SHARP ADMIN

พามาเบิ่ง ปี 2568 อบจ.อีสาน ได้รับงบประมาณเท่าไร?

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาล ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในรูปแบบเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ภายในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างชุมชนท้องถิ่น เสริมสร้างรายได้ให้แก่หน่วยงาน และเป็นกลไกในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่ท้องถิ่น หลังการเลือกตั้งนายกและสมาชิก อบจ. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา อีสานอินไซต์ จึงขอนำเสนอ ข้อมูลการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2568 ของ อบจ. แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน พร้อมชวนดูประเด็นที่น่าสนใจ อบจ.นครราชสีมา ยังคงเป็นผู้ได้รับงบประมาณสูงสุดที่ 2,417,148,800 บาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน โดย 68% ของงบประมาณถูกจัดสรรไปยังด้านการศึกษา ตามมาด้วย อบจ.ขอนแก่น ที่ได้รับงบประมาณ 1,498,012,800 บาท เพิ่มขึ้น 7% โดย 48% เป็นงบบริหารจัดการ ในส่วนของอันดับ 3-20 ได้แก่ อบจ.ศรีสะเกษ 1,381,533,200 บาท  เพิ่มขึ้น 5% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 63% อบจ.มหาสารคาม 970,081,400 บาท  เพิ่มขึ้น 15% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 42% อบจ.ชัยภูมิ 933,079,500 บาท  เพิ่มขึ้น 9% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 62% อบจ.ร้อยเอ็ด 851,729,300 บาท  เพิ่มขึ้น 2% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 67% อบจ.อุบลราชธานี 803,190,000 บาท เพิ่มขึ้น 15% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 54% อบจ.สกลนคร 760,993,900 บาท  เพิ่มขึ้น 3% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 62% อบจ.กาฬสินธุ์ 722,528,600 บาท  เพิ่มขึ้น 10% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 55% อบจ.มุกดาหาร 358,615,800 บาท  เพิ่มขึ้น 13% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 77% อบจ.หนองบัวลำภู 353,781,300 บาท  เพิ่มขึ้น 8% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 69% อบจ.อำนาจเจริญ 323,363,000 บาท  เพิ่มขึ้น 13% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 69% อบจ.อุดรธานี 314,878,500 บาท เพิ่มขึ้น 4% ส่วนใหญ่เป็นด้านศึกษา 56% อบจ.เลย 296,701,500 บาท […]

พามาเบิ่ง ปี 2568 อบจ.อีสาน ได้รับงบประมาณเท่าไร? อ่านเพิ่มเติม »

คูน้ำโบราณบุรีรัมย์ มรดกภูมิปัญญาแห่งแดนอีสานใต้

คูน้ำ เป็นร่องที่ถูกขุดขึ้นเพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ โดยทำหน้าที่เป็นเส้นทางการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค โดยในอีสานใต้ โดยเฉพาะบุรีรัมย์ มีคูน้ำที่ล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยอยู่มากมาย ซึ่งบทความนี้จะพามาดูต้นกำเนิดของคูน้ำ มีความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องราวของเมืองโบราณแห่งอีสานอย่างบุรีรัมย์ ภายในตัวอำเภอเมืองบุรีรัมย์ บริเวณใจกลางเมืองมีคูน้ำขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นรูปวงรีล้อมรอบบริเวณพื้นที่ศาลหลักเมือง คนบุรีรัมย์เรียกคูน้ำนี้ว่า “ละลม” มีความกว้างเฉลี่ย 80 เมตร ยาวประมาณ 5,000 เมตร พื้นที่รวม 179 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา แต่ก่อนมีเพียงคูเดียวล้อมรอบ แต่ปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ซึ่งละลมแห่งนี้มีประวัติอย่างยาวนานมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ช่วง พ.ศ.1100 – 1500) มีอายุกว่า 1,800 ปี  ซึ่งการกร้างละลมนี้มีจุดประสงค์เป็นเพื่อการอุปโภคบริโภคของชาวเมือง และการทำอุตสาหกรรมเหล็กในสมัยก่อนเป็นหลัก โดยละลมถูกจัดตั้งเป็นโบราณสถานตามประกาศกรมศิลปากร ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2523 นอกจากจะเป็นสถานที่ประวัติศาตร์แล้ว ปัจจุบันละลมของเมืองบุรีรัมย์ ก็เป็นสวนสาธารณะและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองบุรีรัมย์และนักท่องเที่ยว นอกจากละลมในตัวเมืองแล้วนั้น คูน้ำลักษณะนี้ยังกระจายอยู่หลายพื้นที่ในจังหวัด โดยขอยกตัวอย่าง “บ้านปะเคียบ” ตั้งอยู่ ตําบลปะเคียบ อําเภอคูเมือง เป็นชุมชนเมืองโบราณที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล หมู่บ้านมีลักษณะที่ถูกโอบล้อมด้วยคูน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งบ้านปะเคียบแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานโนนสำโรง ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากโบราณวัตถุมากมายไม่ว่าจะเป็นก้อนศิลาแลง หรือชิ้นส่วนกระเบื้อง เป็นต้น โดยตัวอย่างชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีคูน้ำล้อมรอบเพื่อใช้ประโยชน์ ที่หยิบยกมานำเสนอ ได้แก่ บ้านเมืองฝ้าย ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เป็นอีกชุมชนเมืองโบราณในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น ลึกประมาณ 2.50 เมตร บ้านทะเมนชัย ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย เป็นชุมชนเมืองโบราณ มีคูน้ำล้อมรอบขอบเนินเป็นรูปวงรี ตามแนวเหนือใต้ 3 ชั้น กว้างยาวโดยประมาณ 244  ไร่ บ้านตะลุงเก่า ตำบลโคกม้า อำเภอประโคนชัย เมืองโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นวงรีซ้อนกันสามชั้น ปัจจุบันเหลืออยู่สองชั้น บ้านแสลงโทน ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย กับคูน้ำโบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี นอกจากชุมชนที่กล่าวมา ยังมีชุมชนอื่นๆ ที่มีคูเมืองล้อมรอบ เช่น บ้านพระครู บ้านเมืองดู่ และบ้านไทรโยง คูน้ำถือเป็น ‘นวัตกรรม’ การบริหารจัดการน้ำของชาวอีสานใต้ในอดีต สะท้อนถึงภูมิปัญญาในการปรับตัวของผู้คนที่อาศัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ระบบคูน้ำนี้ไม่เพียงช่วยกระจายน้ำสู่พื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง แต่ยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง อีกทั้งยังเป็นระบบนิเวศขนาดเล็กที่เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำและพืชน้ำหลากหลายชนิด ซึ่งยังคงให้ประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน    ที่มา สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม วิกิชุมชน วารสารเมืองโบราณ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์  

คูน้ำโบราณบุรีรัมย์ มรดกภูมิปัญญาแห่งแดนอีสานใต้ อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง🚜รถเเทรกเตอร์เกือบครึ่งประเทศอยู่ในเเดนอีสาน เเละหากเทียบสัดส่วนรถเเทรกเตอร์ 1 คันต่อเนื้อที่การเกษตรคิดเป็นเท่าไหร่🌾

พาส่องเบิ่ง!  รถเเทรกเตอร์เกือบครึ่งประเทศอยู่ในเเดนอีสาน เเละหากเทียบสัดส่วนรถเเทรกเตอร์ 1 คันต่อเนื้อที่การเกษตรคิดเป็นเท่าไหร่ . รถเเทรกเตอร์(Tractor) เครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเพื่อการเตรียมแปลงเกษตร โดยความต้องการใช้เครื่องจักรเพื่อการเกษตรของไทยมีสัดส่วนสูงที่ 71.3% ของจํานวนผู้ถือครองทําการเกษตรทั้งหมด โดยชนิดของเครื่องจักรที่มีผู้ใช้มากที่สุด คือ รถเเทรกเตอร์  (50.8% ของผู้ถือครองเนื้อที่ทําการเกษตรที่รายงานว่ามีการใ้เครื่อจักรเพื่อการเกษตร ) รองลงมาเป็นเครื่องเกี่ยวนวดข้าว(27.9%) . คํานิยามของรถเเทรกเตอร์ คือ เป็นรถที่มีล้อหรือสายพาน และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานในงานที่เกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน หรือฉุดลาก เป็นต้น หรือรถยนต์สำหรับลากจูงซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องมีขนาดกว้าง ไม่เกิน 4.40 เมตร ยาวไม่เกิน 16.20 เมตร . แทรกเตอร์ที่ใช้ในภาคเกษตรไทยส่วนใหญ่แบ่งเป็น (1) กลุ่มแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 2 ล้อ และ รถไถเดินตาม (Power tiller or 2-wheel walking tractor) เหมาะกับเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กและอาศัยความคล่องตัว และ (2) กลุ่มแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือแทรกเตอร์ที่มีขนาดกำลังแรงม้าไม่น้อยกว่า 40 แรงม้า ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการปรับพื้นที่ ไถเตรียมดิน ใช้เพื่อฉุดลากเครื่องมือหรือเครื่องทุ่นแรง หรือมีพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมาก . หากลองเทียบสัดส่วนจํานวนรถเเทรกเตอรที่จดทะเบียนสะสมในเเต่ละจังหวัดกับเนื้อที่ถือครองทําการเกษตร จะได้อัตราส่วนรถเเทรกเตอร์ต่อพื้นที่การเกษตร( 1 คันต่อกี่ไร่) จะพบว่าที่มีอัตราส่วนนี้มากที่สุดคือ บึงกาฬ  1 คัน  : 628 ไร่ เนื่องจากมีจํานวนรถเเทรกเตอร์จดทะเบียนสะสมน้อยที่สุดในภูมิภาคอยู่ที่  2,922 คัน ในขณะที่จังหวัดนครราชสีมาที่มารถเเทกเตอร์มากที่สุดอยู่ที่ 46,595 คัน มีอัตราส่วนอยู่ที่ 1คัน  : 159 ไร่ . อัตราส่วนเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 1 คัน  : 246 ไร่ นอกจากนี้มีงานศึกษาจากวารสารแก่นเกษตร ระบุว่าจุดคุ้มทุนของรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง เจ้าของรถเเทรกเตอร์ควรไถนาอย่างน้อย 260 ไร่ต่อคันต่อปีเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเเละน่าสังเกตสําหรับการตัดสินใจซื้อหรือใช้งานรถเเทรกเตอร์ เเต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการเปรียบเทียบอย่างคร่าวๆเท่านั้น มีข้อมูลหรือเหตุปัจจัยๆอื่นที่มากกว่าที่ได้นําเสนอสําหรับการวิเคราะห์หรือตัดสินใจเกี่ยวกับรถเเทรกเตอร์เเละการเกษตร .   ที่มา : กรมการขนส่งทางบก,สํานักงานสถิติเเห่งชาติ,Krungsri Research,วารสารแก่นเกษตร . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #รถเเทรกเตอร์ #Tractor #รถไถนา #รถไถ #คูโบต้า #kubota #Yanmar #NewHolland

พาส่องเบิ่ง🚜รถเเทรกเตอร์เกือบครึ่งประเทศอยู่ในเเดนอีสาน เเละหากเทียบสัดส่วนรถเเทรกเตอร์ 1 คันต่อเนื้อที่การเกษตรคิดเป็นเท่าไหร่🌾 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐โฉนดที่ดินในอําเมืองคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของทั้งจังหวัดในอีสาน⛳️

โฉนดที่ดิน ถือเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหนึ่ง ที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน จะใช้เอกสารดังกล่าว ในการแสดงความเป็นเจ้าของ และใช้ในการประกอบธุรกรรมด้านต่างๆ เช่น ซื้อ ขาย จำนอง เป็นต้น  . ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานจากข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า จังหวัดนครราชสีมาเเละขอนเเก่นเป็นจังหวัดที่มีโฉนดที่ดินมากที่สุดในประเทศเป็นอันดับที่ 2  เเละ  3 เป็นรองเพียงกรุงเทพมหานคร โดยมีปริมาณเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินอยู่ที่1,566,201 เเปลงเเละ 1,166,513  เเปลง ตามลําดับ ส่วนกรุงเทพมหานครมากสุดในประเทศอยู่ที่ 2,182,095 เเปลง จากทั้งหมด 37,272,607 เเปลง  . หากมองไปที่ปริมาณเอกสารสิทธิรายสํานักงาน เเสดงรายอําเภอ การจดทะเบียนสิทธิเเละนิติกรรมที่สํานักงานที่ดินซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ จะพบว่าในภาคอีสานหากคิดเป็นร้อยละของอําเภอเมืองเทียบกับทั้งตัวจังหวัด อําเภอเมืองมุกดาหารมีปริมาณเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินคิดเป็นถึงร้อยละ  40.54 ของทั้งจังหวัด อาจเป็นสิ่งที่เป็นนัยได้ว่าที่ดินที่ประชาชนถือครองใช้ประโยชน์อยู่นั้นกรรมสิทธ์ความเป็นเจ้าของในที่ดินเกือบครึ่งหนึ่งยังอยู่เเค่ตัวอําเภอเมือง รองลงมาคือหนองบัวลําภูเเละหนองคายที่ 38.99 เเละ 36.28  ตามลําดับ หากคิดรวมทั้งภูมิภาคโฉนดที่ดินในอําเภอเมืองคิดเป็นร้อยละ 21.52 จากทังหมด . การเปลี่ยนแปลงในด้านการถือครองและการจัดการโฉนดที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวของเขตเมือง และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การสิ่งเเวดล้อม การสํารวจดูการเปลี่ยนเเปลงเอกสารสิทธิในที่ดิน โดยเฉพาะโฉนดที่ดินจึงมีประโยชน์เเก่ผู้ที่สนใจเเละสามารถนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์วางเเผนด้านต่างๆ . ที่มา : กรมที่ดิน . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ที่ดิน#โฉนด#โฉนดที่ดิน

พามาเบิ่ง🧐โฉนดที่ดินในอําเมืองคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของทั้งจังหวัดในอีสาน⛳️ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง👨‍👩‍👧‍👦กราฟพีระมิด ‘ประชากรอีสาน’ ต้อนรับ Gen BETA👶

เกิดใหม่น้อย! อีสานเตรียมรับมือโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่อาจจะเปลี่ยนไป . ฮู้บ่ว่า❓Gen Alpha ไม่ใช่คำใหม่อีกต่อไป เมื่อเด็กที่เกิดปี 2568 – 2582 จะกลายเป็น Gen Beta ยุคที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ผสมผสานเข้ากับชีวิตโดยสมบูรณ์ ขณะที่เด็กในอีสานเกิดน้อยลงในทุกๆ ปี หน้าตาของโครงสร้างของประชากรจะเปลี่ยนไปอย่างไร และผลกระทบจะมากแค่ไหน . ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง👨‍👩‍👧‍👦กราฟพีระมิด ‘ประชากรอีสาน’ ต้อนรับ Gen BETA👶 ▶️อายุ 0 – 4 ปี ♂️417,495♀️394,812 รวม 812,307 คน ▶️อายุ 5 – 9 ปี ♂️548,243♀️519,923 รวม 1,068,166 คน ▶️อายุ 10 – 14 ปี ♂️655,239♀️620,054 รวม 1,275,293 คน ▶️อายุ 15 -19 ปี ♂️679,876♀️642,546 รวม 1,322,422 คน ▶️อายุ 20 – 24 ปี ♂️671,492♀️661,126 รวม 1,332,618 คน ▶️อายุ 25 – 29 ปี ♂️802,509♀️760,277 รวม 1,562,786 คน ▶️อายุ 30 – 34 ปี ♂️805,263♀️758,027 รวม 1,563,290 คน ▶️อายุ 35 – 39 ปี ♂️746,860♀️711,132 รวม 1,457,992 คน ▶️อายุ 40 – 44 ปี ♂️822,741♀️805,643 รวม 1,628,384 คน ▶️อายุ 45 – 49 ปี ♂️862,275♀️872,900 รวม 1,735,175 คน ▶️อายุ 50 – 54 ปี ♂️884,798♀️933,547 รวม 1,818,345 คน ▶️อายุ 55 – 59

พามาเบิ่ง👨‍👩‍👧‍👦กราฟพีระมิด ‘ประชากรอีสาน’ ต้อนรับ Gen BETA👶 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐 “แรงงานต่างด้าวในอีสาน มีมากแค่ไหน”👨‍🎓

พามาเบิ่ง “แรงงานต่างด้าวในอีสาน มีมากแค่ไหน” ฟิลิปปินส์ ชาติที่มีแรงงานต่างด้าวในไทย อันดับ 5 . จากกระแสข่าวดังในโลกโซเชียล ที่ขึ้น แฮชแท็ก #สุขุมวิท11 และ #กะเทยไทย ที่ขึ้นเทรด X มากกว่า 3 ล้านโพสต์ จากต้นเรื่องเหตุเกิดที่ สุขุมวิท11 จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ กะเทย ไทย-ปินส์ . เมื่อกะเทยฟิลิปปินส์เริ่มมาทำมาหากินในไทยโดยอาศัยช่องว่างที่คนฟิลิปปินส์สามารถท่องเที่ยวในไทยโดยไม่ต้องขอวีซ่าและพำนักได้ 30 วัน และ นักท่องเที่ยวฟิลิปปินส์หลายคนแอบเข้ามาลักลอบทำงานเป็น sex worker ในย่านสุขุมวิท จนเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกับคนไทยดังข่าวที่ปรากฏ . วันนี้อีสานอินไซด์จึงจะมาเปิดข้อมูลสถิติ ว่านอกจากนักท่องเที่ยวฟิลิปปินส์หรือนักท่องเที่ยวต่างชาติอื่นๆที่มาในฐานะวีซ่าของนักท่องเที่ยวแล้ว จำนวนแรงงานต่างด้าวที่มาอย่างถูกกฎหมายที่พำนักอยู่ในไทยสะสมถึงปัจจุบันมีจำนวนอยู่เท่าใด และจำนวนของแรงงานต่างด้าวในแต่ละจังหวัดของอีสานมีจำนวนอยู่มากไหร่ . โดยหากดูจากข้อมูลสถิติแล้วจะพบว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวที่มาอย่างถูกกฎหมายในไทยมีมากถึง 3,415,774 คน โดยกระจายตัวตามแต่ละภูมิภาค ดังนี้ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,784,479 หรือคิดเป็น 52% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคกลางและภาคตะวันออก 799,963 หรือคิดเป็น 23% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคเหนือ 308,604 หรือคิดเป็น 9% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคอีสาน 71,655 หรือคิดเป็น 2% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ภาคใต้ 451,073 หรือคิดเป็น 13% ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด โดย 5 สัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่มีมากที่สุดในไทย ได้แก่ เมียนมา, กัมพูชา, ลาว, จีน, และฟิลิปปินส์ . โดยจำนวนแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถือเป็นแรงงานหลักสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ เนื่องด้วยแรงงานมีราคาค่าจ้างที่ถูกกว่าแรงงานไทย ทำให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของผู้ประกอบการ . ทั้งนี้อีสานอินไซด์ตั้งข้อสังเกตจากกรณีข่าวดังกล่าวว่ากฎหมายยังมีช่องว่างก่อให้เกิดการละเมิดและการแย่งงานของคนในพื้นที่รวมไปถึงงานบางประเภทที่ไม่ได้ระบุหรือถูกบัญญัติให้ถูกกฎหมาย อาจจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสและรายได้ทางเศรษฐกิจที่แม้แต่ทางอีสานอินไซด์ก็ไม่สามารถประเมินได้ จึงอยากให้กรณีข่าวนี้ถูกผลักดันและดำเนินการแก้ไข ป้องกัน ด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป . ที่มา สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว (จำนวนแรงงานต่างด้าวที่พำนักอยู่ไทย สะสมถึง ม.ค.2567) . พามาสำรวจ ผ่านมา 10 ปี ชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในอีสานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว . สิทธิของลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับแรงงานไทย โดยมีกฎหมายและมาตรการเฉพาะที่มุ่งดูแลสิทธิและความปลอดภัยของแรงงานต่างด้าว เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานต่างด้าว ต่อไปนี้คือสิทธิที่แรงงานต่างด้าวพึงได้รับ: 1. สิทธิในการได้รับค่าจ้าง แรงงานต่างด้าวมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เช่นเดียวกับแรงงานไทย นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตรงเวลาและครบถ้วน 2. สิทธิในเวลาทำงานและเวลาพัก ชั่วโมงการทำงาน: ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เวลาพัก: ต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หากทำงานเกิน

พามาเบิ่ง🧐 “แรงงานต่างด้าวในอีสาน มีมากแค่ไหน”👨‍🎓 อ่านเพิ่มเติม »

พามาสำรวจ ผ่านมา 10 ปี ชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในอีสานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

การเปลี่ยนแปลงของชนกลุ่มน้อยในภาคอีสาน ความเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงภาคเศรษฐกิจ . ภาคอีสาน กำลังเดินหน้าเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุนและการพัฒนาทางโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการเพิ่มขึ้นของแรงงานชนกลุ่มน้อยที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของภูมิภาค ตัวเลขล่าสุดเผยว่า จำนวนชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากเพียง 10,882 คนในปี พ.ศ. 2558 เป็น 32,608 คนในปี พ.ศ. 2567 เพิ่มขึ้น 3 เท่า เฉพาะอีสานเพิ่มจาก 343 คน ในปี พ.ศ. 2588 มาเป็น 837 คน ในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในระยะเวลาเพียง 10 ปี    ชนกลุ่มน้อยในบริบทนี้ หมายถึงกลุ่มประชากรที่มีลักษณะทางชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และผู้ที่ไม่มีสัญชาติ พวกเขามักทำงานในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น เช่น ภาคเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และบริการ ซึ่งล้วนเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาคอีสาน   เมื่อพิจารณาตัวเลขสถิติ พบว่าในจังหวัดนครราชสีมา จำนวนชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานเพิ่มขึ้นจาก 252 คนในปี พ.ศ. 2558 เป็น 490 คนในปี พ.ศ. 2567 ส่วนจังหวัดขอนแก่นที่เคยมีเพียง 7 คนในปี พ.ศ. 2558 ก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 107 คนในปี พ.ศ. 2567 ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงสร้างเศรษฐกิจของอีสาน ที่ได้รับแรงผลักจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เช่น โครงการรถไฟ การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม และการเติบโตของเมืองขนาดใหญ่ ทำให้แรงงานชนกลุ่มน้อยได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ขับเคลื่อนการขยายตัวนี้    ข้อสังเกตุในการเพิ่มขึ้นของแรงงานชนลุ่มน้อยนอกจากจะสะท้อนถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจของการจ้างงานในภาคอีสานแล้ว อาจตั้งข้อสังเกตุได้ว่าภาคอีสานของอาจกำลังขาดการพัฒนาในอุตสาหกรรมหนัก หรืออุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่หรือไม่ นี่เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่ควรถามกับภูมิภาคของเรา การตั้งคำถามในมุมต่างๆเช่นนี้จะช่วยให้นำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นได้   แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของชนกลุ่มน้อยในตลาดแรงงานไม่ได้ปราศจากความท้าทาย การสร้างระบบที่สามารถตรวจสอบสถานะและคุ้มครองสิทธิแรงงานได้อย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงส่งเสริมให้แรงงานเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย     ในอนาคตภาคอีสานจะยังคงเผชิญกับความต้องการแรงงานที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รัฐบาลกับภาคเอกชนต้องร่วมมือกันวางแผนและดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมความเท่าเทียมและการพัฒนาความสามารถของชนกลุ่มน้อยและแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบจะสามารถทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน   เมื่องานที่ใช้แรงงานคนไทยไม่ทำหรือมีแรงงานไม่เพียงพอ ในสถานการณ์ปัจจุบันไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และอัตราการเกิดต่ำ และอาจขาดแรงงานในอนาคต การที่ประเทศไทยรับแรงงานต่างด้าวและแรงงานชนกลุ่มน้อยเข้ามาทำงานมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้: ผลดี: ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน: ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้อัตราการเกิดลดลงและขาดแคลนแรงงานในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ทักษะต่ำและงานหนัก การรับแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยเข้ามาทำงานจะช่วยเติมเต็มช่องว่างนี้ได้ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ: แรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การเกษตร และการบริการ พวกเขาช่วยให้ภาคธุรกิจเหล่านี้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพิ่มความหลากหลายทางวัฒนธรรม: การมีแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทำให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ ผลเสีย: ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน: การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานของคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีทักษะต่ำ อาจมีการแข่งขันด้านค่าจ้างที่สูงขึ้น หรืออาจถูกแย่งงาน ปัญหาทางสังคม: การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวและชนกลุ่มน้อยอาจนำไปสู่ปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาการหลบหนีเข้าเมือง ปัญหาการค้ามนุษย์

พามาสำรวจ ผ่านมา 10 ปี ชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในอีสานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว อ่านเพิ่มเติม »

จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน

ฮู้บ่ว่า? นอกจากสินค้าจากจีนที่ทะลักมาไทยแล้ว จีนยังเริ่มย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น โดยในปีล่าสุดมีโรงงานตั้งใหม่กว่า 179 แห่งที่มีการลงทุนจากจีน . หลังจากการเกิดสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในปี 2560 ส่งผลให้จีนได้เริ่มมีการมองหาตลาดใหม่ๆ ในการขายสินค้าที่ผลิตออกมามหาศาลในประเทศ ทำให้สินค้าจีนมีแนวโน้มที่จะทะลักมายังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเทศใน GMS รวมถึงไทยเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน . การทะลักของสินค้าจากจีน สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทยได้ในหลายมิติ ในด้านหนึ่งผู้ประกอบการบางส่วนก็ได้รับอานิสงค์จากการนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้น จากสินค้าที่มีราคาถูกลง มีความหลากหลาย หรือแม้กระทั่งการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ  อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในภาคการผลิต กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันภายในประเทศที่เข้มข้น ตลอดจนความยากลำบากในการแข่งขันด้านต้นทุนให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศได้ ผลกระทบดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการในภาคการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถรับมือกับปัญหาการทะลักของสินค้าจีนได้ จนนำไปสู่การปิดโรงงานหรือยุติการดำเนินกิจการในที่สุด . นอกจากการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนแล้ว จีนยังเริ่มขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น ผ่านการจัดตั้งหรือร่วมลงทุนในโรงงานภายในประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดแนวโน้มนี้คือสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จีนสามารถใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีสินค้าจีนที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่สมัยที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศไทยเองยังมีความต้องการสินค้าจากจีนสูง ทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนมองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ ส่งผลให้การย้ายฐานการผลิตมายังไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รูปภาพ 1 : มูลค่าการลงทุนโดยตรงในภาคการผลิตจากประเทศจีน ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย รูปภาพ 2 : จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการจากจีน ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน . มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากจีนในภาคการผลิตของไทยเติบโตกว่า 6 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 5,547 ล้านบาท ก่อนสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ เป็น 38,401 ล้านบาท ในปี 2566  สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการขยายฐานการผลิตของจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จีนมีความได้เปรียบ เช่น พลาสติก โลหะ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ที่ไทยมีการพึ่งพาจากจีนสูง รวมถึงกลยุทธ์การย้ายฐานการผลิตของจีนเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของชาติตะวันตกและสิทธิประโยชน์จาก BOI ยังผลักดันให้จีนขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากยิ่งขึ้น รูปภาพ 3 : จำนวนการตั้งโรงงานในปี 2567 โดยจำแนกตามสัญชาติที่มีการลงทุน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม รูปภาพ 4 : มูลค่าการลงทุนในบริษัทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . ในปี 2567 มีการตั้งโรงงานที่ได้รับการลงทุนจากจีนกว่า 179 แห่ง และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการตั้งโรงงานในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าจะพบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนการตั้งโรงงานที่มีจีนลงทุนมากถึง 164% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆที่ไม่มีการลงทุนจากจีน รวมถึงเม็ดเงินการลงทุนในโรงงานจากจีนที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 11,387 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จีนให้ความสำคัญกับตลาดไทยมากขึ้นทั้งในด้านการรองรับสินค้านำเข้าจากจีนและโอกาสที่จะเติบโตในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสำหรับการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รูปภาพ 5 : ประเภทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน จำแนกตามขนาดของโรงงาน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . การลงทุนจากจีนในโรงงานของไทยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมที่จีนได้เปรียบและไทยมีการพึ่งพาสินค้าจากจีนสูง

จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง งบการเงินเจ้าสัว ขนมขบเคี้ยวรายได้พันล้าน

คุณเพิ่ม โมรินทร์ (แซ่เตีย) เป็นชาวจีนที่อพยพเข้ามาหาโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าในเมืองไทยโดยเขาเริ่มต้นธุรกิจด้วยการนำเงินและทรัพย์สินที่มีติดตัวมาร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดร้านขายของชำที่ย่านคลองเตย ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาจังหวัดนครราชสีมา โดยในปี 2501 ได้เปิดร้านสาขาพลล้าน จากการสังเกตเห็นว่าชาวบ้านนิยมเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมองว่าจังหวัดนครราชสีมาเปรียบเสมือนประตูสู่อีสาน ซึ่งน่าจะมีการพัฒนาได้อีกมาก เขาจึงแปรรูปเนื้อหมูเป็นหมูหยองและหมูแผ่น พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย จนกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในปัจจุบัน หากพิจารณาสัดส่วนของรายได้ จะพบว่า 3 อันดับแรกของรายได้หลักมาจาก ข้าวตัง ซึ่งทำยอดขายสูงสุดที่ 471 ล้านบาท ในปี 2566 คิดเป็น 31.5% ของรายได้จากการขายสินค้า ข้าวตังเป็นสินค้ายอดนิยมของเจ้าสัวที่ผู้บริโภคคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นขนมที่เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย สามารถรับประทานเล่นหรือทานคู่กับอาหารอื่นก็ได้ อีกทั้งยังหาซื้อได้ง่าย ทำให้ข้าวตังของเจ้าสัวครองใจผู้บริโภคมายาวนาน ถัดมาคือ ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู ซึ่งทำรายได้ 297 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของรายได้จากการขายสินค้า และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งมาจากการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบมากขึ้น ทำให้ขนมประเภทนี้เป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่ายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันดับที่สามคือ แครกเกอร์ธัญพืช ซึ่งทำรายได้ 232 ล้านบาท คิดเป็น 15.5% ของรายได้จากการขายสินค้า จุดเด่นของแครกเกอร์ธัญพืชคือการเป็นขนมขบเคี้ยวที่สอดคล้องกับเทรนด์รักสุขภาพ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้สินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี นอกจากรายได้จากการขายสินค้าแล้ว การดำเนินธุรกิจย่อมมาพร้อมกับ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของรายได้ในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 บริษัทสามารถสร้าง กำไรสุทธิที่เติบโตสูงถึง 614.7% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนและการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ผลประกอบการที่ดีขึ้นไม่เพียงส่งผลเชิงบวกต่อนักลงทุนในตลาดหุ้น แต่ยังสะท้อนถึงการขยายตัวของฐานผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขนมขบเคี้ยวไทยยังมีน้อยเมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างประเทศ แต่เจ้าสัวมองเห็นโอกาสในการพัฒนา Local Snack จากวัตถุดิบไทยแท้ เช่น ข้าวตังหมูหยองและ Meat Snack ที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าโภชนาการสูง เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ทั้งในไทยและตลาดต่างประเทศ โดยเน้นสร้างมูลค่าให้วัตถุดิบไทยและขยายตลาดขนมขบเคี้ยวไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันแบรนด์เจ้าสัวมีทั้งอาหารและขนมรวมกันกว่าสามร้อยชนิด ในแต่ละปีจะมีสินค้าออกใหม่แปดถึงสิบตัว สินค้าตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายและ lifestyle ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ของผู้บริโภค ทั้งของทานเล่น และอาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน ตอบโจทย์ทั้ง Ready to Eat & Ready to Cook พาซอมเบิ่ง “เจ้าสัว” แบรนด์ของฝากเจ้าดังโคราช ว่าที่หุ้นใหม่ภาคอีสาน อ้างอิงจาก เว็บไซต์ของบริษัท, แบบ 56-1 One Report, รายงานข้อมูลสรุปของการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน, ลงทุนแมน, The Cloud

ชวนมาเบิ่ง งบการเงินเจ้าสัว ขนมขบเคี้ยวรายได้พันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

Mondelēz ผู้ผลิตขนมหวานเจ้าใหญ่ของโลก ที่ลงทุน 1 ในโรงงานที่น้ำพอง ขอนแก่น

Chairman & CEO: Dirk Van De Put Mondelēz International บริษัทสัญชาติอเมริกันที่แยกตัวออกมาจาก Kraft Foods ในปี 2555   ชื่อบริษัท: บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2507 ทุนจดทะเบียน: 104 ล้านบาท สถานที่ตั้ง: เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ส่วนแบ่งการตลาดทั่วประเทศ: 50% ในกลุ่มผลิตลูกกวาดและขนม รายได้ปี 2566: 6,226 ล้านบาท (+17%) กำไรปี 2566: 328 ล้านบาท (+110%)   โรงงานลาดกระบังก่อตั้งในปี 2550 เป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดสำหรับหมากฝรั่งและลูกอมในภูมิภาค AMEA โดยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังกว่า 10 ประเทศ   ชื่อบริษัท: บริษัท มอนเดลีซ (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2532 ทุนจดทะเบียน: 150 ล้านบาท สถานที่ตั้ง: อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ส่วนแบ่งการตลาดทั่วประเทศ: 18% ในกลุ่มผลิตลูกกวาดและขนม รายได้ปี 2566: 2,254 ล้านบาท (+7%) กำไรปี 2566: 707 ล้านบาท (+28%)   โรงงานขอนแก่นก่อตั้งในปี 2543 เป็นศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผลิตและส่งออกเครื่องดื่มชนิดผงในภูมิภาค AMEA (Asia, Middle East, Africa) ผลิตภัณฑ์ของโรงงานถูกส่งออกไปยัง 36 ประเทศ โดยฟิลิปปินส์และจีนเป็นตลาดหลัก คิดเป็นสัดส่วน 80% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ โรงงานขอนแก่นยังได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานที่แห่งแรกของ Mondelēz ที่เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ได้สำเร็จ   ตัวอย่างสินค้าที่ขายในไทย Cadbury DAIRY MILK HALLS Clorets Dentyne OREO RITZ TOBLERONE   ไม่ว่าจะเป็น ‘บิด ชิมครีม จุ่มนม’ สโลแกนติดหูจากโฆษณาของโอรีโอที่หลายคนคุ้นเคยและทำตาม หรือ TOBLERONE ช็อกโกแลตที่โดดเด่นด้วยรูปทรงสามเหลี่ยม อันได้รับแรงบันดาลใจจากภูเขา Matterhorn ในสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงขนมชื่อดังอีกมากมาย ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้การบริหารของ Mondelēz International (มอนเดลีซ) บริษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันที่หลายคนคุ้นชื่อจากฉลากขนมที่เราหยิบทานกันอยู่บ่อยๆ

Mondelēz ผู้ผลิตขนมหวานเจ้าใหญ่ของโลก ที่ลงทุน 1 ในโรงงานที่น้ำพอง ขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top