เรื่องของ “งัว”
จำนวนโคเนื้อ และ ตลาดนำเข้า-ส่งออก ของไทย 2565
กับข้อได้เปรียบจากการเลี้ยง เพื่อการส่งออกของอีสาน
🐂 จำนวนโคเนื้อ
ในปี 2565 ประเทศไทยมีโคเนื้อกว่า 9.39 ล้านตัว โดยภูมิภาคที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด คือ ภาคอีสาน 3.97 ล้านตัว (56.1%) รองลงมาเป็น ภาคกลาง 1.53 ล้านตัว (16.3%) ภาคเหนือ 1.45 ล้านตัว (15.5%) และภาคใต้ 1.13 ล้านตัว (12.1%)
🥩 การนำเข้า-ส่งออกโคเนื้อ
ก่อนอื่นต้องรู้ว่า การนำเข้า-ส่งออก สินค้าที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อ จะแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้
- โคเนื้อมีชีวิต ประกอบด้วย โคมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ และโคมีชีวิตอื่น ๆ
- เนื้อโคและส่วนอื่นที่กินได้ ประกอบด้วย เนื้อโคสดแช่เย็น เนื้อโคสดแช่แข็ง และเครื่องในโคเนื้อและส่วนอื่นที่บริโภคได้
- ผลิตภัณฑ์เนื้อโค เช่น เนื้อโคแปรรูป
📌 ข้อได้เปรียบจากการเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อการส่งออกของอีสาน
สำหรับภาคอีสาน นอกจากจะเป็นภูมิภาคที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด เหมาะกับการต่อยอด ยังมีความได้เปรียบด้านแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น กากมันสำปะหลัง ฟางข้าว และเปลือกข้าวโพด ที่นิยมนำมาผสมเป็นอาหารข้นเลี้ยงโคขุน เนื่องจากมีราคาถูก และให้คุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารหยาบ (หญ้าสด) รวมไปถึงความได้เปรียบในเส้นทางคมนาคมไปจีน
ที่มา: สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมปศุสัตว์,
https://region6.dld.go.th/webnew/pdf/zoo65/T2-1-Cattle.pdf,
https://www.salika.co/2020/12/10/thailand-meat-industry-go-inter/
และ https://pasusart.com/การเลี้ยงโคขุน-ไม่ยาก-แ/
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โคเนื้อ #ส่งออก #นำเข้า #สุรินทร์ #นครราชสีมา #อุบลราชธานี