SHARP ADMIN

แม่น้ำชี จากเส้นเลือดใหญ่ของภาคอีสาน สู่ความเปลี่ยนแปลงหลังการสร้างเขื่อน

หากจะกล่าวถึง สายน้ำหลักที่หล่อเลี้ยงผู้คนในดินแดนอีสาน ก็คงหมายถึง น้ำโขง น้ำชี น้ำมูล แม่น้ำสายดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดลุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็น 3 ลุ่มน้ำหลักในอีสาน โดยเฉพาะ“ลุ่มน้ำชี” ซึ่งมีพื้นที่กว่า 49,000 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 27 ลุ่มน้ำสาขา มีพื้นที่ต้นน้ำอยู่ใน จ.ชัยภูมิ และเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำมูล และส่งสู่แม่น้ำโขงที่ จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำชี มาจากภาษาอีสาน ซึ่งคำว่า “ซี” ซึ่งหมายถึงการเจาะทะลุเป็นรู โดยลักษณะต้นกำเนิดของน้ำชีนั้น มีสายน้ำที่ไหลผ่านลอดใต้เทือกเขาหินปูน ที่เรียกว่า “ซีดั้น” และไหลทะลุลอดผ่านมาอีกฝั่งหนึ่งของเทือกเขา เรียกว่า “ซีผุด” จึงทำให้เรียกลำน้ำสายนี้ ตามลักษณะพิเศษที่ลำน้ำไหลซีลอดผ่านใต้เทือกเขานั้นว่า “ลำน้ำซี” ในภาษาถิ่น หรือ ลำนำชี ในภาษากลาง นั่นเอง   ต้นกำเนิด “แม่น้ำชี” แม่น้ำชี มีต้นกำเนิดจากที่ราบด้านตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ นับตั้งแต่เขาสันปันน้ำ เขาแปปันน้ำ เขาเสลียงตาถาด เขาอุ้มน้ำ เขายอดชี เขาครอก จนถึงเขาเทวดา ซึ่งเป็นแนวภูเขาชายเขตแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดชัยภูมิ พามาเบิ่ง 5  แนวเทือกเขาในภาคอีสาน แม่น้ำชี มีต้นกำเนิดอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ไหลผ่าน 9 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่บ้านวังยาง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ ที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีความยาวกว่า 765 กิโลเมตร แม่น้ำชี จึงถูกยกให้เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีลำน้ำสาขาหลัก 5 ลำน้ำ ซึ่งประกอบไปด้วย ลำน้ำพรม ลำน้ำพอง ลำน้ำเซิน ลำน้ำปาว และลำน้ำยัง ลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 49,130 ตร.กม. หรือ 30,706,169 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.56 ของพื้นที่ทั้ง ประเทศ ลุ่มน้ำชียังมีลุ่มน้ำสาขาย่อยที่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน หล่อเลี้ยงชุมชน ทำให้เกิดวีถีชีวิตการดำรงชีพการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำชี โดยสาขาย่อยของลุ่มน้ำชี ประกอบไปด้วย ลุ่มน้ำสาขาลำน้ำชีตอนบน มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 2,551 ตร.กม. หรือ 1,594,250 ไร่ ลุ่มน้ำสาขาลำสะพุง มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 742 ตร.กม. หรือ 463,944 ไร่ ลุ่มน้ำสาขาลำกระจวน มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 893 ตร.กม. หรือ 558,556 ไร่ ลุ่มน้ำสาขาลำคันฉู […]

แม่น้ำชี จากเส้นเลือดใหญ่ของภาคอีสาน สู่ความเปลี่ยนแปลงหลังการสร้างเขื่อน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐ระดับความสูงของระดับน้ำทะเลของภาคอีสาน ทำไม อีสาน ถึงถูกเรียกว่า ดินแดนแห่งที่ราบสูง?

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ภาคอีสาน” มีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ หนึ่งในคำเรียกขานที่คุ้นหูคือ “ดินแดนที่ราบสูง” ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคนี้. ภาคอีสานมีลักษณะเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 168,854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเด่นคือมีแอ่งขนาดใหญ่ 2 แอ่ง ได้แก่ แอ่งโคราช ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนล่างของอีสาน เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น และมหาสารคาม แอ่งสกลนคร ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนบนของอีสาน เช่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์. จุดสูงสุดของภาคอีสาน หากพูดถึงพื้นที่ที่สูงที่สุดของภาคอีสาน มีสองจุดที่น่าสนใจ ได้แก่ “ภูหมันขาว” (1,820 เมตร) ตั้งอยู่ในจังหวัดเลย เป็นจุดสูงสุดของภูมิภาค มีทัศนียภาพที่งดงามและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ “ภูลมโล” (1,664 เมตร) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเลยและพิษณุโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่เต็มไปด้วยต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทย ยอดภูขวาง ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ความสูง 1,571 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เนิน 1408 จังหวัดเลย ความสูง 1,408 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล. จุดต่ำสุดของอีสาน อำเภอเขื่องใน และอำเภอเมืองอุบลราชธานี ความสูงประมาณ 110-130 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทุ่งกุลาร้องไห้ ความสูงประมาณ 110-140 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งพื้นที่ ลุ่มแม่น้ำมูล หรือ ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 847,000 ไร่ มีอาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด คือ ในแนวทิศเหนือนั้นครอบคลุมอำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย ของจังหวัดร้อยเอ็ด . . ภูมิศาสตร์กายภาพ ภาคอีสานเป็นที่ราบสูงแบบแอ่งแผ่นดินตื้น (Shallow Basin) เรียกกันโดยรวมว่า ที่ราบสูงโคราช(Khorat Plateau) มีรูปร่างคล้ายถ้วยเป็นแอ่งอยู่ตรงกลาง ลาดเอียงจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก บริเวณชายขอบเป็นภูเขาสูง พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหิน มีชั้นหินกรวดมน หินดินดาน และเกลือหิน แทรกอยู่เป็นตอนๆ จากลักษณะทางธรณีวิทยาและอายุของหิน ทำให้ทราบว่าแผ่นดินอีสานอยู่ในช่วงตอนปลายของมหายุคเมโสโซอิก ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเป็นแอ่งทีมีการทับถมของตะกอน บางช่วงได้ยุบจมลง เป็นทะเลตื้น ๆ และเมื่อน้ำทะเลระเหย จึงตกตะกอนเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ทั่วทั้งบริเวณที่ราบต่อมาในมหายุคซีโนโซอิก เกิดการบีบตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดรอยเลื่อนของเปลือกโลกขึ้นทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค เป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันกำแพง และพนมดงรัก ขณะเดียวกันตอนกลางของที่ราบก็เกิดการโค้งตัวขึ้นเป็นสัน จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทือกเขาภูพานแบ่งแอ่งที่ราบต่ำตอนกลางของภาคออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ตอนเหนือเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” ส่วนที่อยู่ทางใต้เรียกว่า “แอ่งโคราช”. 1.แอ่งโคราช พื้นที่ราบเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่

พามาเบิ่ง🧐ระดับความสูงของระดับน้ำทะเลของภาคอีสาน ทำไม อีสาน ถึงถูกเรียกว่า ดินแดนแห่งที่ราบสูง? อ่านเพิ่มเติม »

🇲🇲พม่า เกิดภัยพิบัติ เอาเงินที่ไหนซ่อมประเทศ เมื่อเศรษฐกิจพังไม่แพ้กัน ประชาชนช่วยกันเอง ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 2.7 พันราย มินอ่องลาย ห้ามนักข่าวต่างประเทศเข้าทำข่าว

พม่า เกิดภัยพิบัติ เอาเงินที่ไหนซ่อมประเทศ เมื่อเศรษฐกิจพังไม่แพ้กัน ประชาชนช่วยกันเอง ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 2.7 พันราย มินอ่องลาย ห้ามนักข่าวต่างประเทศเข้าทำข่าว . ISAN Insight พาไปดู เศรษฐกิจของเมียนมาว่าน่าเป็นห่วงขนาดไหน . จากข้อมูลของธนาคารโลกพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเมียนมาในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2568 คาดว่าจะหดตัวลง 1% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะเติบโต 1% โดยสาเหตุก็เพราะเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว เมียนมาก็เจอพายุไต้ฝุ่นยางิพัดถล่มซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงไปอีก . ขณะที่รัฐบาลทหารเมียนมายังคงประเมินว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ 3.8% อย่างไรก็ตาม หลังเกิดแผ่นดินไหว คาดว่าจะต้องมีการประเมินใหม่อีกครั้ง . ธนาคารโลกยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเมียนมาจะหดตัวในปีงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงเฉลี่ยที่ 26% ต่อปี โดยตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดยังชี้ให้เห็นว่า ผลผลิตทางเศรษฐกิจของเมียนมาในปี 2025 จะลดลงประมาณ 11% เมื่อเทียบกับปี 2019 และการหดตัวของเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรัฐประหารในปี 2021 ซึ่งนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่รุนแรงขึ้นทั่วประเทศ . ในขณะที่สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ คาดการณ์ความเสียหายทางเศรษฐกิจของเมียนมาจากแผ่นดินไหวอาจสูงถึง 10,000-100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นความเสียหายสูงสุด 70% ของ GDP เมียนมาเลยทีเดียว และความเสียหายเหล่านี้ ต้องใช้งบประมาณมหาศาลเข้ามาดูแล . แต่รัฐบาลทหารเมียนมาจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ในเมื่อเวลานี้ เศรษฐกิจของเมียนมาก็ตกอยู่ในสภาพ “พังพินาศ” ไม่ได้ต่างจากโครงสร้างพื้นฐานหรืออาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว พามาฮู้จัก รอยเลื่อนสะกาย ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า ต้นเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ สะเทือนแรงถึงไทย สถานการณ์หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา ยังคงอยู่ในระดับวิกฤต ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งทะลุ 2,700 ราย ขณะที่ผู้ได้รับบาดเจ็บก็เกิน 4,500 คน โดยบริเวณที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศ มีประชากรมากกว่า 1.7 ล้านคน เนื่องจากเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวที่ของรอยเลื่อนสะกาย และมีการคาดการณ์ว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจสูงมากกว่า 10,000 คน เนื่องจากยังมีอาคารมากมายที่ยังไม่สามารถกู้ซากปรักหักพังได้ . สำหรับในเมืองมัณฑะเลย์ ผู้คนมากมายต่างต้องอาศัยท้องถนนเพื่อการพักพึง และอยู่ด้วยความหวาดผวา อีกทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับอนาคตที่ไม่แน่นอน เนื่องจากอาหารกำลังขาดแคลน และไม่มีไฟฟ้าและน้ําประปา . นอกจากนี้ถุงศพมีความจำเป็นอย่างสูงที่ต้องการเพิ่มเติมสําหรับบรรจุศพที่เหล่ากู้ภัยกําลังดึงร่างของผู้เสียชีวิตจากซากอาคาร ซึ่งผู้คนที่อยู่ในประเทศเมียนมาตอนนี้ให้ข้อมูลว่ากองทัพไม่ได้ทําอะไรเพื่อช่วยเหลือประชาชนเลย . ขณะที่ความช่วยเหลือจากนานาชาติทั้ง จีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย รัสเซีย และสิงคโปร์ก็เริ่มมาถึงเช่นกัน แต่ยังคงมีคําถามว่ากองทัพเมียนมาจะแจกจ่ายความช่วยเหลือที่จําเป็นมากนี้ให้ถึงมือประชาชนได้อย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่งของทีมกู้ภัยและเสบียงอาหารจากสิงคโปร์และอินเดีย ได้ส่งไปยังกรุงเนปิดอว์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ที่นายพลของกองทัพอาศัยอยู่และได้รับผลกระทบน้อยกว่ามัณฑะเลย์ ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรพม่า🇲🇲   รัฐบาลทหารพม่าออกคำสั่ง ห้ามสื่อต่างชาติเข้าไปรายงานข่าวแผ่นดินไหว วันที่ 1 เมษายน 2568 นายพลจัตวาซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมา (พม่า) แถลงว่า

🇲🇲พม่า เกิดภัยพิบัติ เอาเงินที่ไหนซ่อมประเทศ เมื่อเศรษฐกิจพังไม่แพ้กัน ประชาชนช่วยกันเอง ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 2.7 พันราย มินอ่องลาย ห้ามนักข่าวต่างประเทศเข้าทำข่าว อ่านเพิ่มเติม »

🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุในวันพุธ(2เม.ย.) แถลงจะรีดภาษีพื้นฐาน 10% กับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสู่สหรัฐฯ และเรียกเก็บภาษีสูงกว่านั้นกับประเทศอื่นๆอีกหลายสิบชาติ ในนั้นรวมถึงบรรดาคู่หูทางการค้าหลักของอเมริกาบางส่วน ยกระดับสงครามการค้าที่เขาเริ่มขึ้นตั้งแต่กลับเข้าสู่ทำเนียบขาว มาตรการรีดภาษีอย่างครอบคลุมครั้งนี้จะเป็นการตั้งกำแพงใหม่รอบๆเศรษฐกิจผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลกแห่งนี้ กลับลำจากนโยบายเปิดเสรีทางการค้าที่ยึดถือมานานหลายทศวรรษและเป็นตัววางทรวดทรงระเบียบโลก ในขณะที่คาดหมายว่าบรรดาคู่หูการค้าของอเมริกา จะมีมาตรการตอบโต้ของตนเอง ที่อาจทำให้ราคาข้าวของแพงขึ้นอย่างน่าตกตะลึง ไล่ตั้งแต่จักรยานไปจนถึงไวน์ “นี่คือการประกาศเอกราชของเรา” ทรัมป์ กล่าว ณ กิจกรรมหนึ่ง ณ สวนกุหลาบของทำเนียบขาว ทรัมป์ได้แสดงแผนภูมิขณะกล่าวที่ทำเนียบขาว โดยระบุว่าสหรัฐฯจะเก็บภาษีนำเข้า 34% จากจีน, 20% จากสหภาพยุโรป, 25% จากเกาหลีใต้, 24% จากญี่ปุ่น และ 32% จากไต้หวัน เพื่อตอบโต้ภาษีที่ประเทศเหล่านี้เก็บกับสินค้าของสหรัฐฯ ตัวอย่างประเทศที่ถูกประกาศขึ้นภาษี เวียดนาม: 46% ไต้หวัน: 32% ญี่ปุ่น: 24% ไทย: 36% สวิตเซอร์แลนด์: 31% อินโดนีเซีย: 32% มาเลเซีย: 24% กัมพูชา: 49% สหราชอาณาจักร: 10% แอฟริกาใต้: 30% บราซิล: 10% บังกลาเทศ: 37% สิงคโปร์: 10% อิสราเอล: 17% ฟิลิปปินส์: 17% ชิลี: 10% ออสเตรเลีย: 10% ปากีสถาน: 29% ตุรกี: 10% ศรีลังกา: 44% โคลอมเบีย: 10% สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย ใครกระทบ? มาตรการนี้จะกระทบสินค้าส่งออกไทย ไปสหรัฐฯ หลายประเภท ตั้งแต่สินค้าเกษตร ยันสินค้าอุตสาหกรรม โดยหากย้อนดู 10 อันดับสินค้าส่งออก ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – มิถุนายน) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 4,740 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 32.56% เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 2,142 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 33.11% ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่า 2,123 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 9.67% อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มูลค่า 1,561 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.68% อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 973 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.63%

🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓ อ่านเพิ่มเติม »

ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรพม่า🇲🇲

🇲🇲 จากแผนที่ประชากรของพม่า มีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 196.8 คนต่อตารางไมล์ (76.0 คนต่อตารางกิโลเมตร) เราจะเห็นว่าประชากรไม่ได้กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วประเทศ แต่มีการกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ เช่น ย่างกุ้ง , มัณฑะเลย์ และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี เพราะมีดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเพาะปลูกข้าวและเกษตรกรรม ทำให้ผู้คนตั้งถิ่นฐานและพัฒนาเป็นเมืองใหญ่ ซึ่งมีประชากรหนาแน่นที่สุด โดยบางจุดมีประชากรมากกว่า 600 คนต่อตารางไมล์ (230 คนต่อตารางกิโลเมตร) ในขณะที่พื้นที่ภูเขาทางเหนือและตะวันออกของประเทศมีประชากรเบาบางมาก เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีสภาพอากาศที่ยากลำบาก การคมนาคมเข้าถึงยาก และไม่เหมาะกับการเกษตรขนาดใหญ่ ในด้านของพีระมิดประชากรจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของ ประชากรอายุน้อยและกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ไปสู่สังคมสูงวัย ซึ่งไทยของเรามีโอกาสได้รับผลดีจากโครงสร้างประชากรพม่าที่เป็นแบบนี้ในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น แรงงานจากพม่าจะยังไหลเข้าสู่ ไทย และภาคอีสานมากขึ้น, การค้าชายแดนขยายตัว เมืองชายแดน เช่น เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง เป็นต้น มีโอกาสเพิ่มการค้าและการลงทุนกับฝั่งพม่า เพราะคนวัยแรงงานยังมีกำลังซื้อ   ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจุกตัวของประชากร สภาพภูมิศาสตร์ – พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรรมและเศรษฐกิจมาช้านาน ทำให้มีประชากรหนาแน่น เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน – เมืองใหญ่อย่าง ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคม จึงดึงดูดประชากรจากชนบท ประวัติศาสตร์และการปกครอง – อดีตอาณานิคมอังกฤษพัฒนาเมืองย่างกุ้งให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เมืองนี้ยังคงเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด   พีระมิดประชากรของพม่า ประชากรวัยเด็กและเยาวชนยังเยอะ ประมาณ 40% ของประชากรพม่าอายุต่ำกว่า 20 ปี แสดงให้เห็นว่าประเทศยังมีอัตราการเกิดสูง แต่แนวโน้มเริ่มลดลง วัยแรงงานเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด ช่วงอายุ 20-49 ปี มีจำนวนมากกว่า 40% ของประชากรทั้งหมด ทำให้พม่ายังมีศักยภาพด้านแรงงานสูง และเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แนวโน้มเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคต กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปเริ่มเพิ่มขึ้น แม้ตอนนี้จะยังไม่มาก แต่หากอัตราการเกิดลดลง อาจนำไปสู่ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต 11 จุดผ่านแดน ไทย-พม่า 1. กิ่วผาวอก 2. บ้านเปียงหลวง 3. บ้านห้วยผึ้ง 4. บ้านห้วยต้นนุ่น 5. บ้านเสาหิน 6. บ้านริมเมย 7. ด่านเจดีย์สามองค์ 8. พุน้ำร้อน 9. บ้านสบวก 10. ปากน้ำระนอง 11. ท่าเทียบเรือสะพานปลา 10 จังหวัดชายแดนไทย-พม่า 1. เชียงราย 2. แม่ฮ่องสอน 3. เชียงใหม่ 4. ตาก 5. กาญจนบุรี 6. ราชบุรี 7. เพชรบุรี

ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรพม่า🇲🇲 อ่านเพิ่มเติม »

หวยออนไลน์ครองเมือง พาเปิดเบิ่ง สถิติคนไทยเสี่ยงโชคผ่านแอปฯ เว็บฯ พุ่งแรง วงเงินหมุนเวียนทะลุแสนล้าน

ฮู้บ่ว่า? คนไทยกว่า 21.9 ล้านคน หรือ 40.1% ของคนไทยเล่นพนันหวยใต้ดิน โดยมีวงเงินหมุนเวียนในตลาดพนันหวยใต้ดิน 164,069 ล้านบาท สลากกินแบ่งรัฐบาล คนไทยกว่า 27.5 ล้านคน หรือ 50.3% ของคนไทยเล่นพนันสลากกินแบ่งรัฐบาล วงเงินหมุนเวียนในตลาดพนันสลากกินแบ่งรัฐบาล 160,239 ล้านบาท แผงขายสลาก คนเร่ขาย 138,295 ล้านบาท แอปจำหน่ายสลากเว็บไซต์ 18,020 ล้านบาท ไลน์ แอปแชทต่างๆ 3,650 ล้านบาท เฟซบุ๊ก TikTok โซเชียลมีเดีย 274 ล้านบาท สัดส่วนผู้เล่น (เล่นได้มากกว่า 1 ช่องทาง) แผงขายสลาก คนเร่ขาย 96.4% ไลน์ แอปแชทต่างๆ 2.3% เฟซบุ๊ก TikTok โซเชียลมีเดีย 0.3% แอปจำหน่ายสลากเว็บไซต์ 12.0%   หวยใต้ดิน คนไทยกว่า 21.9 ล้านคน หรือ 40.1% ของคนไทยเล่นพนันหวยใต้ดิน วงเงินหมุนเวียนในตลาดพนันหวยใต้ดิน 164,069 ล้านบาท เล่นกับเจ้ามือโดยตรง คนรับแทง คนเดินโพย 68.9% 113,040 ล้านบาท ไลน์ แอปแชทต่างๆ 17.0% 27,934 ล้านบาท เฟซบุ๊ก TikTok โซเชียลมีเดีย 3.0% 4,889 ล้านบาท เล่นโดยตรงกับเว็บไซต์ แอปพนัน 11.1% 18,206 ล้านบาท สัดส่วนผู้เล่น (เล่นได้มากกว่า 1 ช่องทาง) เล่นกับเจ้ามือโดยตรง คนรับแทง คนเดินโพย 80.2% ไลน์ แอปแชทต่างๆ 16.1% เฟซบุ๊ก TikTok โซเชียลมีเดีย 3.5% เล่นโดยตรงกับเว็บไซต์ แอปพนัน 11.6%   คนที่ซื้อสลากฯ ผ่านแอป/เว็ปไซต์ 28.1 % ระบุว่าการจำหน่ายผ่านแอป/เว็บไซต์ ส่งผลให้ซื้อสลากฯ เพิ่มขึ้น เฉลี่ย +337 บาท/เดือน สูงสุด +6,000 บาท/เดือน หมายเหตุ: เป็นข้อมูลสถานการณ์การพนันในสังคมไทย ปี 2566   การเติบโตของตลาดการพนันหวยในไทย กับการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค ตลาดการพนันในประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่ม “หวย” ซึ่งเป็นการพนันที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศ ข้อมูลสถานการณ์การพนันในสังคมไทย ปี

หวยออนไลน์ครองเมือง พาเปิดเบิ่ง สถิติคนไทยเสี่ยงโชคผ่านแอปฯ เว็บฯ พุ่งแรง วงเงินหมุนเวียนทะลุแสนล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง Top 5 อุตสาหกรรม แรงงานนอกระบบของไทย

จำนวนแรงงานในตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 9,712,273 คน โดยมีแรงงานในระบบ 2,290,872 คน แต่กลับมีแรงงานนอกระบบสูงถึง 7,421,401 คน จะพบว่าภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุดอันดับ 1 ของประเทศ โดยเมื่อนำมาคิดสัดส่วนแรงงานนอกระบบในแต่ละภูมิภาคเทียบกับจำนวนแรงงานนอกระบบทั้งประเทศที่ 20,957,666 คน จะได้ ดังนี้ อีสาน 7,421,401 คน (35.4%) กลาง 4,918,196 คน (23.5%) เหนือ 4,295,682 คน (20.5%) ใต้ 2,937,453 คน (14.0%) กทม. 1,384,934 คน (6.6%) ภาคกลาง อุตสาหกรรม  จำนวนแรงงานนอกระบบ (คน) %เทียบกับทั้งภาค  เกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง        1,711,268 26% การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์        1,608,275 25% ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร        1,104,113 17% การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าฯ            538,041 8% การผลิต            482,232 7%   ภาคเหนือ   อุตสาหกรรม  จำนวนแรงงานนอกระบบ (คน)  %เทียบกับทั้งภาค  เกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง            2,779,065 65% การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์              530,865 12% ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร              251,482 6% การผลิต              221,281 5% การก่อสร้าง         

พามาเบิ่ง Top 5 อุตสาหกรรม แรงงานนอกระบบของไทย อ่านเพิ่มเติม »

3 อันดับโรงเรียน ส่งลูกศิษย์พิชิต ม.ขอนแก่น มากที่สุด

(1) ISAN Insight & Outlook พาชมสถิติเด็กปี 1 มข. ปี 2567 มาจากโรงเรียนไหนกันบ้าง รวมถึงแสดงจำนวนว่าแต่ละโรงเรียนมีเด็กนักเรียนมาเรียนต่อจำนวนมากเท่าใด.ภูมิภาคหลักของนักศึกษายังมาจากอีสานเป็นหลัก โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่นที่เป็นสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามด้วยจังหวัดหัวเมืองใหญ่ในอีสานเป็นหลัก นอกจากนี้ในภูมิภาคอื่น มาจากกรุงเทพฯ เป็นหลัก ตามด้วยหัวเมืองใหญ่ในภาคต่าง ๆ เช่น ชลบุรี เชียงใหม่.ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี 2567 สะท้อนถึงศักยภาพของโรงเรียนต่างๆ ในการส่งเสริมให้นักเรียนก้าวสู่ระดับอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) ที่กำลังพลิกโฉมตลาดแรงงานอย่างรวดเร็ว.ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้มีทักษะที่จำเป็นในยุคตลาดแรงงานดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากตลาดแรงงานไทยยังต้องเผชิญความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิทัล (Digital revolution) ที่มาแรงมาเร็ว..ทักษะอะไรต้องมีสำหรับงานอนาคตรายงาน Future of Jobs Report 2025 จาก World Economic Forum เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดแรงงานในอนาคต ระบุว่า การคิดเชิงวิเคราะห์ ยังคงเป็นทักษะหลักที่เป็นที่ต้องการมาก เป็นสิ่งจำเป็นในปี 2025 ตามมาคือทักษะด้านความยืดหยุ่น การปรับตัว และความเป็นผู้นำ.ส่วนทักษะที่มาแรง และเป็นที่ต้องการมากที่สุด คือ AI และ Big Data ตามมาด้วยทักษะความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความรู้ด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ ความอยากรู้อยากเห็น การปรับตัวเก่ง การเรียนรู้เร็ว และไฝ่รู้ตลอดชีวิต จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 2025 – 2030.ตลาดแรงงานกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอิทธิพลของ AI, Big Data และพลังงานหมุนเวียน ที่เข้ามาพลิกโฉมวิถีการทำงานในช่วงปี 2025 – 2030 งานบางประเภทจะหายไป ขณะที่อาชีพใหม่ ๆ จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม..(2) เรียนจบไวใน 3 ปี! เทรนด์ใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่อยากนำหน้าในยุค Data & AIถ้าพูดถึงอนาคตของตลาดแรงงาน หนึ่งในทักษะที่ทุกบริษัทต้องการมากที่สุดหนีไม่พ้น Data & AI เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเข้ามาปรับเปลี่ยนทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่การเงิน สุขภาพ ไปจนถึงธุรกิจสตาร์ทอัพ.แล้วเราจะสามารถก้าวทันโลกยุคใหม่ได้ยังไงในยุคที่เทคโนโลยี Data Analytics และ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนทุกอุตสาหกรรม การก้าวทันโลกยุคใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น เทรนด์การศึกษาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนจบไว พร้อมกับการเตรียมทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในตลาดแรงงานในอนาคต โดยต้องเป็นการเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้งานจริง แทนการนั่งฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงผ่าน Project-Based Learning, Case Study ก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โลกการทำงานยุคใหม่ต้องการมากกว่าความรู้ในห้องเรียน และการเรียนรู้ที่ตรงจุด จะทำให้คุณก้าวล้ำกว่าคนอื่นได้เร็วยิ่งขึ้น..ปรับตัวให้เร็ว เพราะอนาคตไม่รอใครจากข้อมูลแนวโน้มแรงงานโลก คาดว่า 22% ของงานทั้งหมดจะเปลี่ยนไปภายในปี 2030 ใครที่ปรับตัวได้เร็ว มีทักษะด้าน AI,

3 อันดับโรงเรียน ส่งลูกศิษย์พิชิต ม.ขอนแก่น มากที่สุด อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 4 มหาลัยดังในอีสาน 👩🏻‍🎓🤎

พามาเบิ่ง 4 มหาลัยดังในอีสาน ..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาและวิจัย สี่มหาวิทยาลัยที่โดดเด่น ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเสียงด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยมีโรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นโรงพยาบาลหลักในการฝึกอบรมและให้บริการทางการแพทย์.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.)เริ่มต้นจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2511 และได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2537 มมส. มีความโดดเด่นด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการศึกษาพื้นเมือง โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เน้นการเรียนการสอนและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทส. มีระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.)ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 มอบ. มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่นและการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน มีความโดดเด่นด้านเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาธารณสุขทั้งสี่มหาวิทยาลัยนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การวิจัยที่มีประโยชน์ และการบริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม.หมายเหตุ: ข้อมูลปี 2566.อ้างอิงจาก:เว็บไซต์ของมหาลัย.ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่https://linktr.ee/isan.insight.#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #มหาวิทยาลัยขอนแก่น#มข #มหาวิทยาลัยมหาสารคาม #มมส #มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี #มทส #มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี #มอบ

พามาเบิ่ง 4 มหาลัยดังในอีสาน 👩🏻‍🎓🤎 อ่านเพิ่มเติม »

🎓พาเปิดโผ 5 คณะที่มีนักศึกษาปี 1 มากสุด แต่ละมหาวิทยาลัยชั้นนำในอีสาน ปี 67📚

พาเปิดโผ 5 คณะที่มีนักศึกษาปี 1 มากสุดแต่ละมหาวิทยาลัยชั้นนำในอีสาน ปี 67..การก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเยาวชน การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีจึงสะท้อนถึงความมุ่งหวังและความฝันในอนาคต ข้อมูลนักศึกษาใหม่ปี 2567 จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงทิศทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งล้วนมีเอกลักษณ์ ความโดดเด่น และแนวทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและสังคมที่หลากหลาย.การเลือกมหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ขึ้นอยู่กับความสนใจและเป้าหมายของแต่ละคน มหาวิทยาลัยในภาคอีสานทุกแห่งล้วนเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ พร้อมที่จะสนับสนุนให้เยาวชนก้าวไปสู่อนาคตที่สดใส และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้ดียิ่งขึ้น..มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาอีสาน สู่ความเป็นเลิศระดับสากล.ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานและความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มข. ได้ก้าวขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ให้ความรู้ แต่ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะนักคิด นักวิจัย และผู้นำในหลากหลายสาขา มข. ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ทำให้เกิดผลงานวิจัยที่โดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ..มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ผู้นำด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งภาคอีสาน.เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่โดดเด่นในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัยและเน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ มทส. จึงเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ มทส. ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์..มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) แหล่งรวมศาสตร์แห่งอีสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน.เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่โดดเด่นในด้านความหลากหลายทางวิชาการและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้วยคณะและสาขาวิชาที่ครอบคลุมทุกสาขา มมส. จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาที่มีความสนใจที่แตกต่างกัน มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการให้ความรู้ทางวิชาการ แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนผ่านโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาคอีสาน..มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ม.อุบลฯ): มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ.เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและชุมชน นอกจากนี้ ม.อุบลฯ ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาอย่างยั่งยืน. โลกกำลังหมุนเร็วขึ้นทุกวินาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาถึงของการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) ที่กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของตลาดแรงงานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การเตรียมความพร้อมด้วยทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะตลาดแรงงานไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ในการปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลที่มาถึงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ . รายงาน Future of Jobs Report 2025 จาก World Economic Forum ได้ฉายภาพอนาคตของตลาดแรงงานไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า “การคิดเชิงวิเคราะห์” ยังคงเป็นทักษะหลักที่ตลาดต้องการมากที่สุดในปี 2025 ตามมาด้วยทักษะที่สะท้อนถึงความสามารถในการปรับตัวและความเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่องค์กรต่างๆ มองหาในบุคลากร . อย่างไรก็ตาม ทักษะที่กำลังมาแรงและเป็นที่ต้องการอย่างมากคือ “AI และ Big Data” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทในทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความรู้ด้านเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ในขณะเดียวกัน ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ความอยากรู้อยากเห็น การปรับตัว และการเรียนรู้ตลอดชีวิต จะทวีความสำคัญมากขึ้นในช่วงปี 2025-2030 . ตลาดแรงงานกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมี AI, Big Data และพลังงานหมุนเวียนเป็นตัวเร่งสำคัญที่กำลังพลิกโฉมวิธีการทำงานในช่วงปี 2025-2030 งานบางประเภทอาจหายไป แต่ในขณะเดียวกัน อาชีพใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม . ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้มีทักษะที่จำเป็นในยุคตลาดแรงงานดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากตลาดแรงงานไทยยังต้องเผชิญความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิทัล (Digital revolution) ที่มาแรงมาเร็ว . เรียนจบไวใน 3 ปี! เทรนด์ใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่อยากนำหน้าในยุค Data & AI ถ้าพูดถึงอนาคตของตลาดแรงงาน หนึ่งในทักษะที่ทุกบริษัทต้องการมากที่สุดหนีไม่พ้น

🎓พาเปิดโผ 5 คณะที่มีนักศึกษาปี 1 มากสุด แต่ละมหาวิทยาลัยชั้นนำในอีสาน ปี 67📚 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top