Infographic

มรดกโลกถิ่นอีสาน

แหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) เป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ว่าเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น ๆ ที่ควรได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง “มรดกโลก” ถือเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ที่จะได้ร่วมกันชื่นชมและอนุรักษ์สืบต่อไป . ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกแล้วทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ . มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) 2. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (Historic City of Ayutthaya) 3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Site) . มรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง (Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries) 2. กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ (Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex) 3. กลุ่มป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) ซึ่งเป็นมรดกโลกแหล่งล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ . . โดยหากนับเฉพาะภาคอีสานจะมี 2 แห่ง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก คือ . 1. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Site) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อปี 2535 . แหล่งโบราณคดีสำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2509 เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีงานวิจัยเปิดเผยว่า พื้นที่ดังกล่าวมีอายุกว่า 1,495 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการทำเกษตรกรรม การผลิตเซรามิก และเทคโนโลยีการทำเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ . เคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ นับว่าเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดที่ถูกค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยีของมนุษย์ ปรากฏชัดถึงความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและความซับซ้อนทางสังคมของชุมชนในอดีต เห็นได้จากการค้นพบหลุมฝังศพที่เต็มไปด้วยเครื่องปั้นดินเผาและโลหะหลากหลายรูปแบบ . ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลกด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวของมนุษยชาติทั้งของประเทศไทยและของโลก . . 2. …

มรดกโลกถิ่นอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

7 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

ภาคอีสานนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากที่สุดในประเทศ ด้วยพื้นที่ทำการเกษตรที่มีค่อนข้างมาก แต่มักประสบปัญหาคุณภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ และยังต้องเผชิญกับฝนทิ้งช่วง ต้นฤดูกาลฝนตกน้อยทำให้ขาดแคลนน้ำ แต่ปลายฤดูฝนกลับตกหนักทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวอีสานเรื่อยมา . มีหลายโครงการที่ทำการก่อสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ซึ่งในปัจจุบันภาคอีสานมีเขื่อนทั้งหมด 12 เขื่อน มากที่สุดในประเทศ โดยเขื่อนที่สามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุด 7 อันดับแรกคือ . อันดับ 1 เขื่อนอุบลรัตน์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนพองหนีบ ตั้งอยู่ที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกในภาคอีสาน และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย ที่ถูกเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2509 มีประโยชน์มากมายหลายด้าน ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย การคมนาคม ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ . ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 699 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 2,431 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 2 เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต.ลำปาว อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างในปี 2511 ช่วยบรรเทาอุทกภัยและใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และมีหาดดอกเกดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ . ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 648 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 3 เขื่อนสิรินธร ตั้งอยู่ที่ ต.นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ให้ประโยชน์ทางด้านการชลประทาน การเกษตร ด้านการผลิตไฟฟ้า ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนเข้ามาชมความสวยงามของเขื่อน . ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 1,237 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 1,966 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 700 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 4 เขื่อนน้ำอูน ตั้งอยู่ที่ ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร สร้างเสร็จเมื่อปี 2517 ใช้เพื่อกักเก็บน้ำในการชลประทาน บรรยากาศรอบเขื่อนเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 221 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 520 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 290 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 5 เขื่อนลำตะคอง ตั้งอยู่ที่ ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สร้างเสร็จเมื่อปี 2512 ใช้ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูก ใช้เพื่อการประปา อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอุทกภัย ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ …

7 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ส่องยอดขายสินค้า OTOP อีสานสูงสุด 10 อันดับ ในครึ่งปีแรกของปี 2564

สินค้า OTOP (One Tambon One Product) เป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล สะท้อนเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 10-20% ตั้งแต่ปี 2546 แม้ปัจจุบันไทยต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 เศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าต่าง ๆ จากชุมชนไม่สามารถหาตลาดได้ เพราะไม่สามารถจัดแสดงสินค้าและจัดจำหน่ายได้ตามปกติ กรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมมือกับแอพพลิเคชั่นมากมาย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวหาช่องทางจำหน่ายสินค้าไปสู่ตลาดออนไลน์ ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 รอบแรก จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการ OTOP ทำตลาดออนไลน์ประมาณ 237 คนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างยอดขายรวมกว่า 117 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการขายออนไลน์ปกติในปี 2563 มากกว่า 80-100% ในส่วนของภาคอีสาน ครึ่งปีแรกจังหวัดที่สามารถทำรายได้จากการขายสินค้า OTOP สูงสุด คือจังหวัดขอนแก่น 5,930 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดอุดรธานี 3,830 ล้านบาท และจังหวัดศรีสะเกษ 3,750 ล้านบาท โดยประเภทสินค้าที่ทำรายได้มากที่สุดส่วนใหญ่เป็นหมวดผ้า เครื่องแต่งกาย และอาหาร เนื่องจากกรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ รณรงค์ให้ทุกจังหวัดลงนามทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อส่งเสริมให้คนในจังหวัดสวมใส่ผ้าไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยอดขายถูกกระตุ้นขึ้นสูงมากด้วยกำลังซื้อภายในประเทศเกือบ 100% Reference : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/857655 https://www.prachachat.net/local-economy/news-671474

Scroll to Top