June 2023

ซอมเบิ่ง 6  เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ? 

ซอมเบิ่ง 6  เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ?    เทรนด์นวัตกรรมเกษตร หวังสร้างผลผลิตดีขึ้น ลดต้นทุน ทุ่นแรง สร้างตลาด เปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่ามุ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์การทำเกษตรกรรมผ่านหลากหลายโครงการ  สำหรับเทรนด์ทางด้านนวัตกรรมการเกษตรที่น่าสนใจในปัจจุบันจาก Startup ไทย มี 6 เทรนด์ ประกอบด้วย    การเกษตรดิจิทัล  การจัดการฟาร์มด้วยเซนเซอร์ และระบบไอโอที ถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชแต่ละชนิดมาศึกษา เพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโต การป้องกันโรค ความเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก ร่วมกับการพัฒนาเซนเซอร์และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ เช่น FarmConnect Asia ระบบควบคุมและติดตามการบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยในแปลงปลูกเมลอนกลางแจ้งให้มีความแม่นยำและเที่ยงตรงด้วยเทคโนโลยี IoT Fertigation ช่วยเพิ่มผลผลิตคุณภาพสูงทั้งเกรดเอและเกรดพรีเมียมได้ตรงตามความต้องการผู้บริโภค อีกทั้งได้พัฒนาระบบ AI จากข้อมูลการปลูกเมลอน เพื่อให้เกิดการทำเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น เมอร์ลิเนียม ฟาร์ม ระบบเกษตรอัจฉริยะที่สื่อสารข้อมูลไร้สายด้วยเทคโนโลยีผลิตพลังงานในตัวด้วยแสงความเข้มต่ำ แก้ปัญหาความยุ่งยากของสมาร์ทฟาร์มแบบเดิมไปโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องมีสายไฟ แดดน้อยก็ทำงานได้   เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ โดรน และระบบอัตโนมัติ เช่น การพ่นยาพ่นปุ๋ย การหว่านเมล็ด การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลรายแปลงเพื่อทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น และระบบอัตโนมัติที่ช่วยผ่อนแรงการทำงานให้เกษตรกร เช่น Tiger Drone โดรนสัญชาติไทยที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ใช้งานง่ายด้วยเมนูภาษาไทย มีระบบวางแผนเส้นทางการบินที่แม่นยำสูงและปลอดภัยทุกพื้นที่ พร้อมฟังก์ชันการใช้งานเพื่อเกษตรกรไทยโดยเฉพาะ เช่น โหมดโชยรวง ที่ช่วยให้ผลผลิตการเกษตรไม่เสียหายจากการบินโดรน โหมดกันข้าวไหม้ ที่ช่วยให้การฉีดพ่นเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอไม่มากเกินไป พร้อมการเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและปลอดภัย Rimbotics เรือรดน้ำไร้คนขับ ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงเพิ่มเติมของเรือรดน้ำชาวสวนที่มีอยู่ ทำหน้าที่ควบคุมเรือรดน้ำแทนคน การตรวจจับร่องน้ำ สัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์ส่งไปยังหน่วยประมวลผล และส่งไปควบคุมใบพัดให้หมุนทางซ้าย-ขวา เพื่อควบคุมหัวเรือให้อยู่กลางร่องน้ำเสมอ และควบคุมการเลี้ยวเมื่อเจอทางแยกของร่องน้ำ รวมทั้งสามารถตั้งค่าจำนวนร่องน้ำที่ต้องการรดได้ และเมื่อครบจำนวนตามกำหนดจะสั่งเครื่องยนต์ให้หยุดทำงานได้   เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อพัฒนากระบวนการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูง เช่น พันธุ์พืชทนโรค สารชีวภาพกำจัดโรค ปุ๋ยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสตาร์ตอัปในกลุ่มนี้จะเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยอย่างน้อย 4-5 ปี สำหรับเป็นฐานองค์ความรู้มาสร้างให้เกิดธุรกิจ เช่น Siam Novas ที่ผลิตน้ำเชื้อโคคัดแยกเพศแห่งแรกของไทยด้วยกรรมวิธีการคัดเพศจากเซลล์น้ำเชื้อโดยปฏิกิริยาไซโตทอกซิคจากโมโนโคลนอลแอนติบอดี ทำให้เพิ่มอัตราการผสมติดและทำให้เกิดลูกเพศเมียได้สูงถึง 70-75% UniFAHS พัฒนาสารเสริมชีวภาพที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อซาลโมเนลลาในลำไส้สัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในระบบทางเดินอาหารของไก่ เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาผลิตจากแบคเทอริโอเฟจในโรคไก่อื่นๆ เช่น โรคบิด และโรคในสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา   การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ที่ครอบคลุมทั้งการปลูกพืชระบบปิดโดยใช้แสงเทียม ตอบโจทย์การปลูกพืชในเมืองโดยที่ไม่ต้องรอฟ้าฝนและแสงแดด การปลูกผักที่สะอาดไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง โดยสิ่งสำคัญคือความคุ้มค่าของการลงทุน ซึ่งผู้ปลูกจำเป็นต้องเลือกกลุ่มผักและผลิตผลทางการเกษตรที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถแข่งขันในด้านราคาได้ เช่น Distar Fresh ที่เกิดจากความต้องการผักปราศจากยาฆ่าแมลง จึงเกิดเป็นโรงงานผลิตพืชระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งการให้น้ำ …

ซอมเบิ่ง 6  เทรนด์นวัตกรรมเกษตร จาก Startup ไทย มีอิหยังแหน่ ?  อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นจั้งใด๋ ? 

พามาฮู้จัก เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นจั้งใด๋ ?    มื้อนี่ ISAN Insight พามาฮู้จัก เขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่เป็นพื้นที่จุดเริ่มต้นของสินค้า GI ที่โด่งดังมีประวัติจั้งใด๋?  เมื่อเรารู้จักทุ่งกุลาร้องไห้กันแล้ว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยังได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้าอัตลักษณ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (GI) จ.ร้อยเอ็ด อีกด้วย อยู่ในพื้นที่ อ.เกษตรวิสัย สำรวจเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่นำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการผลิตข้าว กับเกษตรกรที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าว กลุ่มละ 32 ราย   พบว่า เทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการผลิตข้าว โดยนำมาใช้ในการฉีดพ่นยาสารเคมี พ่นปุ๋ยน้ำ หรือฮอร์โมน ทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตที่ดี การฉีดพ่นกระจายตัวได้อย่างทั่วถึง ลดการเหยียบย่ำในแปลงนาข้าว ลดความเสียหายของผลผลิต ลดผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีและปัญหาด้านสุขภาพของเกษตรกร รวมถึงลดระยะเวลาในการทำงาน และสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานอีกด้วย ผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีโดรนในการผลิตข้าว ส่งผลให้เกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 393 กก.ต่อปี ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีโดรนในการผลิตข้าว ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 342 กก.ต่อปี เกษตรกรที่ใช้เทคโนโลยีโดรนในการผลิตข้าว มีผลผลิตต่อไร่มากกว่าร้อยละ 15 ด้านราคาขายข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ GI จ.ร้อยเอ็ด ราคาเฉลี่ยปี 2564 ความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา เฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 10.3 บาท ในส่วนของการแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุง ขนาด 1 กิโลกรัม ขายได้ราคาเฉลี่ยถุงละ 40-45 บาท ข้าวกล้องบรรจุถุงสุญญากาศ ราคาเฉลี่ยถุงละ 60-75 บาท ด้านภาพรวมของสถานการณ์ตลาด ผลผลิตร้อยละ 56 เกษตรจะจำหน่ายให้กับโรงสีและกลุ่มเกษตรกร แบ่งเป็น ร้อยละ 21 จำหน่ายให้โรงสี, ร้อยละ 20 จำหน่ายให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ GI ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด และร้อยละ 15 จำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ พ่อค้าคนกลางและเกษตรกร ส่วนผลผลิตร้อยละ 44 แบ่งเป็น ร้อยละ 33 เก็บไว้บริโภคในครัวเรือน และร้อยละ 12 เก็บเป็นเมล็ดพันธุ์   อ้างอิงจาก:  สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2494030    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นวัตกรรม #ร้อยเอ็ด #ทุ่งกุลาร้องไห้ #เกษตรดิจิทัล #สินค้าGI

พาพี่น้องมาเบิ่ง เส้นทางอาณาจักร “เหล้าอีสาน” แต่ละจังหวัด

“ซอดแจ้ง (Sod Chaeng Spirit of Issan)” – อุบลราชธานี “ซอดแจ้ง” แปลว่า แสงแรกยามเช้า โรงกลั่นสุราชุมชนซอดแจ้ง เกิดจากแนวคิดในการช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนในท้องถิ่น อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เริ่มต้นในปี 2563 จากการพัฒนาจุลินทรีย์ธรรมชาติเพื่อการเกษตร (EM) โดยใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และให้ผลผลิตที่มากกว่าการใช้เคมี จากนั้นได้พัฒนามาเป็นสุราชุมชนที่มีคุณภาพ พัฒนาสูตรการผลิตและนำวิธีการผลิตที่ทันสมัยมาใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน สร้างมูลค่าและมาตรฐานให้แก่สุราชุมชนของไทย “เหล้าคูน” – ขอนแก่น คุณสวาท อุปฮาด ทำนาอินทรีย์แล้วไม่อยากเอาข้าวไปขายให้โรงสี จึงเกิดความคิดว่าเอามาทำเหล้าดีกว่า จากข้าวอินทรีย์มาเป็น “สุรา” ด้วยความที่ในวัยเด็กเขาเติบโตมากับการเห็นพ่อแม่ต้มสุรา พอจะซึมซับองค์ความรู้นั้นมาบ้าง นำมาสู่การเป็นการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกิดโรงกลั่นสุราชุมชนขนาดเล็ก แต่การทำวิสาหกิจชุมชนและจดแจ้งอย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งได้เริ่มจดทะเบียนเมื่อปี 2560 จนกระทั่งต้นปี 2562 ถึงได้ผลิตจริง “สาคู Saku” – นครราชสีมา สุราชุมชนจากเขาใหญ่ Saku ทดลองทำมาแล้ว 3 ปี แต่พึ่งได้รับอนุญาตเมื่อกันยายน 2565 ชื่อแบรนด์คือชื่อยายทวดของเจ้าของแบรนด์ เพราะเหล้าตัวนี้เป็นสูตรของยายที่เคยทำสมัยสาวๆ ยายเล่าให้ฟังว่าทำประมาณไหน แล้วก็เอามาผสมกับความรู้ในอินเตอร์เน็ตร่วมด้วย ได้ทดลองทำดื่มเองมาแล้วปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนมองหาวิธีแปรรูปวัตถุดิบที่มีเยอะตามท้องถิ่น เมื่อก่อนเคยเอานมวัวมาหมักเหล้าแล้วกลั่นแต่รสชาติมันออกมาไม่ดี จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นข้าวโพด และได้พัฒนาวิธีการผลิตเรื่อยๆ จนเกิดเป็นแบรนด์ Saku “ออนซอน Onson” – สกลนคร เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 แต่เกือบเลิกทำเพราะไม่มีผู้สานต่อ เจ้าของคนปัจจุบันเล่าว่า “จริงๆ แล้วเจ้าของเดิมคือคุณลุงข้างบ้าน แกทำเหล้าออนซอนเป็นงานอดิเรก แต่จุดเปลี่ยนคือเจ้าของคนปัจจุบันกลับจากกรุงเทพ มาเปิดร้านอาหารที่สกลนคร จึงเริ่มเอาเหล้าตัวนี้มาทำอาหาร จนเมื่อถึงต้นปี 2565 คุณลุงจะเลิกทำจริงๆ ผมเลยบอกว่าถ้าจะเลิกเดี๋ยวผมมาช่วยทำต่อเอง จากนั้นก็เริ่มมาปรับสูตรและเริ่มรีแบรนด์ใหม่ เหล้าตัวดั้งเดิมเป็นอ้อยทั้งหมดเลย จากนั้นได้เริ่มทำเหล้าจากใช้ช่อดอกมะพร้าวด้วย” “อีสานรัม (ISSAN RUM)” – หนองคาย แบรนด์ที่เริ่มต้นจากคู่สามีชาวฝรั่งเศส-ภรรยาสาวไทย เริ่มทดลองทำเหล้าตั้งแต่การปลูกอ้อยเอง หมักเอง กลั่นเองตั้งแต่ปี 2556 โรงงานอยู่ที่หนองคาย ผลิตโดยใช้อ้อยในพื้นที่เป็นวัตถุดิบหลัก เหล้าตัวนี้เคยได้รางวัลเหรียญเงินจากเวทีระดับโลก IWSC (International Wine and Spirit Competition) ปี 2557 ในปีแรกที่เริ่มจำหน่าย และขณะนี้พวกเขาได้ขยายโรงงานไปผลิตรัมอีกตัวจากน้ำตาล Molas บนเกาะสมุยเป็นที่เรียบร้อย อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – ประชาชนเบียร์ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน …

พาพี่น้องมาเบิ่ง เส้นทางอาณาจักร “เหล้าอีสาน” แต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาฮู้จัก ธุรกิจ “เหล้าอีสาน” สุดเริ่ด แต่ละจังหวัด

“ร้อยธานี เบฟเวอเรจ ป๊าดโธ” – ร้อยเอ็ด ความใฝ่ฝันของคุณยายในวัยเด็ก ที่ได้รับสูตรสาโทต้นตำรับถ่ายทอดมาถึงรุ่นที่ 3 สูตรการทำสาโท รวมเกือบ 100 ปี ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น คุณยายเล่าว่า ในสมัยก่อนมีการลงแขกดำนา เกี่ยวข้าว จะทำสาโทให้ญาติพี่น้องได้ชิมกัน ไม่ว่าจะเป็นงานบุญต่างๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มสาโท ตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งวัตถุดิบหลักในการผลิตสาโทมาจากข้าวเหนียวในท้องถิ่นของตัวเอง สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฏหมายได้ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวในท้องถิ่นได้ “ไร่ฟ้าเปลี่ยนสี เหล้าเตยหอม” – ชัยภูมิ เหล้าเตยหอม จากไร่ฟ้าเปลี่ยนสีเป็นสุราชุมชนของชัยภูมิ เหล้าตัวนี้ผลิตจากข้าวเหนียว โดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจากป่าภูเขียว กลั่นผสมกับใบเตยหอม สาเหตุที่เริ่มทำเหล้าตัวนี้เนื่องจากคุณพ่อเป็นคนชอบดื่มสุรา ดื่มทุกวันไม่เคยเว้น ซึ่งเราไม่สามารถไปห้ามแกได้ ดังนั้นก็เลยมีความคิดว่าในเมื่อเราไม่สามารถห้ามให้ดื่มได้ ก็ผลิตเหล้าให้ดื่มซะเลย อย่างน้อยก็สามารถกำหนดวัตถุดิบสมุนไพร และกระบวนการผลิต “The Spirit of Chaiyaphum” – ชัยภูมิ แบรนด์นี้เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 2564 จากฝีมือช่างนาฬิกาชาวฝรั่งเศสที่มาพบรักกับสาวชัยภูมิที่เกาะสมุย เมื่อตกลงปลงใจกันแล้วว่าจะมาอยู่ที่ไทย คุณกวางได้เสนอว่าตัวเองมีไร่อ้อยแต่ไม่รู้จะทำไรดี คุณณองหนุ่มฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบในการจิบสุราอยู่แล้วจึงเกิดไอเดียในการทำเหล้ารัมจากอ้อย จากที่เป็นแค่นักดื่ม เขาได้ใช้เวลาสองปีในการศึกษาลองผิดลองถูกจนได้เหล้ารัมตัวนี้ขึ้นมา เหล้าตัวนี้ใช้เวลาหมักมากกว่าปกติ เพราะใช้ยีสต์จากธรรมชาติที่ติดมากับลำอ้อย “Thai​ Sato – Satom Organic Farm : Surin” – สุรินทร์ ข้าวที่เหลือจากการขาย คุณสุแทน สุขจิตรได้นำมาผลิตสุราแช่พื้นเมือง เรียกว่า สาโท เพื่อนำเสนอเสน่ห์ของข้าวพื้นเมือง ซึ่งสาโทของวิสาหกิจชุมชนแซตอม ออร์แกนิก ฟาร์ม นี้มาทั้งในรูปแบบของสาโทโบราณ รสชาติหวานซ่าสดชื่น และฟิวชั่นสาโท ที่หยิบเอาเทคนิคการทำไวน์องุ่นมาประยุกต์เข้ากับการทำสาโทโบราณ นอกจากจะเก็บไว้ได้นานกว่าแล้วยังมีรสชาติหลากหลายที่ทำมาจากข้าวนานาสายพันธุ์ เช่น ระรื่น ทำจากข้าวเหนียวแดง จุติ ทำจากข้าวเหนียวดำ และ เดอะ แบล็ค จัสมิน ทำจากข้าวมะลินิลสุรินทร์ รวมถึงไวน์ผลไม้ที่หมักจากมะม่วงกะล่อนและกล้วย “เหล้าอุ” – นครพนม เหล้าอุ เป็นเครื่องดื่มมึนเมาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อม ในสมัยก่อนถือเป็นเครื่องดื่มที่ชาวผู้ไทยหรือภูไท ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มักจะทำไว้เพื่อเลี้ยงสังสรรค์ในงานบุญหรือนำมาต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เครื่องดื่มชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งที่คนทั่วไปอาจรู้จักในชื่อ ‘เหล้าโท’ หรือ ‘สาโท’ การหมักเหล้าอุ สืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีในพื้นที่อำเภอเรณูนคร จึงไม่แปลกอะไรที่ภายหลังเหล้าอุจะกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อของอำเภอเรณู และเป็นอีกหนึ่งของฝากของดีประจำจังหวัดนครพนมอีกด้วย โดยพื้นฐานแล้วส่วนประกอบหลักของเหล้าอุคือข้าวเหนียวนั่นเอง อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – ประชาชนเบียร์ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ …

ชวนมาฮู้จัก ธุรกิจ “เหล้าอีสาน” สุดเริ่ด แต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

ธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้างในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมของธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้าง อยู่ที่ 58,483 ล้านบาท และมีจำนวนบริษัท 567 แห่ง 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้างมากที่สุด อันดับที่ 1 ร้อยเอ็ด มีรายได้รวม 35,689 ล้านบาท อันดับที่ 2 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 3,827 ล้านบาท อันดับที่ 3 ขอนแก่น มีรายได้รวม 2,897 ล้านบาท อันดับที่ 4 นครราชสีมา มีรายได้รวม 2,701 ล้านบาท อันดับที่ 5 สุรินทร์ มีรายได้รวม 2,118 ล้านบาท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#รายได้รวมธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้าง #ธุรกิจ #ธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้าง #ธุรกิจอีสาน #Business#ขายส่งวัสดุก่อสร้าง

อีสานสุดปัง “บีโอไอ” เผย 3 เหตุผล ดันอีสาน เป็นเมืองหลวง BCG อาเซียน ไตรมาสแรกปีนี้มียอดขอรับส่งเสริมลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท

นโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม โดยการขับเคลื่อน “ระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค” จะเป็นหนึ่งในกลไกที่จะช่วยกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้ง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) หรือ Northeastern Economic Corridor (NeEC) กำหนดพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย และขอนแก่น ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและโอกาสที่จะพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bioeconomy) แห่งใหม่ของประเทศและเป็นผู้นำในระดับอาเซียน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ที่สนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG ทำให้มียอดการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.- มี.ค.) ของปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร โดยมี 3 เหตุผลที่ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ 1.ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ภาคอีสานมีพื้นที่มากที่สุด คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ หรือกว่า 160,000 ตารางกิโลเมตร และมีขนาดประชากรคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ กว่า 22 ล้านคน ทั้งยังเป็นพื้นที่เพาะปลูกสูงถึง 43% ของประเทศ โดยมีการปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว และยางพารา ซึ่งวัสดุเหลือใช้จากพืชเหล่านี้ จะกลายเป็นวัตถุดิบล้ำค่าในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ 2. มีความพร้อมพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ภาคอีสานเป็นถิ่นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาที่มีขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และหน่วยงานวิจัยจำนวนมาก 3.ตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ ภาคอีสานอยู่ในจุดที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สามารถเป็นประตูเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีศักยภาพการเติบโตสูงได้อย่างดี จุดแข็งและสินทรัพย์เหล่านี้ ทำให้ภาคอีสานจะเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุน และมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปอุตสาหกรรมชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมในอนาคต รวมถึงบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมขับเคลื่อนการลงทุน “ด้วยศักยภาพอันโดดเด่นของพื้นที่ NeEC ผนวกกับสิทธิประโยชน์บีโอไอที่มุ่งเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย และกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยบีโอไอมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำโดยเฉพาะวัตถุดิบการเกษตรท้องถิ่น ไปสู่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำมูลค่าสูง จะส่งผลให้ NeEC สามารถสร้างฐานการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพแบบครบวงจร หรือไบโอคอมเพล็กซ์ และก้าวไปสู่การเป็นเมืองหลวง BCG (Bio-Circular-Green Industry) ของภูมิภาคอาเซียนได้ในที่สุด อ้างอิงจาก: https://www.bangkokbiznews.com/business/1074037 ติดตาม …

อีสานสุดปัง “บีโอไอ” เผย 3 เหตุผล ดันอีสาน เป็นเมืองหลวง BCG อาเซียน ไตรมาสแรกปีนี้มียอดขอรับส่งเสริมลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท อ่านเพิ่มเติม »

ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 450฿ สร้างผลกระทบกับตลาดแรงงานอีสานจั้งใด๋?

ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 450฿ สร้างผลกระทบกับตลาดแรงงานอีสานจั้งใด๋ ?   การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 450 บาท จะสร้างผลกระทบกับตลาดแรงงงานของอีสานและต้นทุนของธุรกิจ โดยเฉพาะภาคการเกษตรและการก่อสร้าง รวมถึงภาคการค้า ที่มีสัดส่วนแรงงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าหรือเทียบเท่าค่าแรงขั้นสูง   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าจ้างขั้นต่ำ #ค่าจ้างขั้นต่ำ450   

สิพาเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เดือนพฤษภาคม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 52.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -1.1 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน? ภาคธุรกิจโดยเฉพาะการค้า และบริการมีกำลังซื้อที่ลดลง เนื่องจากก่อนหน้ามีการขยายตัวของกำลังชื่อที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มแรงงานที่กลับภูมิภาคในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะมาจากกรุงเทพฯ และตะวันออก ทำให้ปัจจุบันยอดขายปรับตัวลดลงโดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรและบางธุรกิจปรับตัวดีขึ้น เช่น การซ่อมบำรุงยานพาหนะขยายตัวขึ้น จากการเข้าสู่ช่วงเพาะปลูกนาปี ดัชนีความเชื่อมั่นฯ SMEs ภาคธุรกิจ เป็นอย่างไร? ภาคการค้าและการบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ขยายตัวจากกำลังซื้อและการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสงกรานต์ ภาคการผลิต 51.9 ลดลง -1.0 จากเดือนเมษายน ภาคการผลิตชะลอตัวลง โดยเฉพาะกับกลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่เผชิญกับราคาทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์สด ผักและผลไม้ ในขณะที่การผลิตไม้และเฟอร์นิเจอร์จากคำสั่งชื้อของคู่ค้า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคการค้า 50.1 ลดลง -3.9 จากเดือนเมษายน ภาคการค้าปรับตัวลดลงทั้งการค้าปลีกและค้าส่งจากกำลังซื้อที่ลดลง เนื่องจากการสิ้นสุดเทศกาลที่ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอย และการเดินทาง ซึ่งปรับลดลงในทุกภูมิภาค ภาคการบริการ 56.2 ลดลง -2.2 จากเดือนเมษายน ภาคการบริการที่ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวปรับตัวลดลงในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบทางลบจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น แต่กลุ่มบริการอื่น ๆ ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง เช่น การก่อสร้าง หรือกลุ่มบริการกีฬา ภาคการเกษตร 51.1 ลดลง -0.5 จากเดือนเมษายน ธุรกิจการเกษตรในกลุ่มของการค้าขายสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรมียอดขายที่ลดลง แต่ในหลายพื้นที่กิจกรรมการเพาะปลูกปรับตัวดีขึ้น เช่น ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเข้าถึงช่วงเพาะปลูกข้าวนาปี หมายเหตุ: ดัชนี SMEs มีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าฐานเท่ากับ 50 ดัชนี > 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ดีขึ้น” จากเดือนก่อนหน้า ดัชนี = 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ทรงตัว” จากเดือนก่อนหน้า ดัชนี < 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า อ้างอิงจาก: – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #SMEs #ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการSMEs #ธุรกิจ #ดัชนีความเชื่อมั่น #ธุรกิจอีสาน

กฎหมายความเร็วรถใหม่ 2566 มีผลบังคับใช้แล้ว ทำผิดกฎจะโดนอิหยังแหน่ ?

กฎหมายความเร็วรถใหม่ 2566 มีผลบังคับใช้แล้ว ทำผิดกฎจะโดนอิหยังแหน่ ?   อัปเดตกฎหมายความเร็วรถยนต์ 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกฎกระทรวง กฎหมายความเร็ว 2566 กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบท โดยกำหนดความเร็วบนทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบน ที่มีทางเดินรถแบบจัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนแบบกำพงกั้น  (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน    กฎกระทรวงดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป แต่ไม่ได้บังคับใช้กับถนนทุกสาย หากพบว่าเส้นทางใดมีเครื่องหมายจราจรกำหนดความเร็วต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ให้ขับรถไม่เกินความเร็วที่ป้ายนั้น ๆ กำหนด เว้นแต่จะไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากรถในช่องทางเดินรถมีมากเกินไป หรือเหตุขัดข้องอื่น ๆ อันถือเป็นเหตุผลสมควรแก่กรณี   หากไม่อยากโดนใบสั่งความเร็ว 2566 ผู้ใช้รถไม่ควรขับเกินกว่าที่กําหนดความเร็วรถ 2566 หากฝ่าฝืนขับรถเร็วเกินกฎกระทรวง จะมีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท (หรือแล้วแต่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่)   ละเมิดกฎหมายจราจร มีโทษอะไรบ้าง ? ▪️ ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท ▪️ ขับรถฝ่าไฟแดง ปรับไม่เกิน 4,000 บาท ▪️ ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุดเมื่อมีสัญญาณไฟแดงปรับไม่เกิน 1,000 บาท ▪️ ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ▪️ ขับขี่บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันควร ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท ผู้แจ้งเบาะแสได้รับเงินส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของค่าปรับ ▪️ ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท ▪️ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ▪️ ผู้โดยสาร “ตอนหลัง” ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ▪️ ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตหรือร่างกายผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   อ้างอิงจาก: กฏกระทรวง กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564 pptvhd, Chobrod, one2car   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  …

กฎหมายความเร็วรถใหม่ 2566 มีผลบังคับใช้แล้ว ทำผิดกฎจะโดนอิหยังแหน่ ? อ่านเพิ่มเติม »

ปี 2565 ที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหลายปานใด๋ ? 

ปี 2565 ที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหลายปานใด๋ ?    อ้างอิงจาก : กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก  https://web.dlt.go.th/statistics/    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อุบัติเหตุบนท้องถนน #จราจร

Scroll to Top