Nanthawan Laithong

พาเลาะเบิ่ง “โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น” ในอีสาน

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา จ.นครราชสีมา โดยมีลักษณะงานก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 6 ชั้น และห้อง LINAC จำนวน 2 ห้อง รวมถึงลานจอดรถ และทางเชื่อมระหว่างอาคาร ประกอบด้วย งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบไฟฟ้า-สื่อสาร งานระบบสุขาภิบาล งานป้องกันอัคคีภัย งานปรับอากาศและระบายอากาศ งานระบบก๊าซทางการแพทย์ งานระบบขนส่งแนวดิ่ง(ลิฟต์) งานตกแต่งภายใน และงานครุภัณฑ์ทางการแพทย์ มูลค่ารวม 900 ล้านบาท  ระยะเวลาก่อสร้าง 990 วัน   ศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการแห่งชาติ จ.นครราชสีมา งบประมาณในการก่อสร้าง 344 ล้านบาท โดยในตอนนี้ศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการหลักอยู่ที่ จ.นครราชสีมา, สุพรรณบุรี และมีบางส่วนที่ จ.ชลบุรีด้วย เป็นการสร้างศูนย์ใหญ่ที่ครบวงจรเลยที่นครราชสีมา เพราะมีความพร้อมที่้ครบครั่น เช่น วีลแชร์เรซซิ่งก็จะมีลู่ที่ได้มาตรฐสากล รวมถึงวิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการโดยเฉพาะ   สะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณในการก่อสร้าง 950 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นบริเวณบ้านดงน้อย ต.ภูสิงห์ อ.สหัสขันธ์ ข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว ไปยังจุดสิ้นสุดสะพานบริเวณบ้านโนนทัน ต.สำราญใต้ อ.สามชัย ความยาวประมาณ 1,325 เมตร และเมื่อโครงการดังกล่าวเสร็จสิ้น จะทำให้การคมนาคมทางรถยนต์เชื่อมระหว่าง อ.สหัสขันธ์ กับ อ.สามชัย และอีกหลายๆ อำเภอใน จ.กาฬสินธุ์ รวมถึงการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนผู้ที่ใช้เส้นทางสายดังกล่าว   ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2169 สายยโสธร – อ.กุดชุม ตอน 1 และก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2169 สายยโสธร – อ.กุดชุม ตอน 2 จ.ยโสธร งบประมาณในการก่อสร้างรวมกว่า 1,134 ล้านบาท โดยมีระยะทางกว่า 28 กม. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชีย AH121 เชื่อมเวียดนาม – สปป.ลาว – ไทย – กัมพูชา มายังเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC ของไทย คาดแล้วเสร็จปี 70   จากสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ที่มีฝนตกหนักในพื้นที่พม่า จีน และ สปป.ลาว ในปริมาณมาก ทำให้น้ำจำนวนมหาศาลไหลเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดริมน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ครั้งนี้อย่างมาก จึงเกิดแผนโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งและซ่อมแซ่มตลิ่งในพื้นที่จังหวัดที่ได้ผบกระทบ ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 790 ล้านบาท ได้แก่  – สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมห้วยบางทราย จ.มุกดาหาร  – สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหนองค้า จ.มุกดาหาร – […]

พาเลาะเบิ่ง “โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น” ในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 ปลูกข้าวนาปีมากที่สุดในไทยกว่า 38 ล้านไร่

การปลูกข้าวจะเน้นพึ่งน้ำฝน มีช่วงเวลาเพาะปลูกสำคัญตั้งแต่ช่วงเข้าหน้าฝน (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของทุกปี) และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี (เดือนตุลาคม) เรียกว่า “ข้าวนาปี” มีผลผลิตทั้งข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว ซึ่งมีปริมาณรวมกันกว่า 81% ของผลผลิตข้าวรวมทั้งประเทศในแต่ละรอบปีการเพาะปลูก ส่วนที่เหลือประมาณ 19% เป็น “ข้าวนาปรัง” . ในปีเพาะปลูก 2566/67 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี อยู่ที่ 62 ล้านไร่ และมีผลผลิต 27 ล้านตัน แล้วรู้หรือไหมว่าภาคอีสานมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวนาปีมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่า 38 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 61.5% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตมากกว่า 13 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 49.7% ของผลผลิตปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในประเทศ ซึ่งทั้งพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวนาปีในอีสานมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ   หากลงไปดูข้อมูลรายจังหวัดจะเห็นได้ว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดในอีสานตอนล่าง อย่างจังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งเพียง 4 จังหวัดนี้ก็มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีมากกว่า 13.8 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 36% เลยทีเดียว   ทำไมถึงการปลูกข้าวนาปีส่วนใหญ่ถึงปลูกมากในอีสานตอนล่าง?   อีสานตอนล่างที่ลักษณะพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวของอีสานตอนล่างมากกว่าพื้นที่อื่นๆ และยังเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมดอกมะลิ 105 และกับข้าว กข.15 ที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อีกทั้งการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของชาวนาในพื้นที่     แนวโน้มอุตสาหกรรมข้าวจะเป็นอย่างไร?   ในปี 2568-2569 ผลผลิตมีทิศทางขยายตัวจากการเข้าสู่ลานีญาในไตรมาส 3 ของปี 2567 ทำให้ไทยได้อานิสงส์จากปริมาณฝนที่มากขึ้น ประกอบกับแรงจูงใจด้านราคาทำให้เกษตรกรหันกลับมาเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตยังเผชิญต้นทุนที่ทรงตัวสูง   ด้านความต้องการบริโภคข้าวในประเทศปี 2567-2569 มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม และอุตสาหกรรมอาหาร   ด้านการส่งออกอาจเข้าสู่ภาวะหดตัวในปี 2568-2569 จากแนวโน้มการกลับมาส่งออกของอินเดีย ท่ามกลางอุปทานของโลกที่เพิ่มขึ้นจากคู่แข่งที่ได้เปรียบด้านราคา ขณะที่ราคาข้าวของไทยยังมีแนวโน้มทรงตัวสูงในปี 2567 ก่อนจะเริ่มปรับลดลงตามผลผลิตที่ทยอยออกมากขึ้นในช่วงปี 2568-2569     อ้างอิงจาก:  – สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร – วิจัยกรุงศรี – กรมวิชาการเกษตร   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ข้าวนาปี #อุตสาหกรรมข้าว

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 ปลูกข้าวนาปีมากที่สุดในไทยกว่า 38 ล้านไร่ อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา “ไฟป่า” เผาวอดพื้นที่ป่าอีสานไปมากกว่า 5 แสนไร่🔥

จากเหตุไฟป่าลุกลามรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ลอสแองเจลิส ผลาญพื้นที่ไปแล้ว 125 ตารางกิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และอาจเพิ่มขึ้นอีก อพยพคนแล้ว 180,000 คน และเตือนภัยอีก 200,000 คน ด้านแอคคิวเวเธอร์เพิ่มตัวเลขประมาณการความเสียหายเป็น 4.6-5.1 ล้านล้านบาท   และในไทยเองในขณะนี้มีการเกิดไฟป่าที่ดงพญาเย็น สำหรับเหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้นั้นนับเป็นครั้งที่ 4 แล้วในห้วงหลังปีใหม่มา ได้มีการประเมินพื้นที่เสียหายในเบื้องต้นนั้นมีพื้นที่เสียหายกว่า 200 ไร่ รวมแล้วมีพื้นที่ป่าเสียหายเกือบ 1,000 ไร่ และที่สำคัญคือชีวิตสัตว์ป่าน้อยใหญ่ ที่อยู่ในป่าเขาใหญ่   อีสานอินไซต์เลยถือโอกาสพาย้อนเปิดสถิติไฟป่าย้อนหลัง 20 ปี ในภาคอีสานของเรามีพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ไปมากแค่ไหน?   เหตุการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ล้วนเกิดจากฝีมือของมนุษย์แทบทั้งสิ้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเก็บหาของป่า เป็นปัญหาระดับชาติที่กลับมาวนเวียนทุกปี   ส่วนในภาคอีสานรวมเวลากว่า 20 ปี ดับไฟป่าไปแล้วทั้งสิ้น 28,978 ครั้ง และรวมพื้นที่ถูกไฟไหม้ทั้งสิ้น 522,460 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 836 ตารางกิโลเมตรเลยทีเดียว   5 อันดับจังหวัดที่มีพื้นที่ไฟไหม้ป่ามากที่สุดในอีสาน – ชัยภูมิ 142,334 ไร่ – เลย 67,757 ไร่ – นครราชสีมา 52,777 ไร่ – อุดรธานี 46,646 ไร่ – ขอนแก่น 46,065 ไร่   จะเห็นได้ว่าจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ไฟไหม้ป่ามากที่สุดในอีสาน โดยในช่วงเดือน ก.พ. 2567 ชัยภูมิได้เกิดเหตุไฟไหม้บนเทือกเขาภูแลนคา ซึ่งเป็นแนวเขาที่ทอดยาว ครอบคลุมตั้งแต่ อำเภอภูเขียว แก้งคร้อ เมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ หนองบัวแดง และอำเภอบ้านเขว้า ไฟป่าที่เกิดขึ้นคาดเกิดจากฝีมือชาวบ้านที่เก็บหาของป่าจำพวกผักหวานป่าชาวบ้านต่างจะพากันเผาป่า เพื่อให้ไหม้ต้นผักหวานป่า และจะได้แตกยอดอ่อนขึ้นมาอีก ก่อนจะพากันออกหาเก็บหาผักหวานแล้วไปขายกันทุกปี ซึ่งนับว่าเกิดไฟป่าไหม้รุนแรงหนักสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว   แม้ว่าตัวเลขสัดส่วนพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้จะไม่ได้ดูมากหากเทียบกับพื้นที่ป่าทั้งหมดในภาคอีสาน แต่ป่าถือไเป็นแหล่งกำเนิดของธรรมชาติ พืชพรรณ ป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด จากสถิติ ในปัจจุบันสาเหตุการเกิดไฟไหม้ป่าเกือบทั้งหมดเกิดมาจากฝีมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่การทำเกษตร การเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ หรือการพักแรม เป็นต้น ซึ่งความประมาทของมนุษย์นั้นไม่เพียงแต่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่า ยังเป็นการทำลายบ้านและพรากชีวิตของสัตว์ป่าไปด้วย     อ้างอิงจาก: – Thai PBS – ประชาชาติธุรกิจ – ไทยรัฐออนไลน์ – Thecitizen.plus – มูลนิธิสืบนาคเสถียร – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  

พาย้อนเบิ่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา “ไฟป่า” เผาวอดพื้นที่ป่าอีสานไปมากกว่า 5 แสนไร่🔥 อ่านเพิ่มเติม »

👀พาสำรวจเบิ่ง คนอีสานแต่ละจังหวัด “เริ่มดื่ม” อายุเท่าไหร่?🍺

จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 ภาคอีสานมีสัดส่วนนักดื่มมากถึง 32.3% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากภาคเหนือ และมีสัดส่วนของนักดื่มหนักมากถึง 37.2% ซึ่งมีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่ 2 เช่นกัน   สำหรับประเทศไทยพบปัญหาอัตราการสูบบุหรี่ในวัยรุ่น มีแนวโน้มลดลงแต่การดื่มสุรากลับเพิ่มขึ้น แล้วเคยรู้ไหมว่า คนอีสานเริ่มดื่มกันอายุเฉลี่ยเท่าไหร่?   เมื่อไปดูก็พบว่า ภาคอีสานของเรามีนักดื่มที่เริ่มดื่มอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 22.8 ปีเท่านั้น ถือว่ามีอายุเฉลี่ยต่ำที่สุดในประเทศ   วัยรุ่นถือเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ วิถีชีวิต และความเป็นอิสระที่เพิ่มมากขึ้น จึงอาจมีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น   วัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง ซึ่งมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสมองของวัยรุ่นในช่วงอายุ 20 ปี ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาของสมองนี้อาจช่วยอธิบายพฤติกรรมบางอย่างของวัยรุ่นได้ เช่น มีแนวโน้มที่จะต้องการพบเจอกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่อาจเป็นอันตราย อย่างการเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   ภาคอีสานโดยทั่วไปมีวัฒนธรรมการดื่มที่ผูกพันกับวิถีชีวิตและสังคมมาอย่างยาวนาน การดื่มมักเป็นส่วนหนึ่งของการพบปะสังสรรค์ ทั้งงานบุญเทศกาล งานรื่นเริง มักจะมีรถแห่ หมอลำ ที่เป็นจุดเด่นและสร้างความบันเทิงในทุกงาน ซึ่งงานบุญและเทศกาลเหล่านี้ ทั้งวัยรุ่นและประชาชนทั่วไปในชุมชนที่ศึกษามีความนิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้วัยรุ่นมีการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย และดื่มในปริมาณที่มากขึ้นตามมา   ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งวัยรุ่นหญิงและชาย โดยวัยรุ่นตอนปลายจะมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คิดเป็น 70% ของวัยรุ่นวัยเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดื่มในเทศกาลต่างๆ   ผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในชุมชนนั้นพบปัญหาการหนีเรียนในบางครั้ง แอบพกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มหลังโรงเรียน มีการรวมกลุ่มกันที่บ้านเพื่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน ช่วงงานวันเกิด หรือหลังมีงานกิจกรรมของโรงเรียน หลังงานกีฬา กลับบ้านหลังเที่ยงคืนทำให้ผู้ปกครองต้องเป็นห่วง พบว่า วัยรุ่นที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการสูบบุหรี่ร่วมด้วยเป็นบางราย มีการทะเลาะวิวาทกับวัยรุ่นหมู่บ้านใกล้เคียง ช่วงเทศกาลที่มีหมอลำทุกงาน นอกจากนี้ผลการเรียนของ นักเรียนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มที่ลดลง     อ้างอิงจาก:  – BrandThink – Hello Health – วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ เรื่อง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นชุมชนเขตชานเมืองจังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคอีสานของประเทศไทย – ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) – สำนักงานสถิติแห่งชาติ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #นักดื่ม #สุราก้าวหน้า #เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ #นักดื่ม #ดื่มหนัก 

👀พาสำรวจเบิ่ง คนอีสานแต่ละจังหวัด “เริ่มดื่ม” อายุเท่าไหร่?🍺 อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับธุรกิจของคนภูธรแดนอีสานที่มีมูลค่าหลักหลายพันล้าน🏭💰

📊📈หลายๆ บริษัทในไทยอาจมีจุดเริ่มต้นมาจากเมืองหลวงที่มีผู้บริโภคอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีการจับจ่ายใช้สอยและมีอัตราการเติบโตสูง แต่ก็มีอีกหลายๆ บริษัทที่เล็งเห็นโอกาสการทำตลาดจากต่างจังหวัด   หากดูข้อมูลอันดับข้างต้นก็จะพบว่าธุรกิจของคนภูธรแดนอีสานที่มีมูลค่าหลักหลายพันล้านมีการกระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดหัวเมืองของภาคอีสาน อย่างนครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี   โดยเฉพาะประตูสู่อีสานอย่างนครราชสีมา ซึ่งก็จะปฏิเสธไม่ได้ว่านครราชสีมาตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกต่อการคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางรถไฟ และทางอากาศ ทำให้การขนส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปไปยังตลาดต่างๆ ทั่วประเทศและต่างประเทศทำได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการกระจายสินค้า   และยังมีปัจจัยหลายปัจจัยที่ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ตัดสินใจเข้ามาตั้งฐานการผลิตหรือสำนักงานใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งทำให้นครราชสีมากลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคอีสาน   👨🏻‍🌾🚜เมื่อพูดถึงภาคอีสาน คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการทำเกษตรกรรมอย่างการปลูกข้าวนาปี, ยางพารา, มันสำปะหลัง และอ้อย นอกจากนี้แรงงานกว่า 37% ก็อยู่ในภาคการเกษตรด้วยเช่นกัน นั่นจึงส่งผลดีต่อธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรในภาคอีสาน   ธุรกิจของคนภูธรแดนอีสานที่มีมูลค่าหลักหลายพันล้านมีกว่า 8 บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร นครราชสีมาถือเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญมากในด้านการเกษตรและเป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคอีสาน เรียกไดว่าเป็น “เมืองเกษตรกรรมครบวงจร” ทำให้เป็นแหล่งดึงดูด บริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรมากมาย ให้เข้ามาตั้งโรงงานแปรรูป ภายในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังกว่า 161 โรงงาน มากที่สุดในประเทศไทย รวมถึงโรงงานผลิตอาหารสัตว์จากข้าวโพด และโรงงานน้ำตาลอีกด้วย     อ้างอิงจาก:  – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – Longtunman   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ธุรกิจของคนภูธรแดนอีสาน #ธุรกิจภูธรแดนอีสาน #ธุรกิจของคนอีสาน

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับธุรกิจของคนภูธรแดนอีสานที่มีมูลค่าหลักหลายพันล้าน🏭💰 อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ในช่วงกว่า 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน “เคยหนาวสุด” มากแค่ไหน

🥶ภาคอีสานเริ่มหนาวอย่างสมศักดิ์ศรีของฤดูหนาว‼️   ❄️⛄️ช่วงนี้มีมวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้อากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้าต่อเนื่อง แต่มีบางวันที่มีอากาศอุ่นขึ้นสลับเย็นลง  ลมหนาวยังมีพัดแรงบ้าง เบาบ้างสลับบางช่วง ฤดูหนาวยังไม่สิ้นสุด ยังสามารถสัมผัสอากาศหนาวเย็นได้บริเวณภาคอีสานตอนบน    โดยภาคอีสานของเราเคยมีอุณหภูมิต่ำสุดติดลบถึง -1.4 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ที่จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2517 โดยสกลนครเป็นจังหวัดที่ราบสูงล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าไม้ โดยพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบสูงมีป่าไม้ ส่วนทางตอนใต้เป็นที่ราบสูงเชิงเขา ได้แก่ ที่ราบสูงบนเทือกเขา ภูพานและที่ราบระหว่างหุบเขา จึงทำให้มีอุณหภูมิต่ำสุดกว่าทุกจังหวัดในภาคอีสาน   และอีกหนึ่งจังหวัดที่เคยมีอุณหภูมิที่ต่ำสุดจนติดลบ คือ จังหวัดเลย เรียกได้ว่าเป็นเมืองแห่งทะเลภูเขา ซึ่งความหนาวเย็นนี้ก็ยังเอื้อประโยชน์ต่อการปลูกพืชเมืองหนาว อ.ภูเรือ จังหวัดเลย จึงเป็นแหล่งปลูกไม้ดอกและไม้ผลเมืองหนาว โดยเฉพาะองุ่นพันธุ์เชอแทง บลัง และพันธุ์ชีร่า องุ่นพันธุ์ดีจากฝรั่งเศสที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไวน์ชาโต เดอ เลย ไวน์รสชาติเยี่ยมฝีมือคนไทยนั่นเอง     อ้างอิงจาก:  – ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา – TNN Thailand – Sanook   ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsight #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #แวดล้อมอีสาน #อุณหภูมิต่ำสุด #อุณหภูมิต่ำ #ฤดูหนาว #หนาว #ลมหนาว #อากาศหนาว

พาย้อนเบิ่ง ในช่วงกว่า 70 ปีที่ผ่านมา อีสาน “เคยหนาวสุด” มากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง ความยาว “รันเวย์” สนามบินในภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.67 มีเหตุการณ์น่าเศร้า ซึ่งเกิดเหตุการณ์เครื่องบินไถลออกออกนอกรันเวย์ก่อนชนเข้ากับรั้วที่สนามบินมูอัน ที่ประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากขณะจะลงจอดล้อของเครื่องบินไม่กางออกทำให้ตัวเครื่องบินไถลไปตามรันเวย์ เครื่องบินไฟไหม้ มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต โดยยังพบว่ามีผู้โดยสารคนไทยเดินทางกลับจากสายการบินดังกล่าวจำนวน 2 ราย   “สนามบินนานาชาติมูอัน” ในจังหวัดชอลลาใต้ สนามบินที่เป็นประตูสู่ภาคใต้ของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะคนที่จะเดินทางไปเที่ยวเมืองมกโพ และยอซู เมืองเด่นๆ ในแถบภาคใต้ของเกาหลีใต้   โดยท่าอากาศยานนานาชาติมูอันของเกาหลีใต้ มีความยาวรันเวย์ 2,800 เมตร ขณะที่สนามบินทั้ง 8 แห่งของภาคอีสาน มี 4 สนามบินที่ยาวกว่ามูอัน ได้แก่  – ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี มีความยาว 3,048 เมตร  – ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น มีความยาว 3,050 เมตร  – ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี มีความยาว 3,000 เมตร – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ มีความยาว 3,000 เมตร   และอีก 4 สนามบินที่สั้นกว่ามูอัน ได้แก่  – ท่าอากาศยานนครพนม มีความยาว 2,500 เมตร – ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด มีความยาว 2,500 เมตร – ท่าอากาศยานสกลนคร มีความยาว 2,600 เมตร – ท่าอากาศยานเลย มีความยาว 2,100 เมตร   อย่างไรก็ตาม ทางการได้ปฏิเสธว่ารันเวย์ที่สั้นของสนามบินมูอันไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว โดยบอกว่าความยาวของรันเวย์ 2,800 เมตรนั้นสามารถรองรับเครื่องบินขนาดใกล้เคียงกับลำที่เกิดเหตุได้อย่างไม่มีปัญหา อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจึงอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับความยาวของรันเวย์     ในส่วนของจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารของสนามทั้ง 8 แห่งในภาคอีสานนั้น จะเห็นได้ว่าทั้งจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่เยอะจะกระจุกตัวอยู่ 3 สนามบินหลักของภาคอีสาน อย่างท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี, ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น และท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารตลอดทั้งปี 2567 หลักล้านคนเลยทีเดียว    ทำไมท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ถึงมีจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินมากที่สุด?   เนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจังหวัดหนองคาย และตั้งอยู่ใกล้เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว โดยอยู่ห่างเพียง 50 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารทั้งลาวและจีนมาใช้บริการ อีกทั้งยังมีเที่ยวบินในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก สามารถเลือกเวลาการเดินทางได้ แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายถูกกว่าที่จะใช้บริการสนามบินนานาชาติวัตไต ที่กรุงเวียงจันทน์    และยังมีปัจจัยเสริมที่สำคัญคือ มีคนจีนส่วนหนึ่งที่เดินทางมากับรถไฟจีน-ลาว มาถึงลาวแล้วต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจที่กรุงเทพฯหรือพื้นที่ภาคตะวันออก ก็จะมาใช้บริการ อีกส่วนที่เป็นชาวลาวที่เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาใช้บริการด้วย สังเกตได้จากป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จอดค้างคืนที่สนามบินอุดรธานี    โดยท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนของภูมิภาคและประเทศไทย      อ้างอิงจาก: – MGR Online – Matichon

พาสำรวจเบิ่ง ความยาว “รันเวย์” สนามบินในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับเส้นทางที่มีการใช้รถมากที่สุดอยู่ไหนบ้างในภาคอีสาน🚗🛣️

อันดับที่ 1 ถนนหมายเลข 2 เส้นนครราชสีมา – ดอนหวาย มีปริมาณการใช้รถ 137,258 คัน อันดับที่ 2 ถนนหมายเลข 204 ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา มีปริมาณการใช้รถ 119,243 คัน อันดับที่ 3 ถนนหมายเลข 2 เส้นมวกเหล็ก – บ่อทอง มีปริมาณการใช้รถ 98,718 คัน อันดับที่ 4 ถนนหมายเลข 2 เส้นดอนหวาย – บ้านวัด มีปริมาณการใช้รถ 97,435 คัน อันดับที่ 5 ถนนหมายเลข 2 เส้นน้ำสวย – สะพานมิตรภาพที่หนองคาย(เขตแดนไทย/ลาว) มีปริมาณการใช้รถ 93,592 คัน อันดับที่ 6 ถนนหมายเลข 291 ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม มีปริมาณการใช้รถ 93,592 คัน อันดับที่ 7 ถนนหมายเลข 2 เส้นโคกกรวด – นครราชสีมา มีปริมาณการใช้รถ 91,551 คัน อันดับที่ 8 ถนนหมายเลข 201 เส้นหนองบัวโคก – บ้านลี่ มีปริมาณการใช้รถ 91,475 คัน อันดับที่ 9 ถนนหมายเลข 12 เส้นร่องแซง – หนองแก มีปริมาณการใช้รถ 84,919 คัน อันดับที่ 10 ถนนหมายเลข 224 เส้นพะโค – หนองสนวน มีปริมาณการใช้รถ 84,261 คัน อันดับที่ 11 ถนนหมายเลข 2050 เส้นอุบลราชธานี – ตระการพืชผล มีปริมาณการใช้รถ 82,993 คัน อันดับที่ 12 ถนนหมายเลข 304 เส้นดอนขวาง – โพธิ์กลาง มีปริมาณการใช้รถ 80,359 คัน อันดับที่ 13 ถนนหมายเลข 23 เส้นหนองจิก – ห้วยแอ่ง มีปริมาณการใช้รถ 74,949 คัน อันดับที่ 14 ถนนหมายเลข 22

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับเส้นทางที่มีการใช้รถมากที่สุดอยู่ไหนบ้างในภาคอีสาน🚗🛣️ อ่านเพิ่มเติม »

เตรียมตัวเบิ่ง.. “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ฝนดาวแรกของปี 68 สถานที่ดูดาวในภาคอีสานอยู่ที่ไหนบ้าง

หลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 02:00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2568 จะเกิดปรากฏการณ์    “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco) เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปีนี้คาดมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง และไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์ สามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ แนะนำชมในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน   “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ตั้งตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่เคยมีในแผนที่ดาวในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 (ในปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว) อยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดาวมังกร เชื่อกันว่า ฝนดาวตกนี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยแอนโตนิโอ บรูคาลาสซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อปี 1825 ซึ่งสังเกตเห็นอุกกาบาตที่เปล่งแสงออกมาจากท้องฟ้า   ฝนดาวตกควอดรานติดส์ มีสาเหตุจากเศษอนุภาคจากอุกกาบาต (ที่มาจากหิน) ขณะที่ดาวตกชนิดอื่น ๆ เกิดมาจากดาวหาง (ซึ่งประกอบด้วยน้ำแข็งและฝุ่น)     สถานที่ดูดาว ทั้ง 22 แห่ง ในภาคอีสาน ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย นับเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก เนื่องจากมีความพร้อมในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น มีพื้นที่โล่งที่ไม่มีต้นไม้หรือวัตถุบดบังบริเวณขอบฟ้า มีการบริหารจัดการแสงสว่างที่ดี และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะกับการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ   📍นครราชสีมา – ภูคำหอม รีสอร์ท – สวนไพลินชมดารา – มกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ – อุ่นฟ้าอิงดาวแคมป์ปิ้ง – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ – ไร่เขาน้อยสุวณา – ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้ – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา – โรงแรมเรนทรี เขาใหญ่ – ไร่องุ่นไวน์ อัลซิดินี่ – โรงแรม เดอะเปียโน รีสอร์ท เขาใหญ่   📍ชัยภูมิ – อุทยานแห่งชาติไทรทอง – อุทยานแห่งชาติตาดโตน – อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม – เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว – อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   📍ขอนแก่น – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น – อุทยานแห่งชาติภูเวียง – สวนสัตว์ขอนแก่น   📍อุบลราชธานี –

เตรียมตัวเบิ่ง.. “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ฝนดาวแรกของปี 68 สถานที่ดูดาวในภาคอีสานอยู่ที่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง คนอีสานมัก “ดื่มในงานเทศกาล” มากแค่ไหน

จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 ภาคอีสาน มีสัดส่วนนักดื่มมากถึง 32.3% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากภาคเหนือ และมีสัดส่วนของนักดื่มประจำ อยู่ที่ 38.6% ซึ่งมีสัดส่วนน้อยที่สุดในประเทศ เมื่อไปดูก็พบว่า ภาคอีสานมีนักดื่มที่ดื่มในงานประเพณี/คอนเสิร์ต/งานเลี้ยงมากถึง 70.0% ซึ่งมีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ   ภาคอีสานโดยทั่วไปมีวัฒนธรรมการดื่มที่ผูกพันกับวิถีชีวิตและสังคมมาอย่างยาวนาน การดื่มมักเป็นส่วนหนึ่งของการพบปะสังสรรค์ งานบุญ งานเทศกาล และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้คนในพื้นที่คุ้นเคยและยอมรับการดื่มมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ทำไมคนถึงชอบดื่มในงานสังสรรค์มากกว่าดื่มอยู่บ้าน? “บรรยากาศ” เพราะวงสังสรรค์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในการดื่มกินได้อย่างไม่น่าเชื่อ   จากการสำรวจในปี 2016 เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราสนุกกับการดื่มมากแค่ไหน โดยรวบรวมข้อมูลจากแอปพลิชันชื่อ ‘Mappiness’ ที่ให้คะแนนความสนุกจาก 1-100 คะแนน พบว่าการดื่มเชื่อมโยงกับความสนุก 10.79 คะแนน หมายความว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อความสนุกของคนจริงๆ ซึ่งนอกเหนือจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ปัจจัยแวดล้อมและกิจกรรมอื่นๆ ก็ยังส่งผลเช่นกัน   การที่คนเรา “รู้สึกดี” ท่ามกลางบรรยากาศสังสรรค์ในวงเหล้า ไม่ใช่แค่เรื่องของการเข้าสังคมเพื่อพบปะเพื่อนฝูงเท่านั้น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ทสมัธ (University of Portsmouth) ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ระดับ “ความดัง” ของบรรยากาศทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “หวาน” ขึ้นด้วย โดยเฉพาะเมื่อเปิดดนตรีขับกล่อมเป็นพื้นหลัง นอกจากนี้มันยังส่งผลต่อปริมาณการดื่มและอัตราความเร็วในการดื่มของผู้คนด้วย พูดง่ายๆ คือยิ่งเสียงดัง คนก็ยิ่งดื่มเยอะ แถมยังดื่มเร็วขึ้น   ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าในปี 2008 ของมหาวิทยาลัย เด เบรทาเน ซาด (Université de Bretagne-Sud) ในฝรั่งเศส ซึ่งทดสอบระดับความดังในบาร์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักดื่ม พบว่า เมื่อเปิดเพลงเสียงดังในระดับ 88 เดซิเบล ทำให้ผู้ดื่มจะสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นและสั่งถี่ขึ้นตามความดังของบรรยากาศรอบตัว   มนุษย์เราอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชื่นชอบเครื่องดื่มมึนเมา ซึ่งบรรยากาศสังสรรค์ ผู้คนที่กำลังสรวลเสเฮฮา บวกกับเสียงดนตรีที่เปิดคลอเคล้าภายในงานสังสรรค์ต่างๆ ก็ล้วนเป็น “ตัวกระตุ้นชั้นดี” ที่ทำให้อยากดื่ม แถมยังสนุกกับการดื่มมากขึ้นไปอีก นั่นจึงเป็นคำตอบว่า ทำไมหลายคนถึงโหยหาบรรยากาศการดื่มสุราในงานสังสรรค์มากกว่าการนั่งดื่มที่บ้านนั่นเอง     อ้างอิงจาก:  – BrandThink – ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) – สำนักงานสถิติแห่งชาติ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #นักดื่ม #สุราก้าวหน้า #เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ #นักดื่มหนัก #ดื่มหนัก

พาเลาะเบิ่ง คนอีสานมัก “ดื่มในงานเทศกาล” มากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top