July 2023

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง  โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย รายจังหวัดในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?  

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง  โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย รายจังหวัดในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?     อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ First S-curve ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ และ New S-curve ที่เป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม 1)    อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive)   2)    อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)  3)    อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)   4)    การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)   5)    อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)   7 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 1)    อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)  2)    อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)   3)    อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)  4)    อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)  5)    อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)  ซึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ในอีสานมีการขอส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติมากที่สุดอยู่ในกลุ่มการแพทย์ โดยเฉพาะการบริการเกี่ยวกับโรงพยาบาลและสถานพยาบาล   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/July-2566.pdf    อ้างอิงจาก: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ISAN Insight & Outlook ประจำเดือนกรกฏาคม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมอีสาน 

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ?

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ?   ทุเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” (King of fruits) ด้วยรสชาติที่หวาน มัน และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและคนต่างชาติ (บางส่วน) หลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากพืชไร่หันมาเพาะปลูกพืชสวนกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทุเรียนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง    ปัจจุบัน จังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมีชื่อเสียง ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผู้ค้า ในด้านของคุณภาพและความปลอดภัย มีบริเวณที่เพาะปลูกพื้นที่ภูเขาไฟ เป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ มีธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพืชปริมาณสูง   ปี 2564 มีเนื้อที่เพาะปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ 8,404 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 3,479 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4,213 ตัน/ปี โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,220 ราย ด้านต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 18,430 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 5) เกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 204,000 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 185,570 บาท/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 160 – 180 บาท/กิโลกรัม   “ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” เป็นทุเรียนอีกหนึ่งอันที่ได้รับการการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์  เนื่องจากในพื้นที่ของปากช่อง มีชุดดินที่เป็นดินภูเขาของดงพญาเย็น ซึ่งมีลักษณะเป็นธาตุอาหารเฉพาะ ส่งเสริมให้การปลูกทุเรียน ประกอบกับในเรื่องของ โอโซนต่างๆ และน้ำ ทำให้เหมาะแก่การผลิตทุเรียนอีกด้วย   “ทุเรียนเสิงสาง” ตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นทุเรียน มีการปลูกมานานเกือบ 10 ปี ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอเสิงสางที่มี ความอุดมสมบูรณ์ทั้งสภาพดิน อากาศ และน้ำ ทำให้ผลไม้พืชผัก ที่ปลูกในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะทุเรียน มีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 3,000 ไร่ มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือหวานมัน เนื้อละเอียดเป็นครีม และที่สำคัญคือกลิ่นไม่แรง   “ทุเรียนโอโซน” ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ นั้นเน้นการรวมกลุ่มการผลิต และให้เกษตรกรเป็นผู้บริหารจัดการแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิต แปรรูปและการตลาด เพื่อให้ได้สินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูง และคุ้มค่า โดยในปี 2565 นี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขอรับรองมาตรฐาน GAP ในนามเกษตรแปลงใหญ่   “ทุเรียนเมืองช้าง” …

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ? อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 5 อันดับกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าทุนจดทะเบียนมากที่สุด

ธุรกิจจัดตั้งใหม่หมวดธุรกิจสร้างสรรค์ในอีสาน อยู่ในหมวดการท่องเที่ยวเป็นหลักในขณะที่ภาพรวม ธุรกิจสร้างสรรค์ของอีสานยังมีน้อยกว่าภาคเหนือ โดยเฉพาะสาขาโฆษณากับสถาปัตยกรรม ซึ่งธุรกิจสร้างสรรค์ในอีสานส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลักอย่าง ขอนแก่น และนครราชสีมา เป็นต้น สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/…/2023/07/July-2566.pdf อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #มูลค่าจดทะเบียนนิติบุคคล #มูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #ทุนจดทะเบียนนิติบุคคล #กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์

การเปลี่ยนแปลงของจำนวนแรงงาน  แต่ละธุรกิจในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?

การเปลี่ยนแปลงของจำนวนแรงงาน  แต่ละธุรกิจในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/July-2566.pdf    อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติแห่งชาติ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ISAN Insight & Outlook ประจำเดือนกรกฏาคม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #การว่างงาน #ว่างงานอีสาน #แรงงานอีสาน   

รางวัลแห่งปีคนอีสาน ครึ่งปีแรก ปี 2566  พามาเบิ่ง by E-Saan Poll ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลแห่งปีคนอีสาน ครึ่งปีแรก ปี 2566  พามาเบิ่ง by E-Saan Poll ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “รางวัลแห่งปี ของคนอีสาน ปี 2566 ครึ่งปีแรก” การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานเกี่ยวกับบุคคล องค์กร และผลงานที่มีความโดดเด่นที่สุดแห่งปี ในสาขาต่างๆ 12 รางวัล โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2566 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จ านวน 1,055 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด การสำรวจนี้ จะให้ชาวอีสานเสนอชื่อ บุคคลหรือองค์กรหรือผลงานที่สมควรได้รับรางวัลแห่งปีใน สาขาต่างๆ 12 รางวัล (แบบปลายเปิดไม่มีตัวเลือกให้) ซึ่งจากการประมวลผล พบว่า คะแนนสูงสุด 4 อันดับแรก แต่ละรางวัล    1.) นักการเมืองแห่งปี  พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 36.8 แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 11.7 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 4.8 ประยุทธ์ จันท์โอชา ร้อยละ 4.7 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 36.0 *ร้อยละ 6.0 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม    2.) บริษัท/หน่วยงาน/รัฐวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งปี บริษัท ปตท. ร้อยละ 11.1 มูลนิธิกระจกเงา ร้อยละ 8.3 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ร้อยละ 6.4 ธนาคาร ธ.ก.ส. ร้อยละ 3.4 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 38.9 *ร้อยละ 31.9 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม   3.) นักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมแห่งปีแห่งปี ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ร้อยละ 7.9 บุ๋ม ปนัดดา ร้อยละ 7.9 รังสิมันต์ โรม ร้อยละ 3.7 ช่อ พรรณิการ์ ร้อยละ 2.0 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ …

รางวัลแห่งปีคนอีสาน ครึ่งปีแรก ปี 2566  พามาเบิ่ง by E-Saan Poll ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

ไตรมาส 2 ปี 2566 การว่างงาน ในอีสานเป็นจั้งใด๋ ? เมื่อเทียบกับก่อน COVID-19

ไตรมาส 2 ปี 2566 การว่างงาน ในอีสานเป็นจั้งใด๋ ? เมื่อเทียบกับก่อน COVID-19   อัตราการว่างงานรายจังหวัดในภาคอีสาน Q2/2566 เทียบกับอัตราการว่างงานช่วงก่อน COVID-19 (Q2/2562) ตลาดแรงงานอีสานฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอัตราการว่างงานที่ต่ำกว่าก่อนช่วง COVID-19 อีกทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้การจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นตาม แต่จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กหลายจังหวัดยังมีอัตราการว่างงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคและการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นชัดเจน ตามภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว เช่นเดียวกับจังหวัดเมืองหลักและจังหวัดติดริมแม่น้ำโขงที่ได้ผลดีจากการท่องเที่ยวเช่นกัน   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/July-2566.pdf    อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติแห่งชาติ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ISAN Insight & Outlook ประจำเดือนกรกฏาคม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #การว่างงาน #ว่างงานอีสาน #แรงงานอีสาน 

พาจอบเบิ่ง เทรนด์ “ธุรกิจร้านอาหาร” ปี 2566

ในสถานการณ์ปกติที่ไร้โรคระบาด “ธุรกิจร้านอาหาร” ถูกประเมินมูลค่าสูงกว่า 4 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยบวก ไม่เพียงเพราะประเทศไทยเป็น “สวรรค์” ของการกิน มีร้านอาหารริมทาง(Street Food)ไปจนถึงร้านหรูหราบริการชั้นเลิศ(Fine Dining) ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกระดับชั้นตามฐานะและกำลังซื้อ ปี 2566 ไม่เพียงผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 แต่ยังเป็นปีที่ธุรกิจร้านอาหารฟื้นตัวกลับมาคึกคัก เพราะไม่ใช่แค่ขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ปลดปล่อยไลฟ์สไตล์ต่างๆ แต่ยังมีการบริโภคเพิ่มจากนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไลน์แมน วงใน (LINE MAN Wongnai) กล่าวว่า ประเทศไทยใครๆก็สามารถเป็น “เจ้าของร้านอาหารได้ง่าย” แต่การเติบโตต้องเผชิญความท้าทายไม่น้อย เพราะจากการเก็บข้อมูลของร้านอาหารต้องพบ “ความจริงที่น่าเศร้าเล็กน้อย” เมื่อมีผู้ประกอบการเข้ามาสมัครเข้ามาเปิดร้านบนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี ระยะเวลาประมาณ 12 เดือน จะมีการปิดกิจการไป 50% เนื่องจาก “ไม่มียอดขาย” และเมื่อเปิดให้บริการผ่านไป 3 ปี จะมีราว 65% ต้องปิดตัวลง เหล่านี้สะท้อนถึง การแข่งขัน โอกาสรอดของร้านที่เปิดใหม่ในประเทศไทยด้วย สำหรับภาพรวมธุรกิจร้านอาหารไทยครึ่งปีแรก มีร้านเปิดใหม่เพิ่มถึง 13.6% หรือกว่า 1 แสนร้าน มีจำนวน 680,190 ร้าน จากช่วงเดียวกันปีก่อนมี 598,693 ร้าน ขณะที่ประเภทของร้านอาหารที่ให้บริการมากสุด สัดส่วนเป็นดังนี้ – อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว 17.7% – คาเฟ่ ร้านกาแฟ 11% – อาหารไทย 10.9% – ก๋วยเตี๋ยว 7.1% – อาหารอีสาน 6.4% – ขนมหวาน 6.2% – บุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง สุกี้ 6.1% – เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ 4.2% – อื่นๆ 30% เมื่อโควิดคลี่คลาย ประชาชนออกมาทานข้าวนอกบ้านมากขึ้น ทิศทางโต Dine-in ร้อนแรง ส่วน “เดลิเวอรี” แผ่วลงพอตัว แต่ไลน์แมน วงใน ยังคงรักษาโมเมนตัมขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังสั่งเมนูอร่อย จนทำให้ “ขายดี” บนเดลิเวอรี นำโด่ง เมนูอาหารขายดีบนเดลิเวอรี 1. ก๋วยเตี๋ยวยืนหนึ่งขายดีตลอดกาล 2. ข้าวมันไก่ 3. ส้มตำปูปลาร้า เติบโต 40.4% สะท้อนคนไทยชอบความแซ่บนัว 4. ข้าวผัด (หมู กุ้ง ปู) 5. …

พาจอบเบิ่ง เทรนด์ “ธุรกิจร้านอาหาร” ปี 2566 อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง อาณาจักร เจ้าแม่วงการธุรกิจรถทัวร์คนดัง แห่งเชิดชัยทัวร์ สินทรัพย์ล่าสุกว่า 2,300 ล้านบาท .

หากจะถามว่า “เจ๊เกียว” เป็นใคร เชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่รู้จัก เพราะตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ชื่อของ เจ๊เกียว หรือ สุจินดา เชิดชัย เจ้าแม่วงการธุรกิจรถทัวร์คนดัง แห่งเชิดชัยชัวร์ มักปรากฏให้เห็นกันเป็นประจำในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการรถโดยสาร หากมีสถานการณ์ที่เกี่ยวกับประเด็นข้อเรียกร้องต่าง ๆ จากทางภาคเอกชนต่อรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐเกิดขึ้น หากย้อนไปดูการทำธุรกิจของ “เจ๊เกียว” นั้น ต้องยอมรับว่า เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดอยู่ในวงการรถทัวร์ รถ บขส. มานานกว่า 65 ปี โดยเป็นทั้งเจ้าของอู่เชิดชัย และบริษัทเดินรถ “เชิดชัยทัวร์” ก่อนที่จะมีข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า ประกาศเตรียมเลิกประกอบธุรกิจรถโดยสาร บขส. เพื่อไม่ให้กระทบกับธุรกิจอื่น ๆ หลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับการแข่งขันที่รุนแรง จนทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลง และไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ ทั้งรายจ่ายค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง ค่าจ้างพนักงงาน ส่วนรถโดยสารที่ให้บริการส่วนใหญ่ก็วิ่งให้บริหารเฉพาะสายสั้น ๆ เท่านั้น จนในที่สุด เจ๊เกียว จึงตัดสินใจเตรียมวางมือจากธุรกิจเดินรถ แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้ทำธุรกิจเดินรถทัวร์ เพื่อต้นทุนสูง แต่ธุรกิจในมือของเจ๊เกียว นั้น ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการรถโดยสาร และการขนส่ง ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ ทั้งอู่ต่อรถ ซ่อมรถ ขายรถ ขายอะไหล่ และให้เช่ารถทัวร์ เจ๊เกียว เป็นผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆ อย่างน้อย 7 แห่ง ที่ยังดำเนินกิจการอยู่ บริษัท กิจการราชสีมายานยนต์ จำกัด ประกอบกิจการเดินรถโดยสารประจำทาง สินทรัพย์รวม 34.62 ล้านบาท รายได้รวม 6.24 ล้านบาท บริษัท อู่เชิดชัยอุตสาหกรรม จำกัด ประกอบกิจการต่อตัวถังรถโดยสาร ซ่อม จำหน่ายอะไหล่ สินทรัพย์รวม 931.09 ล้านบาท รายได้รวม 52.69 ล้านบาท บริษัท เกลียวเวิลด์ จำกัด ประกอบกิจการเกี่ยวกับการประกอบแชสซีส์รถต่างๆ สินทรัพย์รวม 9.06 ล้านบาท รายได้รวม 1.44 ล้านบาท บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประกอบกิจการผลิตยานยนต์อื่นๆ ที่ใช้เพื่อการโดยสาร สินทรัพย์รวม 234.22 ล้านบาท รายได้รวม 68.49 ล้านบาท บริษัท เชิดชัย บัส แอนด์ พาร์ท จำกัด ประกอบกิจการขายอุปกรณ์ประกอบรถยนต์ สินทรัพย์รวม 98.82 ล้านบาท บริษัท เชิดชัยคาร์ส จำกัด ประกอบกิจการขายรถยนต์และตัวแทนขายรถยนต์ สินทรัพย์รวม 206.22 …

พาเปิดเบิ่ง อาณาจักร เจ้าแม่วงการธุรกิจรถทัวร์คนดัง แห่งเชิดชัยทัวร์ สินทรัพย์ล่าสุกว่า 2,300 ล้านบาท . อ่านเพิ่มเติม »

พิโกไฟแนนซ์ หนี้เพิ่มต่อเนื่อง NPL ทะลุ 20% “ภาคอีสาน” นำโด่ง มีหนี้หลายกว่าหมู่

นายสมเกียรติ จตุราบัณฑิต นายกสมาคมพิโกไฟแนนซ์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยหากดูเอ็นพีแอลก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 หนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือน อยู่ที่ 12.54% ของยอดสินเชื่อคงค้าง หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 351 ล้านบาท และล่าสุดในเดือนมีนาคม 2566 ยอดค้างชำระเกิน 3 เดือน ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.84% หรือคิดเป็น 1,350 ล้านบาท ทั้งนี้ สินเชื่ออนุมัติสะสม ณ เดือนมีนาคม 2566 จำนวนบัญชีทั้งสิ้น 3.13 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นจำนวนเงินรวม 3.12 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น สินเชื่อแบบมีหลักประกันจำนวน 4.34 แสนบัญชี เป็นจำนวนเงิน 1.21 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันจำนวน 2.69 ล้านบัญชี เป็นจำนวนเงิน 1.91 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี หนี้ NPL ที่ปรับเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกร ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ รวมถึงในช่วงที่เกิดโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถขายสินค้าได้ ตลอดจนกลุ่มปศุสัตว์ การเลี้ยงสุกรและโคขุน เพื่อนำไปขายต่างประเทศ พบปัญหาเศรษฐกิจไม่สามารถส่งออกไปขาย ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีดอกเบี้ยผิดนัดค้างชำระสะสม แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ปรับดีขึ้น แต่รายได้ยังคงมีไม่เพียงพอชำระหนี้ค้างสะสม “ยอมรับว่าหนี้ NPL ส่วนใหญ่เกิดจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดติดชายแดนที่เป็นกลุ่มเกษตรเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคขุนเพื่อขายให้กัมพูชา แต่พบปัญหาราคาตก ทำให้ไม่มีเงินชำระหนี้ หรือกลุ่มรายได้ประจำที่อยู่ในกลุ่มโรงงาน ภาคตะวันออก ถูกลดโอที ค่าโบนัส ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง หรือกลุ่มผู้มีรายได้ประจำที่ลาออกจากงาน ทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้” อีสาน ลูกค้าเบี้ยวหนี้เพียบ นายบูรพงศ์ วรรักษ์ธารา กรรมการผู้จัดการ บริษัท บูราพาณิชย์ จำกัด ผู้ประกอบการพิโกไฟแนนซ์ พลัส จ.ขอนแก่น กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ขณะนี้ตัวเลข NPL ของบริษัทขยับเพิ่มขึ้นใกล้ 20% แล้ว จากยอดปล่อยกู้สะสมประมาณ 20-30 ล้านบาท โดยกลุ่มลูกค้าหลักเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าขาย กู้เฉลี่ย 1 แสนบาท/ราย และกลุ่มที่กู้เพื่อนำไปใช้จ่ายในครัวเรือน ปัจจัยหลักมาจากค่าครองชีพของลูกค้าสูงขึ้น แต่เงินเดือนหรือรายได้เท่าเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้การชำระเงินกู้ของลูกค้าลดน้อยลง แม้กระทั่งเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการก็เริ่มชะลอการใช้หนี้ เพื่อกุมเงินไว้ก่อน เนื่องจากไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจ ขณะนี้ภาพรวมหนี้เสียของพิโกไฟแนนซ์ในขอนแก่นมีจำนวนมากขึ้น ปัจจุบัน ตัวเลข NPL น่าจะอยู่ที่ 25-26% และมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปี 2565 ที่ผ่านมา …

พิโกไฟแนนซ์ หนี้เพิ่มต่อเนื่อง NPL ทะลุ 20% “ภาคอีสาน” นำโด่ง มีหนี้หลายกว่าหมู่ อ่านเพิ่มเติม »

ถ่าเบิ่ง “ BEARHOUSE ” ชงชานมไข่มุกรุกอีสาน  ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ

ถ่าเบิ่ง “ BEARHOUSE ” ชงชานมไข่มุกรุกอีสาน  ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ   “แบร์เฮาส์” รุกหนักตลาดร้านชานมไข่มุก มองเป็นแบรนด์โซนบลูโอเชียน ปีนี้เปิดใหม่อีก 10 สาขา เน้นกทม. อีสาน ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ   นายอรรถกร รัตนารมย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้จัดการทั่วไป บริษัท 21 ซันแพสชั่น จำกัด ผู้บริหารร้านชานมไข่มุกแบร์เฮาส์ (BEARHOUSE) เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดชานมไข่มุกกลับกลายมาเป็นตลาดบลูโอเชียนอีกครั้ง (Blue Ocean) มีคู่แข่งน้อย หลังจากที่ผู้ประกอบการหลายรายได้เลิกไป รวมทั้งเริ่มหันไปสนใจลงทุนในเรื่องอาหารกันมากขึ้น โดยเฉพาะประเภท ชาบู หม่าล่า ปิ้งย่าง และลงทุนเปิดร้านกาแฟมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดชานมไข่มุกแข่งขันน้อยลง ไม่รุนแรงเหมือนในอดีต เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มเป็นตลาดเรดโอเชียน (Red Ocean) และการแข่งขันมีความดุเดือดอย่างมาก   อย่างไรก็ตามในส่วนของบริษัทฯก็ยังคงเดินหน้าาขยายธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เปิดธุรกิจมาเมื่อปี 2562 หรือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมากับมีการสาขาแรกคือที่สยามสแควร์ และพัฒนามาตลอดเวลา กระทั่งปัจจุบันมีร้านเปิดดำเนินการแล้วรวม 23 สาขา ในกรุงเทพและปริมณฑล และเปิดในต่างจังหวัดสาขาแรกที่นครราชสีมาเมื่อปี 2565   ทั้งนี้ปี 2566 นี้วางแผนที่จะขยายร้านเพิ่มอีก 10 สาขา เพื่อให้สิ้นปีนี้มีครบ 33 สาขาในไทย จากขณะนี้ 23 สาขาโดยดำเนินการเองทั้งหมดไม่มีการขายแฟรนไชส์แต่อย่างใด ยังคงเน้นไปที่ กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคอีสานมากขึ้น เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เน้นเปิดตามศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ มากกว่าเปิดแบบสแตนด์อโลน    ส่วนปีหน้าคาดว่าจะเริ่มขยายไปทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และภาคใต้เช่น หาดใหญ่ นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะขยายตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกันภายในปี 2568 ซึ่งเอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะเป็นรูปแบบใดดี การขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์กับการหาผู้ร่วมทุน ส่วนแผนระยะยาว ตั้งเป้าเปิดร้านแบร์เฮาส์ให้ได้รวมในไทย 109 สาขา ภายในปี 2571 และมีแผนที่จะเข้าตลาดหุ้นด้วย เบื้องต้นมองไปที่ตลาด MAI ก่อน   ยอดขายที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2562 มีประมาณ 17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 82 ล้านบาท ในปี 2563 และเพิ่มขึ้นเป็น 104 ล้านบาทในปี 2564 ส่วนปี 2565 ทำได้ 210 ล้านบาท ซึ่งเติบโตมากถึง 79% ซึ่งผู้บริหารทั้งสองยืนยันว่า เป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในตลาดร้านชาในไทย ซึ่งการเติบโตเป็นผลมาจากการที่ขยายสาขามากขึ้น …

ถ่าเบิ่ง “ BEARHOUSE ” ชงชานมไข่มุกรุกอีสาน  ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top