Nanthawan Laithong

ต้อนรับวันแห่งความรัก .. ชวนมาเบิ่ง ยอดจดทะเบียน “สมรสเท่าเทียม” ในภาคอีสาน

ตั้งแต่ 23 ม.ค. 2568 วันประวัติศาสตร์ กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับวันแรก เป็นการมอบสิทธิให้กับบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ว่าเพศใดสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย   โดยตั้งแต่มีผลบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมวันแรกจนถึงวันที่ 13 ก.พ. 2568 “ยอดจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม” ในภาคอีสานมีจำนวนทั้งหมด 757 คู่ด้วยกัน ความรักไม่เลือกเพศเป็นความรักที่บริสุทธิ์และจริงใจ เป็นความรักที่ควรได้รับการเคารพและยอมรับเหมือนกับความรักในรูปแบบอื่นๆ ทุกคนควรมีสิทธิที่จะรักและแต่งงานกับคนที่ตนเองรัก โดยไม่คำนึงถึงเพศนั่นเอง     ในมุมมองของเศรษฐกิจกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนี้ มีต้นทุนและศักยภาพ และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลาย ๆ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความหลากหลายทางเพศ มีการประมาณการว่าประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม LGBTQIAN+ จำนวนกว่า 4 ล้านคน (คิดเป็นประมาณ 6%) โดย SDG Port ประมาณการใกล้เคียงกับ LGBT Capital ที่ประมาณว่ามีคนกลุ่มดังกล่าวประมาณ 3.7 ล้านคน (คิดเป็นประมาณ 5.6%) โดยประชากรของ LGBTQIAN+ ทั่วโลกอาจมีถึง 800 ล้านคน ซึ่งหากมองในเชิงธุรกิจถือว่าเป็นกลุ่มตลาดที่ใหญ่มากกลุ่มหนึ่ง   อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปัจจุบันสถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIAN+ ทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะมีจํานวนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นกว่า 1.3 ล้านคน ซึ่งการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่ามีการใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปร้อยละ 15 ของการใช้จ่ายทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้เป็นอย่างดี   โดย Spartacus ซึ่งจัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวเป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยวที่เป็น LGBTQIAN+ พบว่าประเทศไทยได้อันดับที่ 54 จาก 213 ประเทศ/ภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งไทยเองทำคะแนนได้ดีใน Anti-Discrimination Legislation (กฎหมายการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ) และ LGBT Marketing (การทำการตลาดกับกลุ่ม LGBTQIAN+) แต่เมื่อประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่น่าจับตามอง จากการที่จะผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยขึ้นมามีอันดับเทียบเท่าไต้หวัน (อันดับที่ 13) ในปี 2568 ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ดีขึ้น   ในเทศกาล Pride Month ตลอดเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 860,000 คน และสร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 4,500 ล้านบาท     อุตสาหกรรมซีรีส์วาย (Y) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการผลิตซีรีส์วายมากกว่า 177 เรื่อง ซึ่งนอกเหนือจากการเห็นจำนวนซีรีส์วายที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ยังคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมซีรีส์วายมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซีรีส์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีมูลค่า 8,000 ล้านบาท ในปี 2566 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท ในปี 2567 […]

ต้อนรับวันแห่งความรัก .. ชวนมาเบิ่ง ยอดจดทะเบียน “สมรสเท่าเทียม” ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง ตัวอย่าง ทางหลวงแนวใหม่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาคอีสาน

ทางหลวงแนวใหม่ อุดรธานี – บึงกาฬ ทางหลวงแนวใหม่ 4 เลน “อุดรธานี-บึงกาฬ” พ่วงจุดตัดทางแยก 3 แห่ง ระยะทางกว่า 155 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 18,000 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างภายในปี 2569 เปิดบริการปี 2572 โครงการนี้จะเพิ่มสะดวก ลดระยะเวลาเดินทางกว่า 2 ชั่วโมง เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงสู่ จ.บึงกาฬ รองรับการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปิดประตูการค้าชายแดนแห่งใหม่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) โครงการมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเบื้องต้น (EIRR) 19.23% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 6,112 ล้านบาท และมีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) 1.52     ทางหลวงแนวใหม่ ทางเลี่ยงเมืองสว่างแดนดิน ทางเลี่ยงเมือง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ระยะทางกว่า 14 กิโลเมตร พร้อมทางต่างระดับ 8 จุดตัด งบก่อสร้าง 1,520 ล้านบาท จากผลการวิเคราะห์ด้านจราจร เดิมทีในปี 2564 อยู่ในช่วง 5,000 – 9,000 คัน/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 9,000 – 15,000 คัน/วัน ในปี 2574 และเป็น 14,000 – 21,000 คัน/วัน ในปี 2584 ประกอบกับแนวเส้นทางสายนี้ในบางช่วงยังคงวิ่งผ่านเข้าตัวเมือง ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อีกทั้งแนวเส้นทางในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดินมีเขตทางแคบเป็นข้อจำกัดในการขยายช่องจราจร ดังนั้น การพิจารณาก่อสร้างทางเลี่ยงเมือง จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุดังกล่าว รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และยกระดับความปลอดภัยในการสัญจร     ทางหลวงแนวใหม่ ท่าพระ – พระยืน ถนนตัดใหม่ขนาด 4 ช่องจราจร ท่าพระ-พระยืน สะพานข้ามแยกท่าพระ สะพานข้ามแม่น้ำชี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ระยะทางกว่า 13.7 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นของโครงการจะออกแบบเป็นสะพานข้ามแยก มีขนาดถนน 6 ช่องจราจร ส่วนด้านล่างเป็นวงเวียนขนาด 3 ช่องจราจร หากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรและเพิ่มศักยภาพของจังหวัดในการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนทางรางกับทางบก และยกระดับทางหลวงในสมบูรณ์ รองรับปริมาณการจราจรในอนาคต ทำให้การเดินทางมีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตในกับคนในพื้นที่อีกด้วย     ทางหลวงแนวใหม่ ทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ ทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญด้านตะวันตก ระยะทางกว่า 25 กิโลเมตร งบก่อสร้าง 2,400 ล้าน โครงนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและยกระดับความปลอดภัยการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคอีสาน

พาเลาะเบิ่ง ตัวอย่าง ทางหลวงแนวใหม่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ในช่วงปีที่ผ่านมา ภาคอีสานมี รถยนต์ใหม่ป้ายแดง มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ

ในปี 2567 ประเทศไทยมีรถยนต์จดทะเบียนใหม่รวมกันกว่า 501,754 คัน ซึ่งลดลง 22.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยภาคอีสานของเรามียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ กว่า 55,569 คัน ซึ่งเป็นรองเพียงภาคกลางเท่านั้น   อะไรที่เป็นปัจจัยทำให้ภาคอีสานมียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ?   ภาคอีสานของเรามีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้น และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันผู้คนมีความต้องการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งสินค้า   ผู้บริโภคในปัจจุบันก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายและภาพลักษณ์ทางสังคมมากขึ้น ซึ่งการมีรถยนต์ส่วนบุคคลจึงตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาคอีสานจะมียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่สูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยผลกระทบด้านอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น ปัญหาการจราจรที่อาจจะติดขัดตามตัวเมืองแต่ละจังหวัด หรือจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ และอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้น การส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและการวางแผนการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย   หากดูเป็นรายจังหวัดก็จะพบว่า ยอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ตามจังหวัดหลักของภาคอีสาน อย่างนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี เพียง 4 จังหวัดก็มีสัดส่วนกว่า 59% เลยทีเดียว จังหวัดเหล่านี้ที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน ซึ่งก้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่สูงที่สุดในภาคอีสาน แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่ทำให้ยอดรถยนต์จดทะเบียนสูง อย่างนครราชสีมาและขอนแก่นมีมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาหลายแห่ง ทำให้มีนักศึกษาและบุคลากรจำนวนมากที่ต้องการใช้รถยนต์ในการเดินทาง อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ต้องการเช่าหรือใช้รถยนต์ในการเดินทาง ซึ่งธุรกิจเช่ารถก็มากในจังหวัดเหล่านี้   เมื่อเจาะกลุ่มแบรนด์รถยนต์ในภาคอีสานก็พบว่า รถยนต์จดทะเบียนใหม่ของโตโยต้ามียอดขายมากสุดในภาคอีสาน อยู่ที่ 23,640 คัน ซึ่งเป็นผลมาจากความนิยมของรถในกลุ่มอีโคคาร์ของโตโยต้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์นั่ง ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสัดส่วนยอดขายรถยนต์ในกลุ่มรถยนต์ไฮบริด (HEV) ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรุ่น Yaris Cross ที่ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้านับตั้งแต่เปิดตัว     อ้างอิงจาก: – กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก – บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #รถยนต์จดทะเบียนใหม่ #รถจดทะเบียนใหม่ #รถยนต์ในอีสาน #รถยนต์จดทะเบียนใหม่อีสาน #รถจดทะเบียนใหม่อีสาน

พาส่องเบิ่ง ในช่วงปีที่ผ่านมา ภาคอีสานมี รถยนต์ใหม่ป้ายแดง มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พาอัพเดทเบิ่ง .. รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย  กรุงเทพฯ – โคราช – หนองคาย

ทำความรู้จักกับ “รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย กรุงเทพฯ – โคราช – หนองคาย” ระยะทาง 606.17 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง 36 นาที กับราคาเพียง 1,171 บาท คาดว่าจะมีการเปิดให้บริการ ปี 2575   โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ระยะด้วยกัน ดังนี้   ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบฯ 60-63) ซึ่งปัจจุบันโครงการฯ ระยะที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด โดยมีความคืบหน้าโดยรวม 38% โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571   ในระยะที่ 1 นี้มีจำนวน 6 สถานีด้วยกัน มีจุดเริ่มต้นที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ผ่านสถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสิ้นสุดที่สถานีนครราชสีมา โดยจะใช้เวลาเดินทางจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ไปยังสถานีนครราชสีมาเพียง 1 ชั่วโมง 36 นาที และมีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 529 บาท     ระยะที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย ระยะทางประมาณ 357.12 กิโลเมตร วงเงินรวมกว่า 341,351 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นที่สถานีนครราชสีมา ประกอบไปด้วย 5 สถานี  (1) สถานีบัวใหญ่ (2) สถานีบ้านไผ่ (3) สถานีขอนแก่น (4) สถานีอุดรธานี และสิ้นสุดที่ (5) สถานีหนองคาย ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2568 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2575 (รวม 8 ปี)    โดยในระยะที่ 2 จะมีการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา ที่ จังหวัดหนองคาย เป็นศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ทั้งขาเข้า-ออก ระหว่างทางขนาด 1 เมตรของรถไฟไทย และขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบ One Stop

พาอัพเดทเบิ่ง .. รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย  กรุงเทพฯ – โคราช – หนองคาย อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “เงินเทอร์โบ” ธุรกิจสินเชื่อที่สร้างรายได้กว่า 2 พันล้าน เตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 68

บริษัท เงินเทอร์โบ จำกัด (มหาชน) หรือ TURBO ให้บริการสินเชื่อภายใต้การกำกับของ ธปท. ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ ภายใต้ชื่อทางการค้า “เงินเทอร์โบ” ซึ่งหุ้นในกลุ่มสินเชื่อแม้ปีที่ผ่านมาจะเผชิญกับความปั่นป่วนทั้วภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก และดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนในการระดมเงินทุน อยู่ในระดับที่สูงมาก  แต่เมื่อดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ทำให้โอกาสทางธุรกิจดูเปิดกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ เงินเทอร์โบ มีที่ปรึกษาทางการเงิน คือ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) โดยจะเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน ไม่เกิน 537,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20.1% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ ออกและชำระแล้วทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย (1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 447,780,000 หุ้น (2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด จำนวนไม่เกิน 89,220,000 หุ้น    “เงินเทอร์โบ” ผู้เล่นตลาดสินเชื่อรายย่อย ที่ตัดสินใจกระโดดเข้ามาท้าชิงส่วนแบ่ง ‘เค้กก้อนโต’ จากคู่แข่งในสนามเดียวกัน เพราะเชื่อในการทำธุรกิจที่นึกถึงเบื้องลึกคนรากหญ้า การพัฒนาบุคลากร และตั้งใจคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง   “เงินเทอร์โบ” มีผลประกอบการ 3 ปี โตเกินเท่าตัวทุกปี ชูจุดเด่นเข้าใจความต้องการของลูกค้า สร้างกระแสการแนะนำปากต่อปาก เตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 2568 เสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ขยายบริการครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อแตะหมื่นล้านภายในปีหน้าเปิดครบ 3,000 สาขา   ผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี ปี 2564 รายได้รวม 1,036 ล้านบาท กำไรรวม 96 ล้านบาท ปี 2565 รายได้รวม 1,807 ล้านบาท กำไรรวม 447 ล้านบาท ปี 2566 รายได้รวม 2,211 ล้านบาท กำไรรวม -48 ล้านบาท   จากข้อมูลผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลัง จะเห็นได้ว่า บริษัทมีอัตราการเติบโตที่ดีมาก โดยเฉพาะรายได้ รวมถึงฐานลูกค้า และจำนวนสาขามาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยปี 66 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้โตขึ้นกว่า 22.3% จากปี 65    ทั้งนี้ ผลประกอบการของบริษัทถือว่ามีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปัจจัยสำคัญในเรื่องของการให้บริการที่มีความรวดเร็ว จริงใจ ให้เกียรติ ตรงไปตรงมา สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด สามารถรับเงินได้ทันที ซึ่งมีผลทำให้บริษัทมีอัตราการเติบโตของธุรกิจ

พามาฮู้จัก “เงินเทอร์โบ” ธุรกิจสินเชื่อที่สร้างรายได้กว่า 2 พันล้าน เตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 68 อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาส่องเบิ่ง ในปีที่ผ่านมา โรงงานในอีสาน มูลค่าเงินทุน 724,668 ล้านบาท กระจายอยู่ไหนบ้าง🏭

🏭ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมสะสมถึงปี 2567 ประเทศไทยมีโรงงานอยู่ 73,710 แห่ง และมีมูลค่าเงินลงทุนรวมมากกว่า 9.6 ล้านล้านบาท แล้วเคยรู้หรือไม่ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมูลค่าเงินลงทุนรวมและจำนวนโรงงานมากแค่ไหน?   โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโรงงานอยู่ทั้งสิ้น 9,067 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วน 12.3% ของจำนวนโรงงานทั้งหมดในประเทศ และมีมูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 724,668 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 7.6% ของมูลค่าเงินลงทุนของโรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.6%   🏆5 อันดับจังหวัดที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด – นครราชสีมา มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 226,708ล้านบาท – ขอนแก่น มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 109,340 ล้านบาท – อุบลราชธานี มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 58,409 ล้านบาท – อุดรธานี มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 52,093 ล้านบาท – ชัยภูมิ มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 36,776 ล้านบาท   โรงงานในภาคอีสานส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ใน Big 4 of ISAN อย่างนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี โดยเพียงแค่ 4 จังหวัดก็มีมูลค่าเงินลงทุนมากกว่า 466,549 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 62% เลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จังหวัดเหล่านี้มีมูลค่าเงินลงทุนมาก เนื่องจากจังหวัดเหล่านี้มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และเป็นพื้นที่น่าจับตามองของเหล่านักลงทุน   โดยเฉพาะนครราชสีมาถือว่าเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรม โดยมี 3 นิคมสำคัญ คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร 2 นครรราชสีมา เขตอุตสาหกรรมสุรนารี และนิคมอุตสาหกรรมสูงเนิน (โครงการ) การเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นในนครราชสีมา ทั้งอำเภอปากช่อง และอำเภอเมืองนครราชสีมา และความเป็นประตูสู่ภาคอีสาน ทำให้นครราชสีมาเป็นที่สนใจของกลุ่มทุนจากกรุงเทพฯ มากขึ้น โดยช่วงหลังปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศไทย ยังมีหลายกลุ่มทุนตัดสินใจขยายการลงทุนต่อเนื่อง   🚗อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีทำเลดี เดินทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก และยังเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ ของภาคอีสาน และยังมีพื้นที่ติดกับจังหวัดสระแก้ว รวมไปถึงปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เขต EEC ที่มีทั้งโรงงานอุตสาหกรรม และท่าเรือแหลมฉบังอีกด้วย ซึ่งในอนาคตจะมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะมาเพิ่มศักยภาพให้จังหวัดนครราชสีมาเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกต่อเนื่อง   การมีนิคมอุตสาหกรรมก็จะสามารถดึงดูดบริษัทต่างๆ เข้ามาลงทุนภายในจังหวัด ทำให้เกิดการจ้างงานในหลากหลายตำแหน่ง ทั้งงานสายการผลิต งานด้านเทคนิค งานบริหาร และงานบริการ ส่งผลให้คนในพื้นที่และพื้นที่โดยรอบมีงานทำมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยภายในชุมชนมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเกิดการหมุนเวียน   อย่างไรก็ตาม การมีนิคมอุตสาหกรรมก็มีผลกระทบด้านลบเช่นกัน เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศและน้ำ การจราจรติดขัด และความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น  

🔎พาส่องเบิ่ง ในปีที่ผ่านมา โรงงานในอีสาน มูลค่าเงินทุน 724,668 ล้านบาท กระจายอยู่ไหนบ้าง🏭 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 มีปริมาณอ้อยมากที่สุดในไทยกว่า 46 ล้านตัน

ในปีการผลิต 2566/67 ประเทศไทยมีปริมาณอ้อยรวมกันอยู่ที่ 98.8 ล้านตัน และมีผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 8.91 ตัน/ไร่ แล้วรู้หรือไหมว่าภาคอีสานปริมาณอ้อยมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีปริมาณอ้อยรวมกันมากกว่า 46 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 46.3% ของปริมาณอ้อยรวมทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 9.23 ตัน/ไร่ ซึ่งทั้งปริมาณอ้อยและผลผลิตต่อไร่มากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ เนื่องจากมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอ้อย และมีโรงงานน้ำตาลตั้งอยู่ 23 แห่ง   อีกทั้งจะเห็นได้ว่า ภาคอีสานได้เปรียบได้ด้านผลผลิตต่อไร่ที่สูงกว่าทุกภูมิภาค อยู่ที่ 9.23 ตัน/ไร่ ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ภาคที่ 4 จ.อุดรธานีเอง ก็ได้มีการวิเคราะห์คุณภาพดิน น้ำ และปุ๋ย ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยต่อไร่ให้สูงขึ้น    และยังลดการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินทรายในระยะยาว เพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและเพิ่มรายได้จากการมีผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมถึงการแจกพันธุ์อ้อยส่งเสริมของ สอน. ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและผู้ที่สนใจ (สายพันธุ์ CSB11 – 307, CSB11 – 613 และ CSB15 – 221) ซึ่งเป็นสายพันธุ์อ้อยที่นักวิจัยของ สอน. ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตตันต่อไร่ มีค่าความหวานสูง ทนทานต่อโรคและแมลงในอ้อย และสามารถเติบโตในสภาพพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เป็นอย่างดีอีกด้วย   ปริมาณอ้อยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดที่เป็นฐานการผลิตน้ำตาลของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลรายใหญ่ระดับประเทศ อย่างกลุ่มมิตรผล, กลุ่มวังขนาย, กลุ่มไทยรุ่งเรือง, กลุ่ม Thai Sugar Mill, กลุ่มน้ำตาลครบุรี และน้ำตาลขอนแก่น ทำให้เกษตรกรสามารถนำอ้อยไปขายได้สะดวกและรวดเร็ว   ภาคอีสานกลายเป็นแหล่งผลิตอ้อยที่สำคัญของประเทศไทย และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอีกด้วย การปลูกอ้อยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในชุมชน อีกทั้งกระบวนการผลิตอ้อยและแปรรูปน้ำตาล สร้างงานให้กับคนในพื้นที่ทั้งในโรงงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และการมีอุตสาหกรรมน้ำตาลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การขนส่ง โลจิสติกส์ และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องอีกด้วย     อ้างอิงจาก:  – สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย – ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #อ้อย #ปริมาณอ้อย #ผลผลิตอ้อย #อ้อยในอีสาน #ปริมาณอ้อยในอีสาน 

พามาเบิ่ง .. “อีสาน” อันดับที่ 1 มีปริมาณอ้อยมากที่สุดในไทยกว่า 46 ล้านตัน อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาสำรวจเบิ่ง ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสานเหล่านี้ เสียภาษีไปมากแค่ไหน🏭💰

บริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคลในไทยมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทและกำไรสุทธิ โดยทั่วไปแล้วมี 2 อัตราหลักๆ คือ อัตราสำหรับ SME: หากบริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับอัตราภาษีพิเศษสำหรับ SME โดยมีรายละเอียดดังนี้ กำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก: ยกเว้นภาษี กำไรสุทธิ 300,001 – 3,000,000 บาท: 15% กำไรสุทธิมากกว่า 3,000,000 บาท: 20% อัตราทั่วไป: บริษัทที่ไม่เข้าข่าย SME จะเสียภาษีในอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จัดเก็บในปีงบประมาณ 2567 มีมูลค่าประมาณ 780,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ที่มีมูลค่าประมาณ 950,000 ล้านบาท และจาก 20 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสาน ที่เสียภาษีมากที่สุดบ่งบอกถึง ธุรกิจมีกำไรมาก และมีศักยภาพทางธุรกิจ เพราะแม้จะหักลดหย่อนภาษีแล้ว ก็ยังต้องจ่ายภาษี   จุดสังเกตของบริษัทที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล  บริษัทที่เรารู้จักรอบตัว จะทำบัญชีแบบไหนกันระหว่าง มี 2 บัญชี ยัดค่าใช้จ่ายตัวเองเข้าไปในค่าใช้จ่ายในบริษัทเยอะๆ ให้กำไรบางๆ บริษัทจะได้เสียภาษีน้อยๆ มีบัญชีเดียว ตรงไปตรงมา และยินดีเสียภาษีตามที่บริษัทกำไรจริง  แล้วคุณคิดว่า กิจการส่วนใหญ่เป็นแบบไหน?   ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐเก็บได้ตอนนี้ มักจะเก็บได้จากบริษัทใหญ่ มากกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยเฉพาะบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ต้องมีการทำบัญชีเดียว และชี้แจงบัญชีอย่างตรงไปตรงมาต่อตลาดทุน และนักลงทุน ซึ่งใน 20 อันดับมีอยู่ 3 บริษัท ที่เป็นบริษัท มหาชน (บมจ.) ได้แก่ บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์, บมจ.ดูโฮม, บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์, บมจ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์, และ บมจ.พี.ซี.เอส. แมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่ง 20 อันดับที่กล่าวมานั้นจะพบว่า เป็นบริษัทที่อยู่ในภาคการค้า 4 บริษัท ได้แก่ โกลบอลเฮ้าส์, ดูโฮม ที่ค้าวัสดุก่อสร้าง, บจก.โตโยต้าดีเยี่ยม ที่เป็นตัวแทนค้ารถยนต์ และ บจก.ยิ่งยง มินิมาร์ท ที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีก และยังเป็นผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ 7-11 ใน สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี ส่วนอีก 15 บริษัท เป็นธุรกิจในภาคการผลิตหรือแปรรูป ทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น

🔎พาสำรวจเบิ่ง ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสานเหล่านี้ เสียภาษีไปมากแค่ไหน🏭💰 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️

“ทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นทุ่งใหญ่ของภาคอีสานมีพื้นที่อยู่ในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ จํานวนพื้นที่ทั้งสิ้น 2,107,690 ไร่    ทำไมถึงเรียก “ทุ่งกุลาร้องไห้”   เดิมมีชื่อว่า ทุ่งหมาหลง หรือ ทุ่งป่าหลาน ที่ได้ชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” นั้น มีตํานานกล่าวว่ามีพ่อค้าชาวกุลาเดินเร่ขายสินค้าผ่านเข้ามาในทุ่งกว้างแห่งนี้จนเมื่อยล้ายังไม่พ้นทุ่งกว้างแห่งนี้ จึงมีชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”     ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้า GI รุกตลาดยุโรปรายแรกของไทย   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็น สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยมีข้อกำหนดว่า ต้องปลูกในทุ่งกุลาร้องไห้ หมายถึงพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ สินค้าที่ได้รับการรับรอง “จีไอ” จะได้รับการยอมรับจากตลาดหลักโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปที่มีการใช้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ คาดว่าเริ่มมีการนําเข้ามาปลูกหลังจากทางราชการมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและรับรองพันธุ์ในปี 2502 ในชื่อพันธุ์ “ขาวดอกมะลิ 105” ได้เริ่มดําเนินการอย่างกว้างขวางในปี 2524 โดยโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเน้นการเปลี่ยนพันธุ์ปลูกจากข้าวเหนียวเป็นพันธุ์ข้าวเจ้า จึงทําให้ข้าวหอมมะลิมีการปลูกอย่างแพร่หลาย   โดยข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศ ได้แก่ – สหภาพยุโรป – สาธารณรัฐประชาชนจีน – อินโดนีเซีย – มาเลเซีย   จุดเด่นของพันธุ์นี้คืออะไร?   ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในช่วงฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ข้าวเปลือกมีสีฟาง เมล็ดข้าว ยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก   การที่ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้ขึ้นเป็นสินค้า GI นั้น นับว่าเป็นโอกาสทางการค้า การตลาด รวมถึงเป็นการยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นสินค้าข้าวคุณภาพที่ได้มาตรฐานการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน   สำหรับสถานการณ์ด้านตลาด พบว่า เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ GI มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจนรวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์

พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️ อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง ตัวอย่าง อาณาจักร “เทศกาลดนตรี” แดนอีสาน แหล่งกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นสร้างมูลค่ามหาศาล

ท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบและถดถอย แต่ยังมีอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเป็น hidden gem ที่กำลังเติบโต นั่นก็คือ “อุตสาหกรรมเพลง”   ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการที่ศิลปินไทยจำนวนมากมีโอกาสไปเปิดตลาดใหม่ที่ต่างประเทศ ขณะเดียวกันแฟนคลับต่างชาติก็หลั่งไหลเข้ามาสนับสนุนศิลปินไทยกันมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่ TOP 5 ของประเทศที่มีรายได้จากอุตสาหกรรมเพลงมากที่สุดในเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่เรียบร้อย   จากความสำเร็จนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในแรงผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง คือ “เทศกาลดนตรี” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่ ที่มีความหลากหลายด้านแนวเพลงและศิลปิน ทำให้ศิลปินจากทั่วประเทศมีโอกาสแสดงความสามารถให้คนจำนวนมากเห็น จนเกิดเป็นการบอกต่อ และเกิดการจ้างงานตามมาอย่างต่อเนื่อง   “เศรษฐกิจเทศกาล” หรือ “Festival Economy” ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ผ่านงานเทศกาลหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาลดนตรี งานเทศกาลอาหาร งานเทศกาลวัฒนธรรม และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งนี้ นอกเหนือจากความสนุกสนาน และความประทับใจที่ผู้เข้าร่วมงานได้รับ ความสำเร็จของงานเทศกาลยังสามารถวัดได้จากมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องได้ และรายได้จำนวนมากที่กระจายไปยังผู้ประกอบการในท้องถิ่น   อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้กลยุทฺธ์ Festival Economy เพื่อผลักดันให้ประเทศเป็นจุดหมายปลายทางในการจัดงานและเทศกาลนานาชาติ จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของเมือง โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร   ตัวอย่างการจัดงานเทศกาลดนตรีทั่วประเทศไทย และเทศกาลประเพณีไทยต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่นในภาคอีสาน อย่าง Big Mountain Music Festival, E-san Music Festival (อีสานเขียว), เฉียงเหนือเฟส และ ห้วยไร่อีหลีน่า เป็นต้น   ซึ่งถือว่าได้เปรียบในเรื่องของความคุ้มค่า ด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ามาร่วมงาน ที่พัก อาหาร เป็นต้น รวมทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม สิ่งเหล่านี้เป็นการยืนยันถึงความพร้อมในการเป็นเมืองเป้าหมายของกิจกรรมไมซ์หรือกิจกรรมที่มีความสำคัญในภูมิภาคและระดับนานาชาติต่อไป . ในขณะเดียวกัน ยังมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเป็นสถานที่จัดงานที่ครอบคลุมทุกประเภท ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างแรงขับเคลื่อนให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของการจัดงานไมซ์ระดับโลก . . อ้างอิงจาก: – Thairath Money – MICE Intelligence Center, Thailand Convention and Exhibition Bureau (TCEB) – The Cloud – Marketing Oops! – ThaiPR.net – RegistarThailand   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน

พาเปิดเบิ่ง ตัวอย่าง อาณาจักร “เทศกาลดนตรี” แดนอีสาน แหล่งกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นสร้างมูลค่ามหาศาล อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top