ทำความฮู้จัก ควายไทย บ้านเฮา
ควายปลัก & ควายแม่น้ำ
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ถือเป็น “วันอนุรักษ์ควายไทย” ควายในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นควายบ้านหรือควายป่า ต่างก็มีความผูกพันกับการดำรงชีพของคนไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานโดยเฉพาะภาคการเกษตร เพราะควายสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนจัด และยังช่วยทุ่นแรงได้เป็นอย่างดี
ควายไทยถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างช้านาน ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีความอดทน ทนแดด ทนร้อน ทนสภาพอากาศแห้งแล้งได้ ทำให้กลายเป็นเครื่องมือไถนาชั้นดี นอกจากนี้แล้วการเดินทางในสมัยก่อนก็ยังใช้ควายเทียมเกวียน เพื่อทุ่นแรงในการเดินทางไกลอีกด้วย แต่ปัจจุบันควายไทยถูกลดความสำคัญลง จนกลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น
สถานการณ์ควายไทย ในปี 2565 มีทั้งหมด 1,741,141 ตัว โดยแบ่งเป็นเพศเมีย 1,251,030 เพศผู้ 490,111 โดย 10 อันดับแรกมาจากภาคอีสานทั้งหมดเลยทีเดียว นั่นคือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สกลนคร นครราชสีมา นครพนม ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อุดรธานี ตามลำดับ
ควายไทยเป็นที่รู้กันว่ามีราคาที่สูงมาก ซึ่งรายได้จากควายถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ กลุ่มเลี้ยงควายพันธุ์ หรือควายสวยงาม และกลุ่มควายเนื้อ หรือเลี้ยงเพื่อขายเนื้อหนังของควาย โดยราคาของควายเนื้อ คือ
เพศผู้น้ำหนัก 600 กก. ราคาอยู่ที่ 85-88 บาท/ กก. หรือประมาณ 50,000 – 52,000 บาท
เพศผู้น้ำหนัก 500 กก. ราคาอยู่ที่ 83-85 บาท/ กก. หรือประมาณ 41,500 – 42,500 บาท
สามารถรีดน้ำเชื้อและฝากทับได้เช่นกัน สำหรับราคาน้ำเชื้อชุดนึงอยู่ที่ 5,000 – 30,000 บาท/ ชุด (ชุดนึงมี 10 โดส) โดยการรีดน้ำเชื้อขึ้นอยู่กับพ่อพันธุ์บางตัวรีดได้ทุก 2-3 อาทิตย์ บางตัว 2-3 เดือน และอายุของพ่อพันธุ์ที่รีดน้ำเชื้อได้อยู่ที่ 2.5 – 3 ปี สำหรับราคาฝากทับ หรือฝากผสมอยู่ที่ 5,000 บาท/ ครั้ง ถ้าต้องการฝากทางฟาร์มเลี้ยงดูต่อราคาอยู่ที่ 100 – 150 บาท/ วัน
.
อ้างอิงจาก:
กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สํานักงานปศุสัตว์อําเภอ
ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (IBIC) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้จัดการออนไลน์ และ thematter
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ควายไทย #ควายปลัก #ควายแม่น้ำ #บุรีรัมย์ #สุรินทร์ #อุบลราชธานี