February 2022

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก ปีงบฯ 64 (ต.ค. 63 – ก.ย. 64) ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จํานวน 70,056 ครั้ง มีผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ 59,909 ราย เมื่อจำแนกเป็นรายภาคพบว่า เป็นส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) 15,615 ราย (26.06%) และส่วนภูมิภาค 44,294 ราย (73.94%) ซึ่งในส่วนภูมิภาคพบว่า ภาคอีสานมีผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุมากที่สุด คือ 19,469 ราย เมื่อดูเฉพาะข้อมูลผู้เสียชีวิต จังหวัดนครราชสีมามีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 305 ราย โดย 1 ใน 3 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดโดยรถจักรยานยนต์ ซึ่งน่าสนใจว่า Top 3 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตที่เกิดโดยรถจักรยานยนต์อยู่ในภาคอีสานทั้งหมด ได้แก่ นครราชสีมา มหาสารคาม และร้อยเอ็ด ตามลำดับ เมื่อลองมาดูตัวเลขรถจักรยานยนต์ที่ออกใหม่ (ป้ายแดง) ในภาคอีสาน ปีงบฯ 64 พบว่า สูงถึง 405,666 คัน หรือคิดเป็น 25.75% ของทั้งประเทศ จากจำนวนผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกับจำนวนรถออกใหม่ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ หน่วยงานประจำท้องที่อาจต้องมีการรณรงค์ในเรื่องของกฎจราจรควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้หากมีการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น มหาวิทยาลัย ในการศึกษาถึงรูปแบบการรณรงค์ที่จะได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ก็จะยิ่งช่วยให้เกิดความคุ้มค่าของงบประมาณด้วย ที่มา: กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก

ทำไมคนเมืองกับคนชนบทมีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน

ทำไมคนเมืองกับคนชนบท มีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน ปฎิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนต่างจังหวัดมานานหลายปี อย่างน้ำประปาขุ่น ไหลบ้างไม่ไหลบ้าง ไม่สะอาด และมีกลิ่น ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ปัญหาเกิดจาก “การจัดสรรงบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอ” เมื่อดูสัดส่วนรายได้ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ปี 2564 พบว่า รายได้ของส่วนกลาง 1,893,872 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70.75% ขณะที่รายได้ของถ้องถิ่น 783,128 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.25% ยกตัวอย่าง เทศบาลอาจสามารถที่มีงบลงทุนปีละประมาณ 2 ล้านบาท หากจะทำให้น้ำประปาดื่มได้ต้องใช้งบลงทุน 10 ล้านบาท เพราะฉะนั้นหากจะพัฒนาโรงผลิตระบบน้ำประปาที่ดีมีคุณภาพ สามารถควบคุมด้วยระบบ IoT ได้ ต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี อีสานอินไซต์จึงขอยกโครงการน้ำประปาดื่มได้ น้ำใสใน 99 วัน มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบและแนวทางในการศึกษาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป เริ่มต้นจากการสำรวจปัญหาในพื้นที่ เทพพร จำปานวน นายกเทศมนตรีตำบลอาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ได้ทำการสำรวจปัญหาในพื้นที่ และพบว่าปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขคือ “ปัญหาเรื่องน้ำ” จากนั้นได้ทำการออกสำรวจและเก็บตัวอย่างน้ำประปาในพื้นที่ จากทั้ง 5 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถ เพื่อนำมาตรวจวัดค่าต่าง ๆ ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ก่อนจะเข้าไปปรับปรุงระบบน้ำประปา แล้วจะปรับปรุงระบบได้อย่างไร? ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำได้เข้าไปจัดการตั้งแต่ต้นทางการผลิตน้ำประปาในโรงผลิต เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ปรับปรุงคุณภาพน้ำ ยกระดับมาตรฐานการผลิต ไปจนถึงปรับปรุงระบบการส่งน้ำ การประปาอาจสามารถจะสูบน้ำดิบจากแม่น้ำชี แม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสาน เข้าสู่โรงผลิตประปา ด่านแรกที่เจอคือ ถังกวน น้ำดิบจะยังมีทั้งตะกอน โคลน ละลายอยู่ในน้ำ และเพื่อให้น้ำแยกตัวออกมา จะต้องเติมสารส้มลงไป ตามด้วยปูนขาว เพื่อปรับค่า PH ของน้ำให้เหมาะสม แล้วน้ำจะใสขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีระบบกรองต่อไปที่น้ำจะถูกผ่านถังกรองทราย เพื่อกรองตะกอนให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น จากนั้นเติมคลอรีนในอัตราส่วนที่พอเหมาะ เพื่อกำจัดแบคทีเรียและฆ่าเชื้อโรค สำคัญคือ จะต้องมีการตรวจ ควบคุมคุณภาพน้ำอยู่ตลอดเวลา ระยะต่อมา น้ำจะไหลเข้าสู่ถังน้ำใสเพื่อสำรองน้ำ ก่อนจะถูกสูบขึ้นหอถังสูงเพื่อเพิ่มแรงดันในการกระจายน้ำ ไปยังบ้านเรือนของประชาชน แต่ด้วยสภาพโรงผลิตน้ำประปาที่มีโครงสร้างของอาคารผุพังขาดการดูแล ห้องเครื่องจักรที่ใช้เก็บเครื่องสูบน้ำ ถูกปล่อยปละละเลย ถังน้ำใสที่ไม่ได้ล้างตะกอนมานานหลายปี ห้องเก็บสารเคมีที่ไม่มีมาตรฐาน คือ ปัญหาที่จะต้องแก้ไข และจัดการให้ได้ หลังจากดำเนินการฟื้นฟูสภาพของโรงผลิตน้ำประปา และยกระดับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพน้ำประปาให้สามารถใช้เพื่อการบริโภคได้ ผลที่ได้รับคือ คุณภาพน้ำประปาดีขึ้น ประชาชนได้น้ำที่ใสสะอาด มีมาตรฐานการทำงาน ควบคุมคุณภาพน้ำได้ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อน้ำมีปัญหา ปัจจุบันมีผลทดสอบคุณภาพน้ำจากห้องปฏิบัติการกลางยืนยันว่าคุณภาพน้ำประปาของเทศบาลตำบลอาจสามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย และได้ใบรับรองมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้อย่างเป็นทางการจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำประปาจาก Rocket Media Lab บอกไว้ว่า ถ้าคนไทยต้องการดื่มน้ำสะอาด 2 ลิตรต่อวัน ต้องทำงานนานถึง 27 นาที เพื่อจ่ายค่าน้ำในราคา 19 บาท (คิดเป็น 45% อ้างอิงจากค่าแรงชั่วโมงขั้นต่ำ 41.31 …

ทำไมคนเมืองกับคนชนบทมีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน อ่านเพิ่มเติม »

รู้จัก “นักเดินท่องเมือง” ไหม ?

Youtube Creator ที่นิยามตัวเองว่าเป็นนักเดินท่องเมือง (City Walker) จะเป็นในลักษณะของการติดกล้องเดินสำรวจสถานที่ต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อซึมซับบรรยากาศ ซึ่งมักจะไม่มีการพูดบรรยายหรือถ่ายให้เห็นใบหน้า Walker จึงทำให้คนดูรู้สึกไม่ถูกรบกวนหรือบดบังทัศนียภาพ อีกทั้ง วีดีโอของพวกเขาที่มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงลำธาร หยาดฝน นกร้อง บางครั้งก็ถูกนำไปใช้ในการบำบัด (Binaural Sounds) เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย หลับสบาย หรือมีสมาธิ สำหรับประเทศไทย มีช่อง REAL THAILAND 4K ที่จะพาไปเดินในย่านเศรษฐกิจ ชมกรุงเก่า และสตรีทฟู้ดของกรุงเทพฯ รวมไปถึงบางพื้นที่ในเชียงใหม่ และเมืองพัทยา โดยปัจจุบันแม้จะมีอายุเพียง 1 ปี 2 เดือน แต่ก็เคยทำยอดวิวรวมได้สูงถึง 1.93 แสนครั้ง/วัน หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 4,926 – 1.72 หมื่นบาท ส่วนในภาคอีสาน น่าสนใจว่า Youtube Creator ที่เป็น Walker พาเดินในพื้นที่อีสานยังไม่ค่อยมี โดยส่วนมากจะเป็นช่องของชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทย ซึ่งรูปแบบวีดีโอจะเน้นไปที่วิถีชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จึงอาจถือเป็นโอกาสที่น่าลองสำหรับ Walker สายอีสาน ที่มีอุปกรณ์พร้อม ขาดแค่แรงผลักดันในการลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ ๆ ยิ่งหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนช่วยโปรโมต ก็อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศต่อจากนี้ เรียกได้ว่า “ถ้าทำสำเร็จ ก็วินวินทุกฝ่าย” ที่มา: วิเคราะห์ข้อมูล Youtube Channel จาก NoxInfluencer

รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง

เกิดอะไรขึ้น ในยุคที่คนจำนวนมากลาออกจากงาน รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง หากดูข้อมูลผู้ประกันตนปี 2564 (ม.ค. – ก.ย.) พบคนไทยลาออกจากงานเดือนละกว่า 220,000 – 250,000 คน สำหรับภาคอีสานมีผู้ลาออกจากงาน 49,944 คน หรือคิดเป็นถึง 86.1% ของผู้ว่างงานในภาคอีสาน หนึ่งในปัจจัยหลักมาจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ที่สร้างความกดดันให้กับแรงงาน อีกทั้งการ Work From Home เป็นเวลานานทำให้คนปรับพฤติกรรม โดยเชื่อว่าการทำงานที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเสมอไป จึงเริ่มมองหางานใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ครั้งนี้อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามอง อย่าง YOLO Consumer (You Only Live Once) หรือผู้ที่กล้าออกจาก Comfort Zone เพื่อตามล่าหาความฝันของตัวเอง สิ่งที่เหล่า YOLO Consumer ต้องการคืออะไร? สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องการ คือ Work-Life Balance หรือการปรับสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงการให้รางวัลตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมา คือ ไลฟ์สไตล์แบบ Living Rich หรือการที่คนแบ่งเงินที่ได้จากการทำงานไปใช้จ่ายกับ Passion หรือซื้อประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เช่น การชอปปิง การท่องเที่ยว และการรับประทานอาหารร้านใหม่ ๆ เป็นต้น แล้วแบรนด์แบบไหนล่ะ ที่ใช่ในสายตาเหล่า YOLO Consumer 1. แบรนด์ที่สร้างประสบการณ์ในการชอปที่แตกต่าง เหล่า YOLO Consumer ไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจากความต้องการในตัวสินค้าเพียงเท่านั้นแต่หลายคนเลือกซื้อจากประสบการณ์ที่แบรนด์มอบให้ โดยเฉพาะประสบการณ์ที่แปลกใหม่ น่าประทับใจ น่าถ่ายรูป น่าแชร์ ยิ่งทำให้ได้ใจลูกค้าเหล่านี้ไปเต็ม ๆ 2. แบรนด์ที่ทำการตลาดแบบจริงใจ เน้นประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้เป็นหลัก การที่เหล่า YOLO Consumer ชอบลองสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ทำให้พวกเขาไม่ค่อยยึดติดกับชื่อแบรนด์ ดังนั้น การกลับมาซื้อซ้ำอีกหรือไม่ยังคงขึ้นอยู่กับคุณภาพ และความจริงใจ โดยเฉพาะการใส่ใจลูกค้า เช่น การรับฟัง Feedback เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข รวมไปถึงการใส่ใจประเด็นทางสังคม เช่น การคิดถึงผู้ด้อยโอกาส คิดถึงสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย 3. แบรนด์ที่ให้ความสะดวก รวดเร็ว และสามารถชำระเงินได้หลายช่องทาง อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แบรนด์โดนใจเหล่า YOLO Consumer คือ ความสะดวก รวดเร็วในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งยุคนี้จะเน้นการชอปออนไลน์ เพราะฉะนั้นทั้งช่องทางการซื้อ การชำระเงิน และการขนส่ง ต้องให้ความรู้สึกสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก 4. แบรนด์ที่สร้างความพิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มแรก เหล่า YOLO Consumer จำนวนมากอยากเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ทดลองและแชร์ประสบการณ์ก่อนคนอื่น ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจึงมักเห็นคอนเทนต์ที่มีการรีวิวของกิน ของใช้ รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง …

รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง อ่านเพิ่มเติม »

สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของอีสานผ่านรถไฟจีน-ลาว

เส้นทาง “รถไฟจีน-ลาว” ช่วยให้การขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-จีน ผ่านภาคอีสานทางบกมีบทบาทสำคัญมากขึ้น แม้เบื้องต้นไทยต้องเผชิญกับความท้าทายของ “สินค้านำเข้าจากจีนที่จะมีมากกว่าสินค้าส่งออกจากไทย” ซึ่งสินค้าจากจีนจะเข้ามาไทยผ่านทางรางเพิ่มขึ้น จากที่ไม่เคยขนส่งผ่านทางรางมาก่อน . แต่ในทางกลับกันไทยก็มีโอกาสขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลยูนนาน (ปลายทางฝั่งจีน) รวมทั้งมณฑลใกล้เคียง จากเดิมที่สินค้าไทยส่วนใหญ่จะนิยมขนส่งไปทางจีนตะวันออกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางถนน รวมถึงมณฑลกวางตุ้ง และอื่น ๆ ทางเรือ . สำหรับภาคอีสาน สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกจะเป็นกลุ่มผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงเกษตรแปรรูป เนื่องจากมีความต้องการนำเข้าจากจีนมาก และอีสานก็มีจุดแข็งด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรและปศุสัตว์ที่สำคัญของประเทศ โดยภาคอีสานจะมีกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกมากที่สุด ดังนี้ . 1. อาหารแปรรูป ได้แก่ ผลไม้แปรรูป เช่น สัปปะรดแปรรูป ซึ่งได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และอาหารแปรรูปพร้อมทาน (Ready to Eat) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ฮาลาล เนื่องจากคนจีนด้านตะวันตกเป็นชาวมุสลิมกว่า 22 ล้านคน จึงเป็นโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ด้านนี้มากขึ้น . 2. ปศุสัตว์แปรรูป เช่น เนื้อไก่แปรรูป และเนื้อโคขุน ซึ่งมีอัตราการเติบโตของตลาดเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลังในจีนสูงถึงกว่าร้อยละ 2,000 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันอีสานยังไม่ได้ส่งออกเนื้อโคประเภทนี้มากนัก จึงเหมาะกับการพัฒนามาตรฐานการผลิตเพื่อคว้าโอกาสจากความต้องการนำเข้าของจีนที่มากขึ้น . 3. สินค้าของที่ระลึก โดยพัฒนาต่อยอดกับสินค้า OTOP ที่มีอยู่เดิมให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ของใช้ทำจากยางพารา สินค้าความงาม ประเภทสปา ครีมขัดผิวที่ทำจากสมุนไพร เนื่องจากชาวจีนนิยมใช้สินค้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติมากขึ้น . 4. ผลไม้สด ได้แก่ ทุเรียนภูเขาไฟ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง แต่ปัจจุบันอีสานมีปริมาณผลไม้น้อย ซึ่งเป็นโอกาสให้เกษตรกรที่เดิมทีปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ที่มีความผันผวนด้านราคา ศึกษาการปลูกผลไม้เพื่อการส่งออกมากขึ้น . อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนจนกระทบความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ภาครัฐไทยควรมีกฎระเบียบหรือมาตรฐานในการควบคุมสินค้าที่เข้ามา โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากจีนที่ไทยก็ผลิตเช่นกัน รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือด้านการค้า และการลงทุนในการผลิตสินค้าร่วมกับ สปป. ลาว เพราะจะเป็นข้อต่อสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การค้าผ่านเส้นทางนี้เติบโตไปด้วยกัน . . อ้างอิง: บทความ คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว Regional Letter ฉบับที่ 1/2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย และ https://www.bbc.com/thai/60248500

ข้าวแต๋นมินิ Younger Farm เพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทย โลดแล่นไกลต่างแดน

ข้าวแต๋น หรือ นางเล็ด ขนมพื้นบ้านที่เกิดจากความเสียดายที่กินข้าวเหนียวเหลือ จึงนำมาแปรรูปถนอมอาหารด้วยการตากแห้ง เพิ่มรสชาติด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเหนียวได้ที่ และราดลงบนข้าวเหนียวตากแห้งที่ทอดไว้ . จากขนมบ้าน ๆ ในวันนั้น วันนี้ได้บุกตลาดต่างประเทศ ส่งออกไปทั้งจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นมินิที่สร้าง Value Added ให้กับข้าวไทย ให้เข้าไปอยู่ในใจลูกค้าคนเอเชีย .  มองเห็นโอกาส “ข้าวไทย” ในต่างแดน พร้อมกับตั้งโจทย์ในการผลิตสินค้าที่ชัดเจน . คุณณัฐกิตติ์ จิตต์ปราณีชัย ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เผยกับ Bangkok Bank SME ว่า เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสได้ไปเรียนภาษาจีน ณ กรุงปักกิ่ง ทำให้ทราบว่ามีข้าวสารจากประเทศไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาดเมืองจีนค่อนข้างเยอะ และเป็นที่นิยม จึงเกิดแนวคิดอยากแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร (Value Added) . โดยมีโจทย์คือต้องผลิตสินค้าให้ถูกใจวัยรุ่นจีน และสามารถเก็บได้นาน ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจในการสร้างรายได้ จึงก่อตั้งบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายข้าวแต๋นมินิแบรนด์ “Younger Farm” โดยมีการทดลอง การทำวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าและแพ็กเกจจิ้ง อย่างการทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุ 1 ปี ซึ่งข้าวแต๋นโดยทั่วไปมีอายุประมาณ 3 เดือน ทำให้ลูกค้าหมดกังวลเรื่องหมดอายุ .  ทำอย่างไร…? ให้ผลิตรสชาติที่ถูกปากคนเอเชีย . จากตอนแรกที่ทดลองทำรสชาติที่ถูกปากคนไทย แต่กลับพบว่าไม่ถูกใจคนต่างชาติ จึงทำการ สำรวจตลาดแล้วปรับสูตร – รสชาติให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยการทำ Marketing Survey เช่น การส่งให้เพื่อนชาวต่างชาติทดลองชิมและให้คะแนน เพื่อคัดสรรสินค้าที่มีรสชาติตอบโจทย์มากที่สุด จนได้รสชาติกลาง ๆ แต่จำหน่ายได้ทั้งไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน .  สร้าง Value Added ปรับแพ็กเกจจิ้งทันสมัย ได้มาตรฐาน . ข้าวแต๋นที่เราเห็นทั่วไป จะมีบรรจุภัณฑ์เป็นแบบถุงใส จึงทำการปรับให้ดูทันสมัย เหมาะกับลูกค้าวัยรุ่น วัยทำงาน สามารถถือไปได้ทุกที่ พร้อมกับขยายกิจการจากการเช่าโรงงาน เป็นการซื้อโรงงาน เพื่อการรองรับมาตรฐานต่าง ๆ ให้มากขึ้น . ปัจจุบันมีลูกค้าหลัก คือ เวียดนาม มาเลเซีย จีน และไต้หวัน ซึ่งแต่ละแห่งก็ได้นำสินค้าไปจำหน่ายทั้งในห้างสรรพสินค้าและตามร้านสะดวกซื้อ ส่วนในเมืองไทยมีจำหน่ายในแฟมิลี่มาร์ท เดอะมอลล์ …

ข้าวแต๋นมินิ Younger Farm เพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทย โลดแล่นไกลต่างแดน อ่านเพิ่มเติม »

ฮู้จักอีสาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจครั้งสำคัญของภูมิภาค

ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง หากคุณเป็นคนที่สนใจธุรกิจในภาคอีสานก็อาจต้องทำความรู้จักเศรษฐกิจของภูมิภาคตั้งแต่อดีต ว่ามีพัฒนาการและจุดเปลี่ยนสำคัญ (Journey) อะไร ที่ทำให้เห็นเป็นโครงสร้างอย่างในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางหรือโอกาสในการต่อยอดธุรกิจไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต . . ⏲︎ 2504-2517: ยุคส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ . นโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกและการเข้ามาของเทคโนโลยีการเกษตร ทำให้พื้นที่ป่าในภาคอีสานลดลงเหลือเพียง 30% ของพื้นที่ทั้งภาค โดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อการค้ามากขึ้น . ช่วงระหว่างปี 2514-2517 มีการปฏิวัติพืชไร่ครั้งใหญ่ ภาครัฐได้ส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง และอ้อย ทำให้ตั้งแต่ปี 2514 เกิดโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง และโรงงานน้ำตาล กระจายตามแหล่งเพาะปลูกสำคัญ อีกทั้งเริ่มมีการศึกษาทุ่งกุลาร้องไห้บริเวณอีสานตอนใต้ ซึ่งเป็นทุ่งโล่ง แห้งแล้ง และดินเค็ม เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีสำหรับการส่งออก . . ⏲︎ 2518-2538: การค้า บริการ และอุตสาหกรรมเติบโตดี . ตั้งแต่ปี 2518-2538 เศรษฐกิจอีสานเติบโตดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการค้า . ปี 2531 ได้รับประโยชน์จากนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ทำให้เกิดการค้าขายกับประเทศในกลุ่มอินโดจีน (ค้าชายแดน) มากขึ้น . แต่ปี 2538 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยพึ่งพาภาคเกษตรในสัดส่วนสูงถึงประมาณ 50% เหลือเพียง 20% ของเศรษฐกิจอีสาน โดยภาคการค้าและภาคบริการเริ่มมีบทบาทสำคัญ ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมก็เริ่มขยายตัว จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่ให้สิทธิประโยชน์กับเขตอุตสาหกรรมในภูมิภาคมากขึ้น โดยมีจำนวนโรงงานเพิ่มขึ้นกว่า 23 เท่าจากปี 2518 . นอกจากนี้ การตั้งเขตอุตสาหกรรมสุรนารีที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกในอีสาน ทำให้โครงสร้างการผลิตเปลี่ยน จากโรงงานเกษตรขั้นพื้นฐานอย่างโรงสีข้าว โรงงานแป้งมัน และโรงงานปอ เป็นโรงงานแปรรูปเกษตรที่มีเครื่องจักรทันสมัยมากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและอุตสาหกรรมที่รับช่วงการผลิตจากส่วนกลางเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น . . ⏲︎ 2539-2550: สะพานมิตรภาพ 1-2 หนุนการค้ากับลาว ภาคอุตสาหกรรมทันสมัยขึ้น และยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ . การสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จ.หนองคาย ในปี 2537 และแห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร ในปี 2549 ส่งผลให้การค้าชายแดนกับลาวเพิ่มขึ้น และยังพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรให้ทันสมัย โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร และผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น เช่น โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังที่หันมาผลิตมันเส้นที่มีคุณภาพ รวมทั้งแป้ง Modified Starch ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และโรงสีข้าวที่เปลี่ยนมาผลิตข้าวคุณภาพดี เป็นต้น . นอกจากนี้ ยังมีการย้ายฐานการผลิตโรงงานน้ำตาลจากภาคกลางและตะวันออกมายังอีสานมากขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้อีกมาก . ปี 2548 นิคมอุตสาหกรรมนวนครที่ จ.นครราชสีมา เปิดดำเนินการแห่งที่ 2 ซึ่งเน้นผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็น …

ฮู้จักอีสาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจครั้งสำคัญของภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม »

เมื่ออีสานบ้านเฮา เข้าสู่สังคมเมือง (Urbanisation)

ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นเมือง (Urbanisation) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2050 คาดว่าจะมีพื้นที่เมืองสูงถึง 69.5% ของประเทศ ข้อมูลจาก Nielsen Retail Index ชี้ว่า อีสานนับเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ขยายตัวสู่ความเป็นเมืองมากที่สุดในประเทศ . นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ตามความต้องการพื้นฐานของสังคมคนเมือง ทั้งโอกาสในการประกอบอาชีพและโอกาสทางธุรกิจของสินค้าและบริการ . มิติ 5 ด้านเพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนเมือง ประกอบด้วย .  พลังขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงระยะยาว – การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมและบริการดึงดูดแรงงานภาคเกษตรกรรมเข้ามามากขึ้น – ความทันสมัยของเมืองทำให้คนมีแรงจูงใจย้ายจากชนบทสู่เมืองมากขึ้น .  ปัจจัยเร่งระยะสั้นให้เมืองขยายตัว – การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง – โมบายอินเตอร์เน็ตส่งข้อมูลรวดเร็ว – ฐานการลงทุนหลักของบริษัทข้ามชาติ – ชนชั้นกลางใหม่มีมากขึ้น – เมืองขนาดกลางขยายตัว – เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างเศรษฐกิจและนวัตกรรมสร้างสรรค์ – การคมนาคมขนส่งมีประสิทธิภาพ  ความต้องการพื้นฐานตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง – ที่อยู่อาศัยในทำเลที่เดินทางสะดวก – คมนาคมหลายกหลาย ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม – สุขภาพที่ดี ออกกำลังกายป้องกันโรค – การสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ – คุณค่าของคนเมือง เปิดกว้าง ยอมรับความหลากหลาย  โอกาสตลาดเกิดใหม่ – ชนชั้นกลางใหม่ – ตลาดคนโสด – ตลาดแรงงานต่างด้าว – คนเมืองเสมือนในโลกของเทคโนโลยีดิจิทัล – ตลาดคน Gen M (Millennials) เลือกซื้อสินค้าและบริการเฉพาะตัว – ตลาดของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ  ตัวอย่างไอเดียสร้างสรรค์ – ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางสัญจรในเมือง – ธุรกิจด้านแหล่งเรียนรู้และสาธารณูปโภคทางปัญญา – ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพจิตคนเมือง – ธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ ความสะดวกสบายและคุณภาพ – ธุรกิจที่ตอบสนองความหลากหลายของชีวิตคนเมือง . ปิยะนุช ธูปถมพงศ์ หัวหน้าโครงการการศึกษาเครื่องมือและกระบวนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สกสว. เห็นว่าการขยายของสังคมเมือง คือ ความเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในอนาคตที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ด้านการเข้าถึงการศึกษา การเดินทางสาธารณะที่มีคุณภาพและปลอดภัย . รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน และบริหารการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความสวยงาม ปลอดภัย พร้อมใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแล ตลอดทั้งการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการบริการด้านสาธารณสุขทั้งการป้องกันและรักษาให้มีคุณภาพ . ดังนั้น การขยายตัวของสังคมเมืองคือแรงขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต โดยเฉพาะในช่วงที่การเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นและสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตแข็งแกร่ง ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น ตลอดทั้งมีรายได้มั่นคงยั่งยืน . . อ้างอิง: https://www.brandbuffet.in.th/…/neilsen-outlook…/ https://hr.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/LOOK-ISAN-NOW https://www.bangkokbanksme.com/en/urban-society . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สังคมเมือง #Urbanisation

ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก

แนะผู้ประกอบการกาแฟ-ไม้ประดับ เมืองเลย ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก . นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรจังหวัดเลย เพื่อหารือเรื่องโอกาสและช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสินค้าเกษตรของไทย . โดยกลุ่มแรก เป็นกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออก อันดับที่ 1 ในอาเซียน และอันดับที่ 16 ของโลก มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 124.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 พันล้านบาท) โดยมีสหรัฐอเมริกา อาเซียน (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว) ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และจีน เป็นตลาดส่งออกหลัก . แม้ปัจจุบันจะเน้นการขายไม้ดอกไม้ประดับในประเทศ แต่ทางเกษตรกรก็มีความสนใจที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งจะสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ได้ ซึ่งมี 17 ประเทศที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับไม้ดอกไม้ประดับส่งออกจากไทย แต่ยังมีอินเดียที่เก็บภาษีศุลกากรกับไม้ดอกที่ร้อยละ 60 และไม้ประดับที่ร้อยละ 30 .  มองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก . ผู้บริโภคไม้ดอกไม้ประดับ มักจะให้ความนิยมพันธุ์ใหม่ ๆ ไม้ดอกที่มีสีสันที่โดดเด่นสวยงาม หลากหลาย ไม้ใบที่ทรงสวย ลำต้นที่แข็งแรง และต้านทานโรคได้ดี เป็นต้น . การได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการขยายพันธุ์ต้นกล้าที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งสำคัญและได้รับความสนใจจากเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเข้าไปให้คำแนะนำแล้ว . ทั้งยังได้พบปะเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเลย โดยในปี 2564 ไทยส่งออกกาแฟดิบ กาแฟคั่ว และกาแฟสำเร็จรูปไปตลาดโลกรวมมูลค่า 103.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.35 พันล้านบาท) โดยมีกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ เป็นตลาดสำคัญ . ปัจจุบันมี 14 ประเทศคู่ FTA ของไทย คือ อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ชิลี ที่ไม่เก็บภาษีศุลกากรกับเมล็ดกาแฟที่ส่งออกจากไทยทุกรายการ . ขณะที่ 4 ประเทศ ยังเก็บภาษีศุลกากรอยู่ คือ ญี่ปุ่น จีน เปรู และอินเดีย โดยญี่ปุ่นได้ตกลงลดภาษีศุลกากรกับสินค้ากาแฟคั่วส่งออกจากไทย ภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยจะทยอยลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 ในปี 2580 .  เพิ่มมูลค่าให้กาแฟไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ . โดยทางหอหารค้าไทย ได้แนะนำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนารู้จักกับน่านโมเดล นำผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย วิทยาเขตกำแพงแสน มาช่วยพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมการตลาด สร้างตรารับรองต่าง ๆ เช่น …

ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง 6 นวัตกรรมอาหารเปลี่ยนโลก

ไม่ว่าโลกใบนี้เผชิญการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแค่ไหน การวิจัยและค้นคว้าเทคโนโลยีด้านอาหารก็ยังคงเดินหน้าให้เท่าทันเสมอ แถมหลายต่อหลายนวัตกรรมกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริงและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารอยู่ด้วย มาดูกันว่า นวัตกรรมอาหารมาแรงตอนนี้มีอะไรกันบ้าง . 1. Edible Material แพ็กเกจจิ้งกินได้ลดขยะ . ทีมวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คิดค้น WikiCell บรรจุภัณฑ์ 2 ชั้น ที่สามารถรับประทานได้ โดยชั้นในทำหน้าที่ห่อหุ้มและพยุงอาหารหรือของเหลว ด้วยการนำส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ช็อกโกแลต ผลไม้ ถั่ว เมล็ดธัญพืช ฯลฯ มาผสมเข้ากับแคลเซียมและ Chitosan (ไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติจากเปลือกหอย หรือกุ้ง) หรือ Alginate (สารสกัดจากสาหร่าย) เพื่อให้เกิดการจับตัวเป็นเปลือกนิ่ม ๆ . ส่วนบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกจะปกป้องเปลือกชั้นใน โดยมี 2 ชนิดให้เลือกขึ้นอยู่กับการใช้งาน ชนิดแรกผลิตจาก Isomalt หรือสารให้ความหวานชนิดหนึ่ง สามารถรับประทานได้โดยนำไปล้างก่อน คล้ายกับการล้างแอปเปิล ส่วนชนิดที่สองผลิตจากชานอ้อย หรือมันสำปะหลัง ซึ่งกินไม่ได้แต่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และสามารถนำมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์กระดาษแข็งที่ใช้บรรจุอาหารในปัจจุบันได้ เพียงแกะออกแล้วทิ้งคล้ายเปลือกส้ม . 2. Biofilm อวสานพลาสติกหุ้มอาหาร . ธุรกิจค้าปลีกหรือร้านขายของชำต่าง ๆ เป็นต้นตอสำคัญในการยื่นพลาสติกไปสู่มือผู้บริโภคในรูปแบบของหีบห่อบรรจุภัณฑ์ แม้ลูกค้าจะนำถุงผ้ามาชอปปิงแล้ว แต่ก็ต้องหยิบแพ็กเกจจิ้งพลาสติกกลับบ้านไปอยู่ดี . Ekoplaza ซูเปอร์มาร์เก็ตในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงได้ร่วมมือกับกลุ่ม A Plastic Planet ออกแคมเปญรณรงค์เกี่ยวกับสินค้าพลาสติก โดยเริ่มจากการตั้งเชล์ฟวางสินค้าไร้แพ็คเกจจิ้งพลาสติก อย่างสินค้าประเภทอาหารก็จะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุทางชีวภาพที่ทำจากต้นไม้และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Biofilm . 3. Food Structure Design ศิลปะแห่งการออกแบบโครงสร้างอาหาร . การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการออกแบบโครงสร้างอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่ดีและน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น นอกจากจะทำให้อาหารดูดีแล้ว ยังสามารถให้กลิ่น รสชาติ และสารอาหารที่ครบถ้วน . เช่น งานวิจัยไส้กรอกไขมันต่ำของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ที่ทำร่วมกับบริษัทเบทาโกร ได้พัฒนาไส้กรอกที่มีปริมาณไขมันต่ำกว่า 5% (ปกติแล้วไส้กรอกทั่วไปจะมีไขมันอยู่ประมาณ 20-30%) โดยไม่ทำให้รสสัมผัสของไส้กรอกเปลี่ยนแปลง การใช้สารทดแทนไขมันนอกจากช่วยลดไขมันแล้ว ยังช่วยเพิ่มเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วย . นอกจากนี้ยังมีขนมปังแซนด์วิชและครัวซ็องปราศจากกลูเตน โดยใช้ฟลาวข้าวเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งในสูตรต้นแบบที่ได้พัฒนาขึ้นจะมีการเติมส่วนผสม Starch ธรรมชาติ Starch ดัดแปร และไฮโดรคอลลอยด์ เพื่อให้แป้งที่พัฒนาขึ้นมามีสมบัติวิสโคอิลาสติกที่เหมาะสม ทำให้ขนมปังขึ้นฟูขณะหมักและไม่ยุบตัวเมื่ออบ . 4. Mycoprotein โปรตีนสายพันธุ์ใหม่ไร้ไขมัน และคอเลสเตอรอล . ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เราจึงได้เห็นการกินที่เน้นผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ แต่ยังมีวิธีอื่นที่ดีไม่แพ้กัน คือ โปรตีนทางเลือก หรือมัยคอโปรตีน (Mycoprotein) ที่เกิดขึ้นจากการหมักบ่มจุลินทรีย์ประเภทฟังกัส (Fungus) และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่าง …

ชวนมาเบิ่ง 6 นวัตกรรมอาหารเปลี่ยนโลก อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top