.3% ของปริมาณอ้อยรวมทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 9.23 ตัน/ไร่ ซึ่งทั้งปริมาณอ้อยและผลผลิตต่อไร่มากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ เนื่องจากมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอ้อย และมีโรงงานน้ำตาลตั้งอยู่ 23 แห่ง   อีกทั้งจะเห็นได้ว่า ภาคอีสานได้เปรียบได้ด้านผลผลิตต่อไร่ที่สูงกว่าทุกภูมิภาค อยู่ที่ 9.23 ตัน/ไร่ ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ภาคที่ 4 จ.อุดรธานีเอง ก็ได้มีการวิเคราะห์คุณภาพดิน น้ำ และปุ๋ย ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยต่อไร่ให้สูงขึ้น    และยังลดการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินทรายในระยะยาว เพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและเพิ่มรายได้จากการมีผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมถึงการแจกพันธุ์อ้อยส่งเสริมของ สอน. ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและผู้ที่สนใจ (สายพันธุ์ CSB11 – 307, CSB11 – 613 และ CSB15 – 221) ซึ่งเป็นสายพันธุ์อ้อยที่นักวิจัยของ สอน. ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตตันต่อไร่ มีค่าความหวานสูง ทนทานต่อโรคและแมลงในอ้อย และสามารถเติบโตในสภาพพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เป็นอย่างดีอีกด้วย   ปริมาณอ้อยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดที่เป็นฐานการผลิตน้ำตาลของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลรายใหญ่ระดับประเทศ อย่างกลุ่มมิตรผล, กลุ่มวังขนาย, กลุ่มไทยรุ่งเรือง, กลุ่ม Thai Sugar Mill, กลุ่มน้ำตาลครบุรี และน้ำตาลขอนแก่น ทำให้เกษตรกรสามารถนำอ้อยไปขายได้สะดวกและรวดเร็ว   ภาคอีสานกลายเป็นแหล่งผลิตอ้อยที่สำคัญของประเทศไทย และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอีกด้วย การปลูกอ้อยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในชุมชน อีกทั้งกระบวนการผลิตอ้อยและแปรรูปน้ำตาล สร้างงานให้กับคนในพื้นที่ทั้งในโรงงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และการมีอุตสาหกรรมน้ำตาลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การขนส่ง โลจิสติกส์ และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องอีกด้วย     อ้างอิงจาก:  – สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย – ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #อ้อย #ปริมาณอ้อย #ผลผลิตอ้อย #อ้อยในอีสาน #ปริมาณอ้อยในอีสาน 

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 มีปริมาณอ้อยมากที่สุดในไทยกว่า 46 ล้านตัน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง งบการเงินเจ้าสัว ขนมขบเคี้ยวรายได้พันล้าน

คุณเพิ่ม โมรินทร์ (แซ่เตีย) เป็นชาวจีนที่อพยพเข้ามาหาโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าในเมืองไทยโดยเขาเริ่มต้นธุรกิจด้วยการนำเงินและทรัพย์สินที่มีติดตัวมาร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดร้านขายของชำที่ย่านคลองเตย ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาจังหวัดนครราชสีมา โดยในปี 2501 ได้เปิดร้านสาขาพลล้าน จากการสังเกตเห็นว่าชาวบ้านนิยมเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมองว่าจังหวัดนครราชสีมาเปรียบเสมือนประตูสู่อีสาน ซึ่งน่าจะมีการพัฒนาได้อีกมาก เขาจึงแปรรูปเนื้อหมูเป็นหมูหยองและหมูแผ่น พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย จนกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในปัจจุบัน หากพิจารณาสัดส่วนของรายได้ จะพบว่า 3 อันดับแรกของรายได้หลักมาจาก ข้าวตัง ซึ่งทำยอดขายสูงสุดที่ 471 ล้านบาท ในปี 2566 คิดเป็น 31.5% ของรายได้จากการขายสินค้า ข้าวตังเป็นสินค้ายอดนิยมของเจ้าสัวที่ผู้บริโภคคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นขนมที่เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย สามารถรับประทานเล่นหรือทานคู่กับอาหารอื่นก็ได้ อีกทั้งยังหาซื้อได้ง่าย ทำให้ข้าวตังของเจ้าสัวครองใจผู้บริโภคมายาวนาน ถัดมาคือ ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู ซึ่งทำรายได้ 297 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของรายได้จากการขายสินค้า และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งมาจากการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบมากขึ้น ทำให้ขนมประเภทนี้เป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่ายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันดับที่สามคือ แครกเกอร์ธัญพืช ซึ่งทำรายได้ 232 ล้านบาท คิดเป็น 15.5% ของรายได้จากการขายสินค้า จุดเด่นของแครกเกอร์ธัญพืชคือการเป็นขนมขบเคี้ยวที่สอดคล้องกับเทรนด์รักสุขภาพ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้สินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี นอกจากรายได้จากการขายสินค้าแล้ว การดำเนินธุรกิจย่อมมาพร้อมกับ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของรายได้ในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 บริษัทสามารถสร้าง กำไรสุทธิที่เติบโตสูงถึง 614.7% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนและการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ผลประกอบการที่ดีขึ้นไม่เพียงส่งผลเชิงบวกต่อนักลงทุนในตลาดหุ้น แต่ยังสะท้อนถึงการขยายตัวของฐานผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขนมขบเคี้ยวไทยยังมีน้อยเมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างประเทศ แต่เจ้าสัวมองเห็นโอกาสในการพัฒนา Local Snack จากวัตถุดิบไทยแท้ เช่น ข้าวตังหมูหยองและ Meat Snack ที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าโภชนาการสูง เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ทั้งในไทยและตลาดต่างประเทศ โดยเน้นสร้างมูลค่าให้วัตถุดิบไทยและขยายตลาดขนมขบเคี้ยวไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันแบรนด์เจ้าสัวมีทั้งอาหารและขนมรวมกันกว่าสามร้อยชนิด ในแต่ละปีจะมีสินค้าออกใหม่แปดถึงสิบตัว สินค้าตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายและ lifestyle ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ของผู้บริโภค ทั้งของทานเล่น และอาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน ตอบโจทย์ทั้ง Ready to Eat & Ready to Cook พาซอมเบิ่ง “เจ้าสัว” แบรนด์ของฝากเจ้าดังโคราช ว่าที่หุ้นใหม่ภาคอีสาน อ้างอิงจาก เว็บไซต์ของบริษัท, แบบ 56-1 One Report, รายงานข้อมูลสรุปของการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน, ลงทุนแมน, The Cloud

ชวนมาเบิ่ง งบการเงินเจ้าสัว ขนมขบเคี้ยวรายได้พันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

Mondelēz ผู้ผลิตขนมหวานเจ้าใหญ่ของโลก ที่ลงทุน 1 ในโรงงานที่น้ำพอง ขอนแก่น

Chairman & CEO: Dirk Van De Put Mondelēz International บริษัทสัญชาติอเมริกันที่แยกตัวออกมาจาก Kraft Foods ในปี 2555   ชื่อบริษัท: บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2507 ทุนจดทะเบียน: 104 ล้านบาท สถานที่ตั้ง: เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ส่วนแบ่งการตลาดทั่วประเทศ: 50% ในกลุ่มผลิตลูกกวาดและขนม รายได้ปี 2566: 6,226 ล้านบาท (+17%) กำไรปี 2566: 328 ล้านบาท (+110%)   โรงงานลาดกระบังก่อตั้งในปี 2550 เป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดสำหรับหมากฝรั่งและลูกอมในภูมิภาค AMEA โดยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังกว่า 10 ประเทศ   ชื่อบริษัท: บริษัท มอนเดลีซ (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2532 ทุนจดทะเบียน: 150 ล้านบาท สถานที่ตั้ง: อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ส่วนแบ่งการตลาดทั่วประเทศ: 18% ในกลุ่มผลิตลูกกวาดและขนม รายได้ปี 2566: 2,254 ล้านบาท (+7%) กำไรปี 2566: 707 ล้านบาท (+28%)   โรงงานขอนแก่นก่อตั้งในปี 2543 เป็นศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผลิตและส่งออกเครื่องดื่มชนิดผงในภูมิภาค AMEA (Asia, Middle East, Africa) ผลิตภัณฑ์ของโรงงานถูกส่งออกไปยัง 36 ประเทศ โดยฟิลิปปินส์และจีนเป็นตลาดหลัก คิดเป็นสัดส่วน 80% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ โรงงานขอนแก่นยังได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานที่แห่งแรกของ Mondelēz ที่เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ได้สำเร็จ   ตัวอย่างสินค้าที่ขายในไทย Cadbury DAIRY MILK HALLS Clorets Dentyne OREO RITZ TOBLERONE   ไม่ว่าจะเป็น ‘บิด ชิมครีม จุ่มนม’ สโลแกนติดหูจากโฆษณาของโอรีโอที่หลายคนคุ้นเคยและทำตาม หรือ TOBLERONE ช็อกโกแลตที่โดดเด่นด้วยรูปทรงสามเหลี่ยม อันได้รับแรงบันดาลใจจากภูเขา Matterhorn ในสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงขนมชื่อดังอีกมากมาย ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้การบริหารของ Mondelēz International (มอนเดลีซ) บริษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันที่หลายคนคุ้นชื่อจากฉลากขนมที่เราหยิบทานกันอยู่บ่อยๆ

Mondelēz ผู้ผลิตขนมหวานเจ้าใหญ่ของโลก ที่ลงทุน 1 ในโรงงานที่น้ำพอง ขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาสำรวจเบิ่ง ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสานเหล่านี้ เสียภาษีไปมากแค่ไหน🏭💰

บริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคลในไทยมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทและกำไรสุทธิ โดยทั่วไปแล้วมี 2 อัตราหลักๆ คือ อัตราสำหรับ SME: หากบริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับอัตราภาษีพิเศษสำหรับ SME โดยมีรายละเอียดดังนี้ กำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก: ยกเว้นภาษี กำไรสุทธิ 300,001 – 3,000,000 บาท: 15% กำไรสุทธิมากกว่า 3,000,000 บาท: 20% อัตราทั่วไป: บริษัทที่ไม่เข้าข่าย SME จะเสียภาษีในอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จัดเก็บในปีงบประมาณ 2567 มีมูลค่าประมาณ 780,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ที่มีมูลค่าประมาณ 950,000 ล้านบาท และจาก 20 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสาน ที่เสียภาษีมากที่สุดบ่งบอกถึง ธุรกิจมีกำไรมาก และมีศักยภาพทางธุรกิจ เพราะแม้จะหักลดหย่อนภาษีแล้ว ก็ยังต้องจ่ายภาษี   จุดสังเกตของบริษัทที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล  บริษัทที่เรารู้จักรอบตัว จะทำบัญชีแบบไหนกันระหว่าง มี 2 บัญชี ยัดค่าใช้จ่ายตัวเองเข้าไปในค่าใช้จ่ายในบริษัทเยอะๆ ให้กำไรบางๆ บริษัทจะได้เสียภาษีน้อยๆ มีบัญชีเดียว ตรงไปตรงมา และยินดีเสียภาษีตามที่บริษัทกำไรจริง  แล้วคุณคิดว่า กิจการส่วนใหญ่เป็นแบบไหน?   ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐเก็บได้ตอนนี้ มักจะเก็บได้จากบริษัทใหญ่ มากกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยเฉพาะบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ต้องมีการทำบัญชีเดียว และชี้แจงบัญชีอย่างตรงไปตรงมาต่อตลาดทุน และนักลงทุน ซึ่งใน 20 อันดับมีอยู่ 3 บริษัท ที่เป็นบริษัท มหาชน (บมจ.) ได้แก่ บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์, บมจ.ดูโฮม, บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์, บมจ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์, และ บมจ.พี.ซี.เอส. แมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่ง 20 อันดับที่กล่าวมานั้นจะพบว่า เป็นบริษัทที่อยู่ในภาคการค้า 4 บริษัท ได้แก่ โกลบอลเฮ้าส์, ดูโฮม ที่ค้าวัสดุก่อสร้าง, บจก.โตโยต้าดีเยี่ยม ที่เป็นตัวแทนค้ารถยนต์ และ บจก.ยิ่งยง มินิมาร์ท ที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีก และยังเป็นผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ 7-11 ใน สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี ส่วนอีก 15 บริษัท เป็นธุรกิจในภาคการผลิตหรือแปรรูป ทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น

🔎พาสำรวจเบิ่ง ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสานเหล่านี้ เสียภาษีไปมากแค่ไหน🏭💰 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️

“ทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นทุ่งใหญ่ของภาคอีสานมีพื้นที่อยู่ในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ จํานวนพื้นที่ทั้งสิ้น 2,107,690 ไร่    ทำไมถึงเรียก “ทุ่งกุลาร้องไห้”   เดิมมีชื่อว่า ทุ่งหมาหลง หรือ ทุ่งป่าหลาน ที่ได้ชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” นั้น มีตํานานกล่าวว่ามีพ่อค้าชาวกุลาเดินเร่ขายสินค้าผ่านเข้ามาในทุ่งกว้างแห่งนี้จนเมื่อยล้ายังไม่พ้นทุ่งกว้างแห่งนี้ จึงมีชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”     ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้า GI รุกตลาดยุโรปรายแรกของไทย   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็น สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยมีข้อกำหนดว่า ต้องปลูกในทุ่งกุลาร้องไห้ หมายถึงพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ สินค้าที่ได้รับการรับรอง “จีไอ” จะได้รับการยอมรับจากตลาดหลักโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปที่มีการใช้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ คาดว่าเริ่มมีการนําเข้ามาปลูกหลังจากทางราชการมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและรับรองพันธุ์ในปี 2502 ในชื่อพันธุ์ “ขาวดอกมะลิ 105” ได้เริ่มดําเนินการอย่างกว้างขวางในปี 2524 โดยโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเน้นการเปลี่ยนพันธุ์ปลูกจากข้าวเหนียวเป็นพันธุ์ข้าวเจ้า จึงทําให้ข้าวหอมมะลิมีการปลูกอย่างแพร่หลาย   โดยข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศ ได้แก่ – สหภาพยุโรป – สาธารณรัฐประชาชนจีน – อินโดนีเซีย – มาเลเซีย   จุดเด่นของพันธุ์นี้คืออะไร?   ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในช่วงฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ข้าวเปลือกมีสีฟาง เมล็ดข้าว ยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก   การที่ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้ขึ้นเป็นสินค้า GI นั้น นับว่าเป็นโอกาสทางการค้า การตลาด รวมถึงเป็นการยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นสินค้าข้าวคุณภาพที่ได้มาตรฐานการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน   สำหรับสถานการณ์ด้านตลาด พบว่า เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ GI มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจนรวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์

พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top