February 2022

10 เทรนด์ธุรกิจเกษตรจากต่างประเทศ ทำรายได้รวมมากกว่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ว่า ปี 2565 นี้ ภาพรวมจีดีพีภาคเกษตรจะขยายตัว 2.0-3.0% โดยสาขาพืชขยายตัวมากสุด 2.7-3.7% รองลงมาคือสาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 0.7-1.7% สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 3.0-4.0% สาขาป่าไม้ ขยายตัว 1.5-2.5% และสาขาประมง ขยายตัว 0.2-1.2% . พร้อมประกาศยกระดับปฏิรูปภาคเกษตรร่วมกับภาคเอกชน booster เกษตรไทย สู่เกษตรมูลค่าสูง เนื่องจากการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คือความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในอนาคต . วันนี้เราจึงพาส่อง 10 อันดับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรที่ทำรายได้มากที่สุดในตลาดโลก โดยบริษัท Research and Markets เผยว่า ปี 2564 ที่ผ่านมา ธุรกิจเกษตรในตลาดโลกมีมูลค่ากว่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และก่อให้เกิดการจ้างงานราว 1,400 ล้านคนทั่วโลก

โอกาสจากเทรนด์ Solo Consumer เมื่อคนอยู่เป็นโสดมากขึ้น

Solo Consumer พฤติกรรมผู้บริโภคฉายเดี่ยว กิน ชอป เที่ยว พักคนเดียว แบบไม่ง้อใคร กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก . สำหรับประเทศไทย จากสถิติที่ผ่านมาคนแต่งงานน้อยลง และหย่าร้างมากขึ้น ทำให้สัดส่วนคนโสด รวมไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตคนเดียวเพิ่มขึ้น โดยพบว่า มีการจดทะเบียนสมรสลดลง 13.7% จาก 3.1 แสนคนในปี 2555 มาอยู่ที่ 2.7 แสนคนในปี 2563 ขณะที่มีการจดทะเบียนหย่าเพิ่มขึ้น 8% จาก 1.1 แสนคนในปี 2555 มาเป็น 1.2 แสนคนในปี 2563 . ส่วนภาคอีสาน พบว่า มีการจดทะเบียนสมรสลดลงถึง 18% สวนทางกับการจดทะเบียนหย่าที่เพิ่มขึ้น 5.7% . แนวโน้มผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตคนเดียวเพิ่มขึ้น ถ้ามองมากกว่าแค่ปัญหาสัดส่วนประชากรและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ก็ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วยเช่นกัน โดยผู้ประกอบการอาจนำเสนอสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์เหล่า Solo Consumer ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากไม่มีภาระครอบครัว ไม่มีลูก ทำให้มีเวลาและเงินในการดูแลตัวเอง . ถ้าไปดูต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นที่บรรจุภัณฑ์ของสินค้าต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลง เหมาะสำหรับการใช้หรือบริโภคคนเดียวมากขึ้น มีบริการเช่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเพื่อที่จะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะและเปลี่ยนได้ตลอด หรือในโลกตะวันตก สถานดูแลผู้สูงอายุมีการเติบโตที่สูงมาก และยังพบว่าคนโสดไม่ชอบสะสมทรัพย์สินแต่นิยมการเช่ามากกว่าการซื้อ . ในไทยเอง จะเห็นว่าร้านอาหารบางร้านได้เริ่มจัดโต๊ะเพื่อบริการลูกค้านั่งทานคนเดียวมากขึ้น อย่างร้าน A Ramen – ราเมงข้อสอบ ร้านราเมงที่จัดโต๊ะเป็นช่อง ๆ เหมือนให้ลูกค้านั่งทำข้อสอบ ซึ่งให้ความรู้สึกสบายใจเวลามานั่งรับประทานอาหารคนเดียว . อีกหนึ่งแนวโน้มที่เห็นได้ชัดคือ ผู้มีสัตว์เลี้ยงเพิ่มสูงขึ้น โดย McKinsey พบว่าระหว่างปี 2558-2563 เพิ่มขึ้นถึง 23% ในอนาคตคาดว่าหุ่นยนต์หรือ Chatbot ที่สามารถตอบโต้กับบุคคลได้อย่างชาญฉลาดจะกลายเป็นอีกหนึ่งเพื่อนคลายเหงาสำหรับครัวเรือนคนเดียว และเป็นไปได้ว่าจะซื้อหุ่นยนต์มาอยู่เป็นเพื่อนแทนการเลี้ยงสัตว์ . ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่า ในปี 2562 อัตราค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนคนเดียวของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ (ประมาณ 320,000 บาทต่อครัวเรือน) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอย่างจีน สิงค์โปร์ หรือ ญี่ปุ่น (ประมาณ 970,000 บาทต่อครัวเรือน) แต่คาดว่าจากปี 2562-2583 ครัวเรือนคนเดียวในไทยจะมีค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 150% นั่นคือธุรกิจสำหรับคนโสดในประเทศไทยยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก . . อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ และ SME Thailand . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #SoloConsumer

คนอีสานเรียนสูงขึ้น ทำไมยังตกงาน?

หลายคนคงเคยได้ยินคำสอนที่ว่า “เรียนให้สูงไว้ จะได้หางานได้และมีรายได้ดี” แต่จากสถานการณ์ตลาดแรงงานอีสาน ปี 2564 กลับพบว่า ตลาดแรงงานกำลังติดกับดัก Skills Mismatch คือ ผลิตปริญญาตรีเป็นสัดส่วนที่สูง แต่นายจ้างต้องการจ้างงานสายวิชาชีพมากกว่า ส่งผลให้มีการว่างงานสูงในกลุ่มปริญญาตรี . โดยอาจเกิดได้จากความรู้ของแรงงานที่สูงเกินความต้องการของตลาด หรือไม่ก็สาขาที่เรียนไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่ตลาดต้องการ ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันของระดับการศึกษาและอาชีพในตลาดแรงงาน (Labour Market Mismatch) . ดังนั้น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างสถาบันการศึกษา อาจต้องคิดต่อว่า จะสร้างทักษะแห่งอนาคตให้ผู้เรียนได้อย่างไร เพราะในทางเศรษฐศาสตร์ การเรียนสูงเกินความจำเป็น หรือเรียนไม่ตรงกับเทรนด์ความต้องการของตลาดแรงงานสร้างต้นทุนและค่าเสียโอกาสให้กับแรงงานอย่างมาก ทั้งเงินค่าเล่าเรียน เวลาในการศึกษา รวมไปถึงเสียโอกาสในการหารายได้และประสบการณ์ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา

“ยางพารา” พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ เติบโตในภาคอีสานได้อย่างไร

รู้กันดีว่า ประเทศที่ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลกมาโดยตลอดอย่างไทยมีแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพในพื้นที่ภาคใต้ แต่รู้หรือไม่ว่า พื้นที่ภาคอีสานก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เกษตรกรนิยมปลูกยางพารา และสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพได้ไม่แพ้ที่อื่น .  ยางพาราเข้ามาให้ภาคอีสานได้อย่างไร? . เดิมทีการปลูกยางพาราของภาคอีสานในช่วงแรกเป็นการทดลองปลูกโดยชาวบ้านทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นการปลูกแบบ “ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ” จนกระทั่งเกิด วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ทำให้ยางธรรมชาติถูกนำเข้าแทนยางสงเคราะห์ . จึงมองว่ายางพารา “เป็นพืชที่มีอนาคตสดใส” และ “เป็นโอกาสทองที่จะเร่งรัดการผลิตยางเพื่อป้อนความต้องการของตลาดในอนาคต” นำมาสู่การสนับสนุนให้มีการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “อีสาน” . ภาครัฐได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการส่งเสริม วิจัยและพัฒนา จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความคิดที่ว่า “ยางพาราปลูกไม่ได้ในภาคอีสาน” มาเป็น “ยางพาราปลูกได้ดีในภาคอีสาน” กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นการทดลองของหน่วยงานอื่น ๆ ตามมา . ระยะถัดมา การที่ยางพาราถูกมองเป็นพืชเศรษฐกิจที่ “ทำรายได้เข้าประเทศสูง” ทั้งยัง ถูกสร้างให้เป็นภาพแทนของ “ป่า” ที่จะช่วยทำให้สภาพแวดล้อมของอีสานดีขึ้น ภาครัฐจึงตัดสินใจใช้ยางพาราเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอีสานผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้งโครงการเร่งรัดการปลูกยางพารา เพื่อกระจายรายได้ในภูมิภาคเอง โครงการอีสานเขียว โครงการสงเคราะห์ปลูกยางพาราแก่ผู้ที่ไม่มีสวนยางมาก่อน เป็นต้น . ระยะสุดท้าย เป็นช่วงการขยายตัวของการปลูกยางพาราโดยเกษตรกรรายย่อยและนายทุนรายใหญ่ โดยผลผลิตและรายได้ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากยางรุ่นแรก ได้ทำให้เกษตรกรคนอื่น ๆ ที่ไม่มั่นใจเริ่มหันมาปลูกยางพารา ประกอบกับราคายางพาราที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปี 2545 โดยเฉพาะในปี 2554 ที่ราคาพุ่งขึ้นสูงเกินกว่า 100 บาท ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราในภาคอีสานขยายตัวอย่างรวดเร็ว . .  กรณีศึกษา “ธุรกิจยางพาราหมื่นล้าน” ในภาคอีสาน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER . NER ก่อตั้งโดย คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ซึ่งคุณพ่อของคุณชูวิทย์ได้เริ่มปลูกยางพาราในพื้นที่อีสานใต้ ตั้งแต่ปี 2527 ทำให้เกษตรกรในภาคอีสานเริ่มสนใจและหันมาปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายได้ แต่ก็ต้องพบกับปัญหาที่ภาคอีสานนั้น “ไม่มีสถานที่รับซื้อยางพารา” จึงต้องนำผลผลิตยางพาราที่ได้ไปขายที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและยังโดนกดราคา . “เมื่อปัญหานำมาสู่โอกาสทางธุรกิจ” . ปัญหาดังกล่าวก็ได้ทำให้คุณชูวิทย์เห็นถึงโอกาส โดยได้ตัดสินใจตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราขึ้นมาชื่อว่า “นอร์ทอีส รับเบอร์” หรือ NER ในปี 2549 เริ่มจากการรับซื้อยางจากเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันขายให้กับคู่ค้าทั่วประเทศ . ช่วงแรกของการทำธุรกิจก็ได้พบกับวิกฤตครั้งใหญ่ จากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ไม่ Stock ของไว้ในมือ เมื่อราคาของยางพาราวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทไม่มีเงินพอที่จะซื้อของมาขายตามที่สัญญาไว้ได้ คุณชูวิทย์จึงตัดสินใจบินไปหาคู่ค้าที่สิงคโปร์ด้วยตัวเองและชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยขอผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวกับคู่ค้าแทน ซึ่งคู่ค้าเห็นด้วย และยังสามารถเป็นคู่ค้ากันต่อไปได้ . จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทำให้เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจเป็นแบบ “Matching” คือ ซื้อเข้ามาแล้วขายออกเลย หรือรับออร์เดอร์ขายเข้ามาก่อน แล้วค่อยซื้อเข้ามาเก็บไว้ ทำให้บริษัทไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของต้นทุนสินค้าอีกต่อไป . กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว แม้ว่าวัตถุดิบอย่างยางพาราจะเป็นสินค้าที่มีวัฏจักรราคาหรือรอบของมันก็ตาม เมื่อบริษัทมีความมั่นคงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงขยายโรงงาน …

“ยางพารา” พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ เติบโตในภาคอีสานได้อย่างไร อ่านเพิ่มเติม »

Medical Tourism ทางเลือก หรือ ทางรอด ของไทยต่อจากนี้

 Medical Tourism คืออะไร สำคัญยังไง? . หลายคนคงยังไม่รู้ว่า ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 รายได้ที่กำลังเติบโตด้านหนึ่งของประเทศไทย มาจากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ซึ่งก็คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีจุดประสงค์เดินทางเข้ามาในไทยเพื่อทำการผ่าตัดหรือรักษาโรค ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว โดยเป็นช่องทางรายได้ที่รัฐบาลไทยวางโร้ดแมปเป็นนโยบายไว้ตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้ชื่อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.2560 – 2569) .  จากโครงสร้าง Medical Tourism ของไทย ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย? . อันดับแรก คงหนีไม่พ้นผู้ให้บริการทางการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ และศูนย์การแพทย์เพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะที่เจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมจากต่างประเทศ ซึ่งกินสัดส่วนรายได้ประมาณ 50% ของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ . รองลงมา เป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว สายการบิน และค้าปลีกที่อยู่ในโซนท่องเที่ยว กินสัดส่วนรายได้ 35.7 % ของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ . สุดท้าย ธุรกิจการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ยาและเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงการแพทย์ทางเลือก เช่น ธุรกิจสปา และแพทย์แผนไทย ที่กินสัดส่วนรายได้อีก 14.3 % ของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ .  พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย เป็นอย่างไร? . ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยนิยมใช้บริการ “ทันตกรรม” มากที่สุด คิดเป็น 38% ของจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ทั้งประเทศ ขณะที่ “การศัลยกรรมความงาม” สร้างรายได้มากที่สุด โดยในปี 2562 การศัลยกรรมความงามสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยกว่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท .  อนาคตตลาด Medical Tourism ของไทย จะโตแค่ไหน? . ตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยมีโอกาสเติบโตตามเทรนด์ของตลาดโลกที่คาดว่าจะแข่งขันกันดุเดือดขึ้นหลังสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งไทยมีความพร้อมสูง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางด้านการบริการสุขภาพหลักของเอเชีย โดยมีนักท่องเที่ยวที่จัดอยู่ในเชิงการแพทย์ของทั้งภูมิภาคเอเชียราว 38% และมีสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานตามระบบสากล (JCI) มากถึง 60 แห่ง มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และเป็นอันดับ 4 ของโลก . อีกทั้งมีปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นการที่แพทย์ไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการศัลยกรรมความงาม และการรักษาพยาบาลเฉพาะทาง เช่น ภาวะมีบุตรยาก เวชศาสตร์ชะลอวัย และผ่าตัดแปลงเพศ การที่ไทยมีค่ารักษาพยาบาลก็ถูกกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคและประเทศช้ันนำอย่างสหรัฐฯ และมีค่าครองชีพที่ไม่สูงมาก เหมาะแก่การพำนักรักษาตัวและพักฟื้นร่างกายในระยะยาว . Allied Market Research คาดว่า มูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยในปี 2566 …

Medical Tourism ทางเลือก หรือ ทางรอด ของไทยต่อจากนี้ อ่านเพิ่มเติม »

ไผเศร้า..? ให้ไพรช่วย ผลวิจัยเผย 4 สมุนไพรไทย ต้านซึมเศร้า

“โรคซึมเศร้า” ภัยเงียบทางอารมณ์ของคนยุคใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร แนะนำ 4 สมุนไพรไทย มีผลวิจัยต้านซึมเศร้า ได้แก่ ขมิ้นชัน บัวบก น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว และฟักทอง ซึ่งหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกัน หรือบรรเทาอาการได้

Genderless Fashion เสื้อผ้าไม่จำกัดเพศในญี่ปุ่น กับการพัฒนาของผู้ประกอบการไทย

ปัจจุบัน Genderless Fashion หรือเทรนด์เสื้อผ้าไม่จำกัดเพศ ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่น Gen Z ที่มีมุมมองทางความคิด รวมไปถึงพฤติกรรมการแสดงออกที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนอย่างชัดเจน . สำนักข่าว Nikkei MJ ได้รวบรวมผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของวัยรุ่นญี่ปุ่นในช่วงอายุ 16-26 ปี จำนวน 5,013 คน โดยหนึ่งในนั้นมีคำถามที่ว่า “คิดเห็นอย่างไรกับการแยกสินค้าหรือโซนจำหน่ายสินค้าของชาย/หญิง” น่าสนใจว่า มีผู้ที่รู้สึก “ไม่จำเป็น” ถึง 17.9% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อยเลยสำหรับวัยรุ่น Gen Z ที่มีแนวคิดแบบ Genderles . อีกทั้ง เมื่อนำคำถามเดียวกันนี้ไปถามกับคนเจนมิลเลนเนียลส์ หรือคนวัยทำงาน/วัยกลางคน ก็ยังพบว่า วัยรุ่น Gen Z สนใจในความ Genderless มากกว่าเจนมิลเลนเนียลส์ และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากแบรนด์สินค้ารายใหญ่ ๆ ที่วางขายสินค้าประเภทนี้ เช่น . Muji ได้นำสินค้า Genderless ออกมาวางจำหน่ายในชื่อ “Muji Labo” หลังพบว่า มีกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ต้องการมีเสื้อผ้าจำนวนมาก แต่ต้องการเสื้อผ้าที่สามารถใช้งานได้ง่าย หยิบใส่ได้หลากหลายโอกาส ซึ่งหมายรวมถึงการไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าที่มาซื้อสินค้า Genderless ของ Muji ส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 20-30 ปี . 4℃ แบรนด์เครื่องประดับสุดคลาสสิก ที่ออกสินค้า Genderless มาในชื่อ “4℃ HOMME+” เพื่อตีตลาดกลุ่มวัยรุ่น 20-35 ปี ให้มากขึ้น โดยยังคงแนวคิดที่ว่า “ต้องการใกล้ชิดกับผู้ที่สวมใส่โดยไม่คำนึงถึงเพศและอายุ และแสดงความฉลาดล้ำนำยุคหนึ่งก้าว” . GU แบรนด์เสื้อผ้าราคาย่อมเยา ที่มาพร้อมกับแนวคิด “Fashion with More Freedom” ล่าสุดได้เปิดตัวคอลเล็กชันที่ไม่คำนึงถึงเพศและอายุ โดยนำเสนอผ่านดารานางแบบและนักแสดง 5 คนที่มีเพศและวัยต่างกัน . เทรนด์สินค้าแฟชั่นในญี่ปุ่นที่หันไปนิยม Genderless มากขึ้น เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะแนวโน้มของการบริโภคสินค้าจำพวกเสื้อผ้าและเครื่องประดับค่อนข้างใกล้เคียงกัน ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยลองหันมาให้ความสนใจสินค้าประเภทนี้ นอกจากจะตอบโจทย์ผู้บริโภคในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นตัวชี้วัดกระแสในอนาคตแล้ว ยังเป็นการขยายฐานกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีการจำกัดเพศด้วย . อย่างภาคอีสานเอง ถ้าหากพูดถึงเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ไม่จำกัดเพศ ยังถือว่ามีน้อย โดยเฉพาะที่เป็น Local Brand จะพบว่า การพัฒนาต่อยอดส่วนใหญ่มักเน้นไปที่รูปทรงและลวดลายที่แปลกใหม่ ทันสมัย แต่ลองคิดดูว่า ถ้าผลิตภัณฑ์ฝ้ายคุณภาพสีไม่ฉูดฉาดอย่าง ผ้าย้อมคราม (สกลนคร) หรือผ้าหมักโคลน (มุกดาหาร) ถูกนำมาตัดเย็บและนำเสนอความเป็น Genderless จะน่าสนใจและสร้างแรงกระเพื่อมให้แวดวงแฟชั่นได้มากขนาดไหน . . ที่มา: ข่าวเด่นฉบับที่ 13 [เสื้อผ้า …

Genderless Fashion เสื้อผ้าไม่จำกัดเพศในญี่ปุ่น กับการพัฒนาของผู้ประกอบการไทย อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top