Infographic

แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง”

หากพูดถึงของกินของฝากของเมืองโคราช หลายคนคงจะนึกถึงสองแบรนด์เก่าแก่อย่าง “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” แต่รู้ไหมว่า แม้สินค้าของทั้งคู่จะสามารถครองใจผู้บริโภคทั้งเก่าและใหม่มาได้ตลาดหลายปีที่ผ่านมา แต่พวกเขาก็ไม่หยุดพัฒนา โดยเฉพาะความท้าทายครั้งใหญ่หลังภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนส่งผลให้ธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวจำนวนมากได้รับผลกระทบตามไปด้วย . ครั้งนี้เราชาว ISAN Insight & Outlook จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าช่วงที่ผ่านมา “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” มีวิธีรับมืออย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงนี้ . . เริ่มที่ “เจ้าสัว” ในปี 2563 หันมาปรับกลยุทธ์รองรับ จากเดิมที่เน้นเพิ่มสาขา เปลี่ยนมาเป็นบุกโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำต่าง ๆ ทำให้ยอดขายรวมของปีที่แล้วโตขึ้น 15% ยังไม่รวมไปถึงการลงทุนกับเครื่องจักรภายในโรงงานและระบบหลังบ้านเพื่อให้ทันยุคดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา จนสามารถสร้างรายได้รวมเกือบพันล้านบาทเป็นครั้งแรก . ประกอบกับการที่ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ เเละคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น แม้จะเป็นอาหารทานเล่นหรือของขบเคี้ยวอย่าง “เนื้อสัตว์แปรรูป” ซึ่งในไทยมีผู้เล่นไม่กี่ราย . ปี 2564 จึงทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ปรับภาพลักษณ์ ไม่เป็นเเค่ร้านขายของฝากที่รอให้คนมาซื้อ เเต่พยายามเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ด้วยการบุกตลาดสแน็ก, Ready to eat และ Ready to cook meal อย่างเต็มตัว อีกทั้งใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นครั้งเเรกในรอบ 63 ปี . ปัจจุบัน เจ้าสัวมีจำนวน 100 กว่าสาขาทั่วประเทศ เเบ่งเป็นร้านค้าของตัวเอง (Stand Alone) ประมาณ 15 สาขา และแฟรนไชส์ประมาณ 90 สาขา กระจายอยู่ในปั๊มนำ้มัน ปตท. ส่วนการส่งออกไปต่างประเทศจะเน้นที่ตลาดเอเชียเป็นหลัก เช่น ฮ่องกง จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ฯลฯ . . ต่อกันด้วย “ปึงหงี่เชียง” ที่ก็มีสินค้ากลุ่มของทานเล่นเช่นเดียวกับเจ้าสัว ปี 2564 นี้ ได้รับรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากโครงการ “ต้นกล้า ทู โกล” ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถยืดอายุอาหารให้นานขึ้นได้ . ยกตัวอย่าง “กุนเชียง” จากเดิมที่มีระยะเวลาขายอยู่ 3 เดือน เมื่อพัฒนาเป็น “กุนเชียงพร้อมทาน” ก็ช่วยยืดอายุสินค้าไปได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งเหมาะกับการขยายช่องทางการตลาดไปสู่ห้างฯ หรือโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ ในอนาคต รวมไปถึงการส่งออกต่างประเทศที่มากขึ้น . ปัจจุบัน ปึงหงี่เชียง มีแฟรนไชส์ที่อยู่ตามปั๊มน้ำมัน ปตท. 130 สาขาทั่วประเทศ …

แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง” อ่านเพิ่มเติม »

5 สนามบินยอดฮิตในภาคอีสาน ที่มีคนใช้มากที่สุด

การระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 มาตั้งแต่ปลายปี 2562 นั้น ส่งผลให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นกฎบังคับของการขึ้นเครื่องบินหรือนโยบายต่าง ๆ จากทางภาครัฐ ที่ออกมาเพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาการระบาด . ในส่วนของภาคอีสาน 5 สนามบินในสังกัดกรมท่าอากาศยานยอดฮิต ที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในปี 2563 ประกอบด้วย . อันดับที่ 1 ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี (VTUD) ศูนย์กลางการบินของภาคอีสานเชื่อมต่อกับ สสป.ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ทำให้ สะดวกต่อการเดินทาง ทั้งยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคอีกด้วย เนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง จังหวัดหนองคาย . เที่ยวบินขาเข้า 6,236 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 701,054 คน เที่ยวบินขาออก 6,236 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 701,881 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 12,472 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,402,935 คน . อันดับที่ 2 ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น (VTUK) เดิมทีเป็นสนามบินเล็ก ๆ กลางเมือง ปัจจุบันถูกเลือกให้เป็นฮับการบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งในตอนนี้สนามบินขอนแก่นกำลังเร่งขยายท่าอากาศยาน เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ . เที่ยวบินขาเข้า 4,866 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 559,630 คน เที่ยวบินขาออก 4,866 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 564,214 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 9,732 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,123,844 คน . อันดับที่ 3 ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี (VTUU) ศูนย์กลางทางการบินพาณิชย์ของภาคอีสานตอนล่าง โดยรับรองผู้โดยสารจากหลายจังหวัด เช่น ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ทั้งยังรับรองผู้โดยสารจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร หลังจากไม่ได้ปรับปรุงมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี . เที่ยวบินขาเข้า 4,353 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาเข้า 533,016 คน เที่ยวบินขาออก 4,351 เที่ยวบิน ผู้โดยสารขาออก 530,295 คน มีเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 8,704 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารรวม 1,063,311 คน . อันดับที่ 4 ท่าอากาศยานสกลนคร (VTUI) . เดิมเป็นท่าอากาศยานของกองทัพบก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ได้มีการประสานกรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) และบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ให้เปิดบริการด้านการบินพาณิชย์ …

5 สนามบินยอดฮิตในภาคอีสาน ที่มีคนใช้มากที่สุด อ่านเพิ่มเติม »

10 อันดับจังหวัดที่ปลูกต้นยางพารามากที่สุดในอีสาน

ยางพารา พืชเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ในปี 2563 ไทยสามารถผลิตน้ำยางได้ 4.2 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกกว่า 1.1 แสนล้านบาท มีเนื้อที่เพาะปลูกรวมประมาณ 22.6 ล้านไร่ ครอบคลุมกว่า 67 จังหวัดทั่วประเทศ โดยภูมิภาคที่ปลูกมากที่สุดคือ ภาคใต้ (พื้นที่เพาะปลูกกว่า 13.6 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 60% ของทั้งประเทศ) รองลงมาเป็นภาคอีสาน (พื้นที่เพาะปลูกกว่า 5.2 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 23% ของทั้งประเทศ) ซึ่งหากดูเป็นรายจังหวัด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย . 1. บึงกาฬ มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 844,607 ไร่ 2. เลย มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 716,865 ไร่ 3. อุดรธานี มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 531,068 ไร่ 4. อุบลราชธานี มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 453,758 ไร่ 5. สกลนคร มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 337,018 ไร่ 6. นครพนม มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 313,040 ไร่ 7. ศรีสะเกษ มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 312,759 ไร่ 8. หนองคาย มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 271,323 ไร่ 9. บุรีรัมย์ มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 227,180 ไร่ 10. มุกดาหาร มีพื้นที่ปลูกต้นยางพารา 210,383 ไร่ . สถานการณ์ราคายางเดือนสิงหาคม 2564 เป็นอย่างไร? . ราคายางภาพรวมในเดือนสิงหาคม 2564 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา โดยราคาประมูลยางแผ่นดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 52.02 บาท/กิโลกรัม ราคายางแผ่นรมควันอยู่ที่ 55.52 บาท/กิโลกรัม ราคายางท้องถิ่นเฉลี่ยอยู่ที่ 50.18 บาท/กิโลกรัม ราคาน้ำยางสดอยู่ที่ 49.71 บาท/กิโลกรัม ราคายางก้อนถ้วย 100% อยู่ที่ 47.15 บาท/กิโลกรัม . อย่างไรก็ตาม ตลาดยางพาราถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันด้านต้นทุนสูง เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นในภาคอีสานอย่างข้าวและอ้อย ถึงการทำสวนยางนั้นจะใช้แรงงานน้อยกว่า สามารถกรีดยางได้นานถึง 9-10 เดือน/ปี แต่ต้นทุนการผลิตต่อไร่ยังคงสูงกว่าภาคใต้ ที่มีจำนวนการผลิตต่อไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 240 กิโลกรัม ในขณะที่อีสานมีจำนวนการผลิตต่อไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 223 กิโลกรัม . . …

10 อันดับจังหวัดที่ปลูกต้นยางพารามากที่สุดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

มรดกโลกถิ่นอีสาน

แหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) เป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ว่าเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น ๆ ที่ควรได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง “มรดกโลก” ถือเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ที่จะได้ร่วมกันชื่นชมและอนุรักษ์สืบต่อไป . ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกแล้วทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ . มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) 2. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (Historic City of Ayutthaya) 3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Site) . มรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง (Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries) 2. กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ (Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex) 3. กลุ่มป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) ซึ่งเป็นมรดกโลกแหล่งล่าสุดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ . . โดยหากนับเฉพาะภาคอีสานจะมี 2 แห่ง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก คือ . 1. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Site) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อปี 2535 . แหล่งโบราณคดีสำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2509 เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีงานวิจัยเปิดเผยว่า พื้นที่ดังกล่าวมีอายุกว่า 1,495 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการทำเกษตรกรรม การผลิตเซรามิก และเทคโนโลยีการทำเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ . เคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ นับว่าเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดที่ถูกค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยีของมนุษย์ ปรากฏชัดถึงความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและความซับซ้อนทางสังคมของชุมชนในอดีต เห็นได้จากการค้นพบหลุมฝังศพที่เต็มไปด้วยเครื่องปั้นดินเผาและโลหะหลากหลายรูปแบบ . ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลกด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวของมนุษยชาติทั้งของประเทศไทยและของโลก . . 2. …

มรดกโลกถิ่นอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

7 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

ภาคอีสานนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากที่สุดในประเทศ ด้วยพื้นที่ทำการเกษตรที่มีค่อนข้างมาก แต่มักประสบปัญหาคุณภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ และยังต้องเผชิญกับฝนทิ้งช่วง ต้นฤดูกาลฝนตกน้อยทำให้ขาดแคลนน้ำ แต่ปลายฤดูฝนกลับตกหนักทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวอีสานเรื่อยมา . มีหลายโครงการที่ทำการก่อสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ซึ่งในปัจจุบันภาคอีสานมีเขื่อนทั้งหมด 12 เขื่อน มากที่สุดในประเทศ โดยเขื่อนที่สามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุด 7 อันดับแรกคือ . อันดับ 1 เขื่อนอุบลรัตน์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนพองหนีบ ตั้งอยู่ที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกในภาคอีสาน และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย ที่ถูกเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2509 มีประโยชน์มากมายหลายด้าน ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย การคมนาคม ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ . ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 699 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 2,431 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 2 เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต.ลำปาว อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างในปี 2511 ช่วยบรรเทาอุทกภัยและใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และมีหาดดอกเกดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ . ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 648 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 3 เขื่อนสิรินธร ตั้งอยู่ที่ ต.นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ให้ประโยชน์ทางด้านการชลประทาน การเกษตร ด้านการผลิตไฟฟ้า ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนเข้ามาชมความสวยงามของเขื่อน . ปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 1,237 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 1,966 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 700 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 4 เขื่อนน้ำอูน ตั้งอยู่ที่ ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร สร้างเสร็จเมื่อปี 2517 ใช้เพื่อกักเก็บน้ำในการชลประทาน บรรยากาศรอบเขื่อนเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 221 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด 520 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 290 ล้านลูกบาศก์เมตร . อันดับ 5 เขื่อนลำตะคอง ตั้งอยู่ที่ ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สร้างเสร็จเมื่อปี 2512 ใช้ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูก ใช้เพื่อการประปา อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอุทกภัย ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ …

7 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ส่องยอดขายสินค้า OTOP อีสานสูงสุด 10 อันดับ ในครึ่งปีแรกของปี 2564

สินค้า OTOP (One Tambon One Product) เป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล สะท้อนเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 10-20% ตั้งแต่ปี 2546 แม้ปัจจุบันไทยต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 เศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าต่าง ๆ จากชุมชนไม่สามารถหาตลาดได้ เพราะไม่สามารถจัดแสดงสินค้าและจัดจำหน่ายได้ตามปกติ กรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมมือกับแอพพลิเคชั่นมากมาย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวหาช่องทางจำหน่ายสินค้าไปสู่ตลาดออนไลน์ ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 รอบแรก จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการ OTOP ทำตลาดออนไลน์ประมาณ 237 คนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างยอดขายรวมกว่า 117 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการขายออนไลน์ปกติในปี 2563 มากกว่า 80-100% ในส่วนของภาคอีสาน ครึ่งปีแรกจังหวัดที่สามารถทำรายได้จากการขายสินค้า OTOP สูงสุด คือจังหวัดขอนแก่น 5,930 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดอุดรธานี 3,830 ล้านบาท และจังหวัดศรีสะเกษ 3,750 ล้านบาท โดยประเภทสินค้าที่ทำรายได้มากที่สุดส่วนใหญ่เป็นหมวดผ้า เครื่องแต่งกาย และอาหาร เนื่องจากกรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ รณรงค์ให้ทุกจังหวัดลงนามทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อส่งเสริมให้คนในจังหวัดสวมใส่ผ้าไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยอดขายถูกกระตุ้นขึ้นสูงมากด้วยกำลังซื้อภายในประเทศเกือบ 100% Reference : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/857655 https://www.prachachat.net/local-economy/news-671474

Scroll to Top