Nanthawan Laithong

โอ้ละนอ… สิพามาเบิ่ง ตัวอย่าง คณะหมอลำ แห่งภาคอีสาน

หมอลำพื้น เป็นหนึ่งใน “มรดกวัฒนธรรมอีสาน” และเป็นจุดกำเนิดของการแสดง หมอลำ อันลือลั่นแห่งภาคอีสาน สร้างเศรษฐกิจให้กับผู้มีพรสวรรค์และฝึกฝน ตั้งเป็นคณะหมอลำมีชื่อเสียง รับงานแสดงไม่เว้นแต่ละวัน สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนอื่นๆ ที่รวมกันเป็นคณะหมอลำ คุณอาทิตย์ กระจ่างศรี อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เชี่ยวชาญซึ่งศึกษาประวัติความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมการแสดงหมอลำของภาคอีสาน กล่าวว่า หมอลำ อยู่กับวิถีชีวิตคนอีสานมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันแยกเป็น “หมอลำพิธีกรรม” เช่น หมอลำผีฟ้า และ “หมอลำบันเทิง” เช่น ลำเพลิน ลำเต้ย ลำเรื่องต่อกลอน ลำซิ่ง ล้วนมีจุดกำเนิดจาก “หมอลำพื้น” คำว่า “หมอลำ” ซึ่งหมายถึงผู้ร้องเพลงและมีการร่ายรำ แต่ใช้พยัญชนะ ล.ลิง ในคำว่า “ลำ” แทนที่จะเป็น “รำ” ร.เรือ อาจารย์อาทิตย์กล่าวว่า เนื่องจากคำว่า “ลำ” ในภาษาถิ่นอีสานแปลว่า “การร้อง” หมอลำ จึงหมายถึง ผู้มีความเชี่ยวชาญในการร้อง ขณะที่การร่ายรำเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การร้องมีความสุนทรีย์ในการรับฟังรับชมยิ่งขึ้น ถ้าสังเกตให้ดีในการแสดงหมอลำนั้น จุดเด่นอยู่ที่เสียงร้องที่ต้องน่าฟังและเล่าเรื่องได้น่าติดตาม อ้างอิงจาก: – trueID – Morlamfestival – กรุงเทพธุรกิจ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #หมอลำ #คณะหมอลำ #หมอลำอีสาน

เริ่ดคักหลาย ททท. ฟ้าวฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย ดันรายได้ท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท นักท่องเที่ยวต่างชาติ 35 ล้านคน

การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมแถลงทิศทางการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว ปี 2567 ประกาศเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยสู่บทต่อไปที่ดีขึ้น ทั้งฝั่ง Supply และ Demand ด้วยหัวใจหลักของการสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีคุณค่า สมดุลและยั่งยืน พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว ก้าวสู่ High Value and Sustainable Tourism อย่างแท้จริง มั่นใจฟื้นรายได้สูงสุด 3 ล้านล้านบาท เทียบเท่าปี 2562 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ปี 2567 ถือเป็นปีแห่งการเร่ง “ฟื้นฟู” (Resilience) พร้อมพลิกโฉมสู่ High Value and Sustainable Tourism ที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน ททท. จึงได้ยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ ททท. แบบ Moving forward to Better เดินหน้าต่อเนื่องสู่ก้าวต่อไปของการท่องเที่ยวไทยที่ดียิ่งขึ้น ททท. วางแผนกระตุ้นตลาดด้วย 5 ทิศทางหลัก ได้แก่ เสริมภาพลักษณ์แบรนด์ท่องเที่ยวไทยด้านความยั่งยืนและใช้เป็นจุดขายใหม่ของประเทศไทย เน้นไม่สร้างภาระ แต่สร้างสาระรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน (Travel with Care) กระจายรายได้อย่างทั่วถึง (Fair Income) และเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นจุดขาย (Encourage Identity & Biodiversity) โดย ททท. มีแนวคิดดำเนินโครงการ Kinnaree Brand Refresh ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รู้จักรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหรือรางวัลกินรีในวงกว้าง เพื่อเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวภายใต้มาตรฐาน การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism) รุกเปิดตลาดคุณภาพใหม่ให้ท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โฟกัสตลาดใหม่ในภูมิภาคยุโรปและตะวันออกกลาง และขยายสู่กลุ่มตลาดย่อย ซึ่งเป็นผู้มีรายได้สูง แสวงหาคู่ค้ารายใหม่และขยายความร่วมมือกับคู่ค้ารายใหญ่ในเวทีโลก ตลาดในประเทศ ททท. ให้น้ำหนักไปที่การกระตุ้นให้เที่ยวไทยทันที เพิ่มความถี่และการกระจายตัวท่องเที่ยวหลากหลายพื้นที่มากขึ้น เป็น 365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยว ได้ทุกวัน ตลอดทั้งปี เพื่อสร้างรายได้ให้ทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม ควบคู่กับการนำเสนอจุดแข็งสู่จุดขาย ของ Soft Power (5F) และนำเสนอสินค้าเชิงประสบการณ์ผ่านอัตลักษณ์ของ 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ เกิดเป็น Meaningful Travel ประกอบด้วย ภาคเหนือ ชวนสัมผัส “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ” ผสานความร่วมสมัย ผ่าน Northern Thailand Soft Power ที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ กระตุ้นค่าใช้จ่ายด้วย Art & Craft ขยายฤดูกาลท่องเที่ยว ภาคกลาง เสิร์ฟความสุขง่าย ๆ ใกล้ตัวจากสุขภาพดี …

เริ่ดคักหลาย ททท. ฟ้าวฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย ดันรายได้ท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท นักท่องเที่ยวต่างชาติ 35 ล้านคน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เดือนมิถุนายน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 50.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -2.1   แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน?   ภาคธุรกิจเผชิญกำลังซื้อที่ลดลง เช่นภาคการค้าและการบริการ ขณะที่ภาคการเกษตรยังปรับดีขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก และปัจจัยสภาพอากาศที่มีฝนตกชัดเจน แต่มีความกังวลต่อภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ สะท้อนจากการลดปริมาณการลงทุนในเครื่องมือและวัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งกระทบกับกำลังซื้อที่ลดลงของภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่นภาคผลิต     ดัชนีความเชื่อมั่นฯ SMEs ภาคธุรกิจ เป็นอย่างไร?   ภาคธุรกิจชะลอตัวลงทั้งภาคการผลิต การค้า และการบริการ ในขณะที่ภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น จากผลของฤดูกาลรวมถึงราคาต้นทุนของปุ๋ยลดลง   ภาคการผลิต 51.5 ลดลง -0.4 จากเดือนพฤษภาคม การผลิตกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอาหารและกลุ่มเสื้อผ้า ยังเผชิญกับต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตหลายชนิดปรับตัวดีขึ้น โดยส่วนใหญ่ได้กำลังซื้อเพิ่มเติมจากภาคการเกษตร เช่น การผลิตจากยาง โลหะ และพลาสติก รวมถึงปัจจัยดีจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เริ่มปรับลดลง   ภาคการค้า 50.1 ลดลง -2.7 จากเดือนพฤษภาคม ภาคการค้าชะลอตัวลงทั้งค้าปลีกและค้าส่ง จากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ และขาดมาตรการกระตุ้นระหว่างเปลี่ยนผ่านทางการเมือง อย่างไรก็ตาม การค้าวัสดุก่อสร้างยังปรับตัวดีขึ้นหลายพื้นที่ เพราะมีการปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเติมสถานประกอบการ   ภาคการบริการ 56.2 ลดลง -3.4 จากเดือนพฤษภาคม ภาคการบริการหดตัวมากโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวเนื่อง จากนักท่องเที่ยวลดลงหลายพื้นที่ และยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม แต่ก็มีบางพื้นที่ที่ระดับดัชนีคงระดับสูงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะภาคใต้และตะวันออก อย่างไรก็ตาม บริการอื่น ๆ ยังมีการปรับตัวดีขึ้น เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จากการเข้าสู่ช่วงเปิดเรียนของหลายมหาวิทยาลัย   ภาคการเกษตร 51.1 เพิ่มขึ้น 2.1 จากเดือนพฤษภาคม ภาคการเกษตรขยายตัวชัดเจน จากการเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกข้าวนาปี แต่อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ ผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะกระทบต่อปริมาณผลผลิตในช่วงเก็บเกียว     หมายเหตุ: ดัชนี SMEs มีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าฐานเท่ากับ 50 ดัชนี > 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ดีขึ้น” จากเดือนก่อนหน้า  ดัชนี = 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ทรงตัว” จากเดือนก่อนหน้า  ดัชนี < 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า     อ้างอิงจาก: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ติดตาม ISAN Insight & Outlook …

ชวนเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เดือนมิถุนายน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง รายได้รวมธุรกิจขายรถยนต์แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2565 ภาคอีสานมีรายได้รวมของธุรกิจขายรถยนต์ อยู่ที่ 141,557 ล้านบาท และมีจำนวนบริษัท 604 แห่ง 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของธุรกิจขายรถยนต์มากที่สุด อันดับที่ 1 ขอนแก่น มีรายได้รวม 28,349 ล้านบาท อันดับที่ 2 นครราชสีมา มีรายได้รวม 26,741 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุดรธานี มีรายได้รวม 17,708 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 13,657 ล้านบาท อันดับที่ 5 สุรินทร์ มีรายได้รวม 7,230 ล้านบาท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจขายรถยนต์ #ขายรถยนต์

สิพามาเบิ่ง 3 อาณาจักร ไวน์องุ่น แห่งเมืองย่าโม

ความเป็นมาของ “กราน-มอนเต้” (Gran-Monte) เป็นธุรกิจในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของรุ่นคุณพ่อ-คุณแม่ จาก 25 ปีก่อนที่ได้ตัดสินใจซื้อพื้นที่เขาใหญ่และเริ่มปลูกองุ่นไวน์และผลิตไวน์เป็นจำนวนไม่มากนัก ปัจจุบัน กราน-มอนเต้ สามารถเพิ่มพื้นที่การปลูกอยู่ที่ 200 ไร่ และเป็นหนึ่งในสองแบรนด์ไวน์ไทยแท้ๆ ที่ใช้องุ่นทำไวน์ 100% และสามารถสร้างชื่อเสียงระดับโลกได้เป็นผลสำเร็จ แม้จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กก็ตาม ความเป็นมาของ “พีบี วัลเล่ย์ เขาใหญ่ ไวน์เนอรี่” (PB Valley Khao Yai Winery) เจ้าของคือ คุณปิยะ ภิรมย์ภักดี ได้ปลูกองุ่นไว้ เพื่อผลิตไวน์ไทยที่มีรสชาติระดับโลก ภายใต้ชื่ออักษรย่อ PB ซึ่งมาจากชื่อของคุณปิยะ อีกทั้งที่นี่ถือเป็นโรงผลิตไวน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่พยายามจะผลิตไวน์คุณภาพให้คนไทยและทั่วโลกได้รู้จักกัน ความเป็นมาของ “ชาโต เดอ บรูมส์” (Chateau des Brumes) Chateau des Brumes ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ปราสาทในหมอก เพราะบรรยากาศรอบ ๆ เย็นและเต็มไปด้วยหมอก คุณวีรวัฒน์ ชลวนิช ผู้ก่อตั้ง Village Farm & Winery ซื้อที่บริเวณนี้ไว้เยอะ จึงเนรมิตพื้นที่ 200 ไร่ให้เป็นไร่ เป็นไร่องุ่นพัฒนาคุณภาพน้ำองุ่นสดสำหรับดื่มจนเป็นที่รู้จักกันดี อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – VOICE online – MGR Online – POST TODAY ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ไวน์อีสาน #Wine

พามาฮู้จัก ไวน์ แต่ละหม่องในภาคอีสาน

“ชาโต เดอ ภูพาน” (Chateau De Phuphan) – สกลนคร ทางอาจารย์จาก ม.ราชมงคลฯ สกลนคร ต้องการอนุรักษ์หมากเม่า โดยการส่งเสริมการปลูกและนำมาแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการทำออกมาในรูปของไวน์แดงหมากเม่า จึงส่งไปประกวดต่างประเทศได้รับรางวัลกลับมา และนำกลับมาสอนให้กับกลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชนโอทอป หลังจากที่กลุ่มแม่บ้านได้มีการอบรมการผลิตไวน์หมากเม่าได้สำเร็จ ในชื่อแบรนด์ “ชาโต เดอ ภูพาน” จึงนำออกไปขายงานโอทอป ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก “รี เฟธ ไวน์” (Re Faith Wine) – ขอนแก่น คุณบิ๊ก อภิเดช วงสีสังข์ เล่าว่า “ลูกหม่อน คือ รักแรก ตั้งแต่วัยเด็ก พอวันหนึ่งได้กลับมาอยู่บ้าน เราก็อยากนำพาสิ่งนี้ไปเติบโต ทำเป็นไวน์ประจำถิ่นขอนแก่นขึ้นมา” คุณบิ๊กมีความฝันอยากทำให้หม่อนไปอยู่ในขวดไวน์ เขาจึงเชื่อว่าจะสามารถทำไวน์หม่อนขึ้นมาได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ Re Faith แปลว่า ไวน์ที่มีความเชื่อและความศรัทธา “มองตราเวีย” (MONTRA VIA) – ยโสธร เริ่มจากมีคนในชุมชนไปเรียนคอร์สฝึกอบรมจากนั้นก็ได้นำความรู้มาปรับเปลี่ยนใช้กับการทำไร่อ้อย และได้มีการนำอ้อยไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ยังมีปริมาณอ้อยที่เหลืออยู่มากจึงได้หาทางแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอ้อย จึงได้นำอ้อยมาผลิตเป็นไอศกรีมอ้อย และต่อยอดโดยการนำอ้อยอินทรีย์ไปแปรรูปเป็น ไวน์อ้อย มองตราเวีย “สกาย” (SKY) – มหาสารคาม เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นตั้งใจของเกษตรรุ่นใหม่จังหวัดมหาสารคาม และผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไร่พารวย ที่ต้องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาราคาพืชผลตกต่ำและล้นตลาด โดยมีแนวความคิดอยากให้ทุกคนได้รู้จักและเข้าถึงไวน์ง่ายขึ้น “ชาโต เดอ เลย” (Chateau de Loei) – เลย ไวน์ Chateau de Loei ก่อตั้งโดยหมอชัยยุทธ กรรณสูต ผลิตไวน์คุณภาพมาตรฐานสากลตามกฎหมายใหม่เป็นเจ้าแรกในเมืองไทย เมื่อปี 2534 หลังรัฐบาลสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน ออกกฏหมายให้ประชาชนผลิตไวน์ได้ ตอนนั้นมีผู้ยื่นเรื่อง 8 ราย Chateau de Loei เป็นเจ้าแรก อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – MGR Online – Thawatchai GURU – ลาวเด้อ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ไวน์อีสาน …

พามาฮู้จัก ไวน์ แต่ละหม่องในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

“ส้มตำนัว” เริ่ดคักหลาย เดินหน้ารีเฟรชแบรนด์ในรอบ 23 ปี ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Enjoy Nua Meal” ตั้งเป้าขยายโมเดลใหม่ 5 สาขา

ส้มตำนัว (SOMTAMNUA) เป็นหนึ่งแบรนด์อาหารอีสานที่เป็นที่คุ้นหูคุ้นตากันดี โดยมีเมนูชูโรงเป็น “ตำมั่ว”ซิกเนเจอร์เมนูที่สร้างชื่อให้กับร้านเป็นอย่างมาก แม้จะได้รับความนิยมอย่างมากแต่ในปัจุบันที่โลกและผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นตัวเร่งให้ ตำมั่ว เข้าใกล้ความเป็นแบรนด์ที่อาจกำลัง “ตกยุค” เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ ตำมั่ว ภายใต้การกุมบังเหียนของ “อภิรัตน์ อังกุรนาค” จึงตัดสินใจ รีเฟรชแบรนด์ใหม่ในรอบ 23 ปี ภายใต้คอนเซ็ปต์ ใหม่ที่มีชื่อว่า “Enjoy Nua Meal” เพื่อปรับแบรนด์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น รวมไปถึงปรับโลโก้แบรนด์ใหม่ และการตกแต่งร้าน ด้วยการนำคู่สีใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มให้ภาพรวมของแบรนด์ดู POP สดใส สนุก มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อภิรัตน์ อังกุรนาค ผู้อำนวยการอาวุโสแบรนด์ส้มตำนัว (SOMTAMNUA) เปิดเผยถึงที่มาของการปรับลุคแบรนด์ใหม่ในครั้งนี้ด้วย 3 โจทย์หลักว่า เริ่มที่ โจทย์แรก คือ ความต้องการที่หลากหลายในยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความต้องการอะไรใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงเสมอ และอาหารอีสานยังคงเป็น 1 ในอาหารที่เป็น Top of mind ของผู้บริโภค เราต้องการคงรูปแบบการรับประทานอาหารอีสานที่เป็นการทานด้วยกันหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำให้มื้ออาหารนั้น ๆ มีความสนุกสนานมากขึ้น ด้วยการสอดแทรกความเป็นแฟชั่น และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่เข้ามาด้วย โจทย์ที่สอง คือชื่อร้าน ด้วยการนำเอาคำว่า “นัว” ซึ่งเป็นภาษาอีสาน ที่มีความหมายว่า อร่อย กลมกล่อม และเป็นอัตลักษณ์หรือ Brand Identity ของเรา มาผสมความครีเอทีฟ ใส่เป็นลูกเล่นสนุก ๆ มาใส่ในหลาย ๆ จุด ภายในร้าน จนเกิดเป็นแท็กไลน์ (Tagline) ‘I’m Nua : นัวแต่ไหน” เพื่อเป็น Key message ที่ Connect กับลูกค้า และสร้างการจดจำ ว่าเราเป็น “นัว” ตัวจริงเสียงจริงมายาวนานกว่า 23 ปี และโจทย์สุดท้าย ในแง่ของการสื่อสาร เริ่มจากการปรับโลโก้แบรนด์ สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการปรับเส้นสายให้ดู Smooth ยิ่งขึ้น แต่ยังคงเค้าโครงเดิมไม่ให้ลูกค้าสับสน และ Mood & Tone ใหม่ พร้อมกับการตกแต่งร้านใหม่ในรูปแบบของ “Nua Home” ที่สร้างบรรยากาศทำให้เหมือนลูกค้าทานอาหารอยู่ที่บ้าน ให้ความรู้สึกอบอุ่น สบาย ๆ เหมาะกับการมาพักผ่อน และทานอาหารอร่อย ๆ สไตล์อีสานแท้ ๆ ไปด้วยกัน นอกจากนี้ ยังมีการเลือกใช้วัสดุ และใส่องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีสีสันเข้ามาผสมผสาน …

“ส้มตำนัว” เริ่ดคักหลาย เดินหน้ารีเฟรชแบรนด์ในรอบ 23 ปี ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Enjoy Nua Meal” ตั้งเป้าขยายโมเดลใหม่ 5 สาขา อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ไวน์ แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ไวน์ คืออะไร? เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ที่ได้จากการหมักน้ำผลไม้ กับยีสต์ โดยควบคุมการหมักอย่างเหมาะสม ไวน์ที่ดื่มกันในท้องตลาด มีมากมายหลายชนิด อาจเรียกชื่อตามประเภทของผลไม้ชื่อผู้ผลิต หรือปริมาณของแอลกอฮอล์เป็นเกณฑ์ เช่น ไวน์แอปเปิล ไวน์มังคุด ไวน์หม่อน เป็นต้น แม้แต่ผักบางชนิด ก็สามารถที่จะหมักทำเป็นไวน์ได้ ซึ่งมีรสที่แตกต่างกันไป ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่ง ภาคอีสานมีไวน์อยู่ในจังหวัดใด๋แหน่? “กราน-มอนเต้” (Gran-Monte) ก่อตั้ง จังหวัดนครราชสีมา ทำมาจาก องุ่น “พีบี วัลเล่ย์ เขาใหญ่ ไวน์เนอรี่” (PB Valley Khao Yai Winery) ก่อตั้ง จังหวัดนครราชสีมา ทำมาจาก องุ่น “ชาโต เดอ เลย” (Chateau de Loei) ก่อตั้ง จังหวัดเลย ทำมาจาก องุ่น “ชาโต เดอ ภูพาน” (Chateau De Phuphan) ก่อตั้ง จังหวัดสกลนคร ทำมาจาก หมากเม่า “มองตราเวีย” (MONTRA VIA) ก่อตั้ง จังหวัดยโสธร ทำมาจาก อ้อย “รี เฟธ ไวน์” (Re Faith Wine) ก่อตั้ง จังหวัดขอนแก่น ทำมาจาก มัลเบอร์รี่ และกระเจี๊ยบ “สกาย” (SKY) ก่อตั้ง จังหวัดมหาสารคาม ทำมาจาก น้ำผึ้ง กระเจี๊ยบ มะนาว มัลเบอร์รี่ อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ไวน์อีสาน #Wine

ชวนเบิ่ง ธุรกิจน้ำปลาร้า จากอาหารบ้าน ๆ สู่ “ธุรกิจหลายล้าน” ของเหล่าคนดังจากภาคอีสาน

“ปลาร้า” หรือ “น้ำปลาร้า” ถือเป็นเครื่องปรุงรสเด็ดที่เรียกได้ว่าอยู่คู่ครัวไทยแทบจะทุกบ้าน เพราะสามารถใช้ปรุงอาหารที่หลากหลายโดยเฉพาะเมนูแซ่บ ๆ ที่ถูกปากทุกคนทั้ง ส้มตำ ,ยำ ,แกงอ่อม, น้ำพริก และอื่น ๆอีกมากมาย ซึ่งธุรกิจน้ำปลาร้า เรียกได้ว่าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ทำให้มีเหล่าคนดังหันมาจับธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จสร้างมูลค่ามหาศาลทำยอดขายได้ไทยและต่างประเทศ ความเป็นมาของแบรนด์น้ำปลาร้าแต่ละแบรนด์ของเหล่าคนดังจะเป็นอย่างไร ISAN Insight & Outllok จะเว้าสู่ฟัง เริ่มต้นที่ น้ำปลาร้า MUM “คุณหม่ำ จ๊กมก” ตลกรุ่นใหญ่ชื่อดังของเมืองไทย แม้ว่าอยู่ในวงการบันเทิงมานาน สร้างเนื้อสร้างตัวจนมีรายได้ที่มั่นคงแล้ว หันมาลงทุนธุรกิจน้ำปลาร้า โดยจับมือกับ “เป๊ก สัญชัย” ทำแบรนด์น้ำปลาร้า “น้ำปลาร้า MUM” ตรา เอ็มยูเอ็ม รสชาตินัว ไม่กลัวใคร ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในปี 2564 มีรายได้รวม 40 ล้านบาท น้ำปลาร้าแซ่บไมค์ “คุณไมค์ ภิรมย์พร” นักร้องลูกทุ่งดังเจ้าของฉายา “ขวัญใจผู้ใช้แรงงาน” ซึ่งมีเพลงฮิตในตำนานมากมายเช่น ”ยาใจคนจน” ต่อมาจึงได้ผันตัวจากการจับไมค์ หันมาลงทุนจับธุรกิจนำปลาร้า ซึ่งเจ้าตัวเคยเปิดร้านอาหารอีสานมาก่อนทำให้มีความคุ้นเคยกับปลาร้าเป็นอย่างดี โดยใช้ชื่แบรนด์ “แซ่บไมค์” เอาใจสายแซ่บผลิตน้ำปลาร้า เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จและโด่งดังไกลไปถึงต่างประเทศ เรียกได้ว่าสร้างรายได้มหาศาลกันเลยทีเดียว โดยในปี 2565 มีรายได้รวม 533 ล้านบาท น้ำปลาร้าบัญชาเมฆ “คุณบัวขาว บัญชาเมฆ” นักมวยชื่อดังขวัญใจชาวไทย ก็เป็นอีกคนที่เข้าสู่วงการทำร้านปลาร้า ชูจุดเด่นน้ำปลาร้าน้ำแร่ปรุงสำเร็จรูป ตราบัญชาเมฆ โดยเจ้าตัวบอกว่าเป็นผู้คิดค้นผลิตน้ำปลาร้าปรุงสุกเจ้าแรกของโลกที่ใช้นวัตกรรมนำน้ำแร่ธรรมชาติมาผสม และใช้ในการผลิตน้ำปลาร้าแถมมีโอเมกา 3 และไอโอดีนสูงได้รับมาตรฐาน GMP HACCP Halal ผ่านการรับรองจาก อย. กระทรวงสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ในปี 2563 บริษัทโรงงานปลาร้าแม่ประกาศ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างผลิต มีรายได้รวม 10 ล้านบาท น้ำปลาร้าสุนารี “คุณสุนารี ราชสีมา” นักร้องลูกทุ่งแถวหน้าของเมืองไทย ที่นอกจากจะร้องเพลงและงานพิธีกรแล้ว ยังผันตัวมาทำธุรกิจน้ำปลาร้า ภายใต้แบรนด์ “น้ำปลาร้าสุนารี” แบรนด์ไทยที่ต้องการพาอาหารอีสานโกอินเตอร์ ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน เพราะมียอดขายดีทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้สุนารียังทำน้ำพริก ซอสผัดหมี่โคราช ฯลฯ ออกมาขายร่วมด้วย โดยในปี 2563 บริษัท ฮีโร่ แอนด์ อาเธอร์จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างผลิต สามารถทำรายได้ถึง 4 ล้านบาท น้ำปลาร้าราชา “คุณตุ๊กกี้ สุดารัตน์” นักแสดงตลกชื่อดังที่จับมือกับหวานใจ”คุณบูบู้” ทำธุรกิจขายน้ำปลาร้าที่มีชื่อว่า “ปลาร้าราชา” ซึ่งคิดค้นสูตรโดย “คุณบูบู้” ทำการผลิต โดยลงทุนทำโรงงาน ซื้อเครื่องมือ รวมถึงขอมาตรฐานต่างๆ …

ชวนเบิ่ง ธุรกิจน้ำปลาร้า จากอาหารบ้าน ๆ สู่ “ธุรกิจหลายล้าน” ของเหล่าคนดังจากภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง แบรนด์ น้ำปลาร้า สุดแซ่บ จากแดนอีสาน

น้ำปลาร้าแม่เหรียญ แม่เหรียญ ชารีนิวัฒน์ ซึ่งเป็นคุณแม่ของ คุณมะนูญ ชารีนิวัฒน์ ได้คิดค้นสูตรน้ำปลาร้าขึ้นมา ซึ่งในช่วงเวลานั้น ทำปลาร้า แบบตักขาย ขายที่แรกคือจังหวัดขอนแก่น หลังจากนั้นคุณมะนูญ จากพ่อค้าส้มตำ ที่มีแนวคิดอยากให้คนได้ทานปลาร้าสูตรเฉพาะของตัวเอง จึงเริ่มวางขายในโชห่วยหมู่บ้าน ในปี 2559 ได้ย้ายโรงงานไปตั้งที่จังหวัดเลย สู่ธุรกิจSME ที่มีรายได้หลักร้อยล้าน น้ำปลาร้าเชฟไพรฑูรย์ คุณไพรฑูรย์ ชารีนิวัฒน์ กล่าวว่า ตนเองเป็นลูกอีสานที่เติบโตมากับปลาร้า ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสชาติแซ่บนัว จึงเกิดแนวคิดว่าทำอย่างไรที่จะให้คนภาคอื่นๆ ได้ลิ้มรสปลาร้าที่แซ่บ อร่อย และนัวแบบอีสานๆ จึงได้ศึกษาวิธีการทำปลาร้าปรุงสุกเพื่อจำหน่าย จนเกิดแนวคิดว่า ถ้าทำใส่ขวดแล้วสามารถขายได้ทั่วประเทศ คนอื่นๆก็จะได้ชิมปลาร้ารสชาติอีสานได้ทั่วประเทศ คนที่ซื้อน้ำปลาร้าไปตำส้มตำขายก็สามารถขายได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะอร่อยหรือไม่ เพราะในน้ำปลาร้าเป็นสูตรพิเศษที่คิดมาเพื่อลูกค้าที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ยังต้มปลาร้าไม่เป็น ให้สามารถไปเปิดร้านขายส้มตำได้ สร้างอาชีพคนอีกทางหนึ่ง น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ จากจุดเล็กๆของการทำปลาร้าเพื่อบริโภคในครัวเรือนของ คุณพ่อสนั่น และคุณแม่ทองสุข ศรีโยธา ในปี 2510 ได้ค่อยๆขยับขยายเติบโต สู่รุ่นลูก คือ คุณพ่ออุทัย และคุณแม่บุญล้ำ ปรีเรือง โดยใช้ชื่อกิจการว่า เพชรดำค้าปลาร้า ซึ่งต่อมาในปี 2557 ได้ก่อตั้ง บริษัท เพชรดำฟู้ดส์ จำกัด และมีสินค้าเริ่มแรกคือ น้ำปลาร้าต้มสุกภายใต้แบรนด์ “แม่บุญล้ำ” ของดีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สร้างรายได้อันยั่งยืนให้กับชาวบ้านในชุมชนโดยรอบ และพัฒนาคุณภาพสินค้า แบบยั่งยืนตามหลักสากล จนกลายเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกระดับประเทศ น้ำปลาร้าตำมั่ว เกิดขึ้นบนแนวคิดของการต้องการที่จะคอนโทรลธุรกิจต้นน้ำ คือ เรื่องของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในร้านอาหารในเครือ คือ “ตำมั่ว” ที่มีการใช้น้ำปลาร้าในปริมาณค่อนข้างมาก จึงได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ บริษัท เค.เอส.เอฟ. ฟู๊ดส์ โปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตน้ำปลาร้าเจ้าดังและได้รับมาตรฐานของไทย จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท เซ็น แอนด์ โกสุม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด เพื่อผลิตป้อนให้กับร้านตำมั่ว ขณะเดียวกันก็ต่อยอดไปสู่การทำเป็นสินค้าที่เจาะเข้าช่องทางร้านค้าปลีก น้ำปลาร้าศิริพร รสแซ่บ เริ่มก่อตั้งในการผลิตนำปลาร้าบรรจุขวดเจ้าแรกในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยเริ่มผลิตจากปลาน้ำจืดที่หาได้ตามท้องถิ่น เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่ง จึงคิดว่าปลาน้ำจืดคงไม่เพียงพอกับการทำธุรกิจ จึงได้คิดหาความแตกต่างและเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารด้วยวัตถุดิบจากปลาทะเลชั้นดี เช่น ปลากระตัก ปลาทู เป็นต้น เพื่อมาใช้ในการหมักทำเป็นน้ำปลาร้า น้ำปลาร้าภาทอง คุณวีรดาอร เล่าว่า ธุรรกิจโรงงานปลาร้าเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 จากเดิมครอบครัวทำธุรกิจฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ และประสบภาวะปัญหาขาดทุน ในปี2550 จึงได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานที่บ้าน จากเดิมสินค้าจากโรงงานจะเป็นปลาร้าหมักแบบตัว ต่อมาได้เพิ่มเป็นน้ำปลาร้าต้มสุก ปัจุบันธุรกิจน้ำปลาร้าแข่งขันกันค่อนข้างสูงมาก ทางโรงงานก็ต้องมีการปรับตัวทั้งด้านคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าให้ตรงกับความต้องการ อีกทั้งมีการแตกไลน์ในการผลิตสินค้าจากปลาร้าไปเป็นอาหารอย่างอื่นที่เป็น ready to eat มากขึ้น แต่ก็ยังคง concept เดิมคือราคาต้องเข้าถึงง่าย อ้างอิงจาก – เว็บไซต์ของบริษัท – OTOP Loei – …

พาส่องเบิ่ง แบรนด์ น้ำปลาร้า สุดแซ่บ จากแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top