April 2025

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือ หอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเสนอโครงการ I-SEE (Isan Smart Economic Empowerment) เพื่อสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอีสาน

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือ หอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อขับเคลื่อนหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย I-SEE (Isan Smart Economic Empowerment) นำเสนอโครงการในที่ประชุมคณะกรรมการหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หอการค้าไทย ครั้งที่ 1/2568 ณ โรงแรมฝ้ายขิด อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมขับเคลื่อนโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีสานอินไซต์ (Isan Insight) อีสานโพล (E-Saan Poll) หอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การนำเสนอครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอีสาน ด้วยข้อมูลจริง วิจัยจริง และความร่วมมือที่ยั่งยืน นอกจากนั้น I-SEE (Isan Smart Economic Empowerment) แพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอีสานนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น เอกชน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ นำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้มากขึ้นนั่นเอง 1. หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ (9 พฤษภาคม 2554)  ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ ห้องธรรมาพิบาลชั้น 4 ถ.บึงกาฬ-นครพนม ต.บึงกาฬ อ.เมือง จ.บึงกาฬ 38000 โทร.        095-668-2146 โทรสาร   042-490-855 อีเมล์       thebkchamber@hotmail.com Website  www.bkchamber.com ประธานหอการค้าจังหวัด : นายบุญเพ็ง ลามคำ เลขาธิการหอการค้าจังหวัด : นางสาวชฎา ฐาญาดาพิทักศ์ ประธาน YEC หอการค้าจังหวัด : นายกล้า ไล้ทองดี เลขาธิการ YEC หอการค้าจังหวัด : นางสาวชนันท์กานต์ รุ่งแสง 2. หอการค้าจังหวัดเลย (พฤศจิกายน 2528) 17/19 ถ.พาณิชย์พัฒนา ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000 โทร.        042-832-540, 081-544-5591 โทรสาร   042-832-540 อีเมล์       loeichamber@hotmail.com Website  www.loeichamber.org Facebook  www.facebook.com/loeichamber ประธานหอการค้าจังหวัด : นายธเนศ หาญถนอม เลขาธิการหอการค้าจังหวัด : นายโชติพงค์ คุณานันต์ศักดิ์ ประธาน YEC หอการค้าจังหวัด : นายวิทยา พลน้ำเที่ยง เลขาธิการ YEC หอการค้าจังหวัด : นายจักรกฤช อึ้งเจริญ 3. หอการค้าจังหวัดหนองคาย […]

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือ หอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเสนอโครงการ I-SEE (Isan Smart Economic Empowerment) เพื่อสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

The Secret sauce ร่วมหารือกับ ISAN Insight and Outlook ที่คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 ณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น THE SECRET SAUCE นำโดย คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ (Chief Executive Officer) คุณวิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล (Chief Marketing Officer) คุณปวริศา ตั้งตุลานนท์ (Executive Assistant to CEO) คุณชาคร ฉายเพชร (Head Of Content The Secret Sauce) คุณศุภวษา ศรีหนองโคตร (Project Manager The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025) และทีมงาน THE SECRET SAUCE ร่วมพูดคุยกับ กับ ISAN Insight คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยตัวแทนผู้บริหาร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการ และสื่อสารองค์กร รศ.ดร.จงรักษ์ หงษ์งาม รองคณบดีฝ่ายบริหาร วางแผน และประกันคุณภาพ ในประเด็นการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจอีสาน การพัฒนาจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน และร่วมเป็นพันธมิตรในงาน ISAN Creative Festival และ THE SECRET SAUCE BUSINESS WEEKEND 2025 – อีเวนต์รวมความรู้และ Business Networking ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เพื่อขับเคลื่อนโอกาสทางธุรกิจและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมขับเคลื่อนโดย THE SECRET SAUCE คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีสานอินไซต์ (Isan Insight) อีสานโพล (E-Saan Poll) CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ สศส. ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอีสาน ด้วยข้อมูลพื้นที่วิจัยเชิงลึกและความร่วมมือเครือข่ายการทำงาน เพื่อร่วมผลักดันเศรษฐกิจใหม่และสร้างสรรค์ สู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     พันธมิตร ร่วมงานระหว่าง CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ สศส. ในงาน เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ ปีที่ 5 Isan Creative Festival เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 9 วัน

The Secret sauce ร่วมหารือกับ ISAN Insight and Outlook ที่คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

‘โดนแฮก’ ไปรษณีย์ไทย ยอมรับ ข้อมูลผู้ใช้ 19 ล้านรายหลุดจริง มีทั้งชื่อ เบอร์ อีเมล และข้อมูลในระบบ CRM

ไปรษณีย์ไทยชี้แจงกรณีพบมีผู้ละเมิดข้อมูลผู้ใช้บริการโดยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมการเงิน ไปรษณีย์ไทยออกมายอมรับว่าข้อมูลรั่วไหล หลังจากแฮกเกอร์ประกาศขายข้อมูลบน BreachForum เมื่อวันเสาร์ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ข้อมูลที่คนร้ายประกาศขาย มีทั้งหมด 19 ล้านรายการ น่าจะเป็นข้อมูลระบบ CRM โดยระบุ ชื่อ, นามสกุล, อีเมล, วันเกิด, ข้อมูลติดต่อ, สาขาที่ใช้บริการบ่อย, คะแนนสะสม, ข้อมูลการใช้บริการ ทางไปรษณีย์ไทยระบุว่าได้ปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลนี้ จากนั้นแจ้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ตลอดจนดำเนินการทางด้านกฎหมายแล้ว   บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โพสต์ได้ระบุว่า “บริษัท ไปรษณีย์ ไทย จำกัด ตรวจพบการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล โดยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินใดๆ และนำไปเผยแพร่อยู่บน Dark Web ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวไปรษณีย์ไทยขออภัยและได้ดำเนินการ ปิดช่องทางการเข้าถึงข้อมูลทันที พร้อมคุมเข้มยกระดับมาตรการการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการ รวมถึงได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เพื่อรายงานและร่วมดำเนินมาตรการป้องกันอย่างรัดกุม พร้อมทั้งมีการดำเนินการทางด้านกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้บริการ โดยจะทำการตรวจสอบระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูลผู้ใช้บริการอย่างเข้มงวด ครอบคลุมและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีกในอนาคต ทั้งนี้ หากผู้ใช้บริการพบปัญหาหรือมีข้อสงสัยสามารถ ติดต่อได้ที่ THP Contact Center 1545” โดยเบื้องต้นมีการค้นพบการขายข้อมูลที่หลุดจาก ไปรษณีย์ไทย ที่ BreachForums ซึ่งเป็น dark web บริการและขายข้อมูล ใน Hidden Service     กฎหมาย PDPA ระบุผู้บริโภคมีสิทธิ์ฟ้องได้  ตามกฎหมายแล้ว เมื่อมีข้อมูลรั่วไหล กระทบสิทธิเสรีภาพ ต้องแจ้งให้ #ผู้บริโภค ทราบภายใน 72 ชั่วโมง และหากเกิดความเสียหาย ผู้บริโภคต้องได้รับการเยียวยา | ใครที่ได้รับผลกระทบจากกรณีข้อมูลรั่วไหล ร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือปรึกษา – ร้องเรียนมาที่ สภาองค์กรของผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค โทร 1502  อย่าอ้างว่า…โดนแฮ็ก ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล องค์กรที่ทำข้อมูลหลุดต้องแสดงความรับผิดชอบ กฎหมาย PDPA ต้องบังคับใช้จริง   ทางด้าน ดร. อุดมธิปก ไพรเกษตร ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand กล่าวว่า “ฟ้องได้เลยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สามารถไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคศ.) แต่กฎหมายยังมีอุปสรรคว่ายังเปิดให้ร้องเรียนเป็นรายบุคคลไป การร้องเรียนแบบกลุ่มยังไม่มี แต่นอกจากช่องทางนี้ ยังสามารถฟ้องอาญาได้

‘โดนแฮก’ ไปรษณีย์ไทย ยอมรับ ข้อมูลผู้ใช้ 19 ล้านรายหลุดจริง มีทั้งชื่อ เบอร์ อีเมล และข้อมูลในระบบ CRM อ่านเพิ่มเติม »

‘เครือซีคอน’ เตรียมบุก ‘เซ็นทรัลอุดรฯ’ เปิดสวนสนุก “โยโย่แลนด์” พื้นที่ความสุขของครอบครัว สวนสนุกในร่มที่ใหญ่ที่สุดในแดนอีสาน

เครือซีคอน เตรียมบุก อุดรฯ เปิดสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในอีสาน ณ เซ็นทรัล อุดรฯ หลายคนอาจจะคุ้นชื่อกับ “ซีคอน” แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างสรรค์ความสุขและความสะดวกสบายให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ธุรกิจของ เครือซีคอน ขยายเติบโตไปหลายหลากสาขธุรกิจ เริ่มต้นจากธุรกิจก่อสร้างที่มั่นคง ก่อนจะขยายอาณาจักรของตนเองไปยังธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าที่คุ้นเคยของชาวไทยอย่าง ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์, โยโย่แลนด์ สวนสนุกที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ, รองเท้านันยาง ที่นักเรียนทุกคนต้องรู้จัก, และแม้แต่ผงชูรสที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารอย่างผงชูรสตราชฎา แต่สิ่งที่ทำให้ “เครือซีคอน” โดดเด่นไม่เหมือนใคร คือความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า ไม่เพียงแค่การแสวงหาผลกำไร แต่เป็นการสร้างคุณค่าให้กับสังคม และในวันนี้ “เครือซีคอน” กำลังจะเดินทางไปยังจังหวัดอุดรธานี ดินแดนที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สวยงาม พวกเขาตั้งใจที่จะนำความสุขและความสนุกสนานไปสู่ชาวอีสาน โดยการเปิดตัวสวนสนุก “โยโย่แลนด์” สวนสนุกแห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่เป็นแหล่งแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของชาวอุดรธานีอีกด้วย การเดินทางครั้งนี้เต็มไปด้วยความท้าทาย จะสามารถสร้าง “โยโย่แลนด์” ให้กลายเป็นสถานที่ที่สร้างความสุขและความทรงจำที่ดีให้กับชาวอุดรธานีและผู้มาเยือนจากทั่วทุกสารทิศ ISAN Insight พามาเบิ่ง สวนสนุกโยโย่แลนด์ พื้นที่ความสุขของครอบครัวสู่แดนอีสาน สวนสนุกโยโย่แลนด์ เป็นสวนสนุกที่อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท ซีคอน ดีลเวลลอปเม้น จำกัด มหาชน เป็นสวนสนุกในร่มที่เปิดให้บริการมายาวนาน โดยตั้งอยู่ภายใน ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ให้บริการความสนุกแก่เด็กๆ และครอบครัวมายาวนานถึง 30 ปี เดิมทีสวนสนุกโยโย่แลนด์ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นจุดดึงดูดให้ครอบครัวได้มาทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่ของตัวห้าง สวนสนุกโยโย่แลนด์ให้ความสำคัญกับการเป็นพื้นที่แห่งความสุขและการเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ โดยมีเครื่องเล่น และโซนกิจกรรมที่ออกแบบให้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-12 ปีและครอบครัวพัฒนาการของสวนสนุกโยโย่แลนด์ ยุคแรกเริ่ม: เปิดตัวเป็นสวนสนุกแบบ OUTDOOR ขนาดใหญ่ มีเครื่องเล่น มีเวทีทำการสำแสดงเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้มาโชว์ความสามารถ ปรับโซนสวนสนุกจาก OUTDOOR เป็น INDOOR และเครื่องเล่น: มีการเพิ่มเครื่องเล่นหลากหลาย ประเภท เช่น รถไฟเหาะ, บั๊มเปอร์คาร์, บ้านผีสิง และเครื่องเล่นแนวผจญภัย ฉลองครบรอบ 30 ปี : มีการปรับภาพลักษณ์และแนวคิดสวนสนุกให้ทันสมัยมากขึ้น โดยเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ทำให้ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า ทำไม โยโย่แลนด์ ถึงเลือก อุดรฯ เป็นหมุดหมายแรกในการลงทุนในอีสาน อุดรธานีตั้งอยู่ในภาคอีสานตอนบน และมีเขตติดต่อกับจังหวัดชายแดนลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งถือว่าใกล้กับประเทศลาว อีกทั้งอุดรธานี ยังเป็นจังหวัดที่สามารถเดินทางได้สะดวก ทั้งทางถนน ราง และทางเครื่องบิน จึงถือว่ามีศักยภาพสูงในการเป็นศูนย์กลางคมนาคมเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการลงทุนจากภาครัฐในโครงการ “รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย กรุงเทพฯ – โคราช – หนองคาย” โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ระยะด้วยกัน ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253

‘เครือซีคอน’ เตรียมบุก ‘เซ็นทรัลอุดรฯ’ เปิดสวนสนุก “โยโย่แลนด์” พื้นที่ความสุขของครอบครัว สวนสนุกในร่มที่ใหญ่ที่สุดในแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

แม่น้ำชี จากเส้นเลือดใหญ่ของภาคอีสาน สู่ความเปลี่ยนแปลงหลังการสร้างเขื่อน

หากจะกล่าวถึง สายน้ำหลักที่หล่อเลี้ยงผู้คนในดินแดนอีสาน ก็คงหมายถึง น้ำโขง น้ำชี น้ำมูล แม่น้ำสายดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดลุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็น 3 ลุ่มน้ำหลักในอีสาน โดยเฉพาะ“ลุ่มน้ำชี” ซึ่งมีพื้นที่กว่า 49,000 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 27 ลุ่มน้ำสาขา มีพื้นที่ต้นน้ำอยู่ใน จ.ชัยภูมิ และเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำมูล และส่งสู่แม่น้ำโขงที่ จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำชี มาจากภาษาอีสาน ซึ่งคำว่า “ซี” ซึ่งหมายถึงการเจาะทะลุเป็นรู โดยลักษณะต้นกำเนิดของน้ำชีนั้น มีสายน้ำที่ไหลผ่านลอดใต้เทือกเขาหินปูน ที่เรียกว่า “ซีดั้น” และไหลทะลุลอดผ่านมาอีกฝั่งหนึ่งของเทือกเขา เรียกว่า “ซีผุด” จึงทำให้เรียกลำน้ำสายนี้ ตามลักษณะพิเศษที่ลำน้ำไหลซีลอดผ่านใต้เทือกเขานั้นว่า “ลำน้ำซี” ในภาษาถิ่น หรือ ลำนำชี ในภาษากลาง นั่นเอง   ต้นกำเนิด “แม่น้ำชี” แม่น้ำชี มีต้นกำเนิดจากที่ราบด้านตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ นับตั้งแต่เขาสันปันน้ำ เขาแปปันน้ำ เขาเสลียงตาถาด เขาอุ้มน้ำ เขายอดชี เขาครอก จนถึงเขาเทวดา ซึ่งเป็นแนวภูเขาชายเขตแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดชัยภูมิ พามาเบิ่ง 5  แนวเทือกเขาในภาคอีสาน แม่น้ำชี มีต้นกำเนิดอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ไหลผ่าน 9 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่บ้านวังยาง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ ที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีความยาวกว่า 765 กิโลเมตร แม่น้ำชี จึงถูกยกให้เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีลำน้ำสาขาหลัก 5 ลำน้ำ ซึ่งประกอบไปด้วย ลำน้ำพรม ลำน้ำพอง ลำน้ำเซิน ลำน้ำปาว และลำน้ำยัง ลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 49,130 ตร.กม. หรือ 30,706,169 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.56 ของพื้นที่ทั้ง ประเทศ ลุ่มน้ำชียังมีลุ่มน้ำสาขาย่อยที่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน หล่อเลี้ยงชุมชน ทำให้เกิดวีถีชีวิตการดำรงชีพการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำชี โดยสาขาย่อยของลุ่มน้ำชี ประกอบไปด้วย ลุ่มน้ำสาขาลำน้ำชีตอนบน มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 2,551 ตร.กม. หรือ 1,594,250 ไร่ ลุ่มน้ำสาขาลำสะพุง มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 742 ตร.กม. หรือ 463,944 ไร่ ลุ่มน้ำสาขาลำกระจวน มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 893 ตร.กม. หรือ 558,556 ไร่ ลุ่มน้ำสาขาลำคันฉู

แม่น้ำชี จากเส้นเลือดใหญ่ของภาคอีสาน สู่ความเปลี่ยนแปลงหลังการสร้างเขื่อน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐ระดับความสูงของระดับน้ำทะเลของภาคอีสาน ทำไม อีสาน ถึงถูกเรียกว่า ดินแดนแห่งที่ราบสูง?

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ภาคอีสาน” มีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ หนึ่งในคำเรียกขานที่คุ้นหูคือ “ดินแดนที่ราบสูง” ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคนี้. ภาคอีสานมีลักษณะเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 168,854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเด่นคือมีแอ่งขนาดใหญ่ 2 แอ่ง ได้แก่ แอ่งโคราช ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนล่างของอีสาน เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น และมหาสารคาม แอ่งสกลนคร ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนบนของอีสาน เช่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์. จุดสูงสุดของภาคอีสาน หากพูดถึงพื้นที่ที่สูงที่สุดของภาคอีสาน มีสองจุดที่น่าสนใจ ได้แก่ “ภูหมันขาว” (1,820 เมตร) ตั้งอยู่ในจังหวัดเลย เป็นจุดสูงสุดของภูมิภาค มีทัศนียภาพที่งดงามและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ “ภูลมโล” (1,664 เมตร) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเลยและพิษณุโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่เต็มไปด้วยต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทย ยอดภูขวาง ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ความสูง 1,571 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เนิน 1408 จังหวัดเลย ความสูง 1,408 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล. จุดต่ำสุดของอีสาน อำเภอเขื่องใน และอำเภอเมืองอุบลราชธานี ความสูงประมาณ 110-130 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทุ่งกุลาร้องไห้ ความสูงประมาณ 110-140 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งพื้นที่ ลุ่มแม่น้ำมูล หรือ ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 847,000 ไร่ มีอาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด คือ ในแนวทิศเหนือนั้นครอบคลุมอำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย ของจังหวัดร้อยเอ็ด . . ภูมิศาสตร์กายภาพ ภาคอีสานเป็นที่ราบสูงแบบแอ่งแผ่นดินตื้น (Shallow Basin) เรียกกันโดยรวมว่า ที่ราบสูงโคราช(Khorat Plateau) มีรูปร่างคล้ายถ้วยเป็นแอ่งอยู่ตรงกลาง ลาดเอียงจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก บริเวณชายขอบเป็นภูเขาสูง พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหิน มีชั้นหินกรวดมน หินดินดาน และเกลือหิน แทรกอยู่เป็นตอนๆ จากลักษณะทางธรณีวิทยาและอายุของหิน ทำให้ทราบว่าแผ่นดินอีสานอยู่ในช่วงตอนปลายของมหายุคเมโสโซอิก ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเป็นแอ่งทีมีการทับถมของตะกอน บางช่วงได้ยุบจมลง เป็นทะเลตื้น ๆ และเมื่อน้ำทะเลระเหย จึงตกตะกอนเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ทั่วทั้งบริเวณที่ราบต่อมาในมหายุคซีโนโซอิก เกิดการบีบตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดรอยเลื่อนของเปลือกโลกขึ้นทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค เป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันกำแพง และพนมดงรัก ขณะเดียวกันตอนกลางของที่ราบก็เกิดการโค้งตัวขึ้นเป็นสัน จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทือกเขาภูพานแบ่งแอ่งที่ราบต่ำตอนกลางของภาคออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ตอนเหนือเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” ส่วนที่อยู่ทางใต้เรียกว่า “แอ่งโคราช”. 1.แอ่งโคราช พื้นที่ราบเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่

พามาเบิ่ง🧐ระดับความสูงของระดับน้ำทะเลของภาคอีสาน ทำไม อีสาน ถึงถูกเรียกว่า ดินแดนแห่งที่ราบสูง? อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง สถิติแผ่นดินไหวใหญ่รอบประเทศไทย ในช่วง 125 ปีที่ผ่านมา

แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ และการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและทางอ้อม จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 และข้อมูลทางสถิติแผ่นดินไหวในช่วง 125 ปีที่ผ่านมา  พบว่าประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดันกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนรุนแรง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) ประเมินความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน มาจากการหยุดชะงักหรือเลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคบริการและภาคอสังหาริมทรัพย์   นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่าตลาดนักท่องเที่ยวเป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงในระยะสั้นเพิ่มขึ้น และอาจมีการทบทวนประมาณการใหม่อีกครั้ง     ผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ หนึ่งในผลกระทบหลักของแผ่นดินไหวคือความเสียหายต่ออาคาร บ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และเส้นทางคมนาคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง หากแผ่นดินไหวรุนแรงพอ อาจทำให้ตึกสูงหรือโครงสร้างเก่าแก่ถล่มลงมา ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการซ่อมแซมและการฟื้นฟูที่สูงขึ้น อุตสาหกรรมก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างจะได้รับผลกระทบทั้งในด้านลบและด้านบวก โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมและก่อสร้างใหม่อาจได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น    ผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ภาคการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหวต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก แผ่นดินไหวรุนแรงสามารถทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัย รีสอร์ต โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอาจต้องปิดตัวลงชั่วคราวเพื่อซ่อมแซม ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก   ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการผลิต โรงงานและศูนย์การผลิตที่ตั้งอยู่ในเขตแผ่นดินไหวอาจได้รับความเสียหายจากการสั่นสะเทือน ซึ่งอาจทำให้เครื่องจักรเสียหาย การผลิตต้องหยุดชะงัก หรือแม้แต่ต้องย้ายฐานการผลิต ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการผลิตและโลจิสติกส์อาจเผชิญกับปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้นและการจัดส่งสินค้าที่ล่าช้า     แม้ว่าแผ่นดินไหวจะสร้างผลกระทบด้านลบอย่างมาก แต่ในระยะยาว ธุรกิจและเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้เพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต บริษัทที่ให้บริการด้านการก่อสร้าง วิศวกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างต้านแผ่นดินไหวอาจมีโอกาสเติบโต ธุรกิจด้านการประกันภัยอาจพัฒนาแพ็กเกจคุ้มครองภัยพิบัติที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐสามารถใช้โอกาสนี้ในการปรับปรุงมาตรฐานการก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต   แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบเชิงลึกต่อธุรกิจและเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การเงิน และการลงทุน อย่างไรก็ตาม การวางแผนรับมือและการปรับตัวที่ดีจะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวและเติบโตต่อไปได้ในอนาคต     อ้างอิงจาก: – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย – U.S. Geological Survey   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสานอินไซต์ #แผ่นดินไหว #แผ่นดินไหมพม่า #รอยเลื่อนสะกาย #แผ่นดินไหวเมียนมา #เมืองมัณฑะเลย์

พาย้อนเบิ่ง สถิติแผ่นดินไหวใหญ่รอบประเทศไทย ในช่วง 125 ปีที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติม »

🇲🇲พม่า เกิดภัยพิบัติ เอาเงินที่ไหนซ่อมประเทศ เมื่อเศรษฐกิจพังไม่แพ้กัน ประชาชนช่วยกันเอง ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 2.7 พันราย มินอ่องลาย ห้ามนักข่าวต่างประเทศเข้าทำข่าว

พม่า เกิดภัยพิบัติ เอาเงินที่ไหนซ่อมประเทศ เมื่อเศรษฐกิจพังไม่แพ้กัน ประชาชนช่วยกันเอง ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 2.7 พันราย มินอ่องลาย ห้ามนักข่าวต่างประเทศเข้าทำข่าว . ISAN Insight พาไปดู เศรษฐกิจของเมียนมาว่าน่าเป็นห่วงขนาดไหน . จากข้อมูลของธนาคารโลกพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเมียนมาในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2568 คาดว่าจะหดตัวลง 1% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะเติบโต 1% โดยสาเหตุก็เพราะเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว เมียนมาก็เจอพายุไต้ฝุ่นยางิพัดถล่มซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงไปอีก . ขณะที่รัฐบาลทหารเมียนมายังคงประเมินว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ 3.8% อย่างไรก็ตาม หลังเกิดแผ่นดินไหว คาดว่าจะต้องมีการประเมินใหม่อีกครั้ง . ธนาคารโลกยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเมียนมาจะหดตัวในปีงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงเฉลี่ยที่ 26% ต่อปี โดยตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดยังชี้ให้เห็นว่า ผลผลิตทางเศรษฐกิจของเมียนมาในปี 2025 จะลดลงประมาณ 11% เมื่อเทียบกับปี 2019 และการหดตัวของเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรัฐประหารในปี 2021 ซึ่งนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่รุนแรงขึ้นทั่วประเทศ . ในขณะที่สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ คาดการณ์ความเสียหายทางเศรษฐกิจของเมียนมาจากแผ่นดินไหวอาจสูงถึง 10,000-100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นความเสียหายสูงสุด 70% ของ GDP เมียนมาเลยทีเดียว และความเสียหายเหล่านี้ ต้องใช้งบประมาณมหาศาลเข้ามาดูแล . แต่รัฐบาลทหารเมียนมาจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ในเมื่อเวลานี้ เศรษฐกิจของเมียนมาก็ตกอยู่ในสภาพ “พังพินาศ” ไม่ได้ต่างจากโครงสร้างพื้นฐานหรืออาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว พามาฮู้จัก รอยเลื่อนสะกาย ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า ต้นเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ สะเทือนแรงถึงไทย สถานการณ์หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา ยังคงอยู่ในระดับวิกฤต ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งทะลุ 2,700 ราย ขณะที่ผู้ได้รับบาดเจ็บก็เกิน 4,500 คน โดยบริเวณที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศ มีประชากรมากกว่า 1.7 ล้านคน เนื่องจากเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวที่ของรอยเลื่อนสะกาย และมีการคาดการณ์ว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจสูงมากกว่า 10,000 คน เนื่องจากยังมีอาคารมากมายที่ยังไม่สามารถกู้ซากปรักหักพังได้ . สำหรับในเมืองมัณฑะเลย์ ผู้คนมากมายต่างต้องอาศัยท้องถนนเพื่อการพักพึง และอยู่ด้วยความหวาดผวา อีกทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับอนาคตที่ไม่แน่นอน เนื่องจากอาหารกำลังขาดแคลน และไม่มีไฟฟ้าและน้ําประปา . นอกจากนี้ถุงศพมีความจำเป็นอย่างสูงที่ต้องการเพิ่มเติมสําหรับบรรจุศพที่เหล่ากู้ภัยกําลังดึงร่างของผู้เสียชีวิตจากซากอาคาร ซึ่งผู้คนที่อยู่ในประเทศเมียนมาตอนนี้ให้ข้อมูลว่ากองทัพไม่ได้ทําอะไรเพื่อช่วยเหลือประชาชนเลย . ขณะที่ความช่วยเหลือจากนานาชาติทั้ง จีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย รัสเซีย และสิงคโปร์ก็เริ่มมาถึงเช่นกัน แต่ยังคงมีคําถามว่ากองทัพเมียนมาจะแจกจ่ายความช่วยเหลือที่จําเป็นมากนี้ให้ถึงมือประชาชนได้อย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่งของทีมกู้ภัยและเสบียงอาหารจากสิงคโปร์และอินเดีย ได้ส่งไปยังกรุงเนปิดอว์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ที่นายพลของกองทัพอาศัยอยู่และได้รับผลกระทบน้อยกว่ามัณฑะเลย์ ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรพม่า🇲🇲   รัฐบาลทหารพม่าออกคำสั่ง ห้ามสื่อต่างชาติเข้าไปรายงานข่าวแผ่นดินไหว วันที่ 1 เมษายน 2568 นายพลจัตวาซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมา (พม่า) แถลงว่า

🇲🇲พม่า เกิดภัยพิบัติ เอาเงินที่ไหนซ่อมประเทศ เมื่อเศรษฐกิจพังไม่แพ้กัน ประชาชนช่วยกันเอง ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 2.7 พันราย มินอ่องลาย ห้ามนักข่าวต่างประเทศเข้าทำข่าว อ่านเพิ่มเติม »

🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุในวันพุธ(2เม.ย.) แถลงจะรีดภาษีพื้นฐาน 10% กับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสู่สหรัฐฯ และเรียกเก็บภาษีสูงกว่านั้นกับประเทศอื่นๆอีกหลายสิบชาติ ในนั้นรวมถึงบรรดาคู่หูทางการค้าหลักของอเมริกาบางส่วน ยกระดับสงครามการค้าที่เขาเริ่มขึ้นตั้งแต่กลับเข้าสู่ทำเนียบขาว มาตรการรีดภาษีอย่างครอบคลุมครั้งนี้จะเป็นการตั้งกำแพงใหม่รอบๆเศรษฐกิจผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลกแห่งนี้ กลับลำจากนโยบายเปิดเสรีทางการค้าที่ยึดถือมานานหลายทศวรรษและเป็นตัววางทรวดทรงระเบียบโลก ในขณะที่คาดหมายว่าบรรดาคู่หูการค้าของอเมริกา จะมีมาตรการตอบโต้ของตนเอง ที่อาจทำให้ราคาข้าวของแพงขึ้นอย่างน่าตกตะลึง ไล่ตั้งแต่จักรยานไปจนถึงไวน์ “นี่คือการประกาศเอกราชของเรา” ทรัมป์ กล่าว ณ กิจกรรมหนึ่ง ณ สวนกุหลาบของทำเนียบขาว ทรัมป์ได้แสดงแผนภูมิขณะกล่าวที่ทำเนียบขาว โดยระบุว่าสหรัฐฯจะเก็บภาษีนำเข้า 34% จากจีน, 20% จากสหภาพยุโรป, 25% จากเกาหลีใต้, 24% จากญี่ปุ่น และ 32% จากไต้หวัน เพื่อตอบโต้ภาษีที่ประเทศเหล่านี้เก็บกับสินค้าของสหรัฐฯ ตัวอย่างประเทศที่ถูกประกาศขึ้นภาษี เวียดนาม: 46% ไต้หวัน: 32% ญี่ปุ่น: 24% ไทย: 36% สวิตเซอร์แลนด์: 31% อินโดนีเซีย: 32% มาเลเซีย: 24% กัมพูชา: 49% สหราชอาณาจักร: 10% แอฟริกาใต้: 30% บราซิล: 10% บังกลาเทศ: 37% สิงคโปร์: 10% อิสราเอล: 17% ฟิลิปปินส์: 17% ชิลี: 10% ออสเตรเลีย: 10% ปากีสถาน: 29% ตุรกี: 10% ศรีลังกา: 44% โคลอมเบีย: 10% สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย ใครกระทบ? มาตรการนี้จะกระทบสินค้าส่งออกไทย ไปสหรัฐฯ หลายประเภท ตั้งแต่สินค้าเกษตร ยันสินค้าอุตสาหกรรม โดยหากย้อนดู 10 อันดับสินค้าส่งออก ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – มิถุนายน) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 4,740 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 32.56% เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 2,142 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 33.11% ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่า 2,123 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 9.67% อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มูลค่า 1,561 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.68% อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 973 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.63%

🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓ อ่านเพิ่มเติม »

ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรพม่า🇲🇲

🇲🇲 จากแผนที่ประชากรของพม่า มีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 196.8 คนต่อตารางไมล์ (76.0 คนต่อตารางกิโลเมตร) เราจะเห็นว่าประชากรไม่ได้กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วประเทศ แต่มีการกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ เช่น ย่างกุ้ง , มัณฑะเลย์ และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี เพราะมีดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเพาะปลูกข้าวและเกษตรกรรม ทำให้ผู้คนตั้งถิ่นฐานและพัฒนาเป็นเมืองใหญ่ ซึ่งมีประชากรหนาแน่นที่สุด โดยบางจุดมีประชากรมากกว่า 600 คนต่อตารางไมล์ (230 คนต่อตารางกิโลเมตร) ในขณะที่พื้นที่ภูเขาทางเหนือและตะวันออกของประเทศมีประชากรเบาบางมาก เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีสภาพอากาศที่ยากลำบาก การคมนาคมเข้าถึงยาก และไม่เหมาะกับการเกษตรขนาดใหญ่ ในด้านของพีระมิดประชากรจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของ ประชากรอายุน้อยและกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ไปสู่สังคมสูงวัย ซึ่งไทยของเรามีโอกาสได้รับผลดีจากโครงสร้างประชากรพม่าที่เป็นแบบนี้ในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น แรงงานจากพม่าจะยังไหลเข้าสู่ ไทย และภาคอีสานมากขึ้น, การค้าชายแดนขยายตัว เมืองชายแดน เช่น เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง เป็นต้น มีโอกาสเพิ่มการค้าและการลงทุนกับฝั่งพม่า เพราะคนวัยแรงงานยังมีกำลังซื้อ   ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจุกตัวของประชากร สภาพภูมิศาสตร์ – พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรรมและเศรษฐกิจมาช้านาน ทำให้มีประชากรหนาแน่น เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน – เมืองใหญ่อย่าง ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคม จึงดึงดูดประชากรจากชนบท ประวัติศาสตร์และการปกครอง – อดีตอาณานิคมอังกฤษพัฒนาเมืองย่างกุ้งให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เมืองนี้ยังคงเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด   พีระมิดประชากรของพม่า ประชากรวัยเด็กและเยาวชนยังเยอะ ประมาณ 40% ของประชากรพม่าอายุต่ำกว่า 20 ปี แสดงให้เห็นว่าประเทศยังมีอัตราการเกิดสูง แต่แนวโน้มเริ่มลดลง วัยแรงงานเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด ช่วงอายุ 20-49 ปี มีจำนวนมากกว่า 40% ของประชากรทั้งหมด ทำให้พม่ายังมีศักยภาพด้านแรงงานสูง และเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แนวโน้มเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคต กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปเริ่มเพิ่มขึ้น แม้ตอนนี้จะยังไม่มาก แต่หากอัตราการเกิดลดลง อาจนำไปสู่ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต 11 จุดผ่านแดน ไทย-พม่า 1. กิ่วผาวอก 2. บ้านเปียงหลวง 3. บ้านห้วยผึ้ง 4. บ้านห้วยต้นนุ่น 5. บ้านเสาหิน 6. บ้านริมเมย 7. ด่านเจดีย์สามองค์ 8. พุน้ำร้อน 9. บ้านสบวก 10. ปากน้ำระนอง 11. ท่าเทียบเรือสะพานปลา 10 จังหวัดชายแดนไทย-พม่า 1. เชียงราย 2. แม่ฮ่องสอน 3. เชียงใหม่ 4. ตาก 5. กาญจนบุรี 6. ราชบุรี 7. เพชรบุรี

ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรพม่า🇲🇲 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top