Jurassic Park แห่งแดนอีสาน 5  พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์

Jurassic Park แห่งแดนอีสาน

5  พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์

 

  1. ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือพิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย

แบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 Zone ได้แก่

Zone 1 จักรวาลและโลก                                                              

Zone 2 เมื่อชีวิตแรกปรากฏ

Zone 3 พาลีโอโซอิก (เรื่องราวเมื่อ 542 ล้านปีที่แล้ว)

Zone 4 มีโซโซอิก และไดโนเสาร์ไทย (เรื่องราวเมื่อ 251-65 ล้านปีที่แล้ว)

Zone 5 วิถีชีวิตไดโนเสาร์ไทย

Zone 6 คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์

Zone 7 ซีโนโซอิก (มหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)

Zone 8 เรื่องของมนุษย์

เปิดบริการ: วันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)

เวลา 09.00-17.00 น. 

ค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 10 บาท (อายุไม่เกิน 12 ปี), 

ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท (อายุไม่เกิน 12 ปี)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ sdm.dmr.go.th, เฟซบุ๊กพิพิธภัณฑ์สิรินธร-Dinosaur museum หรือโทรศัพท์ 0-4387-1014, 0-4387-1613, 0-4387-1615-16

 

  1. ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง จ.ขอนแก่น

ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง จ.ขอนแก่น เกิดขึ้นจากการที่คุณสุธรรม แย้มนิยม อดีตนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ได้ขุดค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทยที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2519

ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบริการ ได้แก่ ร้านขายของที่ระลึก ห้องอาหาร ห้องบรรยาย ส่วนวิชาการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ ห้องทำงาน ห้องสมุด และส่วนนิทรรศการ ได้แก่ ห้องจัดแสดงชั้นล่าง และชั้นบน จัดแสดงนิทรรศการการกำเนิดโลก หิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ และหุ่นจำลองไดโนเสาร์

ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ dmr.go.th หรือโทรศัพท์ 0-4343-8204-6

การค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทยในเทือกเขาภูเวียง เมื่อ พ.ศ.2519 นำไปสู่การสำรวจและค้นพบไดโนเสาร์หลากหลายพันธุ์ 

“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” เป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก และได้รับพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ คือ “สิรินธร” มาเป็นชื่อชนิด

ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ เดิมชื่อ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา รวบรวมจัดเก็บเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยา เก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์เพื่อการเรียนรู้ การวิจัย การแสดง และการอ้างอิง

ภายในแบ่งเป็น 3 โซน คือ

โซน A มิวเซียมการ์เด้น (Museum Garden) ประกอบด้วย พื้นที่จอดรถ 150 คัน, จุดเช็คอินถ่ายภาพ, ลานไดโนเสาร์แห่งเกียรติยศ

โซน B อาคารนิทรรศการ (Exhibition Hall) 

โซน C หุบเขาไดโนเสาร์ (Dino Valley) ประกอบด้วย ม่านน้ำข้ามกาลเวลา, โรงเรียนฝึกนักล่าไดโนเสาร์, 103 แลปหิน, หลุมขุดค้นจำลอง, สวนหินล้านล้านปี

 

  1. แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน จ.นครพนม 

เป็นพื้นที่จัดแสดงรอยเท้าไดโนเสาร์ที่ขุดค้นพบในพื้นที่ห้วยด่านชุม อ.ท่าอุเทน ซึ่งปรากฏอยู่บนพื้นหินทรายสีน้ำตาลแดง หมวดหินโคกกรวด ในยุคครีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ 100 ล้านปี

โดยรอยเท้าที่ขุดค้นพบนั้นเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ นกกระจอกเทศ อีกัวโนดอน และจระเข้ขนาดเล็ก มีอายุกว่า 100 ล้านปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทอร์โรพอดและออร์นิโธพอด ซึ่งแหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทนก็ได้จัดทำเป็นเส้นทางเดินให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมอย่างใกล้ชิด และยังมีรูปปั้นไดโนเสาร์อยู่รอบๆ ด้วย

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่มีค่าเข้าชม

 

  1. พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ซากดึกดำบรรพ์และไดโนเสาร์

มีโครงการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2537 และสามารถจัดแสดงนิทรรศการได้ใน พ.ศ. 2545 แต่เนื่องจากไม้กลายเป็นหินพบได้ในเกือบทุกจังหวัดของภาคอีสานจึงไม่สามารถนำไม้กลายเป็นหินทั้งหมดและจำนวนมากมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ได้ ส่วนใหญ่จึงจัดแสดงไว้ในงานภูมิทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ 

โดยแยกเป็นโซนพื้นที่ของไม้กลายเป็นหินจังหวัดต่างๆ ขณะที่ในพิพิธภัณฑ์จะเน้นไม้กลายเป็นหินของจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะการเน้นลักษณะเด่นพิเศษที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ 3 ประการ คือ
1) ไม้กลายเป็นหินอัญมณี
2) ไม้กลายเป็นหินวงศ์ปาล์ม
3) ไม้กลายเป็นหินหลากหลายอาย

นิทรรศการไม้กลายเป็นหินโคราช – ขอนแก่น  เพื่อแสดงแหล่งไม้กลายเป็นหินสำคัญของภาคอีสาน  คือ  จังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น  ซึ่งมีความโดดเด่นด้านขนาดที่ใหญ่หรือมีสีสันที่สวยงา

ห้องเฉลิมพระเกียรติ  :  สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหิน  

เพื่อแสดงภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและข้อความพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับความสำคัญของ “โบราณวัตถุ”    ภาพของอนุสรณ์สถานไม้กลายเป็นหิน ร.6  รวมทั้งภาพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่ทรงสนพระทัยในนิทรรศการและติดตามโครงการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและจังหวัดนครราชสีมา  ตั้งแต่ พ.ศ. 254

ห้องฉายวีดิโอแอนิเมชั่น  :  กำเนิดโลก  วิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตและประวัติพิพิธภัณฑ์  เป็นห้องฉายขนาด 30 ที่นั่ง  พื้นไหวสะเทือนได้  สัมพันธ์กับเนื้อหาบนจอภาพที่มีอยู่ 3 จอ

ห้องฉายวีดิโอแอนิเมชั่น  :  กำเนิดไม้กลายเป็นหินโกรกเดือนห้า  เป็นห้องฉายที่จำลองบรรยากาศป่าดงดิบและลำน้ำที่ไหลมาจากแดนไกล  ภาพม่านน้ำตกซึ่งเป็นจอภาพด้วย  ฉายให้เห็นถึงกำเนิดไม้กลายเป็นหินในบริเวณบ้านโกรกเดือนห้า

ห้องนิทรรศการไม้กลายเป็นหินอัญมณี  แสดงไม้กลายเป็นหินอัญมณีขนาดใหญ่  หลากหลายอายุ  และไม้กลายเป็นหินตระกูลปาล์ม   ซึ่งเป็นความโดดเด่น 3 อย่างของไม้กลายเป็นหินในจังหวัดนครราชสีมา

 

5.พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปีและไดโนเสาร์โนนทัน

ซากหอยหินค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 โดยชาวบ้านที่เข้าหาเก็บของป่าในบริเวณเหมืองร้าง ได้ค้นพบหินที่มีลักษณะคล้ายหอยสวยงามแปลกตาเป็นจำนวนมาก มีการค้นพบฟอสซิลหอยกาบคู่อายุประมาณ 150 ล้านปี และฟอสซิลไดโนเสาร์บรรพบุรุษที-เล็กซ์ จังหวัดหนองบัวลำภู ได้พัฒนาแหล่งค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์และหอยหิน ให้เป็นแหล่ง “UNSEEN หนองบัวลำภู” ในลักษณะ ของ site Museum โดยจัดพื้นที่แสดงออกเป็น 6 โซน ประกอบด้วย 

โซนที่ 1 โซนต้อนรับ จัดแสดงครอบครัวไดโนเสาร์โนนทัน

โซนที่ 2 โซนท่องจักรวาล จัดแสดงโมเดลเคลื่อนที่ จำลองดวงอาทิตย์ และดวงดาวในระบบสุริยะ ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ล้อมรอบด้วย กลุ่มดาวเคราะห์บริวาร ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโต 

โซนที่ 3 โลกแหล่งกำเนิดชีวิต ให้ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ ตั้งแต่อดีต – ปัจจุบัน 

โซนที่ 4 อาณาจักรนักล่า ให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ และซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทยรวมถึงแสดงซากกระดูกไดโนเสาร์ที่พบที่บ้านห้วยเดื่อ ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู และ แสดงหุ่นจำลองไดโนเสาร์ สยามโมโทรันนัส อิสานเอนซิล ขนาดสูง 4 เมตร ยาว 7 เมตร เคลื่อนไหวได้ 8 ตำแหน่ง 

โซนที่ 5 มหัศจรรย์แห่งการเดินค้นพบ จัดแสดงผนังจำลองพร้อมจัดแสดงฟอสซิลหอยหินโมเดม 150 ล้านปี ผู้ชมสามารถมองดู และฟังการบรรยายภาษาพื้นบ้านได้ 

โซนที่ 6 ตามรอยนักสำรวจ แสดงการทำงานของนักชีววิทยา และนักธรณีวิทยา เครื่องมือ อุปกรณ์ ขั้นตอนการศึกษาฟอสซิล ประวัติการสำรวจของธรณีวิทยาที่แหล่งฟอสซิลหอยหิน 150 ล้านปี

 

อ้างอิงจาก: 

museumthailand , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) , กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, mthai

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่

Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/

Website : https://isaninsight.kku.ac.th

Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook

LINE Official : https://lin.ee/yIS5bdP

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ #พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์อีสาน #กาฬสินธุ์ #ขอนแก่น #นครราชสีมา #นครพนม #หนองบัวลำภู

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top