March 2022

คิดจาก ‘โซจู’ สู่ ‘อีสานรัม’

มุมที่เหมือนแต่มองต่างกันของภาครัฐไทย กับประเด็นน่าสนใจ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า . . ‘โซจู’ สุราประจำชาติเกาหลีที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สืบย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 13 และตอนนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากนอกประเทศบ้านเกิด จากการโฆษณาสอดแทรกวัฒนธรรมการดื่มผ่านซอฟต์พาวเวอร์อุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือละครซีรีส์ที่เกาหลีใต้ส่งออก . แต่รู้ไหมว่า โซจูแบบดั้งเดิมเป็นเหล้าใสดีกรีสูงที่กลั่นจากข้าวขาวบริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว จนเมื่อประมาณปี 1910 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเกาหลีใต้ การปันส่วนข้าวจึงไม่เพียงพอต่อการนำมาผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนข้าวในช่วงสงครามเกาหลี ทำให้ปี 1965 รัฐบาลมีคำสั่งห้ามผลิตเหล้าจากข้าวอย่างเป็นทางการ . ด้วยข้อจำกัดนี้ ผู้ผลิตโซจูจึงหันไปใช้วัตถุดิบทางเลือกอย่างแป้ง ธัญพืช มันเทศ หรือแม้กระทั่งมันสำปะหลังแทน รวมถึงปรับกระบวนการผลิตให้โซจูเจือจางและมีดีกรีต่ำลง แม้ปี 1999 คำสั่งของรัฐบาลที่ห้ามผลิตโซจูจากข้าวจะถูกยกเลิก แต่นักดื่มก็คุ้นชินกับโซจูแบบนี้แล้ว ด้านผู้ผลิตเองก็พอใจกับกรรมวิธีที่ช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้สูตรที่ไม่จำกัดเฉพาะข้าวและมีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกลายมาเป็นมาตรฐานของโซจูสมัยใหม่ดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน . ประกอบกับภาครัฐของเกาหลีใต้เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้พัฒนา-แข่งขัน จนเกิดเป็นโซจูรสชาติใหม่ ๆ แตกต่างกันไปตามวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิต โดยเฉพาะรสผลไม้ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ เพื่อเจาะกลุ่มนักดื่มผู้หญิงและคนรุ่นใหม่ รวมถึงการทำข้อตกลงกับธุรกิจเรื่องขนาดและการใช้ขวดสีเขียวใส ซึ่งไม่ใช่แค่การสร้างภาพจำ แต่ยังง่ายและลดต้นทุนในการคัดแยกก่อนนำไปรีไซเคิลด้วย . การบริโภคโซจูที่ได้รับความนิยมทั้งในเกาหลีและต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ปี 2020 ตลาดโซจูทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 3,025 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ว่าได้ . เมื่อย้อนกลับมามองไทย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเอกลักษณ์ไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ต้องเสียโอกาสไปอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาถูกปิดกั้นด้วยคำกล่าวอ้างด้านศีลธรรม และล่าสุดด้านสิ่งแวดล้อม . ยกตัวอย่าง เหล้าชั้นดีที่คนไทยด้วยกันเองก็แทบจะไม่รู้จัก ‘อีสานรำ’ (ISSAN RUM) แบรนด์ซึ่งเริ่มจากการทดลองปลูกอ้อยเอง หมักเอง กลั่นเองมาตั้งแต่ปี 2013 อีกทั้งมีโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดหนองคาย จึงใช้อ้อยสด ๆ ในพื้นที่เป็นวัตถุดิบหลัก และด้วยรสสัมผัสที่เฉพาะตัวทำให้อีสานรำได้รางวัลเหรียญเงินจากเวทีระดับโลก IWSC (International Wine and Spirit Competition) ในปี 2014 . สุรากลั่นที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นเหมือนกัน แต่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดที่มากกว่า อย่างประเด็นล่าสุด พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ซึ่งมีสาระสำคัญต้องการเปิดเสรีให้ประชาชนที่ไม่ได้ผลิตสุราเพื่อการค้า ให้มีโอกาสสามารถดำเนินการได้ แต่ไม่ได้ไปต่อเนื่องจาก ครม.เป็นกังวลเกี่ยวกับมาตรฐาน คุณภาพ และสิ่งแวดล้อมในการผลิต ทั้งที่รัฐเองมีหน้าที่ต้องควบคุมมาตรฐานสินค้าและบริการต่าง ๆ อยู่แล้ว การเปิดให้มีการแข่งขันมากขึ้นจะไม่ทำให้มาตรฐานต่ำลง ตราบใดที่รัฐมีการกำกับอย่างจริงจัง . ธุรกิจสุราที่พัฒนาได้ช้า ออกไปแข่งขันกับโลกไม่ได้ สุดท้ายประเทศจะต้องขาดดุลการค้านำเข้าสุราทุกปี จากการที่คนหันไปดื่มแบรนด์นอกแทน ดังนั้น ถ้ารัฐอยากสนับสนุนธุรกิจสุราไทยโดยเฉพาะของผู้ประกอบการรายย่อยจริง ๆ ควรเปิดกว้างทางการแข่งขัน และใช้นโยบายอื่น ๆ เช่น ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ดีขึ้น ทำโครงการ Reskill/Upskill ช่วยพัฒนามาตรฐานการผลิตให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับข้อบังคับกฎหมายเดิมเพื่อลดการมอมเมา เช่น การไม่ขายให้เด็กมีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นต้น . . อ้างอิงจาก …

คิดจาก ‘โซจู’ สู่ ‘อีสานรัม’ อ่านเพิ่มเติม »

ฉุดไม่อยู่ โอกาสของทุเรียนไทย แหล่งผลิตอันดับ 1 ของโลก

ในปี 2564 ไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตทุเรียน 854,986 ไร่ เพิ่มขึ้น 7.2% มีผลผลิต 1.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.7% . ด้านการบริโภคภายในประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปทุเรียนผลสด จำนวน 0.29 ล้านตัน ลดลง 35.8% โดยสาเหตุหลักของการลดลง มาจากราคาที่สูงขึ้น . ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่สวน พันธุ์หมอนทอง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.98 บาท เพิ่มขึ้น 11.6% พันธุ์ชะนี เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.34 บาท เพิ่มขึ้น 6.0% . ด้านการส่งออก ปี 2564 ส่งออกทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ 0.95 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,854 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 63.7% ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปทุเรียนผลสด 0.88 ล้านตัน . ตลาดส่งออกทุเรียนสดที่สำคัญ ได้แก่ จีน (90.0%) ฮ่องกง (5.6%) เวียดนาม (3.4%) สหรัฐอเมริกา (0.2%) และไต้หวัน (0.2%) . ส่วนแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกและเพิ่มปริมาณการส่งออกมากขึ้น มาจากความต้องการบริโภคในต่างประเทศที่สูง โดยเฉพาะตลาดจีน ส่งผลให้ราคาส่งออกสูง (สูงกว่าราคาในประเทศ) บวกกับปัจจัยสนับสนุน เช่น เส้นทางการขนส่งที่สะดวก หลากหลาย และช่องทางการจำหน่ายรูปแบบใหม่ ๆ อย่างระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order platform) . นอกจากทุเรียนสด และทุเรียนแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตามองยังมีทุเรียนอบแห้ง แยม/เยลลี่ทุเรียน และทุเรียนกวน . สำหรับพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียนมากที่สุด (ข้อมูลปี 2563) คือ ภาคใต้ รองลงมา เป็นภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคกลาง ส่วนพื้นที่ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุด คือ ภาคตะวันออก รองลงมาเป็น ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง . ทั้งนี้ แม้ภาคอีสานจะไม่ใช่พื้นที่เพาะปลูกหลัก แต่หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา (ปี 54-63) อีสานมีพื้นที่เก็บเกี่ยวจาก 1.3 พันไร ในปี 2554 เป็น 6.4 พันไร่ ในปี 2563 ถือว่าขยายตัวสูงที่สุด 372.3% เนื่องจากมีการเพาะปลูกแทนพืชอื่น เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ของภาคมาจาก จังหวัดศรีสะเกษ . . อ้างอิงจาก: …

ฉุดไม่อยู่ โอกาสของทุเรียนไทย แหล่งผลิตอันดับ 1 ของโลก อ่านเพิ่มเติม »

อีสานพ้อ (พบ) ผึ้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก กับโอกาสต่อยอดเศรษฐกิจเป็นแหล่ง Ecotourism

เมื่อ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้แถลงข่าวการค้นพบ “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” (Phujong resin bee) ผึ้งเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ของโลก ที่พบแห่งเดียวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี . ผึ้งหยาดอำพันภูจอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Anthidiellum (Ranthidiellum) phujongensis n. sp. เป็นกลุ่มผึ้งหายากที่เคยมีการค้นพบก่อนหน้านี้เพียง 4 ชนิดในโลกเท่านั้น และค้นพบเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ . นอกจากนี้ยังพบผึ้งปรสิตชนิดใหม่ ที่พบภายในรังของผึ้งหยาดอำพันภูจอง คือ “ผึ้งบุษราคัมภูจอง” (Topaz cuckoo bee) โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stelis flavofuscinular n. sp. จากลักษณะพิเศษที่มีสีเหลืองเข้ม สลับลายดำบริเวณลำตัว ทำให้นึกถึงความสวยงามของบุษราคัม . . สร้างจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงเชิงนิเวศ (Ecotourism) . การค้นพบผึ้งหายากเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความสำคัญของผืนป่าได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยคณะผู้วิจัยร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยได้เพิ่มพื้นที่การสร้างหน้าผาดินธรรมชาติบริเวณพื้นที่ใกล้กับลำห้วย เพื่อเพิ่มโอกาสและสถานที่ในการสร้างรังและขยายพันธุ์ของผึ้งกลุ่มนี้ . อีกทั้งยังจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อ “สร้างการรับรู้เรื่องราวของผึ้ง” ทั้งความสำคัญ ความงดงาม รวมทั้งข้อมูลทางชีววิทยาที่ให้ประชาชนได้ตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยให้ความรู้ถึงประโยชน์ของผึ้งต่อระบบนิเวศ และสร้างให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ผลักดันให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ . พัฒนาต่อยอด สร้างงานหัตถศิลป์ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน . ชุมชนได้มีการนำลักษณะเฉพาะของผึ้งหยาดอำพันภูจอง และ ผึ้งบุษราคัมภูจอง ไปสร้างงานศิลปะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน เสื่อกก ตามความถนัดของชุมชน นับเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ BCG model อีกทางหนึ่ง . ประกอบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีแรงงานย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ รวมถึงคนรุ่นใหม่ หรือบัณฑิตจบใหม่ที่มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีย้ายคืนสู่ถิ่นฐานภูมิลำเนาของตน ในหมู่บ้านใกล้กับอุทยานฯ ทำให้มีโอกาสในการสร้างงานสร้างอาชีพในถิ่นฐานของตนอีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างอาชีพและเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชน . ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ Zookeys และถูกรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลของผึ้งในประเทศไทยที่ สวทช. ได้สนับสนุนให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว สามารถอ่านงานวิจัยได้ที่ https://kku.world/xw4vh . . อ้างอิง: https://kku.world/bxef9 https://kku.world/gv566 https://kku.world/0dbtx . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผึ้ง #Ecotourism #การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง

จากรายงานเกี่ยวกับแมลงที่สามารถรับประทานได้ (Edible Insects) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่าภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 9.7 พันล้านคน ซึ่งอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมดในขณะนั้นจะต้องมีเพิ่มเป็นสองเท่า ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่ป่าและน้ำมีอย่างจำกัด อาหารโปรตีนที่จะมาทดแทนปศุสัตว์ก็คือ “แมลง” เพราะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง . แมลงกินได้มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง . ในฐานะแหล่งโปรตีนทางเลือกและอาหารแห่งอนาคต ปัจจุบันเฉพาะธุรกิจแมลงกินได้ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,800 ล้านบาท) โดยตลาดเอเชียครองสัดส่วน 30-40% ของทั้งโลก ส่วนที่เหลือกระจายตัวอยู่ในโซนยุโรป ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมแมลงเติบโตปีละ 20% และกำลังขยายตลาดไปยังโซนอเมริกาเหนือ . แมลงเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เนื่องจากไทยเป็นตลาดส่งออกสินค้าแมลงมีชีวิตอันดับที่ 17 ของโลก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 ไทยส่งออกสินค้าแมลงสู่ตลาดโลกปริมาณ 575 ตัน มูลค่า 85,346 ดอลลาร์สหรัฐฯ (2.8 ล้านบาท) ขยายตัว 29% เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา . “จิ้งหรีด” ดาวเด่นของตลาดส่งออกไทย . ไทยผลิตจิ้งหรีดส่งออกได้ปีละ 7,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท หากผลิตเป็นผงมูลค่าจะเพิ่มหลายเท่าตัว จากกิโลละ 70-80 บาท ราคาพุ่งเป็นกิโลละ 2,000-3,000 บาท เป็นที่นิยมมากในสหภาพยุโรป โดยมีบริษัทสตาร์ตอัพของคนไทยที่ทำตลาดส่งออก “ผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจากจิ้งหรีดเป็นเจ้าแรกของโลก” ส่งไปขายยังกลุ่มสหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ทำให้ธุรกิจแปรรูปแมลงคึกคักขึ้น เริ่มมีบริษัทใหม่ ๆ เข้ามา โดยส่วนหนึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนทำฟาร์มในแถบภาคอีสาน . ผลักดัน “อุดรธานี” เป็นเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก . 7 มีนาคม ที่ผ่านมา อุดรธานีได้มีการจัดอบรมแปรรูปจิ้งหรีด ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี และบริษัท แมลงรวย จำกัด จัดขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ทำฟาร์มเลี้ยงแมลงกินได้ ภายใต้มาตรฐาน GAP ในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแมลงเพื่อการแปรรูปโคกสะอาด หลัก 18 ต.โคกสะอาด อ.เมืองอุดรธานี . อีกทั้งเตรียมจัดงานมหกรรมจิ้งหรีดโลกขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่องานว่า “อุดรธานีเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก” ในวันที่ 5 เมษายน 2565 ที่อุดรธานี เพื่อเป็นการประกาศให้ตลาดแมลงโลกได้รู้จักแมลงแบรนด์ไทย พร้อมทำให้อุดรธานีเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายแมลง เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องของการเลี้ยงแมลงกินได้นานาชนิดของไทย ให้ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้บริโภคมีความมั่นใจและปลอดภัย …

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง อ่านเพิ่มเติม »

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กระแส “ตู้เต่าบิน” ถูกพูดถึงอย่างมากในแวดวงธุรกิจ Vending Machine หรือตู้จำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ แม้ตลาดหลักของไทยจะอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่ก็เริ่มมีการขยายออกต่างจังหวัดมากขึ้น อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลยุทธ์เต่าบิน ที่เป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ รวมไปถึงไขข้อข้องใจว่า ทำไม อีสานถึงมักตั้งตู้ไว้ในโรงพยาบาล .  จุดเริ่มต้นของตู้ชงเครื่องดื่ม . จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป คนไม่ได้เข้างานตอน 8 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็นเหมือนในอดีต ทำให้เจ้าของแบรนด์ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จจากธุรกิจให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ตู้บุญเติม” เกิดไอเดียอยากต่อยอดธุรกิจเดิม . โดยช่วงนั้น เทรนด์ตู้จำหน่ายสินค้ากำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ จึงลองสั่งซื้อตู้ชงเครื่องดื่มจากจีนมาลง แต่ปรากฏว่า ยิ่งกลไกเยอะ โอกาสไม่เสถียรก็สูง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็มาก สุดท้ายต้องกลับมาวิจัยและพัฒนาเองทั้งหมด .  แนวคิดการออกแบบ . เต่าบิน ตู้ชงเครื่องดื่มอัจฉริยะขนาด 1×1 เมตร ผลิตและพัฒนาโดยคนไทย 100% ซึ่งมีเกือบ 30 สิทธิบัตร ครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ มีระบบจอทัชสกรีนที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ระบบการชงที่ล้างด้วยความร้อนแรงดันทุกแก้ว หมดกังวลเรื่องความไม่สะอาด หรือรสชาติที่ผิดเพี้ยน . รวมไปถึง ระบบเซ็นเซอร์ AI ที่จะคอยตรวจเช็กสต๊อกวัตถุดิบภายในตู้ ทำให้สามารถแจ้งเตือนเมื่อสินค้าหมด และส่งข้อมูลไปหา Route Man หรือพนักงานเติมวัตถุดิบให้เบิกสต๊อกมาล่วงหน้า ไม่ต้องเทียวไปเทียวมาหลายรอบ ทางฝั่งผู้บริโภคก็ไม่ต้องทนรอเครื่องดื่มเมนูนั้นหลายวันด้วย .  ฟังก์ชันการทำงาน . ตู้เต่าบินสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชงได้ทั้งร้อน เย็น และปั่น มากถึง 170 เมนู ครอบคลุมสารพัดหมวดตั้งแต่ชา กาแฟ โซดา น้ำอัดลม จนไปถึงน้ำเชื่อมผสมกัญชา และเวย์โปรตีน หรือถ้ารู้สึกยังไม่พอใจ ก็สามารถเพิ่มท็อปปิ้ง เพิ่มช็อตกาแฟได้ด้วย . อีกทั้ง กาแฟกลิ่นหอม ๆ ของตู้ยังเป็นกาแฟสดที่เพิ่งบดเมล็ดออกมาชงให้ลูกค้า สมือนมีบาริสต้าอยู่ข้างใน แม้จะต้องใช้เวลารอเล็กน้อย แต่ก็เพื่อรสสัมผัสตรงตามชื่อแบรนด์ อร่อยเหาะเป็น “เต่าบิน” .  คิดเผื่อกลุ่มคนที่หลากหลาย . หนึ่งในขั้นตอนการสั่งของตู้เต่าบิน ผู้บริโภคจะได้เลือกระดับความหวานเอง (Sweetness level) 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 แคลอรี (ไม่มีน้ำตาล) ซึ่งเหมาะกับผู้ที่รับประทานคีโต และผู้ป่วยเบาหวาน ไปจนถึง หวานน้อย หวานพอดี หวาน และหวานมาก ตามความชอบของแต่ละคน . รวมไปถึง ช่องทางการชำระเงินที่หลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงินสด คิวอาร์ เพย์เมนท์ ช้อปปี้เพย์ หรือแม้กระทั่งเครดิตเต่าบิน …

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง อ่านเพิ่มเติม »

รู้จักกับ “หมากเม่า” ทองคำสีดำเทือกเขาภูพาน ผลไม้สร้างมูลค่าที่น่าจับตามอง

“หมากเม่า” พืชท้องถิ่นที่พบได้ทุกภาคในประเทศไทย แต่พบได้มากในภาคอีสาน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้กับแหล่งกำเนิดของสินค้าที่มีความเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมายาวนาน เช่น น้ำหมากเม่าสกลนคร ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสาคร ผ้าไหมยกดอกลำพูน เป็นต้น . ชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกหมากเม่าเพิ่มขึ้น จากการส่งเสริมของผู้นำชุมชนและทางจังหวัด ในด้านงบประมาณพร้อมผลักดันให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จนสามารถสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชุมชน โดยมีเครือข่ายหมากเม่าประมาณ 400 ครอบครัว มีไร่หมากเม่ากว่า 1,900 ไร่ และมีโรงงานแปรรูปอีก 15 โรงงาน . ในอนาคตทิศทางของหมากเม่ามีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น จากเดิมที่ชาวบ้านนิยมกินผลสดและนำไปใส่ส้มตำ ปัจจุบันหมากเม่าถูกนำไปแปรรูปสารพัด เช่น นอกจากเครื่องดื่ม ยังมีแยมหมากเม่า คุกกี้ไส้หมากเม่า ชาใบเม่า น้ำใบเม่า สบู่และเครื่องสำอางประทินผิวน้ำหมากเม่า เป็นต้น . ทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีสรรพคุณมาก ผลหมากเม่าสุก มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยชะลอความแก่ชราได้ รสฝาดของผลมะเม่าสุก มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย และรสขมของมะเม่า มีสารแทนนิน (Tannin) ช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้ . ที่ผ่านมา ด้านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนคร ก็ได้มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายการตลาดสินค้าเกษตรมาตรฐานให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการสินค้าเกษตร สินค้า GI ที่มีศักยภาพในจังหวัดสกลนคร ในหัวข้อ “พิชิตตลาดสินค้า GI วิถีใหม่ สู่โลกออนไลน์” . เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์จากหมากเม่า ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูก ในการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ อย่างมีประสิทธิภาพ และน่าสนใจ เปิดช่องทางการตลาดให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น เพื่อปรับให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Norma) . . ที่มา: BEDO, Herbs Starter, Medthai และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร

ปีทองของการส่งออก ‘มันสำปะหลัง’ ไทย ดันราคาขายผลผลิตให้เกษตรกรอีสาน

ปี 2564 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 10.4 ล้านตัน (+46%) คิดเป็นมูลค่ากว่า 123,357 ล้านบาท (+48%) ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 . ประเทศที่ส่งออกไปมากที่สุด คือ จีน คิดเป็นมูลค่า 85,471 ล้านบาท รองลงมาเป็น ญี่ปุ่น 9,214 ล้านบาท, ไต้หวัน 4,861 ล้านบาท, สหรัฐอเมริกา 3,158 ล้านบาท และอินโดนีเซีย 3,125 ล้านบาท . ส่วนสาเหตุที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากจีน (ตลาดหลัก) ต้องการนำมันสำปะหลังไปเป็นวัตถุดิบแทนข้าวโพดเพื่อผลิตแอลกอฮอล์ในช่วงการระบาดของ COVID-19 รวมถึงการผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากปริมาณสต๊อกข้าวโพดในประเทศจีนลดลง และมีราคาสูงขึ้น (แพงกว่ามันเส้น) จึงพยายามนำเข้ามันสำปะหลังซึ่งเป็นสินค้าทดแทนการผลิต จากไทยอีกทาง . ประกอบกับภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็น 0% ภายใต้ FTA อาเซียน-จีน ยิ่งสนับสนุนให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่จีนนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ มันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง . ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดในประเทศ ปีการผลิตปี 2564/65 มีเสถียรภาพ ปัจจุบันราคาเฉลี่ย 2.55 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจมาก . สำหรับปี 2565 นี้ ภาครัฐก็ได้เร่งดำเนินงานตามพันธกิจด้านการตลาดต่างประเทศ ในการส่งเสริมการส่งออก เช่น การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปและนวัตกรรมจากมันสำปะหลังเพื่อสร้างการรับรู้ให้กลุ่มผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ประชุมเจรจาขยายตลาดผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับผู้ส่งออกและผู้ซื้อมันสำปะหลังในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง . และที่น่าจับตามอง อย่างการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากมันสำปะหลังนำร่อง ได้แก่ พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) และแป้งฟลาวมันสำปะหลังไปตลาดต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ผ่านกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ การจับคู่ธุรกิจในรูปแบบออนไลน์ (OBM) และสื่อประชาสัมพันธ์โฆษณา (Advertorial) ตลอดจนการเชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานวิจัย เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างเป็นรูปธรรม . สุดท้าย การขยายตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์จะไม่ใช่เพียงผู้ส่งออกที่ได้ประโยชน์ แต่เกษตรกรก็พลอยจะขายได้ราคาดีตามไปด้วย โดยเฉพาะในภาคอีสานที่มีครัวเรือนเกษตรกรที่เพาะปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศ . . อ้างอิงจาก https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/761552/761552.pdf&title=761552&cate=1469&d=0 https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/753899/753899.pdf&title=753899&cate=1469&d=0 https://www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดมันสำปะหลัง/TH-TH https://www.prachachat.net/economy/news-873583 https://mgronline.com/business/detail/9640000014819

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน

เมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนจะนึกถึงความแซ่บ ที่มีทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด ออกรสเค็มหน่อย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ลาบ ก้อย หรือ “ส้มตำ” ที่ได้แทรกซึม และเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด ทำให้หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นส้มตำได้มีการยกระดับจากร้านข้างทางเข้ามาอยู่ในศูนย์การค้า หรือร้านแบบ Stand Alone ที่มีการทำแบรนด์ ขยายสาขา ดึงดูดลูกค้าด้วยดีไซน์ร้านที่เป็นเอกลักษณ์ . ครั้งนี้ อีสานอินไซต์จะพาไปรู้จักกับ “ตำมั่ว” (tummour) ร้านส้มตำพันล้านที่มี 100 กว่าสาขาทั้งในและต่างประเทศ ทำอย่างไรถึงสามารถขายส้มตำ ที่มีตลาดใหญ่ ให้แตกต่างและสามารถเพิ่มมูลค่าจากส้มตำหลักสิบเป็นหลักร้อย จนแบรนด์มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท . กว่าจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะร้านตำมั่วมีต้นกำเนิดมาจากร้านส้มตำห้องแถวธรรมดาของคุณแม่ ที่มีชื่อร้านว่า นครพนมอาหารอีสาน ที่แม้จะขายดีแค่ไหน แต่ก็ไม่มีคนรู้จักชื่อร้าน และยังไม่เป็นที่จดจำ คุณศิรุวัฒน์ ชัชวาล (เบส) ลูกชาย จึงได้ทำการรีแบรนด์ร้านของคุณแม่ใหม่ โดยเริ่มจากการสร้างตัวตนให้แบรนด์ โดยวิเคราะห์เมนูของทางร้านว่า เมนูยอดนิยมมีอะไรบ้าง และเมนูใดบ้างที่ขายดี จากนั้นจึงหยิบมาเป็นจุดขาย และใส่คาแรกเตอร์เข้าไป . การสร้างตัวตน จาก Brand DNA ที่มีความชัดเจน และตรงกับคาแรกเตอร์ของเจ้าของแบรนด์ . เจ้าของแบรนด์ ได้ทำการเขียนดีเอ็นเอของแบรนด์ให้มีคาแรกเตอร์ใกล้เคียงกับตนเอง โดยให้เป็นคนอีสานที่ทันสมัย แต่ไม่ลืมรากเหง้า จึงเลือกที่จะให้ตำมั่วเป็นอาหารอีสานที่มีความเป็นรากเหง้าที่รสชาติ แต่คาแรกเตอร์อื่น ๆ ทันสมัย สร้างแท็กไลน์ ‘อาหารรสจัด ถนัดเรื่องตำ’ ให้คนรู้จักได้ง่ายขึ้น . ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นด้วย Music Marketing พร้อมจับมือกับเซ็นกรุ๊ป ผลักดันให้ดังไกลไปต่างแดน . เพื่อให้เป็นที่จดจำสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ แบรนด์ได้โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้อง ห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 70 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก . ตอนนี้ตำมั่วดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด การตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย . ส่วนผสมที่ลงตัวทำให้เกิดกลยุทธ์ . ตำมั่ว มีความแข็งแรงในเรื่องของอาหารไทยหรือการเข้าใจตลาดที่เป็นแมสมากกว่า และหาก SMEs อย่างตนจะกระโดดเข้าตลาดหุ้นคงต้องเตรียมการเยอะมาก การจับมือกันเซ็นกรุ๊ป ที่มีความพร้อมหลายด้าน ทั้ง HR, Logistics, R&D หรือ Operation ด้วยส่วนผสมที่เอื้อกัน ทำให้อยู่ในมาตรฐานที่เติบโตได้ง่ายและเร็วขึ้น . ขณะนี้ได้มองถึงด้าน New Business โดยเรียกตนเองว่า Food Service คือการ Verify ตัวเองให้เป็นการขายอาหาร ขายการส่งอาหารถึงบ้าน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจอาหารทุกรูปแบบของการทำธุรกิจด้านอาหาร …

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

สถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทย เมื่อรัฐเล็งยกเลิกใช้กล่องโฟม แก้ว-หลอดพลาสติก ภายในปี 65

ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาขยะพลาสติกกำลังถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง และผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ โดยปี 2562 ประเทศไทยได้ทำการแบนพลาสติกไปแล้ว 3 ชนิด ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม, ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ๊อกโซ่ และไมโครบีดจากพลาสติก . และภายในปี 2565 ไทยก็จะแบนพลาสติกอีก 4 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว (ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน), กล่องโฟมบรรจุอาหาร, แก้วพลาสติก (ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน) และหลอดพลาสติก . รวมไปถึง เรื่องของการนำพลาสติกเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ได้ไม่น้อยกว่า 50% ของกลุ่มถุงพลาสติกหูหิ้ว, บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว, ขวดพลาสติกทุกชนิด, ฝาขวด, แก้วพลาสติก, ถาด/กล่องอาหาร และช้อน ส้อม มีดพลาสติก . ในระยะเวลาอีกไม่ถึงปีนี้ อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปดูว่า ที่ผ่านมามาตรการลดและเลิกใช้พลาสติกของภาครัฐได้ผลมากน้อยแค่ไหน จากเป้าที่ว่า จะลดปริมาณขยะพลาสติกลง 0.78 ล้านตันต่อปี . โดยเทียบเคียงจากข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย (ไม่ใช่ขยะพลาสติกทั้งหมด) ซึ่งปี 2562 ปริมาณขยะมูลฝอยทั้งประเทศ 28.71 ล้านตัน (+0.78 ล้านตัน) ส่วนปี 2563 ปริมาณขยะมูลฝอยทั้งประเทศ 25.37 ล้านตัน (-3.34 ล้านตัน) ที่แม้จะต้องใช้เวลาอีก 1 ปีให้หลังจึงเห็นผลแต่ก็ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะในจำนวนนี้เป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 33% ของปริมาณขยะที่ก่อ อีกทั้งสถานที่กำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องยังลดลงจากปี 2562 จำนวน 366 แห่ง . เช่นเดียวกับภาคอีสาน ที่ปี 2562 ปริมาณขยะมูลฝอย 7.82 ล้านตัน (+0.04 ล้านตัน) ส่วนปี 2563 ปริมาณขยะมูลฝอย 6.49 ล้านตัน (-1.33 ล้านตัน) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มากถึง 46.5% ของปริมาณขยะที่ก่อ ถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าทุกภูมิภาค รวมถึงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องก็ลดลงเช่นกัน โดยลดจากปี 2562 ประมาณ 205 แห่ง . อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขดังกล่าวจะไม่สามารถสะท้อนผลของนโยบายได้ชัดเจน แต่การแบนพลาสติกบางประเภท ก็เพื่อเปิดโอกาสให้วัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าได้เข้ามาแทนที่ และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้หันมาพกอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ซ้ำกันมากขึ้น . แน่นอนว่าเป็นโอกาสของภาคธุรกิจให้รีบปรับตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลาสติกที่ช่วงแรกต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงกว่าปกติ ดังนั้นภาครัฐอาจต้องเข้ามาช่วงผลักดันอีกแรง เช่น การมี Roadmap ที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุทางเลือกอย่างไร จะมีมาตรการทางภาษีมาช่วยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องมีรายละเอียดเพื่อให้การแบนมีผลจริงในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น ส่วนธุรกิจอื่น ๆ เช่น จัดจำหน่ายถุงผ้า แก้วน้ำ-กล่องอาหารแบบใช้ซ้ำ ก็คงต้องมาแข่งขันกันอีกว่า …

สถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทย เมื่อรัฐเล็งยกเลิกใช้กล่องโฟม แก้ว-หลอดพลาสติก ภายในปี 65 อ่านเพิ่มเติม »

เปิดรายชื่อ 18 สินค้า ห้ามขึ้นราคา! กรมการค้าภายในขอให้ตรึงราคาต่อ

ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตสินค้าหลายชนิด จ่อ “ขึ้นราคาสินค้า” ภายในเมษายน 2565 โดยกลุ่มสินค้าที่จะปรับขึ้นราคา ได้แก่ . ไข่ไก่ ปรับราคาขึ้น 9 บาทต่อแผง น้ำมันปาล์ม ปรับราคาขึ้น 3 บาทต่อขวด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปรับราคาขึ้น 25 สตางค์ต่อซอง นมข้นหวาน ปรับราคาขึ้น 2 บาทต่อกระป๋อง มะนาว ปรับราคาขึ้น 5-7 บาทต่อลูก . อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศตรึงราคาสินค้าจำเป็น 18 หมวด มาตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยห้ามขึ้นราคาสินค้าโดยไม่จำเป็นทุกชนิด หวังจะช่วยบรรเทาสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศได้มากที่สุด . รายชื่อสินค้าจำเป็น 18 รายการ ที่ยังไม่ให้ขึ้นราคา มีดังนี้ . 1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2. หมวดอาหารสด (ไข่ไก่ เนื้อสัตว์) 3. อาหารกระป๋อง 4. ข้าวสารถุง 5. ซอสปรุงรส 6. น้ำมันพืช 7. น้ำอัดลม 8. นมและผลิตภัณฑ์จากนม 9. เครื่องใช้ไฟฟ้า 10. ผลิตภัณฑ์ซักล้าง 11. ปุ๋ย 12. ยาฆ่าแมลง 13. อาหารสัตว์ 14. เหล็ก 15. ปูนซีเมนต์ 16. กระดาษ 17. ยา เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ 18. บริการผ่านห้าง ค้าปลีก-ส่ง . ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต จะขอปรับขึ้นราคาขายสินค้า เพราะต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ต้องทำเรื่องมาที่กรมการค้าภายในเพื่อขออนุญาต และจะดำเนินการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป . สุดท้ายนี้ ถ้าประชาชนท่านใดพบเห็นการขายสินค้าเกินราคากว่าความเป็นจริง สามารถโทรศัพท์แจ้งโดยติดต่อมาที่ โทร.1569 สายด่วนกรมการค้าภายใน (ร้องเรียนสินค้าจำหน่ายเกินราคา) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมายกับร้านค้าดังกล่าวได้ . . ที่มา: กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และกรุงเทพธุรกิจ