จังหวัด | GPP |
นครราชสีมา | 343,510 ล้านบาท |
ขอนแก่น | 225,107 ล้านบาท |
อุบลราชธานี | 143,160 ล้านบาท |
อุดรธานี | 124,478 ล้านบาท |
บุรีรัมย์ | 108,467 ล้านบาท |
สุรินทร์ | 92,775 ล้านบาท |
ร้อยเอ็ด | 85,660 ล้านบาท |
ศรีสะเกษ | 83,905 ล้านบาท |
ชัยภูมิ | 78,665 ล้านบาท |
สกลนคร | 71,494 ล้านบาท |
มหาสารคาม | 69,450 ล้านบาท |
กาฬสินธุ์ | 66,077 ล้านบาท |
เลย | 62,798 ล้านบาท |
นครพนม | 52,184 ล้านบาท |
หนองคาย | 48,887 ล้านบาท |
ยโสธร | 34,343 ล้านบาท |
หนองบัวลำภู | 32,332 ล้านบาท |
มุกดาหาร | 31,189 ล้านบาท |
บึงกาฬ | 29,879 ล้านบาท |
อำนาจเจริญ | 24,053 ล้านบาท |
โครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาคการบริการ | 816,521 ล้านบาท |
ภาคการผลิต | 386,347 ล้านบาท |
ภาคการเกษตร | 378,955 ล้านบาท |
ภาคการค้า | 226,591 ล้านบาท |
GRP ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
ปี 2552 | ปี 2554 | ปี 2556 | ปี 2558 | ปี 2560 | ปี 2562 | ปี 2564 | ปี 2566 |
938,863 ล้านบาท | 1,150,743 ล้านบาท | 1,373,084 ล้านบาท | 1,363,564 ล้านบาท | 1,510,987 ล้านบาท | 1,580,912 ล้านบาท | 1,691,117 ล้านบาท | 1,808,413 ล้านบาท |
มูลค่าเศรษฐกิจภาคอีสานเติบโตขึ้นกว่า 93% เมื่อเทียบกับปี 2552
หมายเหตุ: GPP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด) = ผลรวมของมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ของจังหวัดต่างๆ
GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน
.
.
ในปี 2566 ภาคอีสานมีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกว่า 1,808,413 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าในส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 10.1% ของมูลค่า GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 18 ล้านล้านบาท
.
ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2552 – 2566) เผยให้เห็นภาพรวมของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ที่มีการเติบโตกว่า 93% เมื่อเทียบกับปี 2552 การพิจารณาข้อมูล GRP เป็นรายปีแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังปี 2556 ที่ GRP มีอัตราการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเพิ่มขึ้นจาก 1,373,084 ล้านบาท ในปี 2556 สู่ 1,808,413 ล้านบาท ในปี 2566 เป็นสัญญาณบวกที่แสดงถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
.
5 อันดับจังหวัดที่มี GPP สูงสุด
- นครราชสีมา มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 343,510 ล้านบาท
- ขอนแก่น มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 225,107 ล้านบาท
- อุบลราชธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 143,160 ล้านบาท
- อุดรธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 124,478 ล้านบาท
- บุรีรัมย์ มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 108,467 ล้านบาท
.
จะเห็นว่า จังหวัดที่กล่าวมา มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันกว่า 944,723 ล้านบาท หรือ 52.2% ของมูลค่าเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน แสดงให้เห็นว่า ความมั่งคั่งของคนในภาคอีสานมีความกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัด ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานจากจังหวัดในภาคอีสานจำนวนมากไปทำงานใน 5 จังหวัดที่มั่งคั่งดังกล่าว และบางส่วนอาจย้ายเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อหาโอกาสในชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของภาคอีสานไม่ได้ถูกขับเคลื่อนให้กระจายไปแต่ละพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร
.
โครงสร้างเศรษฐกิจของภาคอีสาน
- ภาคการบริการ มีมูลค่ากว่า 816,521 ล้านบาท
- ภาคการบริการ มีมูลค่า 386,347 ล้านบาท
- ภาคการเกษตร มีมูลค่า 378,955 ล้านบาท
- ภาคการค้า มีมูลค่า 226,591 ล้านบาท
.
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของภูมิภาคกำลังเผยให้เห็นสิ่งใหม่ที่น่าจับตา โดยข้อมูลล่าสุดชี้ชัดว่า “ภาคการบริการ” ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเสาหลักสำคัญ ด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงถึง 816,521 ล้านบาทฃ ทิ้งห่างภาคส่วนอื่นๆ อย่างชัดเจน สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่กำลังพลิกโฉมหน้าเศรษฐกิจอีสาน
.
การเติบโตของภาคบริการในอีสานนั้น เป็นผลลัพธ์จากการขยายตัวของหลากหลายอุตสาหกรรมย่อย ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยวที่ดึงดูดเม็ดเงินจากทั้งในและต่างประเทศ ภาคการค้าปลีกและค้าส่งที่เติบโตตามการขยายตัวของเมืองและกำลังซื้อ ภาคการศึกษาและสุขภาพที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงภาคโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงอีสานสู่ภูมิภาคอื่นๆ และประเทศเพื่อนบ้าน การเติบโตเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความหลากหลายและความสามารถในการปรับตัวของเศรษฐกิจอีสาน ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคการเกษตรดั้งเดิมอีกต่อไป
.
.
“โคราช” ผงาดค้ำเศรษฐกิจอีสาน บทวิเคราะห์เชิงลึกปรากฏการณ์ GPP ที่ทิ้งห่างและนัยยะต่อการพัฒนาภูมิภาค
พาเบิ่ง GPP อีสานล่าสุดปี 2566 สะท้อนภาพความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เมื่อนครราชสีมาเพียงจังหวัดเดียว มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 8 จังหวัดที่เหลือรวมกัน ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่น่าสนใจ แต่ยังซ่อนเร้นพลวัตทางธุรกิจ โอกาส และความท้าทายต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคอีสานโดยรวม
.
GPP ภาคอีสานปี 2566 ตอกย้ำถึงสถานะที่แข็งแกร่งและโดดเด่นของจังหวัดนครราชสีมาอย่างชัดเจน ด้วยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product: GPP) ที่สูงถึง 343,510 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแต่สูงที่สุดในภาคอีสานเท่านั้น แต่ยังมากกว่าผลรวม GPP ของ 8 จังหวัด (เลย, นครพนม, หนองคาย, ยโสธร, หนองบัวลำภู, มุกดาหาร, บึงกาฬ และอำนาจเจริญ) ที่มีมูลค่ารวมกันเพียง 315,664 ล้านบาท
.
ปัจจัยขับเคลื่อน “โคราช” มากกว่าแค่ขนาดพื้นที่
ความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจของนครราชสีมาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรที่มากที่สุดในภาคอีสานเท่านั้น แต่ยังได้รับแรงหนุนจากปัจจัยสำคัญหลายประการ
.
– ศูนย์กลางคมนาคมและโลจิสติกส์ ด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นประตูสู่ภาคอีสาน ทำให้โคราชเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญสำหรับการขนส่งสินค้าและผู้คน ทั้งภายในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นถนน มอเตอร์เวย์ และโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ยิ่งเสริมศักยภาพด้านโลจิสติกส์และดึงดูดการลงทุน
.
– ฐานอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ซึ่งโคราชมีฐานอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ภาคการเกษตรที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาค อุตสาหกรรมการผลิตที่ครอบคลุมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง และชิ้นส่วนยานยนต์ ไปจนถึงภาคบริการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการค้าปลีก ค้าส่ง และการท่องเที่ยว
.
– การเติบโตของภาคบริการและการค้า ในฐานะเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น โคราชเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการบริการที่สำคัญของภาคอีสาน มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ตลาดค้าส่งค้าปลีกที่คึกคัก และภาคการท่องเที่ยว เช่น เขาใหญ่ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
.
– การลงทุนจากภาครัฐและเอกชน การลงทุนอย่างต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และจากภาคเอกชนในการขยายธุรกิจและตั้งโรงงานใหม่ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของโคราช
.
นัยยะเชิงธุรกิจและเศรษฐกิจต่อภาคอีสาน
GPP ที่กระจุกตัวอยู่ในนครราชสีมานี้ ส่งผลกระทบและมีนัยยะสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจำนวนมากเลือกที่จะตั้งฐานการดำเนินงานในนครราชสีมาเพื่อเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ แรงงาน และโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวย ทำให้โอกาสทางธุรกิจและการจ้างงานกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดนี้ และยังเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของ GPP ระหว่างนครราชสีมาและจังหวัดอื่นๆ สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งอาจนำไปสู่การย้ายถิ่นของแรงงาน
.
แม้ว่า GPP ของจังหวัดอื่นๆ จะยังต่ำกว่านครราชสีมา แต่ก็ยังมีศักยภาพในการเติบโต โดยแต่ละจังหวัดมีจุดแข็งและทรัพยากรที่แตกต่างกัน การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของแต่ละจังหวัดอย่างตรงจุด จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสร้างการเติบโตที่สมดุลมากขึ้น
.
ข้อมูล GPP ปี 2566 เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานยังคงเผชิญกับความท้าทายในการกระจายความเจริญ แม้ว่านครราชสีมาจะเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาค แต่การเติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและดำเนินการเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมศักยภาพ
.
.
อ้างอิงจาก:
– สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #GPPอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #นครราชสีมา #ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ #การพัฒนาภูมิภาค
อีสาน 11 ปีที่เปลี่ยนไป พาส่องเบิ่ง รายได้ต่อหัวแต่ละจังหวัด ใครคือ “ดาวรุ่ง” ใครยัง “ท้าทาย”