May 2022

พัฒนา 20 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี สร้างความแตกต่างด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ยกระดับการท่องเที่ยวไทยสู่สากล

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ Local Alike บริษัทที่ดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชนทั่วประเทศไทยมากว่า 10 ปี ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ 20 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ภายใต้ “โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” . ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยตลอดระยะเวลาโครงการได้มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนตามแนวคิด Hotown เพื่อยกระดับและฟื้นฟูศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวแบบองค์รวมให้มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะกลับมาหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย . Hotown (โฮทาวน์) ที่เอาคำว่า Hotel กับ Town มารวมกัน เป็นแนวคิดที่ต้องการขับเคลื่อนชุมชนทั้งชุมชนให้กลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ครบครันด้วยที่พัก อาหาร ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก และสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์ที่สวยงามโดยการเชื่อมโยงกลุ่มงานต่าง ๆ ของคนในชุมชนเข้าด้วยกัน โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการนำร่องพัฒนาศักยภาพของ 20 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ได้แก่ . 1. ชุมชนบ้านแม่แมะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2. ชุมชนบ้านถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. ชุมชนบ้านปางห้า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 4. ชุมชนบ้านหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 5. ชุมชนบ้านผาทั่ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 6. ชุมชนบ้านเซินเหนือ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น 7. ชุมชนบ้านสุขสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 8. ชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 9. ชุมชนบ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 10. ชุมชนบ้านพิพิธภัณฑ์ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 11. ชุมชนบ้านแก่งแคบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 12. ชุมชนบ้านล่าง อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 13. ชุมชนบ้านสลักคอก อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 14. ชุมชนบ้านตอนใน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 15. ชุมชนบ้านคลองตาจ่า อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 16. ชุมชนบ้านอ่าวกะพ้อ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 17. ชุมชนบ้านลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 18. ชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา 19. ชุมชนบ้านหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 20. ชุมชนบ้านปลายคลอง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี . …

พัฒนา 20 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี สร้างความแตกต่างด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ยกระดับการท่องเที่ยวไทยสู่สากล อ่านเพิ่มเติม »

ผลักดันสินค้า GI ภาคอีสาน เป็น Soft Power ของเมืองไทย ส่งออกสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ตลาดโลก

GI หรือ Geographical indication เป็นเครื่องหมายรับรองสินค้า ว่าพิเศษเป็นเอกลักษณ์จากแหล่งผลิตในท้องถิ่น ที่แหล่งผลิตอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ ปัจจุบันสินค้าที่ผ่านมาตรฐาน GI ไทย มีมากกว่า 170 รายการ แบ่งเป็นข้าว ผัก/ผลไม้ อาหาร ผ้า (ไหม/ฝ้าย) และหัตถกรรม/อุตสาหกรรม . สำหรับภาคอีสานมีสินค้า GI หลายรายการ ที่มีคุณภาพ พร้อมเป็น Soft Power ของไทย เนื่องจากสามารถถ่ายทอดอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี . อย่างเช่น ผ้าไหมสาเกต จังหวัดร้อยเอ็ด ที่สามารถผลิตสินค้าพื้นบ้านกว่า 15,000 ผืนต่อปี มีราคาจำหน่าย 1,800–2,500 บาทต่อผืน ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนไม่น้อยกว่า 27 ล้านบาทต่อปี มีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศญี่ปุ่น . ปัจจุบันภาคอีสานมีสินค้า GI ทั้งหมด 34 รายการ ประกอบด้วย . สินค้า GI ของ จ.นครราชสีมา 1. กาแฟดงมะไฟ 2. ไวน์เขาใหญ่ 3. ข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ 4. กาแฟวังน้ำเขียว 5. เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน 6. มะขามเทศเพชรโนนไทย 7. ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ . สินค้า GI ของ จ.กาฬสินธุ์ 8. ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ 9. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ . สินค้า GI ของ จ.ขอนแก่น 10. ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท . สินค้า GI ของ จ.นครพนม 11. สับปะรดท่าอุเทน 12. ลิ้นจี่นครพนม . สินค้า GI ของ จ.บุรีรัมย์ 13. ผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงบุรีรัมย์ 14. ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ . สินค้า GI ของ จ.เลย 15. ไวน์ที่ราบสูงภูเรือ . สินค้า GI ของ จ.สกลนคร 16. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี 17. ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร 18. หมากเม่าสกลนคร 19. น้ำหมากเม่าสกลนคร 20. เนื้อโคขุนโพนยางคำ . …

ผลักดันสินค้า GI ภาคอีสาน เป็น Soft Power ของเมืองไทย ส่งออกสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ตลาดโลก อ่านเพิ่มเติม »

สถานการณ์ตลาดแรงงานอีสาน ปี 64

ปี 2564 มีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานจำนวนทั้งสิ้น 9.58 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 9.30 ล้านคน (ลดลง 0.64% จากปี 2563) ผู้ว่างงาน 1.45 แสนคน (เพิ่มขึ้น 9.95%) และผู้รอฤดูกาล 1.34 แสนคน (เพิ่มขึ้น 14.32) ส่วนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 5.42 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 0.52%) . เมื่อพิจารณาผู้มีงานทำ จำแนกตามภาคอุตสาหกรรม พบว่า ภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 4.92 ล้านคน คิดเป็น 52.90% ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด ภาคบริการและการค้า จำนวน 3.13 ล้านคน คิดเป็น 33.67% และภาคการผลิต จำนวน 1.25 ล้านคน คิดเป็น 13.43% . ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ภาคเกษตรกรรม ลดลง 0.94% ภาคบริการและการค้า ลดลง 0.14% และภาคการผลิต ลดลง 0.70% . เมื่อพิจารณาผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานส่วนตัว 43.46% ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด รองลงมาเป็นลูกจ้าง 30.10% ช่วยธุรกิจครัวเรือน 24.96% นายจ้าง 1.11% และการรวมกลุ่ม 0.37% . เมื่อพิจารณาผู้มีงานทำ จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา 28.21% รองลงมาคือไม่มีการศึกษา/ต่ำกว่าประถมศึกษา 23.86% ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 16.81% ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 16.49% ระดับอุดมศึกษา 14.60% และอื่นๆ/ไม่ทราบ 0.03% . . ที่มา: https://kku.world/7hx6r https://kku.world/h25uj . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สถานการณ์ตลาดแรงงาน

ร่วมเชียร์ ทีมชาติไทย ปะทะ เติร์กฯ ฟีฟ่าเดย์ ศึกประวัติศาสตร์ บนแผ่นดินศรีสะเกษครั้งแรก

การแข่งขันฟุตบอลรายการ “SAT SISAKET FOOTBALL INVITATION 2022” ระเบิดศึกฟุตบอลอุ่นเครื่อง ระดับ A-MATCH เก็บคะแนนสะสมอันดับฟีฟ่าแรงกิ้ง เป็นการพบกันระหว่าง “ช้างศึก” ฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดใหญ่ ทีมอันดับ 111 ของโลก พบกับ ทีมชาติเติร์กเมนิสถาน ทีมอันดับ 134 ของโลก โดยจะจัด ณ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการฟุตบอลไทย ซึ่งจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม นี้ ที่สนามกีฬากลางจังหวัดศรีสะเกษ . สำหรับแมตช์ประวัติศาสตร์ที่ศรีสะเกษครั้งแรกนี้ การกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ , สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ สมาคมกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ จัดการแข่งขันขึ้น โดยได้รับการพลักดันโดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย และ นายชนินทร์ คุ้มใหญ่โต ผู้อำนวยการ การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ . โดยมีเป้าหมายนำฟุตบอลทีมชาติไทย มาสร้างความสุข และ ได้สัมผัสแมตช์ระดับฟีฟ่าเดย์ ให้สำหรับแฟนบอลชาวศรีสะเกษ และ พื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดภาคอีสาน . สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ในฐานะฝ่ายจัดการแข่งขัน เผยถึงความพร้อมในแมตช์นี้ว่า “กระแสตอบรับดีเกินคาดมาก ๆ เราเปิดขายบัตรเข้าชมหมดตั้งแต่วันแรก ภายในไม่ถึง 20 นาที ทำให้ทางสมาคมกีฬาจังหวัดได้จัดการขายตั๋วเข้าชมอีกครั้ง ในวันแข่งขัน 27 พ.ค. 2565 อีก 3 พันใบ โดย 1 คิวซื้อได้ไม่เกิน 4 ใบ ซึ่งอาจจะเพิ่มความจุอีก จะประเมินหน้าสนาม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโควิด” . ขณะที่ มาโน โพลกิ้ง เฮดโค้ชทีมชาติไทย เผยถึงความพร้อมเกมนี้ว่า “การอุ่นเครื่องที่เราวางไว้นั้นเพื่อเป็นการทดสอบทีมเพื่อหาข้อบกพร่อง เพราะในระดับเอเชียนั้นมันจะยากกว่า เราจึงต้องพร้อมในทุก ๆด้าน ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบที่สุดเมื่อเราเล่นระดับนั้น” . ส่วน ชญาวัต ศรีนาวงษ์ กองหน้าทีมชาติไทย ฝากถึงแฟนบอลชาวศรีสะเกษ ว่า “อยากฝากถึงแฟนบอลที่คอยให้กำลังใจผม ช่วยกันร่วมเชียร์ทีมชาติไทย ผมจะทำให้เต็มที่” . อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดศรีสะเกษจะเปิดจำหน่ายตั๋วเข้าชมอีกครั้ง ในวันแข่งขัน 27 พฤษภาคม 2565 หน้าสนามกีฬากลางจังหวัดศรีสะเกษในเวลา 13.00 น. …

ร่วมเชียร์ ทีมชาติไทย ปะทะ เติร์กฯ ฟีฟ่าเดย์ ศึกประวัติศาสตร์ บนแผ่นดินศรีสะเกษครั้งแรก อ่านเพิ่มเติม »

สำรวจดัชนีความเสี่ยงทางธุรกิจที่สูงสุดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน

เว็บไซต์ DBD DataWarehouse+ ซึ่งรวบรวมข้อมูลนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดเผยดัชนีความเสี่ยงหรือคะแนนที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงของประเภทธุรกิจ . โดยค่าดัชนีจะอยู่ในช่วง 0-1 (คะแนนสูง = มีความเสี่ยงทางธุรกิจมาก) พิจารณาจาก 4 ปัจจัย ประกอบด้วย 1. FS Score หรือคะแนนความเสียงที่บริษัทจะเกิดวิกฤตทางการเงิน 2. ความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก 3. ต้นทุนทางการเงิน และ 4. อัตราการคงอยู่ของธุรกิจ . 5 อันดับ จังหวัดในภาคอีสานที่มีดัชนีความเสี่ยงของประเภทธุรกิจสูงสุด . 1. อุบลราชธานี ค่าดัชนี 0.69 ในธุรกิจประเภท การขายส่งสัตว์มีชีวิต 2. นครราชสีมา ค่าดัชนี 0.68 ในธุรกิจประเภท การขายส่งสินค้าเฉพาะอย่างอื่น ๆ 3. หนองบัวลำภู ค่าดัชนี 0.68 ในธุรกิจประเภท การขายส่งเครื่องแต่งกาย และของใช้ในครัวเรือน 4. อำนาจเจริญ ค่าดัชนี 0.67 ในธุรกิจประเภท การขายส่งข้าวเปลือก และธัญพืช 5. สกลนคร ค่าดัชนี 0.67 ในธุรกิจประเภท ร้านขายปลีกอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้แสงสว่าง . อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่าภาคอีสานมีประชากรหรือผู้มีงานทำที่อยู่ในภาคเกษตรมากที่สุด และเป็นภูมิภาคที่มีการปลูกข้าวสูงที่สุด แต่ที่น่าสนใจ คือ 4 จาก 20 จังหวัดของภาค ได้แก่ อำนาจเจริญ นครพนม อุดรธานี และบุรีรัมย์ กลับมีความเสี่ยงในธุรกิจประเภท ‘การขายส่งข้าวเปลือก และธัญพืช’ สูงที่สุด . ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันในจังหวัดน้อย ทำให้ผู้ผลิตไม่ค่อยปรับปรุงหรือพัฒนาสินค้าของตนเพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่น โดยเฉพาะจังหวัดใกล้เคียง เพราะอย่าลืมว่า ‘ข้าว’ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศรับประทาน และทุกจังหวัดในภาคอีสานปลูก ดังนั้นจึงไม่ใช่แค่การแข่งขันในจังหวัด แต่เป็นการแข่งขันในภาคและประเทศ . ประกอบกับปัจจุบัน ช่องทางออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งด้านการสั่งซื้อและขนส่ง ทำให้ร้านค้าหรือแบรนด์ที่ให้คุณภาพสินค้าและบริการที่ดีกว่า ทำการตลาดได้ตรงความต้องการมากกว่า สามารถดึงกลุ่มลูกค้าไปได้โดยง่าย . ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีดัชนีความเสี่ยงสูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นธุรกิจที่ไม่น่าลงทุนเสมอไป หากเรารู้ปัญหาและสามารถทำลายข้อจำกัดต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ก็อาจเป็นโอกาสในการทำธุรกิจในจังหวัดนั้นด้วย . ยกตัวอย่าง จังหวัดนครพนม หากลองไปดูเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตข้าวนาปี (ปีเพาะปลูก 2563/64) พบว่า มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 1.44 ล้านไร่ ให้ผลผลิต 5.04 แสนตัน หรือคิดเป็นผลผลิตที่เก็บได้ต่อไร่เท่ากับ 350 กก./ไร่ ซึ่งถือว่าสูงกว่าหลายจังหวัดในภูมิภาค และจะช่วยเรื่องความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากประหยัดต่อขนาด (มีวัตถุดิบผลิตสินค้าจำนวนมากพอจนได้ต้นทุนที่ต่ำ) อีกทั้งพันธุ์ข้าวที่ผลิตส่วนใหญ่ก็เป็นข้าวเจ้าหอมมะลิ และข้าวเหนียว ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว . …

สำรวจดัชนีความเสี่ยงทางธุรกิจที่สูงสุดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ส่องราคาที่ดินสูงสุด แต่ละจังหวัดในอีสาน รอบใหม่ คาดเริ่มใช้ 1 ม.ค. 2566

กรมธนารักษ์ได้สำรวจราคาและปรับปรุงราคาที่ดิน แต่ละจังหวัด เพื่อจัดทำประเมินราคาที่ดินรอบใหม่ (คาดใช้รอบปี 2566) และอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการประจำจังหวัด โดยราคาภาพรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6-7% ส่วนภาคอีสาน เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 8.7% . การประเมินราคาที่ดิน แต่ละจังหวัด หรือราคาประเมินที่ดิน โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเมินราคาที่ดินของกรมธนารักษ์ ประเมินราคาที่ดินของภาคเอกชน และประเมินราคาที่ดินราคาตลาด ซึ่งจะใช้เลขที่โฉนด เพื่อประเมินราคาที่ดิน แล้วนำมาเทียบเคียงกัน . . จังหวัดที่ราคาประเมินที่ดินสูงสุดในอีสาน ได้แก่ . 1. ขอนแก่น ถนนศรีจันทร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209) มีราคาประเมินที่ 2,500-200,000 บาทต่อตารางวา . 2. อุดรธานี ถนนโพศรี มีราคาประเมินที่ 70,000-180,000 บาทต่อตารางวา . 3. นครราชสีมา ถนนจอมพล มีราคาประเมินที่ 45,000-130,000 บาทต่อตารางวา ถนนชุมพล มีราคาประเมินที่ 130,000 บาทต่อตารางวา ถนนราชดำเนิน มีราคาประเมินที่ 40,000-130,000 บาทต่อตารางวา ถนนอัษฎางค์ มีราคาประเมินที่ 50,000-130,000 บาทต่อตารางวา . สาเหตุที่ ถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ราคาประเมินสูงสุด เนื่องจากเป็นย่านการค้า ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่รอบล้อมด้วยห้างร้าน สถานบันการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิง ฯลฯ ส่งผลให้ราคาอยู่ที่ 200,000 บาทต่อตารางวา หรือราว 80 ล้านบาทต่อไร่ ราคาแพงที่สุดในภาคอีสาน . อย่างไรก็ตาม การประเมินราคาที่ดินดังกล่าว เป็นการประเมินเป็นรายถนนเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงราคาที่ดินรายแปลงได้ ดังนั้น ผู้ต้องการขอทราบราคาประเมินเฉพาะแปลงจะต้องตรวจสอบที่สำนักงานที่ดิน หรือ ธนารักษ์พื้นที่ หรือ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ . . หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง การลงทุนในที่ดิน ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนลงทุน . ประกาศ ราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 ที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 https://kku.world/ns51l . ทั้งนี้ หากกรมธนารักษ์จัดทำราคาประเมินราคาที่ดินแต่ละจังหวัด ปี 2566 แล้วเสร็จ จะมีการอัปโหลดข้อมูลบนเว็บไซต์ https://kku.world/v99x7 เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น . . อ้างอิงจาก: https://kku.world/pqpu0 https://kku.world/4n93o . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ราคาประเมินที่ดิน

รพ.สุรินทร์ เปิดตัวเครื่องฉายรังสี Harmony Pro นวัตกรรมการรักษามะเร็งใหม่ล่าสุด ร่นระยะเวลารักษาได้ถึง 25% ต่อครั้ง

วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 โรงพยาบาลสุรินทร์ ได้เปิดตัวเครื่องฉายรังสี รุ่น Harmony Pro อย่างเป็นทางการ นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ลงทุนในเทคโนโลยี Harmony Pro นี้ . เครื่องฉายรังสี Harmony Pro ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการฉายรังสีบำบัด โดยผสานคุณสมบัติที่สำคัญได้อย่างสมบูรณ์แบบ ได้แก่ . ประสิทธิภาพการทำงาน: การใช้งานภายในห้องแบบรวดเร็ว หรือ FastTrack แบบใหม่ ที่ช่วยลดเวลาการจัดตำแหน่งผู้ป่วยและตั้งค่าก่อนการฉายรังสีได้ และเมื่อรวมกับขั้นตอนการทำงานที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้งจึงลดลงได้ถึง 25% ทำให้แพทย์สามารถให้การรักษามะเร็งคุณภาพสูงแก่ผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นได้ . ความแม่นยำ: ด้วยชุดบังคับลำรังสีที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องฉายรังสีประเภทเดียวกันนี้ คือมีความละเอียดถึงหนึ่งมิลลิเมตรในการฉายแสงทั่วทั้งพื้นที่ขนาด 40 ซม. X 40 ซม. ด้วยชุดบังคับลำรังสีนี้ทำให้สามารถเข้าถึงเป้าหมายในการฉายรังสีและสอดคล้องกับการหดตัวของเนื้องอกในความละเอียดระดับมิลลิเมตร . ความสามารถรอบด้าน: ตัวเลือกของพลังงานรังสี และเทคนิคการรักษา รวมทั้งรูปแบบการถ่ายภาพที่หลากหลาย ทำให้ Harmony Pro มีคุณสมบัติที่จำเป็นในการรักษามะเร็งที่พบได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งอุ้งกระดูกเชิงกราน มะเร็งศีรษะและคอ . พญ. สุภาพรรณ วิทยานุวัฒน์ หัวหน้าแผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวว่า “เครื่องฉายรังสี Harmony Pro มีรูปลักษณ์ภายนอกที่ทันสมัย แต่สิ่งที่เราประทับใจมากที่สุดคือ เราสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยเวลาในการตั้งค่าที่ลดลง และเวลาในการรักษาที่รวดเร็วขึ้น ทำให้เราคาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีต่อวันได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นได้รับการรักษา และมีโอกาสที่จะหายเร็วขึ้นด้วย” . ทั้งนี้ การใช้เครื่องฉายรังสี Harmony Pro จะไม่เพียงแค่สร้างเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังสร้างความหวังให้กับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น จากเครื่องฉายรังสี (linac) ที่ใช้เทคนิคในการรักษาด้วยรังสีใหม่ล่าสุด อีกทั้งช่วยให้แพทย์สามารถรักษามะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ กับผู้ป่วยจำนวนมากเหล่านี้ด้วย . . อ้างอิงจาก: บทสัมภาษณ์ทีมแพทย์รพ.สุรินทร์ โดยบริษัท อัลลิสัน แอนด์ พาร์ทเนอส์ . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สุรินทร์ #รักษามะเร็ง

หนุนสหกรณ์โคนมศรีสะเกษ ขยายที่เลี้ยง เล็งตั้งโรงงานนมพาสเจอไรซ์ สร้างมูลค่าเพิ่มปีละ 14.3 ล้านบาท

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะตรวจเยี่ยมสหกรณ์โคนมศรีสะเกษ ขยายพื้นที่เลี้ยงโคนม สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรโคนมไทย เล็งตั้งโรงงานนมพาสเจอไรซ์ กระจายน้ำนมดีมีคุณภาพในจังหวัด เพิ่มศักยภาพการผลิต แข่งขันต่างประเทศ . สหกรณ์โคนมศรีสะเกษ จำกัด ถือเป็นสหกรณ์ต้นแบบ ที่ได้ขับเคลื่อนงานนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ด้านการพัฒนาสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง ให้สมาชิกสหกรณ์สามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป . นอกจากนี้ สหกรณ์ฯ ได้มีการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมเชิงบูรณาการแบบมีส่วนร่วม ร่วมกันกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน กองทุนพัฒนาสหกรณ์ โครงการพัฒนาการผลิตน้ำนมโคที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต วงเงิน 5 ล้านบาท . สนับสนุนอุปกรณ์การตลาดที่จำเป็นแก่สหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แนะนำส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน กรมปศุสัตว์ ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมที่ถูกสุขลักษณะ และส่งเสริมพัฒนาฟาร์มโคนมตามเกณฑ์มาตรฐาน เป็นต้น . ปัจจุบันสหกรณ์มีจำนวนโคนมทั้งหมด 3,309 ตัว ปริมาณการรวบรวมน้ำนมดิบ 3,253.05 ตัน มูลค่า 57.97 ล้านบาท ปริมาณการจำหน่ายน้ำนมดิบ 3,026 ตัน มูลค่า 59.04 ล้านบาท . และมีแผนงานที่จะทำโรงงานนมพาสเจอไรซ์ เพื่อสร้างตลาดการบริโภคในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มน้ำนมโคเฉลี่ยปีละ 14.3 ล้านบาท ลดการสูญเสียระหว่างขนส่ง ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 1.44 ล้านบาท สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงโคนมมากขึ้น อีกทั้งนักเรียน ประชาชนใน จ.ศรีสะเกษและใกล้เคียงได้บริโภคน้ำนมที่มีคุณภาพ . “กระทรวงเกษตรฯ ได้ให้ความสำคัญเรื่องนมโรงเรียน ซึ่งการบริโภคนมนอกจากจะส่งเสริมสุขภาพที่ดีแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรโคนมไทยได้อีกด้วย เพราะหากสหกรณ์โคนมเข้มแข็ง ก็ส่งผลให้นักเรียนได้บริโภคนมที่มีคุณภาพ และกระจายสู่ท้องถิ่นโดยไม่ต้องรับซื้อจากจังหวัดอื่น ๆ . อีกทั้งอยากให้เกษตรกรหันมาใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ข้าวโพด ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ และจะต้องขยายพื้นที่การเลี้ยงโคนมให้มีคุณภาพ เพิ่มศักยภาพการผลิต แข่งขันกับต่างประเทศ และลดการนำเข้า” นางสาวมนัญญา กล่าว . . อ้างอิงจาก: https://kku.world/n5qjx . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โคนม #ศรีสะเกษ

อีสาน ภูมิภาคที่มีสัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) มากเป็นอันดับ 2 ของไทย กับเหตุผลว่าทำไมต้องเร่งแก้

ก่อนอื่นต้องรู้ว่า ‘ความยากจน’ หรือ Poverty สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ความยากจนด้านตัวเงิน (Monetary Poverty) และที่ไม่ใช่ตัวเงิน (Non-monetary poverty) . เครื่องมือวัดความยากจนด้านตัวเงิน คือ เส้นความยากจน (Poverty line) ดังนั้น ผู้ที่มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนจะถูกจัดให้เป็นคนจน . ปี 2563 ภาคอีสาน มีเส้นความยากจน (ด้านรายจ่าย) อยู่ที่ 2,495 บาท/คน/เดือน ทำให้จำนวนคนจนมากถึง 2,128,610 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 11.54% ของคนอีสาน . โดยสัดส่วนคนจนในอีสานนี้ ถ้านำมาเปรียบเทียบกับภาพรวมทั้งประเทศหรือระดับภูมิภาค ถือว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง (ไม่ดี) ยิ่งในระดับภูมิภาคเป็นรองแค่ภาคใต้ (สัดส่วนคนจนทั้งประเทศ 6.84% | ภาคใต้ 11.62% | ภาคเหนือ 6.83% | ภาคกลาง 3.25% | กรุงเทพฯ 0.49%) . จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดในอีสาน ได้แก่ 1. กาฬสินธุ์ 23.79% 2. นครราชสีมา 21.20% 3. นครพนม 20.33% . จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนต่ำสุดในอีสาน ได้แก่ 1. เลย 0.28% 2. ขอนแก่น 0.75% 3. หนองคาย 3.42% . สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโครงสร้างการผลิต ซึ่งแรงงานอีสานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร และเป็นแรงงานนอกระบบ มีรายได้ไม่แน่นอน จึงส่งผลไปถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย โดยจากข้อมูลปี 2564 พบว่า ภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 75.2% อย่างไรก็ตาม ปี 2565 ประเทศไทย รวมถึงภาคอีสานกำลังเผชิญสถานการณ์เงินเฟ้ออย่างหนัก (จากฝั่ง Supply คือ ของแพงขึ้นจากต้นทุนการผลิตเพิ่ม ไม่ใช่ Demand ซื้อเพิ่ม) . เดือนเมษายนที่ผ่านมา ไทยมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 4.65% (YoY) ส่วนภาคอีสาน เงินเฟ้อ 4.14% และคาดว่าเดือน พฤษภาคม นี้จะขยับขึ้นอีก จากปัจจัยราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีการอุดหนุนราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซหุงต้ม ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสินค้าและราคาอาหารมีแนวโน้มขยับขึ้น . การที่ต้องเผชิญสถานการณ์เงินเฟ้อ ไหนจะอัตราดอกเบี้ยที่พร้อมจะขึ้นตามเงินเฟ้อ ในขณะที่ค่าแรงยังเท่าเดิม (ข้อมูลค่าจ้างขั้นต่ำล่าสุด เป็นของปี 63) ทำให้ในระยะยาวเราอาจต้องรับมือกับปัญหาหนี้ครัวเรือน …

อีสาน ภูมิภาคที่มีสัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) มากเป็นอันดับ 2 ของไทย กับเหตุผลว่าทำไมต้องเร่งแก้ อ่านเพิ่มเติม »

ของแซบ อึ่งอ่างขอนแก่น ราคาดี รับหน้าฝน พุ่ง กก.ละ 400 บาท

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ที่ตลาดสดบางลำภู เขตเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อสำรวจโซนอาหารอีสานพื้นบ้าน เนื่องจากการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ประกอบกับฝนที่ตกลงมาในช่วงนี้ทำให้อึ่งและเขียด พากันออกมาเล่นน้ำ และออกมาจับคู่ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ พ่อค้าแม่ค้า เริ่มนำอึ่งอ่างมาจำหน่าย โดยเฉพาะอึ่งเพ้า อึ่งลาย และเขียด . ซึ่งชาวบ้านต่างพากันออกมาจับเพื่อนำกลับไปประกอบอาหาร เนื่องจากเป็นอาหารอีสานขึ้นชื่อ รวมทั้งการจับมาจำหน่าย โดยล่าสุดพบว่าอึ่งเพ้า ที่มีไข่เต็มท้องราคาจำหน่าย อยู่ที่กิโลกรัมละ 380-400 บาท อึ่งข้างลาย กิโลกรัมละ 350 บาท ขณะที่เขียดกิโลกรัมละ 220 บาท . นางดวงใจ เพ็งวิชัย อายุ 63 ปี แม่ค้าขายอาหารประจำถิ่น กล่าวว่า ในช่วงนี้ฝนตกหนักมาอย่างต่อเนื่องทำให้เป็นฤดูที่อึ่งอ่างและเขียด ออกมาผสมพันธุ์กัน และเป็นฤดูเดียวที่เราจะสามารถจับอึ่งอ่างและเขียดได้ ซึ่งอึ่งหน้าฝนแรกนี้จะมีรสชาติอร่อยมากและมีไข่เต็มท้อง . ผู้ที่นิยมรับประทานอึ่ง ต่างพากันมาเลือกซื้อไปปรุงเป็นอาหารกันเป็นจำนวนมาก มีเท่าไหร่ก็ขายหมด และจากการสอบถามลูกค้าต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เมนูที่นิยมนำอึ่งไปประกอบอาหารมีอึ่งต้มใบมะขามอ่อน อึ่งปิ้ง และอึ่งช็อต โดยเฉพาะตัวที่มีไข่เต็มท้องจะมีรสชาติ มัน อร่อย . นางดวงใจ กล่าวอีกว่า แม้ในระยะนี้ลูกค้าที่มาซื้อจะบอกว่ามีราคาแพง แต่ก็ซื้อเพราะได้กินปีละครั้งเท่านั้น แต่ถ้าหลังจากนี้ไปเมื่อมีฝนตกชุกแล้วราคาจะลดลงเนื่องจากมีอึ่งอ่างและเขียดจะออกมาให้ชาวบ้านจับมากขึ้น . . ที่มา: https://kku.world/91t3a . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อึ่งอ่าง

Scroll to Top