Nanthawan Laithong

ชวนเบิ่ง มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่และเลิกกิจการของภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋แหน่ในครึ่งปีแรก

ภาพรวมการจัดตั้งใหม่ของนิติบุคคลในอีสานครึ่งปีแรก ยังอยู่ในภาคการค้า การก่อสร้าง เป็นหลัก โดยการจัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าการจดทะเบียนเลิกกิจการชัดเจน ซึ่งขนาดเฉลี่ยของกิจการจดทะเบียนใหม่ และจดทะเบียนเลิกกิจการ มีขนาดใกล้เคียงกัน เว้นแต่ภาคการเกษตรที่มีการจดทะเบียนใหม่ของรายใหญ่ สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #มูลค่าจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #ทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ #มูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกกิจการ

จับตาเบิ่ง มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคลของภาคอีสานในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋แหน่

การจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ในอีสานปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าชัดเจน ทั้งในด้านของจำนวน และมูลค่าทุนจดทะเบียน โดยกว่าครึ่งหนึ่งยังกระจุกตัวอยู่ใน 4 จังหวัดหลัก และในบุรีรัมย์ สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #มูลค่าจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #ทุนจดทะเบียนนิติบุคคล

ชวนเบิ่ง 5 อันดับกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าทุนจดทะเบียนมากที่สุด

ธุรกิจจัดตั้งใหม่หมวดธุรกิจสร้างสรรค์ในอีสาน อยู่ในหมวดการท่องเที่ยวเป็นหลักในขณะที่ภาพรวม ธุรกิจสร้างสรรค์ของอีสานยังมีน้อยกว่าภาคเหนือ โดยเฉพาะสาขาโฆษณากับสถาปัตยกรรม ซึ่งธุรกิจสร้างสรรค์ในอีสานส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลักอย่าง ขอนแก่น และนครราชสีมา เป็นต้น สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #มูลค่าจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #ทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์

พาจอบเบิ่ง เทรนด์ “ธุรกิจร้านอาหาร” ปี 2566

ในสถานการณ์ปกติที่ไร้โรคระบาด “ธุรกิจร้านอาหาร” ถูกประเมินมูลค่าสูงกว่า 4 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยบวก ไม่เพียงเพราะประเทศไทยเป็น “สวรรค์” ของการกิน มีร้านอาหารริมทาง(Street Food)ไปจนถึงร้านหรูหราบริการชั้นเลิศ(Fine Dining) ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกระดับชั้นตามฐานะและกำลังซื้อ ปี 2566 ไม่เพียงผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 แต่ยังเป็นปีที่ธุรกิจร้านอาหารฟื้นตัวกลับมาคึกคัก เพราะไม่ใช่แค่ขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ปลดปล่อยไลฟ์สไตล์ต่างๆ แต่ยังมีการบริโภคเพิ่มจากนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไลน์แมน วงใน (LINE MAN Wongnai) กล่าวว่า ประเทศไทยใครๆก็สามารถเป็น “เจ้าของร้านอาหารได้ง่าย” แต่การเติบโตต้องเผชิญความท้าทายไม่น้อย เพราะจากการเก็บข้อมูลของร้านอาหารต้องพบ “ความจริงที่น่าเศร้าเล็กน้อย” เมื่อมีผู้ประกอบการเข้ามาสมัครเข้ามาเปิดร้านบนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี ระยะเวลาประมาณ 12 เดือน จะมีการปิดกิจการไป 50% เนื่องจาก “ไม่มียอดขาย” และเมื่อเปิดให้บริการผ่านไป 3 ปี จะมีราว 65% ต้องปิดตัวลง เหล่านี้สะท้อนถึง การแข่งขัน โอกาสรอดของร้านที่เปิดใหม่ในประเทศไทยด้วย สำหรับภาพรวมธุรกิจร้านอาหารไทยครึ่งปีแรก มีร้านเปิดใหม่เพิ่มถึง 13.6% หรือกว่า 1 แสนร้าน มีจำนวน 680,190 ร้าน จากช่วงเดียวกันปีก่อนมี 598,693 ร้าน ขณะที่ประเภทของร้านอาหารที่ให้บริการมากสุด สัดส่วนเป็นดังนี้ – อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว 17.7% – คาเฟ่ ร้านกาแฟ 11% – อาหารไทย 10.9% – ก๋วยเตี๋ยว 7.1% – อาหารอีสาน 6.4% – ขนมหวาน 6.2% – บุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง สุกี้ 6.1% – เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ 4.2% – อื่นๆ 30% เมื่อโควิดคลี่คลาย ประชาชนออกมาทานข้าวนอกบ้านมากขึ้น ทิศทางโต Dine-in ร้อนแรง ส่วน “เดลิเวอรี” แผ่วลงพอตัว แต่ไลน์แมน วงใน ยังคงรักษาโมเมนตัมขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังสั่งเมนูอร่อย จนทำให้ “ขายดี” บนเดลิเวอรี นำโด่ง เมนูอาหารขายดีบนเดลิเวอรี 1. ก๋วยเตี๋ยวยืนหนึ่งขายดีตลอดกาล 2. ข้าวมันไก่ 3. ส้มตำปูปลาร้า เติบโต 40.4% สะท้อนคนไทยชอบความแซ่บนัว 4. ข้าวผัด (หมู กุ้ง ปู) 5. …

พาจอบเบิ่ง เทรนด์ “ธุรกิจร้านอาหาร” ปี 2566 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง อาณาจักร เจ้าแม่วงการธุรกิจรถทัวร์คนดัง แห่งเชิดชัยทัวร์ สินทรัพย์ล่าสุกว่า 2,300 ล้านบาท .

หากจะถามว่า “เจ๊เกียว” เป็นใคร เชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่รู้จัก เพราะตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ชื่อของ เจ๊เกียว หรือ สุจินดา เชิดชัย เจ้าแม่วงการธุรกิจรถทัวร์คนดัง แห่งเชิดชัยชัวร์ มักปรากฏให้เห็นกันเป็นประจำในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการรถโดยสาร หากมีสถานการณ์ที่เกี่ยวกับประเด็นข้อเรียกร้องต่าง ๆ จากทางภาคเอกชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐเกิดขึ้น หากย้อนไปดูการทำธุรกิจของ “เจ๊เกียว” นั้น ต้องยอมรับว่า เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดอยู่ในวงการรถทัวร์ รถ บขส. มานานกว่า 65 ปี โดยเป็นทั้งเจ้าของอู่เชิดชัย และบริษัทเดินรถ “เชิดชัยทัวร์” ก่อนที่จะมีข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า ประกาศเตรียมเลิกประกอบธุรกิจรถโดยสาร บขส. เพื่อไม่ให้กระทบกับธุรกิจอื่น ๆ หลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับการแข่งขันที่รุนแรง จนทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลง และไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ ทั้งรายจ่ายค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง ค่าจ้างพนักงงาน ส่วนรถโดยสารที่ให้บริการส่วนใหญ่ก็วิ่งให้บริหารเฉพาะสายสั้น ๆ เท่านั้น จนในที่สุด เจ๊เกียว จึงตัดสินใจเตรียมวางมือจากธุรกิจเดินรถ แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้ทำธุรกิจเดินรถทัวร์ เพื่อต้นทุนสูง แต่ธุรกิจในมือของเจ๊เกียว นั้น ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการรถโดยสาร และการขนส่ง ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ ทั้งอู่ต่อรถ ซ่อมรถ ขายรถ ขายอะไหล่ และให้เช่ารถทัวร์ เจ๊เกียว เป็นผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆ อย่างน้อย 7 แห่ง ที่ยังดำเนินกิจการอยู่ บริษัท กิจการราชสีมายานยนต์ จำกัด ประกอบกิจการเดินรถโดยสารประจำทาง สินทรัพย์รวม 34.62 ล้านบาท รายได้รวม 6.24 ล้านบาท บริษัท อู่เชิดชัยอุตสาหกรรม จำกัด ประกอบกิจการต่อตัวถังรถโดยสาร ซ่อม จำหน่ายอะไหล่ สินทรัพย์รวม 931.09 ล้านบาท รายได้รวม 52.69 ล้านบาท บริษัท เกลียวเวิลด์ จำกัด ประกอบกิจการเกี่ยวกับการประกอบแชสซีส์รถต่างๆ สินทรัพย์รวม 9.06 ล้านบาท รายได้รวม 1.44 ล้านบาท บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประกอบกิจการผลิตยานยนต์อื่นๆ ที่ใช้เพื่อการโดยสาร สินทรัพย์รวม 234.22 ล้านบาท รายได้รวม 68.49 ล้านบาท บริษัท เชิดชัย บัส แอนด์ พาร์ท จำกัด ประกอบกิจการขายอุปกรณ์ประกอบรถยนต์ สินทรัพย์รวม 98.82 ล้านบาท บริษัท เชิดชัยคาร์ส จำกัด ประกอบกิจการขายรถยนต์และตัวแทนขายรถยนต์ สินทรัพย์รวม 206.22 …

พาเปิดเบิ่ง อาณาจักร เจ้าแม่วงการธุรกิจรถทัวร์คนดัง แห่งเชิดชัยทัวร์ สินทรัพย์ล่าสุกว่า 2,300 ล้านบาท . อ่านเพิ่มเติม »

พิโกไฟแนนซ์ หนี้เพิ่มต่อเนื่อง NPL ทะลุ 20% “ภาคอีสาน” นำโด่ง มีหนี้หลายกว่าหมู่

นายสมเกียรติ จตุราบัณฑิต นายกสมาคมพิโกไฟแนนซ์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยหากดูเอ็นพีแอลก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 หนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือน อยู่ที่ 12.54% ของยอดสินเชื่อคงค้าง หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 351 ล้านบาท และล่าสุดในเดือนมีนาคม 2566 ยอดค้างชำระเกิน 3 เดือน ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.84% หรือคิดเป็น 1,350 ล้านบาท ทั้งนี้ สินเชื่ออนุมัติสะสม ณ เดือนมีนาคม 2566 จำนวนบัญชีทั้งสิ้น 3.13 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นจำนวนเงินรวม 3.12 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น สินเชื่อแบบมีหลักประกันจำนวน 4.34 แสนบัญชี เป็นจำนวนเงิน 1.21 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันจำนวน 2.69 ล้านบัญชี เป็นจำนวนเงิน 1.91 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี หนี้ NPL ที่ปรับเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกร ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ รวมถึงในช่วงที่เกิดโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถขายสินค้าได้ ตลอดจนกลุ่มปศุสัตว์ การเลี้ยงสุกรและโคขุน เพื่อนำไปขายต่างประเทศ พบปัญหาเศรษฐกิจไม่สามารถส่งออกไปขาย ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีดอกเบี้ยผิดนัดค้างชำระสะสม แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ปรับดีขึ้น แต่รายได้ยังคงมีไม่เพียงพอชำระหนี้ค้างสะสม “ยอมรับว่าหนี้ NPL ส่วนใหญ่เกิดจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดติดชายแดนที่เป็นกลุ่มเกษตรเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคขุนเพื่อขายให้กัมพูชา แต่พบปัญหาราคาตก ทำให้ไม่มีเงินชำระหนี้ หรือกลุ่มรายได้ประจำที่อยู่ในกลุ่มโรงงาน ภาคตะวันออก ถูกลดโอที ค่าโบนัส ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง หรือกลุ่มผู้มีรายได้ประจำที่ลาออกจากงาน ทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้” อีสาน ลูกค้าเบี้ยวหนี้เพียบ นายบูรพงศ์ วรรักษ์ธารา กรรมการผู้จัดการ บริษัท บูราพาณิชย์ จำกัด ผู้ประกอบการพิโกไฟแนนซ์ พลัส จ.ขอนแก่น กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ขณะนี้ตัวเลข NPL ของบริษัทขยับเพิ่มขึ้นใกล้ 20% แล้ว จากยอดปล่อยกู้สะสมประมาณ 20-30 ล้านบาท โดยกลุ่มลูกค้าหลักเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าขาย กู้เฉลี่ย 1 แสนบาท/ราย และกลุ่มที่กู้เพื่อนำไปใช้จ่ายในครัวเรือน ปัจจัยหลักมาจากค่าครองชีพของลูกค้าสูงขึ้น แต่เงินเดือนหรือรายได้เท่าเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้การชำระเงินกู้ของลูกค้าลดน้อยลง แม้กระทั่งเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการก็เริ่มชะลอการใช้หนี้ เพื่อกุมเงินไว้ก่อน เนื่องจากไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจ ขณะนี้ภาพรวมหนี้เสียของพิโกไฟแนนซ์ในขอนแก่นมีจำนวนมากขึ้น ปัจจุบัน ตัวเลข NPL น่าจะอยู่ที่ 25-26% และมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปี 2565 ที่ผ่านมา …

พิโกไฟแนนซ์ หนี้เพิ่มต่อเนื่อง NPL ทะลุ 20% “ภาคอีสาน” นำโด่ง มีหนี้หลายกว่าหมู่ อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก อาณาจักร หมูยออุบล

หมูยอแม่ฮาย แม่ฮายคือ ชื่อคุณแม่ผู้ก่อตั้งร้าน ซึ่งมีเชื้อสายเวียดนาม เปิดมานานกว่า 50 ปี ตอนนี้สืบทอดมาถึงทายาทรุ่นที่ 2 โดยแบ่งเป็นร้าน หมูยอแม่ฮาย มีสาขาที่ หน้าอำเภอเมืองอุบลราชธานี ถนนศรีณรงค์ และสาขานอกตัวเมือง ริมถนนแจ้งสนิท ใกล้ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีหลังใหม่ ส่วนหมูยอแม่ฮาย 1 อยู่ริมถนนพโลชัย ใกล้กับสี่แยกที่ตัดกับถนนจงกลนิธารณ์ และมีอีกสาขาที่ ตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัด หมูยอตองหนึ่ง เป็นร้านดั้งเดิมที่มีการสืบทอดความอร่อยของอาหารต้นตำรับเวียดนามจากรุ่นสู่รุ่น ผลิตภัณฑ์ของร้านตองหนึ่งได้รับมาตรฐาน อย. และ GMP ทุกชิ้น โดยหมูยอของร้านเน้นใช้เนื้อหมูสดใหม่ มีความอร่อย ฉ่ำมันหมูนิด ๆ เนื้อเด้ง นุ่มหนึบ หมูยอดาวทอง คุณกิม ดาวทองวรกิจ ทายาทรุ่นลูก ได้เล่าถึงที่มาของ หมูยอดาวทอง ซึ่งสืบสานเป็นตำนาน จากรุ่นคุณแม่กัญญา ดาวทองวรกิจ เป็นผู้นำสูตรหมูยอ สูตรตั้งแต่รุ่นอากง โดยต้นตำรับหมูยอ ของทางร้านเป็นสูตรเวียดนามแท้ จากวันนั้นในอดีต สู่วันนี้ในปัจจุบัน ทำให้ชื่อเสียงเรื่องของฝาก วิถีแห่งหมูยอ ครองความเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงคนในท้องถิ่น หมูยอ ป.อุบล ป.อุบล ธุรกิจครอบครัว ก่อตั้งโดยคุณประยงค์ เหรียญรักวงศ์ (คุณพ่อ) ผู้มีแนวคิดธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ได้จำหน่ายในตลาดสด เริ่มต้นทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนในปี 2519 ชื่อร้าน “มหาชัยวาริน” ก่อนปรับเปลี่ยนเป็นแบรนด์ “ป.อุบล” ที่ได้ชื่อว่าเป็น แบรนด์หมูยอที่มีชื่อเสียงในจังหวัดอุบลฯ อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – Matichon Academy – BANGKOKBANK SME – Wongnai ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ร้านหมูยออุบล #หมูยออุบล #หมูยอ

ชวนเบิ่ง หมูยอ สุดแซ่บ แต่ละจังหวัด

หมูยอลูกคุณแม่ทองใบ – นครราชสีมา หมูยอเจ้าแรกต้นตำหรับในโคราชคือหมูยอแม่ทองใบ ขายมามากกว่า 70 ปี ก่อตั้งโดย คุณแม่เวียน ทิใบ ซึ่งเดิมอยู่เวียดนาม แต่หนีสงครามมาอยู่ที่อุบล และย้ายไปที่โคราช ปัจจุบัน หมูยอแม่ทองใบ ได้วางมือแล้ว แต่ยังมีลูกชายเปิดร้านหมูยอหลอดพลาสติกภายใต้ ชื่อ “หมูยอลูกแม่ทองใบ” และต่อมาหลานชายของแม่ทองใบ จะเข้ามาดูแลกิจการแทน จึงได้กลับมาผลิตหมูยอใบตองโดยใช้สูตรโบราณดั้งเดิม หมูยอมิ่งเจริญ – ขอนแก่น ร้านก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 โดยคุณแม่มิ่งเจริญ มิ่งเจริญพาณิชย์ และคุณสมพงษ์ บำรุงพันธ์ได้รับการสืบทอดต่อ เดิมทีคุณสมพงษ์ ศึกษาอยู่ ม.ขอนแก่น คุณแม่จึงย้ายจากนครพนมบ้านเกิดมาเริ่มทำหมูยอจำหน่าย ในขณะนั้นนับว่าเป็นเจ้าแรกและเป็นเจ้าเดียวในเมืองขอนแก่นเลยที่เลือกใช้วิธีการนึ่งหมูยอให้สุกด้วยลังถึงและขายร้อน ๆ ที่หน้าร้าน หมูยอแม่ถ้วน – หนองคาย ในสมัยสงครามเวียดนาม คุณพ่อถ้วนฉบับ เหงียนวัน และคุณแม่เฮ่า เหงียนถิ ได้ย้ายมาอยู่ในหนองคาย ในปี 2521 พี่สาวของคุณแม่เฮ่า ได้สอนการทำหมูยอแบบเวียดนามให้แม่เฮ่า จากนั้นนำไปขายที่ตลาดในหนองคาย และนำไปฝากขายตามร้านต่าง ๆ ชาวเวียดนามมักเรียกชื่อของสามีแทนชื่อของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของชื่อ “หมูยอแม่ถ้วน” หมูยอน้องนิด – สกลนคร หมูยอเจ้าดังจังหวัดสกลนคร เปิดขายมานานกว่า 30 ปี อย่าง “หมูยอน้องนิด” หมูยอเนื้อแน่น เด้ง ชุ่มฉ่ำ ด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณ ได้รสสัมผัสเนื้อหมูแท้ ๆ รสชาติแบบดั้งเดิม อีกทั้งทางร้านมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหมูยอแผ่น หมูยอห่อใบตอง ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นหมู ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี หมูยอนายเติม – อุดรธานี “หมูยอนายเติม” มาจาก คุณพ่อเติม ตรั่นหงอก เป็นชาวเวียดนามได้ย้ายมาอยู่ที่อุดรธานี คุณพ่อเติมเป็นคนมีฝีมือในการทำอาหาร จึงจุดประกายความคิดจากฮอทดอกที่มีราคาแพง มาต่อยอดการทำหมูยอ โดยใช้ใบตองห่อ จากนั้นได้ทดลองหาบเร่ขายไปตามที่ต่าง ๆ ด้วยความแปลกใหม่และราคาไม่แพง ทำให้หมูยอได้รับความนิยมมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2499 จนถึงปัจจุบัน ภายหลังคุณพ่อเติมได้ส่งต่อกิจการให้คุณณัฏฐนันทน์ ผลากุลสันติกร เป็นคนดูแลกิจการต่อ หมูยอวิทย์อุดร – อุดรธานี เริ่มมาจากเมื่อ 40 ปีที่แล้วเติบโตมากับธุรกิจหมูยอที่ท่าบ่อ จึงคิดอยากทำหมูยอในอุดรธานี จึงได้นำสูตรหมูยอในตำนานมาพัฒนาและปรับปรุงให้เข้ากับรสชาติที่โดนใจคนอุดร ทำให้เกิดเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่ชื่อว่า “หมูยอวิทย์อุดร” เป็นหมูยอที่อร่อย นึ่งวันต่อวัน ไม่ผสมแป้งและเนื้อไก่ ไร้สารตกค้าง แม้จะไม่ใช่ร้านดั้งเดิม แต่ก็อร่อยถูกใจคนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – Zolitic – Wongnai – OpenRice – Food Fast Fin …

ชวนเบิ่ง หมูยอ สุดแซ่บ แต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง อาณาจักร หมูยอ แต่ละหม่อง ในภาคอีสาน

หมูยอ เป็นอาหารขึ้นชื่อของหลายจังหวัดทางภาคอีสาน ไม่ว่าจะอุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี นครพนม เป็นต้น ลักษณะอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อนึกถึงหมูยอ นั่นคือ หมูยอห่อใบตอง หมูยอ เดิมทีแล้วเป็นอาหารเวียดนาม มีที่มาจากคนเวียดนามนำเข้ามาในไทย โดยคำว่า “ยอ” นั้น มาจากคำว่า “หย่อ” ที่ย่อจาก “หย่อหลัวะ” ซึ่งเป็นชื่อที่คนทางเหนือเรียก ส่วนคนทางใต้จะเรียกว่า “จ๋าหลัวะ” ซึ่งคำว่า “ยอ” ในภาษาไทยนั้นไม่ได้มีความหมายแต่อย่างใด โดยในไทยส่วนมากจะนิยมกินหมูยอที่เป็นเนื้อหมูล้วน ส่วนในเวียดนามจะมีหลายชื่อเรียกตามส่วนผสมที่ต่างกันออกไป โดยเมนูที่มีหมูยอ ที่มาจากเวียดนามและคนไทยรู้จักกันดีที่สุดก็คงจะเป็น “ก๋วยจั๊บญวน” อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – Review Promote – พิชชามีท ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #หมูยอ #ธุรกิจหมูยอ #ร้านหมูยอ

พามาเบิ่ง 7 อันดับอาณาจักรขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืชแห่งภาคอีสาน

อันดับที่ 1 บริษัท พูลอุดม จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 1,147 ล้านบาท กำไรรวม 58 ล้านบาท . อันดับที่ 2 บริษัท โคราชโรงสียงสงวน จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 722 ล้านบาท กำไรรวม 1,095,028 บาท . อันดับที่ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลานมัน รุ่งฤทัยพาณิชย์ จังหวัด เลย รายได้รวม 496 ล้านบาท กำไรรวม 21 ล้านบาท . อันดับที่ 4 บริษัท อ.รวมชัย สกลนคร 2017 จำกัด จังหวัด สกลนคร รายได้รวม 264 ล้านบาท กำไรรวม 316,445 บาท . อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุทัศน์รุ่งเรือง จังหวัด เลย รายได้รวม 260 ล้านบาท กำไรรวม 4 ล้านบาท . อันดับที่ 6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร้านนิพนธ์ จังหวัด สุรินทร์ รายได้รวม 256 ล้านบาท กำไรรวม 942,892 บาท . อันดับที่ 7 บริษัท พูลสมบัติพืชผล จำกัด จังหวัด สกลนคร รายได้รวม 223 ล้านบาท กำไรรวม 605,176 บาท . หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืชอื่นๆ (รหัสประเภทธุรกิจ 46201) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจขายข้าวเปลือก #ข้าวเปลือก

Scroll to Top