March 2023

พามาเบิ่ง ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติในภาคอีสาน  เดือน มกราคม ปี 2566

พามาเบิ่ง ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติในภาคอีสาน  เดือน มกราคม ปี 2566   ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ คือ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ก่อนการปิดด่านตรวจคนเข้าเมือง และพำนักในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมผู้ที่วางแผนการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ตามแผนการเดินทาง (ไม่รวมชาวต่างชาติที่ประกอบอาชีพในประเทศไทย) ซึ่งเป็นการนับตามกิจกรรมการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจมีการนับซ้ำในบุคคลเดียวกัน   ปัจจัยบวก – ความต้องการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติยังอยู่ในระดับสูง – ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติที่เข้ามาในอีสาน ผ่านรถไฟลาว-จีน   ปัจจัยเสี่ยง – ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ยังอยู่ในระดับสูงจากต้นทุนเชื้อเพลิง – ขาดสถานที่ท่องเที่ยวที่จูงใจผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf     อ้างอิงจาก: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นักท่องเที่ยว #รายได้นักท่องเที่ยว #เที่ยวอีสาน #นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ภาคอีสานตอนล่าง Mega Project มีอิหยังแหน่ ?

ภาคอีสานตอนล่าง Mega Project มีอิหยังแหน่ ? Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในภาคอีสานตอนล่าง มีทั้งหมด 4 โครงการ 1. นิคมอุตสาหกรรม อุบลราชธานี บริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด และกลุ่มสินรุ่งเรือง เสนอแผนร่วมดำเนินกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งถือว่าสอดรับกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องพัฒนาสังคม พื้นที่ และยังเป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลงจะสามารถแข่งขันในตลาด CLMV และช่วยให้เกิดการสร้างงานคนในท้องถิ่น ได้กว่า 20,000 อัตราในภาคอีสาน 2. Hydro-Floating Solar Hybrid เขื่อนสิรินธร เพื่อสนองนโยบายในการเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนภายในประเทศ โดยสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและภูมิภาคที่สูงขึ้น ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร 3. สะพานไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี -สาละวัน) สะพานความยาว 1.02 กิโลเมตร จะเชื่อมทางหลวงหมายเลข 13 ใต้ในเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวันของ สปป.ลาว กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2112 ในอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี โดยสะพานแห่งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน และทำหน้าที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจสำหรับทั้งภูมิภาคด้วย เพราะสะพานแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะเชื่อมภาคตะวันออกของไทยกับทางตอนใต้ของลาว แต่ยังจะเชื่อมโยงไปยังเวียดนามด้วย 4. ยกระดับสนามบินบุรีรัมย์ ขณะนี้กำลังเร่งก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ประกอบด้วย การก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่และสิ่งก่อสร้างประกอบอื่นๆ พร้อมคุรุภัณฑ์อำนวยความสะดวกและการต่อเติมความยาวทางวิ่งจากเดิม 2,100 เมตร เป็น 3,000 เมตร, ขยายทางขับและลานจอดเครื่องบินขนส่งสินค้า พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน รวมถึงส่วนอื่นๆ ปัจจุบันรองรับให้บริการผู้โดยสารปีละ 3.5 แสนคน หากพัฒนาปรับปรุงแล้ว คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 แสน – 1 ล้านคน ทั้งเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับเปิดสายการบินระหว่างประเทศ หมายเหตุ: Mega project ที่มีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #อุบลราชธานี #บุรีรัมย์

ปังหลาย อุดรธานี คว้าโอกาสเป็นเจ้าภาพ “งานมหกรรมพืชสวนโลก” 2569

ปังหลาย อุดรธานี คว้าโอกาสเป็นเจ้าภาพ “งานมหกรรมพืชสวนโลก” 2569   จังหวัดอุดรธานีได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 ภายใต้แนวคิด ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต เตรียมใช้พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแดเป็นสถานที่จัดงาน พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ภายหลังจากดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และ นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB หรือ สสปน.) เข้าร่วมการประชุมสมาคมพืชสวนโลก(International Association of Horticultural Producers : AIPH) ทาง AIPH ได้ประกาศการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (ระดับ B) ณ Crowne Plaza Dubai Marina เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภายใต้แนวคิด Diversity of Life: Connecting people, water and plants for sustainable living หรือ ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต: สายสัมพันธ์แห่งน้ำ พืชพรรณ และผู้คนสู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน  อันสะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดอุดรธานี ที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสายน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้คนในท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน พื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 นี้ ตั้งอยู่ที่ ต.กุดสระ อ.เมืองอุดรธานี ริมถนนมิตรภาพ สายอุดรธานี-หนองคาย ห่างจากตัวเมืองอุดรฯ ประมาณ 4 ก.ม. เนื้อที่ประมาณ 975 ไร่ เป็นพื้นที่น้ำ 400 ไร่ และพื้นดินประมาณ 575 ไร่เศษ ระยะเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 – 14 มีนาคม 2570 (134 วัน) เมื่อเสร็จการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (2026) แล้ว ทางจังหวัดอุดรธานีมีแผนจะอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าว เพื่อใช้ประโยชน์ต่อเนื่องเป็นศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ ประเพณีวัฒนธรรม และศูนย์กลางกีฬานานาชาติ ของกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขงและภาคตะวันออกเฉียงตอนบน   อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อุดรธานี …

ปังหลาย อุดรธานี คว้าโอกาสเป็นเจ้าภาพ “งานมหกรรมพืชสวนโลก” 2569 อ่านเพิ่มเติม »

เป็นตาแซ่บหลาย “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” สุดปังจากบ้านแฮด สดจากสวน พร้อมถึงมือผู้บริโภค

นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตร (สศก.) เปิดเผยหลังจากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ และประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่มผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกตลาดต่างประเทศ อีกทั้งได้รับมาตรฐานรับรอง GAP และยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัดปี 2558 รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2558 รางวัลชนะเลิศการประกวดแปลงใหญ่ระดับเขตปี 2561 รางวัลชมเชยการประกวดแปลงใหญ่ระดับประเทศ ปี 2561 จากการติดตาม พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก เริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 1,535 ไร่ มีสมาชิก 58 ราย โดยมี นายสุธีย์ ทินราช เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจ ด้านต้นทุนการผลิตผลผลิตมะม่วงทั้งในฤดูและนอกฤดูของกลุ่มเฉลี่ย 5,426 บาท/ไร่/ปี ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองให้ผลผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดู ทั้งนี้ เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ของปีถัดไป ห้ผลผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดูรวม 1,000 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 916.67 กิโลกรัม/ไร่/ปี ด้านราคาขาย แบ่งเป็น มะม่วงในฤดู (เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) ราคา 30-50 บาท/กิโลกรัม และมะม่วงนอกฤดู (สิงหาคม–มกราคม) ราคา 70-100 บาท/กิโลกรัม ได้ผลตอบแทนทั้งกลุ่มเฉลี่ย 13,200 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 7,774 บาท/ไร่/ปี สำหรับด้านการตลาด ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้ทำ MOU กับบริษัทผู้ส่งออก ได้แก่ บริษัท P&F เทคโนจำกัด (P&F Techno limited), บริษัท สยาม เอ็กปอร์ตมาร์ท จำกัด (Siam export mart limited), บริษัท สวีฟ จำกัด (Swift limited), บริษัท เจ ฟรุท จำกัด (J Fruit limited), บริษัท สวามี ฟรุท จำกัด (Swami Fruit limited), บริษัท เอเชี่ยนฟรุท จำกัก …

เป็นตาแซ่บหลาย “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” สุดปังจากบ้านแฮด สดจากสวน พร้อมถึงมือผู้บริโภค อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ธุรกิจที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท แห่งอุบลราชธานี มีอิหยังแหน่??

อุบลราชธานีมีธุรกิจที่มีรายได้ 2,500 ล้านบาท คิดเป็น 18.9% จากธุรกิจที่มีรายได้ 2,500 ล้านบาททั้งหมดในภาคอีสาน และยังมีรายได้รวมทั้ง 7 บริษัท อยู่ที่ 48,994 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า จังหวัดอุบลราชธานี เป็น 1 ใน 4 หัวเมืองหลักของภาคอีสาน ถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีงบประมาณในการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง น้ำ ไฟฟ้า และพื้นที่สวนสาธารณะ ตลอดจนห้างสรรพสินค้า สนามบิน สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ทำให้ดึงดูดผู้คนจากจังหวัดอื่นๆให้ขยายตัวมาสู่จังหวัดอุบลได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของการขยายกิจการ หรือในรูปแบบของการลงหลักปักฐานเพื่ออยู่อาศัย อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุบลราชธานี#ธุรกิจพันล้าน

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจเกี่ยวกับการขายรถที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท อยู่จังหวัดใด๋แหน่??

มีบริษัทใด๋แหน่?? อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจเกี่ยวกับการขายรถ #ขายรถ #ธุรกิจพันล้าน

สถานการณ์ ‘เงินเฟ้อ’ ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  เดือน ก.พ. 66 แตะ 3.61%

สถานการณ์ ‘เงินเฟ้อ’ ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  เดือน ก.พ. 66 แตะ 3.61%   เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น แต่มูลค่าของเงินต่ำลง ทำให้การจะซื้อของชิ้นเดิมต้องใช้เงินมากกว่าเดิม หรือพูดง่าย ๆ คือ “ของแพงขึ้น”   อัตราเงินเฟ้อของภาคอีสาน เดือน กุมภาพันธ์ 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 3.61% (YoY)  สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายรายการที่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาและราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับฐานราคา ในเดือนมีนาคม 2565 ค่อนข้างสูง การส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มลดลงตามอุปสงค์โลก และการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด จะกดดันต่อการขยายตัวของเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา ราคาก๊าซหุงต้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการยังคงขยายตัวได้ดี จะส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอตัวไม่มากนัก นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภัยแล้งทั้งในและต่างประเทศ อาจจะส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก และจะส่งผลมายังราคาสินค้าและบริการของไทยตามลำดับ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0 – 3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง    อ้างอิงจาก:  กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้ออีสาน #ของแพง #ดัชนีผู้บริโภค #ดัชนีผู้บริโภคอีสาน

ภาคอีสานตอนบน  Mega Project  มีอิหยังแหน่ ? 

ภาคอีสานตอนบน  Mega Project  มีอิหยังแหน่ ?    Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในภาคอีสานตอนบน มีทั้งหมด 6 โครงการ ทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ตะวันออก) (G) สร้างเลี่ยงเมืองหนองคายด้านตะวันออก 2,893 ล้านบาท จำนวน 3 ตอน คืบหน้ากว่า 70% คาดแล้วเสร็จภายในปีนี้ ช่วยรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น ลดแออัดในตัวเมือง หนุนพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยง สปป.ลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ในแผนโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์  นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว อุดรธานี (G+P) ป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. กับ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ภายใต้แนวคิดการเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคอีสาน โดยใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความยั่งยืน เน้นหลักการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับคนไทยในภาคอีสาน อีกทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในภาคอีสาน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ในการมีช่องทางการประกอบอาชีพในถิ่นเกิดโดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งนิคมฯแห่งนี้ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนในภูมิภาค ที่ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ศูนย์การแพทย์สถาบันพระบรมราชชนก (G) ระยะที่ 1 เพื่อพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติที่มีมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพระดับโลก ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพลิกโฉมจังหวัดอุดรธานี เป็นมหาอำนาจด้านสุขภาพของโลก (World Class Wellness Destination) ภายใต้การขับเคลื่อนและการบูรณาการความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม (G+P) เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) บนเส้นทางสาย R12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม-จีนตอนใต้) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 โดยจัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: มีให้เอกชนลงนามร่วมลงทุน วงเงิน 1,307 ล้านบาท สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)  (G) รัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาวใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือเนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร ยกระดับให้ จ.บึงกาฬ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาค …

ภาคอีสานตอนบน  Mega Project  มีอิหยังแหน่ ?  อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท

มีบริษัทใด๋แหน่?? อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค #ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค #ธุรกิจพันล้าน

พามาเบิ่ง Mega Project เมืองย่าโม จ. นครราชสีมา 

พามาเบิ่ง Mega Project เมืองย่าโม จ. นครราชสีมา    Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในนครราชสีมา มีทั้งหมด 4 โครงการ รถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน (G) รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามา มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน และจีน เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์  ทางหลวงพิเศษ บางปะอิน-นครราชสีมา (G+P) แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา มีระยะทางรวมประมาณ 196 กิโลเมตร โดยออกแบบให้มีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ เริ่มต้นเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอกบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา และไปสิ้นสุดที่บริเวณทางเลี่ยงเมืองจังหวัดนครราชสีมาด้านตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา หมายเหตุ: มีให้เอกชนลงนามร่วมลงทุน ที่พักริมทาง วงเงิน 1,606 ล้านบาท  ดำเนินงานและบำรุงรักษา วงเงิน 7,965 ล้านบาท ALLS MEGA KHAO YAI (P) โครงการพัฒนาแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองไทย ที่ตอบโจทย์ผู้ร่วมลงทุน และผู้เข้าใช้บริการ แบบไร้พรมแดน ตั้งอยู่ในเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีออลเมก้าทาวเวอร์ หอคอยดอกบัว ศูนย์รวมเทคโนโลยีและจุดชมวิวเพิ่มความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว พระพุทธรูปสูง 100 เมตร, อุโมงค์สกายวอล์ค 6G, คอนโดมิเนียม, โรงแรม 6 ดาว และอื่นๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน และเศรษฐกิจใน จังหวัดนครราชสีมา มอเตอร์เวย์ นครราชสีมา – ขอนแก่น  (G) เป็นการก่อสร้างบนพื้นที่ใหม่ รูปแบบถนนระดับดิน ขนาด 4 ช่องจราจร แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา มหาสารคาม และขอนแก่น คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567-2568 และเปิดบริการได้ในปี 2571 โดยประเมินว่าจะมีปริมาณการจราจรอยู่ที่ 41,801 คัน/วัน   อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #โคราช #นครราชสีมา

Scroll to Top