Nanthawan Laithong

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่แดนอีสาน ลงมิชลินไกด์ ปี 66

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทยปักหมุด 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธาน และขอนแก่น เพื่อผลักดัน การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) เผยอัตลักษณ์โดดเด่นด้านอาหารและวัฒนธรรม เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ รองรับนักชิมและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ฉบับปี 2566 ของไทย ขยายขอบเขตการคัดสรรแนะนำร้านอาหารเข้าสู่ 4 จังหวัดภาคอีสาน เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมอาหารอีสานที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มาพร้อมรสชาติจัดจ้าน มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจโดยได้รับอิทธิพลจากหลากหลายวัฒนธรรม มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีความโดดเด่น ตลอดจนเสน่ห์ของวิถีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มและยังสามารถเดินตามรอยร้านอร่อยที่ “มิชลิน ไกด์” ได้คัดสรรไว้ให้ ซึ่งในปัจจุบันมีเชฟชาวอีสาน จำนวนมากที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านอาหารจากร้านอาหารชื่อดังในต่างประเทศ กลับมาเปิดร้านอาหารที่บ้านเกิดของตนเอง โดยเลือกนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรุงอย่างพิถีพิถันเพื่อยกระดับอาหารอีสานให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารแก่นักเดินทาง ดังนั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เล็งเห็นถึงความพร้อมของ 4 จังหวัดที่สามารถสะท้อน วัฒนธรรมอาหาร การกินของคนไทย และสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดสู่ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) นำไปสู่การกระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการในพื้นที่ เห็นได้จากรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ของจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และ อุดรธานี รวมกันประมาณ 30,511 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติใช้ไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มรวมกันประมาณ 7,442 ล้านบาท ซึ่งสูงเป็น อันดับ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายหมวดอื่น ๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าของที่ระลึก และค่าคมนาคมขนส่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมเดินหน้ากระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยว สอดรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดแรงส่งไปถึงฤดูการท่องเที่ยวช่วงปลายปีต่อเนื่องไปถึงต้นปีหน้า ซึ่งการขยายขอบเขตการคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ประจำปี 2566 จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป อ้างอิงจาก: ​​https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1013739 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #อุดรธานี #ขอนแก่น #ตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร #มิชลินไกด์

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่แดนอีสาน ลงมิชลินไกด์ ปี 66 อ่านเพิ่มเติม »

กงสุลจีนเตรียมเสนอรัฐบาลจีน เล็งใช้นิคมฯ อุดรธานีเป็นฐานพักสินค้าส่งออกนำเข้าจีน-ไทย

อุดรธานี – กงสุลใหญ่จีนลงพื้นที่อุดรธานี สำรวจติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม รวบรวมข้อมูลเสนอรัฐบาลจีน เพื่อใช้เป็นจุดพักก่อนขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนและจีนมาไทย เผยล่าสุดผู้ประกอบการจากภาคใต้ก็สนใจขนสินค้าอาหารทะเลและผลไม้มาพักเพื่อส่งออกไปจีน นายเหลี้ยวจวิ้นหยุน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น และคณะได้เดินทางมาดูพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี และรับทราบความคืบหน้าการสร้างนิคมฯ โดยมีนายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานบริหารบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด นางอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธานฯ และนายพิสิษฐ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ รวมถึงอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับและให้ข้อมูล การเข้าเยี่ยมชมโครงการฯ ครั้งนี้ ทางคณะได้มารับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลดีผลเสียผลกระทบต่อการเปิดรถไฟจีน-ลาวที่มีต่อจังหวัดอุดรธานี จะดำเนินการอย่างไรในการเชื่อมโยงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการค้าและการขนส่งเพื่อรองรับการเปิดบริการรถไฟจีน-ลาว พร้อมกับติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม และทางนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีได้เตรียมตัวอย่างไรกับการใช้ประโยชน์จากการเปิดรถไฟสายจีน-ไทย นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานบริหารบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี เปิดเผยว่า การเดินทางลงมาในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีทางกงสุลต้องการข้อมูลของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีว่าตอนนี้ทางนิคมมีความพร้อมมากน้อยขนาดไหน และมารับทราบข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโลจิสติกการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนและจีนมาไทย จากนั้นทางกงสุลก็จะไปร่วมประชุมและเสนอกับทางรัฐบาลต่อไป นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานียังไม่คิดขนส่งทางรถไฟ แต่นิคมจะแก้ปัญหาโดยใช้รถบรรทุกขนจากนิคมขนสินค้าไปยังเวียงจันทน์ โดยเราจะยกตู้สินค้าไปวางที่จุดขนถ่ายที่ สปป.ลาว เพราะระยะทางจากนิคมฯ ไปที่เวียงจันทน์ประมาณ 70 กิโลเมตร และสินค้าจากทางจีนที่จะมาไทยสามารถยกใส่รถบรรทุกกลับมาได้ ขณะนี้ทางนิคมฯ ได้เตรียมพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ไว้รองรับ ขณะนี้มีผู้ประกอบการจากทางภาคใต้เดินทางมาดูพื้นที่นิคมฯ แล้วหลายราย คาดว่าจะนำสินค้าจากภาคใต้จำพวกผลไม้ อาหารทะเล มาจัดเก็บมาพักไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ก่อนจะลำเลียงส่งออกไปยังประเทศจีน และเร็วๆ นี้ทางหอการค้าภาคเหนือก็จะนำผู้ประกอบการเดินทางมาดูพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีเช่นกัน โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกใช้พื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ และเฟส 2 อีกราว 1,000 ไร่ตามแผนงานต้องสร้างแวร์เฮ้าส์ทั้งหมด 25 หลัง ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อให้โรงงานต่าง ๆ เช่าเพื่อเก็บสินค้า นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนอุตสาหกรรม และส่วนโลจิสติกส์ โดยในส่วนของโลจิสติกส์ปาร์กจะประกอบด้วย สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือ ICD เขตปลอดอากร (FREE ZONE) คลังสินค้า ซึ่ง ICD จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในภาคอีสานตอนบนในการที่จะส่งสินค้าออกต่างประเทศหรือนำของเข้ามาในประเทศ ซึ่งส่วนนี้มีความจำเป็นเกี่ยวกับศุลกากรในเรื่องนำเข้าและส่งออก จุดนี้จะสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าให้นำเข้าและส่งออกสินค้าต่างประเทศได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางผู้บริหารโครงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เคยระบุว่าอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีใน 4 เรื่อง คือ ปรับปรุงพัฒนาบริเวณทางแยกเข้านิคมให้สามารถอำนวยความสะดวกต่อการวิ่งของยวดยานพาหนะทุกประเภท, การลากรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่นิคมฯ รองรับการขนส่งสินค้า, NEC สิทธิพิเศษ สิทธิประโยชน์ และขอสิทธิพิเศษเขตเศรษฐกิจชายแดนจากหนองคายให้ครอบคลุมมาถึงอุดรธานี อ้างอิงจาก: https://mgronline.com/local/detail/9650000061261 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #กงสุลจีน #อุดรธานี #นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

กงสุลจีนเตรียมเสนอรัฐบาลจีน เล็งใช้นิคมฯ อุดรธานีเป็นฐานพักสินค้าส่งออกนำเข้าจีน-ไทย อ่านเพิ่มเติม »

2 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในปี 2565 (ม.ค. – ก.ค.)

ในเดือน มกราคม – กรกฎาคม 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ กัมพูชา 7,922 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 6.8% ของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 5,245 ล้านบาท ลดลงจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า -27% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 2,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 71.8% สินค้าส่งออกหลัก 1.รถยนต์ อุปกรณ์ 2.เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 3.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้าหลัก 1.ผักและของปรุงแต่งจากผัก 2.อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ 3.ลวดและสายเคเบิลฯ แนวโน้มการค้าชายแดนไทยหลังจากนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าปัจจัยสนับสนุนการค้าชายแดนและผ่านแดน คือ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่สามารถเดินทางเข้าไทยทางจุดผ่านแดนถาวร (ทางบก) ได้โดยไม่ต้องกักตัว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา ขณะที่กัมพูชาก็ผ่อนคลายมาตรการโดยเปิดให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบเกณฑ์สามารถเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัวเช่นกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าในพื้นที่ชายแดนของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวต้องขึ้นกับความพร้อมของแต่ละจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้านด้วย ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น รวมถึงการผลักดันเปิดจุดผ่านแดนเพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด https://www.dft.go.th/Portals/3/2.1.1%20Info%20มค-เมย.%202565.pdf https://www.thansettakij.com/economy/531292 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยกัมพูชา #กัมพูชา #สุรินทร์ #บุรีรัมย์

2 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในปี 2565 (ม.ค. – ก.ค.) อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่มีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลายคักกว่าหมู่

ช่วงนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้น วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคอีสานว่าเป็นอย่างไร? ในปี 2564 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง 6,690,015 พันลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 16.8% ของการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดในประเทศ ลดลงจากปีก่อนหน้า -2.3% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมาสู่ระดับรุนแรงในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ภาครัฐจึงมีมาตรการจำกัดการเดินทางและปิดสถานประกอบการบางประเภทในช่วงกลางปี ส่งผลให้การใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง โดย 3 อันดับน้ำมันเชื้อเพลิงที่นิยมใช้สูงสุด 1. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B7 ปริมาณการใช้ 3,015,338 พันลิตร 2. น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ปริมาณการใช้ 1,231,051 พันลิตร 3. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ปริมาณการใช้ 766,548 พันลิตร แนวโน้มการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากนี้ การใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากราคาตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซีย – ยูเครน โดยการใช้น้ำมันคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 12.9% จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดส่งผลให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่การใช้ก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะลดลง -9.5% เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง . ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จึงมีการใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า เพื่อทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยรัฐบาลได้มีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเหลือศูนย์จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ อ้างอิงจาก: – สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน – สำนักงานสถิติแห่งชาติ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง #การใช้น้ำมัน #น้ำมัน #ดีเซล #แก๊สโซฮอล์95

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่มีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหลายคักกว่าหมู่ อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง เกษตรกรรมในภาคอีสาน

ภาคการเกษตรนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศ แต่กำลังเผชิญกับปัญหาผลิตภาพการผลิตของแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำและเพิ่มขึ้นในอัตราท่ีช้า เมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่น ISAN Insight & Outlook วันนี้จะพามาดูเกษตรกรรมในภาคอีสานว่าเป็นอย่างไร? ภาคอีสานมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 3,503,763 ครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วน 47.6% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งจำนวนครัวเรือนเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เพียง 0.8% และ GRP ภาคเกษตรกรรม อยู่ที่ 311,615 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.6% ของ GRP ทั้งหมดในภาคอีสาน ซึ่งลดลง -0.3% จากปี 2562 โดย 5 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรสูงสุด 1 นครราชสีมา 324,968 ครัวเรือน 2 อุบลราชธานี 324,801 ครัวเรือน 3 ศรีสะเกษ 251,498 ครัวเรือน 4 ขอนแก่น 248,717 ครัวเรือน 5 ร้อยเอ็ด 240,605 ครัวเรือน 5 อันดับผลผลิตสูงสุดทางการเกษตรของภาคอีสาน 1 อ้อย 38.5 ล้านตัน 2 มันสำปะหลัง 19.9 ล้านตัน 3 ข้าวนาปี 12.9 ล้านตัน 4 ยางพารา 1.3 ล้านตัน 5 ข้าวนาปรัง 1.1 ล้านตัน จะเห็นได้ว่า อ้อยเป็นผลผลิตสูงสุดของภาคอีสาน เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกจากปริมาณน้ำฝนท่ีเพิ่มข้ึน ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นด้วยการประกันราคารับซื้ออ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูก นอกจากน้ี มาตรการส่งเสริมของภาครัฐท่ีให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตัดอ้อยสด ทำให้ ชาวไร่อ้อยมีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยเพื่อส่งมอบให้แก่โรงงาน รองรับความต้องการบริโภคน้ำตาลท่ีคาดว่าจะฟื้นตัวดีข้ึนหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย อ้างอิงจาก: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx https://www.oae.go.th/…/ebook…/68_yearbookedited2564/… https://www.oae.go.th/…/trendstat2565-Final-Download.pdf https://esd.kps.ku.ac.th/kuk…/docs_general/3_spec_oral.pdf #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เกษตรกรรมในภาคอีสาน #เกษตรกรรม #ภาคเกษตร #ผลผลิต #GRP #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #ศรีสะเกษ #ขอนแก่น #ร้อยเอ็ด

พาส่องเบิ่ง เกษตรกรรมในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ ในรอบปี 2564

ในปี 2564 โรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการในภาคอีสานมีจำนวน 86 โรงงาน คิดเป็นสัดส่วน 12.3% ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการทั้งหมดในประเทศไทย และมีมูลค่ารวมกันกว่า 11,158 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.5% ของมูลค่าโรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการทั้งหมดในประเทศไทย การแพร่ระบายของ COVID-19 รอบ 2 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักหน่วง โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากไม่สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้ หลายโรงต้องลดกำลังการผลิต บางแห่งต้องใช้วิธีควบรวมยุบย้ายโรงงาน โดยกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่ปิดกิจการไปส่วนใหญ่ คือ ผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบเพื่อส่งต่อให้กับธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และโรงแรมในประเทศ ซึ่งตลาดนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ไม่มีการเดินทางท่องเที่ยว กระทบต่อโรงงานกลุ่มนี้มีสัดส่วน 50-70% ของทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งในรายที่ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องหยุดไป ส่วนที่ปรับตัวได้จะหันไปขายผ่านช่องทางออนไลน์และผลิตเพื่อขายเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ขณะที่โรงงานที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกบางรายได้รับผลกระทบจากเดิมอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมานานแล้วและมาเผชิญกับ COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอาหาร มีทั้งวิกฤตและโอกาส อย่างกลุ่มอาหารสุขภาพและอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตมากถึง 20% เพราะคนหันมาใส่ใจด้านสุขภาพ การทำงานที่บ้านมีการซื้อวัตถุดิบจากซุปเปอร์มาร์เก็ตไปปรุงเองและอยู่บ้านเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงไปได้ดีและมีราคาสูงด้วย แนวโน้มและปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในระยะถัดไป แนวโน้มธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่าขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนในเกือบทุกภาคธุรกิจ ตามความเช่ือมั่นท่ีปรับดีข้ึนจากมาตรการเปิดเมือง และการ ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น โดยภาคการผลิต ขยายตัวตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ยังมีต่อเนื่อง การจับจ่ายใช้สอยและกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่ทยอยปรับดีขึ้น ท้ังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาสินค้าที่ปรับตัว สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาคธุรกิจท่ีต้องติดตามในระยะต่อไป อ้างอิงจาก: https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/ https://www.oie.go.th/…/Industry%20conditions/Q2-2565.pdf https://www.bot.or.th/…/EconomicCondi…/BLP/BLPTH22Q2.pdf https://www.prachachat.net/economy/news-606851 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ #โรงงานอุตสาหกรรม #เลิกกิจการ #นครราชสีมา #ร้อยเอ็ด #อุบลราชธานี #มุกดาหาร #หนองคาย #เลย #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #กาฬสินธุ์ #ยโสธร

ชวนเบิ่ง 10 จังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมเลิกประกอบกิจการ ในรอบปี 2564 อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง 7 จังหวัดในภาคอีสานที่มีมูลค่าการลงทุนสะสม เพื่อสร้างโรงงานหลายกว่าหมู่

ในปี 2564 มูลค่าการลงทุนสะสมในภาคอีสานมีจำนวน 637,134 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2.1% และมีจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจำนวน 8,919 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.9% 7 จังหวัดที่มูลค่าการลงทุนสะสมมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีมูลค่า 201,354 ล้านบาท อันดับที่ 2 ขอนแก่น มีมูลค่า 104,376 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุบลราชธานี มีมูลค่า 56,062 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุดรธานี มีมูลค่า 38,157 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีมูลค่า 32,330 ล้านบาท อันดับที่ 6 ชัยภูมิ มีมูลค่า 25,444 ล้านบาท อันดับที่ 7 สุรินทร์ มีมูลค่า 22,462 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า จังหวัดนครราชสีมามีมูลค่าการลงทุนสะสมเพื่อสร้างโรงงานมากที่สุดในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีกำลังซื้อสูง และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งในหลายทำเลก็กำลังมีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการขยายตัวของเมืองไปยังหัวเมืองต่างๆ อีกทั้งยังมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในจังหวัดเองและการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค จึงทำให้นักลงทุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุน โดยปัจจุบันเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นเงินจำนวนมาก แนวโน้มการลงทุนในภาคอีสาน ความกังวลต่อ COVID-19 ที่น้อยลงทำให้การลงทุนในภาคอีสานปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงเน้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมเป็นหลัก และจากปัจจัยกดดันทั้งด้านต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ทำให้แนวโน้มการลงทุนภาคอีสานชะลอตัวลง การลงทุนในภาคอีสานมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีการขยายตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสินค้าในประเทศคู่ค้าที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างยังคงทรงตัว และมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในภาคอีสาน ยังเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเดิม ที่มีศักยภาพเป็นหลัก ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหาร อ้างอิงจาก: https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/ https://baanbaan.co/story/โคราชดียังไง-ทำไมถึงน่าอยู่/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มูลค่าการลงทุนสะสม #โรงงานอุตสาหกรรม #นครราชสีมา #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #อุดรธานี #บุรีรัมย์ #ชัยภูมิ #สุรินทร์ #โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ

พาซอมเบิ่ง 7 จังหวัดในภาคอีสานที่มีมูลค่าการลงทุนสะสม เพื่อสร้างโรงงานหลายกว่าหมู่ อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

ในเดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 106,622 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12.6% ของการค้าชายแดนทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 69,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า 19.8% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 37,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.3% 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว หนองคาย => มูลค่าการส่งออก 36,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% มุกดาหาร => มูลค่าการส่งออก 17,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% อุบลราชธานี => มูลค่าการส่งออก 8,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.2% เลย => มูลค่าการส่งออก 1,830 ล้านบาท ลดลง -25.3% นครพนม => มูลค่าการส่งออก 3,888 ล้านบาท ลดลง -16.4% บึงกาฬ => มูลค่าการส่งออก 1,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.2% จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว

พาส่องเบิ่ง 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน

เห็นได้ว่าในช่วงนี้ มีการขึ้นค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 ด้วยการขึ้นค่าไฟ 4.72 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือปรับขึ้น 17% จากค่า Ft อยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย วันนี้ ISAN insight & Outlook จะพามาดูการใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสานว่ามากน้อยเพียงใด ในโลกยุคดิจิทัล ไฟฟ้าแทบจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตเลยทีเดียว เพราะชีวิตของเราต้องพึ่งพาพลังงานจากไฟฟ้าแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่การให้แสงสว่าง การทำความเย็น การประกอบอาหาร การเดินทาง รวมไปถึงการติดต่อสื่อสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ดังนั้น ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถเจาะลึกไปถึงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า และความเป็นอยู่ของทุกครัวเรือนไทย นอกจากจะมีความสำคัญโดยตรงต่อธุรกิจไฟฟ้าแล้ว ข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ายังมีประโยชน์ในแง่ของการกำหนดนโยบายต่างๆ อีกด้วย อีสานบ้านเรามีการใช้ไฟฟ้ากันมากไหม? ภาพรวมของภาคอีสานในปี 2564 พลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้จำนวน 23,138 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง มีสัดส่วนอยู่ที่ 17% ของประเทศไทย ซึ่งเป็นรองภาคกลาง มีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้อยู่ที่ 80,724 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน 59.2% ของประเทศไทย รองลงมาเป็น ภาคเหนือ 12.1% และภาคใต้ 11.8% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทในภาคอีสาน พบว่า การใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42.4% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมา คือ กิจการขนาดใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 25.2% และใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 0.7% แต่เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร พบว่า ภาคอีสานใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 40.1% ของใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตรทั้งหมดใช้ประเทศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เนื่องจากภาคอีสานเป็นแหล่งภาคการเกษตรที่สำคัญของประเทศ 5 อันดับจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา 6,235 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 2 ขอนแก่น 2,521 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 3 อุบลราชธานี 1,719 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 4 อุดรธานี 1,614 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 1,302 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง จะเห็นได้ว่า นครราชสีมามีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และยังเป็นแหล่งศูนย์กลางความเจริญของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมายในช่วง 10 ปีหลัง และนครราชสีมายังเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และวังน้ำเขียว มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 5 ล้านคนต่อปี จึงทำให้ธุรกิจบริการเกิดขึ้นใหม่มากมาย ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าจึงมากกว่าทุกจังหวัด เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าทั้งภาคีอสาน จะเห็นได้ว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนระอุตลอดทั้งปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งบางวันมีอุณหภูมิมากถึง

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565

การโอนกรรมสิทธ์ิที่อยู่อาศัย ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 80,019 หน่วย มีมูลค่า 215,417 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า -2.7% และ -4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งจำนวนหน่วยยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (ปี 2558 – 2562) ซึ่งมีจำนวนเฉลี่ย 90,233 หน่วย แต่มูลค่ากลับสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ซึ่งมีจำนวน 199,395 ล้านบาท จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าในไตรมาสนี้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สูงขึ้นโดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราคาเฉลี่ย 2.69 ล้านบาทต่อหน่วยในไตรมาสนี้ สูงกว่าระดับราคาโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ที่มีระดับราคาเฉลี่ย 2.21 ล้านบาทต่อหน่วย หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบมีการโอนจำนวน 60,133 หน่วย ลดลง จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -0.3% แต่มีมูลค่า 163,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 0.6% ส่วนอาคารชุดมีการโอนจำนวน19,886 หน่วย ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -9.2% และมีมูลค่า 52,291 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -17.9% หากพิจารณาการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะภาคอีสาน พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 8,527 หน่วย ขยายตัวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -1.8% และมีมูลค่า 14,217 ล้านบาท ลดลง -3.9% จังหวัดท่ีมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในภาคอีสาน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันมากถึง 43% ของจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในภาคอีสาน และมีสัดส่วนมูลค่ารวมกัน 51.5% นครราชสีมา มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,944 หน่วย ลดลง -0.3% แต่มีมูลค่า 4,075 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน และปากช่อง ส่วนอาคารชุดโอกรรมสิทธิ์นมากในอำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง และสูงเนิน ขอนแก่น มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,736 หน่วย เพิ่มขึ้น 10.4% มูลค่า 3,201 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองขอนแก่น ชุมแพ และน้ำพอง ส่วนอาคารชุดมีการโอนกรรมสิทธิ์ในอำเภอเมืองขอนแก่นเพียงอำเภอเดียว มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบแยกตามระดับราคามากที่สุด 3 ลำดับแรก ในไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า เป็นช่วงราคาเดียวกับภาพรวมมูลค่าการโอนตลาดที่อยู่อาศัย ได้แก่ ระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท ระดับราคา

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top