November 2022

พามาเบิ่ง “โค้วยู่ฮะมอเตอร์” หนึ่งในผู้จำหน่ายอีซูซุรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

หากกล่าวถึง “โค้วยู่ฮะ” คงไม่มีใครในที่นี้ไม่รู้จัก และคงไม่เป็นที่รู้จัก หากปราศจากบุคคลผู้สร้างตำนานแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่ชื่อ ดร.วิญญู คุวานันท์ นับถอยหลังไป เมื่อปีพุทธศักราช 2500 ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น ดร.วิญญู คุวานันท์ ในขณะนั้นอยู่ในวัยที่สำเร็จการศึกษาจากกรุงเทพฯ ได้เข้ามารับช่วงกิจการค้าขายสินค้าพื้นเมือง น้ำมันก๊าซและสินค้าพืชไร่ ต่อจากบิดาและมารดา ต่อมาได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับคุณมาลิน คุวานันท์ ภรรยาคู่ชีวิต ผู้ที่เป็นกำลังสำคัญยิ่ง ให้คำปรึกษาและเป็นแรงผลักดันในการดำเนินธุรกิจแก่ ดร.วิญญู อีกทั้งด้วยที่ ดร.วิญญู มีนิสัยใฝ่ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ จึงก้าวมาสู่นักธุรกิจค้าขายรถยนต์   ในช่วงแรก เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ก็ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และในปีพุทธศักราช 2502 โค้วยู่ฮะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์อีซูซุอย่างเป็นทางการ จาก บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ ดร.วิญญู จึงตัดสินใจขยายกิจการเข้าสู่เมืองใหญ่ คือ จังหวัดขอนแก่น และได้เปลี่ยนชื่อจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็น บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด โดยดำเนินธุรกิจรถยนต์อีซูซุ ทั้งในด้านการจำหน่าย การบริการหลังการขายและอะไหล่ แบบครบวงจร   บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 1.5 ล้านบาท ในขณะนั้นมีพนักงานเพียง 20 คน โดยหนึ่งในนั้น คือ คุณประยูร อังสนันท์ ซึ่งปัจจุบันนี้ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ต่อมาได้ขยายกิจการไปยังกรุงเทพฯ ในปีพุทธศักราช 2510 ด้วยความเพียรพยายามของผู้บริหาร และความตั้งใจของทีมงานทุกคน ทำให้ธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันกลุ่มโค้วยู่ฮะ มีทุนจดทะเบียน 1,600 ล้านบาท ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้จำหน่ายอีซูซุรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย       อ้างอิงจาก: https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0405507000022 https://www.kow.co.th/about-us   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โค้วยู่ฮะมอเตอร์ #ขอนแก่น #ผู้จำหน่ายอีซูซุ #ธุรกิจระดับพันล้าน #โค้วยู่ฮะ  

ซอมเบิ่ง 3 ธุรกิจบริการปี 2566 สร้างรายได้เข้าประเทศ

ซอมเบิ่ง  3 ธุรกิจบริการปี 2566  สร้างรายได้เข้าประเทศ   กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้า ปี 2566 ผลักดัน 3 ธุรกิจบริการ  “ร้านอาหาร  ดูแลผู้สูงอายุ  Wellness” สร้างรายได้เข้าประเทศ พร้อมเร่งผลักดันสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ ภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกเต็มที่   นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า จุดอ่อนสำคัญของธุรกิจบริการไทย คือ ขาดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารธุรกิจ เช่น การคำนวณต้นทุน การตลาด การบริหารงานบุคคล การเงินและบัญชี ระบบภาษี ความรู้ด้านกฎหมาย การนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ รวมทั้ง ต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น   ดังนั้น การเพิ่มองค์ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจธุรกิจมากขึ้น มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความเข้มแข็งของธุรกิจระยะยาว พร้อมที่จะขยายและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจต่อเนื่องที่หลากหลาย   การค้าภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศในระดับสูง อีกทั้ง ความต้องการใช้บริการทุกภาคบริการมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยมี 3 ธุรกิจที่น่าจับตามองในปีหหน้าประกอบด้วย    – ธุรกิจร้านอาหาร  – ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ – ธุรกิจบริการความงามและสุขภาพ (Wellness)    โดยเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้เชิงลึกแบบครบทุกมิติ ทั้งการตลาด การบริหารจัดการธุรกิจ การเงินและบัญชี การขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ กลยุทธ์การบริการเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ    ทั้งนี้ ภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุนภาคธุรกิจบริการเต็มที่ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ และจะเป็นตัวกลางช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ธุรกิจบริการกลุ่มเป้าหมายได้รับความสะดวกรวดเร็วในการประกอบธุรกิจ ส่งผลต่อดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป     อ้างอิงจาก: ฐานเศรษฐกิจ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจบริการ #ร้านอาหาร  #ดูแลผู้สูงอายุ  #Wellness #ผู้สูงอายุภาคอีสาน

ชวนเบิ่ง “นครชัยแอร์” อาณาจักรธุรกิจรถทัวร์รายใหญ่ ระดับพันล้าน

นครชัยแอร์ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2529 โดยตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ เริ่มแรกให้บริการเส้นทางการเดินรถทัวร์ 2 เส้นคือ กรุงเทพ – ขอนแก่น และกรุงเทพ – อุบลราชธานี ต่อมาได้ขยายเส้นทางเดินรถเพิ่มอีกหลายแห่ง จนมีเส้นทางทั้งหมด 39 เส้นทาง ครอบคลุมทุกเส้นทางตลอดภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และภาคกลาง และล่าสุดเพิ่งเปิดเส้นทาง กรุงเทพฯ – ปากแซง จ.อุบลฯ สำหรับผู้โดยสารที่อยากเดินทางไปประเทศลาว โดยนครชัยแอร์มีรถโดยสารวิ่งให้บริการทั้งสิ้น 362 คัน ตัวหมากสำคัญที่ทำให้นครชัยแอร์ขยายกิจการใหญ่โต จนเป็นที่รู้จักระดับประเทศ และปรับตัวอยู่รอดมาได้จนถึงวันนี้คือ วิสัยทัศน์ของคุณเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร CEO ของบริษัท เธอเคยเป็นพนักงานธนาคารกรุงเทพมาก่อนรับช่วงต่อกิจการรถทัวร์ของครอบครัว ที่ตอนนั้นมีรถวิ่งเพียง 20 คัน ถ้าเทียบกับสายการบินโลว์คอสต์ รถทัวร์สู้ไม่ได้อยู่แล้วในเรื่องระยะเวลาเดินทาง สิ่งที่พอสู้ได้ คงเป็นเรื่อง ราคาตั๋วที่ถูกกว่า และการสร้างบริการที่ดีเกินราคา คุณเครือวัลย์ พยายามบริหารนครชัยแอร์โดยควบคุมต้นทุนการเดินรถ และต้นทุนต่างๆ อย่างรัดกุมมากที่สุด เพื่อให้ผู้โดยสารได้เดินทางด้วยตั๋วราคาถูก ทั้งนี้ ผู้โดยสารจะไม่มีค่าโหลดสัมภาระ ค่าประกัน และค่าอื่นๆ เพิ่มเติม เหมือนสายการบิน เพื่อให้ค่าโดยสารโดยรวมทั้งหมดถูกกว่า สายการบินโลว์คอสต์เท่าตัว แถมมีบริการแจกอาหาร น้ำ ขนมให้แก่ผู้โดยสาร ระหว่างเดินทางด้วย และเรื่องต่อมาที่เน้นคือ บริการคุณภาพที่ทันสมัย นครชัยแอร์ต้องการให้พนักงานสุภาพ บริการผู้โดยสารเป็นอย่างดี บริษัทจึงต้องเน้นพัฒนาพนักงาน ดูแลพนักงาน ให้โอกาสในหน้าที่การงานและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อพนักงานจะได้ส่งมอบบริการดีๆ ให้แก่ลูกค้าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ บริษัทยังปรับ เพิ่ม และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด ตั้งแต่การซื้อตั๋วโดยสาร ซึ่งสามารถซื้อตั๋วได้ผ่านทางเว็บไซต์ NCA Booking, แอปพลิเคชัน NCA Mobile, เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในร้าน 7-11 ทุกสาขา รวมถึงจองตั๋วผ่าน LINE / Facebook และ Call Center โดยสามารถจองล่วงหน้าได้ถึง 365 วัน เพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้า ไม่จำเป็นต้องไปซื้อตั๋วที่สถานีเดินรถเอง เมื่อมาถึงสถานีเดินรถนครชัยแอร์ ก็จะพบสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่จอดรถ ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และรถโดยสารก็ถูกปรับโฉมใหม่ให้มีความทันสมัย สร้างความเป็นส่วนตัว และนั่งสบายมากขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในรถ เช่น ทีวีส่วนตัวระบบ Touch Screen, เก้าอี้นวดไฟฟ้า, หูฟัง, ผ้าห่ม นครชัยแอร์ยังหารายได้เสริมจากช่องทางอื่นนอกจากค่าโดยสาร ได้แก่ บริการส่งพัสดุด่วนภายใน 24 ชม. ตามเส้นทางที่รถโดยสารนครชัยแอร์วิ่งผ่าน ให้พื้นที่โฆษณา เช่น …

ชวนเบิ่ง “นครชัยแอร์” อาณาจักรธุรกิจรถทัวร์รายใหญ่ ระดับพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง “พี.เค.เอ็ม.ที (2002)” อาณาจักรธุรกิจบริการด้านการขนส่งรายใหญ่ในภาคอีสาน

อ้างอิงจาก: https://www.pkmt2002.com/ https://data.creden.co/company/general/0415545000239 https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0415545000239   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พีเคเอ็มที #อุดรธานี #PKMT #ธุรกิจบริการด้านการขนส่ง

พื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคน จังหวัดใด๋หลายกว่าหมู่?

พื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคน  จังหวัดใด๋หลายกว่าหมู่?   พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองสำคัญอย่างไร? ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ของคนเมือง เมืองที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวในปริมาณที่เหมาะสม ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ยิ่งถ้าเมืองนั้นมีประชากรหนาแน่น พื้นที่สีเขียวก็จะยิ่งมีคุณค่า โดยเฉพาะต่อสุขภาวะทางกายและใจของคน รวมไปถึงคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองที่ส่งผลเป็นวงกว้าง เช่น การลดอุณหภูมิความร้อน การดูดซับมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง การเป็นพื้นที่ชะลอน้ำ ระบายน้ำ เป็นต้น   โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรฐานเพื่อส่งเสริมให้เมืองต่างๆ พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนประชากรในแต่ละเมือง โดยกำหนดเอาไว้ว่า ประชาชน 1 คนควรมีพื้นที่สีเขียว 9-15 ตารางเมตร เมืองนั้นจึงถือว่าเป็นเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี   ซึ่งประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวมีมากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ด้านสุขภาพจิต ด้านสุขภาพทางร่างกาย ด้านสังคม นอกจากประโยชน์ทั้ง 3 ด้านนี้ พื้นที่สีเขียวก็ยังสร้างประโยชน์ให้แก่เมือง ทั้งการช่วยลดปัญหาฝุ่นควัน มลพิษต่างๆ ช่วยเพิ่มระดับคุณภาพทางอากาศ หรือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย   อีกทั้งเรายังควรอนุรักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวให้คงอยู่และมีมากขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเกิดเทรนด์ “การท่องเที่ยวสีเขียว” หนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวสีเขียว คือ “การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism)”   การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Tourism เป็นการท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำสามารถเป็นการท่องเที่ยวแบบง่ายๆ ตามความชอบของนักท่องเที่ยว เพียงแต่กิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นต้องให้ความสำคัญรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการลดก๊าซคาร์บอน   ยกตัวอย่างเช่น การเลือกยานพาหนะในการเดินทาง การรับประทานอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบในท้องถิ่น การทำกิจกรรมท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า ปลูกปะการัง การเก็บขยะ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่าการท่องเที่ยวแบบทั่วไป อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลกและเพื่อเพิ่มไอเดียในการพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้ากับเทรนด์ในตอนนี้อีกด้วย   อ้างอิงจาก: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พื้นที่สีเขียว #พื้นที่สีเขียวต่อคน #พื้นที่สีเขียวต่อประชากร #LowCarbonTourism #การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ #บึงกาฬ #นครพนม #เลย  

พามาเบิ่ง “ยิ่งยง มินิมาร์ท” ตำนวนค้าปลีกสู่เจ้าพ่อร้านสะดวกซื้ออีสานใต้ กับวิถีการปรับตัวของห้างภูธร สร้างจุดแตกต่างในวงล้อมยักษ์ใหญ่

ย้อนหลังไปเมื่อกว่า 30 ปีก่อนหน้านี้ เส้นแบ่งระหว่าง ห้างสรรพสินค้าภูธร กับห้างในส่วนกลาง มีออกมาอย่างชัดเจน โดยมีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีความแตกต่างเป็นตัวแบ่ง และห้างในต่างจังหวัดที่เรารู้จัก จึงมีออกมาในลักษณะของการเป็นห้างของคนท้องถิ่น ไม่ว่าห้างตันตราภัณฑ์ แห่งเชียงใหม่ เจริญศรี พลาซ่า จังหวัดอุดรธานี หรือยิ่งยง จังหวัดอุบลราชธานี แต่เมื่อต่างจังหวัด มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากผลผลิตทางการเกษตร ราคาที่ดิน ทำให้เกิดคนชั้นกลางที่มีการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับสังคมเมืองทั่วไป ทำให้มุมมองของกลุ่มทุนค้าปลีกจากส่วนกลาง ที่มีต่อคนต่างจังหวัดเปลี่ยนไป ยิ่งความเป็น Urbanization หรือความเป็นอยู่แบบสังคมเมือง แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วเท่าไร ก็ยิ่งเป็นตัวที่เข้ามากวักมือเรียกให้ยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ เร่งขยายการลงทุนเข้าไป เพื่อรองรับกับการเติบโตดังกล่าวที่เห็นภาพชัดเจนสุดก็มี กลุ่มเซ็นทรัล Retail Conglomerate ซึ่งมีทิศทางการลงทุนที่ชัดเจน ด้วยรูปแบบของโมเดลศูนย์การค้าที่สามารถเข้าไปในทุกไซส์ของตลาด โดยมีการผสานกองทัพธุรกิจในเครือทั้งหมดเข้าเป็นแพ็ก และเดินหน้าเข้าไปลงทุนอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่า การขยายตัวทั้งหมดกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ห้างท้องถิ่นต้องเร่งปรับตัวเพื่อหาจุดยืนที่มั่นคงให้กับตัวเอง เหมือนกับที่ห้างยิ่งยงสรรพสินค้า ห้างภูธรชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี ที่วันนี้มีการแปลงร่างตัวเองจากห้าง สรรพสินค้าสู่การเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ ภายใต้แบรนด์ Y Square Food Mall (Y2 Food Mall) ซึ่งมีที่มาจาก Y 2 ตัว ซึ่งย่อมาจาก ยิ่งยง เพราะธุรกิจเดิมคือ ทำห้างยิ่งยงสรรพสินค้า คุณไพบูลย์ จงสุวัฒน์ หรือ “โกเฒ่า” เจ้าของและผู้บริหารของคอมมูนิตี้มอลล์แห่งนี้ กล่าวว่า “Y Square Food Mall เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการปรับตัวของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่เลือกจะเจาะตลาดด้วยการสร้างนิช มาร์เก็ตของตัวเอง โดยเลี่ยงที่จะชนกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ขยายมาจากส่วนกลาง” ห้างยิ่งยง คือ 1 ในผู้ประกอบการห้างท้องถิ่นเก่าแก่ของภูธรในจังหวัดอุบลราชธานี เปิดตัวครั้งแรกในปี 2527 มีจุดกำเนิดที่แทบจะไม่แตกต่างจากห้างต่างจังหวัด คือเป็นร้าน “เซ็นเตอร์” ที่ขายเสื้อผ้า กางเกงยีนส์มาก่อนที่จะขยับขยายมาเปิดห้างเมื่อกิจการเติบโตขึ้น ห้างท้องถิ่นรายนี้ถูกดึงเข้ามาร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัลในปี 2538 ที่ในตอนนั้น เซ็นทรัลได้ร่วมทุนกับโรบินสัน พร้อมกับขยายสาขาของโรบินสันออกไปในต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งจะมีการดึงเอาห้างท้องถิ่นมาร่วมทุนด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการทำตลาด การร่วมทุนกับกลุ่มทุนจากส่วนกลางดูเหมือนจะดี เพราะแทนที่จะแข่งกับเขา ก็หันมาเป็นพันธมิตรร่วมกันทำตลาดแทน แต่เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปลงทุนเปิดศูนย์การค้าเองพร้อมนำโรบินสันเข้าไปเป็นแมกเน็ตหนึ่งในศูนย์ สาขาที่ร่วมทุนกับยิ่งยงจึงต้องปิดตัวลง แต่สัญญาที่เซ็นกันยังเหลือ ซึ่งถ้าไม่ทำต่อก็ต้องปิดตัวลง นั่นหมายถึงเป็นการปิดตำนานของห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานีด้วย เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “โกเฒ่า” ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ต้องกลับมาลงทุนปลุกตำนานที่มีชีวิตนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง “โกเฒ่า” ยังกล่าวอีกว่า คอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่นี้ จะเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยจะมีร้านอาหารชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี และจากส่วนกลางเข้ามาเปิดในศูนย์ อาทิ ร้านอินโดจีน เป็นร้านอาหารเวียดนามชื่อดังของอุบล ร้าน Y-Space ที่ประกอบด้วย 4 ร้านย่อย คือ U-bao, Summer Spoon, Rocky และ Trocadero ร้านยำนัว …

พามาเบิ่ง “ยิ่งยง มินิมาร์ท” ตำนวนค้าปลีกสู่เจ้าพ่อร้านสะดวกซื้ออีสานใต้ กับวิถีการปรับตัวของห้างภูธร สร้างจุดแตกต่างในวงล้อมยักษ์ใหญ่ อ่านเพิ่มเติม »

ฮ่วมมือ ! อุบลฯ ลาว-กัมพูชา จัดอบรม ปลุกเศรษฐกิจอีสานใต้

ฮ่วมมือ ! อุบลฯ ลาว-กัมพูชา  จัดอบรม ปลุกเศรษฐกิจอีสานใต้   ม.อุบลราชธานี นำทีมวิทยากรจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ต่อจากการไปอบรมหลักสูตรการประมงพื้นที่ดินเค็มที่แขวงคำม่วน สปป.ลาว ขับเคลื่อนฟื้นเศรษฐกิจอีสานใต้ต่อประเทศเพื่อนบ้าน   โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา พยุหะ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมทีมวิทยากร ไปจัดอบรมหลัก สูตรระยะสั้น ด้าน “Food Technology, Animal Science and Aquaculture” ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ประเทศกัมพูชา   ภายใต้โครงการ “Higher Education Improvement Project-HEIP กับ Faculty of Agriculture and Food Processing Technology” ผศ.ดร.กาญจนา กล่าวว่า  ความร่วมมือทางวิชาการโครงการนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากธนาคารโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ได้ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับอาจารย์และนักวิชาการมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เพื่อศึกษาต่อ ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบันมีนักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน และระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน   ในปีงบประมาณ 2565 ทางคณะเกษตรศาสตร์ได้จัดอบรมระยะสั้นนานาชาติ จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่ Animal Science, Food Processing Technology, Aquaculture, Animal Nutrition, Post Harvest Technology and Agribusiness ในช่วงเดือนพ.ค. และส.ค. 2565 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว และผลการตอบรับจากผู้เข้าร่วมการอบรมดีมาก เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยและประเทศในกลุ่มอาเซียนร่วมกันต่อไป   นอกจากนี้ที่วิทยาลัยเทคนิคการอาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าในพื้นที่ดินเค็ม” อีกด้วย โดยมีพันธกิจพัฒนาพื้นที่และชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคการวิชาชีพ ศูนย์ผลิตกสิกรรม เมืองเซบั้งไฟ แขนงการศึกษานอกระบบ   เพื่อตอบสนองทางเศรษฐกิจร่วมกัน ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานทรัพยากรชีวภาพสัตว์นํ้าให้เข้มแข็งและยั่งยืน บริเวณพื้นที่ราบลุ่มที่มีชั้นของเกลือหินและนํ้าเค็มใต้ดิน สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งยั่งยืนของพื้นที่เศรษฐกิจอนุภูมิภาค ลุ่มนํ้าโขง   ทั้งนี้ อุบลราชธานี มีพรมแดนติดต่อทั้งกับสปป.ลาว และกัมพูชา จึงใช้เป็นจุดแข็งผนึกความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นเศรษฐกิจร่วมกันหลังโควิด-19 คลี่ คลาย ทั้งฟื้นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา ความร่วมมือของภาคเอกชน และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วการค้าการลงทุนในอนาคต     อ้างอิงจาก: https://www.thansettakij.com/business/546697    #ISANInsightAndOutlook …

ฮ่วมมือ ! อุบลฯ ลาว-กัมพูชา จัดอบรม ปลุกเศรษฐกิจอีสานใต้ อ่านเพิ่มเติม »

คักหลาย ! ” MEGA HOME ” รุกหนักทุ่ม 400 ล้านบาท เปิดสาขาขอนแก่น

คักหลาย !  ” MEGA HOME ” รุกหนักทุ่ม 400 ล้านบาท เปิดสาขาขอนแก่น   ร่วมกับโฮมโปร ตอบโจทย์ครบที่เดียว เรื่องบ้าน และงานช่าง รับตลาดสินค้าบ้านในภาคอีสาน โดย นายวิเชียร เจียมวิจิตรกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ  บริษัท เมกา โฮม เซ็นเตอร์ จำกัด  เปิดเผยว่า เมกาโฮม เปิดสาขาใหม่ “เมกาโฮม ขอนแก่น” เป็นอีกจุดหมายใหม่ที่เข้ามารองรับกับการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์    โดยเฉพาะกับความต้องการด้านที่อยู่อาศัย และสินค้าวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะหัวเมืองภาคอีสาน ทั้งกลุ่มหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม รวมไปถึงโครงการพัฒนาพื้นที่โรงแรม ร้านค้า อาคารสำนักงาน หรือโครงการของหน่วยงานราชการ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว    อีกทั้ง เมกาโฮมสาขานี้ เป็นสาขาแรกที่ เมกาโฮม และ โฮมโปร ผนึกกำลังตอบโจทย์ให้กับลูกค้า ครบครัน ทั้งวัสดุก่อสร้าง และสินค้าเรื่องบ้านที่มีคุณภาพ สร้างความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า และบริการๆ มอบประสบการณ์ที่ดีในการช้อปได้อย่างสะดวกสบายพร้อมช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของจังหวัดขอนแก่น และภาคอีสาน ด้วยงบลงทุนกว่า 400 ล้านบาท บนพื้นที่ขาย 5,880 ตารางเมตร    โดยมีกลยุทธ์การบริการครอบคลุมพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตร ในอำเภอพระยืน เวียงเก่า บ้านฝาง หนองหาน และอำเภอเมืองขอนแก่น รวมถึง 6 จังหวัดภาคอีสาน ทั้งชัยภูมิ หนองบัวลำพู มหาสารคาม นครราชสีมา อุดรธานี และกาฬสินธุ์ เข้าถึงทุกความต้องการวัสดุก่อสร้าง      อ้างอิงจาก: https://www.thaipost.net/economy-news/256293/  https://www.ryt9.com/s/prg/3371530  https://www.khaosod.co.th/economics/house-condo/news_7350043    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #MEGAHOME #เมกาโฮม #โฮมโปร #ขอนแก่น

พามาเบิ่ง เส้นทาง “สหเรือง” อาณาจักรโรงงานน้ำตาล ระดับหลายพันล้านในภาคอีสาน

บริษัท สหเรือง จำกัด ได้จดทะเบียนก่อตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อปี พ.ศ.2506 ด้วยทุนจดทะเบียนครั้งแรก 2,200,000.00 ( สอง ล้านสองแสนบาทถ้วน) ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมประเภทโรงน้ำตาล ที่มีขนาดกำลังผลิต หีบอ้อย วันละ 1,802 ตัน และมีโรงงานเดิมตั้งอยู่เลขที่ 31/35 ถนนชยางกูร อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร (ขณะนั้น เป็น ต.นิคมคำสร้อย อ.มุกดาหาร จ.นครพนม) ต่อมาได้มีการก่อตั้งและขยายโรงงานฯ แห่งใหม่ เนื่องจากอ้อยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี สถานที่ตั้งคับแคบและมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ จนไม่สามารถที่จะหีบอ้อยได้หมด บริษัทฯ จึงขออนุญาติย้ายและขยายกำลังการผลิต จาก 1,802 ตันต่อวัน มาเป็น 5,992 ตันต่อวัน โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในปี พ.ศ.2533 และทำการย้ายโรงงานจากที่เดิม มาตั้งใหม่ และขยายกำลังผลิตเพิ่ม มาเป็น 5,992 ตัน/วัน สถานที่ตั้งโรงงานในปัจจุบัน โรงงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 76 หมู่ 8 บ.ป่าหวาย ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร ปัจจุบันโรงงานมีกำลังผลิต ตามใบอนุญาต 5,992 ตัน/วัน และจะทำการหีบอ้อยในแต่ละฤดู ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมีนาคม ของปีต่อไป รวมเวลาหีบอ้อยประมาณ 120-150 วัน ทำการหีบอ้อยคิดเป็นปริมาณประมาณ 600,000 ตันของอ้อยที่ป้อนเข้าโรงงาน โดยอ้อยที่ป้อนเข้าโรงงานประมาณร้อยละ 80 เป็นอ้อยที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ส่วนที่เหลือ จะกระจายอยู่ในพื้นที่รอยต่อจังหวัดใกล้เคียง เช่น จ.นครพนม อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เป็นต้น อ้างอิงจาก: http://www.saharuang.com/ https://data.creden.co/company/general/0345506000011 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สหเรือง #โรงงานน้ำตาล #มุกดาหาร #น้ำตาล #อ้อย #ธุรกิจพันล้าน

คนอีสาน ดื่มแอลกอฮอล์ หลายปานใด๋?

คนอีสาน ดื่มแอลกอฮอล์ หลายปานใด๋?   จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 ประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป มีอัตราการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ จำนวน 15.96 ล้านคน หรือคิดเป็น 28%    พบว่า ผู้หญิงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 10.6% ในปี 2560 เป็น 10.8% ในปี 2564  ในขณะที่ผู้ชายมีอัตราการดื่มฯ ลดลงจาก 47.5% ในปี 2560 เป็น 46.4% ในปี 2564   เมื่อสำรวจปัจจัยการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศพบว่า มีผู้ผลิตรายใหญ่เข้าครอบครองส่วนแบ่งในตลาด เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูงและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย อีกทั้งกฎระเบียบและมาตรฐานโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นอุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของผู้ประกอบการ SME    โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์ในการดื่มเกี่ยวข้องด้วย มักเกิดจากการดื่มเพื่อลดความเครียดหรือเพื่อหลีกหนีจากปัญหา หรือเพื่อเข้าสังคม   ภาคอีสานอยู่ที่ 32% ถือว่ามีสัดส่วนนักดื่มอยู่ที่อันดับที่ 2 ของประเทศเลยทีเดียว คาดว่า ส่วนหนึ่งเกิดมาจากสภาพสังคมส่วนใหญ่ในภาคอีสานมีจำนวนผู้ใช้แรงงานสูง ซึ่งมีอาจส่งผลให้ดื่มเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าหรือเพื่อสังสรรค์หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาการทำงาน อีกทั้งยังมีการจัดงานรื่นเริงและสังสรรค์บ่อยครั้ง   อ้างอิงจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ดื่มแอลกอฮอล์ #สถิติการดื่มแอลกอฮอล์ #อัตราการดื่มแอลกอฮอลล์ 

Scroll to Top