Nanthawan Laithong

🔎พาสำรวจเบิ่ง ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสานเหล่านี้ เสียภาษีไปมากแค่ไหน🏭💰

บริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคลในไทยมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทและกำไรสุทธิ โดยทั่วไปแล้วมี 2 อัตราหลักๆ คือ อัตราสำหรับ SME: หากบริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับอัตราภาษีพิเศษสำหรับ SME โดยมีรายละเอียดดังนี้ กำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก: ยกเว้นภาษี กำไรสุทธิ 300,001 – 3,000,000 บาท: 15% กำไรสุทธิมากกว่า 3,000,000 บาท: 20% อัตราทั่วไป: บริษัทที่ไม่เข้าข่าย SME จะเสียภาษีในอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จัดเก็บในปีงบประมาณ 2567 มีมูลค่าประมาณ 780,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ที่มีมูลค่าประมาณ 950,000 ล้านบาท และจาก 20 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสาน ที่เสียภาษีมากที่สุดบ่งบอกถึง ธุรกิจมีกำไรมาก และมีศักยภาพทางธุรกิจ เพราะแม้จะหักลดหย่อนภาษีแล้ว ก็ยังต้องจ่ายภาษี   จุดสังเกตของบริษัทที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล  บริษัทที่เรารู้จักรอบตัว จะทำบัญชีแบบไหนกันระหว่าง มี 2 บัญชี ยัดค่าใช้จ่ายตัวเองเข้าไปในค่าใช้จ่ายในบริษัทเยอะๆ ให้กำไรบางๆ บริษัทจะได้เสียภาษีน้อยๆ มีบัญชีเดียว ตรงไปตรงมา และยินดีเสียภาษีตามที่บริษัทกำไรจริง  แล้วคุณคิดว่า กิจการส่วนใหญ่เป็นแบบไหน?   ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐเก็บได้ตอนนี้ มักจะเก็บได้จากบริษัทใหญ่ มากกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยเฉพาะบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ต้องมีการทำบัญชีเดียว และชี้แจงบัญชีอย่างตรงไปตรงมาต่อตลาดทุน และนักลงทุน ซึ่งใน 20 อันดับมีอยู่ 3 บริษัท ที่เป็นบริษัท มหาชน (บมจ.) ได้แก่ บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์, บมจ.ดูโฮม, บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์, บมจ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์, และ บมจ.พี.ซี.เอส. แมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่ง 20 อันดับที่กล่าวมานั้นจะพบว่า เป็นบริษัทที่อยู่ในภาคการค้า 4 บริษัท ได้แก่ โกลบอลเฮ้าส์, ดูโฮม ที่ค้าวัสดุก่อสร้าง, บจก.โตโยต้าดีเยี่ยม ที่เป็นตัวแทนค้ารถยนต์ และ บจก.ยิ่งยง มินิมาร์ท ที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีก และยังเป็นผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ 7-11 ใน สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี ส่วนอีก 15 บริษัท เป็นธุรกิจในภาคการผลิตหรือแปรรูป ทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น […]

🔎พาสำรวจเบิ่ง ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในอีสานเหล่านี้ เสียภาษีไปมากแค่ไหน🏭💰 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️

“ทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นทุ่งใหญ่ของภาคอีสานมีพื้นที่อยู่ในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ จํานวนพื้นที่ทั้งสิ้น 2,107,690 ไร่    ทำไมถึงเรียก “ทุ่งกุลาร้องไห้”   เดิมมีชื่อว่า ทุ่งหมาหลง หรือ ทุ่งป่าหลาน ที่ได้ชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” นั้น มีตํานานกล่าวว่ามีพ่อค้าชาวกุลาเดินเร่ขายสินค้าผ่านเข้ามาในทุ่งกว้างแห่งนี้จนเมื่อยล้ายังไม่พ้นทุ่งกว้างแห่งนี้ จึงมีชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”     ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้า GI รุกตลาดยุโรปรายแรกของไทย   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็น สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยมีข้อกำหนดว่า ต้องปลูกในทุ่งกุลาร้องไห้ หมายถึงพื้นที่ภาคอีสาน 5 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ สินค้าที่ได้รับการรับรอง “จีไอ” จะได้รับการยอมรับจากตลาดหลักโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปที่มีการใช้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน   ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้ คาดว่าเริ่มมีการนําเข้ามาปลูกหลังจากทางราชการมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและรับรองพันธุ์ในปี 2502 ในชื่อพันธุ์ “ขาวดอกมะลิ 105” ได้เริ่มดําเนินการอย่างกว้างขวางในปี 2524 โดยโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเน้นการเปลี่ยนพันธุ์ปลูกจากข้าวเหนียวเป็นพันธุ์ข้าวเจ้า จึงทําให้ข้าวหอมมะลิมีการปลูกอย่างแพร่หลาย   โดยข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศ ได้แก่ – สหภาพยุโรป – สาธารณรัฐประชาชนจีน – อินโดนีเซีย – มาเลเซีย   จุดเด่นของพันธุ์นี้คืออะไร?   ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในช่วงฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ข้าวเปลือกมีสีฟาง เมล็ดข้าว ยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก   การที่ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้ขึ้นเป็นสินค้า GI นั้น นับว่าเป็นโอกาสทางการค้า การตลาด รวมถึงเป็นการยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นสินค้าข้าวคุณภาพที่ได้มาตรฐานการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน   สำหรับสถานการณ์ด้านตลาด พบว่า เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ GI มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจนรวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์

พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️ อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง ตัวอย่าง อาณาจักร “เทศกาลดนตรี” แดนอีสาน แหล่งกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นสร้างมูลค่ามหาศาล

ท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบและถดถอย แต่ยังมีอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเป็น hidden gem ที่กำลังเติบโต นั่นก็คือ “อุตสาหกรรมเพลง”   ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการที่ศิลปินไทยจำนวนมากมีโอกาสไปเปิดตลาดใหม่ที่ต่างประเทศ ขณะเดียวกันแฟนคลับต่างชาติก็หลั่งไหลเข้ามาสนับสนุนศิลปินไทยกันมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่ TOP 5 ของประเทศที่มีรายได้จากอุตสาหกรรมเพลงมากที่สุดในเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่เรียบร้อย   จากความสำเร็จนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในแรงผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง คือ “เทศกาลดนตรี” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่ ที่มีความหลากหลายด้านแนวเพลงและศิลปิน ทำให้ศิลปินจากทั่วประเทศมีโอกาสแสดงความสามารถให้คนจำนวนมากเห็น จนเกิดเป็นการบอกต่อ และเกิดการจ้างงานตามมาอย่างต่อเนื่อง   “เศรษฐกิจเทศกาล” หรือ “Festival Economy” ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ผ่านงานเทศกาลหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาลดนตรี งานเทศกาลอาหาร งานเทศกาลวัฒนธรรม และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งนี้ นอกเหนือจากความสนุกสนาน และความประทับใจที่ผู้เข้าร่วมงานได้รับ ความสำเร็จของงานเทศกาลยังสามารถวัดได้จากมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องได้ และรายได้จำนวนมากที่กระจายไปยังผู้ประกอบการในท้องถิ่น   อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้กลยุทฺธ์ Festival Economy เพื่อผลักดันให้ประเทศเป็นจุดหมายปลายทางในการจัดงานและเทศกาลนานาชาติ จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของเมือง โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร   ตัวอย่างการจัดงานเทศกาลดนตรีทั่วประเทศไทย และเทศกาลประเพณีไทยต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่นในภาคอีสาน อย่าง Big Mountain Music Festival, E-san Music Festival (อีสานเขียว), เฉียงเหนือเฟส และ ห้วยไร่อีหลีน่า เป็นต้น   ซึ่งถือว่าได้เปรียบในเรื่องของความคุ้มค่า ด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ามาร่วมงาน ที่พัก อาหาร เป็นต้น รวมทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม สิ่งเหล่านี้เป็นการยืนยันถึงความพร้อมในการเป็นเมืองเป้าหมายของกิจกรรมไมซ์หรือกิจกรรมที่มีความสำคัญในภูมิภาคและระดับนานาชาติต่อไป . ในขณะเดียวกัน ยังมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเป็นสถานที่จัดงานที่ครอบคลุมทุกประเภท ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างแรงขับเคลื่อนให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของการจัดงานไมซ์ระดับโลก . . อ้างอิงจาก: – Thairath Money – MICE Intelligence Center, Thailand Convention and Exhibition Bureau (TCEB) – The Cloud – Marketing Oops! – ThaiPR.net – RegistarThailand   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน

พาเปิดเบิ่ง ตัวอย่าง อาณาจักร “เทศกาลดนตรี” แดนอีสาน แหล่งกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นสร้างมูลค่ามหาศาล อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา คนอีสาน สูด PM2.5 เท่ากับบุหรี่กี่มวน

จากงานของ Richard A. Muller นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่ง University of California, Berkeley ซึ่งคำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ หรือ PM2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งหากนำค่าฝุ่นแบบค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของ 1 เดือนที่ผ่านมา (26 ธ.ค. 67 – 25 ม.ค. 68) มาคำนวณเปรียบเทียบตามเกณฑ์ของ Richard A. Muller จะพบว่า   ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา คนอีสานสูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ทั้งหมด 60-61 มวน หรือคิดเป็น 3 ซองเลยทีเดียว   หลายวันนี้ ระดับ PM2.5 เป็นสีแดงในหลายจังหวัดทั่วภาคอีสาน คนอีสานทุกคน ทั้งที่สูบและไม่สูบบุหรี่ต้องสูด PM2.5 จากฝุ่นพิษในอากาศทั้งเดือน    อย่างไรก็ตาม ควันบุหรี่มีสารที่ก่อมะเร็งที่มีเฉพาะในใบยาสูบ (Tobacco specific carcinogen) และนิโคติน ที่มลพิษในอากาศไม่มี   ส่วนบุหรี่ไฟฟ้าที่เห็นเป็นไอเหมือนหมอกทึบนั้น มีฝุ่นที่ขนาดเล็กกว่า PM2.5 ลงไปถึงขนาด PM1.0 จำนวนมาก ที่เข้าถึงส่วนลึกที่สุดของปอด ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดพาไหลเวียนไปทั่วร่างกาย   คนไทยที่สูบบุหรี่ เฉลี่ยสูบวันละ 9 – 10 มวน ซึ่งคนเหล่านี้จึงได้รับอันตรายจากฝุ่น PM2.5 สองเด้ง คือจากมลพิษในอากาศและจากการสูบบุหรี่นั่นเอง   มลพิษทางอากาศย่อมส่งผลกระทบทางตรงต่อระบบสาธารณสุขภาพรวม สิ่งแวดล้อม และในที่สุดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือมักส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และ PM2.5 ยิ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากด้วยอนุภาคที่เล็กมากของ PM2.5 จึงสามารถเดินทางผ่านกระแสเลือด ปอด รวมไปถึงหัวใจได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจและหลอดเลือดของประชากรในประเทศอีกด้วย   ในขณะนี้เองประเทศไทยก็กำลังเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก จากข้อมูล 3 ปีที่ผ่านมา พบมีแหล่งกำเนิดฝุ่นมาจากไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร หมอกควันข้ามแดน การจราจร ขนส่ง และโรงงาน ประกอบกับสภาพอุตุนิยมวิทยาช่วงต้นปีที่ความกดอากาศสูง แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศปิด ลมสงบ ฝุ่นละอองไม่ฟุ้งกระจาย และสะสมในพื้นที่ จนเกินมาตรฐาน    การเผาในประเทศที่เป็นหนึ่งสาเหตุหลักของปัญหา PM 2.5 ในไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิด

พาสำรวจเบิ่ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา คนอีสาน สูด PM2.5 เท่ากับบุหรี่กี่มวน อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง จุดเผาใน GMS หนึ่งในสาเหตุ PM 2.5

🔥จุดความร้อน หรือ Hot Spot คืออะไร?   จุดความร้อน พูดง่ายๆก็คือ จุดที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลก ซึ่งส่วนมากก็คือความร้อนจากไฟ แสดงในรูปแบบแผนที่เพื่อนำเสนอตำแหน่งที่เกิดไฟในแต่ละพื้นที่แบบคร่าวๆ การได้มาซึ่งข้อมูลจุดความร้อนอาศัยหลักการที่ว่า ดาวเทียมสามารถตรวจวัดคลื่นรังสีอินฟาเรดหรือรังสีความร้อนที่เกิดจากไฟ (อุณหภูมิสูงกว่า 800 องศาเซลเซียส) บนพื้นผิวโลก จากนั้นก็ประมวลผลแสดงในรูปแบบจุด ซึ่งปัจจุบันทุกคนสามารถตรวจสอบจุดความร้อนเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองจากเว็บไซต์เหล่านี้ (http://bit.ly/2OalZnU)   ในช่วงนี้บ้านเมืองเราในหลายพื้นที่ยังคงเกิดไฟป่าอย่างต่อเนื่อง กลุ่มควันปกคลุมเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด โดยแผนภาพที่นำเสนอจุดแดง📛คือ จุดความร้อนที่กระจายอยู่ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา   จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าการเผามีการกระจายตัวทั้งประเทศ แต่ภาคอีสานจะมีการการเผาที่กระจายตัวหนาแน่นทั่วอีสาน ซึ่งสาเหตุการเผานั้นก็มาจากการเผาตอซังและฟางข้าวของชาวนา หรือเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเกิดขึ้นค่อนข้างมาก โดยต้นทุนในการที่จะจ้างรถไถกลบก็จะใช้เงินจำนวนมาก การเผาจะประหยัดกว่าการจ้างรถไถมาไถกลบหรือทำการไถกลบเอง เมื่อเกิดมลพิษทางอากาศย่อมส่งผลกระทบทางตรงต่อระบบสาธารณสุขภาพรวม สิ่งแวดล้อม และในที่สุดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือมักส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และ PM 2.5 ยิ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากด้วยอนุภาคที่เล็กมากของ PM 2.5 จึงสามารถเดินทางผ่านกระแสเลือด ปอด รวมไปถึงหัวใจได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจและหลอดเลือดของประชากรใน ประเทศ   ในขณะนี้เองประเทศไทยก็กำลังเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก จากข้อมูล 3 ปีที่ผ่านมา พบมีแหล่งกำเนิดฝุ่นมาจากไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร หมอกควันข้ามแดน การจราจร ขนส่ง และโรงงาน ประกอบกับสภาพอุตุนิยมวิทยาช่วงต้นปีที่ความกดอากาศสูง แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศปิด ลมสงบ ฝุ่นละอองไม่ฟุ้งกระจาย และสะสมในพื้นที่ จนเกินมาตรฐาน    การเผาในประเทศที่เป็นหนึ่งสาเหตุหลักของปัญหา PM 2.5 ในไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิด PM 2.5 ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ความหนาแน่นของประชากร หรือการจราจร นอกจากนี้ การเผาจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีผลกระทบต่อ PM2.5 ด้วยเช่นกัน   ปริมาณการเกิดไฟไหม้สูงพบเห็นได้ที่ชายแดนติดกับกัมพูชา จากรูปแสดงให้เห็นความถี่การเกิดการเผาไหม้ซึ่งมักมีจุดเกิดการเผาไหม้ในประเทศเพื่อนบ้านบริเวณใกล้กับชายแดนประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้ภาคอีสานของประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีลมมรสุมประจำปี และร่องความกดอากาศต่ำในช่วง พ.ย.-ม.ค. ในช่วงหน้าหนาวทำให้ฝุ่นควันถูกพัดตามกระแสลมเข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทยมากขึ้น ข้อมูลระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) รายงานผ่านระบบเดือน ม.ค. 2568 ที่ยังไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน โดยรวมกว่า 1.44 แสนราย เป็นกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบมากที่สุด รองลงมา กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งสถิติเผยว่า อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดจำนวนสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่หลักที่มีการเพาะปลูกอ้อย หรือมีการเผาที่มีความถี่มากกว่าพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาคนั้นเอง พามาเบิ่งจำนวนสะสมผู้ป่วยมะเร็งปอดแต่จังหวัดภาคอีสาน ปี 2566     ที่มา:  – กรุงเทพธุรกิจ – Thai

พาสำรวจเบิ่ง จุดเผาใน GMS หนึ่งในสาเหตุ PM 2.5 อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง อีสานผลิตข้าวนาปรัง กว่า 1.1 ล้านตัน กระจายอยู่ไหนบ้าง

“ข้าวนาปรัง” คือ ข้าวที่ถูกเพาะปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องอาศัยน้ำจากระบบชลประทาน โดยเพาะปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายนของปีถัดไป ส่วนใหญ่นิยมปลูกในภาคกลางและภาคเหนือ   ในปีเพาะปลูก 2566 ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวนาปรัง อยู่ที่ 6,917,771 ตัน และมีผลผลิตต่อไร่อยู่ 654 กิโลกรัม/ไร่ แล้วเคยรู้หรือไหมว่าภาคอีสานมีผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปรังมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีผลผลิตข้าวนาปรังอยู่ 1,094,978 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 15.8% ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมดในประเทศ และมีผลผลิตต่อพื้นที่เก็บเกี่ยวอยู่ 576 กิโลกรัม/ไร่   จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ผลผลิตข้าวนาปรังส่วนใหญ่มาจากจังหวัดในอีสานตอนกลาง อย่างจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และขอนแก่น ซึ่งเพียง 4 จังหวัดนี้ก็มีผลผลิตข้าวนาปรังมากกว่า 523,485 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 47.8%   ทำไมถึงกระจุกตัวอยู่จังหวัดในอีสานตอนล่าง?   ข้าวนาปรังจะปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องอาศัยน้ำจากระบบชลประทาน โดยอีสานตอนกลางก็มีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่งในเขตรับผิดชอบด้วยกัน คือ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว อีกทั้งยังมีแหล่งน้ำต่างๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ประมาณ 60 กว่าแห่งใน 4 จังหวัดนี้อีกด้วย ทำให้ประชากรในบริเวณอีสานกลางนิยมปลูกข้าวนาปรังกันมาก เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว อีกทั้งข้าวได้รับน้ำและแร่ธาตุที่เพียงพอเป็นผลทำให้มีผลผลิตต่อไร่ที่มากเช่นกัน   “ถึงแม้ภาคอีสานจะมีผลผลิตข้าวนาปรังที่น้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่ภาคอีสานมีผลผลิตข้าวนาปรังมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ ซึ่งมากกว่า 13 ล้านตันเลยทีเดียว”   สาเหตุที่ภาคอีสานปลูกข้าวนาปรังน้อยเนื่องจากมีระบบชลประทานที่ไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และด้วยสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้การปลูกข้าวของคนในภาคอีสานส่วนใหญ่กว่า 95% ของพื้นที่เพาะปลูก เป็นการปลูกข้าวแบบนาปีที่สามารถทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น    อีกทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในที่ราบสูง และมีความแห้งแล้ง ทำให้การปลูกข้าวจึงต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก เนื่องจากระบบชลประทานยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาดินเค็มในบางพื้นที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอีกด้วย     อ้างอิงจาก:  – สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร – วิจัยกรุงศรี – กรมวิชาการเกษตร   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ข้าวนาปรัง #อุตสาหกรรมข้าว #อุตสาหกรรมข้าวในอีสาน #ข้าวนาปรังในอีสาน #ข้าว

พาสำรวจเบิ่ง อีสานผลิตข้าวนาปรัง กว่า 1.1 ล้านตัน กระจายอยู่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง 4 ยักษ์ใหญ่แห่งแดนภูธรที่ครองสิทธิบริหาร 7-Eleven

การเข้ามาของร้าน “เซเว่น-อีเลฟเว่น” มากกว่า 35 ปีที่ นอกจากพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล “ซีพี ออลล์” ต้องการบุกตลาดต่างจังหวัดควบคู่ไปด้วย “กลุ่มซีพี” จึงให้ “Sub-Area License” กับ 4 กลุ่มทุนรายใหญ่ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มตันตราภัณฑ์ กลุ่มงานทวี กลุ่มยิ่งยง และกลุ่มศรีสมัย   การเติบโตของ “4 กลุ่มทุนเก่าแก่” มีต้นกำเนิดจากร้านโชห่วย-ขายของชำ ก่อนแตกไลน์ธุรกิจไปยังเซกเมนต์อื่นๆ โดยกลุ่มตันตราภัณฑ์โด่งดังจาก “ห้างตันตราภัณฑ์” กลุ่มยิ่งยงโตจาก “ยิ่งยงสรรพสินค้า” กลุ่มศรีสมัยมีรากฐานจาก “ศรีสมัยค้าส่ง” ส่วนกลุ่มงานทวีมีธุรกิจหลากหลาย จากร้านของชำพลิกไปทำเหมืองแร่-สวนยางพารา   ทั้ง “4 กลุ่มทุน” มีรายได้จากการถือ “Sub-Area License” หลักพันล้านบาททุกปี     ภาคเหนือ – กลุ่มตันตราภัณฑ์ กลุ่มตันตราภัณฑ์ของตระกูล “ตันตรานนท์” มีต้นตระกูลเป็นชาวจีนชื่อว่า “เถ้าแก่ง่วนชุน” เริ่มต้นจากการเปิดร้านขายของชำเรือนไม้ 2 ชั้น ริมถนนวิชยานนท์ ใกล้กับตลาดต้นลำไยและตลาดวโรรสหรือที่คนในพื้นที่เรียกว่า “กาดหลวง” เมื่อธุรกิจร้านโชห่วยเติบโตมากขึ้น ลูกชายอย่าง “ธวัช ตันตรานนท์” จึงคิดหาลู่ทางขยายกิจการ-ขยับสู่การทำห้างสรรพสินค้า “ตันตราภัณฑ์”   จุดเปลี่ยนสำคัญของ “กลุ่มตันตราภัณฑ์” เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง 2530 “กลุ่มเซ็นทรัล” และบรรดา “ดิสเคาต์สโตร์” เริ่มขยายตลาดมายังภูมิภาคอื่นๆ มากขึ้น เมื่อดำเนินกิจการไปสักระยะก็พบว่า ศูนย์การค้าไม่ใช่เกมที่ตนถนัดประกอบกับห้างตันตราภัณฑ์เริ่มถูก “ดิสรัปต์” จากค้าปลีกเซ็นทรัลมากขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจขายศูนย์การค้า “แอร์พอร์ตพลาซ่า” ให้กับกลุ่มเซ็นทรัล เหลือไว้เพียง “ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต” ที่เป็นจุดแข็งมาจนถึงปัจจุบัน   นอกจากธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้ว “กลุ่มตันตราภัณฑ์” ยังมีรายได้หลักจาก “บริษัท ชอยส์ มินิ สโตร์ จำกัด” บริษัทที่ประกอบกิจการร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น-อีเลฟเว่น” ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน และ จ.แม่ฮ่องสอน ผลประกอบการย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2565 พบว่า บริษัทฯ มีรายได้หลัก “พันล้านบาท” ทุกปี และ ในปี 2566 ทำรายได้ “หลักหมื่นล้าน” เลยทีเดียว และยังเป็นกิจการที่สร้างเม็ดเงินให้กับ “กลุ่มตันตราภัณฑ์” สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ในเครือด้วย     ภาคอีสาน – กลุ่มยิ่งยง ย้อนกลับไป 30

พาสำรวจเบิ่ง 4 ยักษ์ใหญ่แห่งแดนภูธรที่ครองสิทธิบริหาร 7-Eleven อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาส่องเบิ่ง ตัวอย่าง “โรงน้ำตาล” เจ้าใหญ่แห่งภูธรอีสาน🏭

📈📊ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2566 ไทยครองตำแหน่งผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกสูงถึง 4,506 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นรองเพียงบราซิลที่เป็นผู้นำด้านการส่งออกน้ำตาลของโลกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 15,982 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับคู่แข่งที่สำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกน้ำตาลใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ อินเดียและเยอรมนี ซึ่งมูลค่าการส่งออกของทั้งสองประเทศมีการเปลี่ยนแปลงลำดับกันในแต่ละปีขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตและการส่งออกในช่วงเวลานั้น ๆ    ภาคอีสานถือเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลจากอ้อยที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย โดยในฤดูกาลผลิตปี 2567/2568 ประเทศไทยมีปริมาณอ้อยรวมทั้งหมด 93.2 ล้านตัน ซึ่งภาคอีสานมีปริมาณอ้อยถึง 45.9 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของปริมาณอ้อยทั้งประเทศเลยทีเดียว ภายในภาคอีสานมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 23 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลรายใหญ่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางโรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มทุนใหญ่ เช่น บริษัท โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด, บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน), และบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด เป็นต้น   กลุ่มธุรกิจน้ำตาลที่เลือกตั้งโรงงานในภาคอีสานส่วนใหญ่นั้นเป็นแบรนด์ที่เราคุ้นเคยกันดี อย่างกลุ่มมิตรผล, กลุ่มวังขนาย, กลุ่มไทยรุ่งเรือง, กลุ่ม Thai Sugar Mill หรือ รู้จักกันในนาม GOOD SUGAAAR, กลุ่มน้ำตาลครบุรี (KBS) และน้ำตาลขอนแก่น (KSL) ซึ่งการเลือกตั้งโรงงานในภาคอีสานก็สามารถแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคอีสานในฐานะพื้นที่ผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อกลยุทธ์ของบริษัท การตั้งโรงงานในพื้นที่ผลิตอ้อยช่วยลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนสำคัญในการผลิตน้ำตาล     🏬จากข้อมูลอันดับข้างต้นก็จะพบว่า บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด มีมูลค่ารายได้รวมมากที่สุดในอีสาน ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทน้ําตาลมิตรผล ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ําตาลรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั่นเอง “มิตรผล” ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จํากัด ซึ่งปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 490 ลานบาท และเป็นเจาของโรงงานน้ําตาล 2 แห่ง คือ  – โรงงานน้ําตาลมิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีอัตราการผลิตอ้อย 25,000 ตัน/วัน และสามารถผลิตน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ได้ 1,500 ตัน/วัน โรงงานผลิตน้ําตาล 4 ประเภท คือ น้ําตาลทรายดิบ น้ําตาลทรายดิบคุณภาพสูง (VHP) น้ําตาลทรายขาว และน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์    – โรงงานน้ําตาลมิตรภูเวียง จังหวัดขอนแกน มีอัตราการผลิตอ้อย 24,000 ตัน/วัน และสามารถผลิตน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ได้ 700 ตัน/วัน โรงงานผลิตน้ําตาล 5 ประเภท คือ น้ําตาลทรายดิบ น้ําตาลทรายดิบคุณภาพสูง (VHP) น้ําตาลทรายขาว น้ําตาลปี๊บ และน้ําตาลทรายแดง นอกจากนี้โรงงานสามารถผลิตกระแสไฟฟา และจําหน่ายให้แก่การไฟฟาแห่งประเทศไทย โดยมีอัตราการผลิต

🔎พาส่องเบิ่ง ตัวอย่าง “โรงน้ำตาล” เจ้าใหญ่แห่งภูธรอีสาน🏭 อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน” แห่งภูธรอีสาน

คุณณิชกานต์ พัฒนพีระเดช📍สาวขอนแก่น เจ้าของ “แฟรี่พลาซ่า” , “ตลาดต้นตาล” และ “ศูนย์ค้าส่ง อู้ฟู่ ขอนแก่น” “ตลาดต้นตาล” แลนด์มาร์คเมืองของแก่น ที่มีทายาทรุ่นสาม เข้ามาร่วมพลิกโฉมจังหวัดขอนแก่นให้มีสีสันทั้งกลางวันและกลางคืน จากครอบครัวที่ทำธุรกิจเปิด “ห้างแฟรี่พลาซ่า” เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 50 ปี จนกลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญของขอนแก่น แต่ต้องเผชิญการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงและธุรกิจห้างไม่ได้อยู่ในช่วงขาขึ้น จึงนำไปสู่การทำไนท์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในจังหวัด   ซึ่งกลยุทธ์ของตลาดต้นตาลจะมุ่งจัดกิจกรรมทางด้านบันเทิงอย่างเข้มข้น เพื่อทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนต้องมาเยือน และร่วมกระตุ้นค้าปลีก จากการดึงผู้ประกอบการท้องถิ่นเข้ามาเปิดร้านค้า ร่วมสร้างการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจของจังหวัด   นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาธุรกิจค้าปลีกกับ “ห้างแฟรี่พลาซ่า” ที่อยู่ในตลาดมากกว่า 50 ปี โดยเป็นห้างบุกเบิกของจังหวัดขอนแก่น ได้มีการวางแผนจัดกิจกรรมการตลาดและอีเว้นท์อย่างเข้มข้นเช่นกัน ร่วมเพิ่มยอดทราฟฟิกของห้างให้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว!      คุณจิรเดช เนตรวงค์📍หนุ่มร้อยเอ็ด เจ้าของ “ร้านตำกระเทย” ที่เริ่มต้นจากศูนย์ ด้วยหนี้สินก้อนโต ทำให้ประสบปัญหาทางด้านการเงินในชีวิต จนต้องหาที่พึ่งพิงสุดท้ายจากครอบครัว ยืมเงินจากบัตรเครดิตของน้องชายมา 400,000 บาท และมาเริ่มต้นใหม่ในการทำธุรกิจร้านอาหาร โดยใช้ปลาร้าสูตรของคุณแม่ที่ทำกินเองที่บ้าน นำมาต่อยอดปรับสูตร ทำให้ได้รสชาติที่คิดว่าคนส่วนใหญ่ชอบทาน แม้ว่าในช่วงแรกที่เริ่มต้นจะขาดทุนกว่า 6 เดือน แต่ก็ไม่ยอมแพ้ ด้วยการขายสร้อยทองชิ้นสุดท้ายของคุณแม่ในการพัฒนาธุรกิจ   จากร้านส้มตำเล็กๆ คุณจิรเดชได้พัฒนาร้านโดยใช้สื่อโซเชียลในการโปรโมทร้านจนเริ่มเป็นที่รู้จัก จนทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยใช้เวลา 10 ปี ในการพาร้านอาหารขยายสาขาไปทั่วอีสาน 11 สาขาทั่วอีสาน เปิดในกรุงเทพฯ 1 สาขา และเปิดในกัมพูชาอีก 1 สาขา สร้างยอดขาย 300 ล้านบาท   ในปัจจุบัน ตำกระเทย สาเกต ได้ขยายธุรกิจจากแดนอีสานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ย่านสีลม และขยายไปต่างประเทศที่กัมพูชา โดยเป็นฝีมือการทำอาหารจากชาว LGBTQ ที่ไม่ได้รับโอกาส แต่ที่ร้านตำกระเทยเป็นผู้ให้โอกาสได้โชว์ฝีมือการทำอาหาร และเมนูที่ขายดี คือ ส้มตำ ที่ใช้น้ำปลาร้าในการปรุงอาหารทำให้รสชาติอร่อยมากยิ่งขึ้น ที่ทำรายได้กว่า 50% ของยอดขาย ซึ่งในปีที่ผ่านมาตำไปแล้วว่า 1 ล้านครก   คุณภูดิศ ประดับโชติ📍หนุ่มบุรีรัมย์ หนุ่มบุรีรัมย์ที่เรียนจบเลือกมาทำงานในกรุงเทพ ฯ ทำงานมาหลายอาชีพ ตั้งแต่เป็นคนจัดตารางวิทยุ พนักงานออฟฟิศ ขายไก่ย่างห้าดาว และเป็นตัวแทนจำหน่ายไอศกรีม จนในที่สุดเลือกที่จะมาทำธุรกิจของตัวเอง ใช้เงินลงทุนเพียงหลักพัน ขายเฉาก๊วยริมถนนในจังหวัดหนองคาย    จนกระทั่งมีคนมาเหมาไปเป็นของว่างงานประชุมตามบริษัทต่าง ๆ ทำให้คุณภูดิศเห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจแฟรนไชส์ หลังจากนั้นคุณภูดิศได้มีไปออกงานแสดงสินค้าประจำปี งานบุญพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ที่ สปป.ลาว ขายทั้งหมด 7 วัน ได้วันละ 2,000 แก้ว ทำให้มีคนสนใจธุรกิจแฟรนไชส์ โดยใช้เวลากว่า 5

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง “เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน” แห่งภูธรอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง “ป่า” แต่ละจังหวัดในอีสานมีมากแค่ไหน

ภาคอีสานของเรามีขนาดพื้นที่รวมกันทั้งหมดเกือบ 105 ล้านไร่ แล้วเคยรู้หรือไม่ว่าพื้นที่ป่าในภาคอีสานมีมากแค่ไหน?   โดยในภาคอีสานของเรามีพื้นที่ป่าเกือบ 16 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.9% ของขนาดพื้นที่ทั้งหมดในภาคอีสาน ซึ่งลดลงจากปี 2565 เท่ากับ 87,576 ไร่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) จากพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเกิดจากปัญหาไฟป่าที่มีความรุนแรงขึ้น (Forest Fire)   การตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่ายังคงเกิดขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา   การขยายตัวทางการเกษตรยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่า และทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ การเกษตรเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะการเลี้ยงปศุสัตว์) และเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพในท้องถิ่น     5 จังหวัดที่มีสัดส่วนพื้นที่ป่ามากที่สุด อันดับที่ 1 มุกดาหาร คิดเป็น 32.%% หรือ 8.5 แสนไร่ อันดับที่ 2 เลย คิดเป็น 32.2% หรือ 21.1 แสนไร่ อันดับที่ 3 ชัยภูมิ คิดเป็น 31.5%  หรือ 25.0 แสนไร่ อันดับที่ 4 อุบลราชธานี คิดเป็น 17.7% หรือ 17.3 แสนไร่ อันดับที่ 5 สกลนคร คิดเป็น 16.9% หรือ 10.1 แสนไร่   หากดูสัดส่วนของพื้นที่ป่าต่อพื้นที่จังหวัดจะเห็นได้ว่า มุกดาหาร มีสัดส่วนป่ามากสุดในอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นภูเขาสูง ติดต่อมาจากเทือกเขาภูพาน อีกทั้งในจังหวัดยังให้ความสำคัญในการปลูกป่าโดยมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าในทุกๆปี     หมายเหตุ: พื้นที่ป่าไม้ คือ “พื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นไม้ยืนต้น ปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่องขนาดไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ และรวมถึงทุ่งหญ้า และลานหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ปรากฏล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่จำแนกได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยไม่รวมสวนยูคาลิปตัส พื้นที่วนเกษตร สวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์ม”     อ้างอิงจาก:  – กรมสารสนเทศ กรมป่าไม้ – มูลนิธิสืบนาคะเสถียร – Salika.co – กรุงเทพธุรกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์

พาสำรวจเบิ่ง “ป่า” แต่ละจังหวัดในอีสานมีมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top