Nanthawan Laithong

ชาวขอนแก่น เตรียมเฮ BEARHOUSE มีข่าวแว่วๆ จะมาเปิดสาขาที่ ม.ขอนแก่น สิจริงหรือบ่จริง ต้องติดตามกันต่อ

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 คุณซาน–ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช เจ้าของแบรนด์ BEARHOUSE ได้โพสต์เฟสบุ๊ก “อยากเปิดร้าน BEARHOUSE ใน ม.ขอนแก่น ติดต่อทางไหนดี ใครพอรู้มั่ง “ งานนี้ชาวขอนแก่นเตรียมลุ้น ว่าร้านชานมไข่มุกเจ้าดังจะมาเปิดสาขาที่ ม.ขอนแก่น จริงหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อ BEARHOUSE เป็นร้านชานมไข่มุกแบรนด์ไทยน้องใหม่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนทั้งโลกออนไลน์ต้องมาตามชิม โดยปี 2565 ทำรายได้รวมอยู่ที่ 210 ล้านบาท ซึ่งเติบโตมากถึง 79% อีกทั้งยังมียอดขายเฉลี่ยของร้านแบร์เฮาส์มีประมาณ 8,000 แก้วต่อวันอีกด้วย หมายเหตุ: เป็นรูป BEARHOUSE สาขาบ้านก้ามปู อโศก ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #BEARHOUSE

ชวนเบิ่ง 8 อันดับ บริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน เปลี่ยนไปส่ำใด๋ในช่วง 3 ปี

ปี 2562 อันดับที่ 1 สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 28,577 ล้านบาท อันดับที่ 2 ดูโฮม จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 17,980 ล้านบาท อันดับที่ 3 นำกิจการ จำกัด มีรายได้รวม 13,305 ล้านบาท อันดับที่ 4 นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 13,107 ล้านบาท อันดับที่ 5 ฟูไน (ไทยแลนด์) จำกัด มีรายได้รวม 11,490 ล้านบาท อันดับที่ 6 นำรุ่งโรจน์ จำกัด มีรายได้รวม 10,519 ล้านบาท อันดับที่ 7 โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด มีรายได้รวม 9,825 ล้านบาท อันดับที่ 8 ห้างทองทองสวย จำกัด มีรายได้รวม 9,293 ล้านบาท ปี 2565 อันดับที่ 1 สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 35,443 ล้านบาท อันดับที่ 2 ดูโฮม จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 31,560 ล้านบาท อันดับที่ 3 นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวม 25,208 ล้านบาท อันดับที่ 4 ห้างทองทองสวย จำกัด มีรายได้รวม 21,564 ล้านบาท อันดับที่ 5 นำกิจการ จำกัด มีรายได้รวม 13,865 ล้านบาท อันดับที่ 6 นำรุ่งโรจน์ จำกัด มีรายได้รวม 10,785 ล้านบาท อันดับที่ 7 ฟูไน (ไทยแลนด์) จำกัด มีรายได้รวม 9,976 ล้านบาท อันดับที่ 8 เอ็มทีพี บูลเลี่ยน จำกัด มีรายได้รวม 9,035 ล้านบาท อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม …

ชวนเบิ่ง 8 อันดับ บริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน เปลี่ยนไปส่ำใด๋ในช่วง 3 ปี อ่านเพิ่มเติม »

พาจอบเบิ่ง SMEs แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

หลายคนเคยได้ยินคำว่า ธุรกิจ SME อยู่บ่อยครั้ง แต่รู้ไหมว่าธุรกิจ SME ที่มักมีการพูดถึงอยู่นั้นมีมูลค่ามหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจเลยทีเดียว ISAN Insight & Outlook สิพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจ SME มากขึ้น ธุรกิจ SME (Small and Medium Enterprises) หรือเรียกว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่มีรายได้ สินทรัพย์ และพนักงานจำนวนน้อย ดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการ SME คือ ผู้ที่มีความเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับกลุ่มธุรกิจใด ใช้เงินลงทุนต่ำ ซึ่งหลักๆ เป็นเงินทุนของเจ้าของธุรกิจเองหรือเงินทุนจากการกู้ยืมสินเชื่อจากธนาคาร จุดเด่นของธุรกิจ SME คือ การดำเนินธุรกิจในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ มีทั้งธุรกิจการผลิต การค้า และบริการ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหาร การเกษตรหรือโรงแรมขนาดเล็ก เป็นต้น ธุรกิจ SME จึงถือเป็นธุรกิจที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย ปี 2565 ธุรกิจ SME ในภาคอีสาน มี 748,805 ราย 5 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนธุรกิจ SME มากที่สุด อันดับที่ 1 ขอนแก่น มีผู้ประกอบการธุรกิจ SME มากถึง 71,449 ราย อันดับที่ 2 อุบลราชธานี มีผู้ประกอบการธุรกิจ SME 65,303 ราย อันดับที่ 3 สุรินทร์ มีผู้ประกอบการธุรกิจ SME 64,010 ราย อันดับที่ 4 นครราชสีมา มีผู้ประกอบการธุรกิจ SME 60,995 อันดับที่ 5 ร้อยเอ็ด มีผู้ประกอบการธุรกิจ SME 53,635 ราย สำหรับจังหวัดที่มีผู้ประกอบการธุรกิจ SME น้อยที่สุด คือ บึงกาฬ ที่มีผู้ประกอบการธุรกิจเพียงแค่ 11,957 ราย ส่วนธุรกิจในภาคอีสานที่มี SME มากที่สุด อันดับที่ 1 ร้านขายของชำ 128,475 ราย อันดับที่ 2 ร้านอาหาร 65,285 ราย อันดับที่ 3 การขายปลีกสินค้าในร้านค้าทั่วไป 41,377 ราย หมายเหตุ: เป็นข้อมูลจำนวน SME ในภาคอีสาน ปี 2566 อ้างอิงจาก: – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) …

พาจอบเบิ่ง SMEs แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจบ้านพักคนชรา

ในตอนนี้ที่หลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้รวมถึงประเทศไทย เริ่มประสบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ การเกิดใหม่ของประชากรต่ำและมีอัตราผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น จากสาเหตุหนุ่มสาวอยู่เป็นโสดและถึงจะแต่งงานก็นิยมไม่มีลูก จากปัญหาหลาย ๆ อย่าง เช่น ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นต้น จากเหตุการณ์นี้ทำให้ประเทศไทยเริ่มต้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเรื่องนี้ในอีกไม่กี่ปีจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยรวมของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลถึงเศรษฐกิจ ไลฟ์สไตล์และสังคมอย่างมาก ถึงแม้ปัญหาผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่ถ้ามีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะตามมาก็คือโอกาสในการสร้างธุรกิจอย่างมากมาย โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาฯ เกี่ยวกับบ้านพักในวัยชรา ได้รับอานิสงส์ของการเปลี่ยนไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปัจจุบันก็มีหลากหลายแบบให้เลือกอยู่ ธุรกิจอสังหาฯ แบบไหนที่เหมาะกับผู้สูงอายุ 1. บ้านพักคนชรา จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีผู้ลงทุนทั้งเล็กและใหญ่ หันมาสนใจธุรกิจอสังหาฯ โดยเฉพาะการสร้างบ้านพักคนชรา เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าวัยกลางคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยเกษียณ คนกลุ่มนี้จะมีกำลังทรัพย์ค่อนข้างสูง และจุดแข็งของธุรกิจอสังหาฯ ประเภทบ้านพักคนชรานั่นก็คือมีสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมกับมีทีมแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ในปัจจุบันมีบ้านพักคนชราหลากหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบของบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม หรือห้องพัก ที่มีหลากหลายราคาให้ได้จับจอง สำหรับใครที่คิดอยากจะลงทุนอสังหาฯ ประเภทบ้านพักคนชราอาจต้องใช้เงินลงทุนที่สูงในช่วงแรก ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ในระยะยาวสามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง หากเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว 2. บ้านหรือคอนโด ผู้สูงอายุ ธุรกิจอสังหาฯ ประเภทบ้านหรือคอนโดมิเนียม ในตอนนี้มีทั้งการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน ให้ความสนใจเกิดโครงการใหม่ ๆ มากมายทั่วประเทศ จุดเด่นของบ้าน หรือคอนโดสำหรับผู้สูงอายุ คือ ทั้งโครงการจะเป็นกลุ่มผู้อาศัยเฉพาะคนสูงวัยหลังเกษียณ มาอยู่รวมกันเป็นชุมชน สำหรับราคาของบ้าน หรือคอนโดแบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มกลางไปถึงสูง เพราะตัวโครงการส่วนใหญ่จะในรูปแบบของการเช่าในระยะยาวหลัก 10 ปี บางแห่งก็ต้องซื้อแบบขายขาดเท่านั้น และข้อสังเกตสำหรับธุรกิจอสังหาฯ ประเภทบ้าน หรือคอนโดสำหรับผู้สูงอายุอีกข้อก็คือ จะไม่มีแพทย์ หรือพยาบาล คอยดูแลเราแบบใกล้ชิด และการทำความสะอาดที่พัก ผู้สูงวัยก็ต้องทำด้วยตัวเอง 3. เนอร์สซิ่งโฮม เนอร์สซิ่งโฮมจะเป็นธุรกิจประเภทที่ให้ลูกค้าผู้สูงอายุที่ต้องการมาพักฟื้นดูแลร่างกายในระยะสั้น ๆ เช่น ผู้สูงอายุที่มีอาการบาดเจ็บจากการหกล้ม หรือผู้ที่ต้องการทำกายภาพบำบัด เข้ามารักษาตัว เมื่อรักษาหายมีสุขภาพดี ก็สามารถกลับไปอยู่ที่บ้านได้อย่างปกติ ในตอนนี้ส่วนใหญ่ผู้ลงทุนทำธุรกิจเนอร์สซิ่งโฮม จะเป็นผู้ลงทุนขนาดกลางหรือเล็ก ที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก สำหรับจุดแข็งธุรกิจอสังหาฯ แบบเนอร์สซิ่งโฮม ก็คือ มีผู้เชี่ยวชาญ เช่น พยาบาล หรือทีมแพทย์ให้ความช่วยเหลือเราในระหว่างที่เราเข้าพัก สำหรับใครที่อยากจะลงทุนทำธุรกิจอสังหาฯ ประเภทเนอร์สซิ่งโฮมให้ประสบความสำเร็จ คือ การทำราคาให้เหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจสามารถคืนทุนได้ไว และสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง การเริ่มต้นคือมองหาบ้านเดี่ยว มาปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เปลี่ยนพื้นที่ห้องรับแขกของบ้าน ให้มีเตียงดูแลผู้ป่วย 3-5 เตียงก็ได้ ใช้พื้นที่สวนนอกบ้านเพิ่มอุปกรณ์สำหรับทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น และอาจจ้างพยาบาลมาดูแลผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจกรรมการดูแลรักษาในสถานที่ที่มีที่พักและมีคนดูแลประจำ สำหรับผู้สูงอายุ (รหัสประเภทธุรกิจ 87301) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – Krungsri Plearn Plearn – iCare Seniors …

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจบ้านพักคนชรา อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง จำนวนสาขา 7-11 ในภาคอีสานมีส่ำใด๋

ผลประกอบการในไตรมาส 2 ปี 2566 ของบริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง หลายธุรกิจมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนภายหลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลง และหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนที่รายได้สูงมากเป็นอันดับต้น นั่นคือ บมจ. ซีพี ออลล์ (CPALL) ที่ในไตรมาสสองกวาดรายได้รวม 454,021 ล้านบาท และกำไรรวม 8,561 ล้านบาท ซึ่งรายได้ของ CPALL แบ่งเป็น 51% รายได้จากธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค เช่นธุรกิจของ แม็คโคร โลตัส ส่วนอีก 49% มาจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อ (7-Elven) และธุรกิจอื่นๆ ซึ่งปัจจุบัน 7-Eleven ไตรมาส 2 ปี 2566 มีสาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งสิ้น 1,814 สาขา 5 อันดับจังที่มีจำนวนสาขา 7-11 มากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา จำนวน 299 สาขา อันดับที่ 2 ขอนแก่น จำนวน 238 สาขา อันดับที่ 3 อุบลราชธานี จำนวน 158 สาขา อันดับที่ 4 อุดรธานี จำนวน 154 สาขา อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ จำนวน 111 สาขา หมายเหตุ: เป็นข้อมูลจำนวนสาขา 7-11 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2566 อ้างอิงจาก: – CP ALL – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #CPALL #7Eleven

พามาฮู้จัก “สุกี้จินดา” หม่าล่าหม้อไฟสายพานเจ้าแรกในไทย

จุดเริ่มต้นของ “สุกี้จินดา” เป็นอย่างไร? ย้อนไปเมื่อ 7 ปีก่อน คุณดา-นพรดา วาวีเจริญสิน เคยทำงานเป็นมัคคุเทศก์นำนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทย ต่อมาเกิดโควิดระบาด ส่งผลให้กรุ๊ปทัวร์หาย ความที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เกิดและเติบโตในเมืองไทย ทำให้เธอต้องหันหลังกลับต่างจังหวัดและคิดหาอาชีพใหม่ โดยนึกได้ว่า เคยเห็นร้านสุกี้หม่าล่าสายพานที่ประเทศจีน ซึ่งร้านแบบนี้ยังไม่ค่อยได้เห็นในไทยเท่าไหร่นัก เธอจึงได้นำไอเดียดังกล่าวมาสร้าง “ร้านสุกี้จินดา” ร่วมกับพี่สาว จุดเด่นของร้านสุกี้จินดา อย่างแรก คือ การเสิร์ฟเมนูด้ายสายพาน คุณดานำไอเดียนี้มาจากประเทศจีนเช่นเดิม ซึ่งสายพานช่วยให้ลูกค้าสนุกเมื่อได้หยิบจับเมนู ไม่ต้องลุกเดินบ่อยๆ ส่วนวัตถุดิบนั้น ก็นำเสียบไม้และใส่ถาด จุดเด่น อย่างที่สอง ขาดไม่ได้คือ น้ำซุป เจ้าของร้านแนะนำ สูตรนี้ตำรับจีนแท้ๆ มีให้เลือกถึง 7 รสชาติ คือ ซุปกระดูกหมู ซุปกระดูกไก่ ซุปเห็ดหอม หม่าล่าเผ็ดน้อย หม่าล่าเผ็ดลิ้นชา ซุปต้มยำกุ้ง ซุปมะเขือเทศ และในเร็วๆ นี้เตรียมชิมรสชาติออกใหม่เรียกว่า หม่าล่าน้ำข้น และจุดเด่นข้อสาม ถ้าใครมาคนเดียว ไม่ต้องกลัวเหงาหรือเขิน เพราะร้านสุกี้จินดา ให้บริการหม้อคนเหงา เจ้าของร้านอธิบาย “ร้านชาบูสไตล์จีนที่อื่นส่วนใหญ่ใช้หม้อใหญ่ โต๊ะใหญ่ ถ้าไปคนเดียว จะรู้สึกเขินๆ อายๆ แต่ร้านเราให้บริการสุกี้สไตล์หม้อเดี่ยว มาคนเดียวก็กินได้ ไม่เหงาเพราะมีเพื่อนร่วมโต๊ะเต็มไปหมด เป็นสิบๆ คนได้” อย่างไรก็ตาม จากธุรกิจนี้ ร้านสุกี้จินดาสามารถสร้างรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายราวๆ 6 หลักต่อเดือนต่อสาขา และเป้าหมายในอนาคต คือ ขยายสาขาไปทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 สาขา หรือ 77 จังหวัดทั่วประเทศ อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ – PPTV HD36 ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #สุกี้จินดา #สุกี้หม่าล่าสายพาน

ฟ้าวมาเบิ่ง รายชื่อ “หุ้นปันผล” ที่อยู่ในภาคอีสาน ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 21 – 25 สิงหาคม 66

เปิดรายชื่อบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลปี 2566 จากผลประกอบการในงวดครึ่งปีแรก (1 ม.ค. 2566 – 30 มิ.ย.2566) โดยขึ้นเครื่องหมาย XD ตั้งแต่วันที่ 21 – 25 สิงหาคม 2566 และเริ่มทยอยจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในเดือนกันยายน 2566 ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 21 ส.ค.2566 ขึ้น XD วันที่ 21 สิงหาคม 2566 RPH : บริษัท โรงพยาบาลราชพฤกษ์ จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.11 บาท กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล ( record date ) 22 ส.ค. 2566 วันจ่ายปันผล 4 ก.ย. 2566 ขึ้น XD วันที่ 25 สิงหาคม 2566 NER : บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.05 บาท กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (record date) 28 ส.ค. 2566 วันจ่ายปันผล 8 ก.ย. 2566 สามารถดูรายชื่อ “หุ้นปันผล” อื่นๆ ได้ที่ https://www.thansettakij.com/finance/stockmarket/573922… ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #หุ้นปันผล #หุ้นในภาคอีสาน #หุ้น

ชวนเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เดือนกรกฎาคม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 49.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -0.8 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน? เศรษฐกิจในพื้นที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะกลุ่มผลิตเสื้อผ้า ไม้ และพลาสติก จากต้นทุนค่าขนส่งเป็นสําคัญ และได้รับอานิสงส์จากวันหยุดยาวไม่มากนัก เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ส่วนภาคการเกษตรยังขยายตัวได้ดีในช่วงฤดูเพาะปลูก หมายเหตุ: ดัชนี SMEs มีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าฐานเท่ากับ 50 ดัชนี > 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ดีขึ้น” จากเดือนก่อนหน้า ดัชนี = 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ทรงตัว” จากเดือนก่อนหน้า ดัชนี < 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า อ้างอิงจาก: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #SMEs #ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเดือนกรกฎาคม #ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ

พามาฮู้จัก “BEARHOUSE” ชานมไข่มุกที่กำลังรุกตลาดอีสาน

BEARHOUSE คือ ร้านชานมไข่มุกเปิดใหม่ย่านสยามสแควร์ของยูทูบเบอร์ชื่อดังเจ้าของแชนเนล Bearhug อย่าง คุณซาน–ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช และ คุณกานต์–อรรถกร รัตนารมย์ โดยจุดเด่นของร้านอยู่ที่ไข่มุกโมจิเคี้ยวหนึบหนับที่เขาและเธอคิดสูตรและผลิตขึ้นโดยมีแป้งข้าวไทยเป็นส่วนประกอบ จุดเริ่มต้นของ “BEARHOUSE” เป็นอย่างไร? ย้อนกลับไปถึงวันที่คุณซานที่ชื่นชอบชานมไข่มุกเจ้าหนึ่งที่เคยได้ชิมที่ต่างประเทศมาก และอยากกินรสชาตินั้นทุกวัน จนถึงขั้นติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์มาเปิดในประเทศไทย แต่คำพูดที่ว่า “ทำไมเราถึงไม่ทำชานมไข่มุกแบรนด์คนไทยให้คนต่างชาติต่อแถวซื้อบ้าง ทำไมเราถึงไม่ส่งออกของไทยบ้าง” ของคุณกานต์ หุ้นส่วนคนสำคัญของร้านนี้ ก็ทำให้คุณซานฉุกคิดและมีภาพร้านชานมไข่มุกของตัวเองปรากฏขึ้นในใจ คุณซานใช้เวลาพัฒนาสูตรต่างๆนานถึง 6-7 เดือน ก่อนจะเกิดเป็น “BEARHOUSE” เป้าหมายของ “BEARHOUSE” ในอนาคต ปี 2566 นี้วางแผนที่จะขยายร้านเพิ่มอีก 10 สาขา เพื่อให้สิ้นปีนี้มีครบ 33 สาขาในไทย จากขณะนี้ 23 สาขาโดยดำเนินการเองทั้งหมดไม่มีการขายแฟรนไชส์แต่อย่างใด ยังคงเน้นไปที่ กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคอีสานมากขึ้น เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เน้นเปิดตามศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ มากกว่าเปิดแบบสแตนด์อโลน ส่วนปีหน้าคาดว่าจะเริ่มขยายไปทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และภาคใต้เช่น หาดใหญ่ นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะขยายตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกันภายในปี 2568 ซึ่งเอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะเป็นรูปแบบใดดี การขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์กับการหาผู้ร่วมทุน ส่วนแผนระยะยาว ตั้งเป้าเปิดร้านแบร์เฮาส์ให้ได้รวมในไทย 109 สาขา ภายในปี 2571 และมีแผนที่จะเข้าตลาดหุ้นด้วย เบื้องต้นมองไปที่ตลาด MAI ก่อน ในส่วนยอดขายที่ผ่านมา ในปี 2562 มีประมาณ 17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 82 ล้านบาท ในปี 2563 และเพิ่มขึ้นเป็น 104 ล้านบาท ในปี 2564 ส่วนปี 2565 ทำได้ 210 ล้านบาท ซึ่งเติบโตมากถึง 79% ซึ่งผู้บริหารทั้งสองยืนยันว่า เป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในตลาดร้านชาในไทย ซึ่งการเติบโตเป็นผลมาจากการที่ขยายสาขามากขึ้น และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเมนูใหม่ๆต่อเนื่อง และการมีผลิตภัณฑ์อื่นๆเพิ่มเติม จำหน่ายในร้าน เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้หลากหลาย ทั้งนี้ยอดขายเฉลี่ยของร้านแบร์เฮาส์มีประมาณ 8,000 แก้วต่อวัน แบ่งเป็น ซื้อหน้าร้านหรือวอล์กอิน 60% และดีลิเวอรี่ 40% ขณะที่ปีนี้ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 50% อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – ผู้จัดการออนไลน์ – a day ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : …

พามาฮู้จัก “BEARHOUSE” ชานมไข่มุกที่กำลังรุกตลาดอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อาณาจักร เต่าบิน ในภาคอีสาน

นายณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น FSMART เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนเดินหน้าในการขยายตู้อัตโนมัติ เครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า “GINKA Charge Point” รวมถึงตู้จำหน่ายเครื่องดื่มชงสดอัตโนมัติ “เต่าบิน” อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง โดยวางแผนจะตั้งตู้เต่าบินให้ได้ 1 หมื่นตู้ ภายในสิ้นปีนี้ โดยผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของตู้เต่าบิน พบว่า มีจำนวนยอดขายเครื่องดื่ม อยู่ที่ 19.56 ล้านแก้ว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 9.95 ล้านแก้ว โดยมียอดขายอยู่ที่ 592 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 346 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทมีแผนจะขยายจุดติดตั้งในพื้นที่ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีให้บริการอยู่ 6,142 ตู้ทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566) จากแผนที่วางไว้ปีนี้ที่ 8,500-10,000 ตู้ ทั้งหมดจะช่วยสนับสนุนให้กลุ่มลูกค้าประจำ และเพิ่มลูกค้ากลุ่มใหม่เข้าถึงบริการ และมีโอกาสซื้อเครื่องดื่มจากตู้จำหน่ายเครื่องดื่มชงสดอัตโนมัติ “เต่าบิน” มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น 26.71% ของ FSMART ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 บริษัทมีรายได้ 509 ล้านบาท ลดลง 0.2% เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลง 12.7% เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อจะลดลง แต่กำลังซื้อของผู้บริโภคของกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางยังไม่มาก จากราคาสินค้าที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดเติมเงินไม่เติบโตเท่าที่ควร แต่บริษัทยังสามารถรักษายอดใช้บริการและฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนกำไรสุทธิ 74.32 ล้านบาท ลดลง 4.3% เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จากยอดเติมเงินที่ลดลงเล็กน้อย และจากการรับรู้กำไรส่วนได้เสียจากเงินลงทุน และควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อ้างอิงจาก: – TAO BIN – THAIRATH Money ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #TAOBIN #เต่าบิน

Scroll to Top