July 2023

พามาฮู้จัก อาณาจักร หมูยออุบล

หมูยอแม่ฮาย แม่ฮายคือ ชื่อคุณแม่ผู้ก่อตั้งร้าน ซึ่งมีเชื้อสายเวียดนาม เปิดมานานกว่า 50 ปี ตอนนี้สืบทอดมาถึงทายาทรุ่นที่ 2 โดยแบ่งเป็นร้าน หมูยอแม่ฮาย มีสาขาที่ หน้าอำเภอเมืองอุบลราชธานี ถนนศรีณรงค์ และสาขานอกตัวเมือง ริมถนนแจ้งสนิท ใกล้ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีหลังใหม่ ส่วนหมูยอแม่ฮาย 1 อยู่ริมถนนพโลชัย ใกล้กับสี่แยกที่ตัดกับถนนจงกลนิธารณ์ และมีอีกสาขาที่ ตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัด หมูยอตองหนึ่ง เป็นร้านดั้งเดิมที่มีการสืบทอดความอร่อยของอาหารต้นตำรับเวียดนามจากรุ่นสู่รุ่น ผลิตภัณฑ์ของร้านตองหนึ่งได้รับมาตรฐาน อย. และ GMP ทุกชิ้น โดยหมูยอของร้านเน้นใช้เนื้อหมูสดใหม่ มีความอร่อย ฉ่ำมันหมูนิด ๆ เนื้อเด้ง นุ่มหนึบ หมูยอดาวทอง คุณกิม ดาวทองวรกิจ ทายาทรุ่นลูก ได้เล่าถึงที่มาของ หมูยอดาวทอง ซึ่งสืบสานเป็นตำนาน จากรุ่นคุณแม่กัญญา ดาวทองวรกิจ เป็นผู้นำสูตรหมูยอ สูตรตั้งแต่รุ่นอากง โดยต้นตำรับหมูยอ ของทางร้านเป็นสูตรเวียดนามแท้ จากวันนั้นในอดีต สู่วันนี้ในปัจจุบัน ทำให้ชื่อเสียงเรื่องของฝาก วิถีแห่งหมูยอ ครองความเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงคนในท้องถิ่น หมูยอ ป.อุบล ป.อุบล ธุรกิจครอบครัว ก่อตั้งโดยคุณประยงค์ เหรียญรักวงศ์ (คุณพ่อ) ผู้มีแนวคิดธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ได้จำหน่ายในตลาดสด เริ่มต้นทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนในปี 2519 ชื่อร้าน “มหาชัยวาริน” ก่อนปรับเปลี่ยนเป็นแบรนด์ “ป.อุบล” ที่ได้ชื่อว่าเป็น แบรนด์หมูยอที่มีชื่อเสียงในจังหวัดอุบลฯ อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – Matichon Academy – BANGKOKBANK SME – Wongnai ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ร้านหมูยออุบล #หมูยออุบล #หมูยอ

ชวนเบิ่ง หมูยอ สุดแซ่บ แต่ละจังหวัด

หมูยอลูกคุณแม่ทองใบ – นครราชสีมา หมูยอเจ้าแรกต้นตำหรับในโคราชคือหมูยอแม่ทองใบ ขายมามากกว่า 70 ปี ก่อตั้งโดย คุณแม่เวียน ทิใบ ซึ่งเดิมอยู่เวียดนาม แต่หนีสงครามมาอยู่ที่อุบล และย้ายไปที่โคราช ปัจจุบัน หมูยอแม่ทองใบ ได้วางมือแล้ว แต่ยังมีลูกชายเปิดร้านหมูยอหลอดพลาสติกภายใต้ ชื่อ “หมูยอลูกแม่ทองใบ” และต่อมาหลานชายของแม่ทองใบ จะเข้ามาดูแลกิจการแทน จึงได้กลับมาผลิตหมูยอใบตองโดยใช้สูตรโบราณดั้งเดิม หมูยอมิ่งเจริญ – ขอนแก่น ร้านก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 โดยคุณแม่มิ่งเจริญ มิ่งเจริญพาณิชย์ และคุณสมพงษ์ บำรุงพันธ์ได้รับการสืบทอดต่อ เดิมทีคุณสมพงษ์ ศึกษาอยู่ ม.ขอนแก่น คุณแม่จึงย้ายจากนครพนมบ้านเกิดมาเริ่มทำหมูยอจำหน่าย ในขณะนั้นนับว่าเป็นเจ้าแรกและเป็นเจ้าเดียวในเมืองขอนแก่นเลยที่เลือกใช้วิธีการนึ่งหมูยอให้สุกด้วยลังถึงและขายร้อน ๆ ที่หน้าร้าน หมูยอแม่ถ้วน – หนองคาย ในสมัยสงครามเวียดนาม คุณพ่อถ้วนฉบับ เหงียนวัน และคุณแม่เฮ่า เหงียนถิ ได้ย้ายมาอยู่ในหนองคาย ในปี 2521 พี่สาวของคุณแม่เฮ่า ได้สอนการทำหมูยอแบบเวียดนามให้แม่เฮ่า จากนั้นนำไปขายที่ตลาดในหนองคาย และนำไปฝากขายตามร้านต่าง ๆ ชาวเวียดนามมักเรียกชื่อของสามีแทนชื่อของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของชื่อ “หมูยอแม่ถ้วน” หมูยอน้องนิด – สกลนคร หมูยอเจ้าดังจังหวัดสกลนคร เปิดขายมานานกว่า 30 ปี อย่าง “หมูยอน้องนิด” หมูยอเนื้อแน่น เด้ง ชุ่มฉ่ำ ด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณ ได้รสสัมผัสเนื้อหมูแท้ ๆ รสชาติแบบดั้งเดิม อีกทั้งทางร้านมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหมูยอแผ่น หมูยอห่อใบตอง ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นหมู ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี หมูยอนายเติม – อุดรธานี “หมูยอนายเติม” มาจาก คุณพ่อเติม ตรั่นหงอก เป็นชาวเวียดนามได้ย้ายมาอยู่ที่อุดรธานี คุณพ่อเติมเป็นคนมีฝีมือในการทำอาหาร จึงจุดประกายความคิดจากฮอทดอกที่มีราคาแพง มาต่อยอดการทำหมูยอ โดยใช้ใบตองห่อ จากนั้นได้ทดลองหาบเร่ขายไปตามที่ต่าง ๆ ด้วยความแปลกใหม่และราคาไม่แพง ทำให้หมูยอได้รับความนิยมมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2499 จนถึงปัจจุบัน ภายหลังคุณพ่อเติมได้ส่งต่อกิจการให้คุณณัฏฐนันทน์ ผลากุลสันติกร เป็นคนดูแลกิจการต่อ หมูยอวิทย์อุดร – อุดรธานี เริ่มมาจากเมื่อ 40 ปีที่แล้วเติบโตมากับธุรกิจหมูยอที่ท่าบ่อ จึงคิดอยากทำหมูยอในอุดรธานี จึงได้นำสูตรหมูยอในตำนานมาพัฒนาและปรับปรุงให้เข้ากับรสชาติที่โดนใจคนอุดร ทำให้เกิดเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่ชื่อว่า “หมูยอวิทย์อุดร” เป็นหมูยอที่อร่อย นึ่งวันต่อวัน ไม่ผสมแป้งและเนื้อไก่ ไร้สารตกค้าง แม้จะไม่ใช่ร้านดั้งเดิม แต่ก็อร่อยถูกใจคนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – Zolitic – Wongnai – OpenRice – Food Fast Fin …

ชวนเบิ่ง หมูยอ สุดแซ่บ แต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง อาณาจักร หมูยอ แต่ละหม่อง ในภาคอีสาน

หมูยอ เป็นอาหารขึ้นชื่อของหลายจังหวัดทางภาคอีสาน ไม่ว่าจะอุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี นครพนม เป็นต้น ลักษณะอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อนึกถึงหมูยอ นั่นคือ หมูยอห่อใบตอง หมูยอ เดิมทีแล้วเป็นอาหารเวียดนาม มีที่มาจากคนเวียดนามนำเข้ามาในไทย โดยคำว่า “ยอ” นั้น มาจากคำว่า “หย่อ” ที่ย่อจาก “หย่อหลัวะ” ซึ่งเป็นชื่อที่คนทางเหนือเรียก ส่วนคนทางใต้จะเรียกว่า “จ๋าหลัวะ” ซึ่งคำว่า “ยอ” ในภาษาไทยนั้นไม่ได้มีความหมายแต่อย่างใด โดยในไทยส่วนมากจะนิยมกินหมูยอที่เป็นเนื้อหมูล้วน ส่วนในเวียดนามจะมีหลายชื่อเรียกตามส่วนผสมที่ต่างกันออกไป โดยเมนูที่มีหมูยอ ที่มาจากเวียดนามและคนไทยรู้จักกันดีที่สุดก็คงจะเป็น “ก๋วยจั๊บญวน” อ้างอิงจาก: – เพจและเว็บไซต์ของบริษัท – Review Promote – พิชชามีท ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #หมูยอ #ธุรกิจหมูยอ #ร้านหมูยอ

พาส่องเบิ่ง “จิ้งหรีด” โปรตีนทางเลือกในอนาคตที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจในภาคอีสาน แต่ละจังหวัดเป็นจังใด๋แหน่

พาส่องเบิ่ง “จิ้งหรีด” โปรตีนทางเลือกในอนาคตที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจในภาคอีสาน แต่ละจังหวัดเป็นจังใด๋แหน่   ความมั่นคงทางอาหารและความนิยมในกลุ่มอาหารแห่งอนาคต (Future food) สามารถสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในภาคอีสาน ความต้องการอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับประสิทธิภาพการผลิตอาหารที่เริ่มชะลอตัวลงซึ่งกำลังกระทบกับความสามารถในการเข้าถึงอาหาร รวมถึงความมั่นคงทางอาหารในแต่ละประเทศ   ซึ่งโปรตีนจากแมลงมีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มโปรตีนทางเลือกต่างๆ และมีการขยายตัวของมูลค่าตลาด และผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องนั่นเอง โดยโปรตีนทางเลือกที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ โปรตีนจากแมลง และควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง แต่การเพาะเลี้ยงแมลงที่ข้อได้เปรียบชัดเจน คือไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี หรือ R&D ในการผลิตที่สูง รวมถึงการที่ตลาดมีการขยายและรองรับการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ โปรตีนจากแมลงจึงเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตที่สุด   การเพาะเลี้ยงแมลงมีความต้องการในการใช้ทรัพยากรการผลิตที่น้อย รวมถึงยังมีการปล่อยก๊าซเรือน กระจกในระดับที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตโคเนื้อ ประกอบกับสินค้าแปรรูปของแมลง เช่น ผงจิ้งหรีด เป็นสินค้าจําพวกโปรตีนที่มีมูลค่าสูง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก ซึ่งที่ตั้งของไทยยังสะท้อนจุดแข็งในการเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมแมลง จากการที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงหลายชนิด และอยู่ใกล้กับตลาดผู้บริโภค แมลงที่กระจุกตัวในเอเชียตะวันออก โดยสินค้าแปรรูปของแมลง จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบพิเศษสําหรับการประกอบอาหาร ซึ่งจะเป็นกลุ่มอาหารโปรจีนที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น   อีสานเป็นแหล่งที่เหมาะสมในการเป็นฐานผลิตแมลง ทั้งจากปัจจัยด้านสถานที่ตั้ง สภาพอากาศ รวมถึง ด้านต้นทุนที่อยู่ในจุดที่เหมาะสมกับภูมิภาคอื่น​​สถานที่ตั้งและสภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะภาคอีสานเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงกินได้ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหลักกว่า 80% ของประเทศ อีกปัจจัยที่สนับสนุนโดยภาคอีสานมีฟาร์มจิ้งหรีดจำนวนมากที่สุด เป็นเพราะการใช้กากการของมันสำปะหลังที่สามารถทดแทนอาหารเพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก   อีสานยังเผชิญความท้าทายในอุตสาหกรรมแมลงอยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ การที่ผลิตภัณฑ์ยังออกมาในรูปของสินค้าขั้นต้น ยังงขาดการแปรรูป และการบริโภคแมลงยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ผลิตภัณฑ์จากแมลงในปัจจุบันของไทย ยังอยู่ในรูปของสินค้าขั้นต้นเป็นหลัก เช่น แมลงแช่แข็ง และแมลงทอด ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้น้อย โดยการยกระดับอุตสาหกรรมแมลง ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถสร้างมูลเพิ่มได้มากขึ้น เช่น การแปรรูปเป็นผงหรือสารสกัดจากแมลง   ข้อจํากัดหลักของตลาดอาหารจากแมลง คือ การขยายตัวของเขตเมือง ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของสังคมเมืองกระทบกับการรับรู้และความคุ้นเคยในการบริโภคแมลง และทำให้ความต้องการบริโภคแมลงลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบอีสานกับภูมิภาคอื่น อีสานมีการขยายตัวของเขตเมืองที่ช้ากว่า ซึ่งสะท้อนความเหมาะสมในการเป็นแหล่งเพาะเลี้ยง ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากแมลง   อ้างอิงจาก: www.thaicricketdb.com   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผลิตภัณฑ์จากแมลง #แมลงแช่แข็ง #แมลงทอด #อาหารแห่งอนาคต #โปรตีนจากแมลง #อุตสาหกรรมแมลง

‘แมลงกินได้’ ความหวังแห่งอนาคต พามาเบิ่ง คุณค่าทางโภชนาการของแมลงต่อน้ำหนัก (แห้ง) 100 กรัม

‘แมลงกินได้’ ความหวังแห่งอนาคต พามาเบิ่ง คุณค่าทางโภชนาการของแมลงต่อน้ำหนัก (แห้ง) 100 กรัม   อ้างอิงจาก: กระทรวงสาธารณสุข   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผลิตภัณฑ์จากแมลง #แมลงแช่แข็ง #แมลงทอด #อาหารแห่งอนาคต #โปรตีนจากแมลง #อุตสาหกรรมแมลง

พามาเบิ่ง 7 อันดับอาณาจักรขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืชแห่งภาคอีสาน

อันดับที่ 1 บริษัท พูลอุดม จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 1,147 ล้านบาท กำไรรวม 58 ล้านบาท . อันดับที่ 2 บริษัท โคราชโรงสียงสงวน จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 722 ล้านบาท กำไรรวม 1,095,028 บาท . อันดับที่ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลานมัน รุ่งฤทัยพาณิชย์ จังหวัด เลย รายได้รวม 496 ล้านบาท กำไรรวม 21 ล้านบาท . อันดับที่ 4 บริษัท อ.รวมชัย สกลนคร 2017 จำกัด จังหวัด สกลนคร รายได้รวม 264 ล้านบาท กำไรรวม 316,445 บาท . อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุทัศน์รุ่งเรือง จังหวัด เลย รายได้รวม 260 ล้านบาท กำไรรวม 4 ล้านบาท . อันดับที่ 6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร้านนิพนธ์ จังหวัด สุรินทร์ รายได้รวม 256 ล้านบาท กำไรรวม 942,892 บาท . อันดับที่ 7 บริษัท พูลสมบัติพืชผล จำกัด จังหวัด สกลนคร รายได้รวม 223 ล้านบาท กำไรรวม 605,176 บาท . หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืชอื่นๆ (รหัสประเภทธุรกิจ 46201) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจขายข้าวเปลือก #ข้าวเปลือก

งามคัก เอกลักษณ์ ✨ ผ้าไทยอีสาน แต่ละจังหวัด

งามคัก เอกลักษณ์ ✨ ผ้าไทยอีสาน แต่ละจังหวัด   ผ้าอีสาน คือ ผ้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นชาวไทลาว ไทพวน และผู้ไท จึงมีการทอผ้าทั้งจากผ้าฝ้ายและไหม  ลักษณะลวดลายและกรรมวิธีการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน โดยในเขตอีสานตอนเหนือมีผ้าไทลาวและผู้ไทเป็นแหล่งทอผ้าฝ้ายมัดหมี่ย้อมครามและผ้าขิด มีผ้าไหมสำหรับงานพิธีกรรม ส่วนอีสานตอนกลาง ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งทอผ้าไหมมัดหมี่ หน้ากว้าง และผ้าหางกระรอก หรือที่เรียกว่า ผ้าม่วง สำหรับข้าราชการสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ส่วนผ้านุ่งผู้หญิงเป็นผ้ามัดหมี่ มีแม่ลายหลากหลาย เช่น ลายนาค ลายต้นสน ลายนก และลายขอ เป็นต้น ซึ่งแม่ลายเหล่านี้ยังมีการนำมาประยุกต์ใช้จวบจนปัจจุบัน  และส่วนในอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมการทอผ้าจากชาวเขมรและชาวกูย จึงมีการทอผ้าไหมมัดหมี่เส้นพุ่ง ตามแบบเขมร    อ้างอิงจาก: chanhomstore ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผ้าไหมอีสาน #ผ้าภูอัคนี #ผ้าไหมปักธงชัย #ผ้าไหมมัดหมี่ #ผ้าคราม #ผ้าขิด  

พามาฮู้จัก  พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?

พามาฮู้จัก  พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?    วันนี้ทาง ISAN Insight จะพามาฮู้จัก #พันธุ์ข้าวอีสาน  และแนวโน้มโอกาสด้านอุตสาหกรรมข้าว ในปี 2566-2568    ผลผลิตข้าวมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย โดยยังมีปัจจัยบวกด้าน (1) ปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะเอื้ออำนวย (ปี 2567-2568 คาดว่ายังได้อานิสงส์จากภาวะ La Niña) และ (2) มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ  อย่างไรก็ตาม ผลผลิตยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก (1) เกษตรกรหันไปปลูกพืชพลังงานและพืชสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นที่มีราคาสูงทดแทน อาทิ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ (2) ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นโดยเฉพาะราคาปุ๋ยทำให้เกษตรกรบางส่วนลดการใช้ปุ๋ยอาจทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง การบริโภคในประเทศคาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หนุนความต้องการจากร้านอาหาร โรงแรม การผลิตอาหาร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ด้านการส่งออกข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก (1) ภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่น่าจะเริ่มทยอยฟื้นตัวในปี 2567-2568 และ (2) ความต้องการสต็อกอาหารต่อเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ   อ้างอิงจาก: กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.thaipbs.or.th/news/content/327620  https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์ข้าวภาคอีสาน #ข้าวอีสาน #มหาสารคาม #ร้อยเอ็ด #ยโสธร  #ศรีสะเกษ #สุรินทร์ #สกลนคร #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #นครราชสีมา #บุรีรัมย์ #ขอนแก่น #หนองคาย

ทำความฮู้จัก ข้าว 7 สายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาโดยชาวนาไทยอีสาน

ทำความฮู้จัก 🍚🌾 ข้าว 7 สายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาโดยชาวนาไทยอีสาน กลุ่ม “ชาวนาไทอีสาน” เป็นการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือเป็นชาวนาที่ทำนาประณีตแบบอินทรีย์ สืบทอดความดีงามแห่งท้องไร่ท้องนาจากบรรพบุรุษ เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน พร้อมๆ ไปกับการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองทั้งด้านการผลิตและบริโภค เพื่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทาทางชีวภาพ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน สมาชิกกลุ่มเป็นชาวนาจากหลากหลายจังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ ยโสธร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ สกลนคร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม โดยมี ตุ๊หล่าง-แก่นคำกล้า พิลาน้อย ผู้เป็นอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ในการทำนาแบบฉบับที่เรียกว่า “ตุ๊หล่างสไตล์” ให้กับแต่ละคน เป็นการทำนาที่ต้องเอาใจใส่ในกระบวนการผลิตในทุกๆ ช่วงอายุของข้าว ซึ่งทั้งละเอียด ประณีต พิถีพิถัน อันบ่งบอกถึงพื้นฐานของความรักที่จะทำนาเป็นเบื้องต้น (ฉันทะ) ครูตุ๊หล่างจึงเป็นเหมือนศูนย์กลางที่ดึงดูดให้แต่ละคนได้มาเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และด้วยทิฏฐิความเห็นที่อยากยกระดับมาตรฐานชาวนาให้ดีขึ้น มีเป้าหมายที่อยากจะเป็นชาวนาที่สร้างประโยชน์ตนและและประโยชน์ท่าน จากที่เคยจับกลุ่มกันหลวมๆ จึงตั้งใจรวมกลุ่มกันเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างเช่นในปัจจุบัน และกลุ่มชาวนาไทยอีสานได้จัดงาน “มาเด้อ! ชิมข้าวใหม่” กิจกรรมชิมข้าว 7 สายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงขึ้นมาใหม่เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรับประทานข้าวและขยายแนวคิดเรื่องการทำนาอินทรีย์และการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและต่างชาติ แต่ละกิจกรรมเป็นการให้ทั้งความรู้และสร้างการรับรู้ในมุมมองใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าว ไม่ว่าจะเป็นการแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง กว่า 30 สายพันธุ์ ที่ชาวนาไทอีสานทำการอนุรักษ์ไว้จากกว่า 150 สายพันธุ์ เพื่อบอกเล่าความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่เชื่อมโยงไปสู่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและส่งต่อมาจนถึงชาวนาในรุ่นปัจจุบัน ไฮไลท์สำคัญคือ “นิทรรศการข้าว 7 สายพันธุ์ใหม่” แนะนำข้าวที่ขึ้นเกิดจากการพัฒนาและปรับปรุงขึ้นมาใหม่ของกลุ่มชาวนาไทอีสาน ซึ่งต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงและคัดพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 8 ปี กว่าจะได้เป็นพันธุ์ที่มั่นใจว่าตอบสนองต่อการปลูกด้วยระบบอินทรีย์ ให้ผลผลิตดี ดูแลง่าย สีสันสวยงาม ให้รสสัมผัสที่เหนียวนุ่ม หอม และอร่อย นอกจากนั้นภายในงานยังมีกิจกรรม “ชิมข้าว – Rice Tasting” ที่ชวนผู้บริโภคมาทดสอบรสชาติของข้าวสายพันธุ์ใหม่ทั้ง 7 สายพันธุ์ แยกแยะความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ของเมล็ด สีสัน กลิ่น และรสสัมผัสหลังจากเคี้ยว กิจกรรม “คัดพันธุ์ข้าว” ที่ชวนผู้บริโภคมาเรียนรู้วิธีการคัดพันธุ์ข้าวที่ถูกต้อง รวมไปถึงเวทีเสวนา และ “Chef’s Table” ที่นำความโดดเด่นของข้าวทั้ง 7 สายพันธุ์ มารังสรรค์เป็นเมนูอาหารสุดพิเศษ 7 คอร์ส ผ่านการสร้างสรรค์ของเชฟฝีมือดีอีกด้วย อ้างอิงจาก: https://ngthai.com/news-activity/17418/7-new-rice-species/ https://readthecloud.co/alive-harvest-time-trip/ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์ข้าวภาคอีสาน #ข้าวอีสาน #ยโสธร #บุรีรัมย์ #ศรีสะเกษ #อำนาจเจริญ #สกลนคร …

ทำความฮู้จัก ข้าว 7 สายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาโดยชาวนาไทยอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

โอ้ละนอ… สิพามาเบิ่ง ตัวอย่าง คณะหมอลำ แห่งภาคอีสาน

หมอลำพื้น เป็นหนึ่งใน “มรดกวัฒนธรรมอีสาน” และเป็นจุดกำเนิดของการแสดง หมอลำ อันลือลั่นแห่งภาคอีสาน สร้างเศรษฐกิจให้กับผู้มีพรสวรรค์และฝึกฝน ตั้งเป็นคณะหมอลำมีชื่อเสียง รับงานแสดงไม่เว้นแต่ละวัน สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนอื่นๆ ที่รวมกันเป็นคณะหมอลำ คุณอาทิตย์ กระจ่างศรี อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เชี่ยวชาญซึ่งศึกษาประวัติความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมการแสดงหมอลำของภาคอีสาน กล่าวว่า หมอลำ อยู่กับวิถีชีวิตคนอีสานมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันแยกเป็น “หมอลำพิธีกรรม” เช่น หมอลำผีฟ้า และ “หมอลำบันเทิง” เช่น ลำเพลิน ลำเต้ย ลำเรื่องต่อกลอน ลำซิ่ง ล้วนมีจุดกำเนิดจาก “หมอลำพื้น” คำว่า “หมอลำ” ซึ่งหมายถึงผู้ร้องเพลงและมีการร่ายรำ แต่ใช้พยัญชนะ ล.ลิง ในคำว่า “ลำ” แทนที่จะเป็น “รำ” ร.เรือ อาจารย์อาทิตย์กล่าวว่า เนื่องจากคำว่า “ลำ” ในภาษาถิ่นอีสานแปลว่า “การร้อง” หมอลำ จึงหมายถึง ผู้มีความเชี่ยวชาญในการร้อง ขณะที่การร่ายรำเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การร้องมีความสุนทรีย์ในการรับฟังรับชมยิ่งขึ้น ถ้าสังเกตให้ดีในการแสดงหมอลำนั้น จุดเด่นอยู่ที่เสียงร้องที่ต้องน่าฟังและเล่าเรื่องได้น่าติดตาม อ้างอิงจาก: – trueID – Morlamfestival – กรุงเทพธุรกิจ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #หมอลำ #คณะหมอลำ #หมอลำอีสาน

Scroll to Top