SHARP ADMIN

🔎พามาเบิ่ง “มันสำปะหลัง” กว่า 16.6 ล้านตัน🥔🥔 มาจากไหนบ้างในภาคอีสาน

ในปี 2566 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง อยู่ที่ 10.5 ล้านไร่ และมีผลผลิต 30.6 ล้านตัน แล้วรู้หรือไหมว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตมันสำปะหลังมากแค่ไหน? . โดยในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรามีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 5.6 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 54% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตมากกว่า 16.6 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 55% ของผลผลิตมันสำปะหลังทั้งหมดในประเทศ  . หากพิจารณารายจังหวัด จะพบว่าผลผลิตมันสำปะหลังในภาคอีสานกระจุกตัวในจังหวัดนครราชสีมามากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 23.82% รองลงมาเป็นชัยภูมิ (11.5%) อุบลราชธานี (9.65%) อุดรธานี (9.07%) และกาฬสินธุ์  (6.56%) . . แนวโน้มอุตสาหกรรมมันสำปะหลังจะเป็นอย่างไร? . คาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังจะหดตัว เป็นผลจากประเทศไทยเผชิญสภาพอากาศแห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งคาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยส่งผลต่อเนื่องราว 1-2 ปี (2567-2569) ประกอบกับการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง และการขาดแคลนท่อนพันธุ์เพาะปลูก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตมีทิศทางหดตัว . อย่างไรก็ตาม อุปทานมัน สำปะหลังยังมีแรงหนุน เช่น (1) ราคาที่คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก (2) ปริมาณน้ำในเขื่อนที่ยังเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ใกล้ระบบชลประทาน และ (3) แนวโน้มความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะขยายตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ประกอบกับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น ทำให้หลายประเทศมีอุปสงค์เพื่อความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เพิ่มขึ้น . . อ้างอิงจาก:  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, วิจัยกรุงศรี . ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight . #ISANInsight #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #มันสำปะหลัง #อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง #อุตสาหกรรมมันสำปะหลังในอีสาน #มันสำปะหลังในอีสาน

🔎พามาเบิ่ง “มันสำปะหลัง” กว่า 16.6 ล้านตัน🥔🥔 มาจากไหนบ้างในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

2 ตระกูลเศรษฐีธุรกิจค้าปลีกวัสดุ 🏗 ตระกูล ”สุริยวนากุล” และ “ตั้งมิตรประชา” มูลค่ารวมกว่า 36,424 ล้านบาท

พามาเปิดพอร์ต 2 ตระกูลเศรษฐีหุ้น ค้าปลีกวัสดุของอีสาน มูลค่ารวม 36,424 ล้านบาท . . ธุรกิจวัสดุก่อสร้างถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญ และมีตลาดขนาดใหญ่ เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับที่อยู่อาศัย ซึ่งก็คือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง โดยในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเราจะมี 2 บริษัทนั่นคือ “ดูโฮม” และ “โกลบอลเฮ้าส์” ที่เรามักจะหุ้นตากันดี เป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของธุรกิจนี้ด้วยเช่นกัน . ธุรกิจของ GLOBAL ของตระกูล “สุริยวนากุล” ที่เติบโตมาจากต่างจังหวัด ที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี “วิทูร สุริยวนากุล” เป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจ ส่วนทางด้าน DOHOME มาจาก ตระกูล “ตั้งมิตรประชา” โดย อดิศักดิ์ และนาตยา ตั้งมิตรประชา สองสามี – ภรรยา เป็นผู้ก่อตั้ง โดยกิจการดังกล่าวเติบโตมาจากจังหวัดอุบลราชนี ทางอีสานอินไซต์จะพาทุกท่านมาดูมูลค่าสินทรัพย์(หุ้น) ของทั้งสองตระกูลกันค่ะ . บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) 1.น.ส. กนกวล สุริยวนากุล: 568,021,887 หุ้น (11.36%) มูลค่า 8,917 ล้านบาท 2.นาย เกรียงไกร สุริยวนากุล: 557,246,411 หุ้น (11.14%) มูลค่า 8,748 ล้านบาท 3.ด.ต. กอเดชา สุริยวนากุล: 193,798,827 หุ้น (3.87%) มูลค่า 3,042 ล้านบาท 4.นาย ก้องภพ สุริยวนากุล: 187,981,078 หุ้น (3.76%) มูลค่า 2,951 ล้านบาท 5.น.ส. ซานนา สุริยวนากุล: 184,817,705 หุ้น (3.70%) มูลค่า 2,901 ล้านบาท 6.นาย วิษฐ์ สุริยวนากุล: 30,656,492 หุ้น (0.61%) มูลค่า 481 ล้านบาท . บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) 1.นาย อดิศักดิ์ ตั้งมิตรประชา: 348,075,000 หุ้น (11.27%) มูลค่า 3,411 ล้านบาท 2.นาง นาตยา ตั้งมิตรประชา: 261,056,247 หุ้น (8.45%) มูลค่า 2,558 ล้านบาท

2 ตระกูลเศรษฐีธุรกิจค้าปลีกวัสดุ 🏗 ตระกูล ”สุริยวนากุล” และ “ตั้งมิตรประชา” มูลค่ารวมกว่า 36,424 ล้านบาท อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง กีฬาประจำชาติของแต่ละประเทศในเพื่อนบ้าน GMS

วันนี้จะพามารู้จักกีฬาประจำชาติของเฮาและเพื่อนบ้านเฮาเด้อ   ไทย : มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้และกีฬาประจำชาติของประเทศไทยที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 700 ปี เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่โดดเด่นด้วยการใช้อวัยวะทั้ง 8 ได้แก่ หมัด ศอก เข่า และเท้า ซึ่งเรียกกันว่า “ศาสตร์แห่งอาวุธทั้งแปด”   2.ลาว : ลูกข่าง เป็นกีฬาพื้นบ้านดั้งเดิมของประเทศลาวที่มีลักษณะการละเล่นสนุกสนาน นิยมเล่นกันในหมู่เด็กและผู้ใหญ่ในชนบทของลาว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือเวลาว่าง ถือเป็นกิจกรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนและสะท้อนถึงความเรียบง่ายและความผูกพันกับวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวลาว   3.เวียดนาม : โววีนัม เป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติของประเทศเวียดนาม ก่อตั้งขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930 โดยอาจารย์เหงียน ลก ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการป้องกันตัวและความแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจของคนเวียดนาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อผสมผสานทักษะการต่อสู้กับคุณธรรมความเป็นมนุษย์   4.เมียนมาร์ : ชินลง หรือ “ชินโลน” เป็นศิลปะแบบดั่งเดิมหรือกีฬาโบราณ ที่มีมานานกว่า 1,500 ปี ของประเทศพม่า เป็นการผสมผสานกันระหว่างกีฬากับการเต้นรำ เล่นกันเป็นทีมไม่มีคู่ต่อสู้ แต่ละท่าในการเล่นต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนักเพราะเป็นลีลาที่ยากมาก โดยมีตัวแกนอยู่ในวงคอยเป็นคนกำหนดทิศทางและท่ายากง่ายซึ่งทำให้คะแนนมากคล้าย ๆ ตะกร้อวงของบ้านเรา   5.กัมพูชา : กุนขแมร์ เป็นศิลปะการต่อสู้มือเปล่าดั้งเดิมของประเทศกัมพูชา มีชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะเด่นคือการใช้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น หมัด ศอก เข่า และเท้า เพื่อโจมตีและป้องกันตัว คล้ายคลึงกับมวยไทยในประเทศไทย แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันในจังหวะการเคลื่อนไหวและเทคนิค

พามาเบิ่ง กีฬาประจำชาติของแต่ละประเทศในเพื่อนบ้าน GMS อ่านเพิ่มเติม »

ก้าวหน้าไก่สด จากฟาร์มคุณภาพ สู่ธุรกิจไก่เนื้ออันดับ 5 ของไทย

“ก้าวหน้าไก่สด” เป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกเนื้อไก่อย่างครบวงจรในภาคอีสาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยกระบวนการที่ครอบคลุมตั้งแต่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ฟาร์มไก่เนื้อ โรงเชือด และโรงงานผลิตไก่ปรุงสุกแช่แข็งเพื่อการส่งออก ไก่ที่เลี้ยงโดยบริษัทคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของจำนวนไก่ทั้งหมดในระบบ ช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทก้าวหน้าไก่สดยังสนับสนุนเกษตรกรด้วย โครงการไก่ประกันราคา โดยบริษัทจัดหาลูกไก่ให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงจนโต และซื้อคืนเพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการผลิต ทั้งนี้ เพื่อให้คุณภาพการเลี้ยงเป็นไปตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ บริษัทให้การสนับสนุนด้านอาหาร เครื่องมือและอุปกรณ์การเลี้ยง อีกทั้งยังมีทีมสัตวแพทย์คอยให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพไก่ และเยี่ยมเยียนฟาร์มของเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ ด้วยแนวทางนี้ บริษัทไม่เพียงแต่ยกระดับคุณภาพสินค้า แต่ยังส่งเสริมความยั่งยืนให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ สร้างผลประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อชุมชนและองค์กรอย่างยั่งยืน ก้าวหน้าไก่สด ดำเนินธุรกิจทั้งในตลาดภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยในส่วนของการส่งออก ประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น, อังกฤษ, และประเทศต่าง ๆ ใน สหภาพยุโรป ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าตามสั่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว ช่วยสร้างความโดดเด่นและแตกต่างในตลาดโลก อีกทั้งยังจัดอยู่ในหมวด สินค้าพรีเมียม ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าระดับสูงได้เป็นอย่างดี สำหรับตลาดภายในประเทศ บริษัทมุ่งเน้นการจำหน่ายชิ้นส่วนไก่สด เครื่องในไก่สด รวมถึงชิ้นส่วนอื่น ๆ ของไก่ที่ไม่สามารถรับประทานได้ เช่น ขนไก่ ผ่าน เทคนิคพิเศษในการผลิต ซึ่งทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากไก่ได้ทุกชิ้นส่วนอย่างคุ้มค่าและครบถ้วน   ในปี 2566 ที่ผ่านมา แม้ว่ารายได้รวมของบริษัทก้าวหน้าไก่สดจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย สาเหตุหลักมาจากราคาของไก่ในตลาดที่ลดลง เนื่องจากปริมาณไก่ในท้องตลาดมีมาก ส่งผลให้ราคาตลาดปรับตัวลดลงตามกลไกอุปสงค์และอุปทาน อีกทั้งเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตหลักหลายประเทศในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ประสบปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ทำ ให้มีความต้องการนำ เข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ขณะที่ราคาไก่เนื้อในประเทศปรับตัวลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลง อย่างไรก็ตาม ในด้านการบริหารจัดการภายใน บริษัทสามารถปรับปรุงการจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยการควบคุมต้นทุนในกระบวนการผลิตและการจัดการทรัพยากรที่ดี ส่งผลให้ต้นทุนรวมลดลงอย่างชัดเจน แม้ว่ารายได้จะลดลง แต่กำไรสุทธิกับปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของบริษัทในการปรับตัวและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถรักษาความสามารถสร้างกำไรได้ แม้ราคาไก่ในตลาดจะมีการปรับตัวลดลงก็ตาม ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่มากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมและวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยจังหวัดที่มีจำนวนไก่เนื้อมากที่สุด ได้แก่ นครราชสีมา 15 ล้านตัว บุรีรัมย์ 6.4 ล้านตัว ชัยภูมิ 5.3 ล้านตัว อุบลราชธานี 5.3 ล้านตัว ขอนแก่น 1.8 ล้านตัว จะเห็นได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท “ก้าวหน้าไก่สด” บริษัทไม่เพียงแต่เลี้ยงไก่เอง แต่ยังมีการร่วมมือกับเกษตรกรในพื้นที่ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการไก่ประกันราคา ส่งผลให้เกษตรกรได้รับโอกาสสร้างรายได้ที่มั่นคง ขณะเดียวกันบริษัทก็สามารถจัดการคุณภาพของไก่ได้ตามมาตรฐาน ความร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น แต่ยังเป็นประโยชน์ทั้งต่อเกษตรกรและบริษัทในระยะยาว สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาภาคการเกษตรและสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมไก่เนื้อ เมื่อพิจารณาถึงคู่แข่งสำคัญของบริษัทก้าวหน้าไก่สด พบว่า 4 อันดับแรกของบริษัทคู่แข่งที่มีรายได้สูงกว่ามักตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง โดยหากพิจารณาสัดส่วนการครองตลาดผ่านรายได้รวม บริษัทก้าวหน้าไก่สดครองส่วนแบ่งตลาดทั่วประเทศอยู่ที่ 3.33% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันที่สูงในอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความเข้าถึงง่าย และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้เล่นรายใหญ่ แต่ยังมีผู้ประกอบการรายเล็กจำนวนมากที่เป็นคู่แข่งซึ่งไม่อาจมองข้ามได้ สำหรับรายชื่อ 5 อันดับแรกของบริษัทที่มีรายได้สูงสุดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อ

ก้าวหน้าไก่สด จากฟาร์มคุณภาพ สู่ธุรกิจไก่เนื้ออันดับ 5 ของไทย อ่านเพิ่มเติม »

อุดรธานีมีคนเป็นหนี้น้อยสุดในอีสานจริงหรือ?

เมื่อพูดถึงภาคอีสาน หลายคนอาจทราบดีว่าเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาหนี้สินครัวเรือนสูงที่สุดในประเทศไทย โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้ที่ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย รวมถึงหนี้ที่เกิดจากการทำการเกษตรซึ่งต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านสภาพอากาศ ส่งผลให้กว่า 61% ของครัวเรือนในภาคอีสานมีหนี้สิน อย่างไรก็ตาม หากลงลึกถึงข้อมูลในระดับจังหวัด จะพบว่า อุดรธานี มีสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ต่ำที่สุดในภาคอีสาน   อุดรธานี: หนี้สินลดลง สวนทางกับแนวโน้มภาคอีสาน ข้อมูลปี 2566 ระบุว่า 46% ของครัวเรือนในอุดรธานีมีหนี้สิน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในภาคอีสาน และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ที่ 48% ยิ่งไปกว่านั้น หากเปรียบเทียบกับปี 2565 จะพบว่าสัดส่วนดังกล่าวลดลงถึง 22% ซึ่งสะท้อนถึงการปรับตัวเชิงบวกของครัวเรือนในจังหวัดนี้   เมื่อพิจารณา มูลค่าหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน พบว่าอยู่ที่ 105,266 บาท ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยภาคอีสานที่อยู่ที่ 200,540 บาท วัตถุประสงค์หลักของการกู้ยืมในอุดรธานีคือเพื่อ อุปโภคบริโภค (มากกว่า 50%) รองลงมาคือเพื่อทำการเกษตร และประกอบธุรกิจ   หนี้สินครัวเรือนอุดรฯ: ต่ำทุกระดับรายได้ เมื่อเปรียบเทียบในทุกระดับรายได้ อุดรธานีมีสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระดับรายได้นั้นๆของภาคอีสาน โดยมีสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ต่อสัดส่วนครัวเรือนในกลุ่มรายได้นั้นๆ ดังต่อไปนี้ ครัวเรือนรายได้สูง: 42% (ค่าเฉลี่ยอีสาน 64%) มูลค่าหนี้สินเฉลี่ย 212,935 บาท/ครัวเรือน ครัวเรือนรายได้ปานกลาง: 47% (ค่าเฉลี่ยอีสาน 58%) มูลค่าหนี้สินเฉลี่ย 85,911 บาท/ครัวเรือน ครัวเรือนรายได้ต่ำ: 45% (ค่าเฉลี่ยอีสาน 65%) มูลค่าหนี้สินเฉลี่ย 57,005 บาท/ครัวเรือน   ภาระหนี้ต่ำ แม้รายจ่ายสูง แม้ว่าครัวเรือนในอุดรธานีจะมี สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงถึง 83% แต่กลับมีมูลค่าหนี้สินต่อรายได้เพียง 5 เท่า ซึ่งต่ำที่สุดในภาคอีสาน และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ที่ 7 เท่า การที่ครัวเรือนอุดรธานีสามารถบริหารจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้สินเรื้อรังในภูมิภาคนี้   บทเรียนจากอุดรธานี: แนวทางการพัฒนาแก้หนี้อีสาน การลดลงของหนี้สินครัวเรือนของอุดรธานีไม่เพียงสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ของคนในพื้นที่ แต่ยังชี้ให้เห็นถึงแนวทางเชิงนโยบายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในจังหวัดอื่น ๆ ของภาคอีสาน การสนับสนุนให้ครัวเรือนสามารถบริหารรายได้และรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความมั่นคงด้านการเงินและลดภาระหนี้ที่ไม่จำเป็น จึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้สินในระยะยาว   อุดรธานีเป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นว่า การจัดการหนี้สินที่ดีไม่เพียงช่วยลดภาระทางการเงินของครัวเรือน แต่ยังสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดและภูมิภาคอีกด้วย พามาเบิ่ง🤐 💸หนี้ครัวเรือนอีสานปี 2566 สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ที่มา:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: เป็นข้อมูลในปี 2566, ครัวเรือนรายได้ปานกลางหาจากค่าเฉลี่ยของครัวเรือนกลุ่มควินไทล์ที่ 2-4, ข้อมูลเชิงสถิติอาจมีความคลาดเคลื่อนจากค่าจริง

อุดรธานีมีคนเป็นหนี้น้อยสุดในอีสานจริงหรือ? อ่านเพิ่มเติม »

หาได้ไม่พอจ่าย เเถมเสี่ยงส่งต่อหนี้เป็นมรดก เผยเหตุปัจจัยฉุดกําลังซื้อคนอีสานตํ่าสุดในประเทศ

ภาคอีสานถือเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรมากที่สุดและมีการพึ่งพาเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก ทั้งด้านการเกษตร การบริโภคภายในประเทศ ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย เผยดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index : PCI) ของประเทศไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและอยู่เหนือระดับก่อนโควิด-19 แล้ว ขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนของภูมิภาคค่อย ๆ ฟื้นตัวและยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนโควิด-19 โดยภาคอีสานฟื้นตัวช้ากว่าทุกภูมิภาค โดยการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า จากการใช้จ่ายสินค้า ประเภทกึ่งคงทนและคงทนที่มีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคเอกชน มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง    การบริโภคภาคเอกชนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอีสาน เป็นตัวชี้ทิศทางการอุปโภคบริโภคหรือการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ภาคธุรกิจ และรวมถึงการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งแสดงถึงกำลังซื้อโดยรวมของภาคเอกชน  หากการบริโภคลดลงย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนก็เป็นอีกภาพสะท้อนหนึ่งที่เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าคนในพื้นที่นั้นมีเงินสําหรับการจับจ่ายใช้สอยมากเเค่ไหน ดังเช่นนั้นหากจะสํารวจหรือกล่าวถึงเหตุปัจจัยที่มีผลต่อกำลังซื้อคนอีสานในช่วงที่ผ่านมาและสร้างแรงกดดันต่อการบริโภคของคนอีสาน มีความสําคัญเเละจําเป็นที่ต้องคํานึงเเละพิจารณาถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน    รายได้   ทราบหรือไม่ว่ากว่า  58%  ของครัวเรือนในภาคอีสานนั้นอยู่ในภาคการเกษตร เเละมีโครงสร้างของกําลังเเรงงานเเละเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้อง โดยมีเเรงงานอยู่ในภาคเกษตรเกินครึ่งเเต่กลับสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพียงเเค่  1 ใน 5 ของมูลค่าเศรษฐกิจในภูมิภาค  เเละทราบหรือไม่ว่าอาชีพเกษตกรกลับเป็นกลุ่มอาชีพที่มีคนอยากจนมากที่สุดหากใช้เส้นความยากจนเป็นเกณฆ์โดย 10.62% ของเกษตกรเป็นคนยากจน ซึ่งสูงกว่า สัดส่วนเฉลี่ยของประเทศที่ 4.54% เป็นเท่าตัว   ปัญหาความยากจนดังกล่าวมีสาเหตุมาจากรายได้การเกษตรที่ต่ำ โดยเกษตกรมีรายได้เฉลี่ยจากการเกษตรเพียง 233.61 บาท/วัน ซึ่งตํ่ากว่าค่าเเรงขั้นตํ่าของจังหวัดที่มีค่าเเรงขั้นตํ่าที่สุด ซึ่งอยู่ที่ 332  บาท/วัน นอกจากรายได้น้อยการผลิตยังมีประสิทธิภาพต่ำ จากข้อมูลขององค์การเเรงงานระหว่างประเทศ ประสิทธิภาพการผลิตของเเรงงานภาคเกษตร(รายวัน) เกษตรกรไทยผลิตได้เพียง 8.74 ดอลลาร์ต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเเละเเปซิฟิกเป็นเท่าตัว เท่ากับว่าลงเเรงมากเเต่ได้ผลน้อย    โดยระดับรายได้ของเกษตกรที่น้อยเช่นนี้มิได้เกิดจากความขี้เกียจ หรือไร้สมรรถนะของเกษตรกรไปซะทีเดียว เเต่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ราคาผลผลิตตํ่าเเละผันผวน เกษตกรกําหนดเองไม่ได้   เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเน่าเสียได้ง่าย และเกษตรกรมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรจึงมักถูกบีบให้ขายผลผลิตในราคาต่ำ เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนในการทำเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในครัวเรือนที่ปลูกข้าวและมันสำปะหลัง ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าต้นทุน การทําการเกษตรมีต้นทุนเเละความเสี่ยงสูง เช่น ด้านความเสี่ยงจากสภาพอากาศ โดยในภาคอีสานมีพื้นที่ชลประทานเพียงร้อยละ 7.8 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด  จึงต้องพึ่งพิงน้ำฝนเป็นหลักเมื่อสภาพภูมิอากาศแปรปรวนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตและรายได้เกษตรกรที่จะนำไปใช้เพื่อการบริโภค  รายได้หลักที่มาจากเกษตรกรรมจึงมีความผันผวน ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศพึ่งพาฟ้าฝนเป็นหลัก ในช่วงก่อนโควิด-19 ขนาดเศรษฐกิจ (GRP) และรายได้ต่อหัวเฉลี่ย (GRP per capita) ของอีสานมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3 และร้อยละ 4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รายได้ครัวเรือนเติบโตเพียงร้อยละ 1 ต่อปีเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอีสานส่งผ่านมาที่รายได้ครัวเรือนอีสานเพียงเล็กน้อย ทำให้ครัวเรือนอีสานในปัจจุบันมีรายได้สำหรับนำไปใช้จ่ายอย่างจำกัด สะท้อนจากรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยของอีสานที่ต่ำที่สุดในประเทศเพียง 181,231 บาทต่อครัวเรือนต่อปี อีกทั้งสัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยในปี 2566 ในภาคอีสานที่อยู่ที่ 67 %เเทบจะไม่เปลี่ยนเเปลงไปจากอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน  และจำนวนคนฐานะยากจนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนมากที่สุด ที่อีสานมีมากถึง 277,875 คน หรือร้อยละ

หาได้ไม่พอจ่าย เเถมเสี่ยงส่งต่อหนี้เป็นมรดก เผยเหตุปัจจัยฉุดกําลังซื้อคนอีสานตํ่าสุดในประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🤐 💸หนี้ครัวเรือนอีสานปี 2566 สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ

พามาเบิ่งหนี้ครัวเรือนอีสานปี 2566 สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ..หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนปี 2566 มีการปรับเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน Covid-19 (ปี 2562) โดยหนี้ครัวเรือนของภาคอีสานในปีนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ถึงแม้จะลดลงจากอันดับ 2 ในปี 2562 ก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีการปรับเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือน.วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม 3 อันดับแรกอุปโภคบริโภค 43.9%ทำการเกษตร 25.3%เช่า/ซื้อบ้านและที่ดิน 21.3%.อาชีพที่มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงสุด 3 อันดับแรกลูกจ้างที่เป็นผู้จัดการ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ 492,856 บาทผู้ถือครองทำการเกษตรที่เช่าที่ดิน 318,161 บาทผู้ประกอบธุรกิจของตนเอง 268,949 บาท.โดยภาคอีสานเป็นภาคที่มีจำนวนครัวเรือนที่มีหนี้สินสัดส่วนที่สูงสุดของประเทศ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 60.8% และส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคกว่า 43.9% สะท้อนให้เห็นว่าคนอีสานมีกำลังใช้จ่ายที่จำกัด ทำให้ต้องมีการกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค.และเมื่อมาดูอาชีพที่มีการกู้ยืมหนี้สินสูงที่สุดของภาคอีสาน พบว่า ลูกจ้างที่เป็นผู้จัดการ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ มีการกู้ยืมเฉลี่ยสูงถึง 492,856 บาท เนื่องจากกลุ่มอาชีพนี้เป็นกลุ่มที่ได้รายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดในทุกอาชีพ โดยมีรายได้เฉลี่ยกว่า 53,156 บาทต่อเดือน ซึ่งทำให้มีเครดิตที่ดีในการกู้ยืม จึงทำให้กลุ่มอาชีพนี้มีการกู้ยืมที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ.จึงสรุปได้ว่า หนี้สินครัวเรือนเฉลี่ยในปี 2566 นี้ มีการปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงเศรษฐกิจอีสานที่ฟื้นตัวช้า รายได้ไม่พอรายจ่าย ทำให้ครัวเรือนต้องกู้ยืมเงินเพิ่มเติมเพื่อทดแทนรายได้ที่หายไป..อ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ.ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่https://linktr.ee/isan.insight.#ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #หนี้ #หนี้ครัวเรือน #หนี้คนไทย #ดอกเบี้ย

พามาเบิ่ง🤐 💸หนี้ครัวเรือนอีสานปี 2566 สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับประเทศไทย ของแสลงคนไทย รายได้หลักรัฐบาล

“บนโลกนี้ไม่มีสิ่งใดแน่นอนนอกจากความตายและภาษี” – Benjamin Franklin, 1789 – จากส่วนหนึ่งของประโยค “Our new Constitution is now established, everything seems to promise it will be durable; but, in this world, nothing is certain except death and taxes.” ประโยคดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของจดหมายที่เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) เขียนถึงฌอง-บัปติสต์ เลอรัว (Jean-Baptiste Le Roy) ในปี ค.ศ. 1789 สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองเชิงปรัชญาเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของชีวิตและข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลก ซึ่งก็คือ “ความตาย” และ “ภาษี” และยังคงสะท้อนถึงความจริงที่ยังคงเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน   แต่สำหรับกรณีประเทศไทยนั้นภาษีนั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นของแสลงต่อกัน ที่หลายคนมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีอย่างสุดความสามารถ ขณะที่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ทำตามระบบอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและโดนเรียกภาษีย้อนหลังซึ่งถือเป็นฝันร้ายสำหรับใครหลายๆ คน   จากกรณีในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมาที่มีการรายงานข่าวว่ารัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยเป็น 15% จากปัจจุบันที่มีการบังคับใช้อยู่ที่ 7% จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งและการตั้งคำถามว่าการที่คิดจะปรับภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัวนั้นเหมาะสมแล้วจริงๆหรือ? หากดูจากสถานการณ์ปัจจุบันของไทยนั้นควรจะทำหรือไม่? ซึ่งในทุกครั้งที่ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ตามมีการพูดถึงการปรับขึ้น หรือการไม่ต่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเกิดการตั้งคำถามทุกครั้งว่าเหมาะสมแล้วหรือยัง?   ทำไมภาษีจึงสำคัญ? แท้จริงแล้วไม่ใช่เพียงภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นที่สำคัญ แต่ภาษีทุกตัวล้วนมีความสำคัญต่อประเทศทั้งหมด เพราะเงินภาษีที่ได้มากจากประชาชนนั้นจะเป็นแหล่งงบประมาณของรัฐบาลในปีงบประมาณต่อไป ซึ่งหากเงินภาษีที่เก็บมาได้นั้นไม่เพียงพอต่องบประมาณจะทำให้รัฐบาลต้องไปกู้เงินจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาเป็นงบประมาณของรัฐบาลในปีนั้นๆ หากดูสัดส่วนรายได้จากภาษีของไทยจะพบว่ารายได้หลักของรัฐบาลที่มีสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งมีสัดส่วนเฉลี่ย 25% ของรายได้ทั้งหมดต่อปี ภาษีเงินได้นิติบุคคล 20.8% ต่อปี ภาษีสรรพสามิต 18.6% ต่อปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 11.3% ต่อปี และภาษีศุลกากร 7.5% ต่อปี ขณะที่รายได้จากแหล่งอื่น ๆ รวมกันคิดเป็น 16.7% ของรายได้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นรายได้ที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล โดยมีสัดส่วนสูงสุดต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มได้ถึง 947,320 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต สอดคล้องกับการเติบโตของรายได้ที่สามารถจัดเก็บได้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มคาดว่าจะยังคงอยู่ที่ประมาณ 30% ของรายได้ทั้งหมด รูปที่ 1: สัดส่วนการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ปีงบประมาณ 2533 – 2567 ที่มา: ส่วนนโยบายรายได้

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับประเทศไทย ของแสลงคนไทย รายได้หลักรัฐบาล อ่านเพิ่มเติม »

ยโสธรเมืองพญาแถน แดนบั้งไฟ ผลักดันเทศกาลไทย ไปนานาชาติ

ยโสธร จังหวัดที่ถือได้ว่าได้กลายเป็น “ภาพจำแห่งวิถีชีวิตอีสาน” ในสายตาคนทั่วไป ซึ่งหากพูดถึงยโสธร หลายคนคงนึกถึงนากว้างใหญ่เขียวขจีและวัฒนธรรมอีสานดั้งเดิม ซึ่งได้ถูกสะท้อนออกมาจากภาพยนต์ไทยระดับตำนานอย่าง “แหยม ยโสธร” จนกลายเป็นภาพจำ โดยบทความนี้ อีสาน อินไซต์ สิพามาสำรวจถึง เศรษฐกิจ สังคม และประเด็นที่น่าสนใจว่า “บั้งไฟเมืองยโส” ถึงได้ดังไกลระดับนานาชาติจริงหรือ?   จังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดเล็กๆอยู่ในอีสานตอนกลาง มีเนื้อที่ 4,161.664 ไร่ หรือ 2,601,040.0 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 17 ของภาค ประกอบด้วย 9 อำเภอ 78 ตำบล และ 885 หมู่บ้าน ซึ่งลักษณะพื้นที่ของจังหวัดจะมีลักษณะโดดเด่นคล้ายกับรูปพระจันทร์เสี้ยว โดยยโสธรมีอาณาเขตติดกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี ทิศใต้ ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มารูปภาพ:https://www2.yasothon.go.th/general-information/   ด้านประชากร ในปี 2566 จังหวัดยโสธรมีประชากรประมาณ 528,878 คน ซึ่งประชากรในจังหวัดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทุกๆปี และมีประชากรผู้สูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งปัญหาด้านการลดลงของประชากรและสังคมผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับจังหวัดยโสธร ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดยโสธรมีมูลค่าผลิตมวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2565 เท่ากับ 32,468 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ามีขนาดเศรษฐกิจที่ไม่ใหญ่มาก อยู่ที่อันดับ 16 ของภาค มีรายได้ต่อหัวของคนในจังหวัดเท่ากับ 72,523 บาท โดยมีมูลค่าและสัดส่วนภาคเศรษฐกิจหลักๆ ดังนี้ สาขาเกษตรกรรม 8,218 ล้านบาท (25%) สาขาการศึกษา 4,654 ล้านบาท (14%) สาขาการผลิตอุตสาหกรรม 4,381 ล้านบาท (13%) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ 3,588 ล้านบาท (11%)   จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจจังหวัดยโสธรพึ่งพาการทำการเกษตรเป็นหลัก โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรกว่า 1,824,765 ไร่ หรือประมาณ 70% ของพื้นที่จังหวัด โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ซึ่งมีพื้นที่นาข้าวเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของพื้นที่จังหวัด โดยปี 2566 มีผลผลิตข้าวนาปีและนาปรังรวมกันกว่า 622,232 ตัน พืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เป็นต้น ในด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่ยโสธร มีการเลี้ยง โคเนื้อ กระบือ สุกร ไก่ เป็ดและแพะ เป็นต้น โดยในปี 2565

ยโสธรเมืองพญาแถน แดนบั้งไฟ ผลักดันเทศกาลไทย ไปนานาชาติ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อัตราการว่างงานของแต่ละประเทศใน CLMV

ปี 2024 ทั่วโลกจะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน อัตราการว่างงานเพิ่มเป็น 5.2% จากการคาดการณ์เมื่อต้นปี 2024 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดว่าปีนี้ทั่วโลกจะมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน อัตราการว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.2% วันที่ 10 มกราคม 2024 รอยเตอร์ (Reuters) รายงานว่า องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เผยคาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.2% ในปีนี้ โดยสาเหตุหลักมาจากการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว รายงานนี้ยังบอกอีกว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบนในช่วง 2 ปีข้างหน้า แต่การจ้างงานในประเทศรายได้น้อยและประเทศรายได้ปานกลางระดับล่างจะยังคงแข็งแกร่ง ISAN Insight and Outlook พามาเบิ่ง สถานะการณ์สรุป อัตราการว่างงานของแต่ละประเทศใน CLMV ในปี 2023 ที่ผ่านมา ประเทศไทย จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ  : 40.8 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ        : 371,000 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น  : 0.91% ประเทศลาว จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 3.17 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 38,040 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น   : 1.2% ประเทศพม่า จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 22.88 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 664,000 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น   : 2.9 % ประเทศเวียดนาม จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 56.1 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 900,000 คน เปอร์เซ็นต์ของคนว่างงานคิดเป็น   : 1.6% ประเทศกัมพูชา จำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ   : 9.17 ล้านคน จำนวนคนว่างงานในประเทศ         : 21,930 คน

พามาเบิ่ง อัตราการว่างงานของแต่ละประเทศใน CLMV อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top