จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า อัตราการเติบโตของทุนจดทะเบียนและ จำนวนนิติบุคคลในจังหวัดอีสาน ปี พ.ศ.2566 เทียบกับปี พ.ศ.2565 จะพบว่า 1 ปีที่ผ่านมา แน้มโนมจำนวนการจัดตั้งธุรกิจหรือ จดทะเบียนนิติบุคคลในแต่ละจังหวัดของอีสานมีจำนวนที่น้อยลง อย่างเห็นได้ชัด โดยมีเพียง 2 จังหวัดเท่าที่มีจำนวนการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น คือ หนองบัวลำภู และ ขอนแก่น ที่ 4% และ 2% ตามลำดับ
ส่วนอัตราการเติบโตของทุนจดทะเบียน ใน 1 ปีที่ผ่านมาก็จะพบว่าแน้วโน้มของธุรกิจที่มาจดทะเบียนใหม่ในแต่ละจังหวัดใช้เงินทุนจดทะเบียนน้อยลงอย่างชัดเจน มีเพียง 5 จังหวัดเท่านั้น ที่มีผู้จดทะเบียนนิติบุคคลรายใหม่ใช้เงินจดทะเบียนมากขึ้น ได้แก่ ร้อยเอ็ด ยโสธร ชัยภูมิ กาฬสินธุิ์ และ ขอนแก่น โดยมีนครพนมที่ทุนจดทะเบียนยังคงที่ ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่เหลือกลับลดลง
ซึ่งสามารถยกตัวอย่างง่ายๆ ได้ว่า หาก ปีที่แล้ว(พ.ศ.2565) จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้จดทะเบียนนิติบุคคล ด้วยทุนจดทะเบียนเฉลี่ย 100,000 บาท ปีนี้(พ.ศ.2566) ผู้จดทะเบียนนิติบุคคล จะใช้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 13% หรือเป็นเป็นเงินทุนเฉลี่ย 113,000 บาท นั่นเอง
แต่กลับกันใน 1 ปีที่ผ่านมา หากร้อยเอ็ด มีจำนวนผู้จดทะเบียนทั้งหมด 100 ราย ปีนี้จะมีจำนวนผู้จดทะเบียนเพียงแค่ 97 ราย หรือลดลง 3%
.
โดยตัวเลขจำนวนการจัดตั้งธุรกิจหรือ จดทะเบียนนิติบุคคล สามารถแสดงให้เห็นว่าในแต่ละจังหวัดมีจำนวนผู้ประกอบการรายใหม่ เติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้าหรือไม่
และตัวเลขอัตราการเติบโตของทุนจดทะเบียน ก็สามารถแสดงให้เห็นถึงขนาดของธุรกิจรายใหม่ในแต่ละจังหวัด
.
ซึ่งถ้าหากจังหวัดไหน มีจำนวนผู้จดทะเบียนนิติบุคคลลดลง แต่ผู้จดทะเบียน กลับมีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น อาจแสดงให้เห็นว่า จังหวัดนั้นๆ มีผู้ประกอบการรายใหญ่มากขึ้น หรือมีการลงทุนในบางกลุ่มธุรกิจมากขึ้น แต่จำนวนรวมของผู้ประกอบการในจังหวัดทั้งหมดกลับน้อยลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น ร้อยเอ็ด
แต่ถ้ามีจำนวนผู้จดทะเบียนนิติบุคคลเพิ่มขึ้น แต่ผู้จดทะเบียน กลับมีทุนจดทะเบียนลดลง อาจแสดงให้เห็นว่า จังหวัดนั้นๆ มีจำนวนผู้ประกอบการรายเล็กเพิ่มมากขึ้น แต่อาจยังไม่มีการลงทุนรายใหญ่เกิดขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น หนองบัวลำภู
.
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ#การเงินอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #เศรษฐกิจถิ่นอีสาน#IsanEcon